Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าใจหัวเร็กและสร้างหัวเร็กติดโซลินอยด์ Modified Gas Regulator Homemade  (อ่าน 43779 ครั้ง)
T777 ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 02/12/09, [16:52:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คำเตือน
ข้อความในกระทู้นี้เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหัว Regulator และตัวอย่างที่ได้สร้างไว้ หากผู้ที่นำความรู้ที่ได้จากกระทู้นี้ไปใช้ ไม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดเอง ข้าพเจ้าเป็นเพียงผู้ให้ความรู้จะไม่รับผิดชอบความเสียหายใดๆที่อาจเกิดขึ้น



หัวเร็กที่ใช้ในงานทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1.แบบแผ่นไดอะแฟรมอาศัยแรงดันสปริงปรับสมดุลกับแรงดันในระบบ
2.แบบแผ่นไดอะแฟรมที่อาศัยแรงดันย้อนกลับเพื่อปรับสมดุล

   แต่สำหรับหัวเร็กที่ใช้กับถังแก๊สแรงดันสูงอย่าง CO2 หรือ O2 ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ 1 ไดอะแฟรมอาศัยแรงสปริง โดยระบบปรับแรงดันภายในหัวเร็ก CO2 หรือ O2 จะหมือนกัน ซึ่งตัวเรือนวาล์วส่วนมากจะสร้างจากทองเหลือง เนื่องจากเป็นวัสดุที่หล่อขึ้นรูปง่าย ทนทานต่อแรงดัน และวัสดุราคาไม่แพง แต่สิ่งที่จะทำให้หัวเร็กราคาสูงขึ้นได้นั้น อาจเป็นเพราะยี่ห้อ, วัสดุที่สร้าง, การออกแบบการไหลของแก๊สภายในที่พิเศษขึ้น, Flow meter, Heater, Safety system, โซลินอย์ และอื่นๆ

High Pressure side
   โดยปรกติแล้ว ถังแก๊ส O2 จะอัดแรงดันลมไว้ที่ 2000 psi ให้ดูที่ High pressure gauge ส่วนแก๊ส CO2 จะอัดแรงดันที่ 1000 psi แค่ครึ่งหนึ่งของ O2 ลองประมาณแรงอัด 2000 psi = แรงกด 138 กิโลกรัมในทุกๆตารางซ.ม. แล้วจะเข้าใจว่ามันแรงขนาดไหน ดังนั้นหัวเร็ก O2 จะต้องได้รับการออกแบบให้ทนต่อแรงดันที่รุนแรง ฉะนั้นหากนำหัวเร็ก O2 มาใช้แทนหัวเร็ก CO2 ที่มีแรงดันแก๊สน้อยกว่าจึงสามารถใช้ได้ อีกทั้ง CO2 เป็นแก๊สไม่ติดไฟแต่ O2 ติดไฟ โอกาสที่ไฟย้อนกลับเข้าถัง CO2 จึงไม่เกิด ดังนั้นเราจึงน่าจะกังวลการนำหัวเร็ก CO2 ไปใช้แทนหัวเร็ก O2 มากกว่า

Low Pressure side
   ฝั่งแรงดันต่ำ Low Pressure เป็นแรงดันหลังจาก Regulate ปรับแต่งสูงสุดได้ไม่เกิน 20 Kg/Cm2 หรือ 290 psi แต่โดยปรกติแล้วแรงดันฝั่ง Low จะปรับไว้ใช้งานจริงไม่เกิน 60 psi ส่วน Flow meter ไว้ควบคุมอัตราการไหลของแก๊สที่ลิตรต่อนาที แต่การปล่อย CO2 ในตู้ไม้น้ำนั้นน้อยมากนับกันเป็นฟอง หากจะควบคุมการออกของฟองแก๊สให้มีประสิทธิภาพในตู้ไม้น้ำ ควรใช้ตัวปรับละเอียดต่อร่วมด้วย  

Note: ตัวปรับละเอียดคือวาล์วรูเข็มไว้รีดลม โดยให้ลมออกได้น้อยๆผ่านช่องรูเข็ม ส่วนมากใช้ในงานนิวแมติกส์เพื่อทำให้กระบอกสูบเคลื่อนที่ช้าลง ดังนั้นเพื่อควบคุมการปล่อยแก๊สอย่างมีประสิทธิภาพนับกันเป็นฟองในตู้ไม้น้ำ แรงดันแก๊สก่อนเข้าวาล์วรูเข็มควร Regulate ไม่เกิน 15 psi ประมาณครึ่งหนึ่งของแรงดันยางรถยนต์

Safety Valve
   อุปกรณ์ป้องกันการระเบิด ของตัวเรือนวาล์วและอุปกรณ์ต่อร่วมวาล์ว ซึ่งหากแรงดันภายในวาล์วสูงเกินกำหนดด้วยสาเหตุใดๆ หัวเร็กและอุปกรณ์อาจระเบิด วาล์วนิรภัยจะทำหน้าที่ระบายแก๊สแรงดันสูงนั้นออกไปโดยแก๊สแรงดันสูงจะไปผลักเม็ดวาล์วซึ่งถูกกดด้วยแรงสปริง แรงสปริงนี้ถูกตั้งค่าไว้เพื่อให้ได้แรงกดที่เหมาะสม ดูรูป Safety Valve ด้วยเหตุผลดังกล่าววาล์วนิรภัยจะต้องถูกตั้งค่าระบายแรงดันแก๊สก่อนหัวเร็กระเบิดเสมอ สมมุติว่าชุดหัวเร็ก O2 ถูกออกแบบไว้ระเบิดที่ 200 psi วาล์วนิรภัยตัวนี้ก็จะทำหน้าเป็นปรกติเมื่อนำมาใช้กับถังแก๊ส CO2 เช่นเดิม แต่หากชุดหัวเร็ก O2 ถูกออกแบบไว้ระเบิดที่ 1010 psi โอกาสระเบิดก็ไม่เกิดอีกเพราะเมื่อนำมาใช้กับถังแก๊ส CO2 ที่มีแรงดันแก๊สไม่ถึงจุดระเบิด ดังนั้นหากนำหัวเร็ก O2 มาใช้กับถังอย่าง CO2 หรือ Argon (แก๊สเฉื่อย) ที่อัดแรงดันน้อยกว่า โอกาสที่หัวเร็กระเบิดจึงไม่เกิด เพราะตัวเรือนและอุปกรณ์ทั้งหมดได้รับการออกแบบไว้ใช้ในแรงดันที่สูงกว่า

Note:  

   สายลมนิวเมติกส์มีหลายแบบ แต่ในตู้ไม้น้ำที่ใช้กันทั่วไปจะเป็นสาย PU หรือ PE ระดับแรงดันที่สายลมระเบิดอยู่ที่ PU 15-30 kg/cm2, PE 25-40 kg/cm2 สายทั้งสองแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การทนแรงดันมากน้อยก็แล้วแต่ยี่ห้อ กระบวนการสร้างและองค์ประกอบอื่นๆ ส่วนตัวโซลินอยด์ปรกติก็จะออกแบบมารับแรงดันได้สูงกว่าสายลมอยู่แล้ว โอกาสที่ตัวเรือนวาล์วจะระเบิดค่อนข้างยากกว่า หากแรงดันภายในสูงมากและ Safety valve ยังไม่ทำงานอาการขั้นแรกจะเป็นการเปิดวาล์วไม่ได้ หรือขณะปิดวาล์วก็ยังมีแก๊สเล็ดลอดออกมาได้ และต่อด้วยการรั่วของแก๊สบริเวณโอริงทำให้มีฟองแก๊สบริเวณตัววาล์วเมื่อเช็คด้วยน้ำสบู่

การที่ยังมีฟองแก๊สที่หัวดิฟขณะปิดวาล์ว อาจเพราะแรงดันสูง หรือมีเศษสนิมติดอยู่ในโซลินอยด์ หรืออาจเป็นเพราะซีลยางภายในเสื่อมสภาพ

ในการออกแบบระบบที่มีแรงดันสูงๆในงานอุตสาหกรรมเราสามารถใช้สาย (ลมหรือน้ำมัน) ให้เป็นส่วนที่แตกก่อนเพื่อป้องกันความเสียต่ออุปกรณ์ตัวอื่นๆในระบบ

Argon เป็นแก๊สเฉื่อยซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการแยกก๊าซบริสุทธ์ นำไปใช้ในหลายงานเช่น ทำหลอดนีออน งานดับเพลิง งานเชื่อม หรือเอาไว้ตัดการทำปฏิกิริยาระหว่างเนื้อโลหะบริสุทธ์กับออกซิเจนในระบบปิด

หัวเร็กที่ใช้กับถังออกซิเจนสามารถนำมาใช้กับถัง CO2 ได้ก็จริงแต่ก็ต้องมี หัวแปลงต่อร่วม (adapter) ที่จะทำให้หัวเร็กต่อเข้ากับหัวเกลียวของถังคาร์บอนได้ ซึ่งในความคิดเห็นของผม หัวเร็กที่ใช้เลี้ยงต้นไม้น้ำ ไม่ได้ต้องการระบบอะไรที่ซับซ้อน ทนทาน อย่างที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม การใช้หัวเร็กธรรมดาทั่วไปราคาถูกที่มีมาตรฐานก็เพียงพอแล้ว ราคาหัวเร็ก CO2 และ O2 แบบธรรมดาขายกันตามท้องตลาดส่วนมากราคาเท่ากันอยู่ที่ 550 – 900 บาท หากเลือกแบบที่ไม่มี Flow meter ราคาก็ถูกลงอีก ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ช่าง และคลองถม

รูปลักษณะหัวเร็กแบบต่างๆ



รูปการแยกชิ้นส่วนภายในหัวเร็ก


Safety Valve


การติดตั้งโซลินอยด์เข้ากับหัวเร็กโดยตรง
   จากประสบการณ์ที่เคยติดตั้งโซลินอยด์แบบแยกอิสระจากหัวเร็ก โดยใช้หัวต่อสายลมทำการเชื่อมต่อทั้งสองส่วนเข้ากัน ปรากฏว่าตรวจพบการรั่วของคาร์บอนด้วยฟองสบู่ขณะโซลินอยด์ยังปิดอยู่ บริเวณจุดต่อสายลมต่างๆระหว่างถังและโซลินอยด์ แก๊สหมดเร็วผิดปรกติ เพื่อป้องกันการรั่วที่จุดต่อระหว่างหัวเร็กและตัวโซลินอยด์อีกทั้งยังป้องกันสายลมระเบิด การติดตั้งโซลินอยด์เข้าที่หัวเร็กจึงแก้ปัญหาได้ดีที่สุด ให้สังเกตุหัวเร็กติดโซลินอยด์ที่ขายกันในท้องตลาดก็ใช้หลักการเดียวกัน



ระบบที่ผมใช้อยู่จะเป็นถังคาร์บอนขนาด 7 กก ปรับแรงดันแก๊สผ่านหัวเร็ก CO2 และควบคุมการปล่อยคาร์บอนด้วยโซลินอย์ 220 Volt ยี่ห้อ Airtac ซึ่งถูกแก้ไขให้เป็นชุดจ่ายแก๊สคาร์บอนติดโซลินอยด์ในราคาถูก ต้นทุนการสร้างประมาณ 1400 บาท ยังไม่พบแก๊สรั่วหลังใช้งานมาแล้วสองปี

อุปกรณ์
   1. หัวเร็กกูเลเตอร์ธรรมดา หาซื้อได้ตามร้านเครื่องมือช่างทั่วไปราคา 550 – 900 บาท (ของใหม่)
   2. โซลินอยด์วาล์วทางเดียวแบบปรกติปิด คอยล์ 220 Volt ราคา 550 บาท (ของใหม่)
   3. ข้อต่อนิปเปิ้ลทองเหลือง ไว้ต่อโซลินอย์เข้ากับหัวเร็กกูเลเตอร์ (ต้องเลือกขนาดให้เหมาะสม)
   4. คีมล๊อคหรือประแจ เทปพันเกลียว และกาวซีรีโคน
   5. ปลั๊กและสายไฟ

   เพื่อลดปัญหาการรั่วของแก๊สบริเวณจุดต่อให้น้อยที่สุดและยังป้องกันสายลมระหว่างถังกับหัวเร็กระเบิด เราสามารถทำได้โดยการประกอบโซลินอยด์เข้ากับหัวเร็กโดยตรง ซึ่งทำได้โดยการ หมุนคายเกลียวที่หัวเร็กฝั่ง L (ด้านแรงดันต่ำ) ปรกติจะอยู่ฝั่งด้านอุปกรณ์วัดอัตราการไหลของแก๊ส

***ห้าม ห้าม ห้าม ต่อโซลินอยด์เข้าที่ฝั่ง H (ด้านแรงดันสูง) ปรกติจะเป็นท่อที่ติดกับถัง โดยเด็ดขาด***  

   เพราะถังแก๊สคาร์บอนจะถูกอัดแรงดันไว้ที่  1000 psi แรงดันลมของยางรถยนต์ปรกติอยู่ที่ 32-40 psi เท่ากับว่ามีแรงดันแก๊สอาจสูงถึง 25-30 เท่าของแรงดันยางรถยนต์ โซลินอยด์รับไม่ไหว และเมื่อคลายอุปกรณ์วัดอัตราการไหลของแก๊สออก ก็ให้นำนิปเปิ้ลทองเหลือง 2 หุน หรือ ¼ นิ้ว ตัวต่อที่มีเกลียว 2 ด้าน (ขนาดของหัวเกลียวต่อของหัวเร็กอาจเป็นรุ่นอื่นเช่น 3 หุน หรือ 4 หุนก็ได้) แต่ปรกติแล้วหัวเร็กที่ต่อกับถังที่ใช้กับงานเล็กๆอย่างตู้ไม้น้ำ 99% เป็นรุ่น 2 หุนครับ ให้นำนิปเปิ้ลพันด้วยเทปพันเกลียว หาซื้อได้ในร้านเครื่องมือช่าง แล้วขันประกอบดังรูปให้แน่นแต่ให้ระวังการหมุนแน่นมากไปจนเกลียวขาด และจะให้ดีควรป้ายกาวซิลิโคนที่ใช้ปะตู้ปลา เล็กน้อย บางๆบนเทปพันเกลียวจะช่วยป้องกันการรั่วได้ดีขึ้น รอให้กาวแห้งสัก 2 ชั่วโมง ก็ใช้งานได้เลยครับ ระวังเรื่องเทปที่พันแล้วบังรูและกาวที่ทาไว้หนาเกินไปซึ่งอาจย้อยไปบังรู ทำให้แก๊สไหลได้ไม่ดี

Note:
   
  • สิ่งที่ผมกังวลที่สุดคือการติดโซลินอยด์ที่หัวเร็กผิดฝั่ง ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนการแก้ไขดัดแปลง ***ต้องติดโซลินอยด์ที่ฝั่งแรงดันต่ำเท่านั้น (Low Pressure)*** และต้องเลือกใช้โซลินอยด์ที่เหมาะสม หากไม่มั่นใจควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือซื้อหัวเร็กติดโซลินอยด์ที่ทำสำเร็จในท้องตลาด
  • ระวังการต่อสลับช่องเข้าช่องออกของโซลินอยด์ จำไว้ว่าช่องทางเข้าของโซลินอยด์จะต้องต่อกับหัวเร็กที่ให้แก๊สไหลผ่านโซลินอยด์ ส่วนช่องออกของโซลินอยด์จะเป็นจุดที่ปล่อยแก๊สออกไปซึ่งสามารถต่อเข้ากับหัวดิฟโดยตรง หรือผ่านตัวปรับระเอียดเพื่อควบคุมฟองแก๊สก็ได้
  • หัวเร็กติดโซลินอยด์ส่วนใหญ่จะเสียที่โซลินอยด์ ควรเลือกโซลินอยด์ที่มีคุณภาพจะได้ใช้งานได้ทนขึ้น
  • โซลินอยด์ร้อนเป็นเรื่องปรกติ สาเหตุเกิดจากการรั่วของ eddy current และ hysteresis ในแกนเหล็กจากสนามแม่เหล็ก และเนื่องจากเราสามารถแยกซื้อโซลินอยด์ได้ จึงควรเลือกใช้โซลินอยด์ที่ออกแบบมาเพื่อความถี่ 50Hz ซึ่งตรงกับความถี่ของบ้านเรา แทนที่จะเป็น 60 Hz เพราะร้อนน้อยกว่า หรือติดพัดลมตัวเล็กมาเป่าก็จะดีขึ้น (หลีกเลี่ยงการใช้โซลินอยด์ 220V 60Hz or 200V 50Hz/60Hz อ่านให้ดีครับที่หัวโซลินอยด์)
  • โดยทั่วไปโซลินอยด์ที่ใช้ควบคุมแก๊สสำหรับตู้ไม้น้ำเป็นแบบ 1 Action ระบบปรกติปิด จะเปิดวาล์วเมื่อมีไฟจ่ายเข้ามา
  • เคยใช้โซลินอยด์มือ 2 ยี่ห้อ CKD ราคา 300 บาท ซื้อจากคลองถมแถวใต้ตึกกองปราบเก่า ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาเหมือนกัน แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็นโซลินอยด์ 220 Volt เท่านั้นจึงจะต่อกับไฟบ้านได้โดยตรง ส่วนหัวปรับละเอียดซื้อหาได้จากที่เดียวกันราคา 40-80 บาท อยู่ที่หัวใหญ่หรือเล็ก อุปกรณ์ระบบข้อต่อลมเป็นมือ 2 ก็จริงแต่สภาพใช้งานได้ดี
  • ถึงแม้ว่าจะมีโซลินอยด์ควบคุม แต่หากยังมีเวลาควรปิดวาล์วที่หัวถังเมื่อไม่ใช้ สำหรับระบบที่ผมใช้จะปิดวาล์วทุกครั้งก่อนเข้านอนเพราะยังมีเศษแรงดันแก๊สเหลือพอจ่ายให้ตู้ และจะเปิดอีกครั้งก่อนไปทำงาน ทำให้ลดอัตราการสูญเสียได้มากขึ้น

                 

ตัวอย่างงานสร้างท่อทองเหลืองของหัวเร็กที่ไว้ต่อเข้าถัง Gas Argon สร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนส่วนที่ชำรุด





ตัวอย่างงานดัดแปลงถัง CO2 ให้เป็นถัง Argon หลังจากที่แก๊สคาร์บอนหมด (ถังใบนี้ซื้อจากพี่กบ) การดัดแปลงครั้งนี้สามารถทำได้ เนื่องจากถังถูกออกแบบไว้รับแรงดันที่สูงถึง 2500 psi หากนำมาบรรจุแก๊ส Argon ที่แรงดัน 1000-1500 psi ก็สามารถใช้ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ปรกติแล้วก่อนการอัดแก๊สใหม่ ตัวถังจะถูกทดสอบแรงดันอีกครั้งเพื่อความปลอดภัยก่อนนำไปใช้งานเสมอ หากรั่วหรือไม่ปลอดภัยทางร้านจะไม่อัดให้ ตัวถังเหล็กรับแรงดันสูงจะเป็นแบบถังอัดขึ้นรูปให้เป็นงานชิ้นเดียวไม่มีตะเข็บ(พยายามใช้ถังแบบไม่มีรอยเชื่อม) ถังเหล็กแบบนี้จะหนาและแข็งแรงมาก สนิมกินจนทะลุยาก และโอกาสที่แก๊ส CO2 หรือ Argon ในถังจะระเบิดขณะใช้งานแทบเป็นไปไม่ได้เพราะตรงหัววาล์วจะมี Safety Valve ป้องกันไว้และแก๊สทั้ง 2 ชนิดเป็นแก๊สไม่ติดไฟ โอกาสที่แก๊สจะขยายตัวจากเดิมอีกหลายๆพันเท่าอย่าง O2 (พวกแก๊สติดไฟ) หรือ LPG (แก๊สหุ้งต้ม) จน Safety ก็เอาไม่อยู่แล้วถังก็ระเบิดจึงไม่เกิดขึ้น ให้จิตนาการถึงแรงอัดที่ 138,000 กิโลกรัมทุกๆตารางซ.ม. ในเสี้ยววินาทีขณะแก๊สติดไฟไม่มีถังไหนเอาอยู่ แต่เนื่องจากแก๊ส CO2 ไม่ติดไฟหากตัวถัง CO2 โดนสนิมกัดแล้วรั่วหรือหัววาล์วขาดเนื่องจากเหตุใดๆ ถังอาจจะพุ่งเหมือนโตปิโด หรือหมุนควงที่พื้น คล้ายการปล่อยลูกโป่งขณะที่ลมภายในดันลูกโป่งไปทิศทางที่ไม่อาจควบคุม แต่สำหรับถังเล็กๆในตู้ไม้น้ำผมคิดว่าถังคงหมุนควงที่พื้นจนแก๊สหมด ส่วนถังอลูมิเนียมก็เป็นการอัดขึ้นรูปไม่มีตะเข็บเหมือนกัน แข็งแรงสามารถรับแรงดันสูงอีกทั้งเบากว่าถังเหล็ก การออกแบบไว้รับแรงดันได้เท่าไรให้ดูตัวเลขที่ตอกอยู่บนถัง ซึ่งจะต้องระบุวันที่ผลิตและแรงดันที่ถูกออกแบบไว้

     

หากต้องการดัดแปลงโปรดทำด้วยความระมัดระวังถ้าไม่มั่นใจควรปรึกษาผู้รู้ หรือซื้อชุดสำเร็จมาใช้

รายละเอียดส่วนอื่นของตู้นี้อยู่ใน DIY+Homemade และห้องโชว์ตู้ไม้น้ำ

ระบบเปลี่ยนน้ำอัตโนมัติ Full Automation Water Changing Homemade



ระบบชิลเลอร์ประสิทธิภาพสูง Practical Chiller Homemade



ระบบเปิดปิดฝาตู้อัตโนมัติ Cover Automation Homemade



ระบบกรองน้ำด้วยเรซินสำหรับตู้ไม้น้ำ Ion exchange system Homemade



ระบบกรองน้ำเพื่อลดคลอรีนในน้ำ  Chlorine removal system Homemade



ตู้มอสอัจฉริยะ Full Automation System 60 inches







 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17/12/09, [14:52:21] โดย Spirit »
Tags: ระบบ CO2 ไม้น้ำ 
#เฟิรส์ท# ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #1 เมื่อ: 02/12/09, [17:54:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 036
nxa ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #2 เมื่อ: 02/12/09, [18:10:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาเป็นซีรี่ย์

ซีซั่นหน้าจะเป็นเรื่องอะไรหนอ   hawaii
jo__qo_op ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #3 เมื่อ: 02/12/09, [19:13:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาเป็นซีรี่ย์

ซีซั่นหน้าจะเป็นเรื่องอะไรหนอ   hawaii

มีแบบ ง่ายๆก็ดีนะครับ จะได้ทำเลียนแบบได้บ้าง  ้hahaha  ้hahaha
00คิงคอง00 ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #4 เมื่อ: 02/12/09, [19:24:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แต่ละอย่างเกินคงวามสามารถ และ ความรู้ผมอะ ครับ   n032
por504 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #5 เมื่อ: 02/12/09, [19:29:21] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แค่อ่านยังเหนื่อยเลย ถ้าให้ทำเองสงสัย  asspain
tummon ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #6 เมื่อ: 02/12/09, [19:52:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมไปเลย..ไม่ได้ทำเอง..แต่ก็เป้นความรู้ครับ [เจ๋ง]
แกะนิทรา ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 02/12/09, [22:05:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ดีครับ หัวเรกอิมพีเรียลเหมือนกันเลย

แต่ว่าถ้าต่อสายดีๆ ก็ไม่รั่วหรอก
vinbitxp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 02/12/09, [22:33:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อยากทำบ้างอ่ะ

แต่ skill ไม่ถึงขอไม่เสียงดีกว่า

โหดจริง  3 กระทู้แล้ว แจ่มเป็ด จริงๆ
hancock ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #9 เมื่อ: 02/12/09, [23:08:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมไม่รู้ว่าจะทำตามได้หรือไม่ได้ แต่รู้อย่างเดียวคือ  ความรู้แบบนี้ไม่มีใครมาสอนเราแบบให้ป่าวหรือหาเรียนกันง่ายๆ ขอบคุณที่มีความอุตสาหะ
ทำมาแบ่งปันโดยไม่ได้มีค่าตอบแทนใดๆ  หายากครับ  ทำมาเรื่อยๆนะครับ  มันต้องมีสักเรื่องที่พวกเราชาวคลับสามารถทำตามใช้เองได้บ้างน่า lau01 lau01
uppooh ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 06/12/09, [21:55:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 idea1 สวัสดีค้าบอาจารย์
เป้ง ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #11 เมื่อ: 17/12/09, [13:33:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

นับถือ นับถือ
oxalys ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 17/12/09, [14:05:14] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขยันมากๆ ขอชมครับผม
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #13 เมื่อ: 17/12/09, [14:54:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดเช่นเคย ขออนุญาตแก้ไขหน้าตาให้อ่านง่ายขึ้นนะขอรับ
Narita ออฟไลน์
Cute Member
« ตอบ #14 เมื่อ: 17/12/09, [15:04:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พี่คะ เอาจริงๆหนูอยากรู้มันทุกอย่างที่พี่รู้เลยอ่ะ  idea1 idea1 idea1


แนะนำเรื่อยๆนะคะ  emb01 ชอบบบบบบบบบบบบบบบ  [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ]
ImThai ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #15 เมื่อ: 18/12/09, [10:24:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากเลยความรู้แน่นมาก ผมอ่านแล้วก็ไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม ความสามารถไม่ถึง อ่านพอให้เข้าใจการทำงานก็พอแล้ว surrender

ว่าแต่ถ้าผมเอา Reg กับถังที่ผมมี ไปปรึกษาว่าสามารถ นำมาใช้หรือดัดแปลงยังไงได้ พอจะสะดวกมั๊ยครับ ผมจะได้ไม่ต้องซื้อถังกับReg แอบเอาของบริษัทมาใช้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/12/09, [14:56:16] โดย imthai »
อาวาเต้ ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #16 เมื่อ: 10/11/10, [23:30:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Thanks for info man
numetal ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #17 เมื่อ: 29/05/12, [06:16:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เข้ามาศึกษาครับ
dumperer ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #18 เมื่อ: 09/09/12, [12:31:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมจะทำได้ไหมเนี่ย
dy_166 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #19 เมื่อ: 09/12/13, [16:03:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดแห่งความรู้จริงๆ ครับ ขอบคุณมากครับ
mendietai ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #20 เมื่อ: 13/12/14, [11:26:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 036 ได้แต่อ้าปากค้าง ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ค่อยๆอ่านก่อน  [เจ๋ง]
kla.36 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #21 เมื่อ: 28/02/15, [07:17:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สวดยอดเลยครับ
beerpsg ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #22 เมื่อ: 05/08/15, [17:50:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมขอสอบถามหน่อยครับ ว่าแบบเดิมเป็นหัวเรกกูเรเตอร์เป็นของอาร์กอน แต่ผมมาเลี่ยนตัวเกลียวให้เข้ากับถังCo2  จะใช้ได้หรือป่าวครับ ขอบคุณครับ ตามรูปเลยครับ

suphansa ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #23 เมื่อ: 01/09/15, [18:04:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมขอสอบถามหน่อยครับ ว่าแบบเดิมเป็นหัวเรกกูเรเตอร์เป็นของอาร์กอน แต่ผมมาเลี่ยนตัวเกลียวให้เข้ากับถังCo2  จะใช้ได้หรือป่าวครับ ขอบคุณครับ ตามรูปเลยครับ



พี่ตัวเกียวไปเปรี่ยนที่ไหนมาหลอ เขาเรียกว่าอ่ะไรหลอ เคยไปถามร้านเขาบอกมันไม่มีเปรี่ยนหลอก ไม่รู้ร้านเขาเข้าใจหรือป่าว
เปรี่ยนแพงไหม
chamnearn ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #24 เมื่อ: 08/11/15, [21:19:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบมากๆ คับ ขอบคุณคับ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: