Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1 2 3   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อัพ ..เรื่องควรรู้ของ Protein Skimmer หรือ Foam Fractionator .. การทำงาน+เลือกซื้อ+ข้อสงสัย ??  (อ่าน 96015 ครั้ง)
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 26/02/13, [12:26:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



เป็นสมาชิกห้องตู้ทะเลมาสักระยะ เลี้ยงตู้ทะเลมาประมาณปีเศษ ๆ ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้ก็มาจากค้นคว้าเอาตามเวป และกระทู้ของเพื่อนสมาชิกที่มาแชร์ประสบการณ์กัน ... อ่านมาก ๆ คิดตามมาก ๆ เลือกเอาแนวทางที่เหมาะสมมาปรับใช้กับตู้ตนเองให้เกิดผล

วันนี้เกิดคำถามหนึ่งขึ้นมาว่า "ทำไมสกิมเมอร์ต้องเอาใหญ่ ๆ ไว้ก่อน 3-5 เท่าของน้ำในตู้ ? เอาเท่าสเปคที่มันให้มาไม่ได้เหรอไง ?"

รวมถึงคำถามที่ว่า "สกิมเมอร์ในท้องตลาดรูปร่างต่างกันมากมาย มันมีหลักทำงานไงหว่า ? แล้วแบบไหนดีที่สุด ? ไอ้รุ่นที่บอกว่าเป็นแบบโคน (cone) มันต่างจากแบบเดิมยังไง ?"

ต่อมกระสันอยากรู้ทำงาน จึงนั่งไล่ search ตามเวปนอกเจอบทความ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Protein Skimmer หรือบ้างอาจเรียกว่า Foam Fractionator ซึ่งผมขออนุญาตแปลบทความ หรือเนื้อหาบางส่วนมาเพื่อกระจายความรู้ และแชร์ความรู้เกี่ยวกับไอ้เครื่องสร้างโฟม ที่กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญอุปกรณ์หนึ่งในการตั้งตู้ทะเลครับ

โดยเริ่มจากบทความเรื่อง "ทำความเข้าใจสกิมเมอร์ของคุณ!" โดย ด๊อกเตอร์ แฟรงค์ มารินี เพื่อเป็นพื้นฐานทำความเข้าใจเรื่องสกิมเมอร์ ซึ่งผมจะยกเฉพาะใจความสำคัญเท่าที่ความสามารถภาษาอังกฤษจะอำนวย  [on_007] และจะพยายามปรับให้ทำความเข้าใจกันง่าย ๆ ต่อไปครับ

"ข้อมูลเนื้อหา + รูปภาพต่าง ๆ ได้มาจาก Google นะครับ ขออภัยที่อาจไม่ได้ลงถึงที่มา"

อ่านแล้วถูกใจ หรือมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมยังไง ก็รบกวนช่วยกันแชร์ให้เพื่อน ๆ สมาชิกท่านอื่นด้วยนะครับ ... ขอบคุณครับ และช่วยเป็นกำลังใจให้สรรหาข้อมูลมานำเสนอต่อไปด้วยคร้าบบบบบ  [on_026]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09/04/13, [19:47:08] โดย copcong »
Tags: ตู้ทะเล อุปกรณ์การเลี้ยง 
Crow ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 26/02/13, [12:31:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รอชมครับ กำลังจะถอยสักตัวพอดี เหอ ๆ [on_026]
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 26/02/13, [13:02:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เริ่มแรก .... ทำไมต้องมีสกิมเมอร์ ??

ตอบกำปั้นทุบดิน คือ เอาของเสียออกจากระบบ ... ของเสียนี่ได้แก่พวกสารอินทรีย์ทั้งหลาย อาทิ ขี้ปลา เศษอาหารที่หลงเหลือ หรือพวกการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิตภายในตู้

ซึ่งไอ้ของเสียเหล่านี้หากมีมากในระบบจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำในตู้ทะเลให้ต่ำลง และปัจจัยสำคัญที่เกิดพวกตะไคร่ และ ไซยาโน ที่พวกเรานักเลี้ยงตู้ทะเลไม่โปรดปราน ดังนั้น เราจึงต้องเอาสารอินทรีย์พวกเนี้ย ออกจากระบบตู้ทะเลของเราก่อนมันจะส่งเสียต่อระบบ ซึ่งวิธีการนอกเหนือจากใช้ใยกรอง หรือถุงกรอง กรองเอาพวกสารที่หยาบออกจากระบบแล้ว แต่พวกสารอินทรีย์ที่มันละลายปะปนอยู่กับในน้ำ (Dissolved Organic Compounds (DOCs)) บางกรณีอนุภาคมันเล็กมากจนมันกรองออกโดยใช้ใยกรองหรือ ถุงกรองไม่ได้  ก็จะใช้วิธีการ "สกิม" มันออกไปซะ

โปรตีนสกิมเมอร์ ....

สารอินทรีย์ที่มันละลายปะปนอยู่กับในน้ำ (Dissolved Organic Compounds (DOCs)) เหล่านี้ขนาดมันจิ๋วมากครับ อาทิ พวกกรดอะมิโน ตัวมันจิ๋วขนาด 0.02-0.25 ppm และสารกลุ่มโปรตีนประเภทอื่น ๆ ดังนั้น การที่เราต้องการเอาไอ้พวกนี้ออกจากระบบ อุปกรณ์ที่เราใช้ในการดัก หรือ "สกิม" มันออกจากระบบจึงเรียกกันว่า โปรตีนสกิมเมอร์

ซึ่งมีหลักการโดยใช้ "ฟองอากาศ" เป็นตัวดักจับเอาพวก DOCs เหล่านี้ออก

แล้วดักได้ยังไง ? ....

ไอ้ DOCs มันเป็นรูปแบบโมเลกุลคู่ (bipolar molecules) เอาง่าย ๆ คือมันมีสองขานั่นแหล่ะครับ ... ขาข้างหนึ่งจะชอบยึดกับน้ำ ส่วนขาอีกข้างหนึ่งชอบยึดกับอากาศ ... ส่วนหลักการทางเคมี บวก ๆ ลบ ๆ ข้ามไปก่อนกัน งง  [on_026]

ดังนั้น เครื่องสกิมเมอร์ของเรา ก็ใช้หลักการที่ว่านี้ ใช้อากาศในการจับอนุภาคของ DOCs และสกิมเมอร์จะดันฟองอากาศขึ้นสูงมาโผล่ยังปากกระบอกถ้วยของเสียนั่นเองครับ (แต่วิธีการในการอัดอากาศเข้าระบบ หรือการดันอากาศขึ้นสู่กระบอกของเสีย ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของสกิมเมอร์ ดังจะกล่าวต่อไปครับ)

"The longer that the DOCs are in contact with the bubbles, the more of them will attach to the bubbles, the more of them will be removed. Longer contact times allow for less adherent molecules to be attracted and "stuck" to an air bubble"

จึงขอยกใจความตรงนี้มาเพื่อประกอบที่ว่า "ยิ่งอนุภาคเหล่านี้สัมผัสกับฟองอากาศมาก และนานแล้ว ไอ้อนุภาคพวกนี้ก็จะถูกขับออกได้มากเช่นกัน ตลอดจน เวลาในการสัมผัสกันระหว่างฟองอากาศกับอนุภาคยิ่งนานก็จะยิ่งทำให้พวกอนุภาคประเภทแรงยึดต่ำ ยิ่งสามารถติดกับฟองกาศได้มากขึ้น" (ยิ่งแปลยิ่งงง   [on_026])  เอาเป็นว่า "ฟองยิ่งละเอียด ยิ่งเพิ่มการสัมผัส .. ระยะเวลาการสัมผัสยิ่งนาน ยิ่งทำให้จับของเสียได้เยอะ" ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่ เรา ๆ มักจะอยากให้สกิมเมอร์ของเรามีฟองหนานุ่ม เหมือนดัง ฟองนมคาปูชิโน่
 

แต่ไม่ใช่แค่พวก DOCs ที่จะถูกกำจัดโดยสกิมเมอร์นะครับ ... การใช้ฟองอากาศดักจับอนุภาคเนี้ย สามารถดักจับได้ทั้งพวก  VOCs (volatile organic compounds), POC (particulate organic compounds), เศษอาหารปลา, เมือก หรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่ปะการังผลิต อาทิ ไข่ สเปิร์ม รวมทั้ง แบคทีเรีย , แพลงตอนขนาดต่าง ๆ ก็ยังถูกกำจัดโดยสกิมเมอร์ได้ด้วยเช่นกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01/03/13, [12:24:31] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 26/02/13, [13:09:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ




ภาพ: การทำงานของโปรตีนสกิมเมอร์ .... ได้นำภาพมาจาก reefbuilders ครับ (Protein Skimmers infographic by Marine Depot breaks down foam fractionation)

โดยจากภาพเป็นการทำงานของโปรตีนสกิมเมอร์ แบบ Aspirating impeller skimmers ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของสกิมเมอร์ครับ (เดี๋ยวแจกแจงกันอีกที)

จากภาพจะเห็นว่าน้ำและอากาศจะถูกดูดเข้าโดยปั๊ม เข้าไปในตัวสกิมเมอร์ และเกิดการปั่นอากาศเป็นฟองละเอียดเพื่อดักจับอนุภาคของเสียในน้ำ และของเสีย (สีแดง) ที่ยึดติดกับฟองอากาศจะถูกดันขึ้นไปยังกระบอก หรือถ้วยดักของเสียข้างต้น ส่วนน้ำดี (สีน้ำเงิน) ที่ไม่ได้ถูกผลักโดยฟองอากาศขึ้นสู่ผิว ก็จะไหลย้อนลงด้านล่างของสกิมผ่านช่องทางน้ำออกแทน

ซึ่งสกิมเมอร์ไม่ว่าจะประเภทไหนก็ตามก็จะใช้รูปแบบคล้าย ๆ กันในการดักอนุภาคของเสียออกจากน้ำครับ

ดังนั้น ตัวโปรตีนสกิมเมอร์ จะแบ่งออกเป็นส่วนหลัก ๆ ได้อย่างน้อย 3 ส่วน คือ

1. ตัวสกิม (The skimmer body) เป็นตำแหน่งที่น้ำได้ปะทะกับฟองอากาศ

2. พื้นที่แยกโฟม (The foam separation area) เป็นพื้นที่ที่มีไว้ให้ฟองอากาศที่ดักอนุภาคของเสียได้แล้ว สามารถแยกตัวออกจากน้ำได้ (บริเวณของสกิมเมอร์ที่เป็นกระบอกสูง ๆ หรือเป็นรูปโคนเพื่อรีดฟองอากาศออกจากน้ำอ่ะครับ)

3. ถ้วยดักของเสีย (A collection cup) ถ้วยที่อยู่ยอดสุดจากพื้นที่แยกโฟม ที่กักเก็บอนุภาคของเสียที่แยกตัวออกจากน้ำ ก่อนนำไปเททิ่งทำความสะอาด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [03:10:39] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 26/02/13, [19:59:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ต่อไปเป็นส่วนที่ผมว่าน่าสนใจในบทความ โดยเป็นส่วนที่กล่าวถึงการเลือกซื้อสกิมเมอร์ที่เหมาะสม

ซึ่งนักเลี้ยงตู้ทะเลทุกคนย่อมอยากได้สกิมเมอร์ที่ดีที่สุดสำหรับตู้ทะเลของแต่ละคน อาทิ กำจัดของเสียจากระบบได้ดีที่สุด, สกิมเมอร์มีขนาดที่เหมาะสม กระทัดรัด, ราคาไม่แพง สบายกระเป๋า รวมทั้งง่ายต่อการดูแลบำรุงรักษา

(Many hobbyists are looking for the perfect skimmer, one that will remove all the organic waste in the tank water, a skimmer which is compact in size, inexpensive to run, and requires virtually no maintenance.)

แต่ปัญหามันก็อยู่ที่ในท้องตลาดมันมีสกิมเมอร์ มากมายหลายยี่ห้อ หลายรูปแบบ หลายประเภท แล้วไอ้ประเภทไหนหล่ะที่ว่าดีที่สุด ? หรือเหมาะสมมากที่สุด ? ..... จากบทความนั้น ผู้เขียนได้บอกไว้ว่า "NO ONE BEST Skimmer" หรือ ไม่มีสกิมเมอร์ใดที่ดีที่สุดดอกกกกก อีนางเอ้ย !!  [on_055]

สกิมเมอร์ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ถูกผูกยึดโยงกับคำโฆษณาของแต่ละบรรดาผู้ผลิต ว่าสกิมเมอร์ของตนดีอย่างนั้น เด่นอย่างนี้ เทคโนโลยีดีที่สุด ... ปัญหาก็อยู่ที่เราจะแยกความจริงออกจากคำโฆษณาต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไรกัน ??

ด๊อกเตอร์ แฟรงค์ มารินี กล่าวว่า สำหรับตัวเองแล้ว การเลือกสกิมเมอร์ให้มีความเหมาะสมต้องเข้าใจหลักการทำงานตามทฤษฎีที่สำคัญของสกิมเมอร์เสียก่อน และนำมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของแต่ละตู้

ซึ่ง ด๊อกเตอร์ แฟรงค์ มารินี ได้นำเสนอกฎ หรือหลักทางทฤษฎีเกี่ยวกับการทำงานของสกิมเมอร์บางประการจากตำรา "Aquatic Systems Engineering: Devices and How They Function"  (P.R.Escobal, 2000) พอสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [03:11:09] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 26/02/13, [20:17:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

1: The bombardment rate (number of times a clean air bubble bumps into a drop of water) depends on the duration of the tank water exchange and the diameter of the skimmer.

2: Increased skimmer length or height only raises the value of the absolute contact time but does not affect the bombardment rate.

3: The airflow rate entering a skimmer should produce a full upward blossom of bubbles without excessive turbulence, and is theoretically determined as a function of skimmer diameter, length, bombardment rate and absolute contact time.

4: The value of bombardment rate within the skimmer, its length, diameter and airflow must all be properly chosen for optimum operation.

ขอยกภาษาอังกฤษมา เพราะเกรงว่าภาษาอังกฤษอาจจะอ่อนแรง กันแปลผิดพลาด กลัวทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน .. หากผมแปลผิด หรือตกหล่นตรงไหน ก็ช่วย ๆ กันด้วยเน้อ

1. อัตราการปะทะ หรืออัตราการจับอนุภาคของเสีย (ระยะเวลาที่ฟองอากาศที่สะอาด ปะทะกับอนุภาคของเสียในน้ำ) ขึ้นอยู่กับระยะเวลาอัตราการไหลของน้ำที่ไหลผ่านตัวสกิมเมอร์ รวมถึงขึ้นอยู่กับเส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ กล่าวคือ อัตราการปะทะเนี่ย ... ยิ่งมีสูง ก็หมายถึงยิ่งดักจับอนุภาคของเสียออกจากน้ำได้เยอะ ... แต่อัตราการดักจับที่สูงได้เนี่ย มันขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่น้ำไหลผ่านในระบบสกิมเมอร์ ยิ่งไหลช้า ก็ยิ่งมีเวลาในการปะทะมาก ถ้าไหลเร็วก็เวลาปะทะน้อยลง ... รวมถึงเส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ในบริเวณจุดปะทะ ที่ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่มากพอสมควร เป็นการเพิ่มพื้นที่ในการปะทะ (บริเวณตัวสกิม ... ตามส่วนสำคัญหลัก ๆ ของสกิมเมอร์)

2. ความสูงของกระบอกสกิมเมอร์ ไม่ได้มีผลต่ออัตราการปะทะ หรืออัตราการดักจับอนุภาคของเสียแต่อย่างใด ... แต่ความสูงมีผลต่อการเพิ่มเวลาในการสัมผัสเท่านั้น กล่าวคือ เป็นช่วงของพื้นที่แยกโฟม (ตามส่วนสำคัญหลัก ๆ ของสกิมเมอร์) ที่ยิ่งสูงเวลาที่อนุภาคของเีสียสัมผัสกับฟองอากาศก็มีมาก และเป็นบริเวณที่ดันฟองอากศแยกออกจากน้ำดี ให้ขึ้นสูงไปลงถ้วยดักของเสีย

3. อัตราการไหลของอากาศเข้าสู่สกิมเมอร์ ต้องสามารถทำให้เกิดฟองอากาศขึ้นในตัวสกิมเมอร์ ส่วนในทางทฤษฎีแล้วเป็นหน้าที่ของอัตราการปะทะ เส้นผ่านศูนย์กลาง ความสูงของสกิมเมอร์ และเวลาในการสัมผัส ที่จะส่งผลต่อการกำจัดของเสียออกจากระบบ

4. การทำงานของสกิมเมอร์ที่ดีนั้น ต้องเกิดจากความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ที่เหมาะสม รวมทั้งอัตราการปะทะ และอัตราการไหลที่สัมพันธ์กันทั้งระบบ

ดังที่กล่าวถึงกฏ 4 ประการของสกิมเมอร์ไปข้างต้น (ไม่รู้แปลให้เข้าใจได้เปล่า  [on_007]) จะทำให้เราสามารถออกแบบสกิมเมอร์ หรือเลือกสกิมเมอร์ที่เหมาะสมได้ .... ซึ่งโดยสรุป สามารถนำเสนอหลัก 4 ประการที่ต้องให้ความสำคัญในการเลือกสกิมเมอร์ ดังนี้ คือ

•The water flow rate through the skimmer (อัตราการไหลของน้ำผ่านสกิมเมอร์)
•The height of the skimmer (ความสูงของสกิมเมอร์)
•The amount of air pumped into the reaction chamber of the skimmer (จำนวนของปั๊มในการอัดอากาศเข้าสู่ตัวสกิมเมอร์)
•The diameter of the skimmer (เส้นผ่านศูนย์กลางของตัวสกิมเมอร์)

.... ยาวไป ๆ  [on_055]
Rut(Iris) ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 26/02/13, [20:21:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณจ้าแน่นมากเลยครับพี่ๆทั้งหลายทำไมเก่งกันอย่างนี้ไม่ไหวแล้วนะ...จงมอดไหม้คอสโมของข้า  [พลังเต็มที่]                                                                               
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 26/02/13, [20:50:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณจ้าแน่นมากเลยครับพี่ๆทั้งหลายทำไมเก่งกันอย่างนี้ไม่ไหวแล้วนะ...จงมอดไหม้คอสโมของข้า  [พลังเต็มที่]                                                                              

โอยยยย ... พี่ไม่เก่งเลยครับ อาศัยค้นหาตามเวปนอกเอา .. ข้อมูลที่ได้ก็แปลงู ๆ ปลา ๆ เอามาแชร์กันครับ

มีเพื่อนสมาชิกหลายท่านที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการเลี้ยงตู้ทะเลอีกเยอะครับ

สังคมอยู่ได้ ก็โดยการช่วยเหลือและแชร์ความรู้กันนี่แหล่ะครับ

ต่อ ๆ  .......... (เยอะนะเนี่ย  [on_051] อ่านจนตาลาย แต่ก็เห็นว่ามีประโยชน์แยะอยู่ เป็นความรู้ด้วย ฮึบ ๆ)

.............................

ตามกฎ และข้อพิจารณาในการเลือกสกิมเมอร์ ที่นำเสนอไปนั้น ก็นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า

- อัตราการไหลของน้ำผ่านตัวสกิมเมอร์ ควรจะมีอัตราการไหลที่ช้า เพื่อเพิ่มอัตราการปะทะ ในการดักจับอนุภาคของเสียให้มากขึ้น

- สกิมเมอร์ต้องมีช่วงกระบอกที่สูง เพื่อเพิ่มเวลาการสัมผัส โดยปั๊มที่อัดอากาศเข้าสู่สกิมเมอร์ ต้องอัดอากาศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

- เส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ในบริเวณจุดปะทะ ต้องมีขนาดกว้างสัมพัทธ์กับปริมาณของน้ำที่ไหลเข้าสู่ตัวสกิมเมอร์ กล่าวคือ ถ้าน้ำที่ไหลเข้าในสกิมเมอร์มีปริมาณมากเท่าใด เส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ก็ต้องกว้างขึ้นสัมพันธ์กัน


แต่อย่างไรก็ตาม .......... ไอ้ที่บ่น ๆ มาข้างต้นเนี่ย ด๊อกเตอร์ แฟรงค์ มารินี  ก็บอกว่า มันก็เป็นแค่ในทางทฤษฎีเพียงเท่านั้น มันย่อมแตกต่างจากในทางปฏิบัติ หรือโลกของความเป็นจริงอยู่ดี กล่าวคือ .... ถ้าเอาตามทฤษฎีหล่ะก็ สกิมเมอร์ที่ประสิทธิภาพดีก็ต้องใหญ่โตอลังการ สูงชะลูด

แต่ .... เราก็สามารถที่จะใช้ความรู้ทางทฤษฎี ที่เปรียบเสมือนเป็นกฎ เกณฑ์ ในการพิจารณาเลือก ตัดสินเลือกสดิมเมอร์ได้ ดังนั้นจากคำถามที่ว่า เราสามารถใช้สกิมเมอร์ที่ผอมลง เตี้ยลง ไม่ตรงตามทฤษฎีเนี่ย จะยังมีประสิทธิภาพในการดัดจับของเสียได้หรือไม่อย่างไร ?

ตอบได้ว่า ... ทำได้ โดยใช้เทคนิคกระบวนการต่าง ๆ ในการออกแบบสกิมเมอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อาทิ ใช้เทคนิคการเลื่อนตำแหน่งอัดอากาศเพื่อเพิ่มระยะเวลาการสัมผัส หรือเพิ่มประสิทธิภาพของปั๊มในการอัดอากาศ หรือหาเทคนิคในการลดขนาดของฟองอากาศให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเพิ่มการสัมผัส เป็นต้น

ดังนั้น จึงนำมาสู่การทำงานของสกิมเมอร์แต่ละประ้เภท พอสรุปความได้ดังนี้  [on_066]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06/03/13, [22:58:34] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 26/02/13, [21:12:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

1. ประเภทแรก ......... สกิมเมอร์แบบใช้เทคนิคการนำโดยอากาศ (Air driven counter-current (CC) skimmers)

ในบทความกล่าวว่า เป็นรูปแบบสกิมเมอร์แบบแรก ๆ ที่ถูกออกแบบมาใช้กับตู้ทะเล สำหรับนักเลี้ยงโดยทั่วไป หลักการง่าย ๆ คือใช้ตัวสร้างฟองอากาศที่ละเอียดในตัวสกิมเมอร์ เพื่อดักจับอนุภาคของเีสีย อันได้แก่พวกไม้ (wooden air diffusers) และใช้เครื่องเปล่าลมอัดอากาศผ่านวัสดุเหล่านี้ให้เกิดฟองอากาศขึ้น



ภาพบน คือ ไม้ที่นิยมใช้เป็นตัวทำฟองละเอียด



รูปแบบที่เรามักจะพบกันบ่อย ๆ นิยมใช้ในพวกตู้นาโน



บางทีก็มีการนำมาใช้ในสกิมตัวใหญ่ก็มีนะครับ







แสดงหลักการทำงานของสกิมเมอร์รูปแบบดังกล่าว (อาจเรียกชื่อไม่เหมือนกัน แต่หลักการเดียวกันครับ)

ในบทความของ ด๊อกเตอร์ แฟรงค์ เค้าบอกว่า สกิมเมอร์ประเภทนี้ผลิตฟองละเอียด มีขนาดเล็กมากที่สุด จึงมีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคค่อนข้างดี แต่แลกมาด้วยการบำรุงรักษาอย่างบ่อยครั้ง (เปลี่ยนทุ่นตัวทำฟองบ่อย ๆ เพื่อให้ได้ฟองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงสุด)  เป็นสกิมเมอร์ที่นัก DIYs นิยมลองหัดทำเพื่อใช้ในระบบตู้ทะเล ... ซึ่งในบทความยังอธิบายอีกว่า สกิมเมอร์ประเภทนี้ควรจะต้องมีความสูงประมาณ 28 นิ้ว ส่วนความกว้างก็ขึ้นกับปริมาณสิ่งมีชีวิตภายในตู้ และยิ่งสกิมเมอร์กว้างเท่าใด ก็ยิ่งต้องมีทุ่นทำอากาศ (airstone) เพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางเท่านั้น และควรเปลี่ยนทุ่นทำฟองอากาศทุกเดือนหรือสองเดือน และต้องหมั่นเชคปั๊มลมว่าสามารถทำลมได้เต็มกำลังหรือไม่

ตัวอย่างคลิปการทำงานจ้า

<a href="http://www.youtube.com/v/hliGZvaq3nA" target="_blank">http://www.youtube.com/v/hliGZvaq3nA</a>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26/02/13, [22:41:53] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #9 เมื่อ: 26/02/13, [21:33:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

2. สกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ (Venturi skimmers)

สกิมเมอร์ประเภทนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์สำคัญที่เรียกว่า Venturi Injector ในการสร้างฟองอากาศขึ้นในตัวสกิมเมอร์ ดังนั้น สกิมเมอร์ประเภทนี้จึงสามารถสร้างให้มีความสูงน้อยกว่าประเภทใช้การนำโดยอากาศ ในประเภทที่ 1

โดยสกิมเมอร์ประเภทนี้ต้องอาศัย ปั๊มน้ำกำลังแรงสูง เพื่อดันน้ำผ่าน Venturi Injector ซึ่ง ตัว Venturi Injector เนี่ยมีหลักการทำงานตามภาพครับ



ดังนั้นไอ้ตัว Venturi Injector เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างฟองอากาศของสกิมเมอร์ประเภทนี้ ซึ่งการออกแบบ Venturi Injector ให้มีประสิทธิภาพก็แตกต่างกันไปตามแต่ละผู้ผลิต



โดยสกิมเมอร์แบบ Venturi มีหลักการทำงานปรากฏตามภาพครับ





ที่เรารู้จักกันดีและเป็นที่นิยมในระดับหนึ่ง ก็อาทิพวก Weipro นะขอรับ  [on_066]



จะเห็นได้ว่าสกิมเมอร์แบบนี้จะยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ต้องมีการออกแบบ Venturi Injector ที่ดี ควบคู่ไปกับใช้ปั๊มน้ำ อัดน้ำผ่านวาล์วที่เหมาะสม จึงจะทำให้เกิดฟองอากาศในการดักจับอนุภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26/02/13, [21:38:39] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #10 เมื่อ: 26/02/13, [21:59:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

2.1 สกิมเมอร์แบบ Beckett-head skimmer

ที่เขียนว่าเป็นประเภท 2.1 เพราะ สกิมเมอร์ประเภทนี้ใช้เทคนิคเดียวกับ สกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ คือ มีอุปกรณ์สำคัญเช่นเดียวกับที่สกิมเมอร์แบบเวนทูรี่มี Venturi Injector เป็นตัวสร้างฟองอากาศ แต่สกิมเมอร์แบบ Beckett-head จะเรียกว่า Beckett value หรือ injector แทน ... ซึ่งถูกออกแบบมาให้สร้างฟองอากาศได้มาก และมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบเวนทูรี่เดิม ๆ

ซึ่งความแตกต่างของตัว Injector ปรากฏตามภาพ



ซึ่งการออกแบบตัว injector ใหม่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างฟองอากาศให้สกิมเมอร์มากขึ้น

(ปรากฏในบทความอีกอันของ ด๊อกเตอร์มอรีนี่ เรื่อง "การวิวัฒนาการของสกิมเมอร์" ไว้มีโอกาสจะนำมา นำเสนอใหม่)



ซึ่งการติดตั้งตัว  Beckett value จะต้องติดตั้งอยู่สูงกว่าระดับของผิวน้ำ เพื่อเพิ่มระยะเวลาที่ฟองอากาศจะทำการปะทะ

นี่เป็นรูปตัวอย่างสกิมเมอร์ประเภทดังกล่าวนี้ครับ





ข้อสังเกตของสกิมประเภทนี้คือ จะมีกล่องด้านล่างสกิมครับ เป็นที่แยกน้ำดี และดันเอาฟองอากาศและอนุภาคของเสียขึ้นยังกระบอกของเสีย .... ในต่างประเทศมีการ DIYs สกิมเมอร์แบบนี้อยู่พอสมควรครับ

ส่วนนี่เป็นลิงค์ยูทูปชมการทำงานของสกิมเมอร์ประเภทนี้ครับ ผมว่ามันก็เจ๋งดีนะ  [on_026]

<a href="http://www.youtube.com/v/IdPAHAfw4wQ" target="_blank">http://www.youtube.com/v/IdPAHAfw4wQ</a>

ส่วนอันนี้เป็น beckett skimmer แบบหลายหัวครับ  [on_008]

<a href="http://www.youtube.com/v/3fhpkvDdLls" target="_blank">http://www.youtube.com/v/3fhpkvDdLls</a>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [03:13:53] โดย copcong »
gapbyjung ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #11 เมื่อ: 26/02/13, [22:08:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]เจ๋งไปเลยครับ ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล(แปลมาให้อ่านอีก..รอครับผม) [on_066]
sinaz ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 26/02/13, [22:18:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #13 เมื่อ: 26/02/13, [23:17:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมบวกให้เลย
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #14 เมื่อ: 27/02/13, [00:59:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

3. สกิมเมอร์แบบดาวน์ดารฟท์ (Downdraft™ skimmers )

ถูกออกแบบโดย the ETSS®  เป็นสกิมเมอร์ที่ใช้ประโยชน์จากน้ำแรงดันสูงผ่านกระบอกที่บรรจุด้วย Bio-ball ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแตกตัวเป็นฟองอากาศ และตกลงสู่กล่องเบื้องล่างก่อนจะดันตัวขึ้นกระบอกสกิม ช่วงกระบอกบรรจุ Bio-ball ที่ยาวนั้น จะช่วยเพิ่มระยะเวลาในการปะทะ

มีการทำงานตามภาพนะครับ









นี่เป็นตัวอย่างของสกิมเมอร์แบบนี้นะครับ



ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่า สกิมเมอร์แบบดาวน์ดราฟท์มีลักษณะคล้าย ๆ กับสกิมเมอร์แบบ Beckett-head ตามที่กล่าวไปข้างต้น เพราะ downdraft พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักกการพื้นฐานเดียวกัน จนบางกรณีเรียกว่าเป็นสกิมเมอร์แบบ Downdraft Beckett Skimmer

นี่เป็นคลิปของสกิมเมอร์นะครับ แต่ผมไม่แน่ใจนักว่าเป็นแบบ Downdraft แท้ ๆ หรือเป็นแบบ Beckett  [on_008]

<a href="http://www.youtube.com/v/Z3HwHbVXYGo" target="_blank">http://www.youtube.com/v/Z3HwHbVXYGo</a>

สกิมเมอร์พวกนี้มักจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เพราะใช้พื้นที่เยอะครับ  [on_006] และต้องอาศัยปั๊มที่มีกำลังค่อนข้างสูงในดันน้ำเข้าสู่ระบบครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [01:14:37] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #15 เมื่อ: 27/02/13, [01:25:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

4. สกิมเมอร์แบบใช้ปั๊มปั่นสร้างฟองอากาศขนาดเล็ก (Aspirating impeller skimmers (Air Shredding))

หลักการพื้นฐานของสกิมเมอร์ประเภทนี้คือใช้ปั๊มน้ำ ที่มีลักษณะพิเศษเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างฟองอากาศขณะเล็ก ป้อนเข้าสู่สกิมเมอร์ โดยลักษณะพิเศษที่ว่านี้คือ "ลักษณะของแกนใบพัด"  [on_055]

แกนใบพัดของปั๊มน้ำในสกิมเมอร์ ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นซี่ ๆ เพื่อใช้ในการตีน้ำให้เกิดเป็นฟองอากาศที่มีขนาดเล็ก

ซึ่ง ลักษณะของแกนใบพัด สามารถเรียกได้ตามรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้

1. แบบ Regular Impeller (ไม่รู้จะแปลว่าอะไร เรียกทับศัพท์ไป แบบไฮโซเบา ๆ)

กล่าวเป็นแกนใบพัดที่ถูกออกแบบเพื่อการตีฟองอากาศโดยเฉพาะ ดังภาพล่าง



ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้งานจะแตกต่างจากแกนใบพัดปกติ (ภาพถัดไป) ที่มีวัตถุประสงค์ในการผลักดันน้ำ

 

2. แบบ Needle Wheel ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ



3. แบบ Pegged Wheel



ตามแบบที่ 2. และ 3. จะสังเกตได้ว่าแกนใบพัดจะเป็นซี่ ๆ ใช้เพื่อตีน้ำผสมกับอากาศ เพื่อให้เกิดการสร้างฟองอากาศที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่งไม่ว่าจะมีการออกแบบใบพัดในลักษณะใดก็ตาม ก็จะมีเป้าประสงค์เดียวกันคือตีน้ำเพื่อสร้างฟองอากาศให้มีขนาดเล็ก และจำนวนมากที่สุด เพื่อป้อนเข้าไปยังสกิมเมอร์ .... ดังนั้น จึงสรุปได้เลยว่า สกิมเมอร์แบบประเภทนี้ต้องการปั๊มน้ำที่มีแกนใบพัดที่มีลักษณะพิเศษตามที่กล่าวมาเท่านั้น .... หากนำปั๊มน้ำปกติมาใช้ก็จะทำให้ปั๊มไม่สามารถสร้างฟองอากาศเข้าสู่สกิมเมอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนหลักการทำงานก็คล้ายคลึงกับภาพที่ผมโพสไปข้างต้น ในส่วนหัวข้อการทำงานของสกิมเมอร์ครับ แต่อย่างไรก็ตามขอเพิ่มเติมภาพดังนี้



ตัวอย่างสกิมเมอร์แบบนี้ในท้องตลาด ประเทศไทยเรา ก็มีพอสมควรครับ ผมขอยกตัวอย่างมารุ่นหนึ่งแล้วกัน ซึ่งเพื่อนสมาชิหลายท่านก็ใช้อยู่ ได้แก่ JEBO 520 โปรตีนสกิมเมอร์





ที่ผมยกตัวอย่างสกิมเมอร์ของ JEBO 520 นี้ เพราะที่บ้านผมเองก็ใช้อยู่ตัวหนึ่ง 555  [on_026] ซึ่งด้วยราคาค่าตัวไม่แพง ก็ปั่นของเสียได้ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว ... (ไม่ได้โฆษณาเน้อ) และเป็นสกิมเมอร์ที่เป็นประเภทแบบใช้ปั๊มปั่นสร้างฟองอากาศขนาดเล็ก (Aspirating impeller skimmers (Air Shredding)) อย่างชัดเจน

มีอุปกรณ์สำคัญ เป็นปั๊มที่ดูดอากาศ และน้ำเข้าสู่แกนใบพัดลักษณะพิเศษที่ถูกออกแบบใช้ตีน้ำสร้างฟองอากาศโดยเฉพาะ  ก่อนสร้างฟองอากาศจ่ายเข้าสู่บริเวณจุดปะทะในสกิมเมอร์ และฟองที่จับอนุภาคแล้วก็ดันเข้าสู่ถ้วยของเสียด้านบน

สกิมเมอร์แบบนี้ได้รับความนิยม เพราะใช้ปั๊มที่กำลังไม่สูงมาก (เมื่อเทียบกับสกิมเมอร์ประเภทอื่น ๆ อาทิ เวนทูรี่) แต่สามารถสร้างฟองอากาศได้ละเอียด และมีจำนวนมาก .... แต่ข้อเด่นของแกนใบพัดลักษณะพิเศษ ก็กลับเป็นข้อเสียสำคัญของสกิมเมอร์ประเภทนี้เช่นกัน เพราะแกนใบพัดที่เป็นซี่เล็ก ๆ นี่มีคความทนทานในการใช้งานค่อนข้างต่ำ กว่าแกนใบพัดปกติ

ดังนั้น จึงมักพบอาการที่แกนใบพัดชำรุดบ่อย ๆ  [on_024]

นี่เป็นภาพจากสกิมเมอร์ JEBO 520 ที่เป็นแบบใช้ปั๊มตีอากาศ ของบ้านผมเอง  [on_066]



เห็นได้ว่าปั่นของเสียได้ดีพอสมควร  [on_066]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [13:27:19] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #16 เมื่อ: 27/02/13, [02:00:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



จากที่กล่าวถึงสกิมเมอร์ประเภทต่าง ๆ โดยสังเขปไปแล้วข้างต้นนั้น .... เมื่อพิจารณาเข้ากับกฎการทำงานของสกิมเมอร์ จะเห็นได้ว่าสกิมเมอร์แต่ละแบบก็จะมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกันไปดังสรุปนี้

ขอยกภาษาอังกฤษมาเพื่อกันพลาด  [on_026]

สกิมเมอร์แบบใช้อากาศเป็นตัวนำ (Air driven counter-current): low water flow, good foam production (with new air stones), good bubble size, maximum contact times (with taller units), frequent maintenance and requires frequent water height adjustments (called tuning) ----> การไหลของน้ำต่ำ แต่สามารถสร้างฟองที่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพ (แต่ต้องเป็นตัวทำฟองใหม่ ๆ นะ) ระยะเวลาการสัมผัสสูสุด (ขึ้นกับความสูงของกระบอกสกิมเมอร์) แต่ก็ต้องอาศัยการดูแลรักษาในการเปลี่ยนทุ่นทำฟองบ่อย และต้องมีการปรับระยะความสูงของระดับน้ำบ่อยครั้ง [on_007]

สกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ (Venturi): good water flow, good foam production, moderate contact time, requires a powerful pump, valve tends to clog (Lifereef has a self-cleaning venturi valve) ----> การไหลของน้ำอยู่ในระดับดี สร้างโฟมได้ดี มีระยะเวลาการสัมผัสปานกลาง .. ต้องอาศัยปั๊มน้ำที่ค่อนข้างแรง และมีปัญหาคือ ตัว Venturi value มักจะอุดตันได้  [on_008]

สกิมเมอร์แบบ Beckett (Beckett-head skimmer) (ประเภทหนึ่งของเวนทูรี่): high water flow, maximum bubble production, moderate contact time (swirling patterns will increase this), requires a very powerful pump, Beckett-head requires cleaning ----> การไหลของน้ำสูง สร้างฟองอาการได้เต็มที่ มีระยะเวลาการสัมผัสปานกลาง (การออกแบบที่ทำให้ฟองอากาศมีการหมุนวน จะช่วยเพิ่มเวลาการสัมผัสได้) ต้องการปั๊มน้ำที่มีกำลังสูงมาก และคล้ายกับเวนทูรี่ คือ ตัว Beckett-head value ต้องมีการทำความสะอาดบ่อย ๆ

สกิมเมอร์แบบดาวน์ดราฟท์ (Downdraft™) (พัฒนารูปแบบจาก Beckett): good water flow, excellent bubble production, excellent contact time. Units tend to be tall and bulky (the ETSS 1000 is over 60” tall), require powerful pumps to create air bubbles ----> น้ำไหลผ่านดี สามารถสร้างฟองอากาศ และมีระยะเวลาการวมัผัสที่ยอดเยี่ยม แต่แลกมาด้วยขนาดของตัวสกิมเมอร์ที่สูง เทอะืทะ (อย่างรุ่น ETSS1000 สูงแค่ 60 นิ้วเอ๊งงงงง  [on_008]) และก็ต้องอาศัยปั๊มน้ำที่มีกำลังสูงมากในการสร้างฟองอากาศ

สกิมเมอร์แบบใช้ปั๊มสร้างฟองอากาศ (Aspirating skimmer): low to moderate water flow, good foam production, good bubble size, excellent contact time, cost-efficient, requires specialized impellor or needlewheel. The needlewheel impellors have been shown to be a weak point. ----> การไหลของน้ำอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ สามารถสร้างโฟม และขนาดของฟองกาศได้ดี ... ระยะการเวลาการสัมผัสที่ยอดเยี่ยม ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก แต่ก็ต้องการปั๊มน้ำที่มีแกนใบพัดชนิดพิเศษ ซึ่งกลายเป็นจุดอ่อนที่มักจะชำรุดตรงแกนใบพัดนี่แหล่ะ  [on_030]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [13:28:13] โดย copcong »
Pongsatorn35 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #17 เมื่อ: 27/02/13, [03:05:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากครับ ข้อมูลดีจริงๆเลย กดบวกไปเลย
คนดีแบบนี้แหละครับ ที่บ้านเมืองเราต้องการ แต่มีน้อยเหลือเกิ๊นน
sodedta ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #18 เมื่อ: 27/02/13, [06:59:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #19 เมื่อ: 27/02/13, [13:48:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



ต่อมา ทางบทความได้กล่าวถึงการบำรุงรักษาสกิมเมอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าสกิมเมอร์ที่เราใช้อยู่นั้น สามารถกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง !!

- ควรมีการกำหนดเวลาการทำความสะิิอาดสกิมเมอร์ อาทิ ล้างถ้วยทุก 1 สัปดาห์ ล้างทั้งระบบทุกเดือน เป็นต้น
- ทำความสะอาดถ้วยดักของเสียบ่อยครั้ง
- ทำความสะอาดในตัวกระบอก และคอสกิมเมอร์ด้วย เพราะจะมีพวกของเสียไปเกาะติดเป็นคราบ
- เวลาทำความสะอาดก็ระมัดระวัง อย่าให้ของเสียตกหล่นกลับเข้าไปยังระบบตู้ทะเล
- อย่าลืมทำความสะอาดวาล์วอากาศ (ถ้ามี) บ่อย ๆ ... เช็ดเอาพวกเศษเกลือ เศษคราบต่าง ๆ ออกป้องกันการอุดตัน และให้วาล์วสามารถดูดอากาศได้อย่างเต็มที่
- ถ้าเป็นสกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ .... ให้หมั่นเชคที่ venturi value กันการอุดตัน
- ระวังพวกเศษหิน หรือตะกอนขนาดเล็กที่อาจถูกดูดเข้าไปทำอันตรายกับปั๊มสกิมเมอร์
- ถ้าเป็นสกิมเมอร์แบบใช้อากาศเป็นตัวนำ ต้องหมั่นตรวจสอบว่าทุ่นทำฟองอากาศ สามารถทำฟองได้อย่างเหมาะสมอยู่หรือไม่
- อย่าลืมตรวจสอบการทำงานของปั๊ม ว่าัยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

 [on_023]

จะเห็นได้ว่า จากบทความ การทำความสะอาดสกิมเมอร์มีความสำคัญ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการดึงของเสียออกจากระบบมาก ... ซึ่งเพื่อนสมาชิกควรจะกำหนดรอบทำความสะอาดสกิมเมอร์

สำหรับตู้ผมนั้น กำหนดรอบดังนี้ (เป็นตัวอย่างนะครับ)
1. ล้างถ้วยอย่างน้อยทุกสัปดาห์
2. ทำความสะอาด คอและกระบอกสกิมเมอร์ เมื่อเริ่มเห็นว่ามีคราบเกาะ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ครั้ง ไม่เกินนี้
3. ทำความสะอาดทั้งระบบ คือ รื้อสกิมเมอร์ เป็นชิ้น เพื่อทำความสะอาดตะกอนภายใน ทำความสะอาดปั๊ม แกนปั๊ม อย่างน้อยเดือนละครั้ง


ส่วนความรู้ใหม่ที่ได้จากบทความคือ เรื่องพวกวาล์วต่าง ๆ รวมถึงท่อลม ที่ต้องหมั่นเชคตรวจสอบว่าอุดตันหรือไม่ ดูดอากาศได้ดีอยู่หรือไม่ ........... รวมถึงควรดักตะกอนหยาบที่อาจทำความเสียหาย หรือที่อาจถูกดูดไปติดภายในตัวสกิมเมอร์ ยากต่อการทำความสะอาดออกจากระบบตู้ก่อนเข้าถึงสกิมเมอร์ คือ ใช้การกรองเบื้องต้นที่มีประสิทธิภาพ อาทิ ถุงกรอง ใยกรอง ที่ดี มีมาตรฐาน และหมั่นเชค ว่าถุงกรอง ใยกรอง เหล่านั้น อุดตัน ? หรือทำงานได้มีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #20 เมื่อ: 27/02/13, [17:29:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทฤษฎีเพียงเท่านั้น มันย่อมแตกต่างจากในทางปฏิบัติ   [เจ๋ง]
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #21 เมื่อ: 27/02/13, [18:49:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาอัพข้อมูลเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ....  [on_060]

จากการแบ่งประเภทสกิมเมอร์ตามที่ปรากฏไปแล้วนะครับ ถ้าเพื่อนสมาชิกได้ไปอ่านข้อมูลที่อื่น อาจเจอการแบ่งประเภท หรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันนะครับ ... แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีลักษณะไปในแนวทางเดียวกัน  [on_066]

ผมได้ลองไปค้นความรู้เกี่ยวกับโปรตีนสกิมเมอร์เพิ่ม ก็พบการแบ่งประเภทสกิมเมอร์ อีกรูปแบบหนึ่ง ... ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบสกิมเมอร์ยุคใหม่ (Modern Skimmer)

สกิมเมอร์ยุคใหม่ (Modern Skimmer)

การจำแนกสกิมเมอร์ประเภทนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเทคนิคของสกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ และสกิมเมอร์แบบใช้ปั๊มสร้างฟองอากาศ มาหลอมรวมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างฟองอากาศที่มีจำนวนมากและมีขนาดเล็ก โดยใช้ปั๊มที่มีกำลังไม่สูง และตัวสกิมเมอร์ไม่ต้องมขนาดใหญ่มาก

กล่าวคือ สกิมเมอร์ประเภทนี้ จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน สำคัญคือ
1. Venturi value ใช้วาล์วรีดน้ำให้เกิดแรงดันสูง มาผสมกับอากาศให้เกิดฟอง (ตามหลักการทำงานของสกิมเมอร์แบบเวนทูรี่)
2. มีปั๊มแบบใช้แกนใบพัดชนิดพิเศษ อาทิ pegged หรือ needle wheel etc. ในการปั่นให้เกิดฟองอากาศ (ตามหลักการทำงานของสกิมเมอร์แบบใช้ปั๊มสร้างฟองอากาศ ตาม ตย. ที่ยก JEBO 520 ข้างต้น)

นี่คือภาพประกอบแสดงการทำงานของสกิมเมอร์ ประเภทนี้ครับ



จากภาพจะเห็นได้ว่า สกิมเมอร์แบบนี้ใช้ประโยชน์ จากวาล์วแบบเวนทูรี่ (1.) และปั๊มที่มีแกนชนิดพิเศษ (2.)

โดยน้ำจะถูกดูดผ่านวาล์วเวนทูรี่ เพื่อรีดให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นและผสมกับอากาศ จนเกิดเป็นฟองอากาศขึ้น (ถ้าเป็นสกิมเมอร์แบบเวนทูรี่ หลังจากเกิดฟองอากาศในขั้นตอนนี้แล้ว ฟองอากาศก็จะถูกส่งเข้าตัวสกิมเมอร์ต่อไป) .... แต่ เพื่อความละเอียดของฟองอากาศ สกิมเมอร์ยุคใหม่นี้จึงใช้ปั๊มแบบที่มีแกนชนิดพิเศษ ปั่นฟองอากาศที่ผ่านเวนทูรี่อีกครั้ง ทำให้ฟงอากาศมีขนาดเล็ก ละเอียดเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่จะส่งเข้าไปในกระบอกสกิมเมอร์ ให้ทำการปะทะจับอนุภาคของเสียต่อไป

ด้วยวิธีการนี้ ปั๊มน้ำที่ใช้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ ปั๊มที่มีกำลังสูงเหมือนสกิมเมอร์รุ่นก่อน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งฟองที่ละเอียดขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีความสามารถในการจับอนุภาคของเสียได้ดีขึ้น

ซึ่งสกิมเมอร์ยุคใหม่เหล่านี้ เป็นสกิมเมอร์ที่วางตลาดจำหน่ายอย่างแพร่หลายในปัจจุบันครับ ทั้ง Bubble Magus , AE , ปลาหมึก หรือยี่ห้อดัง ๆ อย่าง Bubble King , ATI และอื่น ๆ เป็นต้นครับ  [on_055]

ตัวอย่างครับ



นี่เป็นแกนใบพัดในตัวปั๊มของสกิมเมอร์ ประเภทนี้ครับ (ถ้าจำไม่ผิดตามภาพต่อไป เป็นการออกแบบเพื่อใช้ในสกิมเมอร์ของ BM)



ส่วนการจัดวางตำแหน่งปั๊มว่าจะวางไว้ภายใน หรือภายนอกกระบอกสกิมเมอร์ เป็นเทคนิคการออกแบบของแต่ละบริษัทผู้ผลิตครับ

ดังนั้น จุดสังเกตคือ ต้องมีวาล์ว และปั๊มที่มีแกนพิเศษนะครับ  [on_026]

ไม่ว่าจะยี่ห้อไหน แบบไหน จัดวางปั๊มกี่ตัว ลักษณะใด ถ้ามีวาล์วกับ ใช้ปั๊มแบบแกนพิเศษ ก็แบบรูปแบบใหม่ของสกิมเมอร์ทั้งนั้นครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/02/13, [19:15:16] โดย copcong »
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #22 เมื่อ: 28/02/13, [15:16:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แว๊ปงานมาต่อกันอีกนิด ...  [on_003]



ดังนั้น จากแนวคิดหลักการทำงานของสกิมเมอร์ที่นำเสนอโดยสังเขปไป สามารถสรุปได้ว่า โปรตีนสกิมเมอร์คืออุปกรณ์สำคัญ ที่จะช่วยรักษาคุณภาพของน้ำภายในตู้ทะเลของเรา  [on_061] โดยช่วยกำจัดอนุภาคของเสียต่าง ๆ จะเป็นขี้ปลา อาหารปลา พวก DOCs หรืออนุภาคของเสียอื่น ๆ

และจากกฎหลัก เกี่ยวกับการทำงานของสกิมเมอร์ จะสรุปได้ว่า สกิมเมอร์ที่ดีจะต้องมีช่วงกระบอกสกิมเมอร์ที่สูง (สูงดีกว่าเตี้ยว่างี้น) และสกิมเมอร์ต้องสามารถสร้างฟองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ฟองยิ่งเล็ก ยิ่งละเอียดยิ่งดี) ฟองอากาศขนาดเล็กจะมีความสามารถในการดัดจับอนุภาคของเสียได้ดีกว่า

ดังนั้น การจะดูว่าสกิมเมอร์ของเราทำงานได้ดีหรือไม่ ก็สามารถดูได้ที่ โฟมของเสียที่สกิมเมอร์ได้สร้างขึ้นดันขึ้นมาตามกระบอกสกิมเมอร์ ตกลงถ้วยของเสียนั้นเอง

โฟมของเสีย (คือฟองอากาศที่จับกับอนุภาคของเสียแล้ว ถูกผลักขึ้น และแยกตัวออกจากน้ำดี) จะต้องถูกดันขึ้นตามกระบอกสกมเมอร์ "อย่างต่อเนื่อง" และควรจะมีฟองละเอียด หนานุ่ม คล้ายกับฟองนมคาปูชิโน่เยี่ยงนั้นเลย  [on_026]

ผมจึง เคยได้ยินคำกล่าวของเพื่อนสมาชิกหลายท่านที่ว่า "สกิมเมอร์ดีปั่นได้โฟม สกิมเมอร์ห่วยปั่นได้แต่น้ำ"

copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #23 เมื่อ: 28/02/13, [15:30:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาถึงข้อสงสัย ... อีกประเด็นหนึ่ง

"สกิมเมอร์รูปทรงโคน (Cone Skimmer) มันดีกว่า สกิมเมอร์รูปทรงปกติ (Regular Skimmer) ตรงไหน ?"

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า วกิมเมอร์รูปทรงโคนเนี่ย เป็นแค่การออกแบบรูปทรงของสกิมเมอร์นะครับ ไม่ใช่จัดว่าเป็นประเภทหนนึ่งของโปรตีนสกิมเมอร์ .... เพราะการจำแนกประเภทนั้น เราพิจารณาจากหลักการทำงานในการสร้างฟองอากาศ และผลักให้เกิดการปะทะกับของเสีย ดังที่นำเสนอประเภทไปแล้วข้างต้น



จากรูปตัวอย่างข้างต้น .... จะเห็นได้ว่า
ด้านซ้ายมือ -------> สกิมเมอร์รูปทรงโคน
ด้านขวามือ --------> สกิมเมอร์รูปทรงปกติ


สกิมเมอร์ทั้งสอง ก็เป็นสกิมเมอร์ประเภทเดียวกัน ที่มีหลักการทำงานเดียวกัน แตกต่างกันเฉพาะรูปทรงการออกแบบเท่านั้นนะครับ  [on_066]

แต่ในท้องตลาดก็มีลูกครึ่งครับ ... การฟีเจอริ่งกันระหว่างสกิมเมอร์แบบโคนและแบบปกติ ... ออกมาเป็น สกิมเมอร์แบบกึ่งโคน (Half Cone Skimmer) ตามภาพครับ



แล้ว โคน หรือไม่โคน ดูยังไง ???

ตอบว่า ... เอาง่าย ๆ ดูตรงกระบอก และตัวของสกิมเมอร์ แหล่ะครับ .... ถ้าเป็นทรงกระบอก สูงขึ้นไป ก็เป็นแบบปกติ .. แต่ถ้าความกว้างของกระบอกค่อย ๆ เล็กลงตามความสูงของกระบอกสกิมเมอร์ ตั้งแต่ฐานจรดปากกระบอก ก็เป็นแบบโคน

ส่วนลูกครึ่ง ก็จะมีส่วนหนึ่งเป็นกระบอก และอีกส่วนหนึ่งที่สูงขึ้นก็จะเริ่มหดความกว้างลง เหมือนแบบโคน

(ดูรูปจะเข้าใจง่ายกว่าเนอะ  [on_065])
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #24 เมื่อ: 28/02/13, [16:25:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าเป็นไปได้ขอข้อมูลเรืองการใส่ โอโซน ในสกิมเมอร์ครับ  ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #25 เมื่อ: 28/02/13, [16:36:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าเป็นไปได้ขอข้อมูลเรืองการใส่ โอโซน ในสกิมเมอร์ครับ  ขอบคุณข้อมูลดีๆครับ

รับทราบครับคุณเจิด .. เป็นประเด็นน่าสนใจเหมือนกันครับ

ตอนผม เสิจอ่านบทความ จำได้ว่าผ่านตาอยู่เหมือนกันครับ โดผู้เลี้ยงใน ตปท. ใช้การใส่สารเคมีที่เป็นประโยชน์ หรือแม้แต่โอโซน ไปพร้อมกับการตีฟองอากาศของสกิมเมอร์ ... น่าจะเป็นการป้อนสู่สกิมเมอร์ผ่านทาง venturi value เป็นต้น ครับ

เดี๋ยวผมจะลองสืบค้นมาเรียบเรียงให้ครับ ยังเหลือประเด็นเรื่องสกิมเมอ์ น่าสนใจอีกเยอะครับ
aquamedical_fraghouse ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #26 เมื่อ: 28/02/13, [19:52:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความดีครับ รออ่านต่อเหมือนยังไม่จบ
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #27 เมื่อ: 01/03/13, [08:55:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความดีครับ รออ่านต่อเหมือนยังไม่จบ

 [on_024] ขออภัยด้วยครับ ค่อย ๆ ทยอยค้นหาข้อมูลดี ๆ และเอามาเรียบเรียงกัน อาจจะขาดช่วง ขาดตอนกันบ้าง แต่อย่าลืมติดตามชมครับ ... ว่าด้วยสกิมเมอร์นี่ยาวจริง ๆ  [on_008] มีเรื่องน่าสนใจ และที่ยังเป็นข้อสงสัยกันอีกมากครับ



มาต่อกันเรื่อง Cone Skimmer ครับ

การที่สกิมเมอร์รูปทรงโคน ได้เข้ามาเป็นรูปแบบของสกิมเมอร์ล่าสุด ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในปัจจุบัน ... การที่จะพิจารณาว่าสกิมเมอร์รูปทรงโคนเนี่ย มันมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นกว่าสกิมเมอร์แต่ก่อนหรือไม่ อย่างไรนั้น ???

ถ้าตอบแบบกำปั้นทุบดิน ก็สามารถตอบได้ว่า "ดีขึ้น"  [on_026] เพราะมันเป็นรุ่นล่าสุด ถ้ามันไม่ดีขึ้น แล้วผู้ผลิตต่าง ๆ จะออกแบบมันขึ้นมาใหมาทำไมหล่ะ !??

จากบทความเรื่อง (Cone Skimmers-Fad or Function) โดย Michael Rice

ได้ให้ทรรศนะ และข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโปรตีนสกิมเมอร์รูปทรงโคน พอสรุปใจความได้ว่า

ข้อเท็จจริงของรูปทรงโคนถูกออกแบบมา เพื่อตอบจุดประสงค์ในการลดความผันผวน (turbulence) ของฟองอากาศในการจับอนุภาคของเสียของสกิมเมอร์ และเพิ่มระยะเวลาในการทำปฏิกริยา (reaction time)

(The fact is that they are a very well thought out design aimed at reducing performance robbing turbulence and increasing reaction time.)

Skimmer turbulence and reaction time:

จุดประสงค์หลักของโปรตีนสกิมเมอร์ ก็ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วครับ คือ เพื่อนำอนุภาคอินทรีย์ที่เป็นของเสียออกจากระบบตู้ทะเล โดยการใช้ฟองอากาศดัดจับอนุภาคของเสีย ภายในพื้นที่ปะทะ หรือภายในตัวสกิมเมอร์ .... แต่ไอ้อนุภาคของเสียที่มันปะปนอยู่ในน้ำเนี่ย มันก็มีหลายรูปแบบ บางตัวจับกับฟองอากาศได้ง่าย บางตัวดื้อหน่อยก็ยาก  [on_055]

ไอ้อนุภาคตัวที่จับกับฟองอากาศง่าย ... ก็ใช้เวลาน้อยในการทำปฏิกริยา หรือการปะทะจับกับฟองอากาศ
แต่ ... ก็มีไอ้อนุภาคอีกหลายตัว ที่นิสัยไม่ดี ที่จับตัวกับฟองอากาศยาก ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจับกับฟองอากาศ

ดังนั้น โปรตีนสกิมเมอร์ที่มีประสิทธิภาพในการดัดจับของเสียที่ดี จะต้องสามารถดักเอาพวกอนุภาคนิสัยเสีย ที่จับฟองอากาศยากเนี่ยให้ออกจากน้ำให้มากที่สุด ก็ต้องเป็นสกิมเมอร์ที่ถูกออกแบบให้ลดความผันผวนให้นอยที่สุด และเพิ่มระยะเวลาการปะทะ หรือการทำปฏิกริยาให้สูงที่สุด (minimize turbulence and maximize reaction time)
 
ความผันผวน (turbulence) จะเป็นตัวลดประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาคของเสีย โดยความผันผวนจะเข้าไปทำลายพันธะ หรือแรงยึดเหนี่ยว (bond) ระหว่างอนุภาคของเสียกับฟองอากาศ (เอาง่าย ๆ ตามประสา คือ ความผันผวนที่เกิดขึ้นจะไป วุ่นวายขัดแข้ง ขัดขา อนุภาคของเสียที่กำลังจะไปจับกับฟองอากาศ) ในขณะที่สกิมเมอร์ที่ออกแบบรูปทรง หรือกระบอกสกิมเมอร์ที่ดีแล้ว จะช่วยลดความผันผวนที่เกิดขึ้นภายในจุดปะทะ จึงทำให้อนุภาคของเสียที่จับกับฟองอากาศยาก (กลุ่มนิสัยเสีย) สามารถอยู่ในจุดปะทะได้นานขึ้น เพื่อให้มีเวลาในการที่ฟองอากาศจะจับกับอนุภาคของเสียเหล่านั้น  และถูกกำจัดออกจากน้ำ

ที่กล่าวไป ทำให้พิจารณาได้ว่า อนุภาคนิสัยเสีย ที่จับตัวยาก จึงต้องการเวลาการปะทะนาน และความผันผวนในจุดปะทะที่น้อย จึงจะสามารถทำให้ถูกฟองอากาศดัดจับออกไปจากระบบได้

Cone vs. Cylinder: เมื่อแบบรูปทรงโคน เผชิญหน้ากับรูปทรงแบบปกติ

จากเรื่องความผันผวน และระยะเวลาการปะทะ จึงทำให้สกิมเมอร์รูปทรงโคน มีความได้เปรียบเหนือสกิมเมอร์รูปทรงปกติ กล่าวคือ สกิมเมอร์รูปทรงโคนถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้ช่วยลดความผันผวนในจุดปะทะ และเพิ่มระยะเวลาการปะทะ หรือการทำปฏิกริยาให้มากขึ้น (cone skimmers both reduce turbulence and increase reaction time.) โดยการออกแบบรูปทรงสกิมเมอร์นั้น จะบังคับฟองอากาศให้อยู่ในบริเวณเฉพาะ และบีบให้ฟองอากาศเดินทางเป็นเส้นตรง ขึ้นไปยังบริเวณคอสกิมเมอร์ ด้วยการนี้ ทำให้ลดความผันผวนของฟองอากาศที่จะเกิดขึ้นได้จากการออกแบบสกิมเมอร์รูปทรงแบบเดิม ๆ อีกทั้ง การที่สกิมเมอร์รูปทรงโคน ที่สังเกตได้ว่าจะมีลักษณะคอดลง ตรงคอสกิมเมอร์ จะเพิ่มระยะเวลาในการปะทะ หรือทำปฏิกริยาเพิ่มขึ้น จากการที่ฟองอากาศไปชะลอตัวลงแย่งกันขึ้นไปยังคอสกิมเมอร์ (นึกเอาครับ เหมือนรถวิ่งเป็นเส้นตรงจาก 8 เลน เหลือ 2 เลน รถจึงชะลอตัวลง ทำให้มีระยะเวลาในการปะทะเพิ่มขึ้น)

เข้าใจง่ายไหมเอ่ย ???  [on_055]

Which is right for you? แล้วแบบไหนหล่ะที่เหมาะกับเรา ???

ถึงตรงจุดนี้ คงสามารถสรุปได้ไม่ยากนักครับว่า เมื่อเทียบหมัดต่อหมัดแล้ว "สกิมเมอร์รูปทรงโคนได้เปรียบ สกิมเมอร์รูปทรงปกติแทบทุกประตู"

แต่ อย่างไรก็ตาม ก็ปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาครับ มิใช่เฉพาะแค่รูปทรงสกิมเมอร์อย่างเดียวเท่านั้น อาทิ ประเภทของสกิมเมอร์ (เวนทูรี่ ปั๊มปั่นอากาศ ดาวน์ดราฟท์ ฯลฯ) ขนาดของตัวสกิมเมอร์ ขนาด/ความแรงของปั๊ม อัตราการโฟลว์น้ำผ่านสกิมเมอร์ อัตราการโฟลว์ของอากาศ ... ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดัดจับของเสียของสกิมเมอร์ทั้งนั้นครับ

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าสมมติมีสกิมเมอร์อยู่ 2 ตัว ที่เรากำลังพิจารณาตัดสินใจเลือกอยู่นั้น ทั้งขนาดปั๊ม อัตราการไหลของน้ำและอากาศ ขนาดสกิมเมอร์ หรือปัจจัยยิบย่อยอื่น ๆ แตกต่างกันไม่มาก หรือเท่ากันแล้ว .... แต่มีความต่างที่ว่า สกิมเมอร์ตัวหนึ่งเป็นทรงโคน แต่อีกตัวทรงธรรมดา

เลือกทรงโคน ไปเลยครับ ......... ฟันธง  [on_026]

ไขข้อข้องใจเรื่องรูปทรงโคนของสกิมเมอร์ กันไปแล้วนะครับ ....

เดี๋ยวมาต่อ เรื่องน่ารู้ของสกิมเมอร์ ประเด็นอื่น ๆ กันนะครับ  [on_066] อย่าลืมติดตามชม และให้กำลังใจกันนะคร้าบบบ (ทำยังกะรายการทีวี )
aquamedical_fraghouse ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #28 เมื่อ: 01/03/13, [13:35:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอเสริมให้นิดนึงนะเห็นว่าเข้าเรื่องอยู่เลย

cone skimmer เริ่มแนวคิดมาจาก Mixing chamber ที่ใช้ในการผสมโอโซนหรือทำปฏิกริยาออกซิเจนอิ่มตัวในงานบำบัดน้ำเสียซึ่งมักเป็นรูปทรงหยดน้ำ เพื่อใช้หน่วงเวลาตามที่บทความว่าด้านบนครับ

และผมก็ยังรออ่านต่อไป ^^
copcong ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #29 เมื่อ: 01/03/13, [16:19:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอเสริมให้นิดนึงนะเห็นว่าเข้าเรื่องอยู่เลย

cone skimmer เริ่มแนวคิดมาจาก Mixing chamber ที่ใช้ในการผสมโอโซนหรือทำปฏิกริยาออกซิเจนอิ่มตัวในงานบำบัดน้ำเสียซึ่งมักเป็นรูปทรงหยดน้ำ เพื่อใช้หน่วงเวลาตามที่บทความว่าด้านบนครับ

และผมก็ยังรออ่านต่อไป ^^

ขอบคุณที่ช่วยแชร์ความรู้นะครับ ประเด็นดังกล่าวผมก็ไม่ทราบมาก่อนเหมือนกัน  [on_026] ช่วย ๆ กัน แชร์เรื่องความรู้ข้อมูล ข้อสงสัย ปัญหาของโปรตีนสกิมเมอร์ จะได้มีความสุขกับการเลี้ยงตู้ทะเลอย่างเต็มที่

กำลังติดงานครับ เดี๋ยวค่ำ ๆ มาต่อเรื่อง ตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดวางสกิมเมอร์ เพื่อรีดประสิทธิภาพสูงสุด  [on_066] กับเรื่องที่เพื่อนสมาชิกถามเรื่อง การใช้โอโซนร่วมกับสกิมเมอร์ ... รวมถึง เทคนิคการเลือกซื้อสกิมเมอร์ที่เหมาะสม

และ คำถามที่ว่า -----> โอเวอร์สกิมฯ ดีจริงไหม ? แล้วควรโอเวอร์เท่าใด ? [on_018]

นั่งค้นไว้เยอะอยู่ ต้องมาไล่ ๆ แปล และเรียบเรียงเอา
หน้า: 1 2 3   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: