Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ : โรคปลาปอมปาดัวร์และการรักษา , การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ ปอมปาดัวร์  (อ่าน 43294 ครั้ง)
+เอก+ ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 26/10/10, [20:30:18] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไม่แน่ใจมีใครเอามาลงหรือยังหนา  [on_026]

บทความนี้อาจมีประโยชน์แก่สมาชิกท่านอื่น ๆ นะครับ  [on_018]

โรคปลาปอมปาดัวร์และการรักษา

1. โรคตกหมอก
อาการของโรคตกหมอก: ปลาปอมปาดัวร์จะมีเมือกปกคลุมลำตัว คล้ายมีหมอกสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อปรากฏอาการปลาจะเบื่ออาหาร ผอมลงถ้าไม่รักษาจะตายในที่สุด
สาเหตุของโรคตกหมอก: เกิดจากเชื้อโปรโตซัวน์ฺ ชนิดที่มีหนวดยาว ที่บริเวณตามลำไส้และอวัยวะภายในปาก
การรักษาโรคตกหมอก: รักษาโดยการถ่ายพยาธิ

2. โรคขี้ขาว
อาการของโรคขี้ขาว: ปลาปอมปาดัวร์จะถ่ายออกมาเป็นสีขาวหรือเทา แทนที่จะเป็นสีคล้ำๆ ปลาปอมปาดัวร์จะเริ่มไม่กินอาหารการรักษาโรคขี้ขาว: รักษาโดยหยุดการให้อาหารและทำการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเป็น 32 องศาเซลเซียส เติมเกลือในอัตร 0.1% ติดต่อกัน 1-2 วัน

การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ ปอมปาดัว

การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์
ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour) - ตลาดของปลาปอมปาดัวร์ในประเทศไทยยังเติบโตได้อีกมา ทั้งยังส่งขายต่างประเทศได้ ประกอบกับสภาพอากาศของประเทศไทยเหมาะสมในการเพาะพันธุืปลาปอมปาดัวร์ ตลอกจนแหล่งอาหารของปลามีราคาไม่แพง ทำให้มีผู้สนใจทำการเพาะพันธุ์กันมาก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่สำเร็จ เพราะ ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดยประพเด็นสำคัญของการเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ คือ ความสะอาดของน้ำ ซึ่งนักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์จะไม่นิยมใช้เครื่องกรอง แต่จะใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันโดยเชื่อว่าปลาโตเร็ว และสามารถเพาะพันธุ์ได้ดี
การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ - เป็นสิ่งที่มีความสำคัญประการแรกของารเพาะพันธุ์เลยทีเดียวพ่อแม่พันธุ์ที่ดีย่อมให้ผลผลิตที่ดี มีข้อพิจารณาดังนี้
1. ไม่ซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาปอมปาดัวร์จากร้านขายทั่วๆไป เพราะอาจจะได้ปลาที่แก่ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพต่ำในการเพาะพันธุ์ ควรทำการซื้อจากฟาร์มเพาะโดยตรง
2. ไม่ซื้อปลาปอมปาดัวร์ที่ผ่านการย้อมสีหรือเร่งสีมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เพราะการย้อมหรือเร่งสี อาจมีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์3. ไม่ซื้อปลาปอมปาดัวร์ขนาดใหญ่มาเลี้่ยง เพราะดูอายุได้ยาก ควรซื้อปลาขนาดประมาณเหรียญบาทซึ่งจะเป็นปลาที่มีอายุประมาณ 1-2 เดือน และควรซื้อปลาที่มาจากคนละครอกกันเพื่อป้องกันปัญหาเลือดชิด ซึ่งจะส่งผลให้ได้ลูกปลาน้อย ไม่แข็งแรง พิการ สีไม่สวย
4. ควรซื้อลูกปลาที่มีลักษณะกลม บริเวณปากของปลาปอมปาดัวร์ถึงครีบหลังควรมีลักษณะโค้งงอ ไม่ลาดชันเป็นเส้นตรง กระโดงครีบไม่หักลู่ ตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่ดำ เลือกปลาที่เชื่อง กินเก่ง ถ้ามีปลาป่วยเลี้ยงรวมอยู่ ไม่ควรซื้อมา เพราะปลาที่เราซื้อมาอาจติดโรค พยายามสังเกตุตาของปลาเพื่อดูว่าปลาแกร็นหรือไม่ ถ้าแกร็นตาจะโปน ขอบตาดำ ตัวสีดำ

การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์
เมื่อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาปอมปาดัวร์พร้อม ให้นำโดมหรือกระถาง ถาดดินเผามาวางไว้ในตู้ปลาเพื่อที่ปลาจะได้เคยชิน และเป็นที่สำหรับปลาปอมปาดัวร์วางไข่ ซึ่งการเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง 4 ประการ คือ
 เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ยิ่งวางไข่ยิ่งขี้ระแวง ดังนั้นต้องตั้งตู้ติดผนังหรือนำวัสดุมาปิดตู้ 3 ด้าน เพื่อป้องกันการมองเห็นที่มากเกินไป ลดการตกใจของปลา ขนาดตู้ปลาที่นิยมคือ 30*20*20 นิ้ว
2. แสงสว่าง ไม่ควรให้แสงมากเกินไป บริเวณที่เพาะพันธุ์ไม่ควรมีคนพลุกพล่านป้องกันปลาปอมปาดัวร์ตกใจ
3. ห้องเพาะพันธุ์ปลา ควรแยกออกจากห้องเลี้ยงปลาปกติ เพื่อเวลาเลี้ยงปลาอื่นๆได้ไม่รบกวนการเพาะพันธุ์ของปลา ห้องต้องมิดชิดเพื่อที่จะให้อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ ไม่แกว่ง
4. การวางโดม ควรวางโดมคนละด้านกับหัวทรายและวางโดมให้ชิดตู้ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันวางวางไข่ชิดตู้ ในระหว่างการเพาะพันธุ์แม่ปลาปอมปาดัวร์ท้องจะอูมชัดเจนก่อนวางไข่ 3-4 วัน ปลาจะมีอาการสั่นทั้งตัวผู้และตัวเมียและจะไม่ออกห่างจากโดมและจะช่วยกันทำความสะอาดโดม จากนั้นปลาปอมปาดัวร์ตัวเมียจะวางไข่บนโดมครั้งละ 15-30 ฟอง แล้วปลาปอมปาดัวร์ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อลงบนไข่ โดยจะใช้เวลาวางไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง วางไข่ 200-300 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร สีเทาอมเหลือง ซึ่งในบางครั้งอาจมีสีเหลืองอมแดงเพราะได้รับผลจากการเลี้ยงด้วยไข่กุ้ง หลังจากปลาผสมพันธุ์และวา่งไข่แล้วจึงใส่ยาปฏิชีวนะชื่อว่า Tetracyclin อัตรส่วน 2 เม็ดต่อ 1 ตู้(ตู้ขนาด 30*20*20 นิ้ว) ในระยะนี้พ่อพันธุ์แม่ปพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์จะโบกน้ำใส่ไข่ตลอกเวลาเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ไข่และป้องกันสิ่งสกปรกลงไข่ จากนั้นให้เราเอาโดมตาข่ายมาคลุมโดมวางไข่โดยให้ตาข่ายห่างจากโดมประมาณ 2-3 เซ็นติเมตร เพื่อป้องกันปลากินไข่หรือย้ายไข่ จากนั้นนำตะแกรงมาแยกปลาปอมปาดัวร์ตัวผู้ตัวเมียออกจากกัน เพื่อป้องกันปลาผสมพันธุ์ซ้ำ ถ้าปลาวางไข่ชุดใหม่จะกินไข่ชุดเก่า และป้องกันปลากัดกันเพื่อแย่งกันเลี้ยงลูก ในการแยกนี้ให้ตัวเมียอยู่ใกล้ไข่เพื่อให้ปอมปาดัวร์ตัวเมียดูแลลูก
หลังจากแม่ปลาปอมปาดัวร์วางไข่ 3 วัน ลูกปลาปอมปาดัวร์จะเริ่มฟักเป็นตัว ซึ่งในระยะนี้ลูกปลาจะยังไม่กินอาหารเนื่องจากอาศัยอาหารที่ติดมากับถุงไข่ ในวันที่ 6 หลังจากฟักเป็นตัวลูกปลาจะว่ายมากินเมืือกที่ลำตัวพ่อแม่ปลา พ่อแม่ปลาจะมีสีเข้ม ซึ่งในระยะนี้พ่อแม่ปลาจะอมลูกและพ่นไปที่โดม ห้ามให้ปลาตกใจเด็ดขาดเพราะปลาปอมปาดัวร์อาจกินลูกได้ และควรระวังในการให้อาหารเพราะในระยะนี้จะยังเปลี่ยนน้ำไม่ได้
วันที่ 7 - ทำการถ่ายน้ำออกประมาณ ครึ่งตู้ โดยระวังลูกปอมปาดัวร์ติดออกมา
วันที่ 8 - ค่อยๆดูดตะกอนและเติมน้ำโดยใช้วิธีน้ำหยดเพื่อให้อุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด จะใช้เวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง จึงจะได้ระดับน้ำครึ่งตู้เท่ากับวันที่ 7 และเปลีืยนน้ำเช่นนี้ต่อไปทุกวัน
วันที่ 13 - ลูกปลาปอมปาดัวร์ จะเริ่มว่ายไปมา แต่ยังกินเมือกจากพ่อแม่ปลาปอมปาดัวร์อยู่ ในระยะนี้สามารถให้ลูกไรแดงกับลูกปลาได้ การแยกลูกไรแดงให้ใช้กระชอนตาถี่ในการแยกและระวังไรอีกชนิดที่คล้ายไรแดงแต่มีเปลือกแข็ง ถ้าลูกปลาปอมปาดัวร์กินเข้าไปอาจตายได้ วันที่ 17 - สามารแยกลูกปลาออกจากแม่ปลาได้แล้ว ถ้าอยากให้ปลามีสีสวยเร็วๆให้กินไข่กุ้ง พ่อแม่พันธุ์ที่แยกออกจากลูกปลาปอมปาดัวร์ในวันที่ 17 นี้ สามารถผสมพันธุ์ไ้ด้อีก โดยต้องพักประมาณ 7 วัน ในระยะพักนี้ควรให้อาหารเสริมพวกวิตามินรวม วิตามิน เพราะในระยะดูแลลูกเรามีการใส่ยาลงไปในตู้ซึ่งอาจทำให้พ่อพันธุ์แม่พันธ์ุปลาปอมปาดัวร์เป็นหมันได้ จึงต้องทำการบำรุง ในการให้วิตามินให้แช่กับอาหารประมาณ 20 นาที ในบางกรณีที่ไข่ไม่ฟักเป็นตัวอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไม่ดี สภาพน้ำ ให้ทำการแก้ไขกันไปโดย ในเรื่องของน้ำให้ดูแลอย่างรอบคอบ และพ่อพันธุ์ให้ทดลองสลับสับเปลี่ยนกัน ถ้าไข่ยังไม่ฟักให้พักปลาไว้ 1 เดือนจากนั้นค่อยลองผสมใหม่

ข้อมูลจากเว็ปเพื่อนบ้านจำชื่อไม่ได้แล้ว
JeDI ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #1 เมื่อ: 27/10/10, [09:00:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

บทความดีมาก  [เจ๋ง]
+เอก+ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #2 เมื่อ: 29/10/10, [09:16:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

1.โรคที่เกิดจากเชื้อที่รา

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา ซึ่งพบได้บ่อยในปลาตู้ ส่วนใหญ่มักติดเชื้อนี้เมื่อปลามี
บาดแผล บริเวณผิวหนัง ซึ่งอาจเกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บ การขนส่งฯลฯ เชื้อรา
ที่อยู่ตามตู้หรือน้ำ ก็จะเข้ามาติดทำให้ปลาเป็นโรค และตายได้

อาการ จะเกิดเป็นเส้นใย ลักษณะเป็นปุยนุ่นตามลำตัว หรือครีบปลา ปลาจะ
ว่ายน้ำไม่จำเป็นธรรมชฃาติหรือเสียการทรงตัว หากได้รับกา่รรักษาช้าไปอาจ
ทำให้ปลาเสียชีวิต หากเป็นในไข่ปลาจะพบว่าไข่มีสีขาวขุ่นและไม่เป็นตัว

ป้องกััน- รักษา รักษาโดยการแยกปลาป่วยออก ใช้มาลาไท์กรีนประมาณ 0.1
ppm. แช่ปลาวันละ 12-20 ชั่วโมง โดยควรเปลี่ยนน้ำออกครึ่งหนึ่ง ทำเช่นนี้
ติดก่อกัน 3 วัน
วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือรักษาความสะอาดของน้ำและอุปกรณ์ต่างๆ โดยควบคุม
อุณหภูมิน้ำให้พอเหมาะ อย่าให้สูงเกินไปเพราะเชื้อราจะเจริญเติบโตเร็ว
นอกจากนี้ควรระวังอย่าให้ปลามีบาดแผลตามลำตัว

2.โรคพุ่มพวง

สาเหตุึ เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เมื่อปลาเป็นโรคนี้จะสร้างความ
เสียหายกับปลาและผู้เลี้ยงอย่างมาก

อาการ ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีเมือกสีขาวเกาะตามลำตัว เบื่ออาหาร ชอบอยู่ตาม
ก้นตู้ สีัลำตัวจะเข้มขึ้น และเมื่อเป็นนานเข้าปลาก็จะตาย

ป้องกัน-รักษา ส่วนใหญ่จะรักษาโดยนำปลาที่เป็นโรคมาแช่ด่างทับทิม เพื่อ
ให้ปลาขับเมือกออกมา แล้วแช่ปลาในน้ำยาปฎิชีวนะประมาณ 0.5 ppm.
ส่วนวิธีป้องกันอาจรักษาความสะอาดของน้ำและสภาพแวดล้อมให้ดีอยู่เสมอ
เมื่อพบปลาเป็นโรคครีบแยกออก

3.โรคจุดขาว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยจะฝังอยู่ใต้ผิวหนังปลายากต่อการรักษา

อาการ ปลาจะค่อนข้่างหายใจลำบาก จึงมักพบเหงือกเปิดบ่อยขึ้น ปลามักว่าย
ถูกับตู้หรือตามผิวน้ำ นอกจากนี้ยังพบจุดสีขาวขนาดเล็ก บริเวณผิวหนัง

โรคเกิดจากปลิงใส

สาเหตุ เกิดจากพยาธิตัวแบน สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

อาการ พยาธิมักจะเกาะอยู่บริเวณเหงือกหรือลำตัว เพื่อทำลายเนื้อเยื่อของ
ปลาทำให้ปอมปาดัวร์ขับเมือกออกมามากกว่าปกติ ว่ายน้ำเชื่องช้าและถูกับตู้
หลังจากนั้นจะมีอาการตกเลือดบริเวณลำตัวและเหงือก ทำให้ปลาติดเชื้ออื่นๆ
ได้ง่าย

ป้องกััน- รักษา การรักษาทำโดยแยกปลาที่เป็นโรคออกมาแช่ในน้ำซึ่งผสม
ฟอร์มมาลีนเข้มข้น 25-40 ppm.ทุก 3 วัน ติดต่อกันประมาณ 3-4 ครั้ง
วิธีป้องกันรักษาความสะอาดของน้ำในตู้ให้ดีอาหารสดควรตรวจสอบให้
สะอาดก่อนให้ปลา

5.โรคจากเชื้อแบคทีเรีย

สาเหตุึ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และปลามีความเครียดร่วมด้วย เกิดจากการ
เปลี่ยนที่อยู่ใหม่หรือคุณภาพน้ำไม่พอเหมาะ

อาการ ปลาจะเซื่องซึม ไม่ค่อยว่ายน้ำ กินอาหารลดลง ครีบไม่กาง สีเข้มขึ้น
หายใจลำบาก บางตัวมีอาการตกเลือด หรือแผลเน่าเปื่อนตามลำตัว

ป้องกัน-รักษา การรักษาทำได้โดยผสมยาปฏิชีวนะลงไปในน้ำเพื่อแช่ปลาไว้
วันละ 12-20 ชั่วโมงประมาณ 1 อาทิตย์
วิธีป้องกันโรคนี้คือ ควบคุมปลาไม่ให้มีความเครียด โดยปรับน้ำให้เหมาะสม
อย่าให้น้ำสกปรก ให้อาหารที่มีคุณภาพและไม่มากจนเกินไป

ป้องกัน-รักษา กา่รรักษาอาจใช้มาลาไคท์กรีนประมาณ 0.2 ppm. แช่ปลา
ประมาณ 1 วันและเพิ่มอุณหภูมิภายในตู้ปลาให้สูงขึ้น เพื่อให้ตัวแก่หลุดจาก
ตัวปลาเร็วขึ้น ส่วนวิธีการป้องกันคือรักษาอุณหภูมิให้อยู่ที่ 28-30 องศาเซล
เซียส เปลี่ยนถ่ายน้ำตามกำหนด เลี้ยงปลาในปริมาณพอเหมาะอย่าให้แน่นตู้
เมื่อนำมาใหม่มาอย่าปล่อยรวมกับปลาในตู้ ควรแยกเพื่อดูอาการสัก 2 อาทิตย์

ข้อมูลจาก samud ขอบคุณครับ  [on_055]
Dolphin ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #3 เมื่อ: 04/11/10, [20:29:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ละเอียดดีมากครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ^^
discus man ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 21/03/11, [21:36:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ผมได้อ่านบทความวิธีการรักษาโรคแล้วดูทะแม่งทะแม่งยังไงก็ไม่รู้ครับ จากประสบการณ์ของผมแล้ว บทความนี้ดูวิธีการรักษาแปลกๆ ต้องขออภัยด้วยครับ อย่าโกรธกัน นะ วิธีการรักษาปลาตกหมอกขาว ใส่อควาเลี่ยม 1-2  วิธีการรักษาให้ติดฮิตเตอร์ด้วยครับ ใส่ยาตามปริมาณที่พอเหมาะครับไม่งั้นปลาน็อคยาตายได้
ส่วนขี้ขาว วิธีการรักษาให้ ติดฮิตเตอร์ตั้งที่ 30 องศาแล้วใส่ยาเมโทรมิดาโซ ตามปริมาณที่พอเหมาะครับ ตู้ 24 นิ้วใส่3-4เม็ด
พุ่มพวง รักษาด้วยการติดฮิตเตอร์ตั้งที่ 30 องศา แล้วใส่เบอร์ 1-2 ขออภัยที่ตอบช้าเพราะเพิ่งสมัครได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25/07/11, [00:42:13] โดย discus man »
MyComputer ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #5 เมื่อ: 06/04/12, [23:27:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง]
MyComputer ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #6 เมื่อ: 06/04/12, [23:28:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] [เจ๋ง]
kammanrider ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #7 เมื่อ: 16/04/12, [23:19:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าจุดขาวใช้ยาอะไรครับ ซูเปอร์อิ๊กได้ไหม
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: