เท่าที่สังเกตดู ช่วงนี้กระแสปูสวยๆกำลังเริ่มมีมาเหมือนกันครับ มีปูหลายชนิดถูกนำมาจำหน่าย แม้บางชนิดจะไม่สามารถ
นำมาเลี้ยงได้เลยในระบบปกติ เช่นปูที่จริงๆแล้วอาศัยอยู่ในน้ำทะเล หรือป่าชายเลน เช่นปูก้ามดาบ เป็นต้น แต่ก็มีปูอีกหลาย
ชนิดที่สามารถจะนำมาเลี้ยงได้ เพียงแต่ผู้เลี้ยงจะต้องมีการปรับสภาพในตู้เลี้ยงให้เหมาะสมเพียงพอต่อการเลี้ยง เช่น ปูคีรีขันธ์
เป็นต้นครับ จึงได้ลองนำภาพของปูสวยงามของไทยบางชนิดที่มีสีสรรสวยงามมาให้ได้ชมกันครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปูสองแคว
เป็นปูชนิดใหม่ของโลกเราอีกชนิดหนึ่งครับ พบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาน้อย - เขาประดู่ จังหวัดพิษณุโลกครับ


สถานที่อยู่ในธรรมชาติของปูสองแควครับ

ปูคีรีขันธ์

ช่วงนี้มีพบว่ามีจำหน่ายกันมากมายหลายแห่งครับ
ปูหัวหิน - ปูที่มีความสวยงามไม่แพ้ ปูคีรีขันธ์ครับ


สถานที่อยู่ในธรรมชาติของปูสองชนิดนี้ครับ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีสีสรรคล้ายกัน แต่ก็ไม่ใช่ตระกูลเดียวกันครับ
มีความแตกต่างที่ลักษณะของกระดองอยู่พอสมควร
และนี้คือปูน้ำตกชนิด Demanietta renongensis ญาติสนิทอยู่ในสกุลเดียวกันกับปูคีรีขันธ์ครับ ลักษณะภายนอกที่พอจะใช้สังเกตความแตกต่างได้คือสีสัน ซึ่ง ต้องระมัดระวังเรื่องความแปรผันของสีที่อาจเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติสี ที่ก้ามของปูคีรีขันธ์ที่สังเกตพบจะออกเป็นสีเหลืองถึงเหลืองอมส้ม ไล่ลงเป็นสีขาวทางด้านล่าง ส่วนเจ้าตัวนี้ด้านบนออกสีน้ำเงินเทา แล้วไล่ขาวลงไปด้านล่าง

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปูทูลกระหม่อม ฯ

"ปูทูลกระหม่อม" (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr,1993)
ปูชนิดนี้เป็นปูที่มีอยู่แห่งเดียวในโลก ที่มีสีสันสวยงาม ได้มีการค้นพบปูน้ำจืดประเภท
นี้ในปี พ.ศ.2536 ในพื้นที่ป่าดูนลำพัน ในเขตอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
ลักษณะของกระดองสีม่วงเปลือกมังคุด ขอบเบ้าตา ขอบกระดอง ขาเดินทั้ง 4 คู่
ก้ามหนีบทั้ง 2 ข้างมีสีเหลืองส้ม ปลายขาข้อสุดท้ายและปลายก้ามหนีบ
มีสีขาวงาช้าง มีการผสมพันธุ์นาน 4-5 ชั่วโมง ไข่จะฟองใหญ่กว่าปูนาธรรมดากว่า
3 - 4 เท่า อาศัยอยู่ในป่าดูนลำพันเป็นจำนวนมาก พื้นดินที่ปูอาศัยอยู่เป็น
ดินเหนียวสีเทาปนดำ เขตที่ปูอาศัยอยู่แห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 343 ไร่
นอกจากจะมีปูที่มีความสวยงามแล้ว ยังเป็นที่พักอาศัยของนกนานาพันธุ์
โดยเฉพาะ นกไซบีเรีย จะบินมาเยือนป่าแห่งนี้เป็นประจำจำนวนมาก
ประกอบกับต้นพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดที่น่าศึกษาและค้นคว้าเป็นอย่างยิ่ง
ป่าดูนลำพันตั้งอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ 3 - 4 ด้านทิศตะวันตกของเส้นทาง
ระหว่าง อ.นาเชือก ไป อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม ก่อนนี้เรียกว่า "ปูแป้ง"
สนใจรายละเอียดติดต่อเพิ่มเติมที่ ตู้ ปณ.5 อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170
โทร. 01 - 8179441 จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
อ้างอิง : นิตยสาร aqua ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2551 คอลัมภ์ " ตามปูตามป่า "
คุณนกกินเปี้ยว แห่งเว็บ Siamensis