"10 สาเหตุการตายของกุ้งสุลาเวสี"
บทความนี้จะพูดเกี่ยวกับสาเหตุการตายเเละความผิดพลาดของการเลี้ยงกุ้งสุลาเวสี โดยที่บทความนี้จะเน้นหลักๆไปที่กุ้งไวท์สปอต (Whitespot , C.Dennerli) เนื่องจากการทดลองเเละสังเกตุในตู้มีกุ้งตัวนี้เป็นหลัก โดยที่บทความนี้แปลมาจาก RW Aquarium Pages ในช่อง Youtube มาเรียบเรียงกันเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษามากขึ้นนะครับ ถือว่าเป็นการแชร์ข้อมูลดีๆ ให้กันเเละกัน :)
1.)การลงกุ้งที่น้อยเกินไป
การลงกุ้งควรจะลง 15-25 ตัวเป็นขั้นต่ำ จากการที่ได้ลงกุ้งไป 5 ตัวพบว่ากุ้งค่อยๆตายลงทีละตัวจนหมด กุ้งจะชอบอยู่อาศัยด้วยกันเป็นกลุ่มเเละตามกันมาเพื่อหาอาหารกิน
2.)แร่สุลาเวสี
จากการทดลองใช้แร่ saltyshrimp 7.5 / 8.5 แร่สองตัวนี้จะพบว่าละลายน้ำยากมากๆๆๆๆ ยิ่งใครเคยใช้ตัว 8.5 จะทราบดีเลยว่ากว่าจะละลายกันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องใสถังตี น้ำไว้ถึง 7 วันถึงจะนำมาใช้ในตู้ พบว่าตัวแร่ saltyshrimp 8.5 ที่ได้วิจัยมาภายหลังผลิตตัว 7.5 ออกมาจะเหมาะกับกุ้งสุลาเวสีมากกว่า saltyshrimp 7.5 เนื่องจากตัว 8.5 เมื่อผสมกับ น้ำ*RODI จะได้ pH ประมาณ 8.1 ซึ่งคล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ของกุ้งสุลาเวสี เเต่ตัว 7.5 เมื่อผสมกับน้ำ RODI จะได้ pH ประมาณ 7.1 แต่จากพารามิเตอร์จะพบว่ากุ้งสุลาเวสีจะอยู่ pH ได้ในช่วง pH 6.0-8.5 แต่จากการศึกษาพบว่าถ้าใช้ตัว 7.5เเละ 8.5เพาะพันธุ์ให้ได้ผลดี เเต่ว่าไม่ได้มีการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ เช่น Burneo wild เเละ shrimp king for Sulawesi salts
3.)อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม
กุ้งสุลาเวสีชอบอุณหภูมิ ราวๆ 28-29 C ถ้าร้อนไปกว่านี้กุ้งอาจจะตายได้ (เช่น 31-32 C ต่อเนื่องนานๆ)
4.)พืชเยอะเกินไป
พืชใช้ CO2 ในตอนกลางวันเเละ คาย CO2 ในตอนกลางคืน การคายCO2 ของพืชจะทำให้ pH ลดลงได้เนื่อง จากว่า CO2(คาร์บอนไดออกไซด์) + H2O (น้ำ)----> H2CO3 (กรดคาร์บอนิก) ถ้าพืชเยอะมากๆ อาจจะมีผลต่อกุ้งได้เนื่องจาก pH 7 , 8 มีค่า H+ ต่างกันถึง 10 เท่า (ลองนึกภาพดูว่าน้องกุ้งของเราจะช้อคกับมันขนาดไหน) ดังนั้นเราควรจะมีพืชไม่เยอะเกินไปเพราะในธรรมชาติพื้นที่ส่วนใหญ่ก็เป็นหิน กรวด ทราย ไม่ค่อยมีต้นไม้โต
5.)กุ้งป่า vs กุ้งบรีด
จากการเลี้ยงพบว่ากุ้งบรีดจะเลี้ยงง่ายกว่าเนื่องจากมีการปรับสภาพน้ำให้คุ้นชิน กับน้ำนั้นๆเเล้ว เเละสารอาหารก็เยอะกว่าในธรรมชาติ
6.)หินเเละHardscape
ในทะเลสาบต่างๆที่จับกุ้งสุลาเวสีมาจะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน ในไทยมีวัสดุปูที่ใช้กันหลักๆ 3+1 อย่างคือ หินคิริก้า,หินภูเขาไฟ,หินแม่น้ำ เเละ ดินเลี้ยงกุ้ง(เช่น Benibachi)
7.)การเปลี่ยนน้ำ
การเปลี่ยนน้ำที่เร็วเกินไป อาจจะทำให้กุ้งช้อคได้ เนื่องจากว่ากุ้งสุลาเวสีเป็นกุ้งที่เซนซิทีฟมากๆต่อการเปลี่ยนเเปลงต่างๆเเละสารเคมี บางทีโดนยากันยังผ่านๆ ร่วงเลย
8.)วัสดุปูตู้ (Substrate)
หลังจากลองใช้ดิน ADA Amazonia ซึ่งทำให้ pH มันลดลงลงมา ทำให้มีกุ้งตายไปบ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ Seachem Denitrate (ตะไคร่ขึ้นได้) , Onyx Sand หลังจากนั้นก็ใช้ 2 ตัวนี้มาตลอดเลย
9.)การให้อาหารที่มากเกินไป
จากการให้อาหารที่มากเกินไป คือ ให้ Glasgarten’s Bacter AE ตามโดสที่ฉลากระบุไว้ ก็ยังมากเกินไปเนื่องจากต้องดูจำนวนกุ้งในตู้ด้วย การที่อาหารมากเกินไปอาจจะทำให้แอมโมเนีย (Ammonia , NH3) เพิ่มสูงได้ เเละหลังจากได้ลองมาใช้ SL Aqua’s magic powder กุ้งดูมีความสุขมากขึ้น
10.)ความอดทน
หัวใจสำคัญของตู้คือการรันระบบที่นานพอ เเนะนำว่าให้ลงกุ้งหลังจากผ่านไป 3-4 เดือน (5-6 เดือนจะดีที่สุด) ให้หากุ้งเชอรี่ หรือ สายNeo ตัวอื่นไปลองน้ำก่อนก็ได้ ที่ต้องรันไว้นานขนาดนี้เพื่อให้ตะไคร่ขึ้นเต็มตู้ เพื่อเป็นอาหารให้กุ้งสุลาเวสี เเละเพิ่มไบโอฟิลม์(Biofilm)ในตู้อีกด้วย
จากข้อผิดพลาดทั้ง 10 อย่างหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณไม่มากก็น้อยเพราะการตาย ของ กุ้ง 1 ตัวทำให้เราสูญเสียความรู้สึก,เครียด,เงิน ผมหวังว่าการแชร์นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ขอบคุณครับ
*RODI = น้ำที่ผ่านกระบวนการ Reverse Osmosis โดยมีการ De-Ionized Water(การขจัดไอ-ออนของน้ำทั้งหมด ทำให้น้ำไม่หลงเหลือสารใดๆอีก)
ขอบคุณข้อมูลจาก
บทความนี้จะพูดเกี่ยวกับสาเหตุการตายเเละความผิดพลาดของการเลี้ยงกุ้งสุลาเวสี โดยที่บทความนี้จะเน้นหลักๆไปที่กุ้งไวท์สปอต (Whitespot , C.Dennerli) เนื่องจากการทดลองเเละสังเกตุในตู้มีกุ้งตัวนี้เป็นหลัก โดยที่บทความนี้แปลมาจาก RW Aquarium Pages ในช่อง Youtube มาเรียบเรียงกันเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษามากขึ้นนะครับ ถือว่าเป็นการแชร์ข้อมูลดีๆ ให้กันเเละกัน :)
1.)การลงกุ้งที่น้อยเกินไป
การลงกุ้งควรจะลง 15-25 ตัวเป็นขั้นต่ำ จากการที่ได้ลงกุ้งไป 5 ตัวพบว่ากุ้งค่อยๆตายลงทีละตัวจนหมด กุ้งจะชอบอยู่อาศัยด้วยกันเป็นกลุ่มเเละตามกันมาเพื่อหาอาหารกิน
2.)แร่สุลาเวสี
จากการทดลองใช้แร่ saltyshrimp 7.5 / 8.5 แร่สองตัวนี้จะพบว่าละลายน้ำยากมากๆๆๆๆ ยิ่งใครเคยใช้ตัว 8.5 จะทราบดีเลยว่ากว่าจะละลายกันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องใสถังตี น้ำไว้ถึง 7 วันถึงจะนำมาใช้ในตู้ พบว่าตัวแร่ saltyshrimp 8.5 ที่ได้วิจัยมาภายหลังผลิตตัว 7.5 ออกมาจะเหมาะกับกุ้งสุลาเวสีมากกว่า saltyshrimp 7.5 เนื่องจากตัว 8.5 เมื่อผสมกับ น้ำ*RODI จะได้ pH ประมาณ 8.1 ซึ่งคล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ของกุ้งสุลาเวสี เเต่ตัว 7.5 เมื่อผสมกับน้ำ RODI จะได้ pH ประมาณ 7.1 แต่จากพารามิเตอร์จะพบว่ากุ้งสุลาเวสีจะอยู่ pH ได้ในช่วง pH 6.0-8.5 แต่จากการศึกษาพบว่าถ้าใช้ตัว 7.5เเละ 8.5เพาะพันธุ์ให้ได้ผลดี เเต่ว่าไม่ได้มีการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ เช่น Burneo wild เเละ shrimp king for Sulawesi salts
3.)อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม
กุ้งสุลาเวสีชอบอุณหภูมิ ราวๆ 28-29 C ถ้าร้อนไปกว่านี้กุ้งอาจจะตายได้ (เช่น 31-32 C ต่อเนื่องนานๆ)
4.)พืชเยอะเกินไป
พืชใช้ CO2 ในตอนกลางวันเเละ คาย CO2 ในตอนกลางคืน การคายCO2 ของพืชจะทำให้ pH ลดลงได้เนื่อง จากว่า CO2(คาร์บอนไดออกไซด์) + H2O (น้ำ)----> H2CO3 (กรดคาร์บอนิก) ถ้าพืชเยอะมากๆ อาจจะมีผลต่อกุ้งได้เนื่องจาก pH 7 , 8 มีค่า H+ ต่างกันถึง 10 เท่า (ลองนึกภาพดูว่าน้องกุ้งของเราจะช้อคกับมันขนาดไหน) ดังนั้นเราควรจะมีพืชไม่เยอะเกินไปเพราะในธรรมชาติพื้นที่ส่วนใหญ่ก็เป็นหิน กรวด ทราย ไม่ค่อยมีต้นไม้โต
5.)กุ้งป่า vs กุ้งบรีด
จากการเลี้ยงพบว่ากุ้งบรีดจะเลี้ยงง่ายกว่าเนื่องจากมีการปรับสภาพน้ำให้คุ้นชิน กับน้ำนั้นๆเเล้ว เเละสารอาหารก็เยอะกว่าในธรรมชาติ
6.)หินเเละHardscape
ในทะเลสาบต่างๆที่จับกุ้งสุลาเวสีมาจะมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน ในไทยมีวัสดุปูที่ใช้กันหลักๆ 3+1 อย่างคือ หินคิริก้า,หินภูเขาไฟ,หินแม่น้ำ เเละ ดินเลี้ยงกุ้ง(เช่น Benibachi)
7.)การเปลี่ยนน้ำ
การเปลี่ยนน้ำที่เร็วเกินไป อาจจะทำให้กุ้งช้อคได้ เนื่องจากว่ากุ้งสุลาเวสีเป็นกุ้งที่เซนซิทีฟมากๆต่อการเปลี่ยนเเปลงต่างๆเเละสารเคมี บางทีโดนยากันยังผ่านๆ ร่วงเลย
8.)วัสดุปูตู้ (Substrate)
หลังจากลองใช้ดิน ADA Amazonia ซึ่งทำให้ pH มันลดลงลงมา ทำให้มีกุ้งตายไปบ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ Seachem Denitrate (ตะไคร่ขึ้นได้) , Onyx Sand หลังจากนั้นก็ใช้ 2 ตัวนี้มาตลอดเลย
9.)การให้อาหารที่มากเกินไป
จากการให้อาหารที่มากเกินไป คือ ให้ Glasgarten’s Bacter AE ตามโดสที่ฉลากระบุไว้ ก็ยังมากเกินไปเนื่องจากต้องดูจำนวนกุ้งในตู้ด้วย การที่อาหารมากเกินไปอาจจะทำให้แอมโมเนีย (Ammonia , NH3) เพิ่มสูงได้ เเละหลังจากได้ลองมาใช้ SL Aqua’s magic powder กุ้งดูมีความสุขมากขึ้น
10.)ความอดทน
หัวใจสำคัญของตู้คือการรันระบบที่นานพอ เเนะนำว่าให้ลงกุ้งหลังจากผ่านไป 3-4 เดือน (5-6 เดือนจะดีที่สุด) ให้หากุ้งเชอรี่ หรือ สายNeo ตัวอื่นไปลองน้ำก่อนก็ได้ ที่ต้องรันไว้นานขนาดนี้เพื่อให้ตะไคร่ขึ้นเต็มตู้ เพื่อเป็นอาหารให้กุ้งสุลาเวสี เเละเพิ่มไบโอฟิลม์(Biofilm)ในตู้อีกด้วย
จากข้อผิดพลาดทั้ง 10 อย่างหวังว่าจะมีประโยชน์ต่อคุณไม่มากก็น้อยเพราะการตาย ของ กุ้ง 1 ตัวทำให้เราสูญเสียความรู้สึก,เครียด,เงิน ผมหวังว่าการแชร์นี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน ขอบคุณครับ
*RODI = น้ำที่ผ่านกระบวนการ Reverse Osmosis โดยมีการ De-Ionized Water(การขจัดไอ-ออนของน้ำทั้งหมด ทำให้น้ำไม่หลงเหลือสารใดๆอีก)
ขอบคุณข้อมูลจาก
&t=698s