Aqua.c1ub.net
*
  Fri 11/Jul/2025
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบโรคของกุ้งมีอะไรบ้างและทางรักษา+ป้องกัน  (อ่าน 28205 ครั้ง)
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 26/08/09, [11:17:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอโทษนะคับ
ทราบว่าเคยมีคนถามมากันแล้วและก็ตอบกันไปแล้วด้วยแต่ว่า มีแต่อาการกับชื่อของโรค
เลยอยากทราบว่าวิธีการรักษา การป้องกันการติดต่อ และการติดต่อ

เช่น ต้องใส่ยาเหลือง อะไรแบบนี้อะคับ

ถ้าเป็นไปได้อยากทราบทั้งกุ้ง เคร กุ้ง แคระ ฯลฯ

 [เอ๊ะ!!!]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [11:11:49] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
[M]azte[R] ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 26/08/09, [12:30:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่า  ห้องสมุดกุ้งกับกระทู้ที่ตั้งถามเก่าๆก็มีบอกถึงวิธีป้องกันครับ
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 26/08/09, [13:05:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขออ้างอิงด้วยแล้วกันคับ
แล้วก็ คำถาม ผมรวมถึงวิธีรักษา เบื้องต้นก็ยังดี เอาที่ดีกว่าการอัด อ๊อก อะคร๊าบบบบบบบบบ

แต่ของเก่าแก่ ส่วนมากจะไม่มีอะคับ ไอ้วิธีรักษา
 mad1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [11:12:18] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
[M]azte[R] ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 26/08/09, [15:07:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แบบนี้ต้องระบุอาการด้วยอะครับ เพราะวิธีรักษาเบื้องต้นมันมีต่างกันอยู่
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 26/08/09, [17:04:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไม่ทราบว่าจะเอาทุกโรคเลยได้อะคับ
ไม่ได้กวนตีนนะ
แบบมีอะไรเอาหมด งะ
 suicide
อยากทราบจะเซพเก็บเอาไว้เป็นข้อมูลเพื่อ วันดีคืนดีกลับมาหลังจากทำงานแล้วน้องกุ้งเค้าเป็นอะไรจะได้ลงมือแก้ไขทัน
ไม่อยากเห็นกุ้งตายอีกแล้ว
คือมี 4 ตัวไปดีมาดีแล้ว ยังเหลืออีก 7 ตัวที่อยู่ดี
แบบว่าเอาโรคที่เป็นกันเยอะ อะ

แล้วก็ที่ต้องการอีกอย่างคือ ถ้าอาหารที่ให้กุ้งมันมีสารเคมีตกค้างจะมีอาการยังไง แล้วมาแก้แบบด่วน
เคยให้ผักไปแล้วคิดว่าคงยาฆ่าแมลงตกค้างมั้ง มาดูอีกทีหลังจากให้อาหารไป 2ชม. นอนเลย

ผมขอนะ mad1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [11:14:09] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #5 เมื่อ: 27/08/09, [11:07:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

T_Tไม่มีใครรู้เลย หรอ เนี่ย
 suicide
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #6 เมื่อ: 27/08/09, [11:19:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

T_Tไม่มีใครรู้เลย หรอ เนี่ย
 suicide

 จริงๆ แล้วถ้าจะเอาโรคทั้งหมดเลยเนี่ย มาขอเอกสารที่บ้านของผมไป Zerox ได้นะครับ แต่เป็นภาษาอังกฤษนะ คงต้องค่อยๆอ่านเอา

ทีนี้ความยากลำบาก สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้มีอุปกรณ์และห้อง Lab ก็คือ แม้ว่าเราจะรู้ว่ากุ้งเราติดโรค แต่ก็ไม่รู้ว่าจะพิสูจน์อย่างไร

ว่าติดจากเชื้อไวรัส , แบคทีเรีย ตัวใหนอย่างไร ซึ่งพวกนี้ต้องตรวจสอบใน Lab โดยผู้เชี่ยวชาญน่ะครับ
ส่วนใหญ่เราจึงแนะนำให้ป้องกัน

ปัญหาเหล่านี้ ดีกว่าการมารักษา ซึ่งรักษาได้ยากมากๆ ด้วยกุ้งเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยถูกโรคกับการให้ยา อย่างไรก็ตามในเว็บเราก็มีเบอร์ของสัตว์แพทย์

และ url บอร์ดของสัตว์แพทย์ ของร้านปราณีให้อยู่นะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [17:45:39] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 27/08/09, [11:48:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 dea02
อะ แบบนี้วันดีคืนดี กลับไปเจอว่าน้องกุ้งเค้ามีอาการผิดปกติ
ก้อ ต้องปล่อยเค้าไปหรอ คับ

ถ้าเป็นแบบคนก็ดีนา ที่ว่าเป็นหวัดก็ไปซื้อ ยาที่7-11 หรืออะไรก็ว่ากันไป
แย่จัง แบบนี้ถ้าเค้าเป็นอะไร คงต้องเอาน้องเค้ามา ย่างเกลือดีกว่า
อย่างน้อยก้ออิ่มท้องเรา ไม่เสียค่าไฟฟ้า

ออกแนวโหดแล้วซิตู
 cryingrun
aikhunwee ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 27/08/09, [12:01:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ส่วนใหญ่ที่เป็นกันบ่อยๆจะเป็นโรคสนิมครับ
เกิดจากคุณภาพน้ำในตู้เริ่มเสีย
ฉะนั้นควรถ่ายน้ำบ่อยๆครับ
แนวทางการรักษา
 -ยาแอนตี้อิค+ยาอะความเรียม 3
 -EM
 
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #9 เมื่อ: 27/08/09, [12:41:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นโรคเกิดในนากุ้ง คงไม่ต่างกันมาก งะ


โรคหัวเหลือง (โรคที่เกิดจากไวรัส)
 
ข้อมูลจากhttp://www.kungthai.com/KungThai/sh_content.php?id=6
    
โรคหัวเหลือง
  
โรคไวรัสหัวเหลืองเริ่มมีการระบาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2535 ในภาคใต้
และแพร่กระจายไปในหลายจังหวัด สร้างความเสียหายแก่ธุรกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งเป็นอย่างสูง
สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อไวรัสวายบีวี (YBV: Yellow-head baculovirus) ซึ่งมีความยาว  150-200 นาโนเมตร  เส้นผ่านศูนย์กลาง 45-50 นาโนเมตร  สามารถติดเชื้อได้ทั้ง บริเวณเหงือก ต่อมน้ำเหลือง อวัยวะสร้างเม็ดเลือดและเม็ดเลือด การวินิจฉัยทำโดยการตรวจย้อมเม็ดเลือด ประกอบกับการดูอาการ และอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น  
สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค :  
  อุณหภูมิ 30-80 องศาเซลเซียส ความเค็ม 27-28 ppt.
pH 6-7 สามารถมีชีวิตอยู่ได้ โดยเชื้อสามารถอยู่อย่างอิสระในน้ำได้ 7 ชั่วโมง  
พบมากในกุ้งอายุ 50-70 วัน
อาการ :  
  ลักษณะของกุ้งที่เป็นโรคจะมีอาการตัวซีด เหงือกและตับอ่อนเหลืองอย่างชัดเจน
กุ้งจะอ่อนเพลียมาเกยขอบบ่อ ไม่มีแรงดีดตัว และอัตราการตายของกุ้งสูงมากภายใน
3-4 วัน และตายหมดภายใน 5 วัน หลังจากตรวจพบการแสดงอาการครั้งแรก
การป้องกัน :
  คัดลูกกุ้งที่ปลอดโรคผ่านการตรวจพีซีอาร์ กำจัดพาหะของโรค เช่นกุ้ง ปู และน้ำที่ใช้
ควรผ่านการฆ่าเชื้อ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้การป้องกันจึงเป็น
วิธีที่ดีที่สุด  
ลักษณะของกุ้งที่ติดโรคหัวเหลือง  
ลักษณะเหงือกกุ้งกุลาดำปกติ (ซ้าย) และ เหงือกกุ้งที่ติดโรคหัวเหลือง (ขวา)  
ลักษณะเม็ดเลือดกุ้งกุลาดำปกติ
เม็ดเลือดที่ติดไวรัสหัวเหลืองจะนิวเคลียสสีเข้มขึ้นขยายตัวเกือบเต็มเซล(ซ้าย)
และ เม็ดเลือดที่นิวเคลียสของเซลแตกออก (ขวา)  
ต่อมน้ำเหลืองกุ้งกุลาดำปกติ  
ต่อมน้ำเหลืองกุ้งกุลาดำที่ติดเชื้อไวรัสหัวเหลือง เซลจะตายและแตกกระจาย
ภาพจากกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอน เชื้อไวรัสหัวเหลืองขยาย 66,000 เท่า

โรคไวรัสตัวแดงดวงขาว
  
          โรคตัวแดงดวงขาวในกุ้งกุลาดำพบการระบาดในประเทศจีนและญี่ปุ่นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ในประเทศไทยพบการระบาดตอนปลาย พ.ศ. 2537 บริเวณที่รุนแรงคือ ภาคตะวันออกแถบ จ.จันทบุรี จ.ตราด และภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.นครศรีธรรมราช จ.ปัตตานี ฝั่งตะวันตก จ.ตรัง การระบาดก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากต่อธุรกิจเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศ
สาเหตุ :
เกิดจากเชื้อไวรัส (SEMBV: Systemic Ectidermal & Mesodermal Baculovirus)
รูปร่างเชื้อเป็นแท่งความยาว 270-300นาโนเมตร
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 110-125 นาโนเมตร เชื้อไวรัสสามารถทำลาย
เนื้อเยื่อผิวใต้เปลือก เหงือก อวัยวะสร้างเม็ดเลือด เม็ดเลือด ต่อมน้ำเหลือง
นิวเคลียสของเซลจะบวมโต การวินิจฉัยจะส่งกุ้งไปตรวจหาเชื้อโดยทำ PCR  
สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค :  
ความเค็ม 29-25 ppt. อุณหภูมิและpH เปลี่ยนแปลงมากในรอบวัน สีน้ำล้ม บ่อสกปรก  
อาการ :  
ผิวใต้เปลือกกุ้งตลอดทั้งตัวมีสีแดงเรื่อๆ ชมพู ถึงเข้ม บางครั้งจะพบออกเป็นสีส้ม
และพบจุดขาวขนาด 0.1-2 มิลลิเมตร ใต้เปลือกบริเวณส่วนหัวและตัว กุ้งที่เป็นโรค
จะว่ายอยู่ผิวน้ำ เกยขอบบ่อ อ่อนแอ กินอาหารลดลง ลอกคราบไม่ออก ตัวนิ่ม
อัตราการตาย 80-100 % ภายใน 4-5 วัน หลังจากตรวจพบเชื้อ  
การป้องกัน :  
คัดลูกกุ้งที่ปลอดโรคผ่านการตรวจพีซีอาร์ กำจัดพาหะของโรค เช่นกุ้ง ปู และน้ำที่ใช้
ควรผ่านการฆ่าเชื้อ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายได้การป้องกันจึงเป็น
วิธีที่ดีที่สุด
 

โรคจากเชื้อวิบริโอ  
  
โรคเรืองแสง (โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย)
          โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกุ้ง ส่วนมากจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสกุลวิบริโอ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เชื้อวิบริโอนี้จะเป็นเชื้อปรกติที่พบตามตัวกุ้ง เหงือก และทางเดินอาหารอยู่แล้ว แต่จะทำให้เกิดโรคได้เมื่อสภาวะแวดล้อมต่างๆ ไม่เหมาะสม เช่นขาดสารอาหาร สภาวะแวดล้อม ไม่เหมาะสม กุ้งเครียด อ่อนแอ หรือแสดงอาการร่วมกับไวรัสชนิดอื่น
  
สาเหตุ :เกิดจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus, V.  harveyi, V.  alginilyticus  
อาการ  : กุ้งกินอาหารน้อยลง ลำไส้ขาว ตับ ตับอ่อนผิดปรกติ สีเนื้อจะขุ่น ขึ้นมาเกาะขอบบ่อ
           ตัวสกปรก มีตะกอนเกาะตามผิว ตัวหลวม เมื่อนำตับและตับอ่อน มาเพาะเชื้อจะพบเชื้อ
           เป็นจำนวนมาก หากปล่อยไว้นาน อาการจะรุนแรงรักษายาก
 
เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้อย่างมากต่อโรคเพาะฟัก และบ่อดิน พบแพร่กระจาย ทั่วไปทั้งตามชายฝั่งและพื้นที่ความเค็มต่ำ  
  
สาเหตุ : เกิดจากสาเหตุโน้มนำหลายประการทั้งคุณภาพน้ำที่ไม่ดี  ทำให้เชื้อV.  harveyi
ที่ปรกติพบอยู่แล้วในน้ำเข้าทำอันตรายต่อกุ้ง เมื่อกุ้งไม่แข็งแรง
    
อาการ: กุ้งลอยขอบบ่อ ไม่กินอาหาร ตัวหลวม สีลำตัวจะขุ่น ซี่เหงือกมีสีดำ ตับอักเสบ ตับอ่อน สีซีดลง และจะมีการเรืองแสงเกิดขึ้นในเวลากลางคืน
    
การรักษา: ยาปฏิชีวนะ และ ฆ่าเชื้อในน้ำด้วยไอโอดีน หรือ บีเคซี
 
โรคตับอักเสบ (โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย)
 
            พบมากในเขตน้ำกร่อยและเค็ม โดยจะออกฤทธิ์ที่ตับ และตับอ่อน ซี่งเป็นแหล่ง สะสมอาหารและสร้างน้ำย่อย สะสมเกลือแร่ และสารพิษต่างๆ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเชื้อจะเข้าสู่ตัวกุ้งทางการกินอาหาร และบาดแผล
สาเหตุ : เกิดจากการจัดการภายในบ่อที่ไม่ดี ทำให้เชื้อในสกุล Vibrio  sp.
ที่มีอยู่ในน้ำเข้าทำอันตรายต่อกุ้ง โดยเฉพาะตับและตับอ่อน    
อาการ: กุ้งอ่อนแอกินอาหารได้น้อยลง ตับจะมีขนาดโต หรือฝ่อ เปลี่ยนเป็นสีขาว ซีด หรือดำคล้ำ กล้ามเนื้อมีสีขาวขุ่น ถ้าไม่ทำการรักษากุ้งจะลอยหัวและเริ่มตายมากขึ้น

โรคกุ้งขี้ขาว (โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย)
    
            พบมากในเขตน้ำกร่อยและเค็ม โดยจะออกฤทธิ์ที่ตับ และตับอ่อน ซี่งเป็นแหล่ง สะสมอาหารและสร้างน้ำย่อย สะสมเกลือแร่ และสารพิษต่างๆ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยเชื้อจะเข้าสู่ตัวกุ้งทางการกินอาหาร และบาดแผล
สาเหตุ : เกิดจากอาการลำไส้ตอนบนของกุ้งตอนบนอักเสบ เนื่องจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา หรือ อาหารมีคุณภาพต่ำ เช่นปลาป่นที่มีคุณภาพต่ำและปนเปื้อนแคปซูลของแบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรียสกุลวิบริโอ    
อาการ: ลำไส้ตอนต้นของกุ้งอักเสบ ขุนขาว ขี้กุ้งจะเป็นสีขาว ในกรณีที่กุ้งเป็นขี้ขาวจำนวนมาก จะพบขี้กุ้งลอยตามน้ำอยู่บริเวณริมขอบบ่อด้านปลายลม      
การป้องกันรักษา: ให้กุ้งกินยาซัลฟา+ไตรเมทโธปริม 3-5 กรัม/อาหาร 1 ก.ก. ทุกมื้อ 5-7 วัน

ถามเอง ตอบก็ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [12:50:50] โดย artofwars »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #10 เมื่อ: 27/08/09, [12:50:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 die1
กุ้งตายมีแผลกลางหลัง
กุ้งที่ตายในลักษณะนี้พบมากเมื่อเลี้ยงไประยะหนึ่ง มีกุ้งบางส่วนตายและไปกองอยู่กลางบ่อ ซึ่งทุกตัวที่ตายมีแผลกลางหลัง พบว่าบ่อที่กุ้งตายเป็นจำนวนมาก จะเป็นบ่อที่มีความเค็มต่ำกว่าบ่อที่มีความเค็มปกติและบ่อที่ปูพีอี น้ำไหลเร็ว ก็จะเป็นมากกว่าบ่อที่กระแสน้ำไม่แรงมาก จากการตรวจ และตัดเนื้อเยื่อมาดูอย่างละเอียด จะพบว่าบริเวณแผลกลางหลังจะมีการอักเสบ ลึกมากและเป็นบริเวณกว้าง ทำให้มีผลต่อการลอกคราบและการเคลื่อนไหวของกุ้ง แต่การติดเชื้อแบคทีเรียจะมีน้อยมาก การอักเสบเหมือนแผลเรื้อรัง ซึ่งน่าจะมาจากช่วงที่กุ้งลอกคราบ จะมีกุ้งบางส่วน ถ้าน้ำไหลเร็วมากโดนเครื่องตีน้ำ ถ้าไปโดนจุดที่ไม่สำคัญก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าตรงกลางตัวจะเห็นได้ชัดว่ามีปัญหา จากการสอบถามจากฟาร์มที่กุ้งมีอาการ ก็มีการยืนยันอย่างชัดเจน พบว่า บ่อที่ความเค็มต่ำกว่าจะเป็นมากกว่าบ่อที่ความเค็มสูง บ่อพีอีที่น้ำไหลเร็วก็เป็นมากกว่า ใกล้เคียงกับกุ้งในประเทศเปรู ซึ่งหลังจากกุ้งอายุ 40 วัน ที่เลี้ยงในบ่อพีอีที่ใช้เครื่องตีน้ำ 36 แรงม้าต่อเฮกแตร์ (6ไร่) น้ำไหลวน แรงมาก น้ำเชี่ยว พบว่ากุ้งที่ตายนิ่มเป็นวุ้นเนื่องจากกุ้งที่ลอกคราบยังพยุงตัวเองไม่ได้ น้ำไหลแรงมาก ไปกระแทกกับกุ้งตัวอื่นหรือหลักที่ปักไว้ทั่วบ่อเพราะเลี้ยงอยู่ในโรงเรือน ดังนั้นช่วงที่กุ้งลอกคราบควรเปิดเครื่องตีน้ำไม่ให้น้ำเชี่ยวมากเกินไป เพราะเห็นชัดว่าบ่อที่น้ำแรง เชี่ยวมาก FCR จะไม่ดี อาหารบางส่วนถูกกระแสน้ำพัดเข้าไปกลางบ่อ กุ้งต้องใช้แรงพลังงานมากในการสู้กับกระแสน้ำ ถ้าเป็นโรคหรือเกี่ยวข้องกับโรคไม่น่าจะมีแผลกลางตัวอย่างนี้ทุกตัวแต่ที่ประเทศเปรูกุ้งที่ตายเป็นตัวนิ่มเหมือนวุ้นทุกตัว

กล้ามเนื้อขาวขุ่นที่มาจากไมโครสปอริเดียน
ซึ่งในบ่อพักน้ำมีกุ้งแชบ๊วยเป็นโรคนี้มาก จะเป็นทุกที่ บางฟาร์มเตรียมน้ำโดยการใช้ คลอรีน หรือไอโอดีน แต่ใช้ปริมาณน้อย ก็จะพบว่ากุ้งเป็นโรคนี้ได้ โฮสต์กึ่งกลาง หรือ intermediate host ที่จะมาถึงกุ้งก็จะเป็นปลา เมื่อกุ้งกินกุ้งที่ป่วยด้วยโรคนี้จะไม่ติดเชื้อ แต่ถ้าปลาไปกินสปอร์ที่ขับถ่ายมาจากกุ้ง แล้วกุ้งไปกินขี้ปลา กุ้งจะติดเชื้อ เพราะฉะนั้นถ้าจะไม่ให้เกิดโรคนี้ต้องกำจัดปลาและพักน้ำให้นานพอสมควร หลังจากกำจัดปลาแล้ว ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสปอร์ที่อยู่ในขี้ปลานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานแค่ไหน แต่ถ้าใช้คลอรีนในอัตราที่ฆ่าปลาได้ เมื่อคลอรีนสลายตัวหมด และทำสีน้ำใหม่ น่าจะลดการเกิดโรคนี้ได้มาก แต่ถ้าใช้คลอรีนในความเข้มข้นต่ำหรือไม่ใช้สารเคมีฆ่าปลาจะพบกุ้งขาวเป็นโรคนี้สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์  แต่หลังจากนั้นการเกิดโรคจะไม่เพิ่มขึ้นอีก หมายถึงว่าที่เป็นโรคก็จะทยอยตาย แม้ว่าในบ่อจะมีปลาก็ไม่มีการเพิ่มจำนวนกุ้งที่ติดโรคใหม่ เพราะตอนจับกุ้งก็จะไม่เห็นกุ้งตัวที่เพิ่งมีการติดเชื้อ แสดงว่าการติดเชื้อน่าจะมาจากช่วงแรกลูกกุ้งกินขี้ปลาที่สปอร์ยังอยู่ในระยะที่ทำให้เกิดโรคได้

โรคกุ้งก้ามกรามในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้ง
 โปรโตซัว
ในบ่อที่มีอาหารเหลือมาก และมีสิ่งหมักหมมมากที่พื้นบ่ออนุบาล มักจะมีโปรโตซัวเกาะตามระยางค์ของลูกกุ้ง  ที่พบมากได้แก่ ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium) และอีพิสไตลิส (Epistylis)

การป้องกัน
ควบคุมปริมาณอาหารและทำความสะอาดพื้นและขอบบ่อก่อนดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำ จะช่วยลดโอกาสการมีโปรโตซัวเกาะตามลำตัวและระยางค์ของลูกกุ้ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [12:53:02] โดย artofwars »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #11 เมื่อ: 27/08/09, [12:55:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ้าอิงจากhttp://www.nicaonline.com/kungthaipage20.html
 [วิญญาณ]



   ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาที่มีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่น แม้ว่าจะมีการจัดการอย่างดีในเกือบทุกขั้น
ตอนระหว่างการเลี้ยงก็ตาม   ปัญหากุ้งป่วยเป็นโรคก็ยังพบเห็นอยู่เสมอ ๆ  เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
เป็นบางช่วงซึ่งนอกเหนือการควบคุมและการจัดการเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์มากปล่อยกุ้งไม่หนาแน่น
เลี้ยงเฉพาะในช่วงที่ไม่เสี่ยงคือฤดูกาลที่โรคไม่รุนแรง อาจไม่เจอปัญหากุ้งป่วยมากนักการจัดการที่ดีทั้งในเรื่องอาหาร
น้ำและพื้นบ่อจะลดโอกาสการเกิดโรคได้มาก แต่การเลี้ยงกุ้งหรือสัตว์อะไรก็ตามย่อมต้องมีโอกาสเจ็บป่วย  และเป็น
โรคได้เสมอ ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วจะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ มีโอกาส
ประสบความสำเร็จมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดโรคผิด การสูญเสียย่อมจะเกิดขึ้นมาก
     การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เลี้ยงหรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง การ
วินิจฉัยโรคเฉพาะปลายเหตุเช่นมีกุ้งขึ้นขอบบ่อ เมื่อนำไปตรวจและพบว่ามีซูโอแทมเนียมมากบนเหงือกและบนลำตัว
มีการแนะนำให้ใช้สารเคมีในการกำจัดซูโอแทมเนียม การแนะนำในลักษณะนี้อาจจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เนื่องจาก
กุ้งป่วยส่วนมากจะมีซูโอแทมเนียมเกาะมาก การวินิจฉัยโรคให้ได้ผลดีมากขึ้นจะต้องทราบข้อมูลของการเลี้ยงตลอด
ระยะเวลา  เพื่อนำไปประกอบและพิจารณาหาสาเหตุของการเกิดปัญหานั้น ๆ
     ในกรณีที่กุ้งป่วยเป็นโรคไวรัส จะต้องเข้าใจว่าโรคไวรัสไม่มียารักษา การกินยาปฏิชีวนะไม่สามารถป้องกันหรือ
ลดการตายจากไวรัสได้   เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง มักจะชอบถามว่าจะใช้ยาอะไรเสมอในการแก้ปัญหาต่าง ๆ   แทนที่จะ
วิเคราะห์หาสาเหตุ และหาทางแก้ที่ต้นเหตุก่อน ความรุนแรงต่าง ๆ ก็จะลดลงไปได้ การสังเกตอาการกุ้งเริ่มผิดปกติ
จึงมีความสำคัญมาก เพราะเมื่อเริ่มมีกุ้งบางตัวแสดงอาการผิดปกติ   ในขณะที่กุ้งส่วนใหญ่ยังแข็งแรงการแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ทำได้ง่าย

 อาการผิดปกติที่สังเกตได้ในเวลากลางวัน
      การเดินดูรอบบ่อตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะมีกุ้งป่วยเกาะตามขอบบ่อมีความจำเป็นมาก การยกยอและดูลูก
กุ้งที่เข้ามาในยอก็สามารถบอกอะไรได้หลายอย่างเช่น
1. ไม่มีอาหารในลำไส้ กุ้งที่ป่วยมักจะไม่กินอาหาร ส่วนกุ้งที่ไม่แข็งแรงจะกินอาหารน้อย แสดงว่ากุ้งในบ่อเริ่มป่วย
ต้องหาทางแก้ไขทันที
2. ผิวตัวไม่มันกล้ามเนื้อสีขาวขุ่น และกุ้งป่วยมักจะมีสีเข้มกว่าปกติ หรือสีซีดกว่าปกติ ตัวจะไม่แน่น ผิวตัวมักจะไม่
มันอาจจะเป็นเมือกหรือมีอะไรเกาะตามเปลือก ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีสาเหตุโน้มนำมาจากสภาพ
ที่ไม่เหมาะสมในบ่อเช่น   พื้นบ่อไม่สะอาด   น้ำใสเป็นเวลานานเป็นต้น
3. การดีดตัวไม่แรง เมื่อยกยอถ้ากุ้งแข็งแรงจะดีดตัวแรงและกุ้งส่วนใหญ่จะดีดตัวออกจากยอ ในขณะที่กำลังดึงยอ
ขึ้นเหนือน้ำ
4. แพนหางไม่กาง กุ้งที่อ่อนแอ แพนหางจะหุบเมื่อจับบริเวณโคนหาง แพนหางจะไม่กางออกมาเหมือนกุ้งที่แข็งแรง
5. เหงือกไม่ขาวใส เหงือกกุ้งปกติจะใสสะอาด ถ้ากุ้งเริ่มมีเหงือกสีเข้มขึ้นเช่นเหลืองเข้ม สีชาหรือสีน้ำตาล แสดงว่า
เริ่มมีปัญหาพื้นบ่อสกปรก

 อาการผิดปกติที่สังเกตได้ในเวลากลางคืน
1. กุ้งมีตัวซีดขาวผิดปกติ มักจะเกิดในบ่อที่น้ำมีตะกอนขุ่นมาก กุ้งส่วนใหญ่จะมีสีขาวซีด
2. เหงือกกุ้งมีสีชมพูตัวสีแดงเข้ม มักจะพบกับกุ้งที่มีความเครียดมากในบ่อที่มีคุณภาพน้ำเริ่มไม่ดีเช่นออกซิเจนอาจจะ
เริ่มต่ำหรือกุ้งหนาแน่นและสภาพในบ่อทั่วไปเริ่มไม่ดี
3. ตาจะมีสีซีดจาง ตามปกติเมื่อส่องไฟไฟโดนตากุ้ง จะเห็นตากุ้งเป็นสีแดง และกุ้งจะดีดตัวหนีออก แต่ถ้ากุ้งมีสีตา
ซีดจาง แสดงว่ากุ้งป่วย และจะไม่หนีถึงแม้จะส่องไฟนาน ๆ
4. กุ้งเกาะขอบบ่อมาก เป็นอาการเริ่มแรกของกุ้งที่กำลังจะขาดออกซิเจนถ้ายิ่งดึกกุ้งยิ่งเกาะขอบบ่อมากขึ้น และบาง
ส่วนจะเริ่มลอยบริเวณผิวน้ำ
     ลักษณะที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดสังเกตได้ไม่ยาก ผู้เลี้ยงกุ้งต้องสังเกตบ่อย ๆ เมื่อพบความผิดปกติก็สามารถแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ได้

Ake@A.Squares.Sanambinnam ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #12 เมื่อ: 27/08/09, [13:46:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความรู้แน่นปึกเลย
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #13 เมื่อ: 27/08/09, [13:54:09] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

dea02
อะ แบบนี้วันดีคืนดี กลับไปเจอว่าน้องกุ้งเค้ามีอาการผิดปกติ
ก้อ ต้องปล่อยเค้าไปหรอ คับ

ถ้าเป็นแบบคนก็ดีนา ที่ว่าเป็นหวัดก็ไปซื้อ ยาที่7-11 หรืออะไรก็ว่ากันไป
แย่จัง แบบนี้ถ้าเค้าเป็นอะไร คงต้องเอาน้องเค้ามา ย่างเกลือดีกว่า
อย่างน้อยก้ออิ่มท้องเรา ไม่เสียค่าไฟฟ้า

ออกแนวโหดแล้วซิตู
 cryingrun

  ก็พาเขาไปหาสัตว์แพทย์ หรือ ขอคำปรึกษาจากในเวบบอร์ดสัตว์แพทย์ซิครับ   036  จะปล่อยน้องกุ้งเขาไว้เฉยๆทำไมล่ะครับ

ถ้าอยากรักษาเขาจริงๆ เราต้องหาหนทางได้อยู่แล้วครับ ถึงอยู่ใกลกันก็ส่งน้องเขาใส่กล่องโฟม ส่ง EMS ไปถึงมือสัตว์แพทย์เลยก็ได้ครับ

อย่างน้อยแม้จะช่วยไม่ได้ ก็อาจจะรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งอาจจะเกิดโรคระบาดของกุ้งในที่เลี้ยงก็ได้นะครับ

ถ้าไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี เอากุ้งตัวใหม่มาเลี้ยงในที่เดิมๆ ก็อาจจะเจออาการป่วยแบบเดิมได้เช่นกันครับ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพวกไวรัส

ค่อนข้างจะอันตรายมากครับ



 ป.ล. ส่วนโรคกุ้งในเชิงพาณิชย์ หลายๆโรค ใช้เพียงการดูแลคุณภาพน้ำ แล้วให้กุ้งรักษาตัวเอง ก็สามารถที่จะหาย หรือ ลดอัตราการตายลงได้จริงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [14:03:11] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #14 เมื่อ: 27/08/09, [14:26:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 sho01

ผมว่าหาสัตว์แพทย์ ไม่แน่ใจว่าได้ผล งะ เท่าที่รู้ผมว่าเป็นประมงจะตรงมากกว่าพวกหมอหมานะ คับ

ส่วนขอคำปรึกษาจากในเวบบอร์ดสัตว์แพทย์ซิครับ   อันนี้ผมเข้าไม่เป็นขอทางเข้าหน่อยได้งะ

ส่วนโรคกุ้งในเชิงพาณิชย์ ที่เอาให้ได้ดูได้อ่านกันคงไม่ต่างกันอะคับ โรคที่กุ้งเราเลี้ยงกันอยู่ในตู้
เพราะกุ้งมันก็กุ้งอยู่ดี คงไม่มีแบบว่าวันนี้เป็นน้องกุ้งสีสดใส่พอลอกคราบออกกลายเป็นBatman อ่านะ

 nono1
fujinken ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #15 เมื่อ: 27/08/09, [14:29:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เอาน้องกุ้งไปร้านหมอหมาคงฮาน่าดู
shayez ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #16 เมื่อ: 27/08/09, [16:38:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เก็บเกี่ยวความรู้ [ปิ๊งๆๆ]
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #17 เมื่อ: 27/08/09, [17:20:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

sho01

ผมว่าหาสัตว์แพทย์ ไม่แน่ใจว่าได้ผล งะ เท่าที่รู้ผมว่าเป็นประมงจะตรงมากกว่าพวกหมอหมานะ คับ

ส่วนขอคำปรึกษาจากในเวบบอร์ดสัตว์แพทย์ซิครับ   อันนี้ผมเข้าไม่เป็นขอทางเข้าหน่อยได้งะ

ส่วนโรคกุ้งในเชิงพาณิชย์ ที่เอาให้ได้ดูได้อ่านกันคงไม่ต่างกันอะคับ โรคที่กุ้งเราเลี้ยงกันอยู่ในตู้
เพราะกุ้งมันก็กุ้งอยู่ดี คงไม่มีแบบว่าวันนี้เป็นน้องกุ้งสีสดใสพอลอกคราบออกกลายเป็นBatman อ่านะ

 nono1

 เบอร์ของสัตว์แพทย์ ที่รับดูแลโรคกุ้งด้วย จะมีอยู่เป็นกระทู้ปักหมุดครับ อย่าพาไปหาสัตว์แพทย์ที่รักษาโรคสุนัข - แมว

หรืออื่นๆนะครับ จะเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ
ส่วนกระทู้ให้คำปรึกษาโรคปลา + กุ้งของร้านปราณี  มี url ตามนี้ครับ

http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=13096.0

 แต่ถ้าจะให้เร็วขึ้นก็ติดต่อสัตว์แพทย์เลยก็จะเร็วกว่านะครับ หรือยังไงสนใจจะลองวินิจฉัยโรคเบื้องต้นดูเองจริงๆ ก็แวะมารับ document

ที่บ้านกระผมไป zerox ก็ได้นะครับ หรือจะหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคกุ้งนี่ แนะนำ ห้องสมุดประมง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นะครับจะมีเนื้อหาข้อมูล เกี่ยวกับโรคกุ้งต่างๆ เยอะมาก ถ้าสนใจก็ลองไปนั่งอ่านดูครับ ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม แต่ประการใด




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [17:32:20] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
sakadin ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #18 เมื่อ: 27/08/09, [17:42:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทำไมผมรุ้สึก บอร์ด นี้ มันเครียดจังครับ asspain

ท่านเจ้าของกระทู้อยากเรียน สัตวแพทย์ เหรอครับ ดีครับสนับสนุน จะได้ มีหมอประจำบอร์ด [เจ๋ง]

ว่าแล้วไปขอยืม ชีท ที่บ้าน พี่ดุ้กดิ้กไป ซีร็อก ได้ไหมครับ จะเอาไป พับจรวดเล่น 036 ล้อเล่นครับ ไม่โกรธกันน้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [17:46:26] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #19 เมื่อ: 27/08/09, [17:44:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทำไมผมรุ้สึก บอร์ด นี้ มันเครียดจังครับ asspain

ท่านเจ้าของกระทู้อยากเรียน สัตวแพทย์ เหรอครับ ดีครับสนับสนุน จะได้ มีหมอประจำบอร์ด [เจ๋ง]

ว่าแล้วไปขอยืม ชีสที่บ้าน พี่ดุ้กดิ้กไป ซีร็อค ได้ไหมครับ จะเอาไป พับจรวดเล่น 036 ล้อเล่นครับ ไม่โกรธกันน้า

 ถ้า zerox แล้ว จะเอาที่ zerox ไปหลับฟรี้ๆ ก็ไม่เป็นไรครับ ตังค์ของคนเอาไป zerox เอง  ้hahaha  ้hahaha  ้hahaha
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [17:47:00] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
แอล ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #20 เมื่อ: 27/08/09, [17:53:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรคจาก ปลาติดต่อไป กุ้งได้ไหม แล้วโรคจากหนอนแดงติดต่อไปกุ้งได้ไหม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/08/09, [18:00:41] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #21 เมื่อ: 27/08/09, [18:02:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรคจาก ปลาติดต่อไป กุ้งได้ไหม แล้วโรคจากหนอนแดงติดต่อไปกุ้งได้ไหม

 ถ้าจากหนอนแดง อาจจะติดพวกสารเคมีไปมากกว่าครับ เพราะพวกนี้บางแหล่ง ได้มาจากแหล่งน้ำเสื่อมโทรม

ที่อาจจะมีสารเคมีปนเปื้อนครับ ส่วนโรคของปลา ไม่น่าจะเกี่ยวกับกุ้งครับ ยกเว้นพวกปรสิต หรือ พยาธิ ที่มีส่วน

สัมพันธ์กัน เช่นกุ้งที่กินปลาที่มีพยาธิเข้าไป เป็นต้นครับ
Tao ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #22 เมื่อ: 27/08/09, [19:10:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บอร์ดนี้ความรู้แน่นจริงๆ [เจ๋ง]
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #23 เมื่อ: 28/08/09, [10:42:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เบอร์ของสัตว์แพทย์ ที่รับดูแลโรคกุ้งด้วย จะมีอยู่เป็นกระทู้ปักหมุดครับ อย่าพาไปหาสัตว์แพทย์ที่รักษาโรคสุนัข - แมว

หรืออื่นๆนะครับ จะเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ
ส่วนกระทู้ให้คำปรึกษาโรคปลา + กุ้งของร้านปราณี  มี url ตามนี้ครับ

http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=13096.0

 แต่ถ้าจะให้เร็วขึ้นก็ติดต่อสัตว์แพทย์เลยก็จะเร็วกว่านะครับ หรือยังไงสนใจจะลองวินิจฉัยโรคเบื้องต้นดูเองจริงๆ ก็แวะมารับ document

ที่บ้านกระผมไป zerox ก็ได้นะครับ หรือจะหาข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโรคกุ้งนี่ แนะนำ ห้องสมุดประมง คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นะครับจะมีเนื้อหาข้อมูล เกี่ยวกับโรคกุ้งต่างๆ เยอะมาก ถ้าสนใจก็ลองไปนั่งอ่านดูครับ ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าชม แต่ประการใด





lau01

ขอบคุณมากคับ ที่ให้เบอร์และเส้นทางการติดต่อ และแนวทางการต่างๆ
แต่จากที่ไปลองหาข้อมูลดู ค่ารักษามันยาก หรือไม่ก็แพงกว่าราคาตัวกุ้ง
ตัวอย่าง

กุ้งไบร์ทราคาตัวละ 80-1,000 ตามขนาดตั้งแต่ 1.5นิ้ว-7นิ้ว(เป็นราคาที่สวนจตุจักรเท่าเคยเห็นนะ)
คิดดูเล่นๆนะถ้ากุ้งป่วยขึ้นมา มี 2 ทางเลือก ส่งไปรักษากับ รักษาเอง  แน่นอนการรักษาราคาย่อมถูกกว่าถ้าเราทำได้
เพราะว่าถ้าเลือกน้องกุ้งไปรักษาอย่างแรกที่จะต้องเสียคือ ค่าน้ำมัน หรือ  ค่าขนส่ง ค่าวิชาหมอ จากที่พูดมาก็พอจะเห็น
ได้แล้วว่า การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าตัวของน้องกุ้งอีก

แต่นั่นมันก็ในมุมมองของผม เพราะฉะนั้นและฉะนี้ ผมจึงถามถึงการรักษาที่เราสามารถทำได้เองและราคาไม่แพง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/08/09, [11:09:44] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
slayer ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #24 เมื่อ: 28/08/09, [11:11:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ้...ความรู้มากมายเลย emb01 ดีครับมีผู้สงสัยแล้วถาม ช่วยให้ผู้อื่นได้ความรู้ไปด้วย  lau01 ขอบคูณครับ
ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม ออฟไลน์
Shrimp Admin
« ตอบ #25 เมื่อ: 28/08/09, [11:17:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

lau01

ขอบคุณมากคับ ที่ให้เบอร์และเส้นทางการติดต่อ และแนวทางการต่างๆ
แต่จากที่ไปลองหาข้อมูลดู ค่ารักษามันยาก หรือไม่ก็แพงกว่าราคาตัวกุ้ง
ตัวอย่าง

กุ้งไบร์ทราคาตัวละ 80-1,000 ตามขนาดตั้งแต่ 1.5นิ้ว-7นิ้ว(เป็นราคาที่สวนจตุจักรเท่าเคยเห็นนะ)
คิดดูเล่นๆนะถ้ากุ้งป่วยขึ้นมา มี 2 ทางเลือก ส่งไปรักษากับ รักษาเอง  แน่นอนการรักษาราคาย่อมถูกกว่าถ้าเราทำได้
เพราะว่าถ้าเลือกน้องกุ้งไปรักษาอย่างแรกที่จะต้องเสียคือ ค่าน้ำมัน หรือ  ค่าขนส่ง ค่าวิชาหมอ จากที่พูดมาก็พอจะเห็น
ได้แล้วว่า การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าตัวของน้องกุ้งอีก

แต่นั่นมันก็ในมุมมองของผม เพราะฉะนั้นและฉะนี้ ผมจึงถามถึงการรักษาที่เราสามารถทำได้เองและราคาไม่แพง

 ถ้าเห็นว่าค่ารักษาพยาบาล มีราคาสูง เกินกำลังจะนำกุ้งไปรักษา ก็ขอแนะนำให้ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน และ ดูแลระบบในการเลี้ยง

ของเราให้สะอาด น้ำมีคุณภาพดี ไม่มีของเสียตกค้าง ถ้าเป็นบ่อเลี้ยง หรือ บ่อปูน มีโอกาศก็ตากแดด ผึ่งให้บ่อแห้ง ใส่ด่างทับทิม

ฆ่าเชื้อโรคบ้าง 2 - 3 เดือนครั้ง และดูแลการให้อาหารอย่างถูกวิธี แค่นี้ก็ป้องกันได้สารพัดโรคแล้วครับ แล้วก่อนจะนำสมาชิกใหม่

มาลง ก็ให้ลองกักโรค แยกดูอาการไว้ซักระยะหนึ่งก่อน ถ้ากุ้งที่มาใหม่ไม่ป่วย ค่อยเอามาลงครับ ส่วนเรื่องโรคแผลไหม้ ถ้าทำได้

ตามขั้นตอนด้านบน ก็คงไม่มีอาการโรคแบบนั้นมาย่างกรายแล้วล่ะครับ เพราะถ้ารอให้ป่วยก่อน แล้วค่อยมาถามว่ามันเป็นเชื้อตัวใหน

ยังไงแล้วมาตามแก้ คงเป็นเรื่องยากลำบากแน่ๆครับ


  ป.ล. ลองศึกษาเกี่ยวกับพวกการทำระบบกรองของเสีย ทั้งแบบชีวภาพ และ แบบกล สำหรับการเลี้ยงปลาทอง หรือ ปลาคาร์ฟ ดูนะครับ

สามารถนำเอาความรู้มาดัดแปลงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของเสียในระบบได้ดีทีเดียว โดยผู้รู้หลายๆท่าน ก็สามารถ

สร้างระบบบำบัดของเสียที่ดีได้ โดยไม่ต้องใช้วัสดุราคาแพง ก็มีครับ อันว่าถ้า " เลี้ยงน้ำ " ได้ดีแล้ว กุ้งหรือปลา หรือสัตว์น้ำอะไรก็ตาม

จะมีสุขภาพดีและแข็งแรงแน่นอนครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/08/09, [11:20:10] โดย ดุ๊กดิ๊กฮารูปิ๊ & ฉึ่งแมวส้ม »
artofwars ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #26 เมื่อ: 28/08/09, [16:54:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 smoking
ถ้าเห็นว่าค่ารักษาพยาบาล มีราคาสูง เกินกำลังจะนำกุ้งไปรักษา ก็ขอแนะนำให้ เริ่มตั้งแต่การป้องกัน และ ดูแลระบบในการเลี้ยง

ของเราให้สะอาด น้ำมีคุณภาพดี ไม่มีของเสียตกค้าง ถ้าเป็นบ่อเลี้ยง หรือ บ่อปูน มีโอกาศก็ตากแดด ผึ่งให้บ่อแห้ง ใส่ด่างทับทิม

ฆ่าเชื้อโรคบ้าง 2 - 3 เดือนครั้ง และดูแลการให้อาหารอย่างถูกวิธี แค่นี้ก็ป้องกันได้สารพัดโรคแล้วครับ แล้วก่อนจะนำสมาชิกใหม่

มาลง ก็ให้ลองกักโรค แยกดูอาการไว้ซักระยะหนึ่งก่อน ถ้ากุ้งที่มาใหม่ไม่ป่วย ค่อยเอามาลงครับ ส่วนเรื่องโรคแผลไหม้ ถ้าทำได้

ตามขั้นตอนด้านบน ก็คงไม่มีอาการโรคแบบนั้นมาย่างกรายแล้วล่ะครับ เพราะถ้ารอให้ป่วยก่อน แล้วค่อยมาถามว่ามันเป็นเชื้อตัวใหน

ยังไงแล้วมาตามแก้ คงเป็นเรื่องยากลำบากแน่ๆครับ


  ป.ล. ลองศึกษาเกี่ยวกับพวกการทำระบบกรองของเสีย ทั้งแบบชีวภาพ และ แบบกล สำหรับการเลี้ยงปลาทอง หรือ ปลาคาร์ฟ ดูนะครับ

สามารถนำเอาความรู้มาดัดแปลงเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของเสียในระบบได้ดีทีเดียว โดยผู้รู้หลายๆท่าน ก็สามารถ

สร้างระบบบำบัดของเสียที่ดีได้ โดยไม่ต้องใช้วัสดุราคาแพง ก็มีครับ อันว่าถ้า " เลี้ยงน้ำ " ได้ดีแล้ว กุ้งหรือปลา หรือสัตว์น้ำอะไรก็ตาม

จะมีสุขภาพดีและแข็งแรงแน่นอนครับ

เห็นด้วยคับว่าการป้องกัน ดีกว่าการรักษา
เพราะว่าจะที่ไปออกเดินทางไปหาข้อมูลมาแนวทางการรักษานั่นแพง และ อัตราการรอดยังต่ำอยู่
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: