Aqua.c1ub.net
*
  Sat 05/Jul/2025
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำโขงแห้งเก็บหอยทราย สร้างรายได้หน้าแล้ง  (อ่าน 3311 ครั้ง)
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« เมื่อ: 24/05/10, [22:12:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รูปภาพประกอบ ดูได้ที่นี่จ้า http://myaqualove.blogspot.com/2010/05/blog-post_24.html

ชาวบ้านริมแม่น้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร พลิกวิฤตเป็นโอกาส เก็บหอยทรายขาย เป็นรายได้เสริม หลังน้ำโขงมีปริมาณลดต่ำลง

ในช่วงระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค.เป็นช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฤดูร้อน หรือหน้าแล้ง ประกอบกับอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนิโญ่  ที่ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้มาเร็วกว่าปกติ  หลายพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหารเริ่มประสบปัญหา

โดยเฉพาะพื้นที่ริมแม่น้ำโขง ระบบการขนส่งทางเรือต้องหยุดชะงัก ผู้เลี้ยงปลาในกระชังต้องเร่งจับปลาขาย เพราะน้ำลดและอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่สถานีมุกดาหาร มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา เวลา 07.00 น. วัดระดับน้ำได้  77  เซนติเมตร และมีแนวโน้มลดลง ทำให้ในขณะนี้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจังหวัดมุกดาหาร เข้าสู่ขั้นวิกฤต


ชาวบ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง จ.มุกดาหาร ใช้วิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการเก็บหอยทรายขาย สร้างรายได้อย่างดี และเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มักพบเห็นในช่วงน้ำลด  พวกเขาจะนำเรือเล็กพายออกมาตั้งแต่เช้า เพื่อช่วยกันเก็บหอยทราย

โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดกันขึ้นเอง ซึ่งแม้แต่ตะแกรงพัดลมก็สามารถนำมาใช้ได้ จนกระทั่งตกเย็นก็กลับเข้าฝั่งเพื่อนำหอยทรายที่เก็บได้ขึ้นมาขาย ในราคากิโลกรัมละ 10 บาท

นายรินทร์ เคนตรี ชาวบ้านบางทรายใหญ่ อ.เมืองมุกดาหาร บอกว่า เป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมแม่น้ำโขงที่มีมานานแล้ว แต่ปีนี้น้ำลดลงเร็ว จึงทำให้สามารถเก็บหอยทรายได้มาก โดยจะนำเรือเล็กออกมาช่วยกันเก็บกับชาวบ้าน วันเว้นวัน แต่ละครั้งได้ประมาณ 20-30 กิโลกรัม

ขณะที่นายสง่า อัครศรี ชาวบ้านบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองมุกดาหาร บอกว่า ปกติมีอาชีพหาปลา พอน้ำลดปลาเริ่มหายาก  พอมีรายได้จากการเก็บหอยทรายไปขายบ้าง  แต่ก็สงสารชาวบ้านที่ทำการเกษตร เพราะหากระดับน้ำโขงลดต่ำกว่านี้ ชาวบ้านจะเดือดร้อนมาก
การสร้างวิกฤตเป็นโอกาส เกิดขึ้นแล้วในลำน้ำโขงจ.มุกดาหาร โดยชาวบ้านทั้งคนไทย และลาว ต่างก็มีรายได้เสริมจากการเก็บหอยทรายขาย แม้ไม่ได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็สามารถสร้างอาชีพใหม่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นวิถีชีวิตที่สามารถพบเห็นได้เฉพาะช่วงน้ำลดเท่านั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24/05/10, [22:15:57] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
NiVEA ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 21/11/10, [21:29:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

การเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ

จาก เอกสารคำแนะนำการเลี้ยงปูนาปลอดสารพิษ ของสำนักงานเกษตรอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ระบุไว้ว่า ปูนาเป็น ปูน้ำจืดชนิดที่มีกระดองเป็นเปลือกแข็งหุ้มลำตัว กระดองมีลักษณะเป็นรูปไข่ ด้านหน้าโค้งมน กลมมีตา 2 ตา สามารถยกขึ้นลงไปมาในหลุมเบ้าตาได้ มีปาก อยู่ระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง เหนือเบ้าตา มีปุ่มเล็ก ๆ ข้างละปุ่ม กระดองตอนหน้าระหว่างขอบตาแคบ และขอบบนมีหนามงอกออกมา กระดองปูนามีสีน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลม่วง มีขาเป็นคู่ รวม 5 คู่ คู่แรกเรียกว่าก้ามหนีบ ใช้ในการจับสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร

ก้ามหนีบของตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย ก้ามหนีบซ้ายและขวาจะใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะมักจะใหญ่สลับข้างกัน สำหรับปูเพศผู้ และเพศเมีย ลำตัวปู ประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) ส่วนท้องลักษณะคล้ายแผ่นกระเบื้องเรียงต่อกันอยู่ 7 แผ่น เรียกว่าจับปิ้ง, จะปิ้ง ตับปิ้ง จับปิ้งของปูเพศผู้มีขนาดเล็ก แต่จับปิ้งของปูเพศเมียมีขนาดกลม กว้างใหญ่ เพื่อใช้ในการเก็บไข่ และลูกไว้ ปลายจับปิ้งจะเป็นช่องเพื่อใช้ในการขับถ่าย

ปูนาดำ และปูลำห้วย จะมีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม การผสมพันธุ์ของปูน้ำจืด ที่พบการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพศเมียจะหงายส่วนท้องขึ้น และเปิดจับปิ้งออก ส่วนเพศผู้จะขึ้นทับข้างบน พร้อมกับเปิดจับปิ้งออก และสอดขาเดินเข้าไปในส่วนท้อง ของเพศเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อไปเก็บไว้บริเวณถุงเก็บน้ำเชื้อ ที่อยู่ระหว่างจับปิ้ง กับอวัยวะช่วยผสมพันธุ์ ความดกของไข่ประมาณ 700 ฟองต่อตัว

การเลี้ยงปูนา ส่วนใหญ่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ เพราะสะดวกในการดูแลรักษา เก็บผลผลิต และที่สำคัญ คือการป้องกันปูไม่ให้ขุดรูหนีออกจากบ่อได้ บ่อปูจะสร้างโดยการก่อแผนซีเมนต์บล็อกสูง 1 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ในบ่อเลี้ยงปูนา จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 จะเป็นที่อยู่อาศัยของปู โดยเอาดินอาจจะเป็นดินร่วนปนเหนียว หรือดินในทุ่งนามาใส่ไว้ข้างใดข้างหนึ่งขอบบ่อสูง 30 ซม. และทำให้เอียงลงในส่วนที่ 2 คือ จะเป็นส่วนของน้ำ โดยส่วนที่ 1 จะทำเลียนแบบธรรมชาติ ตามทุ่งนา คือจะมี กอข้าว และพืชที่ขึ้นตามทุ่งนา

ปูนาจะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย และจะออกหากิน โดยจะกินเศษซากที่เน่าเปื่อย ต้นข้าว หรือลูกปลาขนาดเล็ก จากการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์พบว่าปูนาสามารถหัดให้กินอาหารเม็ดปลาดุกได้ หรือใช้เศษข้าวสวย ให้เป็นอาหารบริเวณที่อยู่อาศัยของปู ส่วนที่เป็นดินต้องหมั่นดูแลทำความสะอาด คือเศษอาหารที่ให้ปู ถ้าเหลือทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดเป็นเชื้อรา ต้องเก็บออก ช่วงที่เก็บผลผลิตควรเป็นช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงนี้ปูจะขุดรูอยู่ตามท้องนา หาได้ยาก และบางพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช เยอะ ๆ ปูก็จะตาย หรือไม่ก็มีการสะสมสารพิษใน ตัวปู การนำปูนามาแปรรูปเป็นอาหารก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ ทำให้ชีวิตไม่ปลอดภัย

ส่วนการเลี้ยงปูนาในบ่อซีเมนต์จะเป็นปูนา ที่ปลอดสารพิษ และสามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหาร ได้ ไม่ว่าจะเป็นปูดอง หรือทำเป็นอาหารเพื่อจำหน่าย เป็นรายได้เสริมอีกทาง ไม่ว่าจะทำเป็น ยำปูนา ลาบปูนา ทอดปูกรอบ และอุกะปู เป็นต้น.
 [เจ๋ง] [เจ๋ง]
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: