Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้เรื่องตะกอนที่สามารถทำให้โตช้าและเป็นโรค [ย่อให้หน่อยล่ะ]  (อ่าน 8181 ครั้ง)
Scrubb ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 14/10/09, [23:57:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตะกอน (Residue หรือ Solids) หมายถึง สารที่เจือปนอยู่ในน้ำ อาจมีทั้ง ชนิดที่ละลายน้ำได้ (Dissolved)
และ ชนิดที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ (Suspended) เราสามารถแบ่งชนิดของตะกอนอย่างกว้างๆ ได้ 2 ลักษณะ

     1.ลักษณะตะกอนทางกาย ภาพ ซึ่งแขวนลอยในน้ำ ได้แก่ตะกอน ดิน ซากแพลงค์ตอนพืชและสัตว์ แบคทีเรีย
อาหารที่กุ้งกินไม่หมด เป็นต้น ตะกอนที่แขวนลอยจะส่งผลกระทบต่อระบบการแลกเปลี่ยนธาตุอาหาร และ อากาศที่
บริเวณเหงือกของกุ้งและจะ ส่งผลกระทบต่อการกินอาหารของกุ้ง ในที่สุด นอกจากนั้นตะกอนแขวนลอย อาจดูดซับสารพิษ
ต่างๆ เช่น แก๊สพิษ, สารฆ่าแมลงและโลหะหนักต่างๆ เมื่อ มีการสะสมมากขึ้นจะละลายลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อตะกอนที่มีแก๊สพิษ
หรือสารพิษ เข้าเหงือกกุ้ง จะเป็นการเพิ่มอัตราในการ แลกเปลี่ยนแก๊สพิษเข้าสู่ร่างกายกุ้ง ได้เร็วขึ้น

      2. ลักษณะตะกอนทางเคมี แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
    กลุ่มที่ 2.1 ละลายน้ำได้ เช่น เกลือ (NaCl), แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3), กรดอะซิติก, แอลกอฮอล์ แร่ธาตุอาหารฯลฯ
ตะกอนที่ละลายได้เหล่านี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะส่ง ผลกระทบต่อการรักษาสมดุลของกุ้ง โดยเฉพาะเกลือ (NaCl)
หากมีการ เปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดอย่างรวดเร็ว จะทำให้กุ้งตายได้

   กลุ่มที่ 2.2 ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ อลูมิเนียม, อลูมิเนียมซิลิเกต, โปรตีน ที่ไม่ละลายน้ำ เป็นต้น ตะกอนจะมีผล กระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ดังตะกอนที่ละลายน้ำ ได้ เช่น เกลือ, แคลเซียมคาร์บอเนต ถ้ามี การเปลี่ยนแปลงปริมาณอย่างรวดเร็ว จะต่อระบบการรักษาสมดุล
ของสัตว์น้ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของสัตว์น้ำแต่ละชนิด



      

การระบายอากาศ โดยการขับน้ำผ่านเข้าไปในเหงือก ในทิศทางจาก ด้านหลังไปด้านหน้า
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกับการแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนจากน้ำ เมื่อมีตะกอนเข้าเหงือกกุ้ง
กระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจน จะเกิดได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้กุ้งเครียดและเป็นโรคในที่สุด

        


บริเวณผิวสัมผัสตะกอน-น้ำ มีการดูดซับ และปลดปล่อยแก๊สแอมเนีย ไนไตรท์อยู่ตลอดเวลา เมื่อตะกอน
เข้าเหงือกจะส่งผลให้เหงือกแลกเปลี่ยนแก๊สพิษเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น เหงือกอักเสบและป่วยในที่สุด
ความเครียดของกุ้งส่งผลโดยตรงต่อการเกิด โรคในกุ้งภายในบ่อเลี้ยง ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งแบบหนา แน่น
จึงมีความเสี่ยงต่อตะกอน การเกิดโรค แก๊สพิษอยู่ตลอดเวลา

ผลกระทบของตะกอนต่อสุขภาพกุ้ง:
      บ่อกุ้งที่มีตะกอนมากจนเกินไป จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกุ้งทำให้กุ้ง ไม่เจริญเติบโตและอาจตายในที่สุด
ผลของตะกอนจะส่งผลต่อกุ้งในด้าน ต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้
1. ผลต่อเหงือกกุ้ง ในกรณีที่ ตะกอนเข้าเหงือกมากจะทำให้เกิด อาการระคายเคือง จนพบอาการเหงือก อักเสบได้
2. ผลต่อการระบายอากาศของ กุ้งเมื่อตะกอนเข้าเหงือกกุ้งจะส่งผลให้ กุ้งแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
   ได้น้อยลง ถ้าคาร์บอนได ออกไซด์สะสมในเลือดมากกว่าออกซิเจน จะทำให้กุ้งเคลื่อนไหวช้าลง ใช้สาร อาหารมากขึ้น
   เนื่องจาก ต้องใช้พลังงาน ในการขยับเหงือกเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนและทำความสะอาดเหงือก มากขึ้น ส่งผลให้กุ้งโตช้า
3. ผลต่อกระบวนการเมตาบอ- ลิซึม กุ้งจะเผาผลาญสารอาหารได้ไม่ เต็มที่เนื่องจากเหงือกแลกเปลี่ยนแก๊ส ออกซิเจนได้น้อย
    การสันดาปพลังงาน ทำได้ไม่ดี ส่งผลให้กุ้งได้รับสารอาหาร ไม่เพียงพอทำให้กุ้งไม่โต เปลือกนิ่ม ตัวหลวมในที่สุด
4. ตะกอนเป็นแหล่งสะสม เชื้อโรคต่างๆ เช่น ซูโอแทมเนียมและ วิบริโอเนื่องจากวิบริโอสามารถใช้สาร อินทรีย์ และอนินทรีย ์
   เป็นแหล่งพลังงาน ได้ จึงสามารถเจริญเติบโตขยายพันธุ์ ได้ในสภาพน้ำที่มีตะกอนมาก เมื่อ ตะกอนซึ่งมีวิบริโอและซูโอแทมเนียม
   สะสมอยู่มากๆ เข้าสู่เหงือกกุ้ง กุ้งจึงมี โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกอักเสบ และการติดเชื้อในระบบเลือด ซูโอแทมเนียม  
    เมื่อเข้าเกาะเหงือกจะส่งผลให้ ความสามารถการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ของเหงือกกุ้งได้น้อยลง
5. การแลกเปลี่ยนอิออนต่างๆ ระหว่างเหงือกกุ้งกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ เหงือกกุ้งมีตะกอนมากเหงือกจะไม่สามารถนำ
    แร่ธาตุไปใช้ได้เลย ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น โซเดียม แคลเซียม คลอไรด์ แมกนีเซียม
    และโปรแตสเซียม ในกรณีที่กุ้งขาดแร่ธาตุเหล่านี้จะทำกุ้งมีการเจริญเติบโต ช้า แคระแกรนเปลือกบางนิ่ม กรณีที่ ขาดโซเดียม
    และคลอไรด์ กุ้งจะเบื่อ อาหาร เอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้งได้น้อย ดังนั้นกุ้งจะใช้ประโยชน์จากสารอาหาร ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต
    ได้น้อยลง อันเป็น ผลกระทบในทางอ้อม
      
หากเราปล่อยให้ ตะกอนเข้าเกาะเหงือกกุ้งมากๆ ตะกอน จะขัดขวางการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุที่จำเป็น
ในการสันดาปสารอาหาร ที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของกุ้ง ตะกอนในบ่อเลี้ยงกุ้งส่งผล ทั้งในทางตรงและในทางอ้อมต่อ
สุขภาพกุ้ง และคุณภาพน้ำ ด้าน สุขภาพกุ้ง ตะกอนส่งผลในเกิดโรค เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะโรคเหงือก อักเสบ เหงือกสีน้ำตาล
จากตะกอน แพลงค์ตอน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/10/09, [20:44:53] โดย Scrubb »
fujinken ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 15/10/09, [02:02:40] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สรุปถ่ายน้ำบ่อยๆใช่เปล่าครับ 036
Last,,One ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 15/10/09, [02:13:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สรุปถ่ายน้ำบ่อยๆใช่เปล่าครับ 036


สรุปซะขี้เกียจอ่านข้างบนเลย  036 036
[P]-Kuno ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #3 เมื่อ: 15/10/09, [02:59:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 036 ยาวจังขี้เกียดอ่าน จะพยายามเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพื่อน้องกุ้งละกันครับ
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 15/10/09, [16:49:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 036
ผมเลี้ยงแครในตู้งะ ตะกอนคงมีไม่มากมั้ง
+เอก+ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 16/10/09, [19:47:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 036 สรุบอ่านกี่วันจบอะครับ  [งง]
IceZash ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 16/10/09, [19:52:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นประโยชน์น่ะครับ เพราว่าเราไม่รู้ว่าตู้กุ้ง ตะกอนของเสียต่างๆ

มันเป็นอันตรายต่อกุ้งมากน้อยแค่ไหน

ถ้าเราไม่รู้จักดูแลรักษา  [เจ๋ง] [เจ๋ง]

 sho01ว่าแต่อ่านยาวหน่อยน่ะกรุทู้ยาวมาก shock1 shock1
Scrubb ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 16/10/09, [20:46:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

036 สรุบอ่านกี่วันจบอะครับ  [งง]

ใช้เวลาอ่านไม่นานหรอกครับ ถ้าจะอ่านอ่ะ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: