Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1 2   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีรักษาโรคจุดขาว oodinium(น้องออดิฯ) โรครู และโรคอื่นๆที่เพื่อนๆช่วยเพิ่มเติม  (อ่าน 69511 ครั้ง)
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« เมื่อ: 19/06/11, [11:41:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


* fgammjicagy74qxdw16bwtk3shxlvshrcoblyvnp.jpg (77.6 KB, 346x322 - ดู 41175 ครั้ง.)

 [on_018] เห็นมือใหม่เริ่มประสบปัญหากันแล้วเลยรวบรวมข้อมูลมาให้ไว้อ้างอิงในการรักษากันนะครับท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนเติมในกระทู้นี้ด้วยจะได้รวมข้อมูลไว้ที่เดียวกันครับ
น้ำสะอาด หมั่นสังเกต แก้ไขทันเหตุการณ์ แค่นี้ก็ช่วยลดความสูญเสียจากโรคภัยได้เยอะแล้ว
ป.ล.การใช้ยามีความเสี่ยงต่อการสูญเสียเช่นกันควรศึกษาอัตราส่วนและขั้นตอนการใช้จากคู่มือให้ละเอียด ปลาแต่ละตัวมีความทนทานต่อยาต่างกันเพราะฉะนั้นดูแลอย่าให้เค้าป่วยดีที่สุดครับ จำไว้วัด No2 ผ่านไม่ได้หมายความว่าน้ำปราศจากเชื้อโรคนะจ๊ะ
 [ร้อนตับแล่บ]     [แข็งกั๋ง]     [งอมพระราม]     [วิญญาณออก]     [นะโม นะโม]     [วิญญาณ]     heaven   ...[กระซิกๆ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15/12/11, [10:45:36] โดย romeo_pop »
Tags: ตู้ทะเล 
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #1 เมื่อ: 19/06/11, [11:45:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรคจุดขาว อาจเกิดเนื่องมาจากโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Cryptocrayon irritans หรือมีชื่อพ้องว่า Ichthyophthirius marinus โปรโตซัวชนิดนี้จะกินเซลผิวหนังของปลาเป็นอาหาร มีรูปร่างแบน มีขนรอบตัว วงชีวิตของ Cryptocaryon แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่เข้าไปเกาะตัวปลาเป็นระยะที่เรียกว่า ธีรอนท์(theront) หรือ โทไมท์ (tomite) เป็นระยะที่ว่ายน้ำเป็นอิสระ แต่ไม่สามารถหาอาหารเองได้ ถ้าไม่มีสิ่งมีชีวิตให้เกาะอาศัย มันก็จะสามารถใช้พลังงานที่มีอยู่ในตัวในการดำรงชีวิตอยู่ได้แต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมงก็จะตาย ดังนั้นในระยะนี้มันจึงต้องหาเจ้าบ้านเกาะอาศัยโดยการเข้าไปเกาะที่ผิวหนังของปลา แล้วปล่อยเอนไซม์ไฮยาลูโนดิเนสมาย่อยเซลล์ผิวหนังของปลา แล้วเปลี่ยนรูปไปเป็นโทรฟอนท์ (trophont) ซึ่งเป็นเป็นระยะปรสิต ระยะนี้จะกินเนื้อเยื่อของปลาเป็นอาหาร แล้วเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยขนาดจะใหญ่เป็น 2 เท่า ทุกๆ 24 ชั่วโมง แล้วภายในเวลา 48 ชั่วโมง ก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะมองเห็นเป็นจุดสีขาวที่ตัวของปลา ประมาณวันที่ 3 หรือ 4 นับจากวันที่ติดเชื้อ โทรฟอนท์ก็จะมีความยาวประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร แล้วก็จะหลุดออกจากตัวปลา แต่โทรฟอนท์มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะว่ายน้ำ ดังนั้นเมื่อออกจากตัวปลาแล้วมันจึงมักเกาะอยู่ตามพื้นผิว เช่น ตามพื้นตู้ ซึ่งต่างจากระยะโทรฟอนท์ของอิ๊กน้ำจืดที่สามารถว่ายน้ำได้อย่างเป็นอิสระหลังจากออกจากเจ้าบ้าน ภายใน 2-3 ชั่วโมง โทรฟอนท์ที่เกาะอยู่ตามพื้นตู้ก็จะสร้างถุงซึ่งมีผนังหนาหุ้มรอบตัว เรียกระยะนี้ว่าระยะเข้าเกราะ หรือ โทมอนท์ (tomont) เป็นระยะสืบพันธุ์โดยภายในเกราะหุ้มจะมีการแบ่งตัวของนิวเคลียสจนได้ตัวอ่อนระยะธีรอนท์ประมาณ 100 – 300ตัว โดยที่ธีรอนท์เหล่านี้อาจจะมีประมาณร้อยละ 5–10 เท่านั้นที่จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดโดยการหาเจ้าบ้านเกาะได้ แต่ภายในระบบปิดมันก็สามารถเพิ่มจำนวนเป็น 10 เท่าทุกๆ 6–8 วัน จึงทำให้การติดเชื้อโรคจุดขาวเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีจำนวนมากจนเป็นอันตรายต่อปลาถึงขั้นทำให้ปลาตายหมดตู้ได้ วงจรชีวิตของ Cryptocaryon นั้นซับซ้อนและจะคงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ในระบบจนกระทั่งปลาตายทั้งหมดหรือไม่ก็ทำให้ปลาเกิดภูมิคุ้มกัน
การรักษา ถ้าไม่สามารถนำปลาออกจากตู้หลักที่มีระบบหรือการเลี้ยงร่วมกับพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหรือพวกพืชน้ำนั้น การรักษาด้วยคอปเปอร์ไม่แนะนำให้ใช้ ส่วนการใช้ฟอร์มาลินก็ต้องพิจารณาสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในตู้เลี้ยงด้วย แต่โดยปกติทั่วไปสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะทนฟอร์มาลีนได้ในขนาดของยาประมาณ 0.03-0.04 ซีซีต่อน้ำ 1ลิตรแช่นาน 24 ชม.เป็นเวลา 10 วัน แต่ขนาดของยาอาจจะไม่เพียงพอในการฆ่าเชื่อนี้ได้หมดไป แต่ถ้าสามารถแยกปลามารักษาได้ ขอแนะนำให้ใช้ฟอร์มาลีน 0.2 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นานเป็นเวลา 30-60 นที โดยดูอาการของปลาด้วย ถ้าปลาดิ้นทุรนทุรายแสดงว่าปลาไม่สามารถทนกับฟอร์มาลีนความเข้มข้นขนาดนี้ได้ ให้รีบเปลี่ยนน้ำทันที แต่ระยะโทรฟอนท์ซึ่งเป็นระยะที่ฝังตัวอยู่ที่เหงือกแล้วเข้าเกราะโดยมีเมือกจากเหงือกห่อหุ้มไว้อีกชั้นหนึ่งนั้น ในระยะนี้ไม่สามารถรักษาได้
การป้องกัน แยกปลาที่ได้มาใหม่ดูอาการภายในอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาที่เพียงพอที่จะทำให้ปลาที่เชื้อชนิดนี้ติดมาด้วยจะแสดงอาการออกมา
รักษาอีกวิธีคือการควบคุมความสะอาดของน้ำและพยายามรักษาอุณหภูมิของน้ำให้คงที่อยู่ในระดับประมาณ 30 องศา(ใช้ฮีทเตอร์วิธีนี้เหมาะกับตู้ปลาล้วน) เป็นระยะเวลา 3 - 4 อาทิตย์หรือใช้ UV ในระบบกรอง

อ้างอิงข้อมูลจากการใช้คำปรึกษาด้านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์น้ำของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19/06/11, [22:56:00] โดย romeo_pop »
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #2 เมื่อ: 19/06/11, [11:47:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

oodinium Amyloodinium ocellatum ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในพวกไดโนแฟลกเจลเลต เมื่อปรสิตชนิดนี้เข้าไปเกาะที่เหงือกจะเป็นสาเหตุทำให้เหงือกปลาการ์ตูนถูกทำลาย เกิดการอักเสบ ตกเลือด หรือถ้ามีการติดเชื้อชนิดนี้จำนวนมากก็จะทำให้ปลาขาดออกซิเจน ภายใน 12 ชม. ปลาการ์ตูนก็จะตาย วงจรชีวิตของ A. ocellatum แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะที่เป็นปรสิต เรียกว่า โทรฟ้อนท์ (trophont) จะมีไซโตพลาสมิค โพรเซส (cytoplasmic process) ยึดเกาะตามลำตัว เหงือกปลา ดูดกินอาหารจากเจ้าบ้าน เจริญเติบโตอยู่บริเวณนั้นจนเข้าระยะที่ 2 ระยะสืบพันธุ์เรียกว่า โทม้อนท์ (tomont) จะหลุดออกจากบริเวณที่เกาะ ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนของไซโตพลาสมิค โพรเซส จะหดเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ แล้วภายในเซลล์จะมีการแบ่งตัวเป็น 2 เซลล์ แต่ละเซลล์จะแบ่งตัวเป็นทวีคูณจนถึง 256 เซล ภายใน 3-5 วัน ที่อุณหภูมิ 22-25 องศาเซลเซียสและที่ความเค็ม 16.7-28.5 ส่วนในพัน ซึ่งเป็นอุณหภูมิและความเค็มที่เหมาะสมที่สุดในการแบ่งตัว ต่อมาเมื่อผนังเซลล์แตก เข้าสู่ระยะที่ 3 ระยะตัวอ่อนเป็นไดโนสปอร์ (dinospore) เรียกว่า โทไมท์ (tomite) จะหลุดออกมาว่ายน้ำไปหาที่เกาะ ซึ่งสามารถอยู่ได้ 15 วัน ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส (ปภาศิริ, 2538 ; Reed and Francis-Floyd, 2006)
การรักษา ใช้คอปเปอร์ 0.12-0.15 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร นาน 14 วัน หรือใช้ฟอร์มาลิน 0.2 มิลลิลิตร/น้ำ 1 ลิตร นาน 30 นาที หรือจุ่มน้ำจืด 3 นาทีหลังจากนั้นแช่อะคริฟลาวิน (Acriflavin) โดยใช้ 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร จากสารละลายเข้มข้น 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 10 วัน
การป้องกัน แยกปลาการ์ตูนที่ได้มาใหม่ดูอาการภายในอย่างน้อย 20 วัน เพราะถ้ามีเชื้อชนิดนี้ติดมาด้วยจะออกอาการภายใน 20 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลา 2-4 รอบวงจรชีวิตของปรสิตชนิดนี้

Case Study ตู้ล่มจากโรค: http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=140180.0

โรคเมือกขุ่น สาเหตุของโรคนี้เกิดจากปรสิตเซลล์เดียว เช่น คอสเตีย (Costia sp.) ชิโลโดเนลล่า (Chilodonella sp.) ไซฟิเดีย (Scyphidia sp.) และ โบโดโมแนส (Bodomonas sp.) มาเกาะที่บริเวณภายนอกของปลา ปลาจะมีเยื่อบางๆลักษณะเป็นเมือกสีขาวปกคลุมลำตัวเป็นหย่อมๆ ว่ายน้ำไปก็มีเมือกหลุดปลิวเป็นชิ้นเล็กๆ อาการที่ชัดเจนอีกอย่างคือปลามีการขับเมือกออกมามากตลอดเวลาจนได้กลิ่นคาวจากน้ำ ลักษณะการว่ายไม่สวยจะหดครีบ ห่อหางในลักษณะกางไม่เต็มที่บางครั้งจะลอยอยู่บริเวณผิวน้ำและมุมตู้ อาการที่แตกต่างจากโรคออดิฯคือถ้าอาการยังไม่หนักปลาจะไม่มีอาการว่ายหอบให้เห็นแต่จะชอบว่ายอยู่ผิวๆน้ำ ส่วนออดิฯจะเห็นเลยว่าว่ายหอบบางทีก็หยุดว่ายอยู่ที่พื้นเพราะเหนื่อยหอบเนื่องจากหายใจไม่สะดวกเพราะเชื้อเกาะอยู่ที่บริเวณเหงือก
การรักษา ใช้ฟอร์มาลีน 25-40  ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง หรือ Bio-Knock 2 ใช้ 1 หยดต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ไว้ 72 ชั่วโมง (อาจใช้นิ้วช่วยลูบเมือกออกอย่างเบามือให้ลูบจากหัวไปหางห้ามลูบทวนเกล็ดเด็ดขาด)

อ้างอิงข้อมูลจากการใช้คำปรึกษาด้านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์น้ำของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23/06/11, [09:35:04] โดย romeo_pop »
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #3 เมื่อ: 19/06/11, [11:49:40] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรครู (มักจะเกิดบริเวณศรีษะ) Uronemosis เกิดจากโปรโตซัว Uronema marinum วิธีการรักษาถ้าเริ่มเป็นให้ใช้ฟอร์มาลีน 2ซีซี/น้ำ 10 ลิตร แช่นาน 30 นาที หรือให้จุ่มน้ำจืดนาน 3 นาที แต่ถ้าเป็นถึงระยะที่มีบาดแผลเป็นรูแล้ว ห้ามใช้ฟอร์มาลีนเด็ดขาด ให้ใช้ Acriflavin (ยาเหลือง) ทาหรือหยดไปบนบาดแผล ในกรณีที่ไม่สามารถใส่ยาลงไปในน้ำได้ ยาเหลืองมีคุณสมบัติช่วยในการสมานแผลและยังช่วยฆ่าเชื้อโปรโตซัวได้ด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากการใช้คำปรึกษาด้านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์น้ำของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19/06/11, [11:54:20] โดย romeo_pop »
Permission ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #4 เมื่อ: 19/06/11, [12:32:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1
บทความเรื่องโรคมาแว้ววววว
IceZash ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #5 เมื่อ: 19/06/11, [12:37:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ฉ๊านเกลียดออดิเนียมที่ซู๊ดๆๆ
IceZash ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 19/06/11, [12:38:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1 ออดิ
Refle ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #7 เมื่อ: 19/06/11, [18:44:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้ววิธีสังเกตุปลาว่าเป็นโรคออดิฯนี่ดูยังไงหรอครับ  [งง]
C&P_Shop ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #8 เมื่อ: 19/06/11, [19:10:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีจุดขาวเกิดขึ้นครับ
Go2dz ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #9 เมื่อ: 19/06/11, [20:12:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1 ให้เลยครับ

ว่าแต่  มีข้อมูลของโรคจุดดำมั้ยครับ  emb01  เหมือนว่าตอนนี้กะลังโดน แต่เริ่มหายและ  ้hahaha
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #10 เมื่อ: 19/06/11, [22:29:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

+1 ให้เลยครับ

ว่าแต่  มีข้อมูลของโรคจุดดำมั้ยครับ  emb01  เหมือนว่าตอนนี้กะลังโดน แต่เริ่มหายและ  ้hahaha
ตามที่เคยอ่านข้อมูลของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจุดดำไม่จัดเป็นกลุ่มโรคครับแต่เป็นอาการร่วมของโรคออดิฯ ที่ปรสิตมาเกาะทำให้เนื้อบริเวณนั้นเสียหายจนเกิดสีน้ำตาลอมดำ [on_062]
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #11 เมื่อ: 19/06/11, [23:00:40] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้ววิธีสังเกตุปลาว่าเป็นโรคออดิฯนี่ดูยังไงหรอครับ  [งง]
ถ้าอาการเริ่มต้นคือโดนโจมตีที่เหงือกก็จะดูปลาหอบเหนื่อยจากการหายใจลำบาก ระยะถัดมาเริ่มมีเมือกเกาะตามตัวครับ [on_065]
Refle ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 20/06/11, [00:29:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าอาการเริ่มต้นคือโดนโจมตีที่เหงือกก็จะดูปลาหอบเหนื่อยจากการหายใจลำบาก ระยะถัดมาเริ่มมีเมือกเกาะตามตัวครับ [on_065]

กำลังงงอยู่ว่ามันเกิดจุดขาวเหมือนกันจะแยกยังไงว่าเกิดจุดขาวหรือออฯ

ขอบคุณครับ  emb01
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #13 เมื่อ: 20/06/11, [00:55:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [on_018] ผมใช้สังเกตเอาจุดขาวก็ตามชื่อจะมีคล้ายฝุ่นแป้งเป็นจุดขาวๆตามตัวปลาเป็นๆหายๆช่วงแรกยังว่ายและกินได้ปรกติ ส่วนออดิฯอาการจะออกแนวปลาดูว่ายเหนื่อยหอบเริ่มกินน้อยลงมีขุยตามตัว(นี่แหละที่ดูคล้ายกันบ้าง)และพัฒนาเป็นเมือกครับ ถ้าสังเกตดีๆอาการจะต่างกันหลายจุดอยู่น้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20/06/11, [00:57:21] โดย romeo_pop »
Go2dz ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #14 เมื่อ: 20/06/11, [01:04:58] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตามที่เคยอ่านข้อมูลของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาจุดดำไม่จัดเป็นกลุ่มโรคครับแต่เป็นอาการร่วมของโรคออดิฯ ที่ปรสิตมาเกาะทำให้เนื้อบริเวณนั้นเสียหายจนเกิดสีน้ำตาลอมดำ [on_062]

คือ หมายความว่า ปลาที่เป็นจุดดำ จะเป็นออดิเนียมด้วยหรือครับ  หรือยังไงหรอครับ    แต่ตอนนี้เจ้าปลาการ์ตูนผม ก็ยังกินได้ดี และยังไม่มีอาการหอบ หรือผิดปกติอะไรเลย  มันจะมีโอกาสเป็นออดิฯด้วยเลยรึปล่าวอ่ะครับ 

(รบกวนถามซอกแซกนะครับ เพราะข้อมูลเรื่องนี้ ผมหาไม่ค่อยเจอเลย)
TonGa ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #15 เมื่อ: 20/06/11, [08:59:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รักษาคุณภาพน้ำ ใส่ใจในเหมือนตั้งตู้ใหม่ ๆ ทำให้ตู้ปลาเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #16 เมื่อ: 20/06/11, [09:19:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

คือ หมายความว่า ปลาที่เป็นจุดดำ จะเป็นออดิเนียมด้วยหรือครับ  หรือยังไงหรอครับ    แต่ตอนนี้เจ้าปลาการ์ตูนผม ก็ยังกินได้ดี และยังไม่มีอาการหอบ หรือผิดปกติอะไรเลย  มันจะมีโอกาสเป็นออดิฯด้วยเลยรึปล่าวอ่ะครับ 

(รบกวนถามซอกแซกนะครับ เพราะข้อมูลเรื่องนี้ ผมหาไม่ค่อยเจอเลย)
อาจารย์ที่ให้ข้อมูลตอบว่าเป็นลักษณะร่วมอย่างนึงของออดิฯ ซึ่งปรสิตไปเกาะที่ผิวหนังวิธีรักษาเบื้องต้นก็เหมือนกันคือใช้คอปเปอร์กำจัดเชื้อที่เกาะอยู่ครับ
ปล.จริงๆปลาตามธรรมชาติมีปรสิตเกาะทุกตัวแหละแต่จะออกอาการหนักแค่บางตัวเหมือนคนภูมิคุ้มกันไม่เท่ากันแต่ที่ตู้ทะเลเมื่อติดเชื้อมีอัตราการสูญเสียมากกว่าเพราะเป็นระบบปิดเอื้อต่อการขยายพันธุ์ให้เกิดเชื้อรุ่นต่อไปมาโจมตีซ้ำจนภูมิคุ้มกันของปลาสู้ไม่ไหว
Go2dz ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #17 เมื่อ: 20/06/11, [13:22:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รักษาคุณภาพน้ำ ใส่ใจในเหมือนตั้งตู้ใหม่ ๆ ทำให้ตู้ปลาเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

ขอบคุณครับ  พอจะรู้แล้วว่าพลาดตอนไหน  ตอนที่ไม่มีเวลาเปลี่ยนน้ำนี่เอง  [on_007]

อาจารย์ที่ให้ข้อมูลตอบว่าเป็นลักษณะร่วมอย่างนึงของออดิฯ ซึ่งปรสิตไปเกาะที่ผิวหนังวิธีรักษาเบื้องต้นก็เหมือนกันคือใช้คอปเปอร์กำจัดเชื้อที่เกาะอยู่ครับ
ปล.จริงๆปลาตามธรรมชาติมีปรสิตเกาะทุกตัวแหละแต่จะออกอาการหนักแค่บางตัวเหมือนคนภูมิคุ้มกันไม่เท่ากันแต่ที่ตู้ทะเลเมื่อติดเชื้อมีอัตราการสูญเสียมากกว่าเพราะเป็นระบบปิดเอื้อต่อการขยายพันธุ์ให้เกิดเชื้อรุ่นต่อไปมาโจมตีซ้ำจนภูมิคุ้มกันของปลาสู้ไม่ไหว

ขอบคุณครับคุณป๊อป  งั้นผมคงหายห่วงไปหน่อย  เพราะปลายังแข็งแรงดีกันทุกตัว  กินเม็ดได้ปกติ  เดี๋ยวก็คงหาย  (หวังว่างั้นนะครับ  [on_023])
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #18 เมื่อ: 20/06/11, [14:19:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับคุณป๊อป  งั้นผมคงหายห่วงไปหน่อย  เพราะปลายังแข็งแรงดีกันทุกตัว  กินเม็ดได้ปกติ  เดี๋ยวก็คงหาย  (หวังว่างั้นนะครับ  [on_023])
จับยากไหมครับถ้าพอจับได้จับออกมาแช่คอปเปอร์ซัก 1 นาทีแล้วค่อยหย่อนกลับไปสัดส่วนก็น้ำในตู้ 200 cc + น้ำประปา(เอาที่เปิดจากก๊อกมาเลยให้มีครอลีนฆ่าเชื้อเราทำให้เป็นสภาพน้ำกร่อยเพื่อให้ไม่เหมาะกับปรสิต) 200 cc + คอปเปอร์ 1 หยด ผสมทิ้งไว้ซัก 5 นาทีแล้วแช่ไว้ซัก 1 นาทีเอาพอเท่าที่ปลาทนได้อาจมีอาการว่ายที่ผิวน้ำหรือนอนก้นบ้างแต่ไม่ตายหรอกพยายามกระตุ้นให้ว่ายนะเป็นการสะบัดให้ปรสิตหลุดเชื้อที่ติดอยู่จะหลุดออกจากเหงือกและตัวปลา ถ้ามีเมือกหรือขุยเอานิ้วช่วยลูบออกอย่างเบามือก็ได้
ปล.ใช้วิธีนี้กับปลาการ์ตูนได้เพราะค่อนข้างทนแต่ถ้าเป็นปลาที่บอบบางและแพงไม่จำเป็นใช้แยกแช่ยาตามสัดส่วนดีกว่าครับ วิธีที่แนะนำผ่านการทดลองใช้รักษามาแล้วด้วยตัวเอง
niroute ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #19 เมื่อ: 20/06/11, [17:58:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ฝากดูให้หน่อยครับว่าน้อง มั่ง (ปลาการ์ตูน) ผมมันเป็นโรคจุดขาวหรือออดิเนียมที่กล่าวขวัญหรือเปล่า เป็นมานานแล้ว ไม่มีอาการใดๆยังร่าเริงเหมือนเดิม(อีกตัวไม่เป็น) แต่มีความรู้สึกว่าเมื่อก่อนมีจุดเดี่ยวตอนนี้มีนเยอะขึ้น เป็นห่วงครับ วิธีแก้ หรือรักษายังไง แนะนำทีสำหรับมือใหม่


Go2dz ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #20 เมื่อ: 20/06/11, [18:15:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จับยากไหมครับถ้าพอจับได้จับออกมาแช่คอปเปอร์ซัก 1 นาทีแล้วค่อยหย่อนกลับไปสัดส่วนก็น้ำในตู้ 200 cc + น้ำประปา(เอาที่เปิดจากก๊อกมาเลยให้มีครอลีนฆ่าเชื้อเราทำให้เป็นสภาพน้ำกร่อยเพื่อให้ไม่เหมาะกับปรสิต) 200 cc + คอปเปอร์ 1 หยด ผสมทิ้งไว้ซัก 5 นาทีแล้วแช่ไว้ซัก 1 นาทีเอาพอเท่าที่ปลาทนได้อาจมีอาการว่ายที่ผิวน้ำหรือนอนก้นบ้างแต่ไม่ตายหรอกพยายามกระตุ้นให้ว่ายนะเป็นการสะบัดให้ปรสิตหลุดเชื้อที่ติดอยู่จะหลุดออกจากเหงือกและตัวปลา ถ้ามีเมือกหรือขุยเอานิ้วช่วยลูบออกอย่างเบามือก็ได้
ปล.ใช้วิธีนี้กับปลาการ์ตูนได้เพราะค่อนข้างทนแต่ถ้าเป็นปลาที่บอบบางและแพงไม่จำเป็นใช้แยกแช่ยาตามสัดส่วนดีกว่าครับ วิธีที่แนะนำผ่านการทดลองใช้รักษามาแล้วด้วยตัวเอง

ขอบคุณครับ  เดี๋ยวจะลองทำดูครับ   [เจ๋ง]
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #21 เมื่อ: 20/06/11, [18:23:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เห็นเป็นภาพนิ่งคงได้แต่คาดการณ์ตามที่เห็นนะครับ คิดว่าอยู่ระหว่างโรคออดิฯ หรือไม่ก็ โรคเมือกขุ่น
ป.ล.กรณีการ์ตูนที่เห็นตามภาพอาการหนักแล้วมีอาการท้องบวมให้เห็นแต่ที่ยังดูปกติอาจเพราะมีขนาดใหญ่จึงค่อนข้างแข็งแรงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23/06/11, [09:34:59] โดย romeo_pop »
niroute ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #22 เมื่อ: 20/06/11, [18:35:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากมายครับ ตอนแรกเห็นท้องป่องนึกว่ากินเยอะซะอีก 555 เดี๋ยวจะรีบรักษาอาการดีขึ้นยังไงเดี๋ยวกลับมารายงานครับ
gadam111 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #23 เมื่อ: 22/06/11, [13:04:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าในตู้มีปลาเป็นจุดขาวต้องเปลี่ยนน้ำไหมครับ หรือว่าเชื้อมันจะตายไปเองในกรณีที่ไม่มีปลาอยู่ในตู้
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #24 เมื่อ: 22/06/11, [14:13:15] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าในตู้มีปลาเป็นจุดขาวต้องเปลี่ยนน้ำไหมครับ หรือว่าเชื้อมันจะตายไปเองในกรณีที่ไม่มีปลาอยู่ในตู้
"รักษาอีกวิธีคือการควบคุมความสะอาดของน้ำและพยายามรักษาอุณหภูมิของน้ำให้คงที่อยู่ในระดับประมาณ 30 องศา(ใช้ฮีทเตอร์วิธีนี้เหมาะกับตู้ปลาล้วน) เป็นระยะเวลา 3 - 4 อาทิตย์หรือใช้ UV ในระบบกรอง" ตามนี้ครับเป็นการตัดวงจรของเชื้อ(หาอ่านเพิ่มจากอากู๋ได้เรื่องวงจรโรคจุดขาว)แต่ไม่ได้หมายความว่าจะหมดโดยสิ้นเชิงถ้ายังไม่จัดการให้ตู้มีสุขภาวะที่ดีอุณหภูมิไม่แกว่งและไม่ทำให้ปลาเครียดครับ
การเปลี่ยนน้ำบางส่วนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้น้ำสะอาดขึ้นควรเปลี่ยนครับ
gadam111 ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #25 เมื่อ: 22/06/11, [14:46:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากครับ
bellio ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #26 เมื่อ: 29/06/11, [20:24:42] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ใช้ Ozone จะช่วยป้องกันโรคจุดขาวได้เหมือน UV  หรือไม่ครับ
Romeo_Pop ออฟไลน์
Level 5 Moderator
« ตอบ #27 เมื่อ: 29/06/11, [20:59:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

Cradit: K.i_brabus ผู้เรียงเรียงเขียนข้อมูลนี้ขึ้นผมเพียงยกข้อความมารวมไว้ในหัวข้อนะครับ [on_055]
UV กับ  Ozone
 
ทั้งสองอย่าง มีหลักการทำงานที่แตกต่างกันครับ มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

เริ่มจาก UV ก่อน
หลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในตู้ปลา จะให้รังสี UV-C ออกมา ซึ่งโดยปกติแล้ว รังสี UV-C จากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาติ จะถูกดูดกลืนโดยโอโซน ในชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ไม่สัมผัสกับมนุษย์โดยตรง

UV-C มีอันตรายต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบนโลก หากมนุษย์สัมผัสกับแสงโดยตรง ก็อาจจะทำให้เกิดการไหม้เกรียมของผิวหนัง หรือหากมองด้วยตาเปล่าก็อาจจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุตาอักเสบ และสามารถทำลายเซลล์ต่างๆของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรุนแรง ดังนั้น หลอดยูวีที่ใช้ในตู้ปลา จึงต้องบรรจุอยู่ในกระบอกทึบ เพื่อป้องกันอันตรายจากตรงจุดนี้

เวลาใช้งาน ก็ทำได้โดยการส่งน้ำให้ไหลผ่านเข้าไปในกระบอกอย่างช้าๆ ไข่หรือตัวอ่อนของปรสิต แพลงตอน เชื้อโรค หรือแบคทีเรียต่างๆ เมื่อสัมผัสกับแสงยูวี เซลล์ก็จะถูกทำลายและตายไป

จึงถือเป็นการฆ่าเชื้อในน้ำที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง แต่ก็ต้องเลือกขนาดของยูวี และอัตราการไหลเวียนของน้ำให้เหมาะสมกับขนาดปริมาณน้ำในตู้ด้วย (หากน้ำไหลผ่านเร็วเกินไป เชื้อต่างๆจะมีเวลาสัมผัสกับแสงน้อย อาจจะทำให้ไม่ตาย)

การใช้ยูวีฆ่าเชื้อในน้ำ เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตในตู้ อาจจะใช้เวลามากหน่อย แต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพ

หลอด UV ก็มีอายุการใช้งาน เช่นเดียวกับหลอดไฟทั่วๆไป เมื่อใช้งานไปซักระยะหนึ่ง หลอดจะค่อยๆเสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคลดลง โดยทั่วไปแล้ว จึงควรจะมีการเปลี่ยนหลอดทุกๆ 1 ปีครับ


ส่วน โอโซน (Ozone)
โอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ค่อนข้างเร็ว มีคุณสมบัติเป็น oxidizing agent (สารที่ทำให้สารอื่นรวมตัวกับอ็อกซิเจน)
 
ในความเป็นจริงแล้ว โอโซนคือก๊าซพิษ หากมีปริมาณมากพอก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ แต่หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถนำไปทำประโยชน์ได้มหาศาล

ดังนั้น โอโซนจึงมีคุณสมบัติในการช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำ และยังทำลายสารพิษ สี กลิ่น สารเคมี ฯลฯ ในน้ำด้วย

การใช้โอโซนในปริมาณที่เหมาะสม และมีความแรงเพียงพอ จึงช่วยฆ่าเชื้อโรค และตัวอ่อนของปรสิตต่างๆในน้ำได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่เป็นอันตรายกับปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แถมยังช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ กำจัดของเสีย สี และสารเคมีต่างๆในน้ำอีกด้วย

แต่การใช้โอโซนโดยไม่มีตัววัดค่า หรือตัวควบคุมค่า(ORP Controller) ก็มีข้อเสียคือ หากใช้ในปริมาณน้อยเกินไป เชื้อโรคหรือปรสิตต่างๆก็อาจจะไม่ตาย หรือหากใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อปลา หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆในตู้ อุปกรณ์ในการวัด หรือควบคุมค่าโอโซน ส่วนใหญ่ก็จะมีราคาค่อนข้างสูง

ดังนั้น การจะใช้โอโซนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงสามารถทำได้เฉพาะผู้ที่มีตัวควบคุมค่าโอโซนเท่านั้น
แต่หากใช้เปิดโดยการกะระยะเวลา หรือคาดคะเนเอา โดยไม่มีตัวควบคุม ก็อาจจะได้ประโยชน์ในแง่การช่วยบำบัดคุณภาพน้ำ แต่การฆ่าเชื้อโรคอาจจะทำได้ไม่เต็มที่นัก

เมื่อรู้จักคุณสมบัติ และหลักการทำงานของทั้งสองตัวแล้ว ก็ลองตัดสินใจด้วยตัวเองดูครับ ว่าจะเลือกใช้อันไหน หรือจะใช้ทั้งสองตัวเลย

ปล.ไม่มีใครตอบหรือกำหนดได้ ว่าตู้ต้องคุณต้องมี หริอไม่มี อุปกรณ์อะไรบ้าง เพราะแต่ละตู้ หรือผู้เลี้ยงแต่ละคน ก็ย่อมมีปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเราเข้าใจถึงประโยชน์และหลักการทำงานของมันแล้ว ก็ควรจะตัดสินใจได้ด้วยตัวเองครับ ว่าเราเหมาะสมที่จะเลือกใช้อุปกรณ์ชิ้นไหน
mai2610 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #28 เมื่อ: 10/10/11, [20:59:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีปัญหาครับ
คือ ตื่นเช้ามาจะเห็น อานม้า เต็มไปด้วยจุดขาว ทั้งตัว ( เป็นเฉพาะอานม้า ส้ม-ขาว ปลาอื่น ไม่เป็น)
เปิด MH150 จุดขาวๆก็หายไป ตอนนี้เสีย อานม้า ไป 1 อาจจะเรื่อง แบ่งคู่ด้วยก็ได้ยังไม่สรุปเรื่องจุดขาว

พอมีคำแนะนำอะไรไหมครับ
mabuz ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #29 เมื่อ: 02/12/12, [23:56:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โรคทุกโรคที่กล่าวมา มันเกิดจากปรสิต หรือโปรโตซัว ที่นี่ ถ้าเราเลี้ยงปลาพยาบาลหรือกุ้งพยาบาลเนี่ย มันจะช่วยกินไอ้พวกปรสิตทั้งหลายที่ติดอยู่กับตัวปลาได้หรือป่าวครับ?
หน้า: 1 2   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: