Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำขุ่นๆ ไม่ใสเลยครับ  (อ่าน 14356 ครั้ง)
top123 ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 04/06/12, [14:14:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รบกวนดูตู้ผมให้หน่อยครับ น้ำมันดูขุ่นๆ

1. เปลี่ยนน้ำ 50 % มา 2 วันติดแล้ว ใสแป๊บเดียว แล้วก็ขุ่นเหมือนเดิม
2. ใช้ Bacter Ball 4 เม็ต ในกรอง และ เติม Green Bacter เป็นประจำครับ

ผมคิดว่าน่าจะเเป็นที่แบคทีเรียบูมหรือปล่าว

รบกวนเพื่อนๆเสนอวิธีแก้ไขหน่อยครับ

SM ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 04/06/12, [14:21:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จัดตัวนี้ด่วนไม่ต้องคิดมาก
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=164718.0


top123 ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 04/06/12, [14:27:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จัดตัวนี้ด่วนไม่ต้องคิดมาก
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=164718.0




ซื้อมาแล้วครับ เดี๋ยวจะจัด Before - After ให้ดูนะครับ
V 940 j ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #3 เมื่อ: 04/06/12, [14:36:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เปิดอ๊อกครับ แบคทีเรียยังทำงานไม่เต็มที่
Regnum ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 04/06/12, [16:27:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แบคทีเรียยังไม่เซ็ตตัวครับ
ถ้าเซ็ตตัวแล้วน้ำจะใสปิ๊ง
และตะไคร่น้ำจะไม่ค่อยเกิดครับ

มันเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขานิดนึง
คือพอน้ำไม่ใส เราก็จะเปลี่ยนน้ำ
แล้วก็เติมแบคที่เรีย

แต่สิ่งสำคัญที่หลายๆคนลืม
ก็คือ น้ำที่ใช้เติม
ส่วนใหญ่เติมตรงจากก๊อกน้ำเลย

ซึ่งน้ำก๊อกในแต่ละเขตมีปริมาณคลอรีนไม่เท่ากัน
บางเขตคลอรีนน้อย เติมได้เลย
แต่บางเขตก็คลอรีนสูงมาก
ชนิดที่ใช้แช่ไม้น้ำก่อนลงตู้ได้ปลอดจุลินทรีย์กันเลย

ดังนั้นถ้าน้ำมีคลอรีนสูง
การเปลี่ยนน้ำก็เท่ากับเป็นการ "ฆ่า" แบคทีเรียทั้งหมด
ทำให้ระบบล่ม ต้องใช้เวลาในการเซ็ตตัวใหม่
(ถึงเติมแบคทีเรียไปก็มีค่าเท่ากัน
เพราะมันก็จะโดนคลอรีนจากน้ำที่เพิ่งเติมฆ่าจนหมดเหมือนกัน)

เพราะงั้น ต้นเหตุของปัญหาก็คือ
น้ำที่ใช้เติมลงไปในตู้ จะต้องไม่มีคลอรีนครับ
ต้องใช้น้ำที่เก็บทิ้งไว้จนคลอรีนระเหยออกไปหมดแล้วเติมครับ

ของผมก็เคยน้ำไม่ใส แก้ไงก็ไม่หาย
แต่พอจับจุดได้ ก็ใสตลอด
ต่อให้รื้อต้นไม้ เติมดิน คุ้นดินให้ขุ่นยังไง
ทิ้งไว้วันนึงก็จะกลับมาใสปิ๊งทุกครั้ง

เพราะน้ำไม่ใสที่แก้ไม่หายส่วนใหญ่
เกิดจากอินทรีย์สารในน้ำเช่น เซลล์ตะไคร่หรือจุลินทรีย์ต่างๆ
ไม่ได้เกิดจากตะกอนอนินทรีย์

ตะกอนอนินทรีย์ทั้งหลายนั้น
ใยกรองละเอียดสามารถจับได้เกือบทั้งหมด
แตะพวกเซลสิ่งมีชีวิตเล็กๆนั้น
ใยกรองดักไม่ได้ครับ
เพราะมันเล็กมาก
เลยทำให้น้ำขุ่นไม่หาย

สรุปก็คือ
   1. ต้องเลี้ยงให้ระบบแบคทีเรียในตู้เราเซ็ตตัว
   2. อย่าทำอะไรให้แบคทีเรียตาย เช่น เปลี่ยนน้ำโดยใช้น้ำที่มีคลอรีนสูง

แบคทีเรียนั้นมีประโยชน์มาก
ช่วยให้น้ำใส
และที่สำคัญคือ ช่วยไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำ

สังเกตุตู้ที่ตั้งได้ 1 สัปดาห์ขึ้นไปมักจะมีปัญหาตะไคร่
หลักๆก็เกิดจากแบคทีเรียในระบบยังไม่เซ็ตตัวดี
แต่ตู้ที่ตั้งมานานปัญหาตะไคร่จะหายไปเอง
เพราะแบคทีเรียในระบบมันเซ็ตตัวแล้วไงครับ

เพระางั้นถ้าอยากให้น้ำใส และไม่อยากให้เกิดตะไคร่ในตู้ที่เพิ่งตั้งใหม่
ก็ต้องทำอย่างนี้ครับ
   1. ใช้น้ำที่ปราสจากคลอรีน
   2. เติมแบคทีเรีย
   3. เติมปลา (ต้องเติม) จำนวนน้อยๆ เช่น คาร์ดินิล 6-8 ตัว
   4. อย่าเปลี่ยนน้ำบ่อย อาทิตย์ละครั้งพอ ครั้งละ 10 - 20 %
   5. ช่วงเปิดไฟเปิด CO2 ช่วงปิดไฟปิด CO2 และเปิดอากาสด้วย
     
ปล.  การเปิดอากาศไม่จำเป็นต้องใช้หัวทรายปั๊มอากาศลงไปนะครับ
       แค่หัน outflow bar ให้เฉียง
       อย่างของผม เอา outflow bar ไำว้ใต้น้ำ ก็หันเฉียงเสยขึ้นผิวน้ำ
       เพื่อให้เกิด surface agitation
       มันก็จะทำให้เกิดการละลายของอากาศลงไปในน้ำได้ดี
       โดยไม่ต้องใช้หัวทรายอัดอากาศเพิ่ม
        (ไม่ต้องหันเฉียงมากจนน้ำกระเด็นเป็นฝอยนะครัับ
          เอาแค่ให้ผิวน้ำเกิดลูกคลื่นก็พอครับ
          อาจมีน้ำกระเดินได้เล็กน้อยแต่พองาม [เจ๋ง])
 
แบบนี้แบคทีเรียจะเซ็ตตัวเร็วมาก
และเมื่อมันเซ็ตตัว
ปัญหาทุกอย่าง
ทั้งน้ำขุ่น และตะไคร่ระบาด จะหายไปเองอัตโนมัติครับ


อันนี้จากประสบการณ์จริงนะครับ
อาจไม่ตรงตามทฤษฏีนัก
แต่ถ้าทำอย่างนี้
น้ำผมใสทุกครั้งและไม่เคยเกิดปัญหาตะไคร่น้ำ
เลยเอามาแชร์กันครับ



Regnum ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 04/06/12, [16:36:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่มเติมอีกนิดครับ

การไหลเวียนน้ำของเครื่องกรองน้ำสูงด้วยนะครับ
อย่างนั้อย 6 เท่าของปริมาตรน้ำในตู้
ความแรง 2-3 เท่า
จะแรงไม่พอป้องกันปัญหาตะไคร่น้ำด้วยวิธีที่บอกนะครับ

ความแรง 2-3 เท่าจะใช้ได้ในระยะกลางของตู้
ที่แบคทีเรียเซ็ตตัวทีแล้วเท่านั้นครับ

ถ้าต้องการให้ตู้ที่เซ็ตใหม่ในระยะแรกไม่เกิดตะไคร่
เครื่องกรองต้องแรง 6 เท่าขึ้นไปครับ

อย่างตู้ 24 นิ้วจุน้ำได้ 60 ลิตร
ก็ใช้กรองที่มีการหมุนเวียนน้ำ 360 ลิตร / ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ

 [on_058]

Yoda ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #6 เมื่อ: 04/06/12, [16:56:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

^
^
^
ละเอียดยิบ  [เจ๋ง] [เจ๋ง]
Regnum ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 04/06/12, [17:07:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

^
^
^
ละเอียดยิบ  [เจ๋ง] [เจ๋ง]

วันหยุดยาวๆ อารมณ์ดีครับ
เลยพิมพ์ซะยาวเลย

เอาประสบการณ์มาแชร์กันดูครับ
หลังจากเจอปัญหา ลองนู่นลองนี่ ผิดๆถูกๆหลายๆครั้ง
พอจับจุดได้ ก็อยากเอามาให้เพื่อนๆทำกันดูบ้าง
จะได้ไม่ต้องเจอกับปัญหาคลาสสิคไม่รู้จบ
จนทำให้หลายๆคนท้อแล้วเลิกเลี้ยงไม้น้ำกันไปหนะครับ
อยากให้คนไทยเลี้ยงไม้น้ำกันเยอะ ๆ คร้าบบ บ .. .    .   
 [on_055]
top123 ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #8 เมื่อ: 06/06/12, [09:33:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอขอบคุณความรู้ที่มีให้ และ ความตั้งใจที่จะแสดงออกมาครับ สุดยอดจริงๆ นั่งพิมพ์ขนาดนี้ บทความได้เลยครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #9 เมื่อ: 06/06/12, [12:42:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ้างถึง
ตะกอนอนินทรีย์ทั้งหลายนั้น
ใยกรองละเอียดสามารถจับได้เกือบทั้งหมด

อ่านแล้วผมติดตรงนี้นิดนึง ขอเพิ่มเติมนะครับ คำว่าเกือบทั้งหมดนั้นในส่วน inorganics ที่ใยกรองกรองไม่ได้
เพราะในตู้ไม้น้ำมันมีสิ่งที่เราต้องทราบว่าอะไรบ้างที่กรองไม่อยู่ ในส่วนของชีวภาพ สารอินทรีย์ท่านได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้วครับ ผมขอเติมในสิ่งที่เอาไม่อยู่ (เติมให้เต็มคำว่า"เกือบ"ให้นะครับ)

จริงๆแล้วผมลงบางส่วนไว้ในบทความนี้แล้วนะครับ ตอนท้ายๆเรื่องการผลิตดินไม้น้ำ บทความ:ติวเข้ม พ102  การเลือกวัสดุปลูก  ใครคือพระเอกตัวจริง? Choosing A Planted Aquarium Substrate. Who's the real hero?  http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=179291.0

องค์ประกอบของดินไม้น้ำตามสูตรต่างๆมักไม่ใช่สารอินทรีย์นะครับ ถึงแม้สารอินทรีย์จะมีผสมแต่ก็เป็นสารที่ย่อยสลายตัวได้ช้าๆ ทั้งหมดทั้งมวลผมไม่สามารถบอกได้ครับว่าใครใส่อะไร แต่รวมๆแล้วก็อยู่ในกลุ่มเหล่านี้ทั้งหมด
ส่วนองค์ประกอบของสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้มักมี
1. pine bark เปลือกไม้ เปลือกสน
2. fir bark เปลือกของต้น fir
3. peat moss พีทมอส
4.generic potting soil. ดินปลูกไม้บก
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เมื่อระบบกรองเซ็ตตัวจะไม่มีปัญหาเรื่องความขุ่น เพราะสามารถย่อยสลายไปให้หมดได้จนสุดทาง

กลุ่มสารอนินทรีย์ (inorganic) ย่อยสลายไม่ได้

1.grit and/or porous clay http://www.amiadini.com/NewsletterArchive/110128-NL143/envEnl-143.html
ในส่วนที่เป็นโคลนตม ใส่ในดินไม้น้ำเพื่อให้มีรูพรุนสูงครับ (บางยีี่ห้อเลยขายเรื่องการกรองน้ำใสไปด้วยเพราะมีส่วนนี้ผสม) สังเกตุดูจากการบีบเม็ดดิน บางครั้งเราจะเจอเม็ดสีสีน้ำตาลแดง หรือสีเทาอ่อนด้านใน ตัวนี้ไม่ย่อยสลายนะครับเพราะมี  aluminum silicates with trace amounts of other elements like calcium, iron, and magnesium


2.natural volcanic clays เถ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟธรรมชาติ องค์ประกอบใครอยากรู้อยู่ที่นี่ครับ http://www.eytonsearth.org/clay-chemistry.php


3.Arcillite - baked montmorillonite clay,ขายกันในชื่อการค้า Turface, Schultz Aquatic Soil,และชื่ออื่นๆ Arcillite ตัวนี้มีสีแดงเปียกน้ำสีน้ำตาลเข้ม เป็นสารอนินทรีย์ที่ไม่ย่อยสลายครับ  ใส่เพื่อเพิ่มรูพรุนในดินปลูก
4.Baked fuller's earth  ขายกันในท้องตลาดว่าสารจับไขมัน oil absorbent (e.g., Oil-Dri) และใช้ทำทรายแมว ( cat litters)  เป็นสารอนินทรีย์ที่ย่อยสลายเป็นฝุ่นได้ไวกว่าชนิดอื่นๆครับ  ใส่เพื่อเพิ่มรูพรุนในดินปลูก
5. Horticultural perlite  ตัวนี้มีในบทความข้างต้นครับ ใส่เพื่อเพิ่มรูพรุนในดินปลูก
6. Horticultural vermiculite- ตัวนี้มีในบทความข้างต้นครับ ใส่เพื่อเพิ่มรูพรุนในดินปลูก
7. Crushed granite  ซื้อขายกันในชื่อ poultry grit ตัวนี้ไม่มีรูพรุนครับมัความคมอีกต่างหาก ใส่ไว้เพื่อกระตุ้นให้แตกรากฝอยครับ
8. Flint grit เหมือนข้อ 8

ส่วนประกอบข้อ 1-8 นี่หล่ะครับที่ลงน้ำไปแล้วเกิดการกร่อนที่ไม่ผุพัง ส่วนหนึ่งถูกจับไว้ด้วยใยกรองแต่ฝุ่นจากสารเหล่านี้ที่ฟุ้งกระจายมักมีขนาดเล็กกว่ารูที่ใยกรองจับได้  เพราะฝุ่นมีขนาเเฉลี่ย 2 ไมครอน(0.002 มม.)


 
อ้างถึง
ตะกอนอนินทรีย์ทั้งหลายนั้น
ใยกรองละเอียดสามารถจับได้เกือบทั้งหมด
   

 ใยกรองละเอียดที่เราเรียกกันติดปาก (ฝรั่งเรียกกันว่า  Polyester Padsที่เค้าเอาไว้ยัดหมอน ยัดที่นอนครับอย่างเดียวกัน) ที่เราใส่ไว้ชั้นบนสุดของเครื่องกรองนอก กรองแขวน ถ้านับอัตราการกรองฝุ่นที่อยู่ในน้ำจะมีช่วงการกรอง ตั้งแต่ low cost polyester filter cloth (22 ไมครอน) หมายถึงใยกรองที่ถูกๆทำจากพลาสติก PE ที่เราเอามาใช้ในบ่อปลากัน  ช่วงกรองที่ใช้ในกรองนอกต่างๆ ไม่เกินนี้ครับ เฉลี่ยใยกรองที่เราใช้ 10-22 ไมครอน จะเห็นได้ว่าใยละเอียดที่ใส่ไปถึงแม้กรองฝุ่นได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ทั้งหมดจับฝุ่นจากโคลนไม่ได้เพราะมันจะลอดออกหมด(2 ไมครอน)

สาเหตุที่เราไม่สามารถ เอาใยกรองชนิดที่ที่ดีเยี่ยมตาละเอียดๆกว่าที่ใช้กันนี้ กรองกลุ่ม inorganic ได้เช่นใย commercial (0.1 ไมครอน) PVDF (polyvinylidene fluoride) membrane เพราะ
1.เครื่องกรองนอกที่ออกแบบมาส่วนใหญ่  ไม่สามารถรับแรงดันน้ำได้สูงหากใช้ใยกรองละเอียดเกินไปนอกจากจะทำให้เกิดแรงดันเพิ่มในเครื่องเกิดปัญหารั่วซึมตามขอบซีลต่างๆ แล้วยังจะทำให้ประสิทธิภาพการกรองน้ำลดลง
2.ถึงแม้จะกรองได้ ออกแบบเครื่องกรองมาดีกว่าเงื่อนไขข้อ 1. ก็เอามากรองไม่ได้อยู่ดีเพราะตู้ไม้น้ำมันไม่ได้มีแค่น้ำกับดิน ยังมีซากพืช ขี้ปลา  อาหารปลาเหลือ ต่างๆนาๆทำให้ใยกรองตันได้ไวเกินไป

ใยกรองที่อยู่ในกรองนอกกรองแขวนจึงไม่ทำหน้าที่ดักจับตะกอนฝุ่นเลยเหล่านี้ได้โดยตรง จุดประสงค์คือการจับเอาซากของคราบจุลินทรีย์ที่มีอายุมากที่อยู่ในกรองไม่ให้ไหลลงไปในตู้ไม้น้ำมากกว่าครับ

ถ้ารู้แบบนี้แล้วจะทำยังไง ?
1.เปลี่ยนน้ำ (ถึงจะล้างใยกรอง อัดใยกรองหนาๆก็กรองฝุ่นดินไม่ออกนะครับเพราะมันก็ลอดได้) แต่วิธีนี้เปลี่ยนบ่อยๆก็ต้องแลกกับการที่ระบบกรองชีวภาพไม่เซ็ตตัว (ไม่เซ็ต หมายถึงอายุของจุลินทรีย์ไม่พอที่จะบำบัดน้ำได้มีประสิทธิภาพเต็มที่นะครับ) การเปลี่ยนน้ำมากๆ แล้วเติมจุลินทรีย์ ไม่มีประโยชน์ใดเพราะเอาจุลินทรีย์ที่กำลังปรับตัวในตู้ไม้น้ำท่านออกไปด้วยอีก ต้องเอามาเริ่มกันใหม่
2.ใช้สารจับตะกอน ตัวนี้เป็นทางลัดครับ แบบตัว Clear express ก็เป็นตัวนึงที่ผมคิดมาจากสิ่งที่ผมเจอ คือปัญหาดินเก่า ตอนแรกก็ทำตามที่เข้าใจหล่ะครับ ล้างกรอง เปลี่ยนน้ำ เปลี่ยนซับสเตรทเป็น quartball azoo เติมแบค กว่า 2 สัปดาห์ที่เอาไม่ลงครับเลยมั่นใจว่ามันเป็น inorganic แน่ๆ
   
ในส่วนของคุณ SM แนะนำผลิตภัณฑ์ของผมต้องขอบคุณมากๆครับ
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0043135412000371
http://en.wikibooks.org/wiki/Bonsai/Bonsai_soil
http://www.mea.com.au/soil-moisture-monitoring/learning-centre/what-is-soil-texture
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #10 เมื่อ: 06/06/12, [12:51:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปล. ดูจากสายตาตู้นี้เหมือนตะไคร่น้ำเขียวนะครับ  n032
Regnum ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #11 เมื่อ: 06/06/12, [13:54:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผู้รู้จริงมาอธิบายแล้วครับ

จากที่ผมได้อ่านบทความเก่าๆของคุณ Coffman ทุกบทความอ่านแล้วได้ความรู้ดีเยี่ยมมากๆ
ความรู้มากมายที่ทำให้ผมตั้งตู้ไม้น้ำได้สำเร็จก็มาจากหลายๆคำตอบที่คุณ Coffman ได้เคยโพสต์ไว้
สำหรับผมคุณ Coffman ถือเป็นบุคคลสำคัญของวงการไม้น้ำไทยท่านหนึ่ง
ดุได้จากเจตนาที่จะให้ความรู้ที่เป็นถูกต้องเป็นระบบ
และพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาเพื่อให้ผู้เลี้ยงไม้น้ำไทยได้ใช้ของดีๆ ราคาไม่แพง

ผมก็เคยทำงานที่เชียงใหม่ครับ
แต่ตอนนั้นยังไม่ได้เลี้ยงไม้น้ำ
ไม่งั้นคงได้ไปแวะร้านคุณ Coffman ประจำแน่
ตอนนี้กลับมาทำอยู่ กทม. แล้วครับ
 [on_012]
Aqualabs ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #12 เมื่อ: 06/06/12, [15:30:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปล. ดูจากสายตาตู้นี้เหมือนตะไคร่น้ำเขียวนะครับ  n032

เห็นด้วยครับ ดูเหมือนตะไคร่น้ำเขียว  ปิดไฟ เปิด UV หรือไม่ก็ลงลูกไรซักฝูง น่าจะหาย
Bankcaramel ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #13 เมื่อ: 06/06/12, [22:01:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมว่า กำจัดตะไคร่ให้หายก่อน หายแล้วก็เปลี่ยนน้ำตามปกติ น่าจะดีขึ้นนา.........
Asphyxia ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #14 เมื่อ: 07/06/12, [01:41:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลงมอสเทพทั้งนั้นเลย โอ้วๆๆๆๆๆ  [เหอๆ]
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: