Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1 2 3 4   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ตะไคร่เจ้าปัญหา  (อ่าน 84089 ครั้ง)
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #30 เมื่อ: 21/05/09, [19:52:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พอมาอ่านดีๆแล้ว รู้สึกว่ามันยากเกินกว่าพวกโง่ๆอย่างผมจะเข้าใจแฮะ

แต่เคยมีอยู่ตู้นึง เป็นตู้พักต้นไม้ พักปลา 24 นิ้ว ไม่มี CO2 มีต้นอะไรเหลือเอาไปโยนๆใว้ กรองแขวนตัวนึง ไฟอีก36 วัตต์

เอาใบหูกวางไปหมักด้วย น้ำออกเหลืองๆหน่อย สังเกตุุว่าต้นไม้ก็พออยู่รอด  ยิ่งพวกเฟิร์น มอส พิเลีย งอกงามอีกตะหาก

ที่สำคัญ ตะไคร่ ไม่มีเลย เอามาจากตู้อื่นนี่ รากดำมีขนดำติดใบติดไรโซมแบบรึ่มๆ เอามาใส่ ซัก1อาทิตย์ หายเกลี้ยง

ไม่ได้มีปลากินตะไคร่ด้วย  ก็เลยสรุปได้ว่า การที่แสงไม่มาก น้ำหมักๆหน่อย ตะไคร่อยู่ไม่ได้ตายเรียบ

ตู้หลังๆมาก็เลยพยายามเลียนแบบตู้พักต้นไม้นี้ คือช่วงแรกๆพยายามไม่เปิดไฟเยอะเอาพอให้ต้นไม้อยู่ได้ ใส่ใบหูกวางลงไปในกรอง

หน่อย ก็ค่อนข้างได้ผลดี รอจนต้นไม่สมบูรณ์ขึ้น เอาใบหูกวางออก เปลี่ยนน้ำ เปิดไฟเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่เจอขนดำอีกเลย เจอเขียวจุดนิดหน่อย



อีกแบบนึงก็คือไฟแรงๆ แต่ต้นไม้สมบูรณ์จัดๆ ไม่มีตะไคร่ให้เห็นเช่นกัน มีแค่ช่วงแรกๆ ตามทฤษฎีเป๊ะๆ

http://i192.photobucket.com/albums/z300/championchampies/DSC_2220blacke.jpg

ที่อ่านมาที่ Tom Barr ตอบนะครับ ถ้าจะแยกประเภทตู้จากงบประมาณ ไม่ใช่ทฤษฎี มันก็จะแยกได้สองแบบ คือตู้โลว์เทค กับตู้ไฮเทค


ตู้โลว์เทค

ไฟน้อย ไม่มี CO2 ไม่อัดปุ๋ย—ใส่แต่ตอนแรกเท่านั้น ตอนหลังใช้ขี้ปลาที่สะสมแทน ตะไคร่น้อยเพราะแสงน้อย
CO2 ไม่ต้อง เพราะแสงทำให้ต้องการอาหารน้อย ส่งผลให้ไม่ต้องอัดปุ๋ย (ปลาต้องไม่มากเกินด้วยนะ)

ต้นไม้โตไม่เร็ว น้ำไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย (Tom Barr บอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำเลยด้วยซ้ำถ้าสมดุลย์จริงๆ
แค่เติมน้ำที่ระเหยไปก็พอ) เป็นตู้ที่ดูแลง่าย

ตู้ไฮเทค

ก็อย่างที่เราชินกัน มี CO2 อัดปุ๋ย อัดแสง ฯลฯ

ต้นไม้โตเร็ว เปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์ ดูแลเหนื่อยหน่อย แต่ตื่นเต้นดี เหมือนขับรถเร็วๆ
ถ้าเจออะไรขวางทางแล้วหลบไม่ทันก็คว่ำไปเลย (ตะไคร่มา)

ที่ว่าทั้งสองตู้นี้ใช้คอนเซ็ปท์เดียวกันก็คือ ความสมดุลย์ในการใช้สารอาหาร (โดยเฉพาะ NH4) ของพืช
ในสภาพต่างๆ (แสงมากแสง/น้อย, มี CO2/ไม่มี) แต่เราเข้าใจผิดว่าใช้คนละแนวทางเพราะไปยึดรูปแบบภายนอก

เขายังเคยบอกเวลามีคนบอกว่า แนวความคิด EI ขัดแย้งกับ ADA ซึ่งเขาตอบว่า โดยทั่วไปแล้ว คนที่คิดว่า
มันขัดแย้งมักจะเป็นคนที่ไม่รู้ ส่วนคนที่รู้ก็จะคิดเหมือนๆ กันน่ะแหละ (ทำนองว่า เวลามีสองลัทธิ
ทะเลาะกันในแนวความคิด คนที่ทะเลาะกันมักจะเป็นลูกศิษย์ แต่พอหัวหน้าลัทธิทั้งสองมาเจอกัน
ปรากฎว่าคุยกันถูกคอ เพราะแท้จริงแล้ว หัวหน้าทั้งสองคิดเหมือนกัน—ในวงเล็บนี้ผมเสริมขึ้นมาเองนะ
Tom Barr ไม่ได้พูด)



อีกอย่างนึงที่ผมอ่านเจอและคิดว่าสำคัญ เพราะเห็นหลายตู้ในนี้ ที่ระยะแรกไม่มีตะไคร่ แต่พอผ่านไป
หลายๆ เดือนตะไคร่รึ่มทั้งที่ใส่ปุ๋ยเหมือนเดิม ผมว่าเป็นเพราะขี้ปลาสะสมใน Substrate ครับ เรื่องนี้ Tom Barr
ให้ความสำคัญเหมือนกัน

ขี้ปลาสะสมใน Substrate จึงเป็นแหล่งหนึ่งของ NH4

[ขอตัดเรื่อง Redox ออกไป เพราะผมกลัวว่าตัวเองจะตีความผิด]

สรุปแล้วผมว่า EI โดยแก่นของมันแล้วไม่ซับซ้อน คือ อัดปุ๋ยที่ไม่ใช่ NH4 ได้ ไม่ให้พืชขาดอาหาร
หรือถูกจำกัดการเติบโตด้วยสารอาหาร แต่อย่ามากเกินไปจนสิ่งมีชีวิตในตู้เดือดร้อน และหาทาง
จำกัดปริมาณ NH4 ที่พืชใช้ไม่หมด ส่วนใครจะทำยังไงในการจำกัดปริมาณ NH4 นั้นก็ขึ้นอยู่กับ
ประสบการณ์และวิธีที่แต่ละคนจะคิดขึ้นมาเอง (เพิ่ม CO2 ให้พืชดึงมันไปใช้ได้มากขึ้น,
หรือถ้าตู้มีสารอาหารสำหรับพืชน้อย ก็อย่าใช้ CO2 และลดแสงด้วย เพื่อไม่ให้พืชอ่อนแอ
จากการถูกบังคับให้โตโดยไม่มีสารอาหาร ฯลฯ)

ตรงนี้แหละที่ผมคิดว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องอาศัยประสบการณ์ เป็นสิ่งที่แยกสิ่งที่มือเก๋าๆ ออกจากมือใหม่
ทำตามวิธีในคู่มือแล้วก็ยังมีตะไคร่—ก็เพราะแต่ละตู้ไม่เหมือนกันจะให้ใช้วิธีเดียวกันได้ยังไง

แต่สิ่งที่อยู่เหนือวิธีการคือ แนวคิดครับ ทำนองว่าแนวคิดหนึ่งๆ สามารถทำได้โดยใช้วิธีการที่ไม่เหมือนกัน

ปล. ที่เขียนมานี้ ส่วนใหญ่ในนี้เป็นการสรุปและเรียบเรียงจากที่ตามอ่านคำตอบของตา Tom Barr ในเว็บบอร์ดต่างๆ
บางส่วนเป็นความคิดเห็นของผมที่มีต่อแนวคิด EI ไม่ใช่ประสบการณ์ของผมนะ (เพราะยังมีน้อย)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21/05/09, [20:24:21] โดย NP »
Django ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #31 เมื่อ: 21/05/09, [21:15:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  ขอบคุณหลายๆครับ ตามไปเรื่อยๆก็พอจะเข้าใจพอสมควร ส่วนใหนที่งงคงต้องอาศัยประสบการณ์ช่วยสอนให้อีกที ว่าแต่คำศัพท์ที่ย่อชื่อเฉพาะขององค์ประกอบเคมีต่างๆเนี่ย ช่วยแปลให้ด้วยได้มั้ยครับ รู้จักแต่ว่าไม่ครบทุกตัว เรียนศิลปะมาน่ะครับ ไม่เคยเรียนไอ้พวกนี้เลย ที่ผ่านๆมาก็ครูพักลักจำทั้งนั้น เผื่อใครมาอ่านจะได้เข้าใจเคลียร์ๆไปเลยครับ ช่วยหน่อยนะครับ [เขิลลลล]
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #32 เมื่อ: 22/05/09, [00:25:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตัวย่อไหนครับที่ไม่เข้าใจ คิดว่าในนี้มีสองตัวมั้งที่ยังไม่ใส่วงเล็บอธิบาย: FE, NH4

เอาแบบคร่าวๆ (เพราะผมก็ไม่ได้รู้เรื่องเคมีหรอก)

FE = เหล็ก ส่วน FE2 FE3+ อะไรนี่ ผมไม่รู้ซื้งหรอก เห็นมันมีพลิกแพลงไปมา
บางรูปแบบต้นไม้เอาไปใช้ไม่ได้ ต้องอาศัยแบคทีเรียช่วย แต่รวมๆ คือ...เหล็ก  hide2

NH4 (ถ้าจะเขียนให้ถูกต้องจริงๆ จะเป็น NH4+ คือแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำที่มีค่า PH ตั้งแต่
7 ลงไป แต่ถ้าอยู่ในน้ำที่มี PH มากกว่า 7.5 ก็จะเริ่มกลายเป็น NH3 (ไม่ยักมีเครื่องหมายบวกนิ)
แล้วถ้าอยู่ระหว่าง 7-7.5 ล่ะ...ไม่รู้ สงสัยคงมีอย่างละครึ่งมั้ง ซึ่งเจ้า NH3 (ขอพิมพ์ธรรมดานะ) นี่
เป็นอันตรายกับปลามากกว่า NH4

แอมโมเนียประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน (N) กับไฮโดรเจน (H) ตัว N ในแอมโมเนียก็
คือหนึ่งในตัวย่ออาหารหลักของต้นไม้ N, P, K (ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปแตสเซียม)

ปุ๋ยโปแตสเซียมเดี่ยวๆ ที่นิยมใช้กับไม้น้ำก็มี K2SO4 (โปแตสเซียมซัลเฟต) กับ
KCl (โปแตสเซียมคลอไรด์)

ผมเริ่มใส่โปแตสเซียม โดยใช้ Balance-K ของ Ferka ตอนหลังหันมาใช้ K2SO4 ผสมน้ำ
แทน เพราะถูกกว่า และกะปริมาณได้แม่นกว่า (เพราะของเดิมไม่รู้ว่าเหยาะลงไปพอแล้วยัง)
เห็นผลกับแฮร์กลาสธรรมดาแบบทันตายาวขึ้นเกือบสี่น้ิวในห้าวัน รู้สึกเห่อมาก เลยติดใจ

ปุ๋ยไนเตรท (ไนโตรเจน) เดี่ยวๆ ที่ใช้กับไม้น้ำนี่ ผมไม่เห็นว่ามีใครในแนว EI ใช้กัน
(ก็ไม่รู้ว่าที่เป็นขวดปุ๋ยน้ำไนโตรเจนที่เขาขายกันนั้นคืออะไร) มีแต่ใช้ KNO3
(โปแตสเซียมไนเตรท) ซึ่งมีทั้งไนเตรทและโปแตสเซียมใครใช้ KNO3 เยอะๆ
ก็ไม่ต้องใช้ K2SO4 แต่ตู้ผมมีไนเตรทเยอะอยู่แล้ว (จากการย่อยสลายขี้ปลา)
ก็เลยใช้ K2SO4 มากกว่าจะใส่ KNO3 ก็เฉพาะตอนเปลี่ยนน้ำ (เพราะพอวันต่อๆ มา
ก็จะมีไนเตรทเพิ่มขึ้นมาเองจากขี้ปลา ปลาในตู้เยอะเกิน  hide2 )

KH2PO4 โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต มีทั้งโปแตสเซียมและฟอสเฟต

เหตุที่ปุ๋ยธาตุหลัก (NPK) ที่ใช้มีโปแตสเซียมกันทุกตัวก็เพราะ มันเป็นธาตุอาหาร
ที่โอเวอร์โดสได้ยาก คือ ใส่เยอะไปก็ไม่ค่อยเป็นอันตราย ทั้งกับปลาและไม้น้ำ
ยกเว้นกรณีที่มากเกินไปจริงๆ จะทำให้พืชดูดแคลเซียมไปใช้ได้ไม่ดี

ตู้ผมใส่ MgSO4 (แมกนีเซียมซัลเฟต) กับ CaSO4 (แคลเซียมซัลเฟต) ด้วย เพราะน้ำอ่อนเกินไป
(ไม่เคยเจอคราบหินปูนในห้องน้ำเลย วัดค่า GH ดูแล้วก็ต่ำจริงๆ) และดูต้นเทปใบหงิกๆ (เป็นมาตั้งแต่เริ่มปลูก
เมื่อปีที่แล้ว) ซึ่งเป็นอาการขาดแคลเซียม (เป็นก่อนผมจะใส่โปแตสเซียม) ทั้งที่อัดปุ๋ยธาตุรอง (Ferka Aquatilizer)
วันละ 4 ซีซี (ตู้ 24") กับ Ferka Rosetta (ออสโมโค้ทด้วย) แล้วก็ยังไม่หาย
ตอนนี้กำลังรอดูผลว่ายอดใหม่มันหายหงิกหรือเปล่า เพิ่งใส่ MgSO4 กับ CaSO4 ได้ไม่ถึงอาทิตย์เอง [เขิลลลล]


ไหนบอกว่า EI ไม่ต้องใช้ตัวเทสต์?

นายทอมบอกว่า ในคอนเซ็ปท์การให้ปุ๋ยแบบอื่น (PMDD กับ PPS Pro) เนี่ย เขาเน้นการใช้
ตัวเทสต์เพื่อป้องกันไม่ให้มีปุ๋ยเกิน

แต่ EI นี่ ไม่กลัวปุ๋ยเกิน เพราะไม่เชื่อว่าปุ๋ยเกินทำให้เกิดตะไคร่ และอาศัยการเปลี่ยนน้ำทุกอาทิตย์
ตัดยอดสะสมของปุ๋ย โดยก่อนเริ่มให้ปุ๋ยก็ให้ถามสเปคน้ำจากการประปาท้องถิ่นครับ
(แต่บ้านเราไม่รู้ขอได้หรือเปล่า) น้ำประปาบางแห่งมีไนเตรท,แคลเซียม, แมกนีเซียมอยู่แล้ว
เลยไม่จำเป็นต้องโดสพวกนี้ให้เปลือง (ส่วนไนเตรทถ้าเยอะเกินปลาจะเครียด) 
จึงไม่จำเป็นต้องมีตัวเทสต์ (แต่มีไว้ก็ดี—อันนี้ตาทอมพูดปิดท้ายนะ ้hahaha )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22/05/09, [01:27:18] โดย NP »
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #33 เมื่อ: 22/05/09, [01:51:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



เทเนลุสของผมเมื่อก่อนเจอขนดำเคลือบทุกใบจนไม่โต แต่พอเอาวิปเทลมาใส่
ปรากฎว่ามันกินหน้าตาเฉยจนบางใบสะอาดขึ้นเยอะ ไม่ยักรู้ว่ามันกิน
คิดว่ามีแต่เล็บมือนางที่กินตะไคร่ชนิดนี้




แล้วเทเนลุสก็โตดีขึ้นทันตา แตกต้นใหม่จนกลัวว่าจะไม่มีที่เหลือให้ปลาแพะคุ้ย
(พอดีช่วงนั้นเริ่มเลิกลดปุ๋ย หันมาเพิ่มปุ่ยแทนด้วย ก็เลยไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะ
ปลาหรือปุ๋ยที่ช่วย หรือเพราะสองอย่าง) จากรูป ใบเก่าที่อยู่ล่างๆ จะเห็นมี
ตะไคร่ขนดำเหลือติดอยู่นิดหน่อยตรงใต้ใบกับปลายใบ (มีตะไคร่จุดเขียวขึ้นแทน
แต่ก็โอเค รับได้ ดูไม่น่าเกลียดเท่า) เหตุที่มีมันอยู่ใต้ใบด้วย เพราะตอนอาการหนัก
ใบมันม้วนบิดเป็นริบบิ้นดำๆ หงิกๆ เลยถูกแสงทั้งล่างและบน)

ยังไม่กล้าให้ดูทั้งตู้นะครับ อาย [เขิลลลล]

Revenge ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #34 เมื่อ: 22/05/09, [04:51:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เฮ๊ย!!~ น้าๆ แนะนำตระกรับหน้าแดง กินกระจายเลยขอบอก
ตู้หมอแคระ ตอนแรกว่าจะรื้อทิ้งแล้ว ตะใคร่เขียวเอย ตะใคร่ขนดำเอย เต็มตู้ไปหมด
แต่พอเอาตระกรับหน้าแดงลง คืนเดียวเท่านั้นละ เห็นผลทันตาเลย

ปล. ถ้าจะไปซื้อ เผื่อด้วยสองหน่วย :P
มาเอาไปทีที่ร้านอดอยากมากๆตะไคร่ขาดแคลน
Revenge ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #35 เมื่อ: 22/05/09, [04:54:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ปล.สำหรับตู้เล็กๆเช่น 14 นิ้วใส่ยามาโต๊ะหิวซัก 30 เช้ามาเกลี้ยง
มัจฉาเพลินสุรา <ได้เวลารุก> ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #36 เมื่อ: 22/05/09, [10:07:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อายอ่ะ   emb01  คนเลี้ยงมา 5 เดือน ความรู้ดีกว่า เลี้ยงมา 4 ปีอีก เป็นกระทู้ที่เยี่ยมมาก  [เจ๋ง]
SaHaRa ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #37 เมื่อ: 22/05/09, [10:29:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตะไคร่เนี่ยเท่าที่สังเกตุดู

มันเกิดมาจากความใคร่ส่วนหนึ่งด้วย

แล้วความใคร่มันก็พัวพันไปถึงเจ้าขนดำนี่หละ
Django ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #38 เมื่อ: 22/05/09, [12:07:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  อืมม์ สรุปว่าการไม่ลดปุ๋ยนี่ก็เป็นอีกรูปแบบนึงที่น่าทดลองเนอะ เพราะมันอาจจะเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาจริงๆก็ได้ ถ้าต้นไม้ขาดอาหารแล้วสุขภาพไม่ดีพอก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ตะไคร่เจริญเติบโตได้ดี ส่วนเกินของปุ๋ยต่างๆก็อาศัยเปลี่ยนนำช่วยเอากับหาหน่อยเล็มตะไคร่ ว่าแต่เจ้าวิปเทลนี่น่าสนแฮะ ชื่อเต็มๆของมันชื่ออะไรครับ แล้วจะลองหามาเลี้ยงมั่งนี่ไม่ทราบว่าหาได้ที่ร้านใหนมั่งเอ่ย hide2
และก็คำถามต่อไปเลยนะจะได้ไม่เปลืองกระทู้ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในนำควรมีบริมาณเท่าไหร่ครับ ถ้าต้นไม่มาก เพราะกะไม่ถูกครับ ปลาเยอะด้วย แถมระบบกรองก็เป็นระบบกรองตู้ล่างที่ใช้กับปลาทะเลน่ะ เท่าที่ทราบระบบนี้จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับนำในปริมาณมาก นั่นแปลว่าระบบบำบัดนำก็จะช่วยไล่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ระเหยออกจากนำเร็วขึ้นด้วยไช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นใน Case ของผมคงจะกะเอาว่ากี่หยดต่อวินาทีเหมือนคนอื่นเค้าไม่ได้มั้ง อยากวัดดูให้ชัวร์ครับ เท่าที่สังเกตดูต้นไม้ประเภทไม้ข้อเช่นลัดวิเจียคิวบา เพิลวีด นำตาเทียนก็เจริญเติบโตได้ดียกเว้นโรทาล่าซึ่งก็อยู่ในตู้เดียวกันและภายใต้องค์ประกอบเดียวกันทั้งหมด ไม่มีอะไรไปบังแสงหรือแย่งปัจจัยอื่นๆจากมันเลย และเราจะวัดได้จากอะไร ทาง PH หรือหาชุดทดสอบความเข้มข้นของคาร์บอนโดยตรงมาใช้เลยครับ [เขิลลลล]
Mr.F ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #39 เมื่อ: 22/05/09, [12:52:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตะไคร่เนี่ยเท่าที่สังเกตุดู

มันเกิดมาจากความใคร่ส่วนหนึ่งด้วย

แล้วความใคร่มันก็พัวพันไปถึงเจ้าขนดำนี่หละ

 sho01 ทำไมของผมมันไม่เห็นมีเลย
สงสัยอายุไม่ถึง  ้hahaha
Champies ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #40 เมื่อ: 22/05/09, [19:59:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ




บทความเจ๋งดีครับ ดีมากๆ รายละเอียดเยอะและลึกมากๆ  ใช้อ้างอิงได้ดีเลย  [เจ๋ง]

แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจแฮะ ขนาดเรียนวิทย์มานะเนี่ย สงสัยยากเกิน และดูเหมือนว่ามันลำบากชีวิตมากเกินไปสำหรับผม

ส่วนใหญ่ผมจะยึดหลักของ จารจุ่นอ่ะครับ แบบบ้านๆ โลเทคๆ

คือพยายามระวังไม่ให้ตะไคร่ขึ้นแต่แรก โดยอาศัยประสบกาณ์ อาศัยการเปลี่ยนน้ำ ใสปุ๋ย ฝังปุ๋ย ให้ถูกต้อง

แต่ถ้าตะไคร่ขึ้นมาแล้ว ก็ปล่อยมันไป ลงสัตว์กินตะไคร่ไปควบคุมหน่อย แต่ก็กำจัดไม่หมดซะทีเดียวหรอก

จากนั้นกะเวลาดีๆ ใส่ยาฆ่าตะไคร่ แล้วค่อยลงต้นไม้ที่แพ้ยาฆ่าตะไคร่ทีหลัง หลังจากตะไคร่หายไปหมดแล้ว

ยกตู้ไปประกวด ได้รางวัลที่ 1  กลับมาก็ดูแลนิดหน่อยเพราะต้นไม้อยู่ตัวแล้วตะไคร่ไม่ค่อยมี พอเสื่อโทรมหรือเบื่อก็รื้อ

จัดใหม่รอประกวดงานหน้า นี่แหละ STEP ของจารจุ่น   

ถ้าอยากรู้ STEP แบบละเอียด การเปลี่ยนน้ำ ใส่ปุ๋ย รวมทั้งการใส่ยาฆ่าตะไคร่ เดี๋ยวผมจะไปสัมภาษณ์มาลงให้อย่างละเอียดทีหลังครับ

แกบอกมาหลายทีแล้วหล่่ะ แต่ไม่ได้จดใว้ ลืม  n032
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22/05/09, [20:13:49] โดย Champies »
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #41 เมื่อ: 22/05/09, [21:35:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  อืมม์ สรุปว่าการไม่ลดปุ๋ยนี่ก็เป็นอีกรูปแบบนึงที่น่าทดลองเนอะ เพราะมันอาจจะเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาจริงๆก็ได้ ถ้าต้นไม้ขาดอาหารแล้วสุขภาพไม่ดีพอก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ตะไคร่เจริญเติบโตได้ดี ส่วนเกินของปุ๋ยต่างๆก็อาศัยเปลี่ยนนำช่วยเอากับหาหน่อยเล็มตะไคร่ ว่าแต่เจ้าวิปเทลนี่น่าสนแฮะ ชื่อเต็มๆของมันชื่ออะไรครับ แล้วจะลองหามาเลี้ยงมั่งนี่ไม่ทราบว่าหาได้ที่ร้านใหนมั่งเอ่ย hide2

วิปเทล (Whiptail) ผมคือ ตัวนี้อะครับ บ้านเราชอบเรียกว่าวิปเทล แต่บางร้านเรียกผิดเป็นพานาเม้นส์
http://www.planetcatfish.com/catelog/species.php?species_id=747

แต่ผมว่าไม่น่าจะเหมาะกับตู้คุณนะ เพราะมันชอบหม่ำยอดน้ำตาเทียน (หม่ำยอดน้ำตาเทียนผมบ่อย
เหมือนกัน) กลัวคุณจะเกลียดขี้หน้ามันเหมือนตะกรับหน้าแดง hide2


อ้างถึง
และก็คำถามต่อไปเลยนะจะได้ไม่เปลืองกระทู้ ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในนำควรมีบริมาณเท่าไหร่ครับ ถ้าต้นไม่มาก เพราะกะไม่ถูกครับ ปลาเยอะด้วย แถมระบบกรองก็เป็นระบบกรองตู้ล่างที่ใช้กับปลาทะเลน่ะ เท่าที่ทราบระบบนี้จะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับนำในปริมาณมาก นั่นแปลว่าระบบบำบัดนำก็จะช่วยไล่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ระเหยออกจากนำเร็วขึ้นด้วยไช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นใน Case ของผมคงจะกะเอาว่ากี่หยดต่อวินาทีเหมือนคนอื่นเค้าไม่ได้มั้ง อยากวัดดูให้ชัวร์ครับ เท่าที่สังเกตดูต้นไม้ประเภทไม้ข้อเช่นลัดวิเจียคิวบา เพิลวีด นำตาเทียนก็เจริญเติบโตได้ดียกเว้นโรทาล่าซึ่งก็อยู่ในตู้เดียวกันและภายใต้องค์ประกอบเดียวกันทั้งหมด ไม่มีอะไรไปบังแสงหรือแย่งปัจจัยอื่นๆจากมันเลย และเราจะวัดได้จากอะไร ทาง PH หรือหาชุดทดสอบความเข้มข้นของคาร์บอนโดยตรงมาใช้เลยครับ [เขิลลลล]

ระดับ CO2 ตามสูตรนายทอม เขาว่าประมาณ 30PPM วิธีวัดดีที่สุดคือใช้ Drop Checker
วัดโดยดูจากสีของน้ำยาในนั้นครับว่าได้แล้วยัง

เผื่อคุณยังไม่รู้ว่าเขาวัด CO2 กันยังไง ไอ้ที่เราใช้ๆ กันอยู่นี่มันไม่ได้วัดปริมาณ CO2 ตรงๆ หรอก
แต่วัดจากทางอ้อม ก็แบบรู้ๆ กันอยู่ว่า CO2 มันทำให้ PH ในน้ำต่ำลง ทีนี้น้ำยาวัด CO2 มันก็เลยวัดโดย
ดูจากความเปลี่ยนแปลงของค่า PH ในน้ำยาแทน

อ้อ มีตัวแปรอีกอย่างที่มีผลต่อค่า PH ในน้ำ ซึ่งนั่นก็คือ ค่า KH (Carbonate Hardness) น้ำบ้านไหนที่มี
ค่า KH สูงๆ ค่า PH ก็จะสูงกว่าน้ำของบ้านที่มีค่า KH ต่ำๆ แม้ว่าปริมาณ CO2 ในน้ำของทั้งสองบ้านจะ
เท่ากันก็ตาม ก็ตรงนี้แหละที่ทำให้เรานิยมใช้ Drop Checker กัน

อะไรคือ Drop Checker?


มันก็คือวัตถุหน้าตาคล้ายลิ้นไก่งอๆ บรรจุน้ำยาอยู่ข้างใน โดยรูปร่างของมันทำให้น้ำในตู้ไม่สามารถ
เข้าไปปนกับน้ำยาข้างในได้ เพื่อตัดตัวแปรเรื่อง KH ของน้ำในตู้แต่ละบ้านที่ไม่เท่ากันออกไป

น้ำยาใน Drop Checker ก็คือ ส่วนผสมของสารละลายที่มีค่า KH เท่ากับ 4dKH กับน้ำยาวัดค่า PH
ทีนี้พอ CO2 จากน้ำในตู้มันระเหยเข้าไปเจอกับน้ำยาใน Drop Checker ก็ทำใให้ PH ในน้ำยาเปลี่ยน
และเกิดการเปลี่ยนสี ทำให้รู้ได้ว่าตอนนี้มี CO2 ในตู้เท่าไหร่โดยดูจากสีน้ำยา (สีอะไรเป็นกรด-ด่าง
ขนาดไหนจะมีบอกไว้ในคู่มือใช้น้ำยา)

แต่ทีนี้ นายทอมบ่นว่า น้ำยาบางยี่ห้อมันรายงานผลแตกต่างกันไป (ไม่ค่อยตรงกัน) ทำให้เวลาเขา
ตอบปัญหาไปว่า “CO2 ของตู้นายน้อยไป” ก็โดนบอกกลับมาว่า “ไม่จริ๊ง ดูจากสี Drop Checker แล้วพอแน่ๆ”
ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำยาที่เราใช้นั้นรายงานตรง มันก็เลยมีวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากหน่อย ซึ่งก็คือ
ทำน้ำที่มีค่า 4dKH ขึ้นมาใช้เอง

โดยเอาน้ำกลั่นมาผสมผงเบคกิ้งโซดาตามสัดส่วน (สัดส่วนเท่าไหร่ดูจากลิ้งค์นะครับ) แล้วจะได้สารละลาย
ที่ใกล้เคียง 4dKH แน่ๆ แล้วก็เอาน้ำยาวัดค่า PH ที่ใช้กับ Drop Checker มาวัดดูว่ามันออกมาตรง
หรือเปล่า ถ้าคลาดเคลื่อนเราก็จะได้รู้ว่ามันคลาดเคลื่อนไปเท่าไหร่ ทีนี้เราก็จะรู้ว่าน้ำยาใน Drop Checker
ที่เราใช้ควรมีสีประมาณไหนจึงแน่ใจได้ว่ามี CO2 ในตู้พอแน่ๆ

ลิ้งค์วิธีทำสารละลาย 4dKH ใช้เอง
http://www.aquariumadvice.com/forums/f24/how-to-make-a-reference-kh-solution-for-co2-measurement-88293-2.html
(ขั้นตอนเอาผงเบคกิ้งโซดาไปอบนั้นที่เห็นในนั้น ความจริงแล้วไม่ต้องทำนะครับ เขาตัดออกไปแล้วแต่ดัน
ไม่ลบรูปออกไปด้วย—การอบมันทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนไป)

คุณต้องมีตาชั่งที่ละเอียดๆ (วัดหน่วยกรัมได้ถึงทศนิยมสองตำแหน่ง) นะ ผมซื้อตาชั่งดิจิตอลมาก็เพื่อการนี้แหละ
แต่ก็อย่างว่า ผมชอบอ่านมากกว่าลงมือทำ ก่อนซื้ออุปกรณ์ละโคตรอยากลองเลย แต่พอได้ของมาแล้วกลับเอาไป
ชั่งเหรียญบาท พอเห็นว่ามันทำงานเชื่อถือได้แล้วก็เอามันไปวางเก็บซะงั้น [แคะขี้มูก]

ตู้ผมพัฒนาช้าในแง่ความหมดจดของตำไคร่ ก็เพราะแบบนี้ด้วยแหละ (แต่ขอแก้ตัวหน่อยว่า อีกสาเหตุนึง
ตู้ที่มีอยู่มันไม่ใช่ตู้ของผมตั้งแต่แรก เคยเป็นของคนอื่นมาก่อน แล้วมันก็ไม่มีเวลาดูแล จนปลาตายหมดเหลือ
เทวดาอยู่ตัวเดียว ผมสงสารปลาก็เลยรับช่วงต่อ และเจ้าเทวดาตัวนี้แหละที่ทำให้หาสัดว์กำจัดตะไคร่มาลงยาก
ยามาโตะเหรอ? เสร็จมันอะดิ ใส่ปลาสอดลงไป มันก็ขู่ปลาสอดซะหงอจนไม่กล้าออกมาทำงานนอกกอต้นเทป
ออตโตดูดกระจกนานก็ไม่ได้ วิปเทลไต่ขึ้นไปดูดยอดไม้สุงหน่อย ก็ไม่ได้—แต่พอไปหม่ำยอดน้ำตาเทียน
ปลาเทวดากลับเฉยซะงั้น จะเอาเล็บมือนางมาลงมันก็ตัวใหญ่ไปสำหรับตู้ขนาด 24" จะงอกตู้ใหม่ก็ไม่มี
ที่เหมาะๆ อีกแล้ว เซ็ง  [ฮึ๊ยยย])

เมื่อกี้ลองค้นเว็บนี้ด้วยคำว่า Drop Checker อ้าว จุดไต้ตำตอซะแล้ว มีกระทู้+บทความดีๆ เรื่องนี้เยอะเลย
อันนึงก็คือ http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=18156.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25/05/09, [19:38:25] โดย NP »
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #42 เมื่อ: 22/05/09, [21:58:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


บทความเจ๋งดีครับ ดีมากๆ รายละเอียดเยอะและลึกมากๆ  ใช้อ้างอิงได้ดีเลย  [เจ๋ง]

แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจแฮะ ขนาดเรียนวิทย์มานะเนี่ย สงสัยยากเกิน และดูเหมือนว่ามันลำบากชีวิตมากเกินไปสำหรับผม

ส่วนใหญ่ผมจะยึดหลักของ จารจุ่นอ่ะครับ แบบบ้านๆ โลเทคๆ

คือพยายามระวังไม่ให้ตะไคร่ขึ้นแต่แรก โดยอาศัยประสบกาณ์ อาศัยการเปลี่ยนน้ำ ใสปุ๋ย ฝังปุ๋ย ให้ถูกต้อง

แต่ถ้าตะไคร่ขึ้นมาแล้ว ก็ปล่อยมันไป ลงสัตว์กินตะไคร่ไปควบคุมหน่อย แต่ก็กำจัดไม่หมดซะทีเดียวหรอก

จากนั้นกะเวลาดีๆ ใส่ยาฆ่าตะไคร่ แล้วค่อยลงต้นไม้ที่แพ้ยาฆ่าตะไคร่ทีหลัง หลังจากตะไคร่หายไปหมดแล้ว

ยกตู้ไปประกวด ได้รางวัลที่ 1  กลับมาก็ดูแลนิดหน่อยเพราะต้นไม้อยู่ตัวแล้วตะไคร่ไม่ค่อยมี พอเสื่อโทรมหรือเบื่อก็รื้อ

จัดใหม่รอประกวดงานหน้า นี่แหละ STEP ของจารจุ่น   

ถ้าอยากรู้ STEP แบบละเอียด การเปลี่ยนน้ำ ใส่ปุ๋ย รวมทั้งการใส่ยาฆ่าตะไคร่ เดี๋ยวผมจะไปสัมภาษณ์มาลงให้อย่างละเอียดทีหลังครับ

แกบอกมาหลายทีแล้วหล่่ะ แต่ไม่ได้จดใว้ ลืม  n032

เอาครับ ขอบคุณครับ lau01
Django ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #43 เมื่อ: 23/05/09, [13:14:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  รออยู่เน้อ บทความอาจารย์จุ่นน่ะ
คุณลุงปลา ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #44 เมื่อ: 23/05/09, [21:11:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 hawaii
เข้ามานั่งอ่านตั้งหลายคนแต่ก็ยังไม่จบเลย [เขิลลลล]

ความรู้แน่นไปหมด

ตอนนี้ก็ไปซื้ออตะกรับมาโซโล่ขนดำไปพลางๆ


 n032 แต่เคยได้ยินมาว่า ถ้าตั้งตู้ใหม่ๆก็ทำให้เกิดตะไคร่ ขนดำได้ด้วยงะ n032

เพราะตอนแรกผมก็เคยเป้น เซทตู้ลงดินครั้งแรกปล่อยไว้ 2วันขึ้นเต็มไปหมด n032

minova ออฟไลน์
Cute Member
« ตอบ #45 เมื่อ: 23/05/09, [21:53:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความรู้ทั้งนั้น ขอเก็บเกี่ยวหน่อยนะ เดี๋ยวมาอ่านต่อ ไปเปลี่ยนน้ำตู้ก่อน
มือใหม่หัดขับ ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #46 เมื่อ: 23/05/09, [23:49:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เข้ามารับความรู้เหมือนกันขอรับ เพราะตอนนี้พี่ตะไคร่ก็รุมเร้าตู้เหลือเกิน
 surrender
คุณลุงปลา ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #47 เมื่อ: 24/05/09, [00:23:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [ปิ๊งๆๆ]ใส่ตะกรับไปเห้นผลเลยครับ

เส้นผมหายไป80เปอร์เซนเลย

ใส่ไปแค่6hrก็เกือบหมดแล้ว [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ]


แต่ขนดำไม่เห็นกระเตื้องเลย n032 n032 n032
มือใหม่หัดขับ ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #48 เมื่อ: 24/05/09, [00:28:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

[ปิ๊งๆๆ]ใส่ตะกรับไปเห้นผลเลยครับ

เส้นผมหายไป80เปอร์เซนเลย

ใส่ไปแค่6hrก็เกือบหมดแล้ว [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ] [ปิ๊งๆๆ]


แต่ขนดำไม่เห็นกระเตื้องเลย n032 n032 n032

ก็อยากจะลองอยู่ครับ  แต่กลัวว่าแฮร์กลาสมินิจะกระจายหน่ะสิ
【 Cℓαяέт™ 】 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #49 เมื่อ: 24/05/09, [02:37:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วันนี้ใส่ตะกรับไปค่ะ

รุมตอดปลา กินมอส dea02 dea02

เกลียดมานนนนนนนนนนนนน fire1 fire1
【 Eνєяפяєєи™ 】 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #50 เมื่อ: 24/05/09, [06:51:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วันนี้ใส่ตะกรับไปค่ะ

รุมตอดปลา กินมอส dea02 dea02

เกลียดมานนนนนนนนนนนนน fire1 fire1

ไหนบอกว่าอยากได้นักหยากได้หนาไงล่ะ   [แคะขี้มูก]  [แคะขี้มูก]
คุณลุงปลา ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #51 เมื่อ: 24/05/09, [08:05:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ก็อยากจะลองอยู่ครับ  แต่กลัวว่าแฮร์กลาสมินิจะกระจายหน่ะสิ

ตู้ผมก็ ปักแฮกราสมินิไว้เต็มไม่เห็นมีตอดเลยนะครับ(บางตัวรึเปล่าก็ไม่ทราบ) emb01


วันนี้ใส่ตะกรับไปค่ะ

รุมตอดปลา กินมอส dea02 dea02

เกลียดมานนนนนนนนนนนนน fire1 fire1

 n032 แต่ผมเริ่มชอบมันขึ้นมาแล้วสิ [เขิลลลล]



เมื่อวานใส่ตะกรับไปเห้นผลเลยว่าเส้นผมหายไป90% อย่างทันตาเลยครับ idea1 idea1 idea1

เหลือแต่ขนดำเจ้าปัญหา แต้ขนดำก็ลดจำนวนไปนิดหน่อย n032

ต้องใช้เวลาน่าดู die1


 hawaii
【 Cℓαяέт™ 】 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #52 เมื่อ: 24/05/09, [14:50:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไหนบอกว่าอยากได้นักหยากได้หนาไงล่ะ   [แคะขี้มูก]  [แคะขี้มูก]
evi01 evi01 evi01

ตู้ผมก็ ปักแฮกราสมินิไว้เต็มไม่เห็นมีตอดเลยนะครับ(บางตัวรึเปล่าก็ไม่ทราบ) emb01


 n032 แต่ผมเริ่มชอบมันขึ้นมาแล้วสิ [เขิลลลล]



เมื่อวานใส่ตะกรับไปเห้นผลเลยว่าเส้นผมหายไป90% อย่างทันตาเลยครับ idea1 idea1 idea1

เหลือแต่ขนดำเจ้าปัญหา แต้ขนดำก็ลดจำนวนไปนิดหน่อย n032

ต้องใช้เวลาน่าดู die1


 hawaii
พอดีที่บ้านมันเป็นขนดำน่ะสิคะ มันแทบไม่แตะเลย ต้องจับทำปลาสลิดแห้งซะ [เอ๊ะ!!!] [เอ๊ะ!!!]
chaic ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #53 เมื่อ: 24/05/09, [16:00:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


บทความเจ๋งดีครับ ดีมากๆ รายละเอียดเยอะและลึกมากๆ  ใช้อ้างอิงได้ดีเลย  [เจ๋ง]

แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจแฮะ ขนาดเรียนวิทย์มานะเนี่ย สงสัยยากเกิน และดูเหมือนว่ามันลำบากชีวิตมากเกินไปสำหรับผม

ส่วนใหญ่ผมจะยึดหลักของ จารจุ่นอ่ะครับ แบบบ้านๆ โลเทคๆ

คือพยายามระวังไม่ให้ตะไคร่ขึ้นแต่แรก โดยอาศัยประสบกาณ์ อาศัยการเปลี่ยนน้ำ ใสปุ๋ย ฝังปุ๋ย ให้ถูกต้อง

แต่ถ้าตะไคร่ขึ้นมาแล้ว ก็ปล่อยมันไป ลงสัตว์กินตะไคร่ไปควบคุมหน่อย แต่ก็กำจัดไม่หมดซะทีเดียวหรอก

จากนั้นกะเวลาดีๆ ใส่ยาฆ่าตะไคร่ แล้วค่อยลงต้นไม้ที่แพ้ยาฆ่าตะไคร่ทีหลัง หลังจากตะไคร่หายไปหมดแล้ว

ยกตู้ไปประกวด ได้รางวัลที่ 1  กลับมาก็ดูแลนิดหน่อยเพราะต้นไม้อยู่ตัวแล้วตะไคร่ไม่ค่อยมี พอเสื่อโทรมหรือเบื่อก็รื้อ

จัดใหม่รอประกวดงานหน้า นี่แหละ STEP ของจารจุ่น   

ถ้าอยากรู้ STEP แบบละเอียด การเปลี่ยนน้ำ ใส่ปุ๋ย รวมทั้งการใส่ยาฆ่าตะไคร่ เดี๋ยวผมจะไปสัมภาษณ์มาลงให้อย่างละเอียดทีหลังครับ

แกบอกมาหลายทีแล้วหล่่ะ แต่ไม่ได้จดใว้ ลืม  n032


แล้วตู้ทีใส่ใบหูกวาง ขนาดไหนหรือครับ ใส่ไปกี่ใบ ปลาเป็นอะไรหรือเปล่า

ผมเพิ่งเปลียน เลเอาท์ ใหม่ มันก็เริ่มมาแล้วครับ ผมว่าใช้ใบหูกวางนี่แหละ

ธรรมชาติบำบัด ผมชอบวิธีนี้นะครับ แต่กลัวเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิต

เมื่อกี้ก็แอบไปเพิ่มคาร์บอนมา  ้hahaha
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #54 เมื่อ: 25/05/09, [19:33:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แบบว่าผมก็สงสัยในความคิดของนายทอม ที่ว่าการลดปุ๋ย (ที่ไม่ใช่ NH4) ไม่ช่วยแก้ปัญหาตะไคร่
ไม่ช่วยลดตะไคร่ แถมซ้ำยังทำให้ต้นไม้อ่อนแอ และทำให้ตะไคร่ได้โอกาส... สงสัยตรงที่
แล้วตะไคร่มันไม่สนธาตุอาหารอื่นเลยเหรอ?  [งง]

และแล้วก็อ่านเจอทฤษฎีของแกที่เขียนไว้ในปี 2003 (ไม่รู้ว่าในปี 2009 นี้แกจะมีความคิดใหม่
มาแย้งทฤษฎีนี้หรือเปล่า แต่เท่าที่ค้น ยังไม่มี)

ทำไมเวลาต้นไม้เติบโต ตะไคร่ถึงหยุดโต?
http://www.aquaticquotient.com/forum/showthread.php?t=9374

แกบอกว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับสารเคมีต่อต้านตะไคร่ที่พืชปล่อยออกมาเวลามีสุขภาพดี
เพราะไม้น้ำกว่า 300 ชนิดที่แกเคยลองเลี้ยงนั้น สามารถทำให้ตะไคร่หยุดโตเวลามันมีสุขภาพดีได้ทั้งสิ้น...
แกไม่เชื่อว่าไม้น้ำทั้ง 300 กว่าชนิดนั้นจะมีพฤติกรรมและปล่อยสารเคมีออกมาเหมือนๆ กันทุกชนิด
ต้นไม้มันจะมีพฤติกรรมเหมือนกันขนาดนั้นได้ยังไง

สรุปสั้นๆ คือ แกว่า NH4 เป็นตัวกระตุ้นให้ตระไคร่โต มันถูกโปรแกรมมาว่า ถ้าเมื่อไหร่
ที่มี NH4 เยอะ ก็หมายความว่าไม่มีคู่แข่ง หรือมี แต่กำลังอ่อนแอจนนำ NH4 ไปใช้ได้
ไม่เต็มที่

ส่วนเหตุที่การลดสารอาหาร (ปุ๋ย) ไม่สามารถแก้ปัญหาตะไคร่ได้ก็เพราะ ถ้าเทียบกัน
ด้วยขนาดเท่าๆ กันแล้ว ตะไคร่จะมีพื้นที่สัมผัสน้ำได้เยอะกว่าไม้น้ำมาก ไม้น้ำจึงไม่มีทางแข่ง
กับตะไคร่ในสภาพแวดล้อมที่มีปุ๋ยเจือจางได้

อีกตัวการนึงที่กระตุ้นให้ตะไคร่โตในความคิดของแกคือ ความไม่คงที่ของระดับ CO2
(คงหมายถึงเฉพาะช่วงที่เปิดไฟ เพราะแกเองก็ปิด CO2 ตอนปิดไฟ) แกบอกว่ามีตัวกระตุ้น
อื่นๆ อีก แต่โดยทั่วไป สิ่งที่กระตุ้นตะไคร่คือ การขาดหายไปของอะไรบางอย่างมากกว่า
การมีบางอย่างมากเกินไป

http://www.barrreport.com/showthread.php/73
อ้างถึง
This is one reason why algae can persist for months even when the aquarist
performs many water changes, uses nutrient chemical removers and activated carbon.
The plants just stop growing and waits, algae can do the same thing and produces
resting spores that are activated when ammonium (NH4+) or large CO2 variations
 occurs (Barr 1998). There are other algae inducers, generally these involve a lack of
something rather than an excess. Algae possess much higher surface to volume ratios
than plants, this allows them to be far more competitive and responsive at low
concentrations of nutrient substrates.

เจออีกตัวอย่างนึงของการแก้ปัญหาขนดำโดยใช้ CO2 ตอนแรกเจ้าของตู้ไม่เชื่อว่าตู้ตัวเอง
มี CO2 ไม่พอ แต่สุดท้ายก็เชื่อทอม และเร่ง CO2 ขึ้นอีกหน่อย ปรากฎว่าขนดำหยุดโต
http://www.plantedtank.net/forums/algae/33522-arresting-bba-growth-why-cant-i.html

อ้อ ผมไม่อยากให้บางคนเข้าใจผิด ว่านายทอมไม่ใช้สัตว์กำจัดตะไคร่ แกใช้ทั้งกุ้ง, ปลา, และหอย
(แถมยังใช้ยากำจัดตะไคร่ แต่เฉพาะในเวลาที่เร่งด่วน ต้องการเห็นผลเร็วๆ เท่านั้น)

ผมก็ยังไม่ได้เชื่อทฤษฎีแกหรอกนะ เพียงแต่เห็นว่าน่าสนใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17/01/10, [01:44:50] โดย NP »
【 Cℓαяέт™ 】 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #55 เมื่อ: 26/05/09, [01:13:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ง่าา อ่านแล้วงง

มีหลายคำถามเลย

คือว่า ของเสียที่ออกมาจากสัตว์ มันก็คือ Urea (NH2CONH2) ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็น Ammonia (NH4+) ได้

(มันเหมือนชิ้งฉ่องคนเราน่ะค่ะ แรกๆจะไม่เหม็น ถ้าไว้นานๆจะเหม็นนรกเลย เพราะยูเรียสลายเป็นแอมโมเนียซึ่งมีกลิ่นเหม็นน่ะค่ะ)

ส่วนปุ๋ยที่ใส่กัน น่าจะอยู่ในรูปสารประกอบของ Nitrate (NO3-)

ที่สงสัยก็คือโครงสร้างที่ต่างกัน มีผลต่อการเกิดตะไคร่มั้ยคะ

คือ ตะไคร่โตเพราะ แอมโมเนีย หรือ ไนเตรท กันแน่ หรือทั้ง 2 อย่างเลย?

รบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #56 เมื่อ: 26/05/09, [01:33:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

[จำเอามาตอบ]

ปุ๋ยที่เราใส่กัน โดยเฉพาะปุ๋ยน้ำไนโตรเจน มีส่วนผสมของ NH4
ปุ๋ยฝังก็มี ยิ่งปุ๋ยที่เข้าข่ายเป็นอินทรีย์สารมากๆ ก็ยิ่งมีส่วนทำให้
เกิด NH4 มาก (มันต้อง “เน่า” หรือย่อยโดยแบคทีเรียให้เป็น
NH4 ก่อนจะกลายเป็นตัวอื่นต่อไป) เวลาปุ๋ยฝังฟุ้ง ตะไคร่เลยตรึมทุกที

Tom Barr บอกว่า NH4 เป็นตัวกระตุ้นให้ตะไคร่โต

เพราะในตู้ทดลองที่ใส่ปุ๋ยที่ไม่มี NH4 มีแต่ไนเตรทสำหรับไนโตรเจนอย่างเดียว
(KNO3 โปตัสเซียมไนเตรท) ปรากฎว่าไม่มีตะไคร่ แต่พอใส่ NH4 ตะไคร่มาทันที
ทดลองซ้ำกี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนกัน


ถ้าคุณอ่านข้อความในลิ้งค์ก่อนๆ จะเห็นว่าตามความคิดของเขา การมี NH4
ในปริมาณระดับหนึ่ง จะส่งสัญญาณให้ตะไคร่ทำนองว่า ไม่มีคู่แข่ง (ซึ่งก็คือพืชชั้่นสูง
และแบคทีเรียที่ย่อย NH4 ให้เป็น NO2 และเป็น NO3) หรือมีคู่แข่ง แต่คู่แข่งกำลัง
อ่อนแอ (เพราะถ้าคู่แข่งสบายดี NH4 จะถูกดูดกินไปเกือบหมด)
รีบโตเพื่อฉวยโอกาสชิงพื้นที่เถอะ

โครงสร้าง NO3 ต่างจาก NH4 มีผลตรงที่พืชสามารถนำไป NH4 ไปใช้ได้โดยเสีย
พลังงานในการ (ย่อย?) น้อยกว่า
http://www.barrreport.com/showthread.php/2405
อ้างถึง
Plants use more energy to use NO3, but they can store and have a lot more access to larger amounts by a factor of 100-1000X more than NH4.

เราจะมองง่ายๆ ว่าพื้นฐานแล้ว NO3, NH4, NO2 ก็คือ มีไนโตรเจน และมันควร
จะมีผลเหมือนกันไม่ได้ เพราะก็อย่างที่รู้กันว่า NH4 กับ NO2 ในปริมาณนิดเดียว
เป็นพิษต่อสัตว์น้ำมากกว่า NO3 ปริมาณเยอะๆ เสียอีก

ประเด็นหลักที่ผมตั้งคือ การลดปุ๋ย (ที่ไม่ใช่ NH4) ไม่ช่วยเรื่องตะไคร่ เพราะ
ไม่ว่าเราจะลดปุ๋ยยังไง มันก็ต้องมีเหลืออยู่ในน้ำอยู่ดี ยิ่งเจือจาง พืชยิ่งตาย
แต่ตะไคร่กลับอยู่ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17/01/10, [01:46:25] โดย NP »
NP ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #57 เมื่อ: 26/05/09, [02:05:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าอ่านดีๆ จะเห็นว่า วิธีเอาชนะตะไคร่ของนายทอมก็แทบไม่ต่างจากชาวบ้าน

ถ้ามีตะไคร่ ก็จัดการเอามันออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้, เปลี่ยนน้ำ ทำความสะอาด
ดูดขี้ปลา เศษใบไม้เน่า (เพื่อลดการเกิด NH4), ใส่สัตว์กินตะไคร่, ทำกระแสน้ำให้ไหลเวียนดี
(นำสารอาหารและ CO2 ให้พืชอย่างทั่วถึง), ปรับปริมาณ CO2 ให้ได้ 30PPM (ให้พืช
เจริญอาหาร ดูดกิน NH4 ได้เยอะ และมีสุขภาพดี), ลดแสงลงถ้า CO2 ไม่เจ๋งพอ
(ตะไคร่โตในสภาพแสงจัดๆ แต่มี CO2 น้อยๆ ได้เก่งกว่าไม้น้ำมาก),
ใช้กรองดีๆ (มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย NH4 ให้เป็น NO3) ฯลฯ

ส่วนที่ต่างกันก็ตรง คนอื่นคิดว่า ไนเตรท (NO3) ฟอสเฟต (PO4) และเหล็ก (Fe)
รวมทั้งสารอาหาร “ส่วนเกิน” ทำให้เกิดตะไคร่ แต่นายทอมว่า ไม่ใช่หรอก
สารอาหารที่ทำให้เกิดตะไคร่คือ NH4 ตะหาก ดังนั้น อย่าไปทำให้พืชอ่อนแอลง
ไปอีกด้วยการลดปุ๋ย (ที่ไม่ใช่ NH4) เลย ทำอย่างนั้นเอาชนะตะไคร่ไม่ได้หรอก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26/05/09, [02:15:06] โดย NP »
Champies ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #58 เมื่อ: 26/05/09, [12:13:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


แล้วตู้ทีใส่ใบหูกวาง ขนาดไหนหรือครับ ใส่ไปกี่ใบ ปลาเป็นอะไรหรือเปล่า

ผมเพิ่งเปลียน เลเอาท์ ใหม่ มันก็เริ่มมาแล้วครับ ผมว่าใช้ใบหูกวางนี่แหละ

ธรรมชาติบำบัด ผมชอบวิธีนี้นะครับ แต่กลัวเป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิต

เมื่อกี้ก็แอบไปเพิ่มคาร์บอนมา  ้hahaha

ใส่ไปพอให้น้ำมันเหลืองๆนิดหน่อยครับ เพราะผมอยากให้ออกแนวน้ำหมักๆเหมือนในแม่น้ำแถบอเมซอน

แต่ผมก็ไม่รู้ทฤษฎีแฮะ เพียงแต่ว่ามันฟลุคอ่ะครับ ไม่แน่น้ำที่เหลืองๆหน่อยอาจจะไปเปลี่ยนช่วงแสงในน้ำ

เป็นช่วงแสงที่ตะไคร่ไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่รู้แฮะ


รู้แต่ว่า กระทู้นี้ สาระเพียบเลยฮ่าๆๆ

Mr.F ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #59 เมื่อ: 26/05/09, [14:24:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พออ่านไปอ่านมา ใส่ยา ตัวไหนแพ้ ลงใหม่ จบข่าว ไม่ปวดหัวดี ไหนๆมันก็งานอดิเรก  [เขิลลลล]
หน้า: 1 2 3 4   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: