Aqua.c1ub.net
*
  Fri 19/Apr/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: การถ่ายรูป : การถ่ายภาพปลาและต้นไม้ด้วยกล้อง Digital.....  (อ่าน 25128 ครั้ง)
MaTTieW ออฟไลน์
Hot Member
« เมื่อ: 09/10/06, [11:43:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

  การถ่ายภาพปลาด้วยกล้องดิจิตอล

วันที่/Date : 16 ส.ค. 2546
เรื่อง/Story by : นณณ์ ผาณิตวงศ์
ภาพ/Photo by : นณณ์ ผาณิตวงศ์
ที่มา/Referer : -
สถานที่/Locale : -
ภาค/Province : -



กล้อง

น่านแหล่ะครับของสำคัญที่สุด ไม่มีกล้องก็ถ่ายรูปไม่ได้ ผมว่ากล้องที่เหมาะจะถ่ายรูปปลาคือกล้องดิจิตอลซึ่งตอนนี้ก็พัฒนามาไกลมากแล้ว ปลาไม่อยู่นิ่งๆให้คุณถ่าย ภาพหาง ภาพฉากหลัง และ ภาพอื่นๆที่ไม่ต้องการถ้าเป็นกล้องฟิล์มถ่ายแล้วก็ต้องเสียตังค์ล้างแล้วถึงทิ้งได้ ถ้าเป็นดิจิตอลก็แค่ลบทิ้งไปเฉยๆ

ถ้าจะแค่ถ่ายลงเว็บเฉยๆ สักสองล้านพิกเซลก็พอแล้วครับแต่ถ้าจะเอาไปล้างเป็นกระดาษหรือลงหนังสืออย่างน้อยๆก็คงต้องสักสามล้านพิกเซล  ผมใช้ แคนนอน G3 ที่มีสี่ล้านพิกเซล และนี่จะเป็นกล้องที่ผมใช้เป็นฐานในการเขียนเทคนิคในการถ่ายภาพปลาต่อไปครับ

นอกจากพิกเซลแล้วความสามารถในโหมด “แมคโคร” ก็เป็นเรื่องสำคัญในการเลือกซื้อกล้อง แมคโคร คืออะไร?  แมคโครคือความสามารถในการโฟกัสวัตถุเล็กๆใกล้ๆ เอาเป็นว่ายิ่งเข้าใกล้ได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีครับ ถ้าจะถ่ายปลาเล็กๆ ให้เจ๋งๆ อย่างมากก็ไม่ควรเกิน 5 ซ.ม. ครับ แต่ถ้าจะถ่ายตัวควายๆ ก็ไม่ต้องคิดถึงแมคโครมากนัก

 
แสง

แสงทำให้เกิดภาพ ดังนั้นอะไรก็ตามที่มาขวางระหว่างแสงที่กระทบตัวปลากลับมาที่กล้องจึงเป็นอุปสรรค ปัญหาใหญ่ในการถ่ายภาพปลาคือกระจก ปลาอยู่ในตู้กระจก ซึ่งกระจกจะสะท้อนแสง ทั้งแสงจากแฟลช และแสงสะท้อนจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นภาพตัวเอง ผนัง หรือ ลูกหมา

วิธีแก้ปัญหาแสงสะท้อนเอาสิ่งอื่นๆมาอยู่บนกระจกง่ายๆคือ กำจัดแสงภายนอกออกไปให้หมด ถ้าเป็นตอนกลางคืนก็ปิดไฟซ่ะ ถ้าเป็นตอนกลางวันก็ปิดม่านซ่ะ แค่นี้คุณก็สามารถจะลดแสงสะท้อนภาพอะไรต่อมิอะไรบนกระจกไปได้แล้วครับ

ไฟในตู้ปลาควรจะเปิดให้สว่างที่สุดเท่าที่จะสว่างได้ อย่าลืมใช้ ไฟที่ให้แสงสีขาว เพื่อจะได้สีปลาที่ถูกต้อง ที่นี้ปัญหาก็คือไฟที่เปิดจนเต็มที่แล้วพอหรือยังที่จะถ่ายรูปปลา?  พอคือกล้องโฟกัสได้ดี และภาพปลาออกมาคมชัด นั่นคือกล้องสามารถทำความเร็วชัตเตอร์ได้พอที่จะ “หยุด” ปลาได้ ปัญหายังเกิดขึ้นกับปลาต่างชนิดด้วย ถ้าเป็นปลาช้าๆอย่างพวกกระดี่ ปลาหมอตัวใหญ่ๆ หรือปลาทอง ที่ไม่ค่อยขยับไปไหน ก็ถ่ายง่ายหน่อย ถ้าเป็นพวกว่ายไปว่ายมาอย่างพวกปลาซิวหรือเต็ทตร้า ก็ต้องใช้ความอดทนกันมากพอสมควร นอกจากจะหาจังหวะที่ปลาหันมาให้ถูกทางแล้ว ยังต้องรอจังหวะที่ปลาว่ายช้าลงด้วย

วิธี “หยุด” ปลาให้ได้อีกอย่าง (โดยที่ตอนนี้ยังไม่พึ่งแสงจากแฟลช) คือการตั้งค่า ISO บนกล้องให้สูงๆหน่อย ISO คืออะไร?  ตอบอย่างงูๆปลาๆ อ้างอิงกรณีของฟิล์มธรรมดา ก็คือค่าความสามารถในการรับแสง (โห มั่วสุดๆ) เอาเป็นว่า ISO ยิ่งมาก ก็ยิ่งรับแสงได้มากขึ้น หมายความว่าที่จำนวนแสงเท่ากัน ฟิล์มที่มี ISO สูงกว่าอย่าง 200 หรือ 400 เราก็สามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่าซึ่งก็จะหยุดปลาได้ดีกว่า “ถ้าอย่างนั้นผมก็ใช้ ISO สูงๆดิ จะใช้ต่ำๆทำลิงอะไร?” คุณอาจจะถาม ผมก็เคยถาม ความเร็วไม่ได้ๆมาฟรีๆ ปัญหาของฟิล์มที่ ISO สูงๆก็คือ เกรน ครับ “เกรนคืออะไร?” เกรนคือความไม่เรียบของภาพ ยิ่ง ISO สูงภาพก็ยิ่งไม่เรียบ กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆแก้ปัญหานี้ไปได้เยอะแล้วครับ สำหรับผมถ้าถ่ายปลาช้าๆ ผมก็ตั้งไว้ที่ 50 ถ้าถ่ายปลาว่ายเร็วหน่อยก็ตั้งไว้สัก 200 ครับ ถ้าสิ้นคิดจริงๆผมถึงจะไปสูงกว่านั้น (กล้องรุ่นใหม่ๆเดี๋ยวนี้บางทีไปถึง ISO 1600 เกรนยังไม่แตกเลยครับ)

ถ้าคุณทำทั้งหมดที่ผมว่ามาแล้วยังหยุดปลาไม่อยู่ อีกวิธีซึ่งจริงๆแล้วควรจะเป็นวิธีแรกคือใช้แฟลชครับ แต่การใช้แฟลชก็มีปัญหาของมันเอง เพราะระหว่างแสงแฟลชกับปลาและกล้องของคุณ คือกระจกตู้ปลา ซึ่งจะคอยสะท้อนแสงแฟลชกลับเข้ามาในกล้อง ร้อยทั้งร้อย ใครที่เคยถ่ายภาพปลาต้องเจอมาแล้วทั้งนั้น วิธีแก้ได้ง่ายๆคือ ถ่ายภาพโดยให้กล้องทำมุม 45 องศากับกระจก จะซ้าย จะขวา จะล่าง จะบนเหมือนกันครับ แสงแฟลชส่วนที่ผ่านกระจกไปก็จะกระทบตัวปลาดีๆ ส่วนที่กระเด้งออกไปก็จะกระเด้งไปทางอื่นไม่ย้อนกลับมาที่กล้องให้ลำคาญใจ หรือถ้าคุณถ่ายภาพปลาตัวเล็กๆซึ่งต้องให้กล้องอยู่ใกล้ๆกับกระจกก็นั่นแหละครับ จ่อกล้องจ่อแฟลชให้ติดกระจกไปเลย ไม่ต้องเหลือมุมไว้ให้สะท้อน ซึ่งการนี้ก็สามารถประยุคใช้ได้อีกนั่นคือ แฟลชยิ่งอยู่ติดกระจกมากเท่าไหร่โอกาสสะท้อนกลับมาหากล้องก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นถ้ากล้องของคุณเป็นแบบ G3 คือมีแฟลชอยู่ทางด้านซ้ายของตัวกล้อง เวลาเอียง 45 องศาอย่างที่ผมว่าก็เอียงกล้องข้างซ้ายที่มีแฟลชเข้าไปให้ใกล้กระจกไว้ครับ วิธีนี้ช่วยได้เยอะเลย

หรือถ้าคุณมีแฟลชแบบที่มีสายต่อแยกออกมาจากตัวกล้องได้ คุณก็สามารถจ่อกล้องตรงๆกับกระจก แต่จ่อแฟลชเฉียงๆได้ครับ เหมือนเดิมคือ จะซ้ายขวาล่างหรือบนก็ได้ทั้งนั้นหล่ะขอให้เป็น 45 องศาเป็นใช้ได้ครับ

ปัญหาจากการใช้แฟลชที่ผมพบคือในกรณีที่ปลามีเกล็ดสีเงินๆอย่างพวกปลาตะเพียน เกล็ดปลาเจ้ากรรมนี่แหละครับที่จะสะท้อนแสงกลับมาหากล้อง ซึ่งยิ่งถ้าใช้แฟลช บางครั้งแสงสะท้อนกลับเข้ากล้องจะสว่างมากจนปลากลายเป็นสีขาวๆขาดละเอียดของเกล็ดไปเลย วิธีแก้ก็คือลดความแรงของแฟลชลงครับ กล้องผมลดได้ถึง -2 ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นปลาสีเงินมากๆอย่างพวกตะเพียนขาว ซิวหางแดง ผมจะลดไปถึง 2 เลย ถ้าพวกกลางๆอย่างบาดิส ผมก็จะลดไปสัก 1 โดยทั่วไปแล้วผมเลือกเอาภาพปลามืดดีกว่าภาพปลาที่สว่างครับ ภาพที่มืดจะยังมีรายละเอียดของปลาและสีอยู่เกือบครบ ซึ่งสามารถปรับแต่งแสงภายหลังให้สว่างขึ้นได้ แต่ถ้าภาพสว่างไปจนขาดรายละเอียดแล้วละก็ กู่ไม่กลับครับ



Chela caeruleostigmata (Smith, 1931) หรือ ปลาหัวตะกั่วสุโขทัย


Rasbora rubrodorsalis (Donoso-Buchner & Schmidt, 1997) ปลาซิวครีบแดง - สวยแต่ถ่ายรูปยาก


 Aphiprion percula (Lacepede) ปลาการ์ตูนเพอคูล่า และ Homo sapiens (Linnaeus, 1758) และ Pagalangnoides resin (Panitvong, 2003) - ตัวที่สองนี่คือคนถ่าย ตัวที่สามคือปะการัง เรซิ่น

 Handpod เอามือด้านซ้ายวางทาบลงไปกับตู้ปลากดลงไป ยึดให้มั่น (ตู้สะอาดจะฝืดๆอยู่แล้ว) วางกล้องลงระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ เท่านี้ Handpod ก็เสร็จสมบูรณ์ กล้องจะนิ่งเชียวหล่ะ โปรดสังเกตในภาพเอียงกล้องทำมุมกับตู้ 45 องศาและจัดให้ด้านที่มีแฟลชอยู่ติดกับตู้เพื่อลดแสงสะท้อนกลับเข้ามาที่กล้อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06/05/07, [12:17:32] โดย บัง »
MaTTieW ออฟไลน์
Hot Member
« ตอบ #1 เมื่อ: 09/10/06, [11:47:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความนิ่ง

ต่อให้ปลาอยู่นิ่งๆเลย แต่มือคุณไม่นิ่งมันก็จบเห่ครับ ถ้าแสงมากชัตเตอร์เร็ว มือสั่นนิดสั่นหน่อยก็ไม่ค่อยเป็นไร แต่ถ้าแสงน้อยปลานิ่ง แต่มือไม่นิ่งทำให้ภาพไม่ชัดมันก็น่าโมโหยิ่งนัก เวลาถ่ายภาพปลาโดยเฉพาะปลาเล็กๆอย่างที่ผมถ่าย ส่วนใหญ่แล้วต้องให้กล้องจ่ออยู่กับตู้เลยจนทำให้ผมคิดค้นอุปกรณ์ที่จะทำให้กล้องอยู่นิ่งขึ้นมาผมเรียกมันว่า Handpod ครับ แฮนพอด ทำง่ายๆ ถ้าคุณถนัดขวามือซ้ายของคุณนั่นแหละคือแฮดพอด กระจกที่สะอาดเอามือไปถูจะไม่ลื่น มันจะฝืดๆ กึ๊ดๆๆๆ เอามือซ้ายเกาะผนังตู้ไว้ให้ดีแล้วเอากล้องว่างถ่ายด้วยมือขวา กล้องจะนิ่งขึ้นมากครับ หรือถ้าคุณต้องการใกล้กว่านั้นก็เอาหน้ากล้องนั่นแหละครับกดลงไปกับกระจกเลย ค่อยกดลงไปแล้วอัดไว้ให้นิ่ง (อย่าแรงนักนะ เดี๋ยวปลาตื่น กล้องพังอีกตะหาก) ถ้าคุณถ่ายห่างออกมาจากตู้ก็ใช้วิธีเบสิคคือสองมือแนบข้างลำตัวกลั้นหายใจแล้วถ่าย ถ้ามือคุณยังไม่นิ่งอีกมีสิ่งประดิษฐ์แสนวิเศษที่เรียกกันว่า Tripod หรือขาตั้งกล้องแบบมี 3 ขานั่นแหละครับ หาซื้อได้ตามร้านถ่ายรูปทั่วไป นิ่งชัวร์ แต่ปัญหาของมันก็คือความนิ่ง เพราะปลาไม่อยู่นิ่ง ขยับขาตั้งตามปลานี่ก็เหนื่อยเหมือนกันครับ นอกจาก Tripod แล้วก็ยังมี Monopod อีกครับ ขาตั้งแบบขาเดี่ยวพวกนี้ ไม่นิ่งเท่าแบบ 3 ขาแต่ก็ช่วยได้มากและสามารถเคลื่อนที่ตามปลาได้ดีกว่าครับ

แล้วก็ยังมีความไม่นิ่งอีก ถ้าปลาที่คุณถ่ายเป็นปลาว่ายช้าๆอย่าง อโรวาน่า คุณต้องใช้เทคนิค “แพน” กล้องครับ โฟกัสปลาให้ดีแล้วแพนกล้องตามปลาไปแล้วถ่าย ตอนถ่ายอย่าหยุดนะครับขยับต่อเรื่อยๆให้จบวงสวิง อ้อ ถ้าใช้เทคนิคแพน เปลี่ยนโหมดการโฟกัสไปเป็นแบบ ต่อเนื่อง (continues) ก็ดีครับ

และในฐานะที่คุณใช้กล้องดิจิตอลมีการเก็บสถิติมาแล้วครับ สมมุติว่าคุณรอปลาตัวนึงให้ออกมาจากที่ซ่อนมานาน 3 วันแล้วในที่สุดเค้าก็ออกมา อยู่นิ่งๆนั่นแหล่ะ ถ่ายเข้าไปครับ ถ่ายๆๆๆๆๆๆๆๆ ภาพเดิมท่าเดิมนั่นแหล่ะถ่ายเข้าไป มันจะมีทั้งภาพที่ชัดและไม่ชัด เสร็จแล้วก็เอามาเลือกภาพที่ชัดที่สุดมาใช้ ถ้าความคมชัดใกล้เคียงกันมาก ดูที่ขนาดไฟล์ครับ ส่วนใหญ่แล้วภาพที่คมชัดกว่าจะมีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าเพราะเก็บรายละเอียดมาเยอะกว่า มิได้โม้ (อย่าบอกผมนะว่าดูขนาดไฟล์ไม่เป็น)

โฟกัส

กล้องแต่ละรุ่นแต่ละขนาดมีความสามารถในการโฟกัสไม่เหมือนกัน บางรุ่นเร็ว บางรุ่นช้า บางรุ่นไม่ค่อยยอมโฟกัส ถึงยอมโฟกัสปลาก็ไม่ค่อยอยู่นิ่งให้โฟกัส ถ้าเป็นปลาช้าๆหน่อยก็พอลุ้น แต่ถ้าเป็นปลาเล็ก วิธีเดียวที่ทำได้คือโฟกัสรอไว้ก่อน กะเอาว่าปลาน่าจะว่ายมาอยู่ในระดับไหน หาอะไรก็ได้ที่มีสีเป็นกลางๆหน่อย ไม่มืดไม่สว่างไป เล็งให้ดีกะให้กล้องโฟกัสตรงนั้นแล้วก็รอ ร๊อ รอ ให้ปลาว่ายมาเข้าระดับแล้วก็ถ่ายไว้ ถ้าโชคดีถ่ายสัก 5-6 รูปอาจจะมีดีๆสักภาพ ถ้าโชคไม่ดีแถมไม่มีฝีมือก็ถ่ายไปนั่นแหละครับ เดี๋ยวปลาก็ต้องหลงมาให้ถ่ายสักภาพหล่ะ  โดยเฉลี่ยแล้วถ้าเป็นพวกปลาซิวผมจะถ่ายสัก 20 ภาพถึงจะได้แบบที่พอใช้ได้สักภาพนึงครับ แต่กล้องดิจิตอลอย่างมากก็ลบทิ้ง เสียเวลาแค่นั้นเองนิ เอ้อ ขอสำคัญนะครับ เวลาถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็น ปลา นก หนู ลิง ค่าง หรือ คน ส่วนอื่นจะไม่ชัดไม่ว่าครับ แต่ "ตา" ต้องชัดครับ ตาต้องเป็นจุดที่อยู่ในโฟกัส

 
วัดแสง

วัดแสงสำคัญมากครับ ภาพที่ดีต้องไม่สว่างจนขาดรายละเอียดและต้องไม่มืดเกินไปจนไม่เห็นรายละเอียด การวัดแสงท่ากล้องของคุณมีระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot Meter) แบบดีๆก็วัดไปตรงตัวปลาเลยครับ โดยเฉพาะถ้าปลาตัวใหญ่พอก็ยิ่งง่ายใหญ่เลย ถ้าปลาตัวเล็กเกินไปให้พึ่งสีกลางครับ สีกลางคือสีที่ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไป ช่างภาพมืออาชีพถ่ายสตูดิโอจะมีแผ่นสีที่ว่านี่อยู่เป็นกระดาษสีเทาๆ แต่สำหรับผมมักจะอาศัยอะไรก็ได้ที่ใกล้เคียงกว่าเอา อย่างถ้าถ่ายรูปปลาในตู้ต้นไม้น้ำก็อาจจะไปวัดแสงเอากับใบของต้นอนูเบียสซึ่งมีสีเขียวเข้มถ้าเป็นตู้พวกปลาหมอก็วัดเอากับก้อนหินสีน้ำตาลๆในตู้ การวัดแสงของกล้องดิจิตอลทั่วไป วัดแล้วจะโฟกัสไปด้วยเลย ดังนั้นถ้าจะวัดก็ควรจะหาวัตถุที่อยู่ในระดับที่กะว่าปลาจะว่ายผ่านด้วยครับ ถ้าเป็นอย่างกล้อง G3 เนี๊ย กดชัตเตอร์ไว้ครึ่งนึง กล้องก็จะโฟกัสและวัดแสงให้เสร็จสับ จากนั้นก็แค่หาปลาที่จะถ่ายให้เจอ ขยับมือและกล้องของคุณให้ปลาโฟกัสแล้วก็ถ่ายไปเลยครับ

เรื่อง/ภาพ: นณณ์ ผาณิตวงศ์

บทความต้นฉบับอยู่นี่ครับ การถ่ายภาพปลาด้วยกล้องดิจิตอล : นณณ์ ผาณิตวงศ์





Save for web เป็นอันที่บอกเพื่อนแล้วงงที่สุดเลยเอาภาพมาให้ดูดีกว่า



ตัวอย่างปลาตัวนี้ผมถ่ายในตู้ที่น้ำออกไปทางสีชาซึ่งเกิดจากขอนไม้ เนื่องจากปลาไม่ค่อยอยู่นิ่ง ผมจึงวัดแสงและให้กล้องโฟกัสไว้ที่ระดับขอนไม้ (ขอนไม้เป็นสีกลาง)

ถอยออกมานิดนึงรอจังหวะให้ปลาว่ายมาหยุดแล้วก็จัดการยิงซะ

Badis badis (Hamilton) บลูบาดิส - ภาพดิบที่ได้มาจากกล้อง จะเห็นว่าคมชัดพอสมควรและติดสีเหลืองของน้ำอยู่



ใช้อุปกรณ์ Sharpen filter ภาพคมชัดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด



ปุ่มมหัศจรรย์ Auto Color น้ำเหลืองๆก็ใสขึ้นมาทันตา ได้เห็นสีจริงๆของตัวปลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06/05/07, [12:25:06] โดย บัง »
Amazonas ออฟไลน์
The Glass Box
« ตอบ #2 เมื่อ: 26/10/06, [22:12:41] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 :daze01: Thank.
~ m @ y ~ ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #3 เมื่อ: 31/10/06, [14:07:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โอ้ว!พระเจ้า จ๊อดมันยอดมาก :smile04:
น้องอ้วนซ่า ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 03/11/06, [09:10:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ่ายยากจังอ่ะพี่....ว้าเมื่อไหร่จะถ่ายได้นะ
jack_man ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #5 เมื่อ: 10/11/06, [13:58:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 :smile04:
e_gar
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 12/11/06, [15:59:55] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

....กระจ่างใส  :smile06: ........จุดประกายขึ้นมาอีกครั้ง
Rapee ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #7 เมื่อ: 06/05/07, [11:35:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

 โอ้ว...มันเยี่ยมมาก  ลบหมดเลย  โอ้ว....... หามาคืนได้ยังงัยเนี่ย อิอิ เอ้าลืม..... โอ้ว.... dea02
@nop@ ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #8 เมื่อ: 11/05/07, [09:36:40] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 coo01 เป็นข้อมูลที่ดีมากเลย สุดยอด
คนเดินทาง.. ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #9 เมื่อ: 23/07/07, [09:41:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดมากจริงๆครับ  chi01
bainard
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 09/08/07, [11:43:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เพิ่มเติมนิดส์ ผมว่าปัจจัยสำคัญไม่แพ้กันคือ ชัตเตอร์สปีด ครับ เพราะว่าน้องปลาเรามักไม่อยู่เฉย ๆ สรุปแล้วสำคัญที่สุดคือ แสง กับชัตเตอร์คับ หากสว่างเข้าไว้เราจะได้ชัตเตอร์สปีดที่สูงพอจะหยุดส่งเคลื่อนไหวได้ ถ่ายรุปปลานี่มันท้าทายจิง เป็นตากล้องมา 5 ปี ถ่ายปลานับครั้งได้ ท้าทายมั๊ก ๆ
โอ๋ ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #11 เมื่อ: 20/03/08, [19:02:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]
เยี่ยมครับ
XDDD ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 10/10/08, [11:20:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมมากครับ   แต่  มีปัญหา เบื้อง ต้นคือ จาใช้ ความละเอียดของรูปเท่าไหร่ ดีครับ แล้วต้องเอาไป resize ด้วยป่าวเวลาเอาไปแป๊ะใน board ครับ
warlock ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #13 เมื่อ: 27/10/08, [08:26:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 idea1 สุดยอดเลยคับ
~KorN KunG~ ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #14 เมื่อ: 08/05/09, [17:26:49] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชอบรูปแบบนี้จัง
tikeru ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #15 เมื่อ: 29/06/09, [18:22:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณบทความดีๆนะครับ จะไปปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ภาพที่สวยที่สุด การถ่ายภาพสำคัญมากคือแสงครับเป็นหัวใจของการถ่ายภาพเลยล่ะ
pheng ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #16 เมื่อ: 03/10/09, [19:39:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอด อ่านเข้าใจง่ายดี
poomfsas ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #17 เมื่อ: 24/09/10, [11:55:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยื่ยมครับ  [เจ๋ง]
Bythekong ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #18 เมื่อ: 23/10/10, [20:32:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เจ๋งอะผมกะว่าจะเก็บเงินซื้อกล้องรอ คอมซ่อมเสร็จเอามาทำแบบนี้ดีกว่า  [เจ๋ง]
JeDI ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #19 เมื่อ: 26/10/10, [22:23:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

จะไปถ่ายภาพปลาละ  [เจ๋ง]
fatfish@เเก็งค์มังกรดำ ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #20 เมื่อ: 01/02/11, [07:38:11] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่านแล้วจะลองถ่ายมาลงบ้างนะครับ
TomCm ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #21 เมื่อ: 11/10/11, [14:29:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ไปลองมาละ กล้องคอมแพ็คมันทำได้เท่านี้จริงๆ
แสงสะท้อนเยอะมวากกก บ้านไม่มีผ้าม่าน
ปลาก็ไปไวยังกะติดจรวด แค่วัดแสงมันก็ตื่นไปทางอื่นละ
ยิงเป็นร้อย พอดูได้สักสองรูป  [on_008]

ไอ้แฮนพอดนี่ก็เหลือเกิน เมื่อยจริงๆ

สุดท้ายก็ต้องพึ่งโฟโต้เฉาะ ครอปส่วนที่พอทนดูได้ ดึงสีดึงแสง ดึงนู่นนี่นั่น
เช่นนี้แล .... ฝีมือคงยังอยู่ชั้นอนุบาล อีกนานกว่าจะได้ขึ้น ป. 1 [on_026]



หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: