หลังจากที่ตัวผู้เขียนฝึกฝนการถ่ายภาพปลามาเป็นเวลาประมาณ6เดือน ถ่ายมันเกือบทุกวัน จนแฟนต้องถามว่า "เป็นไรมากปะ ถ่ายอยู่นั่น" ตัวผู้เขียนจึงสวนไปว่า"ก็คนมันชอบ..ขอเหอะ" ้hahaha
ลองผิดลองถูก พลาดโน้นนี้นั่นมาก็เยอะแยะ ผมเลยอยากมาบอกเล่าประสบการณ์และเทคนิคของตัวผู้เขียนเองให้ชาวหมอแคระได้ทราบกัน(เนื่องจากมีพี่ๆหลายท่านถามมา เลยทำเป็นกระทู้ซะเลยเพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชาวหมอแคระทุกท่าน) เริ่มเลยแล้วกันพร่ามเยอะเกินไปแล้ว... n032
การถ่ายภาพปลาให้ออกมาดูดีนั้น ประกอบไปด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ มุมมอง ความชัด แสง ฯลฯ เราไปลงรายละเอียดกันทีละหัวข้อกันเลยดีกว่าครับ...
กรณีศึกษา จากกล้อง DSLR - CANNON d400 Lens - CANNON 55-250 Tele Zoom
1.ตู้ต้องมีแสงที่เพียงพอ (ยิ่งOverยิ่งดี)
ปกติแล้วแสงของตู้จะมืดซึ่งทำให้ถ่ายภาพยากขึ้นและเห็นรายละเอียดต่างๆในตู้ไม่ชัด เช่นตัวปลา ต้นไม้ ฯลฯ
วิธีแก้ไข ง่ายมาก..ซื้อไฟเพิ่มครับ 036
การวางไฟนั้นให้พยายามวางไฟไว้หน้าตู้ ซึ่งเมื่อถ่ายภาพวัตถุที่อยุ่หน้าตู้(ตัวปลา) จะทำให้ได้ภาพคมชัด ปกติแล้วตัวผู้เขียนจะใช้ไฟอยู่2โคม โคมแรกวางไว้หน้าตู้ โคมที่สองอยุ่ประมาณกลางๆตู้ถึงหลังตู้ โดยมีเทคนิคการตบแสงด้วยการงัดโคมขึ้นให้แหงนเล็กน้อย เพื่อให้แสงจากโคมที่2กระทบตัวปลาจากด้านหลัง สาเหตุจะทำให้ตัวปลาดูมีมิติและสีสันที่ดีขึ้น
ภาพการวางโคมต่อกันแบบธรรมดา

ภาพงัดโคมขึ้นเพื่อตบแสง (หน้าตรง)

ภาพงัดโคมขึ้นเพื่อตบแสง (ด้านข้าง)

ทั้งนี้ทั้งนั้นผลกระทบเกี่ยวกับแสงในตู้ขึ้นอยู่กับรองพื้นด้วยเช่นกัน เช่น รองพื้นสีอ่อนอย่าง ดินArfricana ทำให้ใช้ Speed Shutter ได้มากขึ้น ตู้ของตัวผู้เขียน ใช้ S ตั่งแต่ 80-120 โดยประมาณจากดินArfricana
ส่วนรองพื้นสีเข้มอย่างดิน Black River(ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวหมอแคระ) จะใช้ S ที่ต่ำลงมา 30-50 โดยประมาณ (F-stopที่ใช้ อยู่ที่5.6 และ ISO 1600)
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีเหตุผลง่ายๆตามหลักสีของแสงทั่วไป คือ สีอ่อนจะไม่อมแสงและสะท้อนแสงมากว่าสีมืดๆเข้มๆอย่างสีดำครับ เพราะฉนั้น การใช้ดินหรือรองพื้นที่มีสีสว่างจะทำให้ภาพถ่ายง่ายขึ้น
*กรณีศึกษา จากตู้สูงเพียง10" ความสูงของตู้และน้ำมีผลต่อแสงในตู้ด้วยเช่นกันครับ
2.Focus (ชัดตื้นชัดลึก)
การโฟกัสในการถ่ายภาพปลาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะปลาจะไม่อยู่นิ่งให้ผู้ถ่ายเหมือนกับการถ่ายภาพทั่วๆไป สิ่งที่สำคัญคือต้องใจเย็นรอจังหวะ และโฟกัสก่อนที่จะถ่ายภาพ
เทคนิค ให้พยายามโฟกัสที่ตาของปลา จะทำให้ตัววัตถุ(ตัวปลา) ดูชัดกว่าจุดอื่นๆ
ภาพโฟกัสตา ตัวปลาโดยรวมจะดูชัดทั้งหมดครับ

ภาพโฟกัสลำตัว ทำให้ปลาดูเบลอๆซึ่งก็ชัดแต่ที่ตัว ยกเว้นจงใจที่จะโชว์จดอื่นๆของปลาครับ เช่นหาง ฯลฯ

และต้องพยายามถ่ายภาพปลาที่หน้าตู้ จะทำให้ภาพออกมาคมชัดที่สุด หากถ่ายภาปลาที่อยู่กลางตู้-หลังตู้จะทำให้ภาพมีอาการมัวๆเบลอๆ (อาการนี้ตัวผู้เขียนเรียกว่า "เบลอน้ำ")
ภาพหน้าตู้

กลางตู้ เห็นได้ชัดว่าเกิดอาการเบลอน้ำ อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น

สิ่งที่ทำให้ภาพดุมีมิติและสวยงามยิ่งขึ้นคือ เรื่องของ Fore ground-Back ground หรือ Props ต่างๆในตู้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น ไม้น้ำต่างๆในตู้ หิน โอ่ง กระถาง ฯลฯ การจัดเรียง Props นั้นขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้ถ่ายภาพ
*จุดสังเกตจากประสบการณ์ของตัวผู้เขียน เมื่อถ่ายภาพปลาโดยมี Fore ground-Back ground เป็นต้นไม้น้ำ จะทำให้ปลาดูโดดเด่น มีสีสันและมีมิติยิ่งขึ้น จึงทำให้ภาพปลาแลดูสวยขึ้นครับ
ภาพ มี Fore ground-Back ground

ภาพที่ไม่มี Fore ground-Back ground

3.Speed Shutter - F.Stop - ISO
3สิ่งนี้จะทำงานจากปัจจัยจากแสงในตู้ที่มีมากเพียงพอ
S. ที่เหมาะสมกบการถ่ายภาพหมอแคระนั้น ควรอยู่ที่100 ขึ้นไป (หากต่ำกว่า30 แนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องครับ แต่ก็ช่วยได้เพียงเรื่องของมือผู้ถือกล้องที่ไม่นิ่ง หากปลาขยับนิดเดียวก็เบลออยู่ดีครับ)
F. ที่เหมาะสมคือยิ่งน้อยยิ่งดีครับ ปกติจะอยู่ที่5.6 เพราะจะทำให้ Fore Ground - Back Ground เบลอหรือละลายไปนั้นเอง จึงทำให้ตัวปลานั้นดูโดดเด่นมากขึ้น
ISO. โดยปกติแล้วตู้ปลาจะมืดมากจึงทำให้ผู้ถ่ายภาพใช้ ISO ที่มากที่สุดที่กล้องจะมี ประมาณว่ามีเท่าไหร่ก็จัดเต็มกันเลยทีเดียว แต่ผู้เขียนแนะนำให้ใช้อย่างมาก1600 หากมากกว่านี้ Noise จะเยอะมากจนภาพดูไม่ได้เลยครับ
4.White Balance(WB)
ในส่วนของ WB นั้นจะทำให้สีของภาพนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Mode และให้อารมณ์ที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ซึ่งรองพื้นและไฟแต่ละสี จะใช้ WB ที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป
ตัวอย่างจากดิน Arfricana
WB auto

WB Custom

ตัวอย่างจากดิน Black River
WB auto

WB Custom

*WB นั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของตัวผู้ถ่ายเองว่าชอบภาพสไตล์ไหน เช่น สดใส-ร้อนๆ(โทนส้ม)-เย็นๆ(โทนฟ้า)
*กรณีศึกาจากโคมHopar ที่มีสีโทนเขียวอมฟ้า
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กล้องDSLRกันแล้ว ต่อไปก็ไปดูองค์ประกอบอื่นๆกันบ้างครับ
5.การล่อหมอแคระให้ออกมาถ่ายภาพ
การล่อหมอแคระมี2วิธีหลักๆคือ 1.การใช้อาหารล่อ 2.การใช้กระจกล่อ ซึ่งทั้ง2วิธีนี้จะให้อารมณ์ของภาพที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง
การใช้อาหารล่อนั้นจะทำให้ภาพดูเป็นธรรมชาติมากกว่าการใช้กระจก อารมณ์ของภาพจากการใช้อาหารล่อจะให้อารมณ์ที่น่ารัก-สดใส ส่วนการใช้กระจกล่อนั้นเหมาะกับการโชว์ตัวปลาแบบเน้นๆ ซึ่งจะทำให้ปลาโชว์ฟอร์มได้อย่างเต็มที่ ทั้งสีและครีบที่กางแบบสุดๆ แต่จะให้ภาพที่ดู "แข็งกระด้าง" และไม่เป็นธรรมชาตินัก
ภาพตัวอย่างของการใช้อาหารล่อ

ภาพตัวอย่างของการใช้กระจกล่อ

6.ถ่ายไปเถอะยิ่งเยอะยิ่งดี
เมื่อผู้ถ่ายภาพเห็นจังหวะองค์ประกอบโดยรวม และแอคชั่นของปลาที่สวยงาม ให้กดยิงชัตเตอร์ไปเลยครับถ่ายมาเลือกดีกว่า แล้วไม่ต้องลบนะครับ คงเหมือนกับที่โบราณว่าไว้ "เหลือดีกว่าขาด"
พอคิดว่าถ่ายมามากพอและพอมีภาพที่คิดว่าถูกใจแล้ว ให้นำไฟล์เหล่านั้นมาดูใน "Computer" เพราะหน้าจอของกล้องไม่ค่อยเที่ยงนัก อย่างตัวผู้เขียนเองถ่ายหมอแคระสักคู่นึง ถ่ายภาพมาเป็นร้อยบางทีก็ไม่มีถูกใจเลย หรือไม่ก็5-10ภาพ ให้เลือกภาพที่ดีที่สุดและชัดที่สุด หลังจากนั้นก็นำไป Crop ตามต้องการ
*แนะนำ ให้ปรับไซส์ภาพเป็นระดับ L เพื่อไว้ตอน Crop ภาพจะได้ไม่แตกครับ
7.ขยันฝึกฝน
ฝึกถ่ายบ่อยๆ ไม่สวยก็เอาใหม่ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆครับ ท่านจะเรียนรู้ด้วยตนเองว่ารอบนี้ท่านพลาดตรงไหนและอย่างไรบ้าง ซักวันก็เก่งเองครับ ตัวผู้เขียนคิดว่าทุกท่านมีความสามารถเท่ากันนะ แค่บางท่านขาดประสบการณ์ เหมือนตัวผู้เขียนที่ไม่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกปลาหมอแคระ เลยได้น้อยทุกครอกเลย [on_051]
เอาละครับสิ่งที่ตัวผู้เขียนพอจะนึกออกและอยากถ่ายทอดให้ชาวหมอแคระก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าทุกท่านคงได้ความรู้ไปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ หากตัวผู้เขียนนึกอะไรออกเพิ่มจะมาอัพเดทให้นะครับ
และหากท่านมีคำถามสงสัยตรงไหน หรือที่ผมอธิบายมันกำกวมก็โพสถามในกระทู้นี้ได้เลยครับ ตอบได้ก็จะพยายามตอบ แต่หากไม่ได้ก็งงกันต่อไป ้hahaha
ทั้งหมดนี้หากผิดพลาดประการใด หรือท่านใดไม่เห็นด้วยตรงไหนก็ลองชี้แจงมาได้เลยนะครับ ยินดีรับฟังและพร้อมแก้ไขเสมอ
วันนี้ขอลาไปก่อนสวัสดีครับทุกท่าน [on_055]