Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทต่างๆของระบบกรอง  (อ่าน 82048 ครั้ง)
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« เมื่อ: 09/08/06, [15:23:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความนี้มีเวอร์ชั่น SE ที่ใหม่กว่า ข้อมูลอัพเดทและครบถ้วนกว่าแล้วนะครับ กดลิ๊งไปอ่านได้ที่ ประเภทของระบบกรอง ลักษณะและคุณสมบัติ



กระทู้นี้ตั้งใจจะทำไว้บอกชื่อเรียกและลักษณะเฉพาะของระบบกรองแบบต่างๆนะครับ เพราะเห็นมีเพื่อนๆหลายคนเรียกชื่อสลับกัน หรือไม่รู้จักชื่อที่เค้าเรียกกัน

ชื่อที่ใช้ก็จะเป็นชื่อที่เรียกกันเป็นส่วนใหญ่นะครับ เพราะปกติแล้วก็ไม่ได้มีใครมากำหนดชื่อให้อย่างเป็นทางการน่ะนะ อ่ะ มาอันแรกกัน

กรองนอก
Canister Filter
(canister (แคนอิซเทอะ) n. กระป๋อง, กล่องบรรจุอาหาร)



เป็นกรองแบบที่ตัวระบบอยู่ด้านนอกตู้ มีแค่ท่อน้ำเข้า-น้ำออก ที่แหย่เข้ามาในตู้ ทำให้ไม่เสียพื้นที่ตู้ ดูสวยงาม ภายในถังกรองจะแบ่งเป็นชั้นๆสามารถใส่วัสดุกรอง (Media) ได้หลายแบบ การไหลเวียนของกระแสน้ำจะมีสองแบบ คือแบบไหลจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน (ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้) กับแบบไหลจากด้านบนลงด้านล่าง

การเรียงถาดวัสดุกรองจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (จากด้านบนลงด้านล่าง) นึกภาพว่าเส้นที่คั่นๆนี่เป็นถาดในถังกรองนะครับ ช่วยผมจินตนาการหน่อยนะ....หา!! อะไรนะ...ไม่จินฯเหรอ..ฮึ๊ยยย..เด๋วสอยเลย....

ฝาถังกรอง

วัสดุกรองเคมี จำพวกเรซิ่นเพื่อปรับสภาพน้ำให้อ่อน หรือคาร์บอนกัมมันต์ เพื่อดูดซับสารพิษ เอาไว้หลังสุด จะได้ใช้ได้นานๆ ไม่โดนของเสียอุดตันเสียก่อน

ใยกรองละเอียด หรือที่บางร้านเรียกว่าใยแก้ว เพื่อกรองของเสียชิ้นเล็กๆ ฝุ่นผงต่างๆ เป็นส่วนที่ต้องเอาออกมาล้างบ่อยๆ ประมาณเดือนละครั้ง แล้วแต่ปริมาณของเสีย ล้างแล้วก็เอามาใส่ใหม่ได้ แต่ยิ่งนานไป มันจะค่อยๆฟีบลงๆ ไม่ฟูเหมือนใหม่ๆ บางทีก้เป็นรูโหว่ อันนั้นเปลี่ยนได้แล้วนะครับ ซื้อแบบม้วนๆมาตัดเองห่อละ 30 เอง ห่อขนาดประมาณ 1 คนโอบ ใช้กันข้ามปี บางคนใช้แล้วใช้อีกจนฟีบเป็นไข่เจียวค้างปียังไม่ยอมทิ้ง บางคนก็ใช้ครั้งเดียวทิ้ง อันนี้ก็แล้วแต่แนวของแต่ละทั่นเถิดขอรับ ของผมเดินสายกลางเริ่มฟีบแล้วค่อยทิ้ง

ใยกรองหยาบ หน้าตาคล้ายๆสก็อตไบรท์ล้างจาน หรือเป็นฟองน้ำสีดำ การใส่จะเอาใยหยาบไว้ก่อนใยละเอียดเพื่อให้กรองของเสียชิ้นใหญ่ก่อน ใยละเอียดจะได้ไม่ตันเร็ว แต่ไม่ใส่ก็ได้ ตำรวจไม่จับ

วัสดุกรองชีวภาพ ส่วนนี้แหละส่วนสำคัญ และควรมีพื้นที่ให้มากที่สุด เพราะเอาไว้ให้จุลินทรีย์เกาะ ทีนี้จุลินทรีย์มันเกาะตามพื้นผิวใช่มะ ฉะนั้นวัสดุที่ดีคือต้องมีพื้นที่ผิวเยอะๆ อย่างพวกหินพัมมิส มันจะมีรูพรุนอยู่ในเนื้อวัสดุ ถ้าเอามาส่องขยายจะเห็นเป็นซอกหลืบมากมายยังกะคอนโด low cost เราก็จะสามารถเอาเมียเก็บไปแอบไว้ได้หลายคน เอ้ย..จุลินทรีย์ก็จะมีที่ให้อยู่เยอะ แล้วก็ขอย้ำไว้อีกที ใช้เศษปะการังในตู้ไม้น้ำไม่ได้นะครับ มันจะทำให้น้ำกระด้าง ต้นไม้ไม่ชอบเด้อ
ก็เลยมักจะใส่หินพัมมิสกันเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็วัสดุกรองสำเร็จรูปยี่ห้อต่างๆ อย่างของ Eheim Azoo เพราะอะไรดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ > วัสดุกรองชีวภาพ

วัสดุกรองส่วนที่ช่วยกระจายกระแสน้ำให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้เกิดมุมอับที่ไม่มีกระแสน้ำไหลไป หรือมี แต่น้อย จุลินทรีย์ส่วนนั้นก็จะไม่ค่อยได้อาหารและออกซิเจน ของเสียที่ไหลไปติดตรงนั้นก็จะไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เกิดการเน่าเสีย และเป็นจุดเพาะเชื้อก่อโรคต่างๆได้ ไอ้วัสดุที่ว่าก็จะเป็นจำพวกเซรามิกริง ทั้งแบบพรุนไม่พรุน ถ้าแบบไม่มีรูพรุนเอาไว้กระจายกระแสน้ำเฉยๆ ถ้าแบบมีรูพรุนก็จะใช้เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียด้วยในตัว ดูรายละเอียดได้ที่เดิมครับ > วัสดุกรองชีวภาพ พอน้ำไหลไปเจอท่อสั้นๆพวกนี้ ที่มันหันไปทงโน้นทางนี้ น้ำก็จะไหลกระจายไปทางโน้นทางนี้เหมือนกัน ก็จะกระจายได้ทั่วกรอง แค่นั้นแหละครับ ไม่มีอะไรซับซ้อน ลองเอาใส่ถาดกรองแล้วตักน้ำราดดูก็เห็นเองครับ

ตูดกรอง

เนี่ยครับ การเรียงวัสดุกรอง อ่ะทีนี้ หลังจากฟังขี้ปากผมไปแล้ว ลองไปอ่านของพี่ ปิติ๙๙ บ้างก็ได้ครับ กรองนอกสำเร็จรูป by ปิติ๙๙ แล้วก็อีกที่ก็ เว็บของกรองนอกยี่ห้อ Atman ครับ

ด้านล่างนี้คือรูปกรองนอกยี่ห้อต่างๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/09/18, [16:46:05] โดย บัง! »
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #1 เมื่อ: 09/08/06, [16:03:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองฟองน้ำ
Sponge Filter (Sponge (สะปอง) = ฟองน้ำ, วัสดุที่ฟูอย่างฟองน้ำ)



หมายถึงระบบกรองที่ใช้วัสดุกรองส่วนใหญ่ หรือทั้งหมด เป็นฟองน้ำ จัดเป็น "กรองใน" (กรองที่ตัวระบบกรองอยู่ในตู้ทั้งหมด) ชนิดหนึ่งใช้เพื่อเป็นวัสดุกรองกล คือใช้เพื่อกรองสารแขวนลอย ฝุ่นผง ขี้ปลาในน้ำ อาจจะมีแบคทีเรียมาอยู่ แต่เมื่อเราล้างฟองน้ำ มันจะหายไปเกือบหมด เพราะพื้นผิวของเส้นใยฟองน้ำลื่นเกินไป ไม่เหมาะกับการเกาะตัวของสังคมแบคทีเรียเท่าไหร่ครับ ดังนั้น คนที่ใช้กรองแบบนี้ ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆหน่อยนะครับ เพราะไม่มีส่วนที่เป็นระบบกรองชีวภาพมาช่วยบำบัดน้ำเหมือนกรองที่ใส่วัสดุกรองชีวถาพโดยตรง ที่จะยืดระยะการเปลี่ยนน้ำได้นานกว่า

กรองฟองน้ำจะแบ่งเป็นสองแบบ คือ

1. แบบที่ใช้หลักการ แอร์ลิฟท์ (Air-Lift) หรือที่เป็นฟองอากาศบุ๋งๆออกมาจากท่อน่ะแหละ มาเป็นตัวดูดน้ำให้ไหลผ่านเข้ามาในฟองน้ำ การไหลของน้ำจะไม่เร็วนัก มักใช้กับตู้ที่ไม่ต้องการกระแสน้ำแรงๆ เช่นตู้เพาะลูกปลา ทำให้กรองฟองน้ำมีอีกชื่อนึงว่า Breeder Filter แบบนี้ราคาจะถูกมาก อันเล็กๆ 15-30 บาทเท่านั้น การใช้ต้องเอามาต่อกับปั๊มลม เหมาะใช้กับตู้ที่ไม่มีสัตว์น้ำ หรือมีน้อยๆครับ 

2. แบบที่ต่อกับปั๊มน้ำ (Powerhead) คือใช้ปั๊มดูดน้ำเข้าหาฟองน้ำกันเลย แรงดูดดีกว่าแบบที่ 1 เยอะ แต่ก็ต้องเสียค่าปั๊มน้ำเพิ่ม และฟองน้ำก็จะตันเร็วกว่าด้วย หรือจะเลือกแบบสำเร็จรูปก็มี แล้วก็เหมือนกับแบบที่ 1 คือเหมาะใช้กับตู้ที่ไม่มีสัตว์น้ำ หรือมีน้อยๆครับ 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/07, [12:02:54] โดย บัง »
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #2 เมื่อ: 09/08/06, [16:37:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองล่าง



คือระบบกรองที่มีตู้กรองอยู่ด้านล่างตู้ครับ จะต่างจากกรองนอกคือกรองนอก ตัวถังกรองจะต้องซีลปิดสนิททั้งหมด เพื่อไม่ให้น้ำรั่วออกมา แต่กรองล่างจะเป็นตู้หรือถังเปิด แล้วทำไมน้ำถึงไม่ไหลท่วมบ้านน่ะหรือครับ นั่นก็คือต้องมีส่วนที่เป็นลักษณะสำคัญของตู้กรองล่างนั่นคือ Overflow Control เป็นตัวควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลเข้า-ออกจากกรองให้เท่ากัน หรือ ใช้การกั้นหวีน้ำล้นครับ เป็นระบบกรองที่อาจจะไม่เหมาะกับตู้ไม้น้ำซักเท่าไหร่ เพราะเจ้า CO2 ที่เราอุตส่าซื้อถังกันมาเป็นพันแล้วก็แบกไปเติมกันทุกสองสามเดือน และหาวิธีการต่างๆนาๆให้มันละลายลงในตู้เนี่ย เมื่อมันเจอกับการไหลตกกระทบของน้ำตอนที่ไหลลงกั้นกรองสามเหลี่ยม หรือลงจากกล่อง Overflow แล้วก็ไหนจะมีฟองอากาศที่เกิดตอนน้ำไหลลงกรองล่างอีก สิ่งเหล่านี้มันจะทำให้CO2หนีออกจากน้ำไปได้ง่ายครับ แต่ถ้าไม่ซีเรียสก็ไม่เป็นไรหรอกครับ เห็นตู้บางคนก็สวยดี ทั้งๆที่เป็นกรองล่าง

จากนี้ไปเป็นข้อความของพี่ ปิติ99 ในกระทู้เรื่องกรองล่าง ภาพตัวอย่าง--ตู้ปลาที่มีระบบกรองล่าง ที่พันทิพย์นะครับ เนื่องจากพี่เค้าเขียนไว้ได้ดีแล้ว ผมก็ขออนุญาติยกมาแปะเลยแล้วกัน จะแต่งใหม่เขียนใหม่เองก็กลัวจะเป็นเอาอีแต๋นไปแข่งกะเบนซ์ครับ

ก็ตามไปอ่านกันเอาเองละกันนะครับ

ภาพตู้กรองล่างของพี่ปิติ๙๙ @ Pantip.com ขออนุญาติเอามาให้ดูกันหน่อยนะครับเฮีย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/07, [12:02:07] โดย บัง »
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #3 เมื่อ: 09/08/06, [17:40:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองแขวน
Hang-on Filter




ก็ตามชื่อแหละครับ เป็นกรองที่แขวนเอาไว้ข้างตู้ และมีปั๊มน้ำอยู่ภายในเพื่อหมุนเวียนน้ำ ข้อดีคือไม่กินเนื้อที่ตู้ ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย ราคาถูก 100-500 ก็ซื้อได้แล้ว จะมีข้อเสียอยู่บ้างตรงถ้าเป็นกรองแขวนตัวเล็กๆมักจะไม่ค่อยเหลือพื้นที่ให้ใส่วัสดุกรองเท่าไหร่ พยายามเลือกตัวที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะยัดได้แล้วกัน

อ้อ แล้วก็ใช้กับตู้ใหญ่ๆไม่ได้นะ เพราะที่มีขายมันก็เป็นตัวเล็กๆทั้งนั้น ก็ขืนทำตัวใหญ่ๆ น้ำหนักมันก็จะเยอะ แขวนไว้ข้างตู้ คงได้มีแตกกันมั่งล่ะ ตู้ใหญ่สุดที่จะใช้ได้คือ ตู้ขนาดประมาณ 24" ถ้าใหญ่กว่านี้คงไม่ไหวแล้วล่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/07, [11:45:33] โดย บัง »
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #4 เมื่อ: 09/08/06, [17:50:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองใต้กรวด
Under Gravel Filter (UGF)




เป็นกรองที่ใช้ได้ดี ง่าย ราคาถูก แต่ไม่เหมาะกับตู้ไม้น้ำครับ เพราะใช้ท่อแอร์ลิฟ หรือปั๊มน้ำต่อกับแผ่นกรอง ในการดูดน้ำให้ไหลผ่านชั้นกรวด โดยให้ชั้นกรวดเป็นวัสดุกรองชีวภาพ ซึ่งจะทำให้ปุ๋ยที่เราฝังไว้ฟุ้งขึ้นมาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/07, [12:30:20] โดย บัง »
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #5 เมื่อ: 09/08/06, [18:03:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองข้าง,กั้นกรอง

เป็นกรองที่ใช้การกั้นพื้นที่ตู้ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่กรอง มีทั้งกั้นหลัง กั้นข้าง กั้นมุม แล้วใช้ปั๊มดูดน้ำผ่านทางหวีน้ำล้นด้านบน(รุ่นใหม่ๆที่ทำขายกันจะมีการเพิ่มชองน้ำเข้าตรงกลางหรือด้านล่างด้วย)

ข้อเสียคือเสียพื้นที่ในตู้เยอะ เพราะต้องกั้นส่วนหนึ่งออกไปเลย เอาออกยาก ต้องแซะซิลิโคนแล้วเอากระจกที่กั้นออก น้ำในกรองแห้งง่าย ต้องคอยเติมน้ำบ่อยๆ ยิ่งเป่าพัดลมด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่  เพราะน้ำที่หายไปจากการระเหย จะไปลดลงในกรองแทน แล้วก็น้ำที่ไหลตกกระทบผ่านหวีน้ำล้นยังทำให้ CO2ระเหยอีก ถึงจะแก้ไขได้ด้วยการเติมน้ำให้เต็มๆกรอง หรือกลับทิศทางปั๊มก็เถอะ ก็ยังถือว่าสร้างความยุ่งยากให้มากเกินไป ถ้าจะซื้อตู้ใหม่ ไม่ควรใช้ระบบกรองแบบนี้ด้วยประการทั้งปวงครับ ยกเว้นเป็นตู้ปลาเก่าที่มีอยู่แล้วไม่อยากรื้อกั้นกรอง ก็พอไหวครับ ไม่โหดเกินไปนัก

ผมไม่มีรูปกั้นกรองที่เห็นชัดๆอยู่เลย ใครมีแบบถ่ายที่กรองเต็มๆขอสงเคราะห์ทีครับ จะเป็นพระคุณอย่างแรง

*** ฉะนั้น รูปขอแปะโป้งไว้ก่อนเด้อ ***

มีแต่อันเนี้ย คล้ายๆอยู่เหมือนกัน

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บัง! ออฟไลน์
in Wonderland
« ตอบ #6 เมื่อ: 24/08/06, [22:56:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กรองถัง



เป็นกรองที่ใช้ปั๊มน้ำที่ติดตั้งถายในตู้ ปั๊มน้ำขึ้นไปใส่ถังกรอง ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำในตู้ แล้วให้ไหลผ่านวัสดุกรองลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก
การเลือกใช้วัสดุกรอง จะคล้ายๆกับกรองใต้ตู้ เพราะได้เปรียบตรงรูปร่างใหญ่ (ส่วนใหญ่จะใช้ถังใหญ่ๆทำกัน)  ใส่วัสดุกรองได้มากเหมือนๆกัน
กรองแบบนี้ไม่เหมากับตู้ไม้น้ำ เพราะตัวระบบกรอง ทำให้เกิดฟองอากาศและการไหลแตกกระเซ็นของน้ำมาก CO2 ที่เราให้ไปจะหลุดลอยไปซะหมด แถมเวลาใช้ยังต้องยกไปสูงกว่าตู้อีก ลำบากทีเดียว

ในภาพที่ให้มาเป็นกรองถังทำเองของคุณ RoF ครับ ดูวิธีการทำได้ที่นี่ >> มาทำถังกรองน้ำแบบง่ายๆกันครับ
ขอยืมรูปหน่อยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/07, [12:34:07] โดย บัง »
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: