Fluidized Bed Filter หรือ Fluid Bed Filter หรือ กรองทรายไหล
จริงๆกรองแบบนี้มันมีใช้กันมานมนานแล้วนะ ซัก 10 กว่าปีได้แล้วมั้ง (คือจะบอกว่า ไอ้ตูนมันละโว้) แต่ว่าไม่ค่อยเป็นที่นิยมในตู้ปลาน้ำจืดเท่าไหร่ ส่วนใหญ่(เมื่อก่อนนู้น)จะใช้กันใน Aquarium ใหญ่ๆ และตู้ทะเล เพราะเป็นกรองที่สามารถรับมือกับของเสียปริมาณมากๆได้ดี แล้วมันทำงานยังไงหนอ
มันคือกรองที่ใช้หลักการ moving bed หรือ moving media หรือ วัสดุกรองโยกย้าย....โยกย้าย...อ่ะส่ายสะโพก....โยกย้าย ได้นั่นเองครับ ในระบบกรองของบ่อปลาคาร์พของนักเลี้ยงในไทยหลายท่านก็ใช้อยู่ ตัววัสดุกรองก็มีหลายอย่าง พัมมิสก็มี เศษฟองน้ำหยาบตัดๆก็มี หลอดกาแฟตัดยังมีเลย ขอแค่ให้มันเบาพอที่จะเป่าๆให้มันหมุนๆได้ก็พอแล้ว เพื่อ...เพื่อ...เพื่ออะไร เพื่อไม่ให้มีจุดอับในกรองไงครับ ออกซิเจนจะไหลผ่านวัสดุกรองทุกส่วนสัดแบบเนื้อแนบเนื้อ ไม่มีที่สะสมตะกอน ไม่ต้องกลัวแบคทีเรียขาดอากาศตาย ใช้พื้นที่ผิวของวัสดุกรองให้แบคทีเรียอาศัยได้เต็มที่ ทำให้มันเป็นระบบกรองที่มีประสิทธิภาพสูงส่ง และใช้พื้นที่ระบบกรองน้อย
แต่ก็ใช้ยากเช่นกัน เพราะต้องทำให้มีเดียทุกส่วนไหลขยับในอัตราที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ไม่ไหลเมื่อไหร่ เสร่อแดกทันที !!!
ตัวอย่างของระบบกรองที่เป็น moving bed ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในนี้ต้องผ่านตามามั่งแหละ ก็ถังกรอง Nexus ของบ่อปลาคาร์พ ที่ลงในหนังสือ AQUA อยู่เป็นประจำไงครับ หน้าที่มีปั๊ม FOK น่ะ (แต่เล่มปลาช่อนล่าสุดนี่ไม่เห็นมีแล้ว สงสัยลงแล้วไม่รุ่ง) ลองดูตัวอย่างกรองแบบนี้แล้วกัน
ภาพจาก http://www.koicarp.net
....แล้วเป็นไง...มันจะมีประโยชน์อะไรกับตู้ไม้น้ำ ตู้ปลาเล็กะจ้อยร่อย... ก้อ...พอไม่มีจุดอับ ก็สามารถใช้วัสดุกรองตัวนึง ที่มีพื้นที่ผิวมหาศาล ในปริมาตรน้อยนิด แต่ไม่สามารถใช้ในระบบกรองปกติได้ ....
"ทรายละเอียด" ไงครับผม ทรายละเอียดมีพื้นที่ผิวมากกว่าวัสดุกรองอื่นๆหลายตัว แต่ช่องว่างระหว่างเม็ดทรายมันเล็กจนน้ำไหลผ่านได้ไม่สะดวก ออกซิเจนลงไม่ถึงแบคทีเรียที่อยู่ล่างๆ ในๆ ดังเช่นตู้ที่ปูพื้นด้วยทรายหลายตู้ประสบกัน เกิดชั้นดำ เกิดก๊าซไข่เน่า แต่ว่า มันสามารถใช้กับระบบกรองที่ใช้หลักการ Moving Bed ได้ไงครับ Get ยัง
ดูตัวที่ฝรั่งเขา DIY จากท่อน้ำ
http://www.aquariumlife.net/projects/diy-filter/10.asp
ทรงแบบนี้ก็ทำได้นะ แค่ให้มันหมุนติ้วๆๆ อย่าหยุดนิ่งก็พอละ
แบบใหญ่ยักษ์ ใครทำแบบนี้ที่บ้าน บอกผมนะครับ จะลงไปแช่ให้ทรายมันขัดตัว เผื่อจะขาวขึ้น
ด้วยเหตุฉะนี้ เราก็จะได้ระบบกรองที่รับมือของเสียบานเบอะได้ กำจัดแอมโมเนีย ไนไตร์ท ได้ไม่มีเหลือ ในขณะที่ใช้พื้นทีเป็นบ้องเล็กๆนิดเดียว
แต่ ..มันมีข้อเสียอยู่นิดหน่อย
1. ปั๊มห้ามดับ....เพียงแค่ปิดกรอง ปล่อยให้น้ำนิ่ง ทรายไหลมากองเพียงไม่ถึงชั่วโมง แบคทีเรียจะขาดอากาศตายไปเป็นปริมาณมาก กรองกระเจิงทันที
2. มันกรองดีจัด หากว่าของเสียมีปริมาณมาก แล้วให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ แบคทีเรียปริมาณมหาศาลที่มีอาหารปริมาณมหาศาล จะกินๆๆๆ จนออกซิเจนในน้ำหมดไปอย่างรวดเร็ว และสร้างไนเตรทอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตู้ไม้น้ำที่ปกติไม่มีการให้อากาศเพิ่มด้วยแล้ว ควรระมัดระวังเรื่องของเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนระบบขาดออกซิเจนนี้ให้ดีนะครับ ของมันแรง ใช้ต้องระวัง เดี๋ยวของเข้าตัวแล้วจะสะท้านนนนน
ก็ หวังว่าคงจะกระจ่างกันนาครับ ไม่ได้พิมพ์ยาวๆแบบนี้มานานแล้ว เมื่อยมือดี
|