
Institute for Water Research Rhodes University - Grahamstown - South Africa
http://www.rhodes.ac.za/institutes/iwr/
พลานาเรีย เป็นหนอนตัวแบนชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งมีชีวิตในไฟลัมแพลทีเฮลมินทีส (Platyhelminthes มาจากภาษากรีกสองคำคือ platy (แปลว่าแบน) และ helminth (แปลว่าหนอน)) ไฟลัมเดียวกับพวกพยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ลักษณะของสัตว์ในกลุ่มนี้คือ มีร่างกายอ่อนนุ่ม ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรแบบแบ่งเป็นสอง ลำตัวแบนจากบนลงล่าง (dorso-ventrally) ลักษณะคล้ายริบบิ้น พบประมาณ 25000 ชนิด จัดได้ว่าเป็นสัตว์กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัวที่แท้จริง (Accoelomate)
ปัจจุบันมีการจำแนกสัตว์ในกลุ่มนี้ออกเป็น 4 ชั้น คือ
1. พยาธิใบไม้ (Trematoda) ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง เช่น กลุ่มพยาธิใบไม้ในตับ (Opisothorchis viverini) ในเลือด ในลำไส้ (Fasciolopsis buski) พบในบุคคลที่บริโภคสัตว์น้ำดิบๆ เช่น หอบ ปลา เนื่องจากตัวอ่อนของพยาธิ (cercaria) เหล่านี้จะอาศัยอยู่ในน้ำ
2. พยาธิตัวตืด (Cestoda) ลักษณะลำตัวยาวแบ่งเป็นปล้องต่างๆ โดยแต่ละปล้องสามารถเจริญสืบพันธุ์เป็นตัวใหมได้ อาทิเช่น พยาธิตืดหมู (Taenia holium) พยาธิตืดวัว(Taenai haginata) โดยในระยะตัวอ่อนจะฝังตัวในกล้ามเนื้อของสัตว์ที่ชาวบ้านเรียกว่า เม็ดสาคู
3. พลานาเรีย (Turbellaria) ลักษณะลำตัวไม่แบ่งเป็นปล้อง คล้ายพวกพยาธิใบไม้ ส่วนใหญ่อยู่อาศัยอย่างอิสระ (free living)
4. Monogenea
อยู่อาศัยอย่างอิสระ (free living) ไม่ใช่ปรสิต ไม่ใช่พยาธิ ไม่ดูดเลือดหรืออาศัยในร่างกายสัตว์อื่น อาศัยในน้ำจืด
ลักษณะร่างกายมีสมมาตรครึ่งซีก ( bilateral symmetry ) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ไม่มีช่องลำตัว ( acoelom ) ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียน เเลกเปลี่ยนก๊าซโดยการเเพร่กับสิ่งเเวดล้อมโดยตรง ทางเดินอาหารเเบบไม่สมบูรณ์ มีเเต่ปากไม่มีทวารหนัก เรียกว่า ช่องเเกสโทรวาสคิวสาร์
การกินอาหาร พลานาเรีย ใช้อวัยวะเรียกว่า ฟาริงซ์ ( pharynx ) เป็นเเท่งกล้ามเนื้อยื่นออกมาทางปาก ดูดอาหารติดขึ้นมา เเล้วหดกลับเข้าปากไปในทางเดินอาหาร
ระบบขับถ่าย ของพลานาเรีย ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำด้วย มีลักษณะเป็นท่อยาวเเตกเเขนงตรงปลายของทุกเเขนงมีเฟลมเซลล์ ( flame cell ) ที่มีซิเลียโบกพัดน้ำให้ไหลออกทางรูที่ผิวหนัง
ระบบประสาท ระบบประสาทเเบบวงเเหวน มีกลุ่มเซลล์ประสาท ( สมอง ) บริเวณหัว มีเส้นประสาท 2 เส้นยาวตลอดลำตัว มีจุดรับเเสง 2 จุดบนหัวทำให้บอกทิศทางได้ มีเซลล์ที่ไวต่อสัมผัสเเละสารเคมีบางชนิดที่ผิวหนัง
การสืบพันธุ์ สืบพันธุ์โดยการอาศัยเพศ และ เเบบไม่อาศัยเพศ โดยการงอกใหม่ หรือเเบ่งตัวเป็นท่อน

พลานาเรีย สามารถพบได้บ่อยในตู้ที่มีเศษอาหารตกค้าง พลานาเรียไม่เป็นอันตรายกับปลาและกุ้ง แต่พลานาเรียเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการมีของเสียในชั้นกรวดมากเกินไป มีเศษอาหารตกค้างมากเกินไป ซึ่งไม่ดีกับสัตว์น้ำ ทั้งกุ้งและปลา
วิธีแก้ไข
แบบ Softcore (Repair)
1. ทำความสะอาดตู้ให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะกรวดรองพื้น ให้ใช้ท่อดูดทำความสะอาดพื้นกรวด (Gravel Washer) เป็นประจำทุกวัน จนกว่าพลานาเรียจะหายไปหมด และนำกรองออกมาล้างวัสดุกรองให้สะอาดหมดจด (นำกรองและวัสดุกรองออกมาล้างด้วยน้ำร้อน หากปัญหาพลานาเรียไม่ดีขึ้นใน 2 อาทิตย์)
2. เปลี่ยนน้ำทุกวัน วันละ 20% อย่าตื่นตกใจ อย่าเปลี่ยนน้ำมากกว่า 20% (รวมน้ำที่ดูดออกไปในข้อ 1. ด้วย) ซึ่งจะทำให้ปลาและสัตว์น้ำในตู้ปรับตัวตามค่าต่างๆในน้ำที่เปลี่ยนแปลงกะทันหันไม่ทัน
3. ใส่เกลือเม็ด หรือเกลือสำหรับตู้เลี้ยงปลาทะเล 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร และเติมให้ไดเอัตราส่วนเท่าเดิม หลังจากเปลี่ยนน้ำ เช่น คุณถ่ายน้ำออกไป 20 % ไม่ใช่ว่าใส่เกลือลงไป 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร เหมือนเดิม ผิดครับ
คุณจะได้ตู้หมักปลาร้าแทน ที่ถูกคือต้องเติมเกลือลงไปเพิ่มอีก 20% นั่นคือ เติมอีก 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 100 ลิตร (วิธีนี้สำหรับตู้ปลาใช้ไม่ได้กับตู้ไม้น้ำ และตู้กุ้งแคระ และการใช้กับเครฟิช ให้ระมัดระวังปริมาณและระยะเวลาการใช้)
4. ใส่ปลาเล็กๆที่กินพลานาเรีย (ถ้ามี) เช่น ปลาสอด ปลาหางนกยูง
ทำซื้อข้อ 1-3 จนกว่าจะไม่เห็นหัวพลานาเรียอีก
แบบ Hardcore (Reset)
1. เอาสัตว์น้ำทั้งหมดออกจากตู้ หาที่พักไว้ที่อื่น
2. เอากรอง วัสดุกรอง กรวดรองพื้น ก้อนหิน ขอนไม้ และอุปกรณ์ตกแต่งตู้ทั้งหมด ออกมาล้างด้วยน้ำเดือดหรือน้ำเกลือเข้มข้น (ประมาณว่า ชิมแล้วต้องถุยทิ้ง) หมั่นคน อาจทำซ้ำ 2-3 ครั้ง หากต้องการเพิ่มรสชาติชีวิต
3. ล้างตู้ด้วยน้ำเกลือเข้มข้น ล้างด้วยน้ำเปล่า แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง (ระวังอย่าให้แดดจัดเกิน เดี๋ยวซิลิโคนเสีย) หรือวางคว่ำในร่มผึ่งลมให้แห้งสนิท ถ้าตู้ใหญ่ ล้างแล้วเช็ดให้แห้ง
4. เซ็ตตู้ เดินกรองใหม่ ทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ ค่อยนำปลาและกุ้งกลับที่เดิม อย่าลืมปรับอุณหภูมิปลาและกุ้งก่อนปล่อย
