Aqua.c1ub.net
*
  Sun 16/Jun/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: Nutri Pro+ Articles 2 ไนเตรทในระบบตู้ทะเล  (อ่าน 1491 ครั้ง)
nutripro+ ออฟไลน์
Club Follower
« เมื่อ: 28/07/14, [21:36:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Nutri Pro+ Articles 2 บทความดีๆจากนิวทรีโปร
ไนเตรทในระบบตู้ทะเล



ไนเตรท NO3 เป็นตัวสร้างปัญหา และยากต่อการรับมือของผู้เลี้ยงปะการัง มันเกิดจากสารประกอบไนโตรเจนที่เกิดการแปรผันตามวัฐจักร อันเกิดมาจากพวกอาหารเม็ด การอัดแพลนตอน การโดปอาหารปะการังจำนวนมากๆ(บางยี่ห้อที่มีของเสีย) ของเสียที่เกิดขึ้นในระบบ หรือเกิดจากการขับถ่ายของสิ่งมีชีวิต หลายๆท่านคงพยายามหาวิธีในการกำจัดและควบคุมปริมาณไนเตรทในระบบตู้ทะเลให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม เช่นการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ใช้อุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อลดปริมาณไนเตรทที่สะสมอยู่

วิธีการตรวจสอบหาไนเตรทนั้นปัจจุบันง่ายมาก มีหลายค่ายผลิตชุดเทสออกมาขาย แนะนำให้ใช้ชุดเทสที่มีความเชื่อถือได้และแม่นยำสูง เช่น Salifert , tropic marin , redsea ฯลฯ

ไนเตรทนั้นมีความสัมพันธ์กับสาหร่าย (รวมถึงตะไคร่) เมื่อไนเตรทเยอะตะใคร่จะใช้ไนเตรทในการเจริญเติบโตอย่างมหาศาล ทำให้เกิดตะใคร่บูมในตู้ สำหรับตู้ทะเลแล้วตัวไนเตรทเป็นพิษโดยตรงต่อก้นตู้หากมีอยู่พอสมควร จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ไนเตรทจำนวนเพียงน้อยนิด ก็จะลดการเจริญเติบโตของสาหร่าย zooxanthellae ในตัวปะการังบางชนิดโดยตรง แต่ปะการังบางชนิดก็ใช้ประโยชน์อย่างไนเตรท ตัวอย่างเช่นกลุ่ม ซีเนี่ยXenia จากเนื้อหาที่กล่าวมาขั้นต้นนั้น เพื่อให้การเลี้ยงตู้ทะเลประสบความสำเร็จมากที่สุด ต้องพยายามความควบคุมปริมาณไนเตรทและฟอสเฟสภายในระบบให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ หลักๆแล้วสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอและสามารถทำได้โดยวิธีการต่อไปนี้

1. ลดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดไนโตเจนในระบบตู้ทะเล การให้อาหารอย่างเหมาะสม และไม่ให้มากจนเกินไป โดยเฉพาะปลายิ่งกินกินเยอะก็ให้ของเสียเยอะ ของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาก็จะส่งผลให้ไนเตรทมากขึ้น หรือถ้าเศษอาหารเหลือในตู้ เศษตะกอนสะสม จัดกระแสน้ำแก้ปัญหาตู้ให้มีจุดอับน้อยที่สุด หรือแม้กระทั้งเกลือและน้ำที่นำมาใช้ตีเกลือก็ตามแต่ ถ้าใช้น้ำก๊อกหรือน้ำประปาแน่นอนว่ามันมีปะปนมาระดับหนึ่ง สามารถนำชุดทดสอบมาทดสอบได้ ทางทีดีที่สุดพยายามกรองน้ำให้สะอาดมากที่สุด อย่างน้อยสุดคือใช้น้ำ RO หรือ Reverse osmosis หรือถ้าทำได้ถึงระดับ RO/DI หรือ Reverse Osmosis + Deionizing system กำจัดไอออนที่ปะปนมากับน้ำให้หมดจด สามารถทดสอบด้วยเครื่อง TDS ถ้าเป็น 0 ได้ยิ่งดี ส่วนเกลือควรเลือกเกลือที่มีคุณภาพ ที่มีการรับรองว่าปราศจากไนเตรท

2. อุปกรณ์ตัดวงจรไนโตเจนที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือโปรตีนสกิมเมอร์ควรเลือกสกิมเมอร์ที่เหมาะสมกับตู้ทะเลของคุณ อย่างน้อยให้อัตราการไหลผ่านของน้ำกับปริมาณน้ำในตู้โอเวอร์ๆ เช่น น้ำในตู้ 200 ลิตร อัตราการไหลของน้ำผ่านสกิมเมอร์ก็ควรอยู่ที่ 600 ลิตรเป็นอย่างต่ำ แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพในการกำจัดที่ดีควรเลือกให้อัตราการไหลผ่านของน้ำเป็น 5-10 เท่าของปริมาณน้ำในตู้ เช่น น้ำในตู้ 200 ลิตร อัตราการไหลผของน้ำผ่านสกิมเมอร์ก็ควรจะอยู่ที่ 1000-2000 ลิตร ยิ่งโอเวอร์ยิ่งสอาด ของเสียยิ่งน้อย ความสำคัญของสกิมเมอร์คือ มีป้ำสกิมที่มียี่ห้อน่าเชื่อถือ โฟมละเอียดและปั่นของเสียออกได้ดี โดยปัจจุบันมีให้เลือกหลายค่ายหลายยี่ห้อ

3. พืชที่ไม่ควรมองข้าม(Refugium) สาหร่ายชนิดต่างๆที่ใช้ไนเตรทและแสงกว่างในการเจริญเติบโต สำหรับสาหร่ายแล้วควรเลือกชนิดที่เจริญเติบโตได้ดีเมื่อมีไนเตรท เพราะว่ายิ่งปริมาณไนเตรทมากมันก็จะเติบโตได้เร็วขึ้น ทำให้ปริมาณในเตรทในน้ำถูกนำไปใช้มากขึ้น เช่น chaetomorpha (คีโตมอร์ฟา) สาหร่ายพวงองุ่น “Green Caviar” เป็นต้น การใช้สาหร่ายมาลดไนเตรทต้องใช้ในปริมาณที่มาก และสาหร่ายต้องได้รับแสงอย่างเพียงพอ มีการกลับด้านอยู่เสมอให้สาหร่ายได้รับแสงทั่วถึง

4.อุปกรณ์เสริมที่มีขายอย่างมากมายที่ช่วยลด No3 ได้ เช่น แบตทีเรียสำหรับลดno3 , Bio Pellet reactor , NITRATE FILTER , การโดสต่างๆเช่น vodka , น้ำยาลดno3 po4 หลายๆที่ห้อทำออกมาจำหน่าย ฯลฯ

ข้อดีของการควบคุม No3 ได้นั้นดีอย่างไร เจอกันบทความหน้าครับ

เพิ่มเติมแก้ไขได้นะครับ มาจากประสบการณ์ส่วนตัวผิดตรงไหนต้องขออถัยครับ

ขอให้มีความสุขกับตู้ทะเลครับ อย่าวัดบ่อยนะครับเดียวเครียด อิอิ
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: