Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1 2 3   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความอุ่นๆรับลมร้อน : การควบคุมอุณหภูมิในตู้ทะเลด้วยพัดลม  (อ่าน 49071 ครั้ง)
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« เมื่อ: 15/03/12, [14:24:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


* Cooling_Aquarium_Fan.jpg (167.06 KB, 543x640 - ดู 22388 ครั้ง.)

คำแนะนำก่อนอ่าน
 [on_018]บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อคนงบเบาๆ ที่ไม่สามารถดูแลค่าใช้จ่ายระยะยาวที่ต้องจ่ายเป็นค่าไฟของชิวเลอร์ได้
ผู้เขียนเรียบเรียงจากการดูแลตู้ของตัวเองถ้าใครมีแนวคิดเสริมช่วยๆกันเติมด้วยนะครับ
ถ้าอ่านแล้วสามารถเป็นประโยชน์กับตู้ใครซักคนก็ดีใจมากมายแว้ววว... [on_055] มาเริ่มกันเลยดีก่า

[on_019] จากแนวความคิดในการตั้งตู้งบเบาๆที่ได้จากตา Mixzer จนมาเป็นงบเริ่มบานปลายในภาคต่อมา
แต่ผมก็ยังคงแนวทางเดิมอยู่คือพยายามเลี้ยงโดยให้งบการดูแลแต่ละเดือนมันยังคงเบาๆ

เพราะฉะนั้นจึงไม่คิดที่จะใช้ไฟที่ให้คลื่นแสงสมบูรณ์แบบแต่ร้อนตับแลบอย่าง MH หรือ T5ho [ร้อนตับแล่บ]
ที่แม้ว่าร้อนน้อยกว่าแต่ครบปีหลอดเสื่อมก็งบบานแทบเหมือนซื้อโคมใหม่ ก็ต้องจบที่ LED นี่แหละ

กับราคากลางๆของ Cidly 45 w ตัวบัจจุบันที่ใช้อยู่ก็ถือว่าพอใจกับราคาที่จ่ายไป หลายคนมักจะถาม

มาทาง PM ว่าไฟร้อนไหมก็ขอตอบไว้ตรงนี้เลย LED ไม่ใช่ว่าจะไม่ร้อนเลยซะทีเดียวแต่ไม่ได้มีไอร้อน

ไปกระทบผิวน้ำจนส่งผลให้อุณหภูมิร้อนขึ้นมากมาย จากที่เคยสัมผัสมาขอไล่ระดับไอร้อนจากมาก

[on_027] ไปหาน้อยให้ตามนี้ "MH > T5ho > T5,PL > LED w สูงๆ > LED Spotlight > LED w ต่ำๆ"
อันดับแรกส่งผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำอย่างชัดเจน

อันดับ 2-3 ส่งผลชัดเจนในสภาวะที่ห้องไม่มีการถ่ายเทของอากาศ

อันดับ 4-5 ส่งผลบ้างเล็กน้อยแต่ไม่เห็นอย่างชัดเจนถ้าห้องมีอากาศที่ถ่ายเทสะดวกไม่อบอ้าวและชื้นมากนัก

อันดับสุดท้ายแทบไม่เห็นผลอะไรอย่างในตู้ผมใช้ LED 3w (1 w*3) เลี้ยงสาหร่ายในช่องกรองอยู่

ทั้งหมดคือในกรณีที่ตู้ตั้งอยู่ในห้องอากาศปกติไม่ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศนะครับ

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็แค่อยากจะชี้ให้เห็นก่อนว่าโคมไฟแต่ละประเภทส่งผลต่ออุณหภูมิอย่างไรบ้าง

ทีนี้เรามาดูแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นๆนอกเหนือจากโคมไฟที่เป็นตัวเพิ่มความร้อนให้ตู้เรากันบ้าง

ปัจจัยกำเนิดความร้อนภายในตู้: ปั้มน้ำ ปั้มสกิมเมอร์ ปั้มกระบอก Remover ปั้มทำคลื่น

ปัจจัยกำเนิดความร้อนภายนอกตู้: โคมไฟตู้หลัก โคมไฟเลี้ยงสาหร่าย สภาพอากาศภายนอกตู้
ตำแหน่งที่วางตู้ ความหนาของกระจกที่เป็นตัวถ่ายเทความร้อนระหว่างตู้กับภายนอก
Correct! จากทั้ง 2 ปัจจัยถ้าเราทำความเข้าใจให้ดีจะเห็นว่าอุปกรณ์ในตู้เราล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเพื่อความร้อน

ลงไปในตู้เราทั้งนั้น  นี่เป็นจุดที่จะชี้ให้เห็นว่าทำไมเราถึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีให้เหมาะกับขนาดตู้

อย่างในตู้ผมๆได้เลือกที่จะลงทุนกับปั้มน้ำหลักที่ราคาสูงหน่อยมากกว่าจะใช้ของจีนเพราะเมื่อปั้มทำงาน

ความร้อนที่เกิดขึ้นกับปั้มราคาย่อมเยาว์กับปั้มที่ราคาสูงหน่อยไม่เท่ากันอย่างชัดเจน ในขณะที่ปั้มราคา

ย่อมเยาว์จะระบุเลยว่าใช้ใต้น้ำเท่านั้น แต่ที่ราคาสูงจะสามารถทำงานได้ในสภาวะที่ไม่มีน้ำได้โดยที่

ไม่เกิดอาการปั้มไหม้ขึ้นเพราะความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานไม่สูงมากนัก  สกิมเมอร์ก็เช่นกัน

ควรเลือกใช้ให้พอดีๆกับปริมาณน้ำในตู้เพราะยิ่งตัวใหญ่มาก็หมายความว่าปั้มที่ทำน้ำก็ใหญ่ด้วย

สิ่งที่ตามมาก็คือความร้อนจากการทำงาน ในส่วนนี้อาจมีคนแย้งนะครับว่า อ้าว!!ก็เราเน้นให้ทำน้ำ

ให้ได้เยอะๆเพื่อกำจัดของเสียไม่ใช่เหรอ คำตอบของผมคือทั้งใช่และไม่ใช่ครับสำหรับคนที่สนใจ

จะเลี้ยง sps หรือพวกเขาต่างๆควรอย่างมากที่จะใช้สกิมเมอร์ที่ทำน้ำได้หลายๆเท่า เพื่อสร้างตู้ที่มี

สภาวะที่ดีสะอาดจัดๆให้เหมาะสมกับการเลี้ยงก้นตู้กลุ่มนี้...แต่ถ้าท่านจะเลี้ยง sps ก็คงต้องลงชิวเลอร์

เพราะต้องการตู้ที่น้ำเย็นไม่มีการแกว่งของค่าต่างๆมากนักนั้นก็หมายความว่าท่านไม่ต้องคำนึงถึงความร้อน
ที่เกิดจากอุปกรณ์ในตู้แน่นอน [on_065] ใช่ไหม?  ส่วนที่ผมกล่าวอยู่นี้สำหรับตู้พัดลมจึงต้องมองแต่ละจุดให้ละเอียดค้าบ
ส่วนตัวสกิมเมอร์ที่ผมใช้แค่พอดีน้ำเท่านั้นแต่เน้นใช้ตัวที่ปั่นฟองได้ค่อนข้างละเอียดจากตัวเดิมคือ

Octopus Nano Skimmer NS-80 กับตู้ไซส์เดิมประมาณ 80L ตัวสกิมเมอร์ก็ทำน้ำได้ที่ 80L เช่นกัน

ก็ทำงานได้ดีจับเมือกตะกอนได้ระดับนึง ตู้ก็ไม่มีปัญหาอะไร โรคต่างๆก็ไม่เคยเกิด ตัวเทสก็ไม่เคยผิดปกติ

มาตัวบัจจุบัน BM QQ กับตู้ไซส์ใหญ่ขึ้นอีกนิดปริมาณน้ำรวมที่ 95L ตัวสกิมเมอร์ก็ทำน้ำได้ที่ 100L จากที่
ได้ใช้มาปั่นได้ดีสมราคาระดับได้เมือกโคลนกันเลยทีเดียว [on_026] ก็ไม่เห็นจะพบปัญหาอะไรกับการที่ใช้ขนาด
สกิมเมอร์ให้พอดีกับปริมาตรน้ำในตู้นะครับที่แน่ๆคือเปิด-ปิดสกิมเมอร์ความร้อนไม่ต่างเพราะปั้มตัวไม่ใหญ่

ส่วนตัวทำคลื่นถ้าไม่ลงทุนหนักๆไปเล่นพวก MP10 ไงๆก็ต้องทำใจว่ามีร้อนบ้างถ้าเทียบกันแต่ก็

ไม่ได้เยอะอะไรมากมาย ทำไมพวกแพงๆอย่าง MP10 ถึงไม่ทำให้น้ำร้อนขึ้นก็เพราะปั้มมันติดอยู่นอกตู้ไง

ใบพัดหมุนได้ด้วยหลักการระบบแรงดึงของแม่เหล็กถึงได้สามารถสร้าง Night Mode ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยการลดรอบหมุนจากแรงดึงของแม่เหล็กเอาซึ่งพวกปั้มทำคลื่นแบบติดแกนใบพัดย่อมทำไม่ได้แน่นอน

ที่พล่ามมาทั้งหมดนี้เพื่อจะอธิบายให้เห็นภาพว่าอะไรที่ทำให้ตู้เราอุณหภูมิสูงขึ้นได้บ้าง ไม่ใช่อะไรๆก็โทษโคมไฟจ้า

[on_018] เรามาว่ากันต่อถึงปัจจัยภายนอกบ้างอย่างที่ผมบอกเอาไว้ในข้างต้นที่มีผลกระทบต่อตู้เราคือ
- โคมไฟตู้หลัก
- โคมไฟเลี้ยงสาหร่าย
- สภาพอากาศภายนอกตู้
- ตำแหน่งที่วางตู้
- ความหนาของกระจก

2 อันแรกคงไม่ต้องอธิบายอะไรมากมายแหล่งกำเนิดแสงสว่างย่อมสร้างความร้อนดั่งเช่นดวงอาทิตย์
ที่ส่องกลางประเทศไทยให้อบอุ่นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน [on_009] ปีนี้มันจะร้อนไปไหนฟ่ะ!!!
เรามาว่ากันที่สภาพอากาศภายนอกตู้กับตำแหน่งที่วางตู้กันเลยดีกว่า 2 อย่างนี้ส่งผลโดยตรงต่อ

อุณหภูมิภายในตู้โดยเฉพาะตู้ที่พึ่งพาพัดลมในการควบคุมอุณหภูมิ ผมใช้คำว่า"ควบคุมนะครับไม่ใช่ลด"

อยากให้มือใหม่หรือมือเก๋าที่ยังงงๆ เน้นทำความเข้าใจคำนี้ในหลักการทำงานของพัดลมที่ผมจะพูดถึง

ในช่วงถัดๆไป
[on_067] ตำแหน่งที่วางตู้ถ้าอับลม + ใช้โคมไฟที่สร้างอากาศร้อนให้บริเวณรอบๆตู้ = ก็ดูดเป่าลมร้อนกลับ
ใส่ตู้ ---->  [on_063] ตู้เราก็มีแต่ร้อนขึ้นๆ เท่านั้นเองหรือแม้ว่าใช้โคมแบบที่ไม่มีไอร้อนแต่ตั้งตู้ไว้ในห้องที่อากาศ

ไม่ถ่ายเท อบอ้าวโดยเฉพาะในช่วงกลางวันก็ให้ผลแบบเดียวกันคือเป่าลมร้อนรอบๆตู้ลงใส่ตู้ของเรา
เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึงอากาศรอบตู้ด้วยว่าเป่าพัดลมไปแล้วจะดีขึ้นจริงหรือเปล่า [on_035]

ความหนาของกระจกที่เป็นอีกปัจจัยนึงที่คนเลี้ยงอาจไม่ได้คำนึงหรือคิดถึงว่ามีส่วนทางอ้อม

ต่อการเพิ่มลดของอุณหภูมิในตู้เพราะกระจกเป็นตัวกลางที่ถ่ายเทความร้อนระหว่างตู้กับภายนอก

การที่เราเลือกใช้กระจกหนาอย่างแรกที่เรานึกถึงก็คือความแข็งแรงในการทนต่อแรงดันน้ำที่กระทำต่อกระจก

เราจึงเลือกที่หนาๆไว้ก่อนตามกำลังทรัพย์เพื่ออนาคตอาจทำตู้คลื่นโยกๆกับเค้าบ้าง แต่จริงๆแม้ว่า
จะตั้งตู้เล็กผมก็ยังแนะนำให้ใช้กระจกหนาไว้ก่อน (ถ้าจ่ายไหว) [on_062] เพราะยิ่งกระจกหนาก็หมายความว่า
เราจะมีตัวกระจกเป็นเสมือนฉนวนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างๆช้าๆ เหมือนบ้านที่

ปูฉนวนกันความร้อนไว้บนฝ้านั้นเอง อย่าลืมว่าจุดที่ตู้สัมผัสอากาศไม่ได้มีแต่ผิวน้ำที่เราเป่าพัดลมแต่
ยังมีกระจกอีกถึง 4 ด้านที่รับไอร้อนรอบๆตู้ของเรา n032
ทั้งหมดที่พูดมานี้คือการปูเรื่องกล่าวนำก่อนจะไปถึงหลักการใช้พัดลมในการควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ [เอ๊ะ!!!]...ยาวเนอะ?

"พัดลม" มีหลายรูปแบบให้ท่านๆสรรหามาลองใช้ทั้งแบบพัดลมหน้ากว้าง 1-5 นิ้ว ใบเดี่ยว

ใบคู่ ใบเล็กเรียงเป็นแถว แบบหางกระรอก แบบหอยโข่ง แบบไร้ใบ ฯลฯ ก็สุดแล้วแต่ท่านๆ

จะหากันมาใช้ได้แล้วแบบไหนดีที่สุดล่ะ?  อันนี้ผมคงช่วยฟันธงให้ไม่ได้แต่ถ้าให้แนะนำคือ

ใบพัดควรกระจายลมได้ครอบคลุมพื้นที่ผิวน้ำทั้งหมดและสามารถปรับมุมทิศทางการเป่าได้จะดีมาก

ของผู้เขียนเองก็ไม่ได้ใช้แบบที่พิเศษอะไรมากมายก็แบบไฟตรง 220v หน้ากว้าง 5 นิ้วปรับคอขึ้นลงได้

แบบภาพที่โชว์หน้ากระทู้นี้อ่ะแหละ เหตุผลที่ไม่ใช้ให้มันใหญ่กว่านี้ก็ลองอ่านในบทความต่อไป

ว่าทำไมไม่จำเป็นต้องใช้ที่มันใหญ่มากๆเอาแค่พอดีๆก็พอครับ



จากภาพด้านบนผมเอามาเพื่อใช้ประกอบการอธิบายหลักการควบคุมอุณหภูมิด้วยพัดลมของเรานั้นเอง

อุณหภูมิที่สูงขึ้นย่อมส่งผลต่อความร้อนในน้ำที่เพิ่มขึ้นตามอากาศโดยรอบแต่ก็ถูกควบคุมเอาไว้โดยลม

คุ้นๆไหม เมื่อลมพัดผ่านผิวน้ำก็จะดึงไอร้อนขึ้นมาพร้อมกัน ไอน้ำถูกทำให้ระเหยขึ้นมาเพราะอากาศร้อน

เจอกับอากาศที่เย็นกว่านั้นเองแต่ยังมีอีกปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อการระเหยเพื่อลดอุณหภูมิของน้ำนั้นก็คือ

"ความชื้นสัมพัทธ์" ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อการระเหยของน้ำว่าจะมากหรือน้อย
(สนใจอ่านให้ลึกซึ้งก็ตามนี้เลย http://www.thaibtc.com/Relativehumidity.htm )

หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้บ่อยๆในข่าวพยากรณ์อากาศนะครับ อธิบายง่ายๆก็คือ

- ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ---> อากาศแห้งน้ำระเหยได้ดี
- ความชื้นสัมพัทธ์สูง ---> อากาศชื้นน้ำระเหยได้ไม่ดี

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นเราจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอสภาวะอากาศร้อนชื้น ซึ่งทุกคนก็คงจะรู้สึกว่า

มีบางครั้งที่ฝนตกแต่เรากลับรู้สึกว่าอากาศร้อนขึ้นนั้นก็เพราะความร้อน + กับความชื้นในอากาศเกิน 100%

จึงทำให้เราระบายความร้อนด้วยเหงื่อออกมาไม่ได้มีแต่ไอน้ำมาเกาะที่ตัวเราเหนอะหนะจนเรานึกว่าเหงื่อออก
[on_007] ชักไปไกลล่ะกลับมาที่ตู้เราดีก่า  มันก็คือหลักการเดียวกันนั้นแหละ
คนเราเหงื่อออกเพื่อลดความร้อนในร่างกายลงก็เท่ากับที่เราติดพัดลมเพื่อทำให้น้ำระเหย(เหงื่อออก)

เพื่อลดความร้อนของตู้ทะเลนั้นเอง


ที่นี้เรารู้แล้วว่าเราสามารถลดความร้อนของตู้ลงได้ด้วยหลักการระเหยของน้ำแต่หลักการนี้มีข้อจำกัดอยู่คือ

- น้ำจะระเหยเพื่อลดความร้อนได้ดีจะต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เหมาะสมคือไม่สูงเกินไป
- การลดอุณหภูมิลงด้วยพัดลมสามารถลดได้เต็มที่ก็แค่ 1-3 องศาจากอากาศบริเวณรอบๆตู้
แม้ว่าจะใช้พัดลมตัวใหญ่แค่ไหนก็ตาม พวกโฆษณาข้างกล่องว่าลดได้ถึง 8 องศาเค้าก็ไม่ได้โกหกนะ
แต่เค้าหมายถึงใช้พัดลมในห้องแอร์หรือที่อากาศเย็นจัดอ่ะ 036
**ผมอ้างอิงการใช้งานตามสภาพอากาศที่กรุงเทพฯนะครับ

เพราะฉะนั้นเลิกคาดหวังกันได้แล้วกับการกดอุณหภูมิลงเยอะๆ ถ้าท่านๆไม่ได้อยู่ในจังหวัดที่อากาศเย็น

และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำพอจะช่วยให้พัดลมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Correct! "เราใช้พัดลมเพื่อ
ควบคุมกดอุณหภูมิเอาไว้ที่ค่าใดค่านึงไม่ให้แกว่งมากขึ้นลงบ่อยและเร็วเกินไป"
โดยควรใช้คู่กับ

Temperature Control ช่วยในการควบคุมการทำงานของพัดลมอีกที TC หน้าตาก็ตามภาพด้านล่างนี้เลย



การทำงานของ TC ก็ไม่มีอะไรมากอย่างในภาพตัว TC จะต่อพวงกับปลั๊กพ่วง อุปกรณ์ที่เราเสียบใช้งานก็

จะถูกควบคุมการเปิด-ปิดทำงานตามอุณหภูมิที่เราตั้งไว้เช่น ตู้ผมตัังค่าไว้ที่ 28 องศาหน่วงการทำงานไว้ที่

0.5 องศานั้นก็คือเมื่อตู้เรามีความร้อนสะสมไปแตะที่ 28.5 องศาตัว TC ก็จะจ่ายไฟให้ปลั๊กพ่วงให้พัดลม

เริ่มทำงาน พอทำงานไปซักพักอุณหภูมิในตู้ลดต่ำลงจนถึงค่าที่ตั้งคือ 28 องศา TC ก็หยุดจ่ายไฟ

นี่แหละที่ผมพยายามอธิบายให้เข้าใจกันว่าทำไมถึงให้ใช้แค่พัดลมขนาดที่พอดีๆ ไม่ต้องใหญ่มากมาย

เพราะเราต้องการแค่กดอุณหภูมิเอาไว้ที่จุดนึงไม่ได้ใช้เพื่อลดอุณหภูมิ ถ้าใช้ตัวใหญ่ๆให้อุณหภูมิลดได้เร็วๆ

สิ่งที่จะตามมาคือค่าต่างๆในตู้เราจะแกว่งตัวตลอดเวลาในช่วงเล็กๆ ซึ่งก็คือค่าแกว่งที่เราไม่พึงประสงค์นั้นเอง

สิ่งที่เราควรจะควบคุมให้ได้สำหรับตู้ทะเลน้อยๆของเราก็คือให้ค่าต่างๆเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงแบบช้าๆ

เพื่อให้สิ่งมีชีวิตต่างๆในตู้เราได้ปรับตัวอย่างช้าๆเช่นกัน อย่างงี้ถึงจะเรียกว่าค่านิ่งที่เราต้องการ

กลับมาว่ากับต่อที่พัดลมล่ะนะครับ ตามภาพด้านล่างจะเห็นทิศทางของกระแสต่างๆที่เกิดขึ้นในตู้ของเรา



ลูกศรสีน้ำเงินคืออากาศเย็นที่เป่าออกจากพัดลมของเรา  จากที่เคยปรับมาหลายๆมุมแล้วผมสรุปได้ว่า

มุมเฉียงเป่าลงกระทบผิวน้ำให้ผลในการลดอุณหภูมิดีที่สุด  และเราต้องจัดให้กระแสน้ำในตู้มีการหมุนเวียน

ดันเอาน้ำด้านล่างขึ้นมาไหลเวียนด้วยถึงจะสร้างความคงที่ของอุณหภูมิในตู้ได้ดีกว่าตู้ที่ไม่ติดตั้งตัวทำคลื่น

อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากเนอะเพราะแต่ละตู้ก็ต้องปรับตำแหน่งดูเองถึงจะรู้ว่าแบบไหนดีที่สุดสำหรับเรา

ที่นี้เราก็ยังมีจุดสุดท้ายที่ต้องดูแลให้ดีเพื่อสร้างระบบที่สมบูรณ์ในตู้เรานั้นก็คือการดูแลน้ำที่ระเหยไปจากการ

ใช้พัดลมเพื่อควบคุมอุณหภูมิ อันนี้ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละท่านแล้วล่ะว่าจะขยันเติมเองทีละน้อยบ่อยๆ

หรือหาวิธีเติมอัตโนมัติอื่นๆมาใช้เช่น ถุงน้ำเกลือ ขวดหยดน้ำ (อันนี้มีลิขสิทธ์นะครับ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=peepunim&month=15-02-2010&group=7&gblog=3 ) ถังเติมน้ำ ฯลฯ เอาตามชอบเลยครับอย่างของผมใช้ถุงน้ำเกลือซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป



ผมหยดลงที่ช่องสาหร่ายลูกศรสีน้ำเงินความเร็วในการหยดก็ 4-5 วินาที/หยดสำหรับอากาศปกติ ถ้าร้อน

อบอ้าวจัดก็ 2-3 วินาที/หยด บางทีกลับมาน้ำลดไปเยอะก็ไม่เติมทีเดียวเยอะๆแต่ใช้หยดเอาให้หยดเร็วๆหน่อย

จนถึงระดับน้ำที่เราต้องการค่อยปรับกลับมาให้หยดเท่าเดิม ผมว่าทำอย่างงี้ค่าจะแกว่งน้อยกว่าเยอะ
[on_047]......จบล่ะ หวังว่าจะอ่านกันเพลินๆและได้ประโยชน์นำไปใช้กันนะค้าบบบถูกใจ Like + ให้เป็น
กำลังใจด้วยน้าาาาาาา

Tip 1: ตัวหัววัดอุณหภูมิของ TC ควรแช่ในน้ำจืด ro โดยหาหลอดแก้วมาใส่น้ำแช่หัววัดแล้วแช่ในตู้อีกทีนะจ๊ะ
ไม่งั้นไม่เกินครึ่งปีพังแน่
Tip 2: Mh ใช้พัดลมได้ไหม? ต้องดูสภาพอากาศรอบๆครับ ถ้าไม่อบอ้าวเกินไปก็แนะนำว่าจัดพัดลม 2 ตัวๆนึง
ก็ทำเหมือนในบทความ อีกตัวเปิดตลอดเวลาที่เปิดไฟจัดให้เป่าขึ้นหรือพัดแหงนเฉียงๆเป่าไอร้อนที่แผ่ออกมาจากโคม
ให้ไปทางอื่นไม่แผ่ลงมาที่ผิวน้ำ
Tip 3: ควรมีปรอทธรรมดาอีกอันแขวนไว้ที่ตู้หลัก หัววัด TC ให้ไว้ที่ตู้กรองเพื่อเทียบกันดู
Last Important Tip!!: ตู้ที่ใช้พัดลมควบคุมอุณหภูมิต้องรู้ข้อจำกัดของตัวเอง ค่าของเสียจากอาหารและการขับถ่าย
เกิดขึ้นง่ายและเร็วกว่าตู้ชิวเลอร์ มีข้อจำกัดในการลงก้นตู้ๆ ที่จะนำมาเลี้ยงควรศึกษาให้ดีว่าเหมาะกับอุณหภูมิน้ำไหม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/03/12, [11:41:57] โดย Romeo_Pop »
Tags: ตู้ทะเล 
boyza honda ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 15/03/12, [14:35:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณคับพี่  [เจ๋ง]
`BosS zA ๏๏ ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #2 เมื่อ: 15/03/12, [16:04:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ  พี่ป๊อบครับหลอดT5HO อย่างต่ำกี่เดือนถึงต้องเปลี่ยนหรอครับ
i_pop ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #3 เมื่อ: 15/03/12, [17:53:23] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ้าว.... มาทำให้อยากแล้วก็จากไป cry02 cry02 กลับมาต่อเร็วๆเน้อ
มาเก็บเกี่ยวความรู้ครับ  พี่ป๊อบครับหลอดT5HO อย่างต่ำกี่เดือนถึงต้องเปลี่ยนหรอครับ
8-10เดือนบอส แต่ถ้างบหมดก็ถูๆไถๆไปซัก12เดือนแต่ไม่ควรเกินนี้มันไม่ดี
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #4 เมื่อ: 15/03/12, [18:02:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ้าว.... มาทำให้อยากแล้วก็จากไป cry02 cry02 กลับมาต่อเร็วๆเน้อ8-10เดือนบอส แต่ถ้างบหมดก็ถูๆไถๆไปซัก12เดือนแต่ไม่ควรเกินนี้มันไม่ดี
มาข้างนอกพิมพ์ด้วย iPhone มันยากอ่ะรอกลับบ้านก่อน จะว่าไปงวดนี้เขียนซะยาวเค้าว่าคนไทยขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ ไม่รู้เขียนแล้วจะมีคนที่อ่านจบทุกบรรทัดกี่คนน้าาาา [on_035]
หลอดก็ตามคุณป๊อปเลยประมาณนั้น สว่างอยู่ไม่ได้หมายความว่าไม่เสื่อมนะน้อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15/03/12, [18:07:14] โดย Romeo_Pop »
FINDING NEMO ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #5 เมื่อ: 15/03/12, [18:04:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กำลังเพลินเลย นึกว่าเล่มเดียวจบ มีเล่ม 2 ซะละ  ้hahaha
orrawankob ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #6 เมื่อ: 15/03/12, [18:35:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง] [เจ๋ง]

รอต่อค่ะ

 [on_055] [on_055] [on_055]
boyza honda ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 15/03/12, [18:49:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เขียนจบแล้วเอาปักหมุดด้วยนะคับพี่  [on_062]
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #8 เมื่อ: 15/03/12, [21:26:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วางข้างตู้เย็น ก็มีส่วนทำให้มันร้อนน่ะครับ อิอิ
ขอถามนิดนึงน่ะครับ
แล้วไฟ led แบบคุณป๊อป อายุการใช่งาน นานไมครับ ถ้ามันพังมีหลอดเปลี่ยนไมครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15/03/12, [21:30:03] โดย jirdkung »
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #9 เมื่อ: 15/03/12, [21:34:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วางข้างตู้เย็น ก็มีส่วนทำให้มันร้อนน่ะครับ อิอิ
ขอถามนิดนึงน่ะครับ
แล้วไฟ led แบบคุณป๊อป อายุการใช่งาน นานไมครับ ถ้ามันพังมีหลอดเปลี่ยนไมครับ

ถูกต้องครับตู้เย็นสมัยนี้แผ่ไอร้อนที่ด้านข้างตู้มากกว่าด้านหลัง
ที่ใช้อยู่ก็ไม่มีปัญหานะถ้าเสียน่าจะที่ตัวขับไฟ(driver)ไม่ใช่หลอดครับ
Mixzer ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 15/03/12, [21:45:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


 มีเพื่อนอยู่ที่จังหวัดตากครับ ตรงแม่น้ำเมย เคยไปเที่ยวบ้านมันตอนหน้าร้อน

  คือ จะบอกว่า ไม่เคยคิดเลยว่า ประเทศไทยจะมี

 พื้นที่ที่ร้อนขนาดนี้อยู่ กลางวัน อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส กลางคืน ก็ไม่ได้ต่างกันเลย

 ถ้าแบบนี้ ผมว่าเปลี่ยนเป็นหม้อสุกกี้ไปเลยจะดีกว่า   [โฟ่ววว] [โฟ่ววว]

 ถ้าอากาศภายนอกร้อน พัดลมก็เอาไม่ไหว

 
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #11 เมื่อ: 15/03/12, [22:13:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "ตาก" เคยไปทีร้อนตับแลบ
อ่านแล้วช่วยเสริมได้นะคุณมิก
Clouds ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 15/03/12, [22:28:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [on_035]ขอบคุณมากครับกับความรู้ดีๆครับ [เจ๋ง]
`BosS zA ๏๏ ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #13 เมื่อ: 15/03/12, [23:49:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พี่ป๊อบครับ รบกวนขอดูทามเมอร์ทีได้มั้ยครับ  แล้วราคาเท่าไรหรอครับ
อาเดียว ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #14 เมื่อ: 16/03/12, [00:19:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "ตาก" เคยไปทีร้อนตับแลบ
อ่านแล้วช่วยเสริมได้นะคุณมิก

จังหวัดนี้ดี แห้งตลอดปี เพราะ ตาก  ้hahaha
i_pop ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #15 เมื่อ: 16/03/12, [07:16:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีเพื่อนอยู่ที่จังหวัดตากครับ ตรงแม่น้ำเมย เคยไปเที่ยวบ้านมันตอนหน้าร้อน

  คือ จะบอกว่า ไม่เคยคิดเลยว่า ประเทศไทยจะมี

 พื้นที่ที่ร้อนขนาดนี้อยู่ กลางวัน อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส กลางคืน ก็ไม่ได้ต่างกันเลย

 ถ้าแบบนี้ ผมว่าเปลี่ยนเป็นหม้อสุกกี้ไปเลยจะดีกว่า   [โฟ่ววว] [โฟ่ววว]

 ถ้าอากาศภายนอกร้อน พัดลมก็เอาไม่ไหว

 
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "ตาก" เคยไปทีร้อนตับแลบ
อ่านแล้วช่วยเสริมได้นะคุณมิก
จังหวัดนี้ดี แห้งตลอดปี เพราะ ตาก  ้hahaha
อีกที่ที่ไม่แพ้กันก็ที่กาญ แต่ที่กาญจะดีกว่าหน่อยคือยังมีป่ามีเขื่อนให้คายร้อนได้บ้างแต่ตรงไหนที่ไม่มีก็พอๆกัน n032
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #16 เมื่อ: 16/03/12, [10:35:42] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พี่ป๊อบครับ รบกวนขอดูทามเมอร์ทีได้มั้ยครับ  แล้วราคาเท่าไรหรอครับ
ข้างๆ TC เลยเป็นแบบอนาล็อกร้านที่เคยบอกในสวนไง 150 ไปแล้วให้พี่เดียวชี้บอกทางก็ได้
ป.ล.อยู่ใกล้สนามหลวง 2 ก็ไปซื้อขวดหยดมาใช้เติมน้ำดิไม่กี่บาทเองเกินคุ้ม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/03/12, [10:40:28] โดย Romeo_Pop »
kasz ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #17 เมื่อ: 16/03/12, [11:56:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ

คุณป๊อป อุณหภูมิ เคยเกิน 28.5 ที่ตั้งไว้บ้างมั๊ยครับ?

บ่อยมั๊ย และจัดการอย่างไรครับ?
`BosS zA ๏๏ ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #18 เมื่อ: 16/03/12, [12:08:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ข้างๆ TC เลยเป็นแบบอนาล็อกร้านที่เคยบอกในสวนไง 150 ไปแล้วให้พี่เดียวชี้บอกทางก็ได้
ป.ล.อยู่ใกล้สนามหลวง 2 ก็ไปซื้อขวดหยดมาใช้เติมน้ำดิไม่กี่บาทเองเกินคุ้ม
ครับผม  แล้วขวดหยดอยู่แถวๆโซนต้นไม้หรอครับ
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #19 เมื่อ: 16/03/12, [12:22:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ
คุณป๊อป อุณหภูมิ เคยเกิน 28.5 ที่ตั้งไว้บ้างมั๊ยครับ?
บ่อยมั๊ย และจัดการอย่างไรครับ?
n032 มีสิครับเฉพาะวันที่อบอ้าวจัดๆอากาศร้อนชื้นหนักๆ พัดลมกดไม่ลงกันเลยทีเดียวก็ต้องพึ่งพาผู้ช่วยคือ "ขวดน้ำแข็ง" ผมเอาขวดน้ำดื่มใส่น้ำให้เต็มแช่แข็งไว้วันไหนแย่จัดๆก็เอามาแช่ในกรองล่างช่องสุดท้ายทีละขวดช่วยประคองไม่ให้อุณหภูมิดีดขึ้นสูงกว่าเกินไปแต่ไม่ได้ใส่ทีละเยอะๆเพื่อให้ลดเร็วๆนะครับใช้แค่กดประคองไม่ให้สูงเกิ้นนนน [ร้อนตับแล่บ] ถ้าสูงไปแตะ 29 แนะนำให้เติมน้ำจืดเพิ่มจากเดิมอีก 1-2 ลิตรเพื่อลดความหนาแน่นในน้ำเค็มที่เพิ่มขึ้นเพราะอุณหภูมิ (ศึกษาเพิ่มได้ที่ข้างถุงเกลือ)
ครับผม  แล้วขวดหยดอยู่แถวๆโซนต้นไม้หรอครับ
[on_018] ใน link มีเบอร์โทรติดต่อถามดูเลยน้องใช้แล้วเอามาให้เพื่อนดูด้วย
reef lover ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #20 เมื่อ: 16/03/12, [14:43:07] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอถามคุณป๊อปตู้ผม 48 x 24 x24  ปริมาณน้ำตู้หลัก + กรองล่างประมาณ 500-600 ลิตร  ปัจจุบันใช้พัดลม Sunon +TC เหมือนของคุณเลย  อุณหภูมิตอนนี้อยู่ที่ 29.2 - 29.8  ไฟเป็น T5 ธรรมดา 2  หลอด + T8 Athenic Blue อีกหนึ่งหลอด  ถ้าผมติดพัดลมเพิ่มที่กรองล่างช่องน้ำขึ้นจะช่วยลดอุณหภูมิได้อีกไหมครับ  ปริมาณน้ำละระเหยมากขึ้นมั้ยครับ  ตอนนี้ผมต้องเติมน้ำตอนเย็นที่กรองล่างวันละครี่งถังหิ้วอย่างน้อย

Hailea 300A จะพอควบคุมอุณหภูมิน้ำไม่เกิน 28 c พอจะได้ไหมครับ  คอมเพรสเซอร์จพโหลดเกินไปหรือตัดช้าลงหรือเปล่าครับ  กลัวค่าไฟอ่ะครับ

ส่วนหัวเซ็นเซอร์ของที่ TC ถ้าผมจะเอาถุงพลาสติค พวกถุงโอเลี้ยงมาหุ้มแล้วรัดด้วยหนังยางจะยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้นไหม  แล้วค่าอุณหภูมิที่วัดได้จะผิดเพี้ยนหรือเปล่า  ตอนนี้ผมปล่อยให้จุ่มน้ำเค็มที่กรองล่าง  ล่าสุดหัววัดเสียไปครั้งหนี่งแล้ว (ใช้ได้แค่สามสี่เดือนเอง) โชคดีที่เคลมกับรัานสีสันได้

ขออภัยถามเยอะไปหน่อยนะครับ
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #21 เมื่อ: 16/03/12, [15:05:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอถามคุณป๊อปตู้ผม 48 x 24 x24  ปริมาณน้ำตู้หลัก + กรองล่างประมาณ 500-600 ลิตร  ปัจจุบันใช้พัดลม Sunon +TC เหมือนของคุณเลย  อุณหภูมิตอนนี้อยู่ที่ 29.2 - 29.8  ไฟเป็น T5 ธรรมดา 2  หลอด + T8 Athenic Blue อีกหนึ่งหลอด  ถ้าผมติดพัดลมเพิ่มที่กรองล่างช่องน้ำขึ้นจะช่วยลดอุณหภูมิได้อีกไหมครับ  ปริมาณน้ำละระเหยมากขึ้นมั้ยครับ  ตอนนี้ผมต้องเติมน้ำตอนเย็นที่กรองล่างวันละครี่งถังหิ้วอย่างน้อย
Hailea 300A จะพอควบคุมอุณหภูมิน้ำไม่เกิน 28 c พอจะได้ไหมครับ  คอมเพรสเซอร์จพโหลดเกินไปหรือตัดช้าลงหรือเปล่าครับ  กลัวค่าไฟอ่ะครับ
ส่วนหัวเซ็นเซอร์ของที่ TC ถ้าผมจะเอาถุงพลาสติค พวกถุงโอเลี้ยงมาหุ้มแล้วรัดด้วยหนังยางจะยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้นไหม  แล้วค่าอุณหภูมิที่วัดได้จะผิดเพี้ยนหรือเปล่า  ตอนนี้ผมปล่อยให้จุ่มน้ำเค็มที่กรองล่าง  ล่าสุดหัววัดเสียไปครั้งหนี่งแล้ว (ใช้ได้แค่สามสี่เดือนเอง) โชคดีที่เคลมกับรัานสีสันได้
ขออภัยถามเยอะไปหน่อยนะครับ

อุณหภูมิเท่านี้ตลอดหรือแค่ช่วงนี้ ยังไงก็คงต้องดูเป็นจุดๆไปอย่างที่ผมอธิบายไว้ในบทความว่าอะไรเป็นปัจจัยทำให้ตู้เราร้อนขึ้นบ้าง พัดลมถ้าไซส์เดียวกับผมเลยก็น่าจะน้อยเกินไปนิดเอาว่าผมใช้กับตู้ 23 ได้พอดีถ้าใหญ่กว่านี้ก็เพิ่มอีกซักตัวจะติดที่ช่องกรองล่างก็ต้องดูว่าอากาศผ่านถ่ายเทได้สะดวกไหมไม่งั้นจะกลายเป็นอัดลมร้อนลงผิวน้ำซะอีก ส่วนการเติมน้ำลองหาวิธีดูครับขวดหยดแบบใน link ที่ผมแปะไว้ก็ไม่เลวรู้สึกจะมีไซส์ใหญ่สุด 6 ลิตร ถ้าเราสร้างสภาวะที่ไม่อบอ้าวเกินไปรอบๆตู้ได้พัดลมก็ไหวนะครับดูอย่างตู้เจ้านายแฟนผมนี่ตู้ 36 กรองล่าง ไฟ MH 150 + T5ho x 2 no chiller ใช้พัดลม 5 นิ้ว 2 ตัวเป่าอย่างที่ผมบอกใน Tip 2 (ไม่ได้แนะนำมั่วๆเห็นตู้ที่ใช้จริงมาแล้วตู้นี้อายุจะ 2 ปีแล้ว) http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=138360.0 [เจ๋ง]
Chiller ผมว่าตัวเล็กไปน่าจะบริโภคไฟน่าดู n032
ตัวหัววัดถ้าจุ่มเลยก็มีอายุประมาณนี้แหละใช้ถุงพลาสติกหล่อน้ำรัดให้แน่นก็ได้อย่าโดนน้ำเค็มเป็นพอแต่ถ้าหาหลอดแก้วได้จะดีมากเพราะจะถ่ายเทอุณหภูมิได้แม่นกว่า หัววัดเค้าเคลมฟรีครับพังอีกทีส่งเองที่จรัญฯเลยได้เร็วกว่า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16/03/12, [15:07:27] โดย Romeo_Pop »
Fibo ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #22 เมื่อ: 16/03/12, [16:30:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ่ม   [เจ๋ง]  ได้ความรู้
reef lover ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #23 เมื่อ: 16/03/12, [16:42:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อุณหภูมิเท่านี้ตลอดหรือแค่ช่วงนี้ ยังไงก็คงต้องดูเป็นจุดๆไปอย่างที่ผมอธิบายไว้ในบทความว่าอะไรเป็นปัจจัยทำให้ตู้เราร้อนขึ้นบ้าง พัดลมถ้าไซส์เดียวกับผมเลยก็น่าจะน้อยเกินไปนิดเอาว่าผมใช้กับตู้ 23 ได้พอดีถ้าใหญ่กว่านี้ก็เพิ่มอีกซักตัวจะติดที่ช่องกรองล่างก็ต้องดูว่าอากาศผ่านถ่ายเทได้สะดวกไหมไม่งั้นจะกลายเป็นอัดลมร้อนลงผิวน้ำซะอีก ส่วนการเติมน้ำลองหาวิธีดูครับขวดหยดแบบใน link ที่ผมแปะไว้ก็ไม่เลวรู้สึกจะมีไซส์ใหญ่สุด 6 ลิตร ถ้าเราสร้างสภาวะที่ไม่อบอ้าวเกินไปรอบๆตู้ได้พัดลมก็ไหวนะครับดูอย่างตู้เจ้านายแฟนผมนี่ตู้ 36 กรองล่าง ไฟ MH 150 + T5ho x 2 no chiller ใช้พัดลม 5 นิ้ว 2 ตัวเป่าอย่างที่ผมบอกใน Tip 2 (ไม่ได้แนะนำมั่วๆเห็นตู้ที่ใช้จริงมาแล้วตู้นี้อายุจะ 2 ปีแล้ว) http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=138360.0 [เจ๋ง]
Chiller ผมว่าตัวเล็กไปน่าจะบริโภคไฟน่าดู n032
ตัวหัววัดถ้าจุ่มเลยก็มีอายุประมาณนี้แหละใช้ถุงพลาสติกหล่อน้ำรัดให้แน่นก็ได้อย่าโดนน้ำเค็มเป็นพอแต่ถ้าหาหลอดแก้วได้จะดีมากเพราะจะถ่ายเทอุณหภูมิได้แม่นกว่า หัววัดเค้าเคลมฟรีครับพังอีกทีส่งเองที่จรัญฯเลยได้เร็วกว่า

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำอันมีประโยชน์  จะนำไปปรับใช้ดูครับ  อุณหภูมิที่ผมบอกไปเป็นช่วงหน้าร้อนนี้  ถ้าเป็นหน้าฝนจะอยู่ที่ 28.0 - 28.5  ถ้าเป็นหน้าหนาวก็ต่ำกว่า 28  ซึ่ง TC จะตัดและไม่จ่ายไฟให้พัดลมทำงาน

รูปตู้เจ้านายแฟนคุณสวยระดับเทพ  เห็นแล้วอยากลงก้นตู้เพิ่ม  คงต้องรอให้ถึงหน้าฝนก่อน  ผมแนบรูปตู้ผมมาให้ดู


Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #24 เมื่อ: 16/03/12, [17:13:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อิจฉาตู้ใหญ่ก็ตรงปลาเยอะนี่แหละ...สวยดีครับ [on_055]
13arcelona ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #25 เมื่อ: 17/03/12, [17:49:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากครับ... [เจ๋ง] แต่ผมเอะใจนิดนึงครับ ตรงที่คุณบอกว่า พัดลมเป็นแบบไฟตรง 220V มันคือ เสียบใช้ไฟบ้านได้โดยตรงเลยใช่ไหมครับ แต่ไฟบ้านทั่วๆไป มันเป็นไฟกระแสสลับ(AC) 220V ความหมายที่ว่า ไฟตรง 220V จึงผิดครับ ถ้าไฟตรงต้องมีการแปลงไฟสลับ(AC)เป็นไฟตรง(DC)ก่อนด้วย Adaptor  เดี๋ยวเขาจะเข้าใจผิดได้น่ะครับ แต่ถ้าผมผิดก็ ขอโทษไว้ด้วยน่ะครับ ช่วยๆกัน  [on_066]
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #26 เมื่อ: 17/03/12, [18:57:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่านแล้วมีประโยชน์มากครับ... [เจ๋ง] แต่ผมเอะใจนิดนึงครับ ตรงที่คุณบอกว่า พัดลมเป็นแบบไฟตรง 220V มันคือ เสียบใช้ไฟบ้านได้โดยตรงเลยใช่ไหมครับ แต่ไฟบ้านทั่วๆไป มันเป็นไฟกระแสสลับ(AC) 220V ความหมายที่ว่า ไฟตรง 220V จึงผิดครับ ถ้าไฟตรงต้องมีการแปลงไฟสลับ(AC)เป็นไฟตรง(DC)ก่อนด้วย Adaptor  เดี๋ยวเขาจะเข้าใจผิดได้น่ะครับ แต่ถ้าผมผิดก็ ขอโทษไว้ด้วยน่ะครับ ช่วยๆกัน  [on_066]
ขอบคุณมากที่ช่วยเติม พัดลมตัวที่ใช้เป็นแบบเสียบเต้าไฟบ้านเลยไม่ต้องใช้ adapter แปลงไฟก็ชักงงว่าเป็น AC หรือ DC กันแน่ครับ
นายบรรเจิด ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #27 เมื่อ: 17/03/12, [23:01:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คุมอุณหภูมิในตู้แล้ว อย่าลืมคุมในห้องน่ะครับ ภาคกลางลมพัดจากใต้ขึ้นเหนือ หน้าหนาวพัดจากเหนือลงใต้ แง้มๆ ประตูหรือหน้าต่างไว้นิดๆ ก็ดีน่ะครับ  (ระวังโจรน่ะ)
ฝ้าเพดาน เอาแบบดีๆไปเลยครับ มีฉนวนกันร้อนด้วยยิ่งดี(บ้านจัดสรรบางโครงการไม่มีน่ะครับลองปีนขึ้นไปดู)
ตู่-KBS ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #28 เมื่อ: 21/03/12, [22:50:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
อยากได้รายชื่อปลาที่ทนๆต่ออุณหภูมิประมาณ 29-30  เหมือนปลาการ์ตูน กับเดมเซล ให้หน่อยครับ
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #29 เมื่อ: 21/03/12, [23:04:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
อยากได้รายชื่อปลาที่ทนๆต่ออุณหภูมิประมาณ 29-30  เหมือนปลาการ์ตูน กับเดมเซล ให้หน่อยครับ
ก็ดูคร่าวๆจากแหล่งอาศัยก็ได้พวกที่ตามธรรมชาติอยู่แถบแนวปะการังเขา sps ทั้งหลายชอบน้ำเย็น
ทั่วๆไปถ้าไม่เกิน 28-29 ก็ไม่มีปัญหาขอแค่อุณหภูมินิ่งที่ค่าใดค่านึงครับแล้วปลาจะไม่เครียดโรคจะไม่มา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21/03/12, [23:06:26] โดย Romeo_Pop »
หน้า: 1 2 3   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: