เนื่องจากผมเห็นว่ากระทู้หลายๆกระทู้(ส่วนมาก)มีการพูดถึงค่าK ในการเลือกซื้อหลอดไฟมาเลี้ยงไม้นํ้าว่าต้องเป็น 6500K นะ เเละบางกระทู้(ส่วนน้อย)จะพูดถึงความยาวคลื่นที่พืชต้องการ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยครับว่าทำไมต้อง 6500K ??ดังนั้นผมจะนำมาอธิบายให้เข้าใจง่ายๆครับว่าจริงๆเเล้วมันสัมพันธ์กันอย่างไรครับ
#ถ้าพี่เอเห็นว่าเป็นประโยชน์รบกวนช่วยปักหมุดหรือใส่ในห้องบทความให้ด้วยนะครับ
ด้วยความเคารพครับ ROMMY
มาเกริ่นนำเรื่องเเสงกันเล็กน้อยครับเพื่อง่ายต่อการอธิบายในประเด็นถัดไป (ผมจะเเปลให้ใต้รูปนะครับ เเปลสดๆด้วยความรู้ภาษาอังกฤษเท่าหางอึ่งครับ อิอิ) เเละจะอธิบายเสริมให้อย่างละเอียดครับ

> คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางในอวกาศในรูปของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแม่เหล็ก เเละบางครั้งพลังงานนั้นก็จะอยู่ในรูปของคลื่นเเละบางครั้งก็อยู่ในรูปของอนุภาคที่เราเรียกว่า"โฟตอน" โดยเมื่ออยู่ในรูปของคลื่นเราจะสามารถอธิบายพลังงานของมันด้วย"ความยาวคลื่น" ซึ่งหมายถึงระยะทางระหว่างสันคลื่นถึงสันคลื่นที่อยู่ติดกัน หรือวัดจากท้องคลื่นถึงท้องคลื่นที่อยู่ติดกัน ดังรูปนี้

ซึ่งเจ้าความยาวคลื่นของคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้านี่ อาจจะมีความยาวเป็นไมล์ๆ(คลื่นวิทยุ) หรือมีความยาวเพียงไม่กี่นิ้ว(คลื่นไมโครเวฟ) หรือมีความยาวเป็นล้านๆนิ้ว(เช่นเเสงที่เราเห็น) หรือมีความยาวเป็นพันล้านนิ้ว(รังสีเอกซ์)
ความยาวคลื่นของเเสงโดยมากเเล้วก็วัดกันเป็นหน่วยนาโนเมตร (1นาโนเมตร เท่ากับสิบยกกำลังลบ9 เมตร)
โดยเเสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้จะมีความยาวคลื่นอยู่ระหว่าง 400 - 700 นาโนเมตร ซึ่งเรียกว่าช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ ซึ่งถ้าดูจากรูปที่มีสีรุ้งจะเห็นว่าถ้าตํ่ากว่าที่ตามองเห็นได้คือรังสียูวี เเละถ้าสูงกว่าที่ตามองเห็นได้คือ รังสีอินฟาเรด

>>คลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงที่ตามองเห็นได้ จะมาจากหนึ่งในสามของเเหล่งกำเนิดนี้คือ
1.พวกที่เป็นหลอดไส้(หลอดที่ใช้การเเผ่รังสีของวัตถุร้อน) เช่น หลอดไส้ที่ทำด้วยทังสเตน
2.พวกที่ไม่ใช่หลอดไส้(หลอดที่ใช้หลักการการคายประจุในก๊าซ) เช่น หลอดฟลูออเรสเซนส์ , หลอดเมทัล เฮไลด์ ,หลอดไอปรอท ,หลอดนีออน,Hydrargyrum medium-arc iodide
3.ดวงอาทิตย์ ... พระอาทิตย์ ยิ้มเเฉ่ง เเก้มเเด๊ง เเดง เอ้ย ไม่เกี่ยวครับ555 (จริงๆเเล้วดวงอาทิตย์เป็นเเบบที่1 เพราะเเสงที่ได้มันเกิดจากการเเผ่รังสีของวัตถุร้อน เเต่ว่าในพวกคนที่ถ่ายภาพนั้นเจ้าหลอดที่ใช้การเเผ่รังสีของวัตถุ จะหมายถึงเเหล่งกำเนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น เลยไม่รวมดวงอาทิตย์ครับ อิอิ
วัตถุทุกชนิดจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้า เเละเมื่อวัตถุถูกให้ความร้อนจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น"สั้น" มากขึ้นเเละจะปล่อยคลื่นเเม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่น"ยาว" น้อยลง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของเเสงทำให้เครื่องวัด สามารถวัดอุณหภูมิสีของเเสงได้
รูปต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ของพลังงานที่ปล่อยออกมาเมื่อเทียบกับความยาวคลื่นของอุณหภูมิสีที่แตกต่างกันใน 5500K Daylight เเละ ที่ 3200K จะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"ยาว"อยู่มากและจะมีปริมาณความยาวคลื่น"สั้น"อยู่น้อย
ในขณะที่อุณหภูมิสีเพิ่มขึ้น 5500K, 6500K และ 10000K ทำให้สังเกตได้ว่าจะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"ยาว"ลดลง เเละจะมีปริมาณความยาวคลื่นที่"สั้น"มากขึ้น
ที่5500K Daylight กราฟจะไม่สมูทเหมือนกับ 5500K เพราะเจ้า5500K Daylight จะรวมพลังงานที่ปล่อยจากดวงอาทิตย์ ,พลังงานที่ถูกดูดซับไว้ในชั้นบรรยากาศของโลก,พลังงานที่กระจายอยู่โดยอนุภาคในชั้นบรรยากาศ
^เห็นมั้ยครับว่า พลังงานจากดวงอาทิตย์เดินทางมาหาเราก็มีพลังงานมาเติมเสริมให้ เเละก็มีการสูญเสีย(ถูกดูดซับไว้เช่นกัน)
โอเคครับมาดูกราฟที่ว่ากันเลย

เเละจะพูดต่อเนื่องเกี่ยวกับความยาวคลื่นที่รงควัตถุในพืชสามารถดูดได้ (ความยาวคลื่นที่พืชตอบสนองได้ดี)ดังรูป

จากรูปจะเห็นว่ารงควัตถุในพืชมีการตอบสนองต่อความยาวคลื่นได้ไม่เท่ากันในเเต่ละช่วงความยาวคลื่น
โดยสังเกตว่าช่วงที่กราฟเป็นภูเขาสูงๆ ทั้งฝั่งซ้าย เเละฝั่งขวา นั่นคือช่วงความยาวคลื่นที่พืชต้องการมากที่สุด
โดยทั้งกราฟนั้นถ้าเรามาดูดีๆจะเห็นว่า ความยาวคลื่นที่พืชต้องการอยู่ในช่วง 400-700นาโนเมตร(ตามองเห็นได้) ซึ่งอย่างที่บอกไปตอนเเรกว่าเราเรียกช่วงนี้ว่า"visible light" ที่เป็นเเสงสีขาวที่มีการรวมกันของเเสงสี(หลักๆมี7สี)เเละเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมาก็เป็นเเสงขาว (ถ้าเเยกด้วยปริซึมจะเห็นเป็นเเถบสีจากม่วง-เเดง) ดังนั้นเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาเรียกได้ว่ามีความยาวคลื่นที่พืชต้องการอยู่ครบถ้วนเเละมากที่สุด เเละเราก็ต้องหาหลอดไฟที่มีค่าKใกล้เคียงกับเเสงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมา
*หมายเหตุสำคัญที่เดี๋ยวจะอธิบายต่อด้านล่างคือ เเสงจากดวงอาทิตย์ กับเเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมายังพื้นโลกที่เรายืนอยู่ ไม่เหมือนกันนะครับ!! อย่าเพิ่งสับสน
[เย้ะ]
มาดูอีกครั้งจะเห็นว่า ที่6500 K เส้นสีฟ้า จะมีพลังงานของความยาวคลื่นในช่วง400-550นาโนเมตรอยู่มากที่สุด เเละก็ยังมีปริมาณพลังงานของความยาวคลื่นในช่วง600-700นาโนเมตรอยู่มากเช่นกัน คือตัวเส้นกราฟสีฟ้ามีช่วงความยาวคลื่นที่ครอบคลุม เเละมีปริมาณพลังงานมาก เเละตรงกับที่พืชต้องการมากที่สุด นั่นคือเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกหลอดที่มีค่า K ที่6500 K ครับ *จริงๆ5500K กับ6500K ดูจากกราฟจะใกล้เคียงกันมาก เเละกราฟด้านที่ความยาวคลื่นยาวๆ (ฝั่ง700nm) ดูเหมือนว่า 5500K จะดีกว่า เเต่ถ้าพิจารณาจากความยาวคลื่นช่วงที่พืชต้องการ(หลักๆ)คือ400-500nm เป็นหลักนั้น จะเห็นว่า 6500K ตอบโจทย์ได้ดีกว่าครับ

เเละก็เห็นได้จากรูปด้านล่างว่า"เเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศเเละผ่านท้องฟ้าลงมายังพื้นโลกที่เรายืนอยู่" ก็มีค่าKประมาณ 5500K เเบบdaylight ครับ

อย่าเพิ่งงง !!!ผมจะอธิบายต่อ (จุดนี้สำคัญมากๆ) ว่าถ้าดูจากรูปด้านบนจะเห็นว่าเเสงอาทิตย์มีค่าKประมาณ 5800K
อ้าวเเล้วไหนบอกว่าเเสงที่มี 6500K ดีกว่า ??? จริงๆเเล้วเเสงอาทิตย์ที่ออกจากดวงอาทิตย์โดยตรงมันมีค่าKประมาณ5800K เเต่พอเดินทางมาผ่านชั้นบรรยากาศโลกเเละผ่านท้องฟ้าเเละมีการรับพลังงานเพิ่ม เเละสูญเสียจนมาถึงตัวเรานั้นมันได้รวมเเสงของท้องฟ้าไว้ด้วยเเละมีค่าK ประมาณ5500 ซึ่งเป็นค่าK ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งสอดคล้องกับกราฟทั้งสองอัน เเล้วทำไมถึงบอกว่า6500K ดีกว่า?? ... คือผมจะอธิบายอย่างนี้ว่า ค่าKของเเสงที่ส่องตัวเราอยู่นั้นมันไม่ใช่ตัวเลขตรงๆโดดๆ เเต่มันเป็นช่วง ดังนั้นช่วงเเสงที่ส่องเรามันก็ครอบคลุมทั้ง 5500-6500 K คือมันมีทั้งค่าK ในช่วงนั้นมากมาย เเต่ในทางทฤษฎีเเล้วค่าKที่6500K จะดีที่สุดครับ (ซึ่งเเสงที่ส่องเราก็เป็นช่วงที่รวมค่าKนี้ไว้ด้วย) เเต่ในกราฟอาจจะดูเหมือนว่าเเสงที่ส่องเราคือ 5500K เพียงตัวเดียว
*เเสงจากดวงอาทิตย์มีค่าK 5800K
*เเสงที่ส่องหน้าเราอยู่คือ 5500-6500K เเละพืชชอบด้วย(โดยเฉพาะ6500K)

จากตารางข้างบนจะเห็นว่า
"Average Summer Sunlight (plus blue skylight) 6,500K"
มันคือเเสงที่ออกจากดวงอาทิตย์ในหน้าร้อน ที่เฉลี่ย เเละรวมเเสงจากท้องฟ้าไว้เเล้ว ซึ่งก็คือเเสงอาทิตย์+เเสงจากท้องฟ้า ว่าง่ายๆเเบบชาวบ้านๆคือ เเสงที่ส่องถึงตัวเรานั่นเเหละครับ(เเสงที่ส่องผิวหน้าอยู่ในตอนนี้) เป็นค่าKที่ดีที่สุดที่เหมาะสม เเละอย่างที่บอกไปว่าเเสงที่ส่องเราก็รวม 6500K นี้ไว้ด้วยนะ (มันคลุม5500-6500Kเลยครับ)
คำจำกัดความของเเสงเเดด เเละเเสงจากท้องฟ้าดูในรูปล่างนี้เลยครับ

สรุปได้ดังนี้
-เเสงจากดวงอาทิตย์กลมๆ มีค่าKประมาณ 5800K
-เเสงจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลกเเละผ่านท้องฟ้าลงมาถึงตัวเรา(ส่องหน้า)มีค่าK 5500-6500K
-ช่วงความยาวคลื่นที่พืชต้องการ จะสัมพันธ์กับเส้นกราฟของ 6500K มากที่สุด
-sunlight =เเสงอาทิตย์(ที่ออกจากดวงอาทิตย์) =5800K (วัดที่พื้นผิวด้วยอาทิตย์)
-Daylight=Sunlight + skylight =5500-6500K
อธิบายมาจนเกือบจะจบ หลายคนอาจจะงงว่าค่าKคืออะไร วัดกันอย่างไร ผมเลือกที่จะเอามาอธิบายตอนท้ายสุดเพื่อจะได้ไม่งงครับ ส่วนการอธิบายตอนเรกให้รู้ว่าสิ่งที่เราสนใจมันคือค่าK กับความสัมพันธ์ของ ความยาวคลื่นที่เเสงต้องการ เเค่นั้นพอ
มาต่อกันครับ ดูคำอธิบายค่าKกันสั้นๆในรูปด้านล่างนี้ก็เข้าใจครับ

ก็คือคนมันช่างคิดครับ มันเอาวัตถุดำมาเผาเเล้วดูว่าเผาด้วยอุณหภูมิที่กำหนดเเล้วจะเป็นสีอะไร เเค่นั้นเองครับ
อุณหภูมิในหน่วยKelvin = 273 +อุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสนะครับ
เช่น 27องศาเซลเซียส จะเท่ากับ 300เคลวิน เป็นต้นครับ
ดังนั้นสีของไฟที่ออกมานั่นก็คืออุณหภูมิสีของเเสงที่เราสนใจครับ ลองดูตัวอย่างเทียบว่าหลอดLED ที่เปิดเเล้วมีสีต่างๆจะมีค่าKเท่าไหร่กันบ้างนะครับ

จากที่ผมอ่านกระทู้เก่าๆ(กระทู้พี่บังที่พูดเรื่องLEDไว้) สำหรับไฟ LED เเล้วต้องเลือกให้ดีเพราะว่าบางครั้งสีที่ออกมามันขาวจริง เเต่มันเกิดจากการผสมสีของหลอด ทำให้ดูขาว ซึ่งจริงๆเเล้วเลี้ยงไม้นํ้าไม่ได้ ก็มีถมไปครับ .... เเต่ถ้าเลือกตัวที่ดีๆหน่อย ผมว่า LEDดีกว่าเยอะครับ เพราะมันไม่ร้อนเเละอายุการใช้งานนานกว่ามาก ซึ่งLEDที่ผมลองใช้เเทนPL (เลี้ยงหวีดจิ๋ว)เเละพอใจกับโคมมากๆคือ LED up aqua z series ครับ(ไม่ได้ค่าโฆษณานะค้าบ5555) ส่วน LEDของIntenseเห็นเค้าว่าเเจ่ม เดี๋ยวจะลองใช้เเล้วมาบอกกันครับว่าดีเเค่ไหน เเละที่อยากลองอีกตัวคือพวกหลอด Grow light ที่สีออกม่วงๆ ชมพูๆ ต่างประเทศใช้เลี้ยงต้นไม้
กันเยอะมาก น่าสนใจครับ อิอิ
จบไปนะครับกับความสัมพันธ์ของค่าK อุณหภูมิสีของเเสง กับความยาวคลื่นในช่วงที่พืชต้องการ ยํ้าว่า
ตัวเลขของเเสงที่ส่องหน้าเราอยู่ตอนนี้นั้นมีค่าKเป็นช่วงนะครับ ไม่ใช่เป็นค่าโดดๆเหมือนเลขล๊อตเตอรี่ ดังนั้นสิ่งที่อยากจะให้เข้าใจมากที่สุดคือ เเสงจากดวงอาทิตย์ที่อยู่ไกลโพ้นนั้นเมื่อเดินทางมาหาเรา มันก็จะได้รับพลังงานเพิ่มเเละมีการสูญเสียพลังงาน
จนเดินทางมาถึงเราด้วยค่าK ในช่วงๆหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่ว่านี้มันรวม 6500K ที่เป็นค่าKที่เหมาะสมเเละดีที่สุดสำหรับพืชไว้ด้วย
(เเหม่ เเสงมันก็เจ๋งนะครับ) เเละถ้าถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าพืชชอบเเสงช่วงไหน ต้องไปดูที่ความยาวคลื่นที่รงควัตถุในพืชสามารถดูดกลืนได้(ตอบสนองได้ดี)อย่างที่กล่าวมาครับ ดังนั้นเลือกหลอดให้ใกล้เคียง6500K มากที่สุดนะครับ
อ้างอิงเนื้อหาส่วนต้นที่เเปลมาจากเว็บนี้ >http://www.theodoropoulos.info/attachments/076_kodak03_Nature-of-Light.pdf
อ้างอิงความหมายของค่าK > http://www.tieathai.org/know/general/general0.htm
อ้างอิงส่วนรูปภาพอื่นๆพวกรูปเเสดงการวัดความยาวคลื่น ฯลฯ มาจากกูเกิ้ลครับ อิอิ
เพิ่มเติมเรื่องรงควัตถุใครอยากอ่านเพิ่มก็ไปอ่านในด้านล่างของกระทู้อันนึงที่คุณ
ณชช โคม ปะการัง เคยเอามาอธิบายไว้ครับ > http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=238692.0
บทความอันนี้ค่อนข้างจะยาวมากเหมือนบทความอื่นๆที่ผมเคยทำไว้นะครับ เพื่อความละเอียดเเละครอบคลุมมากที่สุด เเละถ้ามีตรงไหนที่อธิบายไม่เคลียร์หรือมีข้อสงสัยก็ถามได้ครับ เเละถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดผมขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะส่วนที่เเปลก็เเปลเองสดๆ ส่วนที่อธิบายก็อธิบายจากความเข้าใจ ประกอบกับเช็คจากเว็บต่างๆครับ ... อยากจะบอกว่า ตั้งใจทำมากกกกครับ บทความนี้ ดังนั้น ช่วยอ่านให้จบด้วยนะครับ ขอบพระคุณค้าบบบ ไว้พบกันใหม่ครับ อิอิ ROMMY
12dec2013 [21.00] เเก้คำผิด&อธิบายบางส่วนเพิ่มเติม เเละใส่ภาพประกอบเพิ่มเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เเล้วนะครับ ลองอ่านดูครับ อิอิ