Aqua.c1ub.net
*
  Fri 26/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ: พัมมิช พัมมิส ภูไมท์ (pumice stone) เผื่อมีประโยชน์  (อ่าน 34971 ครั้ง)
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« เมื่อ: 28/04/10, [15:37:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจและชอบในคุณสมบัติของหินชนิดนี้ว่า มันมีอะไรข้างในกันแน่ นอกจากในแง่การเกษตรนี่คลุกดิน ๑ ต่อ ๑ ปลูกต้นไม้ได้งามอยู่แล้ว
หาบทความพัมมิส ในช่องค้นหาแล้ว คิดว่าอันนี้ยังไม่ซ้ำนะครับ  เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้เลี้ยง ไม้น้ำอันไหนสำคัญผมจะแถบสีไว้  ถ้าซ้ำบอกด้วยนะครับจะได้ลบ [เอ๊ะ!!!]
เครดิต http://www.thaigreenagro.com/aticle.aspx?id=5613


การปรับปรุงดินจากหินภูเขาไฟประเภทพัมมิช (Pumice) พัมมิไซต์ (Pumicite) และ พัมมิเซียสทัฟฟ์ (Pumiceous tuff) จากจังหวัดลพบุรี
1.    หินภูเขาไฟ
หินภูเขาไฟ โดยกำเนิดแล้ เป็นหินกลุ่ม ที่เกิดจากการเย็นตัว ของหินหลอมละลาย ที่ เรียกว่าแมกมา(Magma) ซึ่งแทรกขึ้นมาใกล้ผิวโลก หรือบนผิวโลกมี 2 พวกด้วยกันคือ
1.1พวก ที่เกิดจากการเย็นตัว ของลาวา
1.2พวก ที่เกิดจากการระเบิด ของภูเขาไฟ

พวกหนึ่งเกิด เป็นลาวาไหลออกมาสู่ผิวโลกแล้วเย็นตัว และ แข็งตัว เมื่อกระทบ กับอากาศหรือเย็นตัวในส่วนตื้นๆ ของเปลือกโลก   ส่วนพวก ที่เกิดจากการระเบิด ของภูเขาไฟซึ่งทำให้หินหลอมละลายบางส่วนถูกพ่นออกมาจากในปล่องภูเขาไฟรวม กับละอองเถ้า และ เศษหินแข็งซึ่ง เป็นส่วน ของปล่องภูเขาไฟฟุ้งกระจัดกระจายปะปนกันขึ้นไปในบรรยากาศ ส่วน ที่เป็น ของเหลวอยู่จะเย็นตัวอย่างทันทีทันใด ชิ้นส่วนทั้งหมดจะตกตัวย้อนกลับสู่พื้นผิวโลก บางส่วนอาจตกลงสู่แหล่งน้ำ หินภูเขาไฟพวกหลังนี้มีลักษณะคือ ประกอบด้วย เศษหินภูเขาไฟ เถ้าภูเขาไฟ และ มีลักษณะการวางตัวเป็นชั้น
หินภูเขาไฟ ที่นำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เป็นหินภูเขาไฟแอซิด (acidicvolcanic rocks) ในส่วนประกอบมีธาตุซิลิก้าปนอยู่ เป็นปริมาณ ที่สูงประมาณร้อยละ 70 โดยน้ำหนักเกิดจากการเย็นตัว ของหินหลอมละลาย(Magma) ที่จะมีความหนืดสูง มีปริมาณไอน้ำ และ ก๊าซต่างๆ ละลายปะปนอยู่มาก เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นมาใกล้ผิวโลกตรงบริเวณปล่องภูเขาไฟซึ่งจะเป็นช่องทาง แคบๆ ก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำจะแยกตัวออกจากหินหลอมละลายเป็นฟองอากาศขนาดต่างๆ กันตั้ง แต่ใหญ่ถึงเล็กจิ๋ว ประกอบ กับมีแรงเคลื่อนตัวเข้าสู่ผิวโลกอย่างรวดเร็ว
จะรีดดันให้หินหลอมละลาย แทรกผ่านขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ หินหลอมละลายส่วนนี้จะเย็นตัวอย่างทันทีทันใดแข็งตัวกลายเป็นหิน เรียกว่า “หินพัมมิซ” (Pumice) ลักษณะเป็นหินมีเส้นใย และ ช่องว่างจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการถูกรีดขณะ ที่เป็น ของเหลว และ เคลื่อนตัดผ่านปล่องภูเขาไฟ ซึ่งช่องว่างนั้นก็คือ รูพรุน ของโพรงก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำ ที่หนีหายไป โดยส่วน ที่เป็นเส้นใยก็คือ เนื้อหินซึ่งประกอบขึ้นด้วยแก้วภูเขาไฟ ที่ยังปรากฏมีรูเป็นท่อขนาดจิ๋วอยู่ภายในเนื้ออีก   นอกจากนั้นก็ยังมีผลึกแร่ ที่ตกผลึกมาก่อนหน้าแล้วปะปนอยู่บ้าง เช่น แร่เพลจิโอเคลส เฟลด์สปาร์ (Plagioclase feldspar) และ แร่เหล็กบางชนิด

ใน บางช่วง ของพัฒนาการ ของภูเขาไฟ ช่องทางภายในปล่องเกิดถูกปิดกั้นด้วยหินพัมมิซ แต่หินหลอมละลายยังคงประทุอยู่เบื้องล่างก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำยังคงแยกตัวออกจากหินหลอมละลาย และ มีการสะสมตัวภายใต้ปล่องภูเขาไฟมากขึ้นเรื่อยๆ จรกระทั้งเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ของภูเขาไฟ ทำให้หินพัมมิซ ที่เกิดขึ้นมาก่อน และ หินอื่นๆ ซึ่งปลิวออกไปเย็นตัวทันทีทันใดในอากาศ ชิ้นส่วนเหล่านี้บางส่วนจะลอยค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานานหรือถูกกระแสลมพัด พาไปสะสมตัวใน ที่ใกล้ๆ บางส่วนตกตัวย้อนลงสู่พื้นโลกสะสมตัวใน ที่ใกล้ๆ ปากปล่องภูเขาไฟ ซึ่งประกอบด้วยเศษหินพัมมิซ ที่มองเห็นด้วยตาเปล่าปะปนอยู่ด้วยเถ้าภูเขาไฟ   ส่วนพวกมีเนื้อละเอียดจะประกอบด้วยเถ้าภูเขาไฟเกือบทั้งหมดมีชื่อ เรียกว่าหินพัมมิไซต์ (Pumicite) ไม่ว่าจะเป็นเศษหินพัมมิซ ก้อน ของหินหลอมละลายซึ่งเย็นตัวในขณะถูก และ เบิดปลิวขึ้นไปในอากาศ หรือเศษเถ้าธุลี ทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยแก้วภูเขาไฟเป็นส่วนใหญ่มีผลึกแร่อื่นๆ ปนอยู่บ้างเป็นส่วนน้อยมีเพียงเศษหินจากปล่องภูเขาไฟ ที่ปะปนอยู่ไม่มากนักเท่านั้น ที่มีส่วนประกอบเป็นผลึกแร่ทั้งหมด

หิน ภูเขาไฟ ซึ่งยกว่าหินพัมมิเซียสทัฟฟ์ (Pumiceous tuff) หินพัมมิไซต์ (Pumicite) และ หินพัมมิซ (Pumice) ทุกชนิดเป็นหิน ที่นำมาใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ซึ่งต่อไปนี้จะเรียนรวมหินเหล่านี้สั้นๆ ว่า หินพัมมิซ<<<<<แสดงว่ามันก็มีหลายแบบจริงๆ angry(...)

ตัวอย่างหินพัมมิซเขาพนมฉัตร ซึ่งตัดเป็นแผ่น แสดงเส้นใย ที่ประกอบขึ้นด้วยแก้วภูเขาไฟ และ ช่องว่างระหว่างเส้นใยซึ่งเกิดจากก๊าซต่างๆ และ ไอน้ำ ที่ระเหยหนีหายไป จุดสีขาวคือแร่เพลจิโอเคลส (Plagioclase feldspars)
2.คุณสมบัติ ของหินพัมมิซ ที่ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เพื่อการเกษตรกรรม<<< เข้าเรื่องล่ะ
หินพัมมิซจาก แหล่งลพบุรีประกอบด้วย ส่วนประกอบ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
2.1ส่วน ที่เป็นแก้วภูเขาไฟ
2.2ส่วน ที่เป็นแร่ดิน
2.3ส่วน ที่เป็นแร่ซีโอไลต์ (Zeolite) และ แร่ซีลไวต์(Sylvite) โดย แต่ละส่วนมีคุณสมบัติซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชดังต่อไปนี้

ขยาย 70 เท่า ผงบดจากหินพัมมิซพนมฉัตร แสดงให้เห็นรูซึ่งเป็นท่อขนาดจิ๋วในแก้วภูเขาไฟ ที่เกิดจากฟองก๊าซ และ ไอน้ำในหินหลอมละลายถูกรีดตัวขณะเคลื่อนผ่านปล่องภูเขาไฟแล้วเย็นตัวแข็ง เป็นหินอย่างรวดเร็ว
ลักษณะ ของหินพัมมิเซียสทัฟฟ์ซึ่งประกอบขึ้นด้วยเศษหินพัมมิซมากมายฝังตัวอยู่ใน เนื้อหินซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษเถ้าธุลีจากปล่องภูเขาไฟ (เขาพนมฉัตร)




หมายเหตุ ซิลิก้าจะละลายน้ำได้ดี ที่สุด ที่ pH 9 และ ขนาดผงยิ่งเล็กยิ่งละลายน้ำได้ดี<<เลี้ยงไม้น้ำ pH เราไม่ถึงอยู่แล้ว [เจ๋ง]
2.1 ส่วนแก้วภูเขาไฟ ส่วนนี้เป็น ของแข็งมีรูพรุนหลายขนาด ตั้ง แต่ใหญ่เป็นมิลลิเมตรถึงเล็กเป็นไมครอน รูพรุนเหล่านี้มีทั้ง ที่ติดต่อถึงกัน และ ไม่ติดต่อถึงกัน แม้จะบดจนละเอียดเป็นแป้งใน แต่จะเม็ด ที่ละเอียดนั้นก็ยังคงมีช่องว่าง และ รูพรุนอยู่อีก แก้วภูเขาไฟนี้เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจากหินหลอมละลายประเภทแอซิ ด(Axidic magma) ทำให้แก้วภูเขาไฟ ไม่มีรูปผลึก (Amorphous) และ มีปริมาณ ของธาตุซิลิก้าอยู่มาก มีธาตุหลัก ธาตุรอง และ ธาตุเสริมอยู่เล็กน้อย มีค่า pH เป็นกลางดังรายละเอียดผลวิเคาระห์เคมี (ตาราง ที่ 1 ) ลักษณะ ที่สำคัญ ของส่วนแก้วภูเขาไฟ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืช คือฃ
2.1.1 มีรูพรุน ดูดซึม เก็บความชื้น และ เก็บ ของเหลวต่างๆ ไว้ เหมือนแหล่งกักเก็บ ที่ไม่ยอมให้สิ่ง ที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชถูกพัดไหล หรือซึมหายไป โดย ที่พืชไม่มีโอกาสเอามาใช้ได้ ในขณะเดียวกัน เมื่อกักเก็บไว้แล้วก็จะคงอยู่ และ ค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้พืชเอาไปใช้ในโอกาสต่อไป นอกจากนั้น ความโปร่งพรุนยังช่วยให้การถ่ายเทอากาศภายในดินดีขึ้น ในกรณี ที่พื้น ที่ใดมีดินเหนียวจัดจะช่วยทำให้ดินร่วนซุยขึ้น รากพืชจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างเด่นชัด

2.1.2 เนื่องจากแก้วภูเขาไฟมีอยู่มาก ที่สุดเฉพาะ กับหินภูเขาไฟในประเภทนี้เท่านั้น และ เพราะเหตุ ที่มีลักษณะเป็นอะมอฟัส(Amorphous) คือไม่มีรูปผลึก แต่มีรูพรุน และ มีพื้น ที่ผิวจำนวนมาก (ตาราง ที่ 2) จึงสามารถละลายน้ำได้ง่าย ง่ายกว่าหินทั่วๆไป ซึ่งประกอบด้วยแร่ต่างๆ ที่มีรูปผลึก ดึงผลทดลองในตาราง ที่ 3 และ เพราะสาเหตุ ที่มีส่วนประกอบเป็นซิลิก้าเปอร์เซ็นต์สูงจึงทำให้เกิดการละลาย ของธาตุซิลิก้าออกมาในรูป ของซิลิซิค แอซิค (เป็นกรด ที่อ่อนมาก ไม่มีผลต่อค่าpH ในดิน และ ไม่มีพลังในการกัดกร่อนอย่างกรดทั่วๆ ไป) ได้ในปริมาณ ที่สูงเพียงพอ ที่พืชจะดูดซึมเอาไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัย ของเซลล์ผิวเพิ่มความแข็งแกร่งเหมือนเกาะป้องกันให้ กับพืช ซึ่งศัตรูพืช โดยเฉพาะสัตว์ตัวอ่อนหรือตัวเล็กๆ จะไม่สามารถทำอันตาย ดูดน้ำเลี้ยง หรือรบกวนต่อการเจริญเติบโต ของพืชได้ ซึ่งยว กับซิลิวิค แอชิค นี้มีรายงาน ที่น่าสนใจกล่าวถึงความสามารถ ของกรดชนิดนี้ในการเป็นตัวช่วยปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสให้หลุดจากการถูกจึบตรึง โดยแร่ดินบางตัว และ ทำให้ธาตุฟอสฟอรัสนั้นกลับมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย จากคุณสมบัติการละลายน้ำได้ง่าย ของแก้วภูเขาไฟ และ จากผลวิเคาระห์ทางเคมี ซึ่งแสดงว่ายังมีส่วนประกอบ ที่เป็นธาตุหลัก ธาตุรอง และ ธาตุเสิรมอยู่อีกในหินพัมมิช ซึ่งถึงแม้จะมีในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่จุดสำคัญอยู่ ที่การ ที่ธาตุเหล่านี้สามารถละลายน้ำได้ง่าย และ พืชสามารถเอาไปใช้ได้ นอกจากนั้น กับธาตุเสริมบางชนิดก็มีอยู่ในปริมาณ ที่เพียงพอต่อพืชด้วย

2.1.3 ยังมีคุณสมบัติ ที่น่าสนใจกล่าวไว้ในตำราหลายแห่ง พูดถึงแก้วภูเขาไฟจากหินพัมมิซนี้ในด้านการมีความคม ซึ่งให้ระคายเคืองต่อผิว ของสัตว์จำพวกคืบคลาน เมื่อสัตว์ดังกล่าวมาถูกต้องเข้าจะพยายามคืบคลานหลบหนีไม่กล้าเข้าใกล้ บางแห่งพูดถึงว่าในสัตว์ประเภทดังกล่าวจะมีน้ำมันผลิตขึ้นมาหล่อเลี้ยงผิว หนัง เมื่อสัตว์เหล่านี้สูญเสียน้ำมันไป เพราะถูกดูดซึมในขณะ ที่มาสัมผัสเข้า กับผงพัมมิซย่อมทนอยู่ไม่ได้ ตาย หรือต้องหนีไป เคยมีการทดลอง กับปลวก พบว่าเกิดกริยาตอบสนอง ที่น่าสนใจคือ เมื่อตัวปลวกถูก กับกองผงพัมมิซมันจะเคลื่อนไหวได้ไม่สะดวก และ หยุดนิ่งใน ที่สุด ปลวกอาจจะไม่ตาย แต่ก็คงจะเกรงกลัวไม่กล้าเข้ามาใกล้อีกต่อไป


2.2 ส่วนประกอบ ที่เป็นแร่ดิน แร่ดินในหินภูเขาไฟนี้มีวิวัฒนาการต่เนื่องจากการเกิดขึ้น ของแก้วภูเขาไฟ กล่าวคือ จะต้องมีแก้วภูเขาไฟเป็นต้นกำเนิดเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง กับแก้วภูเขาไฟนั้นเกิดเป็นแร่ดินขึ้น โดยใน ที่นี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนเท่านั้น ในหินพัมมิซ 100 ส่วน โดยปริมาตรจะมีแร่ดินปนอยู่ประมาณ 15 – 30 ส่วน โดยปริมาตารแร่ดินมีค่า pH เป็นกลาง และ มีคุณลักษณะ ที่สำคัญอันจะเป็นประโยชน์ต่อพืชคือ
2.2.1 ดูดซึมความชื้น และ ของเหลวต่างๆ ข้อนี้เหมือน และ ถือเป็นการเสริมคุณสมบัติ ของแก้วภูเขาไฟอีกโสตหนึ่ง

2.2.2 มีคุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุบวก และ ลบ ที่สำคัญต่อพืชได้แก่

Na+ < K + < Ca+2 < Mg+2 <
นั่นคือ ถ้ามีสารละลาย ของประจุบวกเหล่านี้ผ่านมาสัมผัส กับแร่ดิน ประจุ NH4+
จะถูกจับเข้าไว้ ได้ดีกว่า Mg+2 ซึ่งยังดีกว่า Ca+2 และ เป็นไปตามลำดับนั้น สำหรับประจุลบทราบ แต่เพียงว่า SO4+2 , CI , PO4-3 และ NO3-2 สามารถถูกแร่ดินจับเข้าไว้ได้ แต่ไม่ทราบลำดับก่อนหลัง เมื่อประจุบวก และ ประจะลบเหล่านี้ถูกจับไว้ โดยแร่ดิน ต้นพืชสามารถ ที่จะนำเอาประจะเหล่านี้มาใช้ได้ทันที โดยการแลกเปลี่ยนผ่านทางราก และ ไม่จำเป็นต้องทำให้ประจุเหล่านั้นเป็นสารละลายก่อน ทั้งนี้เป็นไปได้ โดยส่วนปลายราก ของพืชสามารถ ที่สร้างประจุ H+ หรือสารอินทรีย์ขึ้น และ จะทำหน้า ที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนเอาธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในแร่ชนิดต่าง ๆ รวมทั้ง ที่มีอยู่ในแร่ดินไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย ดังนั้นธาตุอาหารจึงสามารถถูกนำไปใช้ โดยต้นพืชได้ทั้งในรูป ของสารละลาย และ ถูกดูดซึมแลกเปลี่ยน เมื่อมีการสัมผัส โดยตรง กับแหล่ง ของธาตุอาหาร

2.3 ส่วน ที่ประกอบด้วยแร่ซีโอไลต์ และ ซีลไวต์ แร่ทั้ง 2 ชนิดนี้ตรวจพบจากการส่งตัวอย่างไปทำ X-ray diffractiom analysis ซึ่งจะไม่ทราบปริมาณว่ามีอยู่มากน้อยเท่าใด แต่เท่า ที่เครื่องสามารถตรวจพบได้ แร่ทั้ง 2 ชนิดก็คงจะมีอยู่มากพอสมควร ที่เดียว ประโยชน์ ของแร่ทั้ง 2 ประเภท ที่จะมีต่อต้นพืช คือ ในส่วน ของซีโอไลตืจะมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจะบวก กับธาตุต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ต้นพืชไม่ให้ถูกชะล้างสูญหายไป เป็นการเพิ่มประสิทธภาพคุณสมบัติ ของแร่ดิน ที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นอีกแรงหนึ่ง สำหรับแร่ซีลไวต์หรือก็คือเกลือโปแตสเซียมคลอไรต์ (KCI) เป็นเกลือโปแตส ที่สามารถละลายน้ำได้ง่าย ส่วนหนึ่งจะถูกต้นพืชดูดเอาไปใช้ โดยตรง แต่อีกส่วนจะถูกแร่ดิน และ แร่ซีโอไลต์ดูดซับเก็บไว้ และ ค่อยๆ ปล่อยให้พืชนำไปใช้อีกที


3.ผล ของซิลิซิค แอซิค หรือซิลิก้าต่อต้นพืชเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าธาตุซิลิก้าจะไม่ถูกนับว่าเป็น ธาตุอาหาร ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และ สมบูรณ์ ของต้นพืช แต่ก็เป็น ที่ทราบกันดีว่าต้นพืชใช้ซิลิก้าเป็นส่วนสำคัญ ของโครงร่าง นอกจากนั้น การมีคุณค่าในฐานะเป็นธาตุอาหาร ของซิลิก้าก็ยังไม่เป็น ที่ยอมรับ แต่ กับพืชบางชนิดซิลิก้าก็ช่วยให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสมบูรณ์ มีความต้านทานต่อโรคประเภทเชื้อราได้ดีขึ้น กับดินบางชนิด โดยเฉพาะดินลูกรังซึ่งมีอาลูมินา และ เหล็กอยู่สูง และ มักจับตัว กับธาตุอาหารพวกฟอสฟอรัส เกิดเป็นเกลือ ที่ไม่ละลายน้ำต้นพืชจะไม่สามารถน้ำเอาเกลือ ฟอสเฟตเหล่านี้ไปใช้ได้ทั้งนี้เป็นเพราะซิลิก้า ที่ละลานน้ำเข้าไปปลดปล่อยฟอสเฟตซึ่งกลับไปเป็นประโยชน์ต่อพืช ปฏิกิริยาปลดปล่อยจะเกิดได้ดีในสภาวะเป็นด่างอ่อนๆ
กับพืชบางชนิด เช่น พืชจำพวกหัวผักกาด (Beta valgaris) ซิลิก้าจะมีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตส่วนในพืชพวกข้าว และ ข้าวบาเล่ย์ ซิลิก้าจะทำหน้า ที่เป็นสารอาหาร ที่สำคัญต่อต้นอ่อนนอกจากนั้นยังเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของจมูกข้าว ต้นทานตะวันจะผลิตเมล็ดได้เพิ่มขึ้น เมื่อมีซิลิก้ามากขึ้น เปลือกนอก ของเรณู ของพืชบางชนิดมีซิลิก้าในปริมาณ ที่สูงถึง 2% โดยน้ำหนักซึ่งจะทำให้ทนทานต่อการผุสลาย
ในพืชหลายๆ ชนิดสารละลายซิลิก้า เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปจะสะสมตัวอยู่ ณ ส่วนใดๆ ของต้น ที่มันไปรวมตัวกัน โดยน้ำจะถูกระเหยหายไปทางใบ กรณีการสะสมตัว ของซิลิก้าจะจำกัดตัวอยู่เฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง ของต้นพืชเท่านั้น หรือซิลิก้าอาจมีส่วนร่วมในการบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในต้นพืชซึ่งซิลิ ก้าจะถูกเคลื่อนย้าย และ ไปสะสมตัวในรูปแบบจำเพาะ เช่น ส่วนหนาม ของพืช
กลไก การถูกดูดซึม ของซิลิก้าเข้าสู่ต้นพืชจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรค ที่เกิดจากเชื้อรา โดยซิลิก้าจะไปสะสมตัว ที่ผิว ของต้นพืช และ ทำหน้า ที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันต่อเชื้อรา เช่น ราสนิมสำหรับพืชให้เมล็ดประเภทข้าว (Cereal) ซิลิก้าจะช่วยทำให้ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดีขึ้นมีการทดลอง กับข้าวไรย์ ข้าวบาเลย์ และ พืชให้เมล็ดอื่นๆ พบว่าซิลิก้าช่วยเพิ่มน้ำหนัก ที่แห้งแล้ว ของเมล็ดพืชแม้ต้นพืชเหล่านั้นจะปลูกในสภาวะ ที่ขาดโปแตสเซียม นอกจากนั้นยังช่วยให้เมล็ดพันธุ์พืชบางชนิดปราศจากการติดเชื้อประเภทราอีกด้วย

ในต้นพืช ที่ขาดซิลิก้าพบว่า ต้นข้าว ข้าวโอ๊ด ข้าวบาเลย์ ข้าวโพด แตงกวา และ ยาสูบแสดงการเจริญิเติบโต ที่ลดลงพืช ที่ขาดซิลิก้าจะต้องการน้ำมากขึ้น อาการ ที่เกิดจากการขาดซิลิก้าจะทำให้แตงกวา มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ และ ยาสูบมีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างลดลง ซิลิซิค แอซิค จะช่วยให้พืชเกิดการสะสมแคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม และ แมกนีเซียม พร้อมๆ กันไป กับการนำธาตุแหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์ ที่เกื้อหนุนกันระหว่างปริมาณแมกนีเซียม และ ซิลิก้าในต้นพืช กล่าวคือ ต้นข้าวจะไม่สามารถดูดซึมเอาซิลิก้าไปสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นได้ ถ้าพืชขาดแมกนีเซียม นั่นคือ ในดินจะต้องมีธาตุทั้ง 2 ชนิด ในรูป ที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ด้วยนอกจากนั้นซิลิก้ายังช่วยให้ใบข้าว เหนียว และ แข็งแรงขึ้น ต้นข้าวทนทานต่อแมลงเจาะลำต้นมากขึ้น การเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น และ ส่วนต่างๆ ของต้นข้าวรวมทั้งเมล็ดข้าวมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักเมล็ดข้าวแห้งแล้วเพิ่มมากขึ้น

4.ผลจาการบริโภคซิลิก้า ที่ปนอยู่ในต้นพืช
ซิลิก้าสะสมในต้นพืชส่วนใหญ่ อยู่ในรูป ของอะมอฟัสซิลิปนน้ำ (hydrated amorphous) ซึ่งมือนแร่โอปอล(opal) อย่างไรก็ตามซิลิก้า ที่อยู่ในรูป ของแร่ควอรตซ์ (quartz) ก็มีรายงานว่าพบอยู่เล็กน้อยในต้นพืชด้วย ส่วนใดๆ ของต้นพืช ที่ระเหยน้ำได้มาก ที่สุด ส่วนนั้นจะเป็นบริเวณ ที่อะมอฟัส ซิลิก้าไปสะสมตัวมาก ที่สุดเช่นกัน มนุษย์บริโภคซิลิก้าซึ่งละลายปนอยู่ในน้ำดื่มเข้าไปอย่างสม่ำเสมอ แต่มนุษย์ไม่เหมือนต้นพืช ที่มนุษย์สามารถขับถ่ายอะมอฟัส ซิลิก้าออกมาในรูป ของสารละลายได้ โดยไม่เกิดการสะสมในร่างกาย ดังนั้นการบริโภคอะมอฟัส ซิลิก้าเพียงเล็กน้อยจึงไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ เพราะซิลิก้าดังกล่าวสามารถละลายน้ำ และ ถูกกำจัดออกจากร่างกายได้ ซึ่งในอาหารบางชนิดอนุญาติให้เติมอะมอฟัส ซิลิก้าลงไปได้ถึง 2% โดยน้ำหนัก
เอกสาร อ้างอิง
Grant, H[1994] Volcanic ash : What it is and how it forms, U.S.G.S..Bull.2047, p.39-45
Gnm.R.E. [1953] Clay mineralogy ,McGraw - Hill book company , N.Y.,384p.
Iler.R.K.[1979] The chemistry of silica : solubility , polymerization , colloid and surface
Properties, and biochemistry, john Wiley and Sons, N.Y., 866p.
Loughnan,F.C. [1969] Chemical weathering of the silicate minerals. Elsevier, N.Y.,154p.
Schroder,H.J. [1970] Pumice, Mineral, Facts and Problems, Bull 650 ,p. 1171-1178
นิคม จึงอยู่สุข (2540)หินอุตสาหกรรม กับการเกษตรแผนใหม่ การประชุมเสนอผลงานทางวิชาการกองธรณีวิทยา หน้า 7 - 19


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10/12/11, [12:12:47] โดย Coffman »
Tags: วัสดุปลูก 
buzaaa ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #1 เมื่อ: 28/04/10, [15:40:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ยังอ่านไม่จบ แต่เยี่ยมมาก [เจ๋ง] [เจ๋ง]
Dolphin ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #2 เมื่อ: 28/04/10, [15:50:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แบบนี้หน้าจะเอาไปอยู่ในห้องสมุดน่ะเนี่ย
Art_of_Nature ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #3 เมื่อ: 28/04/10, [16:09:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมเลยครับ [เจ๋ง]
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #4 เมื่อ: 28/04/10, [16:11:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ยังอ่านไม่จบ แต่เยี่ยมมาก [เจ๋ง] [เจ๋ง]
ขอบคุณครับ
แบบนี้หน้าจะเอาไปอยู่ในห้องสมุดน่ะเนี่ย
แล้วแต่ บ บัง emb01
ยังอ่านไม่จบ แต่เยี่ยมมาก [เจ๋ง] [เจ๋ง]
เพิ่ม/แก้ไขภาพ ข้อความผิด วรรคตอน เสร็จสมบูรณ์
ขอบคุณครับ emb01
Dolphin ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #5 เมื่อ: 28/04/10, [16:17:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับแล้วแต่ บ บัง emb01เพิ่ม/แก้ไขภาพ ข้อความผิด วรรคตอน เสร็จสมบูรณ์
ขอบคุณครับ emb01
ผมว่าได้ลงอยู่แล้ว โหะๆ emb01
[K]aNate~* ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 28/04/10, [16:19:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไม่ผิดกับที่ผมบอกในกระทู้ชื่นชม

บทความดีและยาวววววว  ้hahaha ้hahaha ้hahaha

เหนื่อยอีกแล้ว  [on_052]
GoldbergNX ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 28/04/10, [16:24:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1
สาระเน้นๆ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #8 เมื่อ: 28/04/10, [16:25:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไม่ผิดกับที่ผมบอกในกระทู้ชื่นชม

บทความดีและยาวววววว  ้hahaha ้hahaha ้hahaha

เหนื่อยอีกแล้ว  [on_052]
ยาว ตามไซส์ และภาพใหญ่ ตามขนาดจริง emb01
ผมว่าได้ลงอยู่แล้ว โหะๆ emb01
ลุ้นอยู่ครับ ้hahaha
+1
สาระเน้นๆ
ขอบคุณครับที่มีผู้อ่าน  [เอ๊ะ!!!]
RK` ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #9 เมื่อ: 28/04/10, [17:25:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ยังอ่านไม่จบ +1ไปก่อน [เจ๋ง]
GSXR ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #10 เมื่อ: 28/04/10, [17:59:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากๆครับที่มีข้อมูลดีๆมาให้ตลาดเลย  [เจ๋ง]
stonefest ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #11 เมื่อ: 28/04/10, [18:13:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอมูลดีๆอีกแล้วครับท่านนนนน  [เจ๋ง]
 มีโอกาศ จะไปกาแฟ  ้hahaha ถึงจะเป็นคนไม่ชอบทานกาแฟ  [on_012]
เอกกะมอส ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #12 เมื่อ: 28/04/10, [19:53:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ข้อมูลเป็นประโยชน์มาก เก็บเข้าห้องสมุดเถอะครับ +1ให้นะครับ
zippo ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #13 เมื่อ: 28/04/10, [20:17:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีประโยชน์ มากมาย เลยคับ....ได้ความรู้อีกเยอะ อ่ะ .... ขอบคุณคับ
saintchamp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #14 เมื่อ: 29/04/10, [09:33:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กว่าจะอ่านจบ   [on_012]
ขอบคุณครับ +1 ไป [เจ๋ง]
พี่กบ ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #15 เมื่อ: 29/04/10, [10:37:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับสำหรับเป็นผู้ให้ความรู้ แต่พัมมิส ยังมีอีกหลายชนิด ขึ้นอยู่กับชั้นหิน

วันหลังจะหามาเสริมให้ แต่ถ้าจะดีมากๆ รบกวนคุณcoffman หามาเสริม

พี่กบงานเยอะมากเลย ทั้งงานราษฎร์ งานหลวงบานนนนนนนนนน
asspain
Champies ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #16 เมื่อ: 29/04/10, [11:04:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นมือใหม่ที่ไฟแรงมากๆ

บทความมีประโยชน์ครับ
alll ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #17 เมื่อ: 30/04/10, [18:52:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คุณcoffmanมีข้อมูลดีๆให้ตลอดเลย ขอบคุณมากๆครับ
TEOS! ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #18 เมื่อ: 03/05/10, [21:14:21] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีภาพประกอบด้วยครับ เจ๋ง
siegheart ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #19 เมื่อ: 04/05/10, [21:50:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากครับที่หามาให้อ่าน  [เจ๋ง]
olophurinolo ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #20 เมื่อ: 06/05/10, [09:50:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แถวลพบุรีเค้าไปขุดอยู่แถวไหนง่ะ  จะไปขุดมั่ง
BiK ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #21 เมื่อ: 15/12/14, [20:17:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

   ขอบคุณสำหรับเนื้อหาครับ. แต่อ่านไม่จบ+กับมึนครับ, ลึกซึ้งเกินเข้าใจครับ(หัวไม่ถึง)  [on_026]
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: