Aqua.c1ub.net
*
  Tue 23/Apr/2024
หน้า: 1 2   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ:ติวเข้ม พ102 การเลือกวัสดุปลูก ใครคือพระเอกตัวจริง?  (อ่าน 44238 ครั้ง)
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« เมื่อ: 06/05/12, [20:23:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความ:ติวเข้ม พ102  การเลือกวัสดุปลูก  ใครคือพระเอกตัวจริง?  
Choosing A Planted Aquarium Substrate. Who's the real hero?

ภาพหัวเรื่อง http://www.fmueller.com/home/aquaristic/125g/decorations/substrate/



ความนี้แปลและรวบรวมมาจาก
 Substrate materials for the planted aquarium  http://www.aquariumslife.com/aquascaping/planted-aquarium-substrate/substrate-materials-planted-aquarium/
Substrates for the Planted Aquarium http://www.aquatic-eden.com/2007/04/substrates-for-planted-aquarium.html
Choosing A Planted Aquarium Substrate http://www.aquascapist.com/substrates/choosing-a-planted-aquarium-substrate/

ที่มาภาพ http://www.plantedtank.net/forums/aquascaping/147363-how-have-sand-island-aquasoil.html

กระแสความนิยมในการเลี้ยงพรรณไม้น้ำที่มีมากขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตวัสดุปลูกต่างไม่หยุดนิ่งและพัฒนาสินค้าเข้ามาแข่งขันกันในท้องตลาดมากมาย เช่นล่าสุดมีดิน AQUASOIL NEW AMAZONIA จากค่าย ADA ที่คลอดมาช่วงต้นปี 2555 หรือดิน Black Earth Premium ดินสายพันธุ์ไทยแท้ ที่พึ่งปล่อยสินค้าใหม่ล่าสุดทำตลาดมาช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 ปัจจุบัน การใช้วัสดุปลูกที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการเพาะเลี้ยงไม้น้ำถือได้ว่าเป็นที่นิยมที่สุด เพราะสะดวกในการใช้งาน สามารถควบคุมคุณภาพน้ำ และปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของน้ำได้ตามต้องการ ไม่ต้องใช้ปุ๋ยรองพื้นกันวุ่นวาย ไม่ต้องนั่งล้างกรวด หรือหินลูกรังเหมือนสมัยก่อน ลักษณะเม็ดละเอียดเท่าๆกัน สวยงาม ในตลาดมีทั้งของไทยของนอก ส่วนราคาของวัสดุปลูกแต่ละยี่ห้อโดนเฉลี่ยแล้วต่างจากกรวดทรายคิดดูแล้วแพงกว่า 7-10 เท่าเลยทีเดียว แต่ทำไมต้องใช้? ทำไมไม่ใช้กรวดแบบเดิมๆทั้งๆที่มันก็ปลูกได้? ใช้กรวด ทรายต่างๆ จะเลี้ยงได้ดีเท่ากันไหม?  เสียเงินทั้งที  ในบทความนี้มีเปรียบเทียบให้ครับว่าแต่ละตัว ดี เลว ต่างกันอย่างไร?

      การเลือกใช้วัสดุปลูกในตู้ไม้น้ำ เป็นส่วนสำคัญพื้นฐานที่ ผู้เลี้ยงพรรณไม้น้ำควรทราบถึง ไม้น้ำแต่ละชนิดมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน  เพราะถ้าหากจะเลี้ยงไม้น้ำแนวที่จะต้องปักชำลงไปในพื้นปลูกแล้ว วัสดุปลุกเป็นส่วนประกอบของตู้ไม้น้ำที่หวังผลระยะยาวในการเรียกฟอร์มไม้น้ำในตู้ให้สมบูรณ์ถึงขีดสุดเลยทีเดียว  


ที่มาภาพ http://www.aquaticplantcentral.com/forumapc/substrates/4990-aquasoil-africana-photos-oliver-knotts-new.html

ก่อนที่จะเข้าสู่การเจาะลึกวัสดุปลูกแต่ละตัว ลองมาดูหลักกว้างๆที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกใช้วัสดุปลูกแต่ละชนิดก่อนนะครับ

1.ขนาดของเม็ดวัสดุปลูก ต้องไม่อัดตัวกันแน่นเกินไป (fluffy)  ออกซิเจนสามารถไหลเวียนได้ดีในชั้นวัสดุปลูก  
ต้องไม่ลืมว่า การปลูกไม้น้ำของเสียในชั้นดินก็เกิดขึ้นตั้งแต่วินาทีแรก ต่อเนื่องไปจนถึงรื้อตู้ จากการเน่าผุพังของใบ(ทำไมจึงต้องริดใบออกก่อนปักเพื่อลดภาระการย่อยของเสียในชั้นดินนั่นเอง) การเน่าเปื่อยของปลายราก ลำต้นบางส่วนที่เซลล์ช้ำที่ปักลงไปในดิน การปลูกไม้น้ำในวัสดุปลูกที่ ซุย พรุน ไม่อัดตัวกันแน่นเกินไป ย่อมหมายถึงการไหลเวียนของเสียสู่กระบวนการย่อยสลายในชั้นแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจนใต้ดิน และการหยั่งรากของไม้น้ำเพื่อหาอาหาร เป็นไปได้โดยง่าย  


 แต่ต้องเข้าใจว่าวัสดุปลูกทุกชนิด ย่อม อัดตัวกันแน่น หลักจากใช้งานไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง  เมื่อถึงจุดนั้น การหมุนเวียนของชั้นออกซิเจนย่อมแย่ลง จนถึงจุดที่เกิดชั้นดำ (บทความ : ข้อดี ข้อเสีย ของชั้นดินดำในตู้ไม้น้ำ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=96233.0) เกิดก๊าสไข่เน่า  ในชั้นดินแล้วหล่ะก็หายนะก็จะมาเยือนตู้ของท่านในทันที เคล็ดลับง่ายๆในการทำให้ชั้นวัสดุปลูกร่วนซุยและใช้งานได้ยาวนาน ดังนี้ครับ

1.1 การดูดตะกอนหน้าดิน โดยใช้วัสดุทำเองง่ายๆ แค่ ทำตามคำแนะนำนี้  หัวข้อ: กำจัดเศษอาหารและตะกอนก้นตู้ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=112141.0 หรือจะใช้อุปกรณ์สุดคลาสสิคของ aquac1ub จากเจ้าพ่อผงมวลสารเรดบี ตามกระทู้นี้   D.I.Y.ที่ดูดเศษอาหารเรดบีแบบAUTOราคา 0 บาทสำหรับบางท่าน โอ้เจ้าจ๊อดมันเยี่ยมมาก http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=51151.0  

ที่มา http://floraquatica.blogspot.com/

1.2  ในต่างประเทศมีการใช้หอยตระกูล หอยเจดีย์ (Trumpet snails)  ช่วยพรวนดิน   เช่น MalaysianTrumpetSnail  หรือหอย MTS  จุดเด่นของหอยชนิดนี้คือไม่กัดกินไม้น้ำสด แต่จะทำการกินซากพืชได้ไวมากๆ   รวมทั้งมีขนาดเล็ก ช่วยพรวนดินได้ดีมาก ทำให้ชั้นดินลดการสะสมของก๊าสไข่เน่า ยังพบว่าหอยชนิดนี้ไม่กัดกินรากพืชอีก หอยชนิดนี้ยังกิน ตะไคร่บางชนิดเช่นตะไคร่ขนเขียวได้ดีมากอีกด้วย MTS eat algae, including hard-to-control hair algae  ข้อดีของหอยชนิดนี้อีกอย่างนึงคือสามารถออกลูกหลานได้เอง และจะไม่แบ่งตัวมากเกินกว่าอาหารที่มีในตู้ไม้น้ำนั้นๆ พฤติกรรมสุดน่ารักคือออกหากินเฉพาะตอนปิดไฟครับ ตอนเปิดไฟไม่ออกมาไต่ยั้วเยี้ยให้ขัดใจแน่ๆ http://www.yamatogreen.com/MalaysianTrumpetSnails.htm  ปล.หอยชนิดนี้ยังไม่พบว่ามีจำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยนะครับ

ที่มา http://www.aquahobby.com/gallery/e_Melanoides_tuberculata.php

1.3 การผสมใช้วัสดุมวลเบา อย่างเช่นแร่   vermiculite หรือ perlite  สามารถทำให้คุณสมบัติของวัสดุปลูกร่วนซุยได้
vermiculite


ที่มาhttp://homeharvest.com/soilamendmentsperlitevermiculite.htm
Perlite

ที่มา http://www.perlite.net/

1.4 ขนาดของวัสดุปลูกสำคัญมาก การเลือกควรขนาดของวัสดุปลูกที่ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป  การเลือกวัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กมากเกินไป ของเสียจากขี้ปลา เศษใบไม้ที่ทับถม มีผลทำให้เกิดชั้นดำได้เร็ว  ชั้นดินจะอัดแน่น มากการไหลผ่านของน้ำในชั้นดินไม่ดี ส่งผลให้การถ่ายเทออกซิเจนไม่ดี กระทบต่อแบคทีเรียย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในชั้นดินทำงานได้ช้าลงและเกิดผลเสียต่อระบบรากพืชในระยะยาว หากใช้วัสดุที่ใหญ่เช่นกรวดแม่น้ำต่างๆ  แต่หากเลือกวัสดุปลูกที่ขนาดเม็ดใหญ่เกินไปจนมีช่องว่างเกิดขึ้นในชั้นปลูกมากๆ ระบบรากก็ไม่สามารถยึดติดกับวัสดุปลูกได้เช่นกัน   ขนาดของวัสดุปลูกที่ใช้ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 2-5 มิลลิเมตร  

ที่มา http://www.aquariumlife.com.au/showthread.php/36012-Size-comparison-Up-Aqua-Soil-vs-Shrimp-Sand

1.5 การปูพื้นวัสดุปลูก ที่ความหนา มากกว่า 3 นิ้ว (7.6 ซม.) จะทำให้อ๊อคซิเจนซึมผ่านชั้นวัสดุปลูกได้ไม่ดี เกิดชั้นดำได้ง่ายกว่า  ดังนั้นการเลือกวัสดุปลูกที่ทำเลย์เอาท์เป็นเนินสูงหลังตู้ ควรคำนึงถึง วัสดุปลูกที่ต้องมีการไหลผ่านของอ๊อคซิเจน หรือมีการวางแผนรองพื้นด้วยวัสดุที่มีรูพรุนต่างๆ เอาไว้ด้วยครับ

ที่มา http://www.tfhmagazine.com/aquatic-plants/feature-articles/maintaining-a-nature-aquarium-layout-with-echinodorus.htm

 2.เลือกรองพื้นด้วย สารอนินทรีย์(Inorganic)  หรือสารอินทรีย์ (organic) ดีล่ะ?
ควรหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุปลูกที่เป็น สารอินทรีย์ (organic) ในตู้ไม้น้ำที่คิดว่าจะเลี้ยงในระยะยาว 12-18 เดือนขึ้นไปโดยไม่เปลี่ยนวัสดุปลูก การใช้ดินปลูกพืชบก ดินบัว ต่างๆเหล่านี้มีส่วนผสมที่เป็นอินทรียวัตถุ การย่อยสลายในชั้นปลูกต่างเป็นอาหารของพรรณไม้น้ำ แต่ก็ต้องแลกกับภาระการย่อยสลายใต้ดินที่หนักหน่วง ทำให้เกิดภาวะชั้นดำเอาง่ายๆ ปุ๋ยที่ได้แลกกับความยากลำบากในการควบคุมชั้นพื้น  หากต้องการลงทุนอย่างคุ้มค่า แนะนำให้เลือก  ดินที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อปลูกไม้น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารอนินทรีย์ที่คงตัวไม่ย่อยสลาย ดีกว่าครับ (ถึงแม้ราคาจะสูงแต่ระยะยาวคุ้มค่ากว่ามากๆ)

ในที่นี้ผมไม่ได้บอกว่า  วัสดุปลูกที่เป็น สารอินทรีย์ไม่ดีนะครับ วัสดุปลูกที่เป็น ดินบัว คุณ อีโดตี้ดิวเวอร์ ได้ทดลองกับ  
ตู้ดินบัว+กรวดแก้ว  ในตำนานกระทู้นี้ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=74638.0ได้ผลเป็นที่น่าพอใจเลยทีเดียว


แต่มีข้อที่ต้องดูแลตู้อย่างละเอียดด้วยครับ
ขอบคุณครับ

   แต่อย่างไรก็ตามผมก็ต้องคอยใส่ปุ๋ยอยู่ตลอดครับ วิธีการดูแลยังคงทำเหมือนตู้กรวดทั่วไป ปุ๋ยฝังที่ใช้ ก็ยังคงยึดความงกเป็นหลักคือใช้ปุ๋ยชีวภาพราคาถูก กรอกใส่แคปซูลยาแล้วฝังตามจุดต่างๆ ครับ
ผมเองก็ทำตามที่อ่านใน web แหละครับ เห็นเค้าว่าให้ใส่พัมมิสไว้ก้นตู้ก็ใส่ตามเค้าไป เพียงแต่ผมจนไม่มีตังซื้อดินภูเขาไฟกะเขาเฉยๆ เลยเอาดินบัวมาใส่แทน แล้วกลัวน้ำจะขุ่นก็เลยเอากรวดแก้วมาทับเพราะว่าเม็ดมันเล็กละเอียดดี ส่วนที่น้ำมันใสได้ก็คงเป็นเพราะระบบกรอกนอกแหละครับ (boyu285 กะตู้ 24 ครับ)


การใช้สารอินทรีย์ พวกดินปลูกไม้บก อาจใช้ได้ในบางกรณี เช่นการใช้รองพื้นๆบางๆปริมาณ  น้อยๆ ในชั้นแรกของการตั้งตู้เพื่อเพิ่มปริมาณสารอาหารในระยะแรก จากบทความที่แปลมาจะใช้ โรยปริมาณเต็ม 2 อุ้งมือ โรยทั่วตู้ สัก 2 รอบ รองพื้นสำหรับตู้ 75 ลิตร(a couple of handfuls per 20 gallon tank) การที่ใช้ปริมาณที่น้อยๆแบบนี้จะไม่ส่งผลให้พื้นตู้ในระยะยาวครับ

3. วัสดุปลูกต้องไม่ปูหนาเกินไป หรือตื้นเกินไป แล้วจะเท่าไหร่ดี?  
การปูพื้นหนา-บาง มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะเลือกว่าจะปูหนาเท่าไหร่ จะต้องทราบว่าต้องการปลูกอะไร?
การปูพื้นแบบที่นิยมที่สุดคือการทำสโลป ต่ำด้านหน้า แล้วปัดไล่ความหนาของวัสดุปลูกไปหลังตู้ เช่น ความสูงมาตรฐานที่ ADA แนะนำคือด้านหน้า ปูหนา 4 ซม. = 1.6 นิ้ว ด้านหลัง 7.5 ซม. = 3 นิ้ว(หรือบางเลย์เอาท์อาจหนากว่านี้) ซึ่งความสูงที่ไล่จากต่ำไปสูงในแนวหน้าไปหลัง นอกจากจะทำให้ตู้มีมิติที่ดี ยังสัมพันธ์กันกับชนิดของไม้น้ำหน้าตู้ที่มีระบบรากขนาดเล็ก  ไปถึงไม้น้ำหลังตู้ที่มีระบบรากใหญ่ได้อีกด้วย

ที่มา http://floraquatica.blogspot.com/

ที่มา http://www.adana-usa.com/index.php?main_page=product_info&products_id=272

การแบ่งระบบรากพรรณไม้น้ำสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

ที่มา http://floraquatica.blogspot.com/

3.1 ไม้น้ำตระกูลอนูเบียส (Anubias)  ตระกูลเฟิร์นน้ำทั้งรากดำ (Mircosorium and fern)  โบลบิทิส(Bolbitis)  ตระกูลบูเซป (Bucephalandra) สามารถเจิญเติบโตได้ในตู้ที่ไม่ต้องใช้วัสดุปลูกได้  

3.2 พืชตระกูล อะเมซอน (Echinodorus) คริป(Cryptocoryne) มีระบบรากที่ใหญ่ ต้องการพื้นที่ในดินสำหรับการหยั่งรากมาก  กว่าพรรณไม้น้ำอื่นๆ ต้องการความลึกของวัสดุปลูกที่ 3 นิ้วขึ้นไป

3.3 ไม้น้ำตู้ กรอสโซ เพิลหวีดจิ๋ว แฮร์กลาส มีระบบรากเล็ก ต้องการความลึกของวัสดุปลูกประมาณ 1.6 นิ้ว

3.4 ไม้ข้อ(stem plant)ตระกูล โรทาร่า ลัดวิเจีย และอื่นๆ  หรือไม้หลังตู้ตระกูลเทป  มีระบบรากปานกลาง-ลึก  ต้องการความลึกของวัสดุปลูกระหว่าง 1.6- 3 นิ้ว

สัญญาณที่บอกได้ถึง ระดับความลึกไม่เพียงพอต่อระบบรากของพรรณไม้น้ำแต่ละชนิดมักแสดงออกมาทางอาการขาดธาตุสารอาหารต่างๆ  ดูได้จากหัวข้อ: รูปภาพ อาการขาดสารอาหาร (ดูง่ายดีครับ) http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=118068.0 และ หัวข้อ: บทความ : ค่า PH ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเจริญเติบโตของไม้น้ำ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=113637.0

4. การเลือกวัสดุปลูกจากงบประมาณที่มี  
     งบประมาณในส่วนของวัสดุปลูก ของการจัดตู้ไม้น้ำ ขนาดตู้ 24 นิ้วมาตรฐาน (24*12*14) หากใช้ดินสำเร็จรูป ะอยู่ในงบประมาณ ราวๆ 600-1300 บาท(คิดทีวัสดุปลูกขนาด 9 ลิตร)คิดเป็น 20%-25% ของค่าใช้จ่ายในการตั้งตู้ไม้น้ำทั้งหมด ผมถือว่าเงินจำนวนนี้ไม่น้อยเลยนะครับแต่ลองคิดถึงหากเราต้องตั้งตู้ ขนาด ประมาณ 2 เท่า  ราคาที่ต้องจ่ายสำหรับวัสดุปลูกอาจพุ่งขึ้นไป ถึง  4 เท่าตัว(2,400-5,200 บาท) การจัดการงบประมาณให้เลือใช้ไปยังส่วนที่จำเป็นอื่นๆทั้งระบบ CO2 แสงสว่าง ค่าอุปกรณ์อื่นๆ   การเลือกวัสดุปลูกให้เหมาะกับเงินในกระเป๋าจึงต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วย ในส่วนที่จะสามารถลดราคาของวัสดุปลูกได้ดีวิธีหนึ่งคือการทำเลย์เอาท์แบบเปิดพื้นที่ด้านหน้าด้วยกรวดหรือทรายละเอียดครับ ต้นทุนของกรวดทังตู้ 24*12*14 มาตรฐาน หากปูเต็มตู้ สูง 1-1.5 นิ้ว จะใช้กรวดอยู่ประมาณ 12 กก. ต้นทุนประมาณ 80-120 บาท หากตู้นี้ใช้กรวดปูหน้าตู้ลึกเข้ามาประมาณ  3 นิ้ว เพื่อทำเลย์เอาท์ จะลดราคาการใช้วัสดุปลูกลงไปได้ 20%-25% เลยทีเดียว  ยิ่งมีทางคดเคี้ยวเข้าไปในเลย์เอาท์หลายๆเส้น ราคาค่าดินแพงๆยิ่งลดลงไปอีก   [on_026]

5.การเลือกสารอาหารที่มีในวัสดุปลูก

แนวทางหลักๆในการเลือกสารอาหารที่มีในดินหลักๆมีให้เลือกกัน แบบ
5.1 วัสดุปลูกที่ไม่มีสารอาหารเลย เลือกแบบนี้ก็สมราคาครับ ไม้น้ำก็ไม่โตเลย ทยอยละลายไปด้วยอีก การใช้วัสดุปลูกประเภทนี้ถ้าจะเอาให้อยู่ก็ต้องทำการใส่ปุ๋ยรองพื้นอย่างดี ไปเลยหรือแบบลูกทุ่งใช้ปุ๋ยคอกก็ได้ครับ รองพื้นให้ทั่ว 1 กก.ต่อตู้ 24 (อย่าเยอะกว่านี้นะครับเดี๋ยวจะบอกว่าเพราอะไร)  ต้องกลับไปดูข้อ 4 ล่ะครับว่าทำแบบนี้จะคุ้มกันไหมในระยะยาวที่ต้องซื้อปุ๋ยฝังมากๆ และฝังบ่อยๆ

5.2 วัสดุปลูกที่ทำเทียมขึ้นมา หรือจากธรรมชาติเหมาะสำหรับปลูก แต่ปุ๋ยมีไม่มากเท่าไหร่หรือไม่มีเลย กลุ่มนี้ก็อย่างเช่นพวก perlite ทรายแมว  ถึงแม้จะมีข้อดีกว่าข้อ 5.1 แต่ข้อเสียก็คืองบประมาณเรื่องปุ๋ยรองพื้นกับปุ๋ยฝัง เหมาะสำหรับมือเก่าที่ต้องการความแปลกใหม่สะใจ เท่ห์ครับ

5.3 วัสดุปลูกที่ทำเทียมขึ้นมาใส่ปุ๋ยให้ด้วยแต่ปุ๋ยละลายออกมาค่อนข้างช้า ยี่ห้ออะไรผมไม่ขอกล่าวถึงนะครับเรื่องฟ้องร้อง โรงศาล ผมไม่ถนัด  เอาเป็นว่าถามร้านไม้น้ำใกล้บ้านท่านดูก่อนนะครับ ดินประเภทนี้ให้ปุ๋ยมาน้อยนิดในระยะแรกพอเลี้ยงไข้ แต่ให้ยาวนาน ดินประเภทเหมาะสำหรับผู้ที่เล่นไม้น้ำมาสักระยะ-มือเก่า(ชอบตะไคร่น้อยๆ+รอได้)  

5.4 วัสดุปลูกที่ทำเทียมขึ้นมาใส่ปุ๋ยให้ด้วยแต่ปุ๋ยละลายออกมาค่อนข้างพอเหมาะ-จนถึงมากไป ดินที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวันโดยเฉพาะคนใหม่ๆที่เห็นการเลื้อย การเติบโตของพรรณไม้น้ำในตู้ ได้ไว คายฟองกันจนไม่เห็นกระจกหลังตู้เลยได้ยิ่งดี ดินประเภทนี้ใช้ให้ถูกที่ไม่มีข้อเสียอะไร แต่ปัจจัยที่จะต้องแลกมาเพื่อใช้ดินประเภทนี้ให้คุ้มค่าคือช่วง 1 เดือนแรกต้องคอยหมั่นเปลี่ยนน้ำ คุมไฟ ใส่ต้นไม้ให้เต็มเลย์เอาท์ไปเลย ไม่คุ้ยเขี่ยมากมายหลังจากปลูก  หลังช่วงเวลา Happy meal ปุ๋ยน้ำปุ๋ยฝัง ซื้อมารอไว้เลยครับ อนาคตที่สดใสอาจหายวับไปใน 1-2 สัปดาห์หลังจากเดือนแรก เพราะไม้น้ำที่อ้วนพีอุดม อาจลดหุ่น สลิม โทรม ตายได้ ในเดือนเดียว (เหมือนฝึกนิสัยให้กินเก่งๆ อยู่ดีๆมาลดอาหาร อาจเกิดอาหารอดโซได้ไวกว่า)
จากที่ผมกล่าวในข้อ 5.1 การใช้ปุ๋ยคอกเป็นสูตรทีต่างประเทศนิยมใช้มานานในการตั้งตู้ใหม่ให้ไม้น้ำได้กินปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยรองพื้นที่ตียี่ห้อใน 1เดือนแรกที่ปลูก   แต่กรณีหากใส่มากเกินไป แล้วปิดทับด้วยกรวดไม่ดีไม่มิดชิด หรือกรณีข้อ 5.4 ที่ไม่เปลี่ยนน้ำเลย หรือกรณีฝังปุ๋ยแท่งตื้นเกินไป หรือทำปุ๋ยฝังหักเป็นผงลอยคลุ้งไปทั่ว สารอาหารที่เกินกว่าต้นไม้จะกินใช้ได้ ก็กลับกลายเป็นอาหารส่วนเกิน ล่อให้ตะไคร่นานาชนิดที่พร้อมอยู่แล้วในตู้ท่าน (มีทุกตู้นะครับถ้าใช้น้ำประปา) เหมือนระเบิดเวลาที่รอวันระเบิดข้ามคืนท่านอาจได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ปกคลุมพรรณไม้น้ำของท่านหมดตู้  ดังนั้นคำว่าเหมาะสม ต้องกลั่นมาจากประสบการณ์การดูแลตู้ครับ

6. การปรับปรุงค่าทางเคมีของน้ำจากวัสดุปลูก
   เราจะเห็นว่าการที่วัสดุปลูกมีอิทธิฤทธิ์ในการปรับเปลี่ยนแปลงค่านู่น นี่ นั่น GH pH บางที่เล่นกันไปถึง COD BOD  แล้วเอาค่าที่ลูกค้ามึนๆมาพิมพ์ลงถุงดีกว่า  การใช้วัสดุปลูกประเภทนี้ มีข้อดีในการเลี้ยงไม้น้ำ ที่มีค่าน้ำไม่เหมาะในการเลี้ยงได้จริงๆครับ ทั้งเรื่องการจับเอาหินปูนออกเพื่อลด และคุมความกระด้าง(ลดได้ระดับหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง)  จนส่งผลไปถึงประสิทธิภาพของการใช้ CO2 อิสระที่ไม้น้ำจะเอาไปปรุงอาหารได้ดีขึ้น  การจับเอาอนุภาคแขวนลอยทำให้น้ำใสไวขึ้น การเติมแต่แร่ธาตุ แคลเซียม สำหรับเลี้ยงสัตว์เฉพาะ พวกกุ้งแคระ ล้วนต่างก็เป็นข้อที่ควรนำมาพิจารณาเลือกซื้อได้
 
7. ค่าความสามารถการดูซับประจุบวกในวัสดุปลูก  The Captation Exchange Capacity (CEC)
 ใครที่มีความตั้งใจอ่านมาได้ถึงข้อ 7 ผมขอขอบคุณจากใจครับที่ได้ติดตามผลงานบทความกันมา จริงๆแล้วกะว่าบทความนี้จะมีเฉพาะข้อที่ 7 หัวข้อเดียวแต่ถ้าแปลกันมาตรงๆก็มึนครับ เลยรวบรวมกันมาตั้งแต่ต้นปีเสร็จกันเกือบกลางปีเลยทีเดียว

     ค่าที่สำคัญที่สุดของการเลือกวัสดุปลูก(substrate) ที่ดินทุกยี่ห้อทุกค่าย เจ้าเก่า เจ้าใหม่  เป็นหลักพื้นฐานในการออกแบบวัสดุปลูกคือ ค่านี้ครับ ค่าความสามารถการดูซับประจุบวกในวัสดุปลูก  “The Captation Exchange Capacity (CEC)”   ความหมายง่ายๆของค่านี้คือ ค่านี้จะเป็นตัวตัดสินว่าวัสดุปลูกที่เราใช้สามารถดูดซับจับปุ๋ย(ส่วนใหญ่มีประจุบวก)ไว้ได้  เพื่อให้รากพืชมีปุ๋ยใช้อย่างเพียงพอและยาวนาน  ค่า CEC ที่วัดค่าได้ถ้ายิ่งมีค่าสูงขึ้น จะยิ่งเหมาะกับการเลี้ยงไม้น้ำได้ดียิ่งขึ้นครับ (อย่าสับสนระหว่างค่า CEC ที่มากไม่ได้บอกว่ามีปริมาณปุ๋ยมากนะครับ เป็นแค่ความสามารถในการจับยึดปุ๋ย)

รวบรวมวัสดุปลูกที่ใช้ในการเลี้ยงพรรณไม้น้ำ

 ราการที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นวัสดุปลูกที่มีผู้ที่เคยใช้เลี้ยงไม้น้ำมาแล้วทุกชนิดนะครับ บางชนิดอาจต้องใช้ส่วนผสมอื่นๆร่วม บางชนิดสามารถใช้ได้เลย บางชนิดไม่เหมาะเลยสำหรับการเลี้ยง (คำถามที่มักเจอในเวปเราว่า ดิน ทราย นั่น นี่ สามารถเลี้ยงได้ไหมคำตอบพิจารณาได้จากรายการด้้านล่างนี้ได้เลยครับ)

อ้างถึง
คำย่อที่ต้องทำความเข้าใจตลอดหัวข้อที่ 7
 CEC=ครับ ค่าความสามารถการดูซับประจุบวกในวัสดุปลูก  “The Captation Exchange Capacity
Inert=ความเฉื่อยต่อการกัดกร่อนผุพัง  yes=คือไม่ค่อยทำปฏิกิริยาใดๆในน้ำทำให้คงรูปได้นาน No=ถูกย่อยได้ง่าย ใช้ไปจะเปื่อยยุ่ย
Organic=สารอินทรีย์ Yes=เป็นสารอินทรีย์ย่อยสลายได้  NO=เป็นสารอนินทรีย์ย่อยสลายไม่ได้

 7.1 CaribSea Eco-Complete วัสดุปลูกไม้น้ำจากค่ายบริษัทที่รู้จักกันในสินค้ากลุ่มทรายปูพื้นตู้ทะเล CaribSea (เนื่องจากบทความบางส่วนแปลมาจาก บทความ ตปท. ผมขอลงไว้ทั้งหมดไม่ตัดทอนครับ)

ที่มาภาพ http://www.health-boundaries-bite.com/Goldfish.html
 ค่า CEC : High
Inert : Yes
Organic : No
Eco-Complete เป็นยี่ห้อที่ปลูกไม้น้ำที่ดีที่สุดยี่ห้อหนึ่ง ไม่ต้องการการล้างทำความสะอาดก่อนใช้   มีปุ๋ยและแร่ธาตุรองต่างๆให้พืชได้เติบโตครบถ้วน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอเหมาะ สีดำสนิท ลักษณะกลม ไม่มีเหลี่ยมคมไม่ทำให้ปลาก้นตู้บาดเจ็บ  ข้อเสียคงอยู่ที่ค่ายนี้ตังราคาไว้สูง 500-710 บาทต่อถุง (9 กก.)

7.2   Flourite $15-20 for a 15lb. bag

ที่มาhttp://www.petworldshop.com/seachem/flourite-plant-substrate.php
CEC : High
Inert : Yes
Organic : No
Flourite เป็นวัสดุปลูกที่ใช้กันมายาวนาน ข้อเด่นคงเป็นเรื่องปุ๋ยมาก ไม่มีเทคโนโลยีซับซ้อนอะไรในการผลิต วัสดุปลูกที่ใช้วัตถุดิบหลักจากโคลน ตัวเม็ดจะมีสีค่อนข้างแดง บ่งบอกถึงการที่มีธาตุเหล็กและธาตุอาหารอื่นๆในปริมาณที่สูง Flourite จะค่อยๆ ปลดปล่อยปุ๋ยออกมา ข้อเสียคือต้องล้างก่อนใช้ ด้วยเม็ดที่ใหญ่จึงทำให้ปักไม้ขนาดเล็กยากอีกด้วย Flourite ไม่มีผลในการปรับปรุงค่าน้ำ  

7.3 Aquarium substrate ADA Aquasoil

CEC : High
Inert : Yes
Organic : No
ดินที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดตัวหนึ่ง ผลิตโดยสุดยอดคนแห่งวงการไม้น้ำโลก Takashi Amano's Japanese company, ADA. ส่วนผลสมที่มาจากแหล่งดินทั่วโลก(ที่ไม่มีใครทราบสูตรลับ) มีให้เลือกหลากหลายตามสภาพการเลี้ยง( Amazonia to Malaya and Africana) มีเม็ดดินที่มีลักษณะเฉพาะดูเป็นธรรมชาติ รากไม้น้ำยึดเกาะได้ดีมาก การไหลเวียนของอากาศ น้ำ สารอาหารในชั้นดินดี ดินตัวนี้ทำหน้าที่กึ่งสารกรองน้ำ และสามารถจับตะกอนในน้ำได้ดี ปรับปรุ่งคุณภาพน้ำโดยการลด GH pH ได้ ในช่วง 5.5-6.5  ข้อเสียคือราคาค่อนข้างสูง  

7.4 กรวดแม่น้ำ  

ที่มาhttp://tronnier.com/demo/superiorstone/naplesftmyersdecorativerock.html
CEC : Low
Inert : ปกติไม่ทำปฏิกิริยาเคมี แต่บางครั้งอาจมีหินปูนปนมาทำให้ น้ำกระด้างและ pH สูงได้  
Organic : No
               วัสดุปลูกสุดคลาสสิค  ที่ใช้กันมาช้านาน เนื่องจากราคาถูก(ฟรี-โลละ 15 บาท) หาง่าย เลือกขนาดได้ตามต้องการ ใช้ปลูกไม้น้ำเพื่อให้สูสภาวะนิ่ง และรอวันละลาย ข้อเสียมากมาย ไร้ปุ๋ย ต้องรองพื้นก่อน  ตู้กรวดต้องใช้การดูแลขั้นสูง ขั้นอรหันต์  ใช้เดี่ยวๆไม่ได้ ใช้ปนดินก็ไปปนทำดินเค้าแน่น เสียดิน จนไม่มีดี   ต้องล้างก่อนใช้ เสียเวลา เปลืองน้ำปริมาณมาก
 

7.5 ทราย   (วัสดุปลูกหนึ่งที่เป็นข้อถกเถียง สงสัยกันมาตลอด จึงขออธิบายกันยาวๆนิดนึงนะครับ)

ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/File:Namoi-River-sand-bank.jpg
CEC : Low
Inert : ปกติไม่ทำปฏิกิริยาเคมี แต่บางครั้งอาจมีหินปูนปนมาทำให้ น้ำกระด้างและ pH สูงได้  
Organic : No
ลักษณะอื่นๆเช่นเดียวกับข้อ 7.4  เพิ่มเติม ให้ความรู้สึกธรรมชาติที่สุด  ใช้มากในการจัดตู้แบบ Malawi or Tanganyika biotope ข้อเสียอื่นๆคือ ทรายจะแน่นตั้งแต่ก่อนปลูก รากพืชไชชอนไม่ได้ หนาก็เกิดชั้นดำ แก้ปัญหาโดนการโรยทับวัสดุอืนๆที่มีรูพรุนมากๆ ใช้บางๆ ในตู้ไม้น้ำ

 ทรายบางประเภทเป็นทรายที่ห้ามใช้ในตู้ไม้น้ำ เพราะไปกระทบกับค่าทางเคมีของน้ำหลายอย่าง ทั้ง เพิ่ม GH เพิ่มKH เพิ่ม pH.  การเลือกซื้อทรายที่ดี ควรคำนึงถึง

7.5.1 ชนิดของทราย
   7.5.1.1 ทรายที่มาจากธาตุ ซิลิกา  (silica based sand) สามารถใช้กับตู้ไม้น้ำได้ส่วนใหญ่เป็นทรายจากแม่น้ำ น้ำจืด ทะเลสาบ ไม่กระทบกับค่าทางเคมีของน้ำ  

http://www.e-knouz.com/Silica_Sand.htm
CEC : Low
Inert : ปกติไม่ทำปฏิกิริยาเคมี แต่บางครั้งอาจมีหินปูนปนมาทำให้ น้ำกระด้างและ pH สูงได้  
Organic : No

  7.5.1.2 ทรายที่มาจากธาตุ แคลเซียม  (Calcium  based sand) หรือที่เรียกกันว่าทรายทะเล

ที่มา http://www.coralsandsupplies.com/ultra-white-fine-sand-p-627.html
CEC : Low
Inert :  มีหินปูนปนมาทำให้ น้ำกระด้างและ pH สูงได้  
Organic : No
บางครั้งอาจมีชื่อทางการค้าว่า  aragonite ซึ่งทำมาจากปะการังบดคัดขนาด    กระทบกับค่าทางเคมีของน้ำหลายอย่าง ทั้ง เพิ่ม GH เพิ่มKH เพิ่ม pH ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในตู้น้ำจืด ยกเว้นกลุ่มปลาหมอมาลาวี ทากันยิกา
 หากไม่แน่ใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ควรทดลองก่อนทรายใส่น้ำแช่ทิ้งไว้ สัก 2-3 วัน แล้ววัด pH GH KH เทียบกันกับน้ำที่ไม่ได้แช่ทรายดูครับ

  7.5.1.3 ทรายสนามเด็กเล่น(ที่ต่างประเทศมีขายครับ) Play sand

ที่มา http://www.argos.co.uk/static/Product/partNumber/3650574.htm
CEC : Low
Inert : yes จริงๆควรทำจากแร่  quartz บริสุทธิ์ แต่บางครั้งอาจมีปนหินปูนได้ ควรทดสอบก่อนใช้
Organic : No
เนื้อทรายละเอียดมากๆ  เม็ดทรายเท่ากันทั้งหมด ราคาถูก ข้อเสียคือเป็นวัสดุปลูกที่ทำให้ดินแน่น มีความคมสูงมากไม่เหมาะสำหรับปลาก้นตู้ มีลักษณะเบาจนสามารถปลิวเข้าระบบกรอง ทำให้ปั๊มเสียหายได้ ภายใน 1 ชั่วโมง

 7.5.1.3 ทรายกรองน้ำสระว่ายน้ำ (Pool Filtration Sand)

ที่มา http://wetheadmedia.com/sand-pool-filter-troubleshooting-repair-guide/
CEC : Low
Inert : yes
Organic : No
สามารถหาซื้อได้อย่างมั่นใจที่ร้านขายเครื่องกรองน้ำระบบ sand bed ในสระว่ายน้ำ ราคามักจะถูกเหมือนได้เปล่า (30 กก. 50-80 บาท) ขนาดเม็ดทรายเท่ากัน สวยงามดูเป็นธรรมชาติที่สุด ขอบไม่แหลมคม ไม่ทำอันตรายไม่บาดปาก หนวดปลา สะอาดกว่าเพราะบริษัทจะล้างมาให้เราแล้ว แต่ยังไงก็ต้องล้างซ้ำนะครับ ข้อเสียคือมีน้ำหนักมากกว่าทรายอื่นๆ ราคาแพงกว่าทรายอื่นๆมาก

7.5.1.4 ทรายที่ใช้ล้างพื้นผิว (Sandblasting sand)

ที่มา http://bamrahfabrication.tradeindia.com/sand-blasting-272338.html
CEC : Low
Inert :  yes แร่  quartz บริสุทธิ์  
Organic : No
ทรายประเภทนี้ใช้ในการยิงขัดสนิมเหล็ก ผมเคยใช้ขัดทำความสะอาดถังเก็บน้ำแบบแชมเปญ ก่อนทาสีกันสนิมคุณสมบัติ เหมือนข้อ 7.5.1.3  แต่มีข้อดีคือสามารถเลือกขนาดที่ใหญ่มากพอที่จะไม่เข้าไปในปั๊มน้ำเครื่องกรองน้ำ ข้อเสียคือราคาแพงมาก  22.5 กก. ประมาณ 3000 บาท
 
7.5.1.5 ทรายปะการัง หรืออะโกรไนท์ (Coral or Aragonite sand)

ที่มา http://www.fmueller.com/home/aquaristic/125g/decorations/substrate/
CEC : Low
Inert :  มีหินปูนปนมาทำให้ น้ำกระด้างและ pH สูงได้  
Organic : No. ใช้เป็นทรายที่ช่วยเพิ่ม pH  buffer ได้
ใช้ในการเลี้ยงปลาเฉพาะกลุ่ม เช่นหมอมาลาวี ทากันยิกา อื่นๆเหมือนข้อ  7.5.1.2  ราคาค่อนข้างสูง
 
ได้รู้จักชนิดของทรายไปทั้งหมดแล้วนะครับ ต่อมาเป็นการจัดการทรายก่อนใช้งานจริงๆซะที
7.5.2 เทคนิคการล้างทราย
 จากการที่เราได้รู้จักประเภทของทรายแล้ว ทรายกลุ่มที่มาจากร้านขายเครื่องกรองน้ำ ทรายอะโกรไนท์  อาจใช้เวลาและปริมาณน้ำล้างน้อยกว่า ทรายอื่นๆที่กล่าวถึง ยิ่งทรายก่อสร้างอาจมีก้อนระเบิดอินทรีย์อื่นๆติดมาได้อีกด้วย
การล้างทรายที่ดีที่สุดคือภาชนะที่ใช้ต้องเป็นตะแกรงตาถี่ที่กว้างพอจะฉีดน้ำทำความสะอาดได้ แล้วเศษที่ติดมาให้หลุดออกไป จะล้างน้อยครั้งและใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าการแกว่งในกาละมัง ในถังเล็กๆ

 การใช้ทราย โดยสรุป

ต้องทราบถึงชนิดของทราย ขนาด ราคาก่อนเลือก และพอทราบแล้วว่าระบบการเลี้ยงพรรณไม้น้ำไม่เหมาะสำหรับทรายที่เพิ่มระบบ Buffer แบบพวกทรายทะเลกับปะการังบด พวกอะโกรไนท์นะครับ ถึงแม้จะเป็นทรายย้อมควรทดสอบและสงสัยไว้ก่อนว่าไม่ปลอดภัย  ถูกมากก็เสี่ยงมากเหมือนกันนะครับถ้าไม่รู้
 ถึงแม้ทรายจะแน่น แต่การที่ใช้ปิดทับด้านบนปุ๋ยรองพื้นก็มีโอกาสที่ปุ๋ยจะฟุ้งในตู้ได้ง่ายนะครับ เพราะตัวมันเองมีน้ำหนักเบากว่ากรวดแม่น้ำมาก
การทำความสะอาดทรายปลูก คงต้องทำใจว่าหากใช้วิธีดูดหน้าดินออกทิ้ง จะมีทรายบางส่วนหลุดลอยออกไปได้ทำให้ชั้นทรายบางลง การใช้ทรายในเลย์เอาท์ ตู้ไม้น้ำ ควรเก็บทรายที่ซื้อไว้ในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อเติมในส่วนที่โดนดูดออกไป
 มาถึงตรงนี้การเลือกใช้ทรายล้างที่ใช้ในระบบกรองสระว่ายน้ำน่าจะเป็นแหล่งที่ดีที่สุดที่แนะนำให้ใช้กันนะครับ เพราะสะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อปลา ไม่เปลี่ยนค่าน้ำต่างๆอีกด้วย

7.6 ทรายแมว วัสดุซับอึแมว (aquarium substrate Special Kitty)

ที่มา http://cltampa.com/dailyloaf/archives/2011/05/11/is-your-cat-litter-making-you-and-your-cat-sick
CEC : Low (22.0 – 63.0)
Inert : บ้างไม่ทำปฏิกิริยา บางยี่ห้อใส่กลิ่น ใส่สารเหนียวจับอึ ควรระวัง
Organic : No

ทรายแมวเป็นวัสดุที่คนฝั่งยุโรป อเมริกา นิยมเอามาใช้เลี้ยงไม้น้ำกัน เพราะมีปุ๋ยจากโคลนที่เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้มีปุ๋ย มีธาตุเหล็กพอสมควร ผมลองเดินดูในร้าน pet shop ในไทยส่วนใหญ่ทรายแบบนี้มักมีกลิ่นกับสารจับอึเป็นก้อนเหนียวผสมด้วยไม่น่าใช้เลย   แต่ข้อดีของทรายแมวที่ต่างชาติใช้เพราะมันมีรูพรุน น้ำหนักเบา ค่า CEC ที่มีก็สามารถจับปุ๋ยได้พอสมควร จึงมักเอามาใส่ทับปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูก แต่ด้วยอัตราส่วนโคลนในส่วนผสมแค่ 10%  จึงมีค่า CEC ที่วัดออกมาได้น้อย การใช้ทรายแมว เหมาะสำหรับพืชกลุ่มที่มีระบบรากใหญ่ พืชตระกูล อะเมซอน (Echinodorus) คริป(Cryptocoryne)  อายุการใช้งานทรายแมวค่อนข้างยาวนานเป็นปี การดูแลรักษาในตู้ควรให้ปุ๋ยค่อนข้างบ่อยและสม่ำเสมอ การใช้งานจึงนับได้ว่ามีข้อดีกว่ากรวดไม่มาก  

7.7 สารลาเทอร์ไลท์ (aquarium substrate Laterite)

ที่มา http://www.drsfostersmith.com/product/prod_display.cfm?pcatid=4876
CEC : Low (22.0 – 63.0)
Inert : Yes
Organic : No
 การใช้งานข้อดีข้อเสียเช่นเดียวกันกับทรายแมว ข้อ 7.6

7.8 วัสดุปลูกชนิดโคลนสีชมพูของ Argile TZ

http://www.salonquip.com.au/index.cfm/page/productdetail/id/420

http://www.aquariumslife.com/aquascaping/planted-aquarium-substrate/substrate-using-pink-clay-from-argiletz/
CCE : Low (22.0 – 63.0)
Inert : Yes
Organic : No
โคลนสีชมพูยี่ห้อนี้สามารถใช้ปลูกไม้น้ำได้ ดีกว่า  ทรายแมวข้อ 7.6 และ Laterite ข้อ 7.7 แต่ราคาสูงกว่า เพราะจุดประสงค์หลักของโคลนเม็ดสีชมพูยี่ห้อนี้เอาไว้เป็นเครื่องสำอางค์สตรีมากกว่า หาซื้อได้ทาง internet คำค้น
 “ Argile TZ “  

7.9 พีท (Peat)

ที่มา http://www.uky.edu/KGS/coal/coalform.htm
CEC : High (100.0 – 180.0)
Inert : No
Organic : Yes. Contains at least 90% organic matter.
พีท จัดเป็นส่วนของพืชที่ถูกย่อยสลายอย่างไม่สมบูรณ์ มักพบในบึง พรุ ที่มีสภาพเป็นกรด  ทำให้กาย่อยสลายไม่สิ้นสุดไปอย่างสมบูรณ์  พบมากในแหล่งน้ำตัวอย่างหนึ่งที่รู้จักกันคือ ลุ่มน้ำอะเมซอน อ่านต่อได้ที่นี่นะครับ บทความ : เจาะลึกการเลี้ยงไม้น้ำแนวอเมซอน(Amazon) ลุ่มน้ำแห่งชีวิต http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=104487.0  พบว่าลุ่มน้ำที่มีพีทอยู่มากน้ำจะเป็นน้ำกรด้างต่ำ(น้ำอ่อน) สีเหลืองอ่อน-เข้ม  จึงทำให้ปลาหมอจากแหล่งน้ำกระด้างบางประเภทไม่ชอบน้ำลักษณะนี้  พีทสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายอุปกรณ์การเกษตร กลุ่มผู้เพาะไม้กินแมลง  ไม้บกเลี้ยงยากต่างๆ ข้อควรระวังในการใช้คือ ต้องไม่ใช้พีทที่มีการผสมปุ๋ยหรือสารเร่งฮอร์โมนบางตัวลงไป
 ข้อควรระวังในการใช้พีทคือ พีทเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ เอง ทำให้น้ำเน่าเสียและเป็นสารภาระต่อระบบกรอง การใช้จึงควรใช้รองพื้นในปริมาณจำกัด

 7.10 ดินปลูกพืชบก (Potting soil)

http://petehisameme.wordpress.com/2009/06/18/pete-hoekstra-meme-bag-of-potting-soil/
CEC : High
Inert : No
Organic : Yes.
ดินปลูกไม้บกที่เป็นกระสอบ 3-4 กระสอบ 100 บาทที่เห็นกันทั่วไป เป็นดินที่ดีมากในเรื่องปริมาณสารอินทรีย์ ในการใช้เพาะเลี้ยงไม้น้ำ โดสเฉพาะสาร ฮิวมัสที่มีมาก ทำให้ธาตุอาหารครบสมบูรณ์ ทั้งธาตุหลักและธาตุรอง  สามารถนำมารองพื้นปลูกโดยใช้ ทราย กรวด หรือสารกลุ่ม เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite).(เป็นสารไมคา คือ อินทรียวัตถุที่ได้จากการสังเคราะห์นำมาใช้ในการเกษตรมีน้ำหนักเบา มีค่า pH เป็นกลางสามารถดูดน้ำได้ 3-4 แกลลอน/คิวบิคฟุต) มาทับด้านบนเพื่อปลูกไม้น้ำใช้ได้นานหลายปี   แต่ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดของการใช้ดินเหล่านี้ คือ ดินเหล่านั้นต้องเป็นดินที่ผ่านการหมักย่อยด้วยวิธีการทางชีวภาพจริงๆ ไม่ได้ผสมปุ๋ยเคมี หรือสารเร่งใดๆลงไป  ดินไม้บกยังสามารถปลดปล่อยแอมโมเนียได้ในปริมาณที่มากและรวดเร็ว  วิธีการแก้ไขคือการ อบดินหลายๆชั่วโมงที่ความร้อน 350F(176องศาเซลเซียส) นานหลายชั่วโมง(ในบทความ ไม่บอกเวลานะครับ)ก่อนใช้ เพื่อเปลี่ยนสภาพ แอมโมเนียเป็นไนเตรท เสียก่อน
 การใช้ดินปลูกไม้บกต้องปูทับด้วย วัสดุปลูกอื่นๆเสมอ เพื่อกันการเน่าเสียของน้ำในตู้
 ก่อนที่จะใช้งานจะเป็นต้องบ่มดินในตู้ไม้น้ำเป็นเวลา 6  สัปดาห์ เพื่อให้เกิดปฎิกิยาการหมักให้ไล่ก๊าสเสียออกจากชั้นดินสิ้นสุดจนหมด กรรมวิธี พิธีกรรม ต่างๆที่สุดหรรษา ในการใช้ดินไม้บกเลี้ยงไม้น้ำ มีวิธีในหนังสือ
  “Diana Walstad’s book, Ecology of the Planted Aquarium” ในเมืองไทยผมว่ามีหนังสือเล่มนี้ไม่กี่ท่านครับ หากสนใจมาหาอ่านได้ที่ร้านนะครับเพราะผมมีเล่มหนึ่ง
การใช่ดินไม้บกเป็นวัสดุปลูกมีข้อเสียประการสำคัญคือใช้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ ดินจะถูกย่อยสลายไป จึงต้องรื้อตู้ทำพื้นใหม่บ่อยๆ เหมือนการใช้ พีท    การเติมดินไม้บกมากๆรองพื้นปลูกก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำครับ
 
7.11 สารกลุ่ม เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite)
vermiculite


ที่มาhttp://homeharvest.com/soilamendmentsperlitevermiculite.htm
CEC : High (82.0 – 150.0)
Inert : Yes
Organic : No
สารกลุ่ม เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite).(เป็นสารไมคา คือ อินทรียวัตถุที่ได้จากการสังเคราะห์นำมาใช้ในการเกษตรมีน้ำหนักเบา มีค่า pH เป็นกลางสามารถดูดน้ำได้ 3-4 แกลลอน/คิวบิคฟุต)  การนำสารนี้มาใช้เดี่ยวๆเลยไม่แนะนำนะครับ จะต้องรองพื้นปลูกด้วยปุ๋ยรองพื้นด้วย ส่วนประกอบของธาตุอาหารรองที่มีมากคือพวก   5-8% available potassium and 9-12% magnesium.สามารถยึดจับและปลดปล่อยปุ๋ย ได้ดีพอสมควร อีกทั้งยังจับสารแอมโมเนียได้ดีอีกด้วย แต่เป็นรูปแบบที่ต้นไม้เอาไปใช้ไม่ได้นะครับ แอมโมเนียที่จับไว้ต้องถูกย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในวัสดุปลูกก่อน เพื่อเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท เพื่อให้รากพืชดูดซึมเอาไปใช้    

7.12 เพอไลท์ perlite  
Perlite

ที่มา http://www.perlite.net/
CEC : Very low (1.5 – 3.5)
Inert : Yes
Organic : No
 หินแร่ภูเขาไฟที่เขาเรียกว่า เพอร์ไลต์ (Perlite )คุณสมบัติ มี ความเป็นรูพรุน ช่วยจับผงฝุ่นที่ลอยอยู่ในน้ำให้ตกตะกอนจนน้ำใส ลด แอมโมเนีย เป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ที่ช่วยในการย่อยสลายของเสีย เช่น เศษอาหาร ขี้ปลา ข้อเสียคือ ค่า CEC ค่อนข้างต่ำมากๆ หากระบบปลูก pH ต่ำกว่า     5 จะปลดปล่อยแอมโมเนียเป็นพิษต่อปลาได้ ส่วนประกอบมีดังนี้  47.5% oxygen, 33.8% silicon, 7.2% aluminum, 3.5% potassium, 3.4% sodium, 3.0% bound water, 0.6% iron and calcium, and 0.2% magnesium and trace.
ด้วยการที่มีรูพรุนมาก กว่า 60-70% โดยน้ำหนัก  ต้องคำนึงถึงการทำให้จม และเหมาะที่จะรองพื้นปลูกมากกว่าใช้แต่ perlite ปลูก

แถม....ดินไม้น้ำทำไมถึงแพง? มีกระบวนการผลิตคร่าวๆมาฝากครับ
 กระบวนการพอบอกได้แต่สูตรนี่ตัวใครตัวมันครับ
ดินสูตรผสมต่างๆ หลักๆแบบนี้พอได้เป็นแนวทางครับ
- สารจับยึด (a binding agent)พวก ดินเหนียว,bentonite,ดินกลุ่มผู้เลี้ยงบอนไซ akadama,เถ้าจากเหมืองหินภูเขาไฟ

เถ้าจากเหมืองหินภูเขาไฟ

- ดินในเขตป่าร้อนชื้น peat เพื่อลด pH กลุ่มที่มี humic acids หรือ พีทมอส



- ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ ที่มีอินทรีย์สารสูงๆ  ผิวหน้าดินเขตร้อนชื้นต่างๆ ดินขุยไส้เดือน


-ส่วนผสมอื่นๆ  โคลนสีต่างๆ ดินเหนียว ไดอะตอม กรด humic ลิกไนท์
โดยเฉพาะเถ้า pozzolana - volcanic ash ที่มักเติมลงไปเพื่อให้เม็ดดินแข็ง  


การใส่ดินเลน และหินภูเขาไฟ เพื่อให้สารอินทรีย์ถูกปลดปล่อยออกมาจากเม็ดดินช้าๆ เพิ่มค่า cation exchange capacity (CEC) http://microsoil.com/CEC.htm หรือการรักษาธาตุอาหารประจุ+ ไว้โดยรอบรากไม้น้ำ เพื่อแลกเปลี่ยนกับธาตุอาหารหลักรองต่างๆ ตามที่พืชต้องการ (ใช้ดินจึงมี % การรอด ความสวยงามของไม้น้ำ ฟอร์มง่ายมากกว่ากรวด)



็ีHumic acid  ที่มีในปริมาณสูงจะช่วยลด pH และ GH ได้
สารอินทรีย์ เปลือกไม้ เปลือกข้าว จะช่วงเร่งระบบจุลินทรีย์และโปรโตซัวให้ระบบกรองเซ็ตได้ไวขึ้น
ดินปลูกที่ใช้ไปนานๆจะเกิดการย่อยสลายโครงสร้างภายใน เพื่อให้สารอินทรีย์ปลดปล่อยปุ๋ยออกมาสู่รากพืช ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักออกแบบมาให้ดินมีอายุประมาณ 3 ปีจึงป่นเป็นเลนหมด  ถ้าไม่ออกแบบเละบริษัทไม่น่าอยู่ได้นะครับ


 process การทำดินไม้น้ำคร่าวๆ คงไม่มีโรงงานไหนมาให้ดูหรอกครับ แต่ผมตอบตามประสบการณ์ที่ทำงานโรงงานญี่ปุ่นเกี่ยวกับ food suppement มา
ผสม ดิน drum mixer

บีบรีดให้เป็นแผ่นๆ เพื่อลดน้ำส่วนเกิน


บดอัดผ่านรูให้เป็นชิ้นเล็กๆ


ปั้นก้อนโดยใช้ granulator คงไม่ใช่สแตนเลสตามภาพแน่ๆ


อบโดยใช้ Fluidize bed dryer สังเกตุดูฝุ่นติดดินจะน้อยหรือ tray dryer ใช้ลมร้อนจาก  boiler ไฟฟ้า หรือฟืน  อบแบบนี้ดินฝุ่นจะเยอะ
 Fluidize bed dryer มักใช้กับดินยี่ห้อที่เม็ดกลม ความชื้นน้อยๆ



Tray dryer ใช้กับดินเม็ดไม่กลม มักมีความชื้นเหลือในถุง



หรือใช้ท่อ อบลมร้อนแบบโรงงานปลาป่น Therma Screw Dryer โรงปลาป่นก็ใช้แบบนี้ทั้งหมด



ร่อนคัดขนาด powder ที่ราคาสูงกว่าออกโดยระบบสั่น
 Vibro-Sieve Separator & Filter


บรรจุถุง


เนื้อหาบางส่วนมาจากที่นี่
ในกระทู้นี้ภาษาอังกฤษนะครับ เปรียบเทียบดินไว้หลายยี่ห้อเลย ท้ายๆยังมี เคล็ดลับการทำดินให้เหมือดิน ฟกฟ อีกด้วย http://amania.110mb.com/Chapters/Tech/sub-aquasoils_en.html
อ้างถึง
How to make less fertile aquasoils to be 'ada-like'.

As I have already mentioned, all listed above aquasoils is much less fertile comparing to ADA Aqua Soil Amazonia. We easily can make aquasoils much more fertile adding two main things:
1) long term nutrients resource in organic form as earthworm castings + inorganic slow release macronutrients as Osmocoat®;
2) Fritted Trace Elements as a source of microelements.
Furthermore, we can boost bacteria cultures with proper aquarium biostarter, and initial growth by adding biostimulator promoting root development and by inoculating substrate with mychorrhizal fungi, or even a Deep sea water minerals.

Long term organic nutrients source.
Earthworm castings is absolutely the same organics as in any ADA Aquasoils except much less humic substances content buffering GH/KH/pH at stable and low levels. Fortunately all listed here aquasoils already have humic substances in abundance. DO NOT use garden soil as source of organics and do not mineralize it; earthworm castings (EC) is the best product you can ever find as it is already “mineralized” by earthworms, x5 more concentrated than any garden soil, has no high labile rotting organics and thus no ammonium NH4 release, brings no useless sand and clays in your tank. To get the same amount of nutrients you need 5 times less of earthworm castings than garden soil, thus much less mess and clogging from the very start, longer aquascape life, and easier maintenance. Plants use both non organic nutrients derived from bacterial decomposition of organics, and dissolved organic nitrogen DON (amino acids) etc directly by roots and leaves. Prior to use put earthworm castings into pail, add some water just to be able to mix it with a stick, and boil for 10-15min to minimize ammonia NH4 release and prevent bacteria blooms (haze water). Spread over and let it dry until lightly wet. Do not remove all water prior to this to keep more nutrients. Do not overdry as it will make it hard like stone and dusty, thus inconvenient for application. There is no need to mix it with sand or gravel - just put 1-2cm on the bottom and cover with any aquasoil, substrate with high CEC as calcined clays, or just plain gravel.

Inorganic slow release macronutrients.
You can also add some slow release macronutrients as long term non organic nutrient source. Valagro Actiwin® 20-5-10 Green Grade (3-4 months) is the best among others, specifically much better than Osmocote® Pro (up to 12-14 months). Use it as addition to earthworm castings, not as only one source of nutrients. Actiwin® contains no Na, Cl, SO4. Further use DIY frozen earthworm castings sticks similar to ADA Multi Bottom and/or Valagro Actiwin® granules to recover substrate fertility. Use SO4-free fertilizers only as in anoxic conditions and low pH it will turn into H2S.

It is quite hard to introduce PO4 source in substrate as inorganic phosphate easily washed out and not very well bonded by CEC. Hard rock phosphate (Espoma® Rock Phosphate) is a natural mineral apatite (P2O5=12-30%, Ca 22-33%) and is very good long term slow release supply of PO4 for plants. It is totally non soluble in water and available for plants only when they use special organic acids to sequester P from it. If we mention chemical bonding rock phosphate is not less available source of PO4 than it's soluble forms (see section Phosphorus, Balancing Soil Nutrition, Joel Simmons). It also contains B, S, Zn, Mn, Fe, Cu. Rock phosphates also very rich with K in easily assimilated form, and combo Ca+P is great for mineralization by bacterial mineralization, thus plants nutrition from soil and organics cycling improves. Soft rock phosphate is a clay found between layers of apatite. It has the same composition and value for plants nutrition. Rock phosphate сombined with humic acids as C source for bacteria forms biologically active product releasing PO4 (Replanish Min-Phos).
Be careful as PO4 availability from rock phosphate greatly depends on the contact surface, so milled rock phosphate as Lonfosco Micro Phos will be much more reactive than gravel, and lots of Ca can cause pH to raise. Use sparingly!
In soils the lower pH - the higher reactive rock phosphate is with maximum P release at pH=5.5 (Ellis), thus aquarium substrate should not be too acidic to prevent leaching P into the water. In soils at pH=4.0-5.5 most P is chemically bonded with Al/Fe/Ca/Mg from clay and precipitate, and insoluble compounds are generally not available for plant nutrition. The same is with pH=7.3+ (Ca-phosphates). But in soils this process is very slow, and with organic content in soil >5% "fresh" bond compounds will be solubilized by bacteria, fungi, organic acids from plant's roots and will be readily available for plants or adsorbed by CEC (actually by AEC, part of a CEC) and organic particulates until used by plants. With organic matter and proper pH bacteria ativity is enough to brake the bond and make P available for plants. Optimum pH for P uptake in soils 5.5-7.0 which is good for all the rest nutrients also. As below 6.0 Ca, Mg and Mo become increasingly unavailable, perfect range is pH=6.0-6.5. Aqua Soil Amazonia/II hase proper pH and actively adsorbing PO4 (ADA), high CEC=30-40meq/100g (»), so when used sparingly rock phosphate is safe enough. Africana and Malaya is a little bit too acidic for rock phosphate. Roсk phosphate in soils depletes after 4-6 years.
Rock phosphate is also used in controlled release fertilizers and very good to mix with zeolite (ZeoPro™ excellent for ponds) at 1:7 ratio. As for agriculture growth rates with rock phoshate + NH4 saturated zeolite mixture comparable to those with dosing superphosphate. You can also use steamed(!) bone meal P2O5=10-13% (VitaSoil®) - it is even better available form of P for plants. One table spoon is ~1200mg of P.

Any aquasoil can be precharged with macronutrients utilizing its high CEC by soaking (do not wash it!) into strong N-P-K solution for several hours. This will give a strong plants growth for the first weeks after setup.
Never use potassium chlorade KCl in substrate as it kills bacteria. Overdosing of K in substrate (>3-5%) will harm Ca and Mg availability. Potassium is a mobile element so it is mainly used in liquid fertilizers.

Microelements.
Now add source of microelements (esp. Fe) - Fritted Trace Elements (FTE)¬ as JBL Florapol, Micromax Fritted Trace Elements 503 or even micronized iron from gardening centers. In substrate anoxic conditions humic substances and special root enzymes will make metal oxides available for plants. Use sparingly!

Biostimulator.
Promoting fast root development with a biostimulator will give a strong initial growth boost approaching to ADA Aqia Soil. Valagro Radifarm® 1-0-3 (PDF 58Kb) is the best one you can find out there. It is NOT plant hormones but biostimulant or “transplant micro nutrient designed to promote vigorous rooting”. Radifarm® contains vegetal extract complex containing polysaccharides, steroid glucosides (saponin), free amino acids (tryptophane, arginine, asparagine), hormone precursors, betaines, enriched with specific supplementary vitamins complex (B1, B6, D, H, PP) and microelements. N 1%, K2O 3% (KOH), Fe-EDDHA 0.2%, Zn-EDTA 0.2%. Contains NO PO4, Na, Cl, SO4, MgCO3, CaCO3, CaSO4. Non toxic for water plants and animals. The results are amazing. Dilute 20-50ml in 0.2L of water and sprinkle over 90cm tanks bottom before placing any substrate on top to do not let it washed out in water column. Alternatives could be DIEHARD™ BioRush®, Liquid Karma™, Earth Juice Catalyst, Sweet™ etc. Among stimulating roots development and bacteria they are vital for arbuscular mychorrhizal fungi.

Arbuscular mychorrhizal fungi.
Among fertility and rooting biostimulants arbuscular mychorrhizal fungi (AMF) could be one of that "secret weapons" which makes wonders in ADA Aqua Soil. Mychorrhizal fungi literally means "fungus-roots" and found in terrestrial (80%, Smith and Read, 1997), wetland, and water plants (70%). This endomycorrhizal fungi forms symbiotic (mutually beneficial) relationship with the root systems virtually expanding roots and by exchanging nutrients with plants greatly increasing nutrients availability, mainly PO4 and less N, gives significantly (x1.5+) higher growth rates with much less fertilization. This depends on species and soil media though. We never make maximum growth rates limiting it with light to reasonable levels as it makes much more managable and stable tank, but AMF still advantageous as with easier access to nutrients in substrate and less dependence on water column fertilizers plants will have less occurrence of nutrition limitations, thus less algae proliferation. Adding AMF cultures you have to know exactly what fungi species you need for water plants, otherwise it will be completely useless. For water plants it is Glomus mosseae, G. etunicatum, G. claroideum, G. intraradices, for rice it is a Acaulospora sp., G. fasciculatum and G. mosseae (ref.). All in one product DIEHARD™ BED PREP™ with 8 species of Glomus fungi, biostimulats and soil bacteria is the best one, and Myco Madness or MycoGrow™ Soluble are good mychorrhizal inoculant brands.

Deep Sea Water.
So we broken all ADA's sectrets? Not yet! The best AMF stimulator Sea-Crop™ (C-Gro) is a desalinated concentrate from deep sea Pacific Ocean water containing 80+ natural elements of standard seawater. Major minerals are Cl, Mg, Na, Ca,S, Br, K, I, B, Sr, Si (from MSDS PDF 51Kb). When used together with fertilizers it doubles(!) mychorrhizal fungi biomass. Surprisingly ADA luquid fertilizers line with the exсeption of Brighty K are formulated with... the same "Deep sea water". Isn't it a reason why ADA use it among just micronutrient for plants and the circle of ADA's approach is closed now? We definitely need a microscopic analyses of plant's roots grown in Aqua Soil with and without ADA's luquid ferts. While ORMUS is a rather doubtful thing, a kind of a penergetic (BTW it is scientifically proofed that they work and is widely used for now) Deep sea water minerals is for sure very benefitial for fungi, bacteria and plants. Just forget that ormus-talk and use C-Gro or Sea-Crop™ as a trace minerals resource and enjoy your underwater garden.

So we have a general formulation how to make aquasoils much more fertile and closer to ADA Aqua Soils:
Any aquasoil + earthworm castings + FTE JBL Florapol + bacteria cultures + biostimulant as Valagro Radifarm®.
Optional: AMF culture + Sea-Crop™, slow release macronutrients as Valagro Actiwin® or Osmocote® Pro.

As I mentioned earlier, if you have no aquasoils at all, you still can do amazingly good substrate for a planted tank with the same growth rates as ADA Aqua Soil Amazonia – just use this recipe with earthworm castings, and top off it with Akadama, any calcined clay or even diatomite. In case of a long term setup (1+ years) add 8-12mm lava stone at the bottom or use original product ADA Power Sand. Growth rates is not a problem, convenience and aesthetics is.

หวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบคุณทุกแรงใจ แรง บวกนะครับ  

หัวข้อที่เกี่ยวข้องกันอื่นๆในห้องสมุด
หัวข้อ: วัสดุปลูก : แนะนำกรวดรองพื้นแบบต่างๆ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=1656.0
หัวข้อ: พ102 วัสดุปลูก http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=17613.0

บทความอื่นๆของผม หัวข้อ: รวม Link บทความ by coffman http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=118682.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/03/13, [19:09:26] โดย Coffman »
Tags: วัสดุปลูก 
Last,,One ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 06/05/12, [20:29:21] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

suggestion ให้เป็นบทความละนะครับ  [on_055]
№Diesőρ ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #2 เมื่อ: 06/05/12, [20:53:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความน่าสนใจมากครับ เยอะจัดตามสไตล์ Coffman  [เจ๋ง] [เจ๋ง]
 like ไปก่อนครับเดี๋ยวค่อยกลับมาอ่าน  [ไอ้แว่น] [ไอ้แว่น]
tanti ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 06/05/12, [20:54:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมครับ แต่ยาวจัง อ่านไม่ไหว
OBARON ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #4 เมื่อ: 06/05/12, [20:56:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดครับพี่ เก่ง อ่าน สามวัน คงไม่หมด ขอเซฟ ไปเป็นไฟล์ PDF ไปอ่านล่ะกัน เดี๋ยวทำมาลงแจกให้ด้วย เอาไว้อ่านใน iphone ipad tablet นะครับ
Meduza ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #5 เมื่อ: 06/05/12, [21:40:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความคุณภาพอีกแล้ว ท่านคอฟนี่ขยันจริงๆ แม้ผมจะเลิกเลี้ยงไม้น้ำไปแล้ว แต่ก็อดกลับมาอ่านไม่ได้จริง
Anubias ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 06/05/12, [21:55:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พยายามอ่านและทำความเข้าใจในส่วนที่มีความเป็นไปได้กับการเลี้ยงไ้ม้น้ำ แต่ส่วนไหนที่เป็นวัสดุทางเลือกแต่มีผลเสียเยอะก็ข้ามๆไปบ้าง   ได้ความรู้มากมายเลยครับ  ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ  [เจ๋ง]
Krai ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #7 เมื่อ: 06/05/12, [22:07:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เจอของดีอีกละ Bookmark ไว้ก่อนเด๋วมาอ่าน  036

ขอบคุณครับ   emb01
sit ออฟไลน์
C.A.P. Army
« ตอบ #8 เมื่อ: 06/05/12, [22:10:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #9 เมื่อ: 06/05/12, [23:05:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ในส่วนของความยาวของบทความ นั้นในการเขียนแต่ละครั้ง หลังๆ ผมก็ดูความเหมาะสมเป็นหลัก ใจจริงก็ไม่อยากให้มันยาวมากๆ เช่นกันเพราะน้อยคนคงอ่านให้จบ และทำความเข้าใจได้ ในวันเดียว แต่ผมก็ยังชอบการเขียนบทความในเวปอยู่ดี เพราะเราสามารถเพิ่มเติมแก้ไข รวมถึงตอบคำถามของผู้สงสัยได้ทันที

 เพราะถ้าเขียนลงในหนังสือ ผมก็ไม่รู้ feedback และคนจะอ่านเรื่องราวยาวๆกันได้สักกี่คน


บทความนี้
แต่พอผมได้รวบรวมเหมือนกับยิ่งค้นยิ่งเจอ สิ่งดีๆ หวังไว้ว่าสักวันผมคงจะแปลและแชร์ให้อ่านกัน แต่ละเวปต่างก็มีผู้เขียนบทความกันอยู่แล้วล่ะครับ แต่น้อยครั้งที่จะหาบทความที่สมบูรณ์แบบได้ ยกตัวอย่างนะครับลองเข้าไปอ่านบทความแบบนี้กันดู >>> http://floraquatica.blogspot.com/ ผมว่ามันมีคุณค่ามากๆ พอกับหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่มหนึ่งที่สมควรจะเลือกเก็บไว้จริงๆ

ส่วนตัวผมคงยังไม่ถึงขั้นคุณภาพ ห้าดาว แต่ความตั้งใจที่จะให้วงการนี้มันเกิดได้จริงๆ ข้อมูลพื้นฐานเราควรจะพร้อมทันประเทศอื่นเค้าก่อน ผมยังสู้นะครับ คำชมผมขอสงวนไว้ยิ้มก่อนนอนเล็กๆ แต่คำติฉินมีค่าดั่งเพชร ดั่งทอง  ไม่มีเพชรใดที่จะมีคุณค่าด้วยตัวมันเองได้ หากไม่ผ่านการวางแผนที่ดีเลิศ และผ่านการเจียระไนครับ  งานเขียนดีๆย่อมต้องการการกลั่นกรองร้อยเรียงทั้งนั้น

แค่ท่านได้แวะเข้ามาพูดคุย ติ ชม แบบสร้างสรรค์ นี่คือกำลังใจของผู้เขียนบทความครับ คงไม่ใช่แค่ผมที่เป็นที่คิดแบบนี้ ผมคิดว่าทุกท่านที่เขียนบทที่เวปนี้  ต่างก็ต้องการ feedback ครับ  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06/05/12, [23:11:06] โดย Coffman »
wichian ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #10 เมื่อ: 06/05/12, [23:10:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับข้อมูลดีๆ จะมีสักกี่คนที่ทำเพื่อน้องๆในเว็บนี้  [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] บวกไป
iodineman ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #11 เมื่อ: 06/05/12, [23:54:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลงชื่อว่าอ่านจบครับ (แต่เข้าใจบ้าง  ไม่เข้าใจบ้างนะ  ้hahaha ้hahaha ้hahaha)

ผมเชื่อว่าแค่นี้ไม่ยาวเกินไปหรอกครับถ้าต้องการความรู้ 

ทีเวลาเราอ่านการ์ตูน  อ่านนิยายเป็นเล่มๆ ยังอ่านกันได้  แค่นี้ไม่ยาวเกินไปหรอกครับ ความรู้ทั้งนั้น  [on_066] [on_066]

Creador ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #12 เมื่อ: 07/05/12, [07:41:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่านจบเข้าใจมากขึ้นเลย
wsquare ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #13 เมื่อ: 07/05/12, [08:22:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากๆครับ   กำลังทำตู้กรวดอยู่พอดีเลย บวกไปเลยครับ
Romio_rcn ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #14 เมื่อ: 07/05/12, [10:33:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เข้ามาสูบความรู้ครับ
Wine-Fine ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #15 เมื่อ: 07/05/12, [10:40:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

likeเลยครับ [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]
Yoda ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #16 เมื่อ: 07/05/12, [12:13:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับพี่เก่ง +++  [เจ๋ง] [เจ๋ง]
vinbitxp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #17 เมื่อ: 07/05/12, [12:19:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

นักวิชาการ ตัวจริง สุดดยอดครับคุณเก่ง ขอบคุณเรื่องฮิวมัสกับแทนนินด้วยน่ะครับ [เจ๋ง]
7ty7 ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #18 เมื่อ: 07/05/12, [13:10:27] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [ไอ้แว่น] IQ เพิ่มขึ้น 1-2 จุด กันเลยทีเดียว ขอบคุณมากครับพี่เก่ง
pipeqiq ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #19 เมื่อ: 07/05/12, [13:38:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บวกกกก
Anne ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #20 เมื่อ: 07/05/12, [17:56:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบมากเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ ความรู้อีกแล้ว [on_055]
V 940 j ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #21 เมื่อ: 08/05/12, [08:58:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมว่าบทความคุณเก่งนี่ รวมเป็นหนังสือได้เลยนะครับ ขายดีแน่ [กู้ดครับ!]
dernero ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #22 เมื่อ: 08/05/12, [16:21:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ ตามมาเก็บอีกแล้ว ^^ ขออนุญาติเผยแพร่ด้วยได้ไหมครับเนี่ย  [on_026] [on_026]
GREEN BOX ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #23 เมื่อ: 08/05/12, [22:55:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมยุทธ์ไปเลยครับพี่เก่ง.....ขอบคุณมากครับ  [on_066]
SLEiPNiR14 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #24 เมื่อ: 09/05/12, [18:31:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บวกสำหรับบทความดีๆ ที่เป็นข้อมูลสำหรับคนที่สนใจในทางสายนี้ครับ
AuN 27 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #25 เมื่อ: 10/05/12, [22:13:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ้..มาแล้วๆ  เยอะดีจัง อ่านๆวันละนิด จิตแจ่มใส [เจ๋ง]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #26 เมื่อ: 11/05/12, [15:44:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แก้ไข Link ให้ใช้ได้จริง ปรับย่อหน้า เพิ่มคำอธิบายให้อ่านคล่องขึ้น

ขอบคุณทุกท่านที่ + ให้ด้วยนะครับ    [หลั่นล้า]
eakarin ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #27 เมื่อ: 11/05/12, [23:00:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบมากๆเลยครับ [เจ๋ง] [เจ๋ง] .... อยากรู้ต่อเกี่ยวกับการักษาดินที่ใช้ปลูกว่าทำไง ให้อยู่ในตู้ได้นานๆ โดยไม่เป็นคลนง่ายๆ เพราะคงลำบากน่าดูถ้าใช้ดินในตู้ใหญ่ๆแล้วต้องมาเปลี่ยนบ่อยๆใช่ไหมครับ
Hormones วัยว้าวุ่น ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #28 เมื่อ: 12/05/12, [07:48:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบมากเลยครับ ผมว่าก็ไม่ยาวจนเกินไป ภาษาที่พี่เก่งใช้
ก็พยายามเรียบเรียงศัพท์ยากๆ ให้ฟังได้และไม่เน้นจนงงด้วย
อ่านเพลินมากครับ ตอนนี้ผมสงสัยคำว่า Akadama, any calcined clay or even diatomite
รบกวนพี่เก่งแนะนำหน่อยครับ ว่ามันคืออะไรหรือครับ จะหามาลองบ้าง
ดินมูลไส้เดือน หาได้ที่โลตัสแล้วครับ
 [on_066]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #29 เมื่อ: 12/05/12, [10:42:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบมากเลยครับ ผมว่าก็ไม่ยาวจนเกินไป ภาษาที่พี่เก่งใช้
ก็พยายามเรียบเรียงศัพท์ยากๆ ให้ฟังได้และไม่เน้นจนงงด้วย
อ่านเพลินมากครับ ตอนนี้ผมสงสัยคำว่า Akadama, any calcined clay or even diatomite
รบกวนพี่เก่งแนะนำหน่อยครับ ว่ามันคืออะไรหรือครับ จะหามาลองบ้าง
ดินมูลไส้เดือน หาได้ที่โลตัสแล้วครับ
 [on_066]
Akadama
http://www.uncle-chorn.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538681182&Ntype=4
มีคนเอามาใช้เลี้ยงกุ้งด้วยครับ
<a href="http://www.youtube.com/v/FnjU56KLBj4" target="_blank">http://www.youtube.com/v/FnjU56KLBj4</a>
หน้า: 1 2   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: