Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1 2   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ** รู้ถึงและแก้ปัญหาแล้ว ** ตะไคร่ฝ้าเขียว ถ้าทิ้งไว้ 20 วันจะหายไปเองหรือครับ  (อ่าน 8143 ครั้ง)
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #30 เมื่อ: 09/11/13, [00:49:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Green dust algae เท่าที่เจอและแก้ไข เกิดสารอาหารในตู้เยอะไปตอนนั้นใส่ปุ๋ยเกินไป และกรองสกปรก
อ้างถึง
ตู้ 48 น้ำ 200 ลิตร ไฟ 54*5 เปิด 8 ชั่วโมง ต้นไม้เต็มตู้ สมช 30 ตอนนี้ขัดออกทุก 2 วันเลยครับ
อ้างถึง
ปล.ใส่ปุ๋ย ada ต่ำกว่าโดส

1.ต้องถามว่าทำไมใส่ปุ๋ยต่ำกว่าโดสทั้งที่ไม้น้ำจากภาพก็มากอยู่ครับ ดิน 4 เดือน น่าจะ ADA หรือเปล่า ตอนนี้ต้อง step 2  + 15-20 ปั๊มทุก 2-3 วันแล้ว
2.หลังขูดออกได้เปลี่ยนน้ำไหมครับ ไม่เปลี่ยนตะไคร่ก็แค่ปลิวไปในระบบจำนวนเท่าเดิม พรุ่งนี้ก็เกิดใหม่ ไม่มีวันหาย
3.ล้างกรองให้บ่อยครั้งขึ้น ทุก 10 วัน ก็ได้ หลังขูดสักวันเอาใยกรองมาล้างก็ยังดี  ไม่ล้างกรองไม่มีทางหายง่ายๆครับ
4.ให้ลดชั่วโมงไฟลงครับ 5-6 ชม. กำลังดี หรือต้องการ ชม. เท่าเดิมฟอร์มไม้ข้อ ให้เปิดเฉพาะชุดหลังครึ่งหลังมากลางตู้  8 ชม.

ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #31 เมื่อ: 09/11/13, [00:56:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คุณเก่งมาพอดีเลยยย เย่..!!
ผมมีเรื่องอยากจะสอบถามครับ พอดีคุยกับพี่เเบงค์(diffz) ว่าเจ้าตัว green dust algae มันเกี่ยวข้องกับ blue green อย่างไรครับ?? เพราะจากที่ผมเคยเลี้ยงมาเเละจากประสบการณ์ของพี่เเบงค์(diffz) ก็เจอในลักษณะที่ว่า ตะไคร่ green dust ที่ใกล้ๆผิวดิน มันทำให้เกิด blue green ตามมาครับ ... รบกวนคุณเก่งด้วยนะครับ อยากทราบจริงๆครับว่ามันเกี่ยวเนื่องกันยังไง ..??
ขอบคุณค้าบบบ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #32 เมื่อ: 09/11/13, [01:06:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลองดูเเผนภาพนี้นะครับ (หามาให้ อันนี้น่าจะดูง่ายสุดครับ เพราะจริงๆเเล้วมันซับซ้อนซ่อนเงื่อน5555)


ความคิดผมนะครับ(ถูกผิดต้องขออภัย เเต่อยากจะวิเคราะห์ในมุมมองของผมครับ)
(เเผนผังนี้เเสดงการทำงานของเเบคทีเรียทั้งเเบบที่ใช้ออกซิเจนเเละไม่ใช้ออกซิเจน)

ถ้าเราต้องการเพิ่มปริมาณไนเตรท
-ไม่ถ่ายนํ้า ไม่เปลี่ยนนํ้า บ่อยเกินไป เพราะการเปลี่ยนนํ้าจะลดปริมาณไนเตรต(ดูจากภาพ)
ดังนั้นถ้าเป็นผมคือ ช่วงนี้จะไม่ถ่ายนํ้า2weeks ครับ

-เพิ่มอาหารปลา เพื่อให้มีของเสียเยอะขึ้น เเละมีเเอมโมเนียเยอะขึ้น เเล้วให้เเบคทีเรียเเบบใช้ออกซิเจนช่วย เปลี่ยนเเอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์เเละไนเตรต
ดังนั้นถ้าเป็นผมจะให้อาหารปลาเยอะขึ้น เเละใส่เเบคทีเรียนํ้า(จุลินทรีย์นํ้า)ลงไปเยอะๆเลย (overdose)


-มองด้านล่างจะเห้นว่าเเบคทีเรียที่ทำงานในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน จะคอยเปลี่ยนไนเตรต(ที่เราต้องการ) ให้เป็นไนโตรเจนอิสระ ดังนั้นเวลากลางคืนผมจะเปิดปั้มลม เพื่อบังคับให้เเบคทีเรียที่ทำงานเเบบใช้ออกซิเจนทำงานได้ดี ในขณะที่เเบคทีเรียเเบบไม่ใช้ออกซิเจนอาจจะทำงานได้(ใต้ดินลึกๆ) เเต่ก็ต้องทำงานได้น้อยลงเมื่อเทียบกับการไม่เปิดปั้มลมเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายในนํ้า  ... รวมทั้งถ้าตอนเราเปิดไฟ เปิดco2 เเล้วต้นไม้น้อย ทำให้ปริมาณการสังเคราะห์เเสงมันน้อย ต้นไม้ผลิตo2ได้น้อย  ผมจะเปิดปั้มลมเบาๆ เพื่อเพิ่มปริมาณo2 ในนํ้าด้วยครับ
การเพิ่มไนเตรททำได้ง่ายๆ โดยการใส่ปุ๋ยที่เน้น Nitrogen เข้าไปก็ได้ครับ
การไปเพิ่มอาหารปลา หรือ ไม่เปลี่ยนน้ำ วิธีนี้มันคิดไวไปไหม
ไม่เปลี่ยนน้ำมันไม่ได้เพิ่มแค่ไนเตรทน่ะสิครับ สารของเสียไม่จำเป็นอื่นๆ ที่เข้มข้นสะสมรังแต่จะเป็นภาระให้กับระบบกรอง แบบนี้มันจะทรุดมากกว่าดีนะครับ

การเพิ่มอาหารปลา + แบคโอเวอร์โดส   ถ้าเป็นเคมีน่ะคิดแบบนี้ถูกเลย แต่อย่าลืมว่านี่ระบบกรองชีวภาพนะครับ ในระบบอะไรที่มากเกินปกติ คิดว่าแบคทีเรียที่ใส่เพิ่มจากยี่ห้ออะไรไม่รู้ ล่ะครับที่เก็บในสภาวะนิ่ง กึ่งหลับมา มันจะลุกพรวดพราดมากินอาหารปลาที่เราใส่ลงไปเยอะๆ หรือครับ   ของแบบนี้ทั่งใช้เวลา

คิดง่ายๆเวลาระบบบำบัดน้ำเสียอะไรก็แล้วแต่ ระบบรันรับภาระได้ดีอยู่ดีๆ ลองเติมน้ำเสียลงไปแบบฉับพลันเท่าตัว คิดว่าเราเติมเชื้อจากที่ไหนก็ไม่รู้เข้าไป มันจะย่อยสลายบำำบัดทันไหมครับ   แบคทีเรียที่มีค่ายิ่งตามชาร์ท N.cycle  ที่ยกมานั่นหล่ะครับคือสมบัติล้ำค่าที่ทำงานเบื้องหลังตู้ที่ประสบความสำเร็จมา  และมันระบบไหนระบบนั้นนะครับ อย่าลืมว่าเรากำทำงานอยู่กับสิ่งมีชีวิตไม่ใช่คิดแบบเคมี

การเพิ่ม O2 มันไม่ได้ไปรบกวนระบบ ของเชื้อแบบไร้อากาศให้ทำงานน้อยลงหรอกครับ
การเพิ่ม O2 นั้นใช้ตอนเริ่มต้นระบบ ที่แบคทีเรียยังไม่มีอ๊อคซิเจนจากไม้น้ำที่กำลังตั้งตัวมาช่วยระบบ
แต่แบคทีเรียไร้อากาศต้องใช้เวลา เติบโตช้ากว่าดังนั้นการเซ็ตอัพ N. cycle สมบูรณ์จึงได้เพียงแค่รอ ไม่มีทางเร่งได้ เซ็ตแล้วเซ็ตเลยครับ 4 เดือนตู้นี้เซ็ตแล้ว   อยู่ที่ผู้เลี้ยงต้องตอบให้ได้ คิดให้ออกว่ามีความจำเป็นต้องเติมอ๊อคกลางคืนในกรณีที่มีโอกาสเกิดสภาพไร้อากาศในช่วงที่เราปิดไฟหรือไม่ ปกติต้นไม้คายฟองดีทั้งวัน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดอ๊อคกลางคืน  ตู้ผมไม่เคยเปิดสักตู้เลยครับยกเว้นตอนตั้งตู้กับตอนคาร์บอนพุ่ง

บางอย่างผมตอบจากความเห็นส่วนตัวนะครับ
รอท่านอื่นเพิ่มเติมครับ มีหลายจุดที่ผมกลัวว่าคนที่มาอ่านหาความรู้จะสับสนและเข้าใจผิดได้ ขอให้อภิปรายกันอย่างมีประโยชน์เถิด กระทู้แบบนี้สนุกครับ นานๆมาที
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #33 เมื่อ: 09/11/13, [01:14:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คุณเก่งมาพอดีเลยยย เย่..!!
ผมมีเรื่องอยากจะสอบถามครับ พอดีคุยกับพี่เเบงค์(diffz) ว่าเจ้าตัว green dust algae มันเกี่ยวข้องกับ blue green อย่างไรครับ?? เพราะจากที่ผมเคยเลี้ยงมาเเละจากประสบการณ์ของพี่เเบงค์(diffz) ก็เจอในลักษณะที่ว่า ตะไคร่ green dust ที่ใกล้ๆผิวดิน มันทำให้เกิด blue green ตามมาครับ ... รบกวนคุณเก่งด้วยนะครับ อยากทราบจริงๆครับว่ามันเกี่ยวเนื่องกันยังไง ..??
ขอบคุณค้าบบบ
ถูกทั้งคู่ ครับ คิดไปได้ทั้งสองทาง

ตะไคร่เกิดจากอะไรในระบบที่เซ็ตได้ 4 เดือนขนาดนี้
Algae usually appears when there is an imbalance in nutrients, water circulation, CO2, oxygen and light.

ฺGDA   กับ BGA  แน่นอนคนละตัว  อันหนึ่งเป็นตะไคร่แท้ อันหนึ่งเป็น Cyanobacteria
สภาวะที่เหมาะเจาะต่างหากที่นำพาเค้ามาพบกัน

ฺBGA มันเริ่มต้นจากใบพืชทำไมตรงนี้ลองหาอ่านดูครับ  
อ้างถึง
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Cyanobacteria) เหล่านี้เรียกว่า cyanobiont การอยู่ร่วมกันกับพืชเกิดขึ้นได้โดย cyanobiont จะมีการตอบสนองต่อสัญญาณ (host signal) ที่พืชสร้างขึ้น ได้แก่ hormogonia-inducing factor (HIF), hormogonia-repressing factor (HRF) และ chemoattractants ซึ่ง hormogonia ของ cyanobiont จะ infect เข้าไปตาม chemotactic direction ทำให้เข้าไปอยู่ในบริเวณส่วนต่างๆ ของพืชได้ เช่น leaf cavities, roots หรือ stem gland เป็นต้น ใน Gunnera (กลุ่ม angiosperm) จะหลั่ง HIF (มีลักษณะเป็น viscous mucilage) จาก stem gland ไปกระตุ้น hormogonia ของ Nostoc strains ให้มา infect แล้วจึงหลั่ง chemoattractants เพื่อความสะดวกในการ infect ของ hormogonia เมื่อมีการ infect แล้วจะหลั่ง HRF ออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้ hormogonia ของ cyanobionts ตัวอื่นมา infect อีก (รูปที่ 5) หากเป็นกลุ่ม ectophytic cyanobacteria เช่น Anabaena กับ Azolla นั้นพบว่า Azolla จะผลิต lectin ที่มีความจำเพาะกับ specific sugar บน cyanobiont cell surface ซึ่งบริเวณนี้จะมี pili ช่วยในการเกาะติดกับ Azolla ได้
<<<<<<<<<<< สรุปง่ายๆคือมันชอบขึ้นบนส่วนต่างๆของพืชได้โดยโตเป็นเมือกๆ
 ลามกว้าง ไปขอบกระจก  อาจเหมือนแปลงร่างมาจาก GDA แต่จริงๆ ไม่ใช่ครับ เกิดจากสภาวะอำนวนให้มาทั้งคู่ แจ๊คพอต

กระทู้นี้ดีนะ ลองอ่านก่อนครับ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=144064.55


ลืมตอบครับ
อ้างถึง
   หัวข้อ: ตะไคร่ฝ้าเขียว ถ้าทิ้งไว้โดยไม่ขัดออก 20 วันจะหายไปเองหรือครับ
อย่าทิ้งไว้ขนาดนั้นเลยครับ ถ้ามันไม่หายวันที่ 21+ จะท้อเอา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09/11/13, [01:19:29] โดย Coffman »
ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #34 เมื่อ: 09/11/13, [01:26:14] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

การเพิ่มไนเตรททำได้ง่ายๆ โดยการใส่ปุ๋ยที่เน้น Nitrogen เข้าไปก็ได้ครับ
การไปเพิ่มอาหารปลา หรือ ไม่เปลี่ยนน้ำ วิธีนี้มันคิดไวไปไหม
ไม่เปลี่ยนน้ำมันไม่ได้เพิ่มแค่ไนเตรทน่ะสิครับ สารของเสียไม่จำเป็นอื่นๆ ที่เข้มข้นสะสมรังแต่จะเป็นภาระให้กับระบบกรอง แบบนี้มันจะทรุดมากกว่าดีนะครับ

การเพิ่มอาหารปลา + แบคโอเวอร์โดส   ถ้าเป็นเคมีน่ะคิดแบบนี้ถูกเลย แต่อย่าลืมว่านี่ระบบกรองชีวภาพนะครับ ในระบบอะไรที่มากเกินปกติ คิดว่าแบคทีเรียที่ใส่เพิ่มจากยี่ห้ออะไรไม่รู้ ล่ะครับที่เก็บในสภาวะนิ่ง กึ่งหลับมา มันจะลุกพรวดพราดมากินอาหารปลาที่เราใส่ลงไปเยอะๆ หรือครับ   ของแบบนี้ทั่งใช้เวลา

คิดง่ายๆเวลาระบบบำบัดน้ำเสียอะไรก็แล้วแต่ ระบบรันรับภาระได้ดีอยู่ดีๆ ลองเติมน้ำเสียลงไปแบบฉับพลันเท่าตัว คิดว่าเราเติมเชื้อจากที่ไหนก็ไม่รู้เข้าไป มันจะย่อยสลายบำำบัดทันไหมครับ   แบคทีเรียที่มีค่ายิ่งตามชาร์ท N.cycle  ที่ยกมานั่นหล่ะครับคือสมบัติล้ำค่าที่ทำงานเบื้องหลังตู้ที่ประสบความสำเร็จมา  และมันระบบไหนระบบนั้นนะครับ อย่าลืมว่าเรากำทำงานอยู่กับสิ่งมีชีวิตไม่ใช่คิดแบบเคมี

การเพิ่ม O2 มันไม่ได้ไปรบกวนระบบ ของเชื้อแบบไร้อากาศให้ทำงานน้อยลงหรอกครับ
การเพิ่ม O2 นั้นใช้ตอนเริ่มต้นระบบ ที่แบคทีเรียยังไม่มีอ๊อคซิเจนจากไม้น้ำที่กำลังตั้งตัวมาช่วยระบบ
แต่แบคทีเรียไร้อากาศต้องใช้เวลา เติบโตช้ากว่าดังนั้นการเซ็ตอัพ N. cycle สมบูรณ์จึงได้เพียงแค่รอ ไม่มีทางเร่งได้ เซ็ตแล้วเซ็ตเลยครับ 4 เดือนตู้นี้เซ็ตแล้ว   อยู่ที่ผู้เลี้ยงต้องตอบให้ได้ คิดให้ออกว่ามีความจำเป็นต้องเติมอ๊อคกลางคืนในกรณีที่มีโอกาสเกิดสภาพไร้อากาศในช่วงที่เราปิดไฟหรือไม่ ปกติต้นไม้คายฟองดีทั้งวัน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดอ๊อคกลางคืน  ตู้ผมไม่เคยเปิดสักตู้เลยครับยกเว้นตอนตั้งตู้กับตอนคาร์บอนพุ่ง

บางอย่างผมตอบจากความเห็นส่วนตัวนะครับ
รอท่านอื่นเพิ่มเติมครับ มีหลายจุดที่ผมกลัวว่าคนที่มาอ่านหาความรู้จะสับสนและเข้าใจผิดได้ ขอให้อภิปรายกันอย่างมีประโยชน์เถิด กระทู้แบบนี้สนุกครับ นานๆมาที

อ่านความเห็นคุณเก่งสนุกมากครับ ^^ 

ผมคิดว่า.. ที่คุณเก่งบอกเรื่องใช้ปุ๋ยที่เน้น nitrogen เป็นทางเลือกที่ดีครับ เเต่ผมยังคิดว่าการเพิ่มo2 ถึงเเม้จะไม่รบกวนระบบของเเบคทีเรียเเบบไม่ใช้ออกซิเจน เเต่อย่างน้อยๆก็น่าจะเป็นการเพิ่มปริมาณo2 ที่จำเป็นในระบบเเบคทีเรียเเบบใช้ออกซิเจนนะครับ + ถ้าเป็นผมจะเปลี่ยนมีเดียในกรองซัก10-20%เเละเเทนที่ด้วยมีเดียที่มีรูพรุนดีๆ เพราะผมมองว่ามีเดียที่เเบคทีเรียอาศัยอยุ่พอมันตาย มันก็อยุ๋ในช่อง (รู) นั้น ไม่ออกมา ทำให้เเบคทีเรียตัวใหม่ๆเข้าไปไม่ได้ เเต่ถ้าเปลี่ยนมากเกินไปผมว่าจะส่งผลให้เเบคทีเรียที่รองรับของเสีย หายไปด้วย(หายมากเกินไป) ก็จะเละยิ่งกว่าเดิม ครับ

ปล.ความเห็นส่วนตัวล้วนๆครับ ^^ สนุกมากครับที่มาถกกันเป็นฉากๆ (เหมือนอภิปราย555) ครับ
คุณพ่อหน้าเด็ก ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #35 เมื่อ: 09/11/13, [01:32:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลองดูเเผนภาพนี้นะครับ (หามาให้ อันนี้น่าจะดูง่ายสุดครับ เพราะจริงๆเเล้วมันซับซ้อนซ่อนเงื่อน5555)


ความคิดผมนะครับ(ถูกผิดต้องขออภัย เเต่อยากจะวิเคราะห์ในมุมมองของผมครับ)
(เเผนผังนี้เเสดงการทำงานของเเบคทีเรียทั้งเเบบที่ใช้ออกซิเจนเเละไม่ใช้ออกซิเจน)

ถ้าเราต้องการเพิ่มปริมาณไนเตรท
-ไม่ถ่ายนํ้า ไม่เปลี่ยนนํ้า บ่อยเกินไป เพราะการเปลี่ยนนํ้าจะลดปริมาณไนเตรต(ดูจากภาพ)
ดังนั้นถ้าเป็นผมคือ ช่วงนี้จะไม่ถ่ายนํ้า2weeks ครับ

-เพิ่มอาหารปลา เพื่อให้มีของเสียเยอะขึ้น เเละมีเเอมโมเนียเยอะขึ้น เเล้วให้เเบคทีเรียเเบบใช้ออกซิเจนช่วย เปลี่ยนเเอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์เเละไนเตรต
ดังนั้นถ้าเป็นผมจะให้อาหารปลาเยอะขึ้น เเละใส่เเบคทีเรียนํ้า(จุลินทรีย์นํ้า)ลงไปเยอะๆเลย (overdose)

-มองด้านล่างจะเห้นว่าเเบคทีเรียที่ทำงานในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน จะคอยเปลี่ยนไนเตรต(ที่เราต้องการ) ให้เป็นไนโตรเจนอิสระ ดังนั้นเวลากลางคืนผมจะเปิดปั้มลม เพื่อบังคับให้เเบคทีเรียที่ทำงานเเบบใช้ออกซิเจนทำงานได้ดี ในขณะที่เเบคทีเรียเเบบไม่ใช้ออกซิเจนอาจจะทำงานได้(ใต้ดินลึกๆ) เเต่ก็ต้องทำงานได้น้อยลงเมื่อเทียบกับการไม่เปิดปั้มลมเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายในนํ้า  ... รวมทั้งถ้าตอนเราเปิดไฟ เปิดco2 เเล้วต้นไม้น้อย ทำให้ปริมาณการสังเคราะห์เเสงมันน้อย ต้นไม้ผลิตo2ได้น้อย  ผมจะเปิดปั้มลมเบาๆ เพื่อเพิ่มปริมาณo2 ในนํ้าด้วยครับ

+ให้ ขยันจริง
ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #36 เมื่อ: 09/11/13, [02:05:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



ที่ผมเข้าใจคือ พืชจะมีเหมือนเป็น Receptor ที่ให้เเบคทีเรีย เข้าสู่พืช ซึ่งเเบคทีเรียตัวนี้มันตอบสนองต่อสัญญาณที่พืชส่งออกมา คือ
hormogonia-inducing factor (HIF) เป็น ตัวกระตุ้นที่มีลักษณะเป็นเมือกเหนียวๆ

hormogonia-repressing factor (HRF) เป็นinhibitorยับยั้งไม่ให้เเบคทีเรียตัวอื่นมาเเจม

chemoattractants สารเคมีเหนี่ยวนำ (ช่วยในการinfect)

เเต่ที่งงคือ

Azolla จะผลิต lectin ที่มีความจำเพาะกับ specific sugar บน cyanobiont cell surface ซึ่งบริเวณนี้จะมี pili ช่วยในการเกาะติดกับ Azolla ได้
Azoola จะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า lectin บนผิวของตัวเเบคทีเรีย(ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อ หมู่นํ้าตาลที่ตัวพืช) ซึ่งบนผิวของเเบคทีเรียจะมีขน pili  ที่จะเกาะติดกับ azolla ? <ผมว่าที่ขีดเส้นใต้น่าจะเป็น "ที่จะเกาะติดกับพืช" นะครับ

อันนี้พิมพ์ผิดหรือผมเข้าใจผิดเองครับ  ?? ด้วยความเคารพครับ รบกวนด้วยค้าบบ



จากลิ้งค์ที่ไปคุณเก่งให้มาผมเข้าไปอ่านเเล้วครับ กว่าจะอ่านจบ (ทุกคอมเม้นท์) เรื่องการควบคุมเเละกำจัดตะไคร่ 5555 ผมว่าน่าจะมาถกกันอีกรอบนะครับ อิอิ
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #37 เมื่อ: 09/11/13, [02:07:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Green dust algae เท่าที่เจอและแก้ไข เกิดสารอาหารในตู้เยอะไปตอนนั้นใส่ปุ๋ยเกินไป และกรองสกปรก
1.ต้องถามว่าทำไมใส่ปุ๋ยต่ำกว่าโดสทั้งที่ไม้น้ำจากภาพก็มากอยู่ครับ ดิน 4 เดือน น่าจะ ADA หรือเปล่า ตอนนี้ต้อง step 2  + 15-20 ปั๊มทุก 2-3 วันแล้ว
2.หลังขูดออกได้เปลี่ยนน้ำไหมครับ ไม่เปลี่ยนตะไคร่ก็แค่ปลิวไปในระบบจำนวนเท่าเดิม พรุ่งนี้ก็เกิดใหม่ ไม่มีวันหาย
3.ล้างกรองให้บ่อยครั้งขึ้น ทุก 10 วัน ก็ได้ หลังขูดสักวันเอาใยกรองมาล้างก็ยังดี  ไม่ล้างกรองไม่มีทางหายง่ายๆครับ
4.ให้ลดชั่วโมงไฟลงครับ 5-6 ชม. กำลังดี หรือต้องการ ชม. เท่าเดิมฟอร์มไม้ข้อ ให้เปิดเฉพาะชุดหลังครึ่งหลังมากลางตู้  8 ชม.



ตอบ 1 : ใส่ต่ำกว่าโดสเพราะในความรู้สึกตู้ตัวเองต้นไม้น้อย เมื่อเทียบกับตู้ขนาดเท่ากัน ในห้องโชว์ตู้ไม้น้ำ เลยใส่น้อยไว้ก่อน

ตอบ 2 ขูดแล้วเปลี่ยนน้ำครับ

ตอบ 3 จะลองทำดูครับ ผมนึกว่าล้างหรองบ่อยๆ แบคทีเรียมันจะตาย เลย 2 เดือนที

ตอบ 4 โคมแบบ 6 หลอด 54*6 ตอนนี้ใส่แค่ 5 หลอดครับ เปิด 8 ชั่วโมง เดี๊ยวจะลดชั่วโมงลง เหลือ 7 ดูครับ

ขอบคุณคร๊าบบบ
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #38 เมื่อ: 09/11/13, [02:14:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สาเหตุที่ผมเลือกเปิดอ๊อกตอนกลางคืน เพราะทฤษฎี ต้นไม้คาย o2 ตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนคาย co2 ครับ แล้วผมเปิด co2 เยอะด้วย กลัวกลางคืนต้นไม้คายออกมาอีก กลัวปลาตาย เลยเปิดอ๊อกครับ
ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #39 เมื่อ: 09/11/13, [02:21:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตอบ 1 : ใส่ต่ำกว่าโดสเพราะในความรู้สึกตู้ตัวเองต้นไม้น้อย เมื่อเทียบกับตู้ขนาดเท่ากัน ในห้องโชว์ตู้ไม้น้ำ เลยใส่น้อยไว้ก่อน

ตอบ 2 ขูดแล้วเปลี่ยนน้ำครับ

ตอบ 3 จะลองทำดูครับ ผมนึกว่าล้างหรองบ่อยๆ แบคทีเรียมันจะตาย เลย 2 เดือนที

ตอบ 4 โคมแบบ 6 หลอด 54*6 ตอนนี้ใส่แค่ 5 หลอดครับ เปิด 8 ชั่วโมง เดี๊ยวจะลดชั่วโมงลง เหลือ 7 ดูครับ

ขอบคุณคร๊าบบบ

ข้อ3
การล้างกรอง
ที่ผมคิดคือบางครั้งกรองเรามีมีเเต่ของเสียเเละเศษตะกอนสะสม เหมือนกับนํ้าไหลผ่านของเสีย ซึ่งถ้าเราไม่ล้างมันของเสียมันก็วนเวียนอยุ่ไม่ไปไหน เเต่การล้างกรองโดยใช้นํ้าในตู้ก็ทำให้รักษาเเบคทีเรียสุดรักสุดหวงของเราไว้ได้ เเละทำให้กรองไม่ตัน(ไม่มีตะกอน) เเล้วส่งผลให้นํ้าไหลflowผ่านกรองได้ดีขึ้น / นํ้าในตู้มีการไหลเวียนที่ดี(กรองสะอาด นํ้าเเรง -กรองสกปรกนํ้าเบา)

มีคำถามที่ผมอยากถามคุณเก่งครับ

-ล้างกรองบ่อยมั้ยครับ ?? (ล้างด้วยนํ้าในตู้)
-ล้างกรองด้วยนํ้าประปา ควรทำทุกๆกี่เดือนครับ ??
-ถึงเเม้จะรู้ดีว่ากรองพอใช้ๆไปนํ้าจะเบา เเต่ว่ามีวิธีทำให้นํ้าเเรงสมํ่าเสมอได้นานๆมั้ยครับ (นอกจากลดความหนาเเน่นของมีเดีย) ??

ปล.ปกติผมล้างกรองด้วยนํ้าในตู้ ทุกๆ3อาทิตย์ เเละล้างสายยางด้วยนํ้าประปา (เอาฟองนํ้ายัดๆเเล้วฉีดนํ้าใส่สายยางให้ไม่มีเศษตะไคร่ เศษเมือก) ครับ เดี๋ยววันนี้ก็จะล้างกรองเเล้วเพราะนํ้าเบาเหลือเกิน =.=  




สาเหตุที่ผมเลือกเปิดอ๊อกตอนกลางคืน เพราะทฤษฎี ต้นไม้คาย o2 ตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนคาย co2 ครับ แล้วผมเปิด co2 เยอะด้วย กลัวกลางคืนต้นไม้คายออกมาอีก กลัวปลาตาย เลยเปิดอ๊อกครับ

ผมว่าถ้าต้นไม้สังเคราห์เเสงได้ดี มันก็สร้างo2 ได้ดีครับซึ่งตอนกลางคืนก็ไม่จำเป็นต้องเปิด (ตั้งตู้ใหม่ๆผมจะเปิดเพื่อจุลินทรีย์ในตู้) เเต่พอตั้งตู้ไปสักเดือนนึง ผมไม่เปิดo2กลางคืนนะครับเพราะผมมองว่าต้นไม้เเข็งเเรงพอ เเละสมบูรณ์เพียงพอ ที่จะสร้างo2ได้มากพอในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยเเสงได้เเล้วครับ //เเต่ผมจะเปิดปั้มลมก่อนลงสัตว์นํ้าทุกครั้งเเละจะเปิดปั้มลมต่อไปอีก12ชม (กลางคืน) หลังจากลงสัตว์นํ้า เช่นผมจะไปซื้อปลามาใส่ตู้ ... ตอนเช้าผมจะถ่ายนํ้า ขูดตะไคร่ ตัดเเต่งต้นไม้ เติมจุลินทรีย์นํ้า เเล้วก็ออกไปซื้อปลา พอกลับมาก่อนจะลงปลา(เวลาลงปลาผมปรับอุณหภูมิด้วยวิธีของผมเอง) ผมก็จะเปิดปั้มลมไว้ทันทีที่ถึงบ้าน พร้อมกับเเช่ถุงปลาลงไปทั้งถุง พอครบ30นาที-60นาที ผมจะเเกะถุงเเล้วดูดนํ้าในถุงออกมาครึ่งนึง(เก็บไว้เผื่อปลาน๊อคนํ้าจะได้เอามาพักในนํ้าที่มาจากร้าน) เเล้วผมก็เอานํ้าในตู้ใส่ไปในถุงนิดนึง เเช่ต่อไป15-30นาที เเล้วตักนํ้าใส่ถุงมาขึ้นเเช่ไปจนปลาออกเอง เเล้วผมจะเปิดปั้มลมตลอดทั้งคืนหลังจากลงปลา ครับ
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #40 เมื่อ: 09/11/13, [09:10:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบพระคุณคร๊าบบบ งั้นลองถอด O2 ออก  [on_024]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #41 เมื่อ: 09/11/13, [11:57:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีคำถามที่ผมอยากถามคุณเก่งครับ

-ล้างกรองบ่อยมั้ยครับ ?? (ล้างด้วยนํ้าในตู้)
1-2เดือน ครั้งแล้วแต่ความแรง เบา
-ล้างกรองด้วยนํ้าประปา ควรทำทุกๆกี่เดือนครับ ??
ไม่เคยทำครับ ล้างด้วยน้ำในตู้ น้ำพักตลอด
-ถึงเเม้จะรู้ดีว่ากรองพอใช้ๆไปนํ้าจะเบา เเต่ว่ามีวิธีทำให้นํ้าเเรงสมํ่าเสมอได้นานๆมั้ยครับ (นอกจากลดความหนาเเน่นของมีเดีย) ??
ห้ามไม่ได้ ใส่ไบโอริง 1/3 ของช่องกรอง จะอยูู่่ได้นาน 1-2 เดือนจนถึงเวลาล้าง
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #42 เมื่อ: 09/11/13, [12:37:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถามพี่ coffman อีกรอบครับ ยังสงสัยอยุ่อีกนิด

คำว่าไนเตรตต่ำมาก แสดงว่ากรองทำงานมีประสิทธิภาพใช่ไหมครับ ถ้าแบบนี้ผมเพิ่มกรองไปอีกตัวก็ไม่จำเป็นใช่ไหมครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #43 เมื่อ: 09/11/13, [13:04:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถามพี่ coffman อีกรอบครับ ยังสงสัยอยุ่อีกนิด

คำว่าไนเตรตต่ำมาก แสดงว่ากรองทำงานมีประสิทธิภาพใช่ไหมครับ ถ้าแบบนี้ผมเพิ่มกรองไปอีกตัวก็ไม่จำเป็นใช่ไหมครับ
โอ้ ไนเตรทมันมาจากปุ๋ยด้วยนะครับ จะเอามาประเมินจากไนเตรทเพียวๆ ว่ากรองดีนั้นคงไม่ตรงนัก   ปุ็ยน้ำที่เติม ด้วยเกี่ยวพันกันหมด

การดูไนเตรทในตู้จริงๆ ถ้าเลี้ยงพวกปลาล้วนคุมไว้ที่ 0 ppm แต่ตู้ไม้น้ำ บางตำราก็ให้ คุมที่  5-15ppm  เพื่อกันตะไคร่ BGA และเป็นแหล่งไนโตรเจนได้ครับ

ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #44 เมื่อ: 09/11/13, [13:53:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีคำถามที่ผมอยากถามคุณเก่งครับ

-ล้างกรองบ่อยมั้ยครับ ?? (ล้างด้วยนํ้าในตู้)
1-2เดือน ครั้งแล้วแต่ความแรง เบา
-ล้างกรองด้วยนํ้าประปา ควรทำทุกๆกี่เดือนครับ ??
ไม่เคยทำครับ ล้างด้วยน้ำในตู้ น้ำพักตลอด
-ถึงเเม้จะรู้ดีว่ากรองพอใช้ๆไปนํ้าจะเบา เเต่ว่ามีวิธีทำให้นํ้าเเรงสมํ่าเสมอได้นานๆมั้ยครับ (นอกจากลดความหนาเเน่นของมีเดีย) ??
ห้ามไม่ได้ ใส่ไบโอริง 1/3 ของช่องกรอง จะอยูู่่ได้นาน 1-2 เดือนจนถึงเวลาล้าง

ขอบคุณค้าบบบ  [on_055]
iodineman ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #45 เมื่อ: 09/11/13, [23:05:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วรบกวนคุณเก่งกับคุณรอมช่วยกันอธิบายวิธีการ "กำจัด" และ "ป้องกัน" ตะไคร่ขนดำ แบบเจาะลึกด้วยนะครับ

แบบว่าตะไคร่ตัวอื่นผมพอสู้ได้ แต่ขนดำมาทีไร ไม่ไหวทุกที  [on_051] [on_051]




ป.ล. ส่วนการล้างกรองผมขอแชร์ว่า การล้างสายยางใช้น้ำประปาไปเลยก็ได้นะครับ สายยางจะได้สะอาด เพราะถ้าล้างสายยางไม่ดีกรองก็จะเบานะครับ  แต่การล้างมีเดียห้ามใช้น้ำประปานะครับ

ROMMY ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #46 เมื่อ: 09/11/13, [23:28:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วรบกวนคุณเก่งกับคุณรอมช่วยกันอธิบายวิธีการ "กำจัด" และ "ป้องกัน" ตะไคร่ขนดำ แบบเจาะลึกด้วยนะครับ

แบบว่าตะไคร่ตัวอื่นผมพอสู้ได้ แต่ขนดำมาทีไร ไม่ไหวทุกที  [on_051] [on_051]




ป.ล. ส่วนการล้างกรองผมขอแชร์ว่า การล้างสายยางใช้น้ำประปาไปเลยก็ได้นะครับ สายยางจะได้สะอาด เพราะถ้าล้างสายยางไม่ดีกรองก็จะเบานะครับ  แต่การล้างมีเดียห้ามใช้น้ำประปานะครับ



วิธีกำจัดเเละป้องกันตะไคร่ขนดำ เจาะลึกต้องให้คุณเก่งเเนะนำครับ (เทพจริง)   beg1

เเต่ถ้าวิธีบ้านๆ ของผมเเล้วก็ปลาเล็บมือนาง ก็กินได้ดีพอสมควรครับ (ไม่เเนะนำในตู้เล็กๆเพราะมันตัวใหญ่ไว เกะกะจับยาก)
ส่วนถ้าขึ้นไม่เยอะก็ตัดใบทิ้งเลยครับ ผมสังเกตดูมันชอบขึ้นบนใบอนูเบียสครับ ถ้าเจอก็ตัดทิ้งเลย  lau01

เรื่องล้างสายยางผมเห็นด้วยครับ เพราะเวลาล้างสายยางผมเอานํ้าประปาล้างเลยครับ (เอาใยกรองยัดในสาย เเล้วเอาสายยางจากก๊อกมาเสียบกับสายยางของกรองที่จะล้าง เเล้วเปิดนํ้าเเรงสุดให้ใยมันวิ่งไปตามสาย ทำซํ้าๆก็สะอาดดีครับ)
wsquare ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #47 เมื่อ: 11/11/13, [11:44:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าเป็นตัวนี้ก็ตามข้อมูลด้านล่างครับ

เค้าว่า ขูดๆไปก็เท่านั้น เพราะมันเป็นสปอร์ ลอยอยู่ในน้ำ แล้วพี่แกก็ไม่รู้แน่ว่าเกิดจากอะไร แต่ว่าไฟแรงก็น่าจะเป็นต้นเหตุ แล้วก็มีบางอย่างทำให้มันไม่เกาะต้นไม้ จะเกาะแต่กระจกท่าเดียว ลดปุ๋ยก็ไม่ช่วย กลับจะทำให้ต้นไม้แย่ (อันนี้ผมพูดบ่อยหละ) และยิ่งจะทำให้ตะไคร่ยิ่งเกิดมากยิ่งขึ้น Tom Barr บอกว่าให้รอ 10-20 วัน แล้วมันจะหนาจนหลุดออกเอง แล้วค่อยตักออก  ประมาณนี้ครับ


And since one photo is worth 1000 words :-) ...
Joe Aliperti (photo credit) gives us a visual insight into this interesting (or better, annoying) algae.
The first shot shows the algae over-taking the front glass;


the close up.



3 อาทิตย์หลังจาก GDA ปกคลุมกระจกหน้าตู้
The last photo was taken exactly 3 weeks after the GDA took over the front glass, just after the total clean up :-). A sparkling aquarium. Thank you for sharing these beautifully taken photos Joe Aliperti.

Green Dust Algae (GDA)
Green Dust Algae are actually zoo-spores and are commonly found on aquarium glass. They form a dusty looking, green patchy film and in severe cases can cover the whole aquarium glass. It's not known what actually causes this algae. Intense light is favored by GDA. Scraping it off the glass will not help remove this algae since it stays in the water and will float for 30-90 minutes before attaching it self again to the glass. For some reason those zoo-spores are avoiding plants, rocks and wood and always go for the glass. Limiting nutrients will not help fighting this algae but rather cause problems in planted tanks where plants will be exposed to nutrient deficiency and that condition will just favour other algae types. The best known solution, for how to get rid of GDA, has been discovered by Mr. Tom Barr. He claims that this algae should be left alone to grow, without wiping the glass for about 10-20 days. After this period GDA will start forming ticky patchy film that will start falling off the glass. When this starts happening it is good to remove this algae out of the tank. This method should keep this algae at bay.

เครดิต: http://www.aquariumalgae.blogspot.com
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #48 เมื่อ: 11/11/13, [20:38:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากๆคร๊าบบ
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #49 เมื่อ: 20/11/13, [19:17:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

** รู้ถึงและแก้ปัญหาแล้ว ** ตะไคร่ฝ้าเขียว ถ้าทิ้งไว้ 20 วันจะหายไปเองหรือครับ

!!! ผมแก้ปัญหาโดยเอากรองมาเพิ่มอีกตัวนึงครับ ATMAN 3336 อาการหายเป็นปลิดทิ้งแค่ข้ามคืนเท่านั้น ตอนนี้ผ่านมา 3 วัน ตะไคร่ไม่มีเลยครับ แม้จะใส่ไฟไปถึง 5 หลอด ( 54*5 ) !!!

ขอบพระคุณข้อมูลความรู้จากพี่ rommy / พี่ coffman / พี่ wsquare เป็นอย่างสูงครับ

*** ขออนุญาตินำ PM จากพี่ wsquare มาเผยแผ่แก่ท่านที่ประสบปัญหาคล้ายๆผมครับ ***

ผมว่ามีอยู่สองเรื่องหลักๆนะครับ
1. กรองควรมีอัตราไหลเวียนของน้ำ เป็น 6-10 เท่าของปริมาณน้ำในตู้ เมื่อเริ่มแรก 2217 ตัวเดียวอาจจะดูว่าพอ แต่ เทื่อปริมาณของเสียสะสมเพิ่มขึ้น ก็อาจจะกำจัดของเสียไม่เพียงพอ ดูง่ายๆครับ ที่บอกว่า เขากวางเกิดในเดือนแรก ก็พอจะอธิบายได้แล้วครับ ว่า กรองไม่สามารถเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนเตรทได้ทัน ทำให้แอมโมเนียในน้ำมีสูงอันเป็นต้นเหตุของเขากวางครับ  โดยปรกติแล้วเดือนแรกไม่ควรมีครับเขากวาง

2. ผมคิดว่า ADA Special Light เป็นสาเหตุนะครับ เพราะเป็นตัวที่มี ฟอสฟอรัสสูง เหมาะแก่พืชที่ต้องการแสงสว่างมาก ตอนที่ให้ ADA Special Light นี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นช่วงเดียวกับตะไคร่จุดเขียวที่หายไปหรือเปล่าครับ เจ้านี้มันแพ้ทาง P ครับ ขนเขียวมาก็ยิ่งชัดว่ากรองเปลี่ยนของเสียไม่ทัน บวกกับปริมาณสารอาหารที่สะสมอีก

รวมๆน่าจะเป็นความไม่สมดุลของ กรอง และ สารอาหารครับ 

ถ้าเป็นผมนะ
1. เพิ่มกรอง และวัสดุกรอง
2. ให้ปุ๋ยรายวัน แต่จะให้น้อยๆ แบ่งโดสให้ตามฉลาก K ให้ค่อนไปทางเยอะ
3. เมื่อผ่านไปซัก 2 อาทิตย์ ถ้ายังไม่หาย ให้เปลี่ยนน้ำทุกวัน เปลี่ยนเสร็จค่อยใส่ปุ๋ยนะ คือให้มั่นใจว่ากรองเรามีประสิทธิภาพเต็มร้อยก่อน แล้วค่อยทำนะข้อนี้

หวังว่าจะช่วย ไม่มากก็น้อยนะครับ

Happy Aquascaping นะครับ
ม้อด
TeW ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #50 เมื่อ: 20/11/13, [22:09:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอถามต่อหน่อยครับ
แล้วการเปิดปั้มลม ขณะปิดไฟ มีผลเสีย ป่าวครับ
nouvo ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #51 เมื่อ: 20/11/13, [22:37:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมว่าไม่น่าจะมีนะ โดยอ้างอิงจากการค้นหาข้อมูลในเว็บนี้ คือ

1.ต้นไม้กิน co2 ตอนไฟเปิด + คาย O2 ตอนไฟเปิด และ คาย co2 ตอนไฟปิด + กิน o2 ตอนไฟปิด

2.บางท่านบอกว่าค่าน้ำ PH ในการเปิด O2 เปลี่ยนแปลงน้อยมาก

3.แบคทีเรียในระบบกรองได้ O2 ไปด้วย ทั้งตอนที่ไฟเปิด ( ต้นไม้คาย O2 ) และ ไฟปิด

สามข้อนี้หามาจากในเว็บนี้ครับ
หน้า: 1 2   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: