ปัจจัยต่างๆให้เหมาะสม รวมทั้งมีสมาชิกในตู้เป็นผู้ช่วยควบคุมปริมาณตะใคร่ไม่ให้ลุกลามเป็นวิธีทางธรรมชาติที่ดีและปลอดภัย
มาดูตัวแรกกัน
ปลาเล็บมือนาง (Siamese Algae Eater, SAE)
Crossocheilus siamensis
เป็นปลายอดนิยมในบ้านเรา ราคาไม่แพงเลี้ยงง่าย ไม่ก้าวร้าว แต่ออกจะโตเร็วซักหน่อย สามารถโตได้ถึงห้านิ้วสบายๆ อาจจะคับตู้เล็กๆไปบ้างแต่มันก็น่ารักและนิสัยดี
ตะใคร่ที่ปลาชนิดนี้กินได้
Brown algae, brush algae, beard algae, fuzz algae
เนื่องจากปลาชนิดนี้มีเพื่อนพ้องที่หน้าตาคล้ายๆกันหลายตัว และชนิดอื่นๆประสิทธิภาพในการกินตะใคร่ไม่ดีเท่า
อีกทั้งนิสัยจะก้าวร้าวกว่า จึงควรจะดูลักษณะเฉพาะของเจ้าเล็บมือนางให้เป็นก่อน
False siamensis (Garra taeniata or Epalzeorhynchos kalopterus)
ดูตัวปลอมกันบ้าง คนไม่เคยเห็นชอบซื้อกันผิดบ่อยๆ ผมเองก็เคยอิอิ ร้านปลาบ้านเราเรียกกันว่าจิ้งจอก หรือ Flying fox
เจ้านี่ก็กินตะใคร่บ้างนิดๆหน่อยๆ แต่ออกจะดุกว่าตัวแรกนิดใครเผลอซื้อมาแล้วก็ไม่ต้องเสียใจ
การเปรียบเทียบ เล็บมือนาง กับ Flying fox
www.akwafoto.pl เล็บมือนาง 1. แถบดำข้างตัวเป็นเส้นซิกแซกตามแนวเกล็ดยาวผ่ากลางครีบหาง 2. แนวเกล็ดเหนือแถบดำเป็นลายร่างแห 3. ครีบใสไม่มีสี 4. ปากเป็นปากดูด | www.akwafoto.pl Flying fox 1. แถบดำข้างตัวเป็นแถบเรียบขอบคมชัดยาวหมดแค่โคนหาง 2. เหนือแถบดำมักเป็นเส้นสีเหลือง ไม่มีลายร่างแห 3. ครีบมักมีแถบสีเหลืองตามขอบครีบ 4. ปากเล็กไม่เป็นปากดูด |
ต่อไป ออตโตน้อย ยอดนิยม species ที่พบบ่อยที่สุด คือ
Otocinclus affinis
รูปจาก http://www.pececitos.com
เจ้าตัวเล็กจอมขยันที่นักเลี้ยงไม้น้ำหลายๆคนชอบ กินตะใคร่ หลายๆชนิดได้ดี ชนิดของตะใคร่ที่กินจะคล้ายๆเล็บมือนาง แต่ตัวที่เล็กกว่าจึงต้องอาศัยจำนวนของปลา
ที่มากหน่อยในการควบคุมตะใคร่
ข้อดีของออตโตคือตัวเล็กโดยธรรมชาติเหมาะสำหรับตู้เล็กๆ ไม่ก้าวร้าว
แต่ข้อเสียคือราคาออกจะสูงอยู่เมื่อเทียบกับปลากินตะใคร่พื้นๆตัวอื่น และตู้ใหญ่ต้องใช้จำนวนมากซักหน่อย อีกอย่างคือออตโตเป็นปลาที่ไวต่อสภาพน้ำเมื่อเทียบกับ
พวกเล็บมือนาง ในตู้ที่เซ็ตใหม่ๆควรระวังการเพิ่มของพวกแอมโมเนียและของเสียต่างๆให้ดีเพราะอาจทำให้ปลาป่วยหรือจากเราไปก่อนเวลาอันควรได้ จะให้ดีนำมา
เลี้ยงตอนที่ระบบกรองและน้ำคงที่จะดีกว่า
ต่อไปก็เป็นพวก ซัคเกอร์ทั้งหลาย บางตัวก็โตเกินกว่าที่จะเหมาะกับตู้ไม้น้ำเพราะจะทำให้เลเอาท์เสียหายและดูดใบไม้อ่อนๆช้ำได้ ตัวที่นิยมเลี้ยงก็เช่น Farlowella
acus, Sturisoma panamense แต่จะเหมาะกับตู้ที่ใหญ่ซักหน่อย และไม่มีต้นไม้ใบบางๆเช่นพวกบัวต่างๆ
ปลาปากดูดทั้งหลายจะกินตะใคร่ที่ติดตามพื้นผิวต่างๆได้ดี เช่นพวก brown algae ,Fuzz algae ขนาดตัวที่ใหญ่ทำให้มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการกระจก
หินและขอนไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ
Farlowella Catfish
Farlowella acus
รูปจาก http://www.dgodwin.com
Royal Farlowella
Sturisoma panamense
รูปจาก http://www.planetcatfish.com
Black Molly
Poecilia sphenops
ต่อไปก็เป็นพวกปลาที่กินตะใครเส้นผมและตะใคร่ขนๆทั้งหลาย พวกนี้มักจะเป็นปลากินพืชที่มีนิสัยการกินแบบจิกๆตอดๆตามพื้นผิวต่างๆ ตัวแรกที่หาได้ง่ายและ
ราคาไม่แพงคือพวก ปลาสอดดำ หรือ Black Molly (Poecilia sphenops) และปลาสอดอื่นๆ เนื่องจากปลาในตระกูล Molly(สอดดำ เซลฟิน) เป็นปลากินพืช
ต่างจากพวก Platy(พวกปลาสอดหางดาบ สอดกุหลาบ) ที่กินทั้งพืชและสัตว์ จึงใช้กินตะใคร่ได้ดีกว่า
เมื่อใส่ปลาพวกนี้ลงไปแล้วพยายามให้อดอาหารเพื่อที่ปลาจะต้องหากินเอง จะช่วยลดของเสียที่เป็นอาหารตะใคร่และทำให้ปลาต้องกินแต่ตะใคร่จะทำให้ตะใคร่หมด
ไปอย่างรวดเร็ว
อเมริกันแฟลกฟิช Jordanella floridae
รูปจาก http://www.nativefish.org
ปลาหมอโทรเฟียส Tropheus duboisi
ตะกรับหน้าแดง Scatophagus argus argus
ปลาพี่จุ่น ถ่ายโดย ตู่นตู๊น
สามตัวนี้เป็นปลาที่กินตะใคร่พวกเส้นผมได้ดีมาก แต่มีข้อเสียคือค่อนข้างจะดุ และอาจจะกัดต้นไม้อื่นๆได้ถ้าตะใคร่หมด
เหมาะสำหรับตู้ที่ดูจะหมดทางเยียวยาหรืออาการหนัก
เมื่อเสร็จหน้าที่แล้วถ้าในตู้มีแต่ต้นไม้ใบหนาทนๆก็เก็บไว้ได้แต่ถ้ามีไม้พวกหญ้า ไม้หน้าตู้ หรือต้นไม้ที่บอบบางอาจจะโดนกัดกินได้ควรน้ำออกไปเลี้ยงแยก จะดีกว่า
สำหรับปลาตะกรับหน้าแดงตามธรรมชาติเป็นปลาน้ำกร่อยก่อนนำมาลงตู้ควรปรับสภาพน้ำก่อนโดยปิด CO2 ปรับ pH ให้อยู่ที่ 7.5 เมื่อปลาทำหน้าที่เรียบร้อยให้
จับออกคืนตู้น้ำกร่อยอย่างเดีม
Yamato numa ebi
Caridina japonica
เหตุที่ลุงอามาโน่เลือกเจ้านี่ในการกำจัดตะใคร่เพราะเป็นกุ้งขนาดเล็ก มีก้ามสั้นระยะทางระหว่างก้ามและปากน้อยทำให้มีความถี่ในการหยิบตะใคร่เข้าปากได้ไวกว่า
ตัวอื่นๆที่เข้าประกวดกันในครั้งนั้นทำให้มันกลายเป็นกุ้งยอดนิยมของนักเลี้ยงไม้น้ำมาตั้งแต่บัดนั้น
กุ้งยามาโตะกินตะใคร่เกือบทุกชนิดยกเว้นตะใคร่กระจุกขน(brush algae) และตะใคร่สีเขียวแกมน้ำเงิน
ใส่ไว้เยอะๆจะช่วยกันทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมโดยเฉพาะตะใคร่ที่ติดตามใบไม้ มอสหรือหญ้าต่างๆได้อย่างหมดจด
กุ้งยามาโตะเป็นกุ้งสองน้ำมีความทนทานในการอยู่ในสภาพน้ำที่ความอ่อนหรือกระด้างต่างๆกัน แต่ชอบน้ำสะอาดไม่มีของเสียมาก และไม่มีโลหะหนักที่เป้นอันตราย
ต่อสัตว์เปลือกทั้งหลายเช่นทองแดง
หลายๆคนได้ยามาโตะตัวเมียมามีไข่เต็มท้องแต่ไม่เคยเห็นลูกมันฟักซักที ตามธรรมชาติของมันเมื่อแม่กุ้งวางไข่ไข่จะลอยไปยังปากแม่น้ำและฟักในน้ำกร่อย จนตัว
อ่อนอายุได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์จะกลับมาอาศัยอยู่ในน้ำจืดจนโต
ถ้าจะลองเพาะพันธุ์ให้แยกแม่กุ้งท้องแก่ที่มีไข่สีเขียวขี้ม้าเข้มๆออกมาเลี้ยงในตู้น้ำจืดเล็กๆ เมื่อแม่กุ้งวางไข่แล้วให้ตักแม่กุ้งออก ค่อยๆเพิ่มความเค็มของน้ำโดยใส่เกลือ
17กรัม ต่อน้ำหนึ่งลิตร ปล่อยให้ตัวอ่อนฟักออกมา อนุบาลตัวอ่อนด้วยอาหารขนาดเล็ก จนเป็นลูกกุ้งแล้วสามารถนำมาเลี้ยงในตู้น้ำจืดได้ต่อไป
กุ้งฝอยน้ำจืด
Palaeomonetes sp
เป็นกุ้งเหยื่อที่หาได้ง่ายมากแทบจะทุกที่ กินอาหารทุกชนิด ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บกวาดของเหลือ ซากปลาตาย และกินตะใคร่ได้ เนื่องจากมีราคาถูกกว่ายามาโตะหลาย
ร้อยเท่านัก เราสามารถใช้ปริมาณเข้าช่วยในการกำจัดได้ กุ้งตัวผู้จะตัวเล็กและไม่ค่อยดุร้ายเท่าเมียเอ้ยกุ้งตัวเมีย เมื่อซื้อมาทั้งถุงค่อยๆแยกเอาตัวผู้เล็กๆมาลงตู้ได้ จะ
ได้ไม่ไปรุกรานปลาเล็กๆซึ่งบางทีตอนกลางคืนเคยพบว่ากุ้งตัวใหญ่ๆพยายามจับปลากินตอนที่ปลาหลับก็มี
หอยม้าลาย
Neritina zebra
หรือหอยลายเสีอ เป็นหอยที่ไม่ทำลายต้นไม้ มีเปลีอกสวยงาม กินตะใคร่ตามกระจกก้อนหินและขอนไม้ได้ดี โดยเฉพาะตะใคร่สีน้ำตาลบางตำราบอกว่ามันยอมกินตะ
ใคร่จุดเขียวที่เอาออกยากๆด้วย
ข้อควรระวัง เนื่องจากสภาพน้ำในตู้ไม้น้ำมีความเป็นกรดเล็กน้อยจาก CO2 และมักมีค่า KH ต่ำ ทำให้เปลือกหอยค่อยๆโดนกัดกร่อนจนด้านและบางลงเรื่อยๆซึ่งทำ
ให้หอยตายได้ถ้าปล่อยไว้นานๆ จึงควรแยกมาเลี้ยงในตู้หรือบ่อที่น้ำค่อนข้างกระด้างบ้างเป็นครั้งคราว
บทความโดยคุณ banx
http://www.pantown.com/board.php?id=6922&area=1&name=board7&topic=3&action=view
ผมขออนุญาตเพิ่มรูปบางรูปลงไปเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ / บัง :3