
เคยซื้อมอสพันตะแกรงไหม เชื่อว่าเคยกันเกือบทุกท่าน
เคยซื้อตะแกรงอลูมิเนียมไหม คิดว่าเคยกันบ้าง
เคยเห็นขี้เกลือติดใต้ตะแกรงไหม บางท่านเคยเห็นถ้าแช่น้ำไว้สักพัก
สงสัยไหมครับมันคืออะไรแล้วเป็นอันตรายกับไม้น้ำไหมล่ะ?
Al= อลูมิเนียม ตลอดบทความนะครับอย่างงกันนะ
อลูมิเนียม Al เป็นธาตุที่มีอยู่บนโลก มากเป็นอันดับสามครับ รองจาก อากาศ และแร่ซิลิคอน Si

ตะแกรง Al ส่วนใหญ่ทำมาจาก ธาตุอลูมิเนียม Al และองค์ประกอบธาตุ อื่นๆ เช่น ซิลิกอน ทองแดง
เช่นสูตรของบริษัทหนึ่งเป็น
Composition:
Si4.5-6.0%, Fe0.80%, Cu0.30%, Mn0.05%, Mg0.05%, Zn0.10%, Ti0.20%, sum of other elements 0.15%, Al จากที่เหลือโดยน้ำหนัก
สูตรของแต่ละโรงงานไม่เหมือนกันครับ แล้วแต่ความแข็งแรงและงานที่ใช้ แต่ถ้าเป็นงาน Al อ่อนตัวที่พันตะแกรง หลักๆก็จะมี Al มากกว่า 90%
ใครอยากดูมีตารางในนี้ http://en.wikipedia.org/wiki/Aluminium_alloy
หลักๆเมื่อตะแกรงจุ่มลงในตู้ไม้น้ำ ถ้า pH เป็นกลางมันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้า pH ต่ำ 7 เมื่อใดล่ะก็ Al จากตะแกรงถูกๆที่เราใช้กัน มักเป็นเกรดที่ไม่ทนต่อกรดครับ มันจะเริ่มละลายครับ(สารตัวอื่นที่ละลายผมไม่พูดถึงนะครับ เอาAl หลักๆ ก่อน)
การที่ตะแกรงอลูมิเนียมมีคราบๆขาวๆ จะเห็นได้จากการซื้อมอสพันตะแกรงพวกนี้มาเกิดจาก สภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการผุครบครัน ทั้งออกซิเจน มีความชื้น(แช่น้ำเลย) มีเกลือต่างๆ ( ตามAnodic Indexที่สูง 0.75 ให้พวกวิศวะ อ้างอิง)
Al ของเราก็จะกร่อนตาม นี้ http://dwb4.unl.edu/chemistry/smallscale/SS014.html

Al ทำปฏิกริยาเคมี กับ น้ำ ได้ Al3+ (aq) และปฏิกริยาจะลดลงเมื่อมีขี้เกลือขาวๆมาเกาะ aluminum oxide หรือ Al oxide (2Al2O3 (s) + 6H+ (aq) -> Al3+ (aq) + 3H2O (l))
ใครอยากทราบเรื่องละลายยังไงดูในนี้นะครับ
เครดิต http://www.lenntech.com/periodic/water/aluminium/aluminum-and-water.htm
สรุปว่าในการเลี้ยงไม้น้ำที่ pH ต่ำ 7 ในน้ำที่เกิดขี้เกลือบนตะแกรงแล้วในน้ำคุณจะต้องมี Al3+ มากขึ้นแน่ๆ
แล้วมันเกิดอะไรกับไม้น้ำ?
Al เกิดผลเสียกับพืชแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ปกติในน้ำบาดาลมักสาร Al ปนอยู่ด้วย(เหตุนี้ล่ะมั้งที่เป็นสาเหตุหนึ่งไม่นิยมใช้น้ำบาดาลเลี้ยงไม้น้ำ)
แต่ที่แน่ๆมันไปรบกวนระบบรากพืช โดยลดการดูดซึม ฟอสเฟตครัับ ส่งผลให้พืชเติบโตช้าลง (บางท่านอาจบอกว่าแล้ว พบ Al ในพืชได้อย่างไร ในตำราบอกว่ามันมีในดินธรรมชาติ พืชมันไม่สามารถเลือกได้หรอกว่าจะดูดหรือไม่ดูด มันก็ดูดเก็บสะสมไปพร้อมธาตุอาหารอื่นซะงั้น หญ้าบางประเภทดูดซึมอลูมิเนียมไป 1% ของน้ำหนักแห้งก็มี sho01) แต่ก็โชคดีที่ตามแหล่้งน้ำธรรมชาติที่เราสูบเอาทำน้ำประปามักมีปริมาณ Al ต่ำมากอยู่แล้ว ยกเว้นแหล่งที่มีฝนกรด
แล้วปลาล่ะ?
เป็นพิษต่อปลาในสภาวะที่เป็นกรดครับ(ตู้ไม้น้ำอีกแล้ว) พบว่าจะทำให้เป็นเมือกในเหงือกปลา ทำให้ปลาหายใจยาก และมีปัญหาในการรักษาระดับเกลือแร่ในปลา พบว่าระดับ 1.5 mg/Lมีผลร้ายแรงกับปลาเทราท์
กุ้งล่ะ?
กุ้งมีเหงือกไหมล่ะ ไปอ่านปลาดู ้hahaha
ดังนั้นเมื่อท่านพบตะแกรงมอสมีขี้เกลือ ถ้าท่านกลัวว่า Al จะลงไปในตู้ไม้น้ำท่าน ต้องรีบหาที่พักมอสเสียใหม่หรือ ตัดแยกมาพันขอน หรือหิน เพื่อความปลอดภัย นะครับ หรือสุุดๆแล้ว ขี้เกียจพัน ก็อย่ามือซนไปแคะๆมันออกล่ะเดี๋ยวมันละลายออกมาอีก ให้ขี้เกลือมันหุ้มไว้แบบนั้นหล่ะครับ n032

ดังนั้นข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลหนึ่งที่ผมได้เรียบเรียงมาจาก เวป http://www.lenntech.com/periodic/water/aluminium/aluminum-and-water.htm เป็นหลักท่านสามารถหาความรูเพิ่มเติมต่อยอดและแนะนำปรับปรุงบทความนี้ได้นะครับ

ไปนอนล่ะง่วงแล้ววววว อันนี้สั้นแล้วนะ ข้ามรายละเอียดไปตั้งเยอะไม่รู้จะเข้าใจกันไหม เป็นห่วงอยู่ 036