ชื่อไทย : เทวดาอัลตั้ม, เทวดาป่า, เทวดายักษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterophllum altum
ชื่อสามัญ : Altum Angel, Deep Angel
ถิ่นกำเนิด : แม่น้ำโอริโนโค (Rio Orinoco) ประเทศโคลัมเบีย, แม่น้ำเนโกร (Rio Negro) ประเทศบราซิลและเวเนซุเอลา
ขนาด : สามารถโตเต็มที่ได้มากกว่า 12 นิ้วในแนวตั้ง
ลักษณะรูปร่าง : ครีบของเทวดาอัลตั้มนั้น จะค่อนข้างกางตั้งชันเป็นสง่ากว่าเทวดาสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งครีบกระโดงและครีบทวารที่ตั้งชันนี้ ทำให้มันดูลำตัวแคบๆ ผอมยาวและค่อนข้างไปทางทรงสูงมากกว่าทรงป้อม ซึ่งชื่อ Altum ในภาษาลาตินก็แปลว่าสูง หน้าผากที่ค่อนข้างตั้งชันจนดูเหมือนปลาหน้าหักๆไปสักนิด สีลำตัวจะออกไปทางสีเงินๆ เหลือบเขียวหรือเหลือบฟ้า มีจุดสีแดงหรือสีน้ำตาล กระจายตามส่วนบนของลำตัว อย่างบริเวณแนวสันหลังและครีบกระโดง
การเลี้ยงดู : เทวดาอัลตั้มจัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเลี้ยงเทวดาอัลตั้มในตู้ที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่ว่ายน้ำสบายๆ ครีบเครื่องต่างๆของเทวดาอัลตั้มจะกางดูสง่าสวยงาม ถ้าเลี้ยงในตู้ขนาดเล็กคับแคบ หรือทรงตื้นๆ อาจพบว่าครีบต่างๆอาจคดงอได้ ตู้เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่จะช่วยเรื่องการชะลอการเปลี่ยนแปลงของค่าน้ำ ซึ่งเทวดาอัลตั้มค่อนข้างเปราะด้วย
อาหาร : เทวดาอัลตั้นนั้นฝึกให้กินอาหารได้แทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดและแผ่น ไม่ว่าจะจมหรือลอย และอาหารสดอย่างกุ้งฝอย ไส้เดือนฝอย หนอนแดง ลูกน้ำ รวมถึงหนอนนก ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารสดเป็นที่สุด เพราะอาจเป็นตัวนำโรคร้ายมาสู่เทวดาอัลตั้ม ซึ่งค่อนข้างยากที่จะรักษาเนื่องจากมีความต้านทานต่อยาต่างๆได้ไม่ดีนัก
การเพาะพันธุ์ : เทวดาอัลตั้มเป็นปลาน้ำลึก แถมยังต้องการค่าน้ำที่สลับซับซ้อน ประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันได้มีการเลี้ยงเทวดาอัลตั้มกันอย่างกว้างขวาง และมีการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ (Selective Breeding) ให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยในประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเทวดาอัลตั้มขึ้นเป็นสองสายคือ สายสีฟ้าที่เกล็ดเหลือบสีฟ้ากระจายตามลำตัว และสายสีแดงซึ่งมีเกล็ดสีแดงขึ้นเป็นหย่อมๆตามใบหน้า สันลำตัว และครีบกระโดงหลัง
การเพาะพันธุ์เทวดาอัลตั้มนั้น ก็คล้ายกับการเพาะปลาเทวดาสายพันธุ์อื่นๆ ซึ่งการจับคู่แบบที่นิยมกันเป็นวิธีธรรมชาติ โดยเลี้ยงรวมเป็นฝูงหลายๆตัว พ่อแม่ปลามักจะจับคู่กันเองเมื่อมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์ แถบคาดสีดำของเทวดาอัลตั้มจะเข้มขึ้นมากในช่วงใกล้ผสมพันธุ์ หลังจากที่ปลาทั้งสองเลือกคู่กันเองเรียบร้อยแล้ว จะมีพฤติกรรมหวงแหนอาณาเขต ปลาทั้งสองจะเลือกทำเลวางไข่ และป้องกันปลาตัวอื่นไม่ให้เข้าใกล้ เทวดาอัลตั้มมักจะวางไข่บนวัสดุผิวเรียบ เช่น ใบของต้นไม้น้ำ ขอนไม้ รวมถึงผนังกระจกของตู้เลี้ยง รวมถึงโดมวางไข่ของปลาปอมปาดัวร์ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
credit http://www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=707:2012-02-23-07-52-22&catid=35:2012-02-20-02-56-57&Itemid=119
ขออนุญาตเจ้าของรูปด้วยน่ะครับ
การพักอัลตั้ม [เจ๋ง]
http://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=261&action=view บังคับอ่าน
http://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=323&action=view บังคับอ่าน
http://www.pantown.com/board.php?id=173&area=4&name=board4&topic=444&action=view
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=101992.0
http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=107199.0
http://www.arowanasociety.com/?name=webboard&file=read&id=1108
http://arowanasociety.com/?name=webboard&file=read&id=1225
http://aqua.c1ub.net/forum/lite.php?topic=32260.0
http://www.arowanasociety.com/?name=webboard&file=read&id=574
เทวดาชนิดต่างๆ [on_035]
http://www.xn--b3c4bjh8ap9auf5i.th/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2-freshwater-angel-fish/
สู้ๆขอให้รอดกันทุกตัวน่ะครับ ไว้ปีหน้าผมเอามั่ง ปีนี้ยังไม่พร้อม [on_055]
|