"ความรู้สึกแรกที่ได้อ่าน ผมว่ามันใช่นะ ถ้าจะเอาไปปรับใช้กับปลาก้นตู้อย่างปลาแพะ"
ผมมีความรู้สึกตื่นเต้นมากๆเมื่อได้อ่านบทความจากเว็บนอก เรื่อง The Silent Killer - The Gravel Vacuum ตื่นเต้นขนาดนอนไม่หลับ และ อยากจะแปลเป็นไทยเอามาบอกทุกๆคนที่เลี้ยงปลาแพะด้วยกัน เพื่อให้แพะสุดที่รักของทุกๆคนปราศจากการตายโดยไร้สาเหตุ ตามที่เคยเห็นโพสๆและได้อ่านกันมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ทฤษฎีนี้มีหลักการที่ได้อ่านตอนแรกๆ อาจจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งกับความเข้าใจของทุกๆคน แต่พอได้อ่านจบแล้ว อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ของเราก็เป็นได้ มาเริ่มกันเลยดีกว่าคับ !

จะใช้หรือไม่ใช้เครื่องดูดทำความสะอาดทรายก้นตู้หรือไม่ !
เครื่องดูดทำความสะอาดทรายมีใช้กันมานานแล้ว และ เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงปลาใช้ทำความสะอาดของเสียก้นตู้ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้เครื่องดูดใหม่ โดยมีหลักการที่ว่า การทำความสะอาดพื้นทรายก้นตู้โดยการดูด เป็นการทำลายสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า ระบบแบคทีเรียก้นตู้ และ ทำให้ค่าแอมโมเนียและไนไตรตก้นตู้สูงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับปลาแพะอย่างมาก จนเป็นเหตุให้ปลาแพะตายหลังจากการทำความสะอาดพื้นทรายเพียงไม่กี่วันต่อมา
จะขอลงต่อไปในรายละเอียดวัสดุที่ใช้ปูพื้น เพราะ นอกจากการใช้ทรายมาเป็นพื้นตู้แล้ว ยังสามารถใช้กรวดเล็กๆได้เหมือนกัน แต่ด้วยข้อดีของการใช้ทรายตรงที่ว่า สามารถทำความสะอาดเก็บกวาดเศษอาหารแล้ว เพราะเศษอาหารจะไม่จมอยู่แค่ผิวทราย และ ยังช่วยลดไนโตรเจนในพื้นตู้ได้อีกด้วย (NNR- Natural Nitrate Reduction)
หลักการ NNR ก้นตู้มีอยู่ว่า ปริมาณออก๊ซิเจนมหาศาลบนผิวทรายชั้นบนสุด เป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียประเภท nitrifying โดยมีชื่อเรียกสายพันธ์แบคทีเรียชนิดนี้ว่า Nitrosopiraและ Nitrospira โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการย้อยสลายของเสียต่างๆเปลี่ยนเป็น แอมโมเนีย และ จากแอมโมเนียย้อยอีกทีจนได้ ไนไตรต เมื่อใดก็ตามที่แบคทีเรีย 2 สายพันธ์นี้ถูกทำลายหรือลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จะเป็นสาเหตุให้แอมโมเนียกับไนไตรตสูง ซึ่งมันสามารถทำให้ปลาตายได้เลย ชั้นล่างสุดซึ่งมีปริมาณออกซิเจนที่ต่ำจนอาจจะไม่มีเลย เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียประเภท Anaerobic bacteria โดยมีความสามารถที่สำคัญคือ มันจะไปเปลี่ยนไนไตรต ที่เป็นผลผลิตจากแบคทีเรียชนิดใช้ออกซิเจน เปลี่ยนมาเป็นก๊าซไนโตรเจนแล้วลอยขึ้นสู่ผิวของดินต่อไป
ปัจจัยในการทำให้เกิดแบคทีเรียชนิด ไม่ใช้ออก๊ซิเจน และ ย้อยสลายไนไตรตให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจน คือ ต้องมีวัสดุปลูกเป็นทรายละเอียดที่หนา 2 ชั้น ชั้นแรกหนา 2 นิ้ว เพื่อเป็นที่อยู่แบคทีเรียประเภทที่ใช้ออก๊ซิเจน และที่เหลือจะเป็นแบคทีเรียประเภทไม่ใช้ออก๊ซิเจนหนารวม 2 ชั้นอยู่ที่ 6 ถึง 12 นิ้ว


(DSB - ย่อมาจาก Deep Sand Bed คือความลึกของการปูทรายก้นตู้)
การใช้เครื่องดูดทำความสะอาดทราย ควรทำได้แต่เฉพาะผิวหน้าของทรายเท่านั้น เพื่อเก็บกวาดสิ่งสกปรกต่างๆและเศษอาหาร ห้ามใช้เครื่องดูดลงไปลึก เพราะ จะเป็นการทำลายแบคทีเรียที่สำคัญ จนเป็นเหตุให้ปลาตายได้ใน 3 - 5 วัน กู้ระบบคืนต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดค่าแอมโมเนียและไนไตรต และ ต้องรอให้ระบบแบคทีเรียกลับคืนสู่สภาพเดิม 1 สัปดาห์ ข้อแนะนำทุกครั้งที่ทำความสะอาดทราย คือ ควรเช็คค่าแอมโมเนียและไนไตรตน้ำในตู้หลังทำความสะอาดพื้นตู้ไปแล้ว 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าปลาจะไม่ตาย
ที่มาของข้อมูลดีๆ http://www.aquaworldaquarium.com/Articles/TonyGriffitts/silent_killer.htm
" ยังมีอีกบทความ เรื่องก๊าซไข่เน่า หรือ ก๊าซไฮโดรซัลไฟต์อยู่กระทู้ด้านล่างคับ (ภาคที่ 2) "