Aqua.c1ub.net
*
  Sat 20/Apr/2024
หน้า: 1 2 3 ... 28   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: EHL D.I.Y. จำหน่าย (HPLEDs 3w Full Spectrum) ผ่านการทดสอบ แสงครบ วัตต์เต็ม  (อ่าน 140379 ครั้ง)
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« เมื่อ: 11/04/13, [07:43:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

UPDATE ตู้ของร้าน EasyHomeLED.com ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน http://goo.gl/XuUret







UPDATE ตู้ของร้าน EasyHomeLED.com ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน http://goo.gl/XuUret



สามารถสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ได้ที่ http://www.easyhomeled.com
และ LINE ID: syscyberdyne หรือ syscyberdyne@gmail.com

สามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ผ่านเพจเฟสบุุ๊ค
https://www.facebook.com/easyhomeTU

*** วิธีการทำโคมไฟ DIY ด้วยตัวเอง http://goo.gl/Hpq8Nu
*** ผลการวิเคราะห์ Spectrum หลอด LED http://goo.gl/1bWc6u

- ภาพถ่ายตู้เจ้าของร้าน EHL http://goo.gl/SEldoI
- ภาพถ่าย LED เลี้ยงไม้น้ำ http://goo.gl/HNYKW8
- ภาพถ่ายสูตร 30 หลอด http://goo.gl/xulFjz
- ภาพถ่ายสูตร 50 หลอด http://goo.gl/rQDTGO

- ค่า Kelvin ของหลอดเทียบกับอะไร? http://goo.gl/UFI8IJ
- ส่วนผสมแสงที่เหมาะสมกับปะการัง http://goo.gl/Dkhgou
- แสง UV สิ่งจำเป็นสำหรับปะการัง? http://goo.gl/Xnyryq
- แสงกับการสังเคราะห์แสงของพืช http://goo.gl/lZ67nd







ประสิทธิภาพแสงสว่างเต็มเปรียม ย่อมเกิดจากการออบแบบที่ดี กำลังวัตต์เต็มที่กับการระบายความร้อนอย่างมีหลักการ เราจึงกล้าจ่ายกระแส 700mA โดยที่หลอดไม่เสื่อมคุณภาพ การใช้กระแสที่ต่ำกว่าไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้สเปกตรัมผิดเพี้ยนแล้ว ก็ไม่ช่วยยืดอายุการใช้งานหลอดให้ยาวนานขึ้น การยืดอายุหลอดให้ยาวนานขึ้น ทางเลือกที่ถูกต้องคือ "การระบายความร้อนให้ดี" ติดตั้งพัดลมให้เหมาะสม และคุมอุณหภูมิให้ไม่สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส


ความสะดวกรูปแบบใหม่ชำระค่าสินค้าผ่าน Paysbuy บัตรเครดิต Visa , MasterCard หรือหักผ่านบัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย๋ กรุงไทย กรุงศรี กรุงเทพ หรือจ่ายผ่าน เคาท์เตอร์เซอร์วิส โลตัส และอื่นๆ ง่ายสะดวก สำหรับคนที่ไม่อยากโอน หรือ ไม่มีบัญชีธนาคาร เปิดให้บริการแล้ว เพียงเลือกซื้อสินค้า แล้วแจ้งการชำระเงินผ่านปุ่ม "Paysbuy"
ช่องทางการติดต่อ

1.) โทรศัพท์ 0 8 6 แปด สาม หนึ่ง สาม ศูนย์ แปด สี่
2.) Line : EasyHomeLED.com หรือ syscyberdyne
3.) บอร์ดหน้าเว็บ www.easyhomeled.com
4.) อีเมลล์ syscyberdyne@gmail.com


วิธี DIY โคม HPLEDs 3w ฉบับละเอียด

วิธี DIY โคม HPLEDs 3w ฉบับละเอียด พร้อมบทความด้านล่าง ดูให้หมด อ่านให้จบ แล้วความง่ายจะเกิดขึ้น ทำโคม DIY ใช้เองไม่ยาก แต่ต้องตั้งใจทำครับ เนื้อหาจะมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ นะครับ ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นภาพ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายกว่าอธิบาย ส่วนบทความด้านล่างอ่านเสริมความรู้ได้ครับ จะช่วยให้เข้าใจเรื่องแสงได้มากขึ้น ส่วนภาพล่างก็ DIY แต่คำนวณก่อนทำครับ เผื่อท่านใดต้องการประหยัดอุปกรณ์ ทำรอบเดียวอยู่ เป็นตัวตนแบบอีกตัวหนึ่งที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้




สำหรับขั้นตอนการทำ DIY LED ด้วยต้นเองไม่ได้มีความยากอะไรมากนัก ในตัวอย่างนี้ผมจะขอยกตัวอย่างของโคมไฟเลี้ยงก้นตู้ตัวต้นแบบที่มีชื่อว่า “EHL Optimus” มีหลอดทั้งหมด 50 หลอด แบบ Full Spectrum กำลังขับเต็ม 150w พรัอมด้วยระบบ Timer ตั้งเวลาเปิดปิดตัวเองอัตโนมัติ และ Temp-Control สำหรับควบคุมการทำงานของพัดลมโดยแปรผันกับอุณหภูมิ

มาเริ่มต้นด้วยการปูพื้นความรู้สักนิดหนึ่ง จากลายมือที่อ่านยากสักนิด ซึ่งผมได้เขียนอธิบายหลักการต่อวงจรอนุกรมและวงจรขนาน พรัอมวิธีคำนวณอย่างง่ายสำหรับท่านที่ต้องการนำหลอดไปต่อกับ Power Supply ของคอมพิวเตอร์ หรือ Power Switching โดยปกติหลอด LED 3w แบบแท้ๆ ไม่ใช่แบบเทียมที่กำลังไม่เต็มจะกินไฟอยู่ที่ เฉลี่ย 3v 700mA ซึ่งบางหลอดอาจจะมีโวลต์มีมากกว่าหรือต่ำกว่าได้ แต่ในการคำนวณให้สำคัญที่กระแสคือ 700mA หรือ 0.7A ซึ่งรูปแบบการต่อสามารถดูได้จาก 3 ภาพนี้





แต่ถ้าหากใครเลือกใช้วงจรขับหลอด 3w จากทาง EasyHomeLED.com ก็ให้ต่ออนุกรมได้ตั้งแต่ 6-10 หลอด (ภาพเก่าต่อได้ 5-9 หลอด ให้ยึดตามวงจรแบบใหม่ครับ) โดยให้ต่อหลอดแบบวงจรอนุกรมโดย + ชน – ชน + ชน – แบบนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ โดยสายไฟเส้นสีแดงที่ออกจากวงจรขับหลอดให้ต่อเข้าที่ขั้วบวกของหลอดแรก และสายไฟสีขาวที่ออกจากวงจรขับให้ต่อเข้ากับขั้วลบของหลอดสุดท้าย ไม่ว่าจะอนุกรมกัน 6 หลอด 8 หลอด หรือ 10 หลอด ก็ไม่แตกต่างกันครับ เพราะวงจรเหล่านี้ถูกออกแบบมาปรับแรงดันให้เหมาะสมกับจำนวนหลอดที่ต่อเข้าไปในวงจร นี่คือข้อดีของวงจรขับหลอดที่ง่ายกว่าการใช้ Power Supply ของคอมพิวเตอร์ หรือ Power Switching และที่สำคัญคือ หากหลอดใดหลอดหนึ่งในวงจรเกิดขาด เราสามารถเอาสายไฟบัดกรีข้ามหลอดนั้นๆ ชั่วคราวก่อนได้ แล้ววันหลังจึงหาหลอดมาเปลี่ยนใหม่



ปูพื้นกันมาพอสมควรแล้ว เรามาเข้าเรื่อง การทำโคม LED DIY จากหลอด LED 3w กันเลยดีกว่า โดยให้พระเอกของงานนี้คือ โคมไฟเลี้ยงก้นตู้ตัวต้นแบบที่มีชื่อว่า “EHL Optimus” มีหลอดทั้งหมด 50 หลอด แบบ Full Spectrum โดยด้านล่างนี้จะแสดงแผนผังการวางหลอด และจำนวนหลอดแต่ละชนิดที่ต้องใช้



ปล. 120 และ 90 คือองศาของเลนส์ที่จะใส่เข้าไป แต่พอถึงเวลาใช้งานจริง ไม่ได้ใส่เลนส์เข้าไป ถ้าต้องการผสมแสงให้เสมอกันก็ไม่ควรใส่เลนส์ เพราะปกติแล้วตัวหลอดเองจะมีมุมกระจายแสงที่ 140-180 องศา การเข้าไปใส่เป็นการจำกัดขอบเขตการกระจายแสงของหลอด LED มุมยิ่งแคบการกระจายแสงยิ่งลด ความเข้มต่อพื้นที่ยิ่งมากขึ้น การใส่เลนส์ช่วยให้แสงส่องลงลึกขึ้นครับ จะใส่ก็ต่อเมื่อระดับมีความลึกเกิน 20 นิ้วขึ้นไป ถามว่าลึกมากเท่าไร อันนี้ต้องอาศัยการคำนวณตรีโกณมิติ + อัตราการหักเหของช่วงคลื่นกับผิวน้ำครับ เพื่อให้ได้คำตอบอย่างละเอียด หลักๆแล้วเริ่มต้นที่ 120 สำหรับปกติทั่วไป แต่ถ้าน้ำลึกเกิน 20 นิ้ว ต้องใช้ 90 หรือ 60 แล้วแต่ตามกรณีไปครับ ข้อเสียของการใส่เลนส์คือจะทำให้การกระจายสีและพื้นที่การส่องแสงลดลงครับ



อุปกรณ์หลักที่ต้องมีสำหรับการสร้างโคมไฟมีดังภาพนี้ครับ
1.) คีมปากจิ้งจก สำหรับนำมาใช้ตัดสายไฟ นอกจากในภาพก็ควรมี ไขขวงทั้งปากแบนและแฉก
2.) ที่ดูดตะกั่ว สำหรับดูดตะกั่ว เวลาที่เราบัดกรีผิด หรือต้องการย้ายอุปกรณ์ออกจากวงจร
3.) ขดตะกั่ว ขดละไม่กี่บาท สำหรับเชื่อมบัดกรี ถ้าหาแบบไรสารตะกั่วก็มีแต่แพงหน่อย
4.) ฟลักสำหรับบัดกรีตลับสีเหลืองๆ เอาไว้ป้ายจุดที่ต้องการบัดกรี ช่วยให้บัดกรีง่ายขึ้นมากๆ
5.) หัวแรงบัดกรี ถ้ามือใหม่เอาวัตต์ไม่สูงมากก็พอ แต่ถ้ามืออาชีพเอาวัตต์สูงได้ แต่ต้องไวสักหน่อย
ส่วนอุปกรณ์งานช่างอื่นๆ ก็สุดแล้วแต่ว่าใครจะมีอะไร ถ้าหา มัลติมิเตอร์ไว้สักตัวสำหรับทดสอบไฟในวงจรก็ดี หรือถ้าใครจะเล่นออสซิโลสโคปวัดกันให้ละเอียดกันไปข้างนึง ก็ไม่มีใครว่าครับ พวกสว่านต้องมีด้วย สำหรับเจาะรูต่างๆ แล้วก็นอตเบอร์ต่างๆ สต๊อกไว้หลายๆ ขนาดจะดีมากๆ




ส่วนตัวโคมแล้วแต่ว่าใครจะใช้อะไร สามารถใช้ได้ทั้ง กล่องอลูมิเนียม หรือ รางอลูมิเนียม ที่ใช้ทำพวกหน้าต่างหรือประตูก็ได้ แต่จะต้องติดพัดลมมากตัวหน่อย เพราะระบายความร้อนได้ไม่ดีนัก บางท่านจึงเอาวงจรขับที่กระแสต่ำกว่า 700mA มาใช้ เพื่อให้ความร้อนลดลง ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด การใช้กระแสที่ต่ำกว่าไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง นอกจากจะทำให้สเปกตรัมผิดเพี้ยนแล้ว ก็ไม่ช่วยยืดอายุการใช้งานหลอดให้ยาวนานขึ้น การยืดอายุหลอดให้ยาวนานขึ้น ทางเลือกที่ถูกต้องคือ การระบายความร้อนให้ดี ติดตั้งพัดลมให้เหมาะสม และคุมอุณหภูมิให้ไม่สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ผมจึงเลือกใช้ Heatsink เนื่องจากมีครีบจำนวนมาก ทำให้พื้นที่สัมผัสกับอากาศมีมาก ช่วยให้การนำพาความร้อนเกิดประสิทธิภาพดีกว่า ขนาดของ Heatsink สามารถเลือกได้ตามความต้องการ สามารถหาซื้อได้ที่ร้านอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ หรือร้านอะไหล่เครื่องเสียง และสามารถเลือกขนาดพัดลมตามต้องการให้เหมาะกับ Heatsink ในตัวอย่างนี้ผมเลือกขนาด 5*10*2.5 นิ้ว จากนั้นให้เราวัดระยะโดยใช้ไม้บรรทัด ขีดเส้นด้วยดินสอ เพื่อกำหนดจุดวางหลอดครับ




จากนั้นมาถึงขันตอนวางแผ่นฐานหลอดติดกับ Heatsink ในที่นี้ผมจะเลือกใช้แผ่นฐานหลอดแบบเดี่ยว เพราะง่ายต่อการจัดวางตำแหน่งหลอด แต่มีข้อเสียตรงที่จะต้องใช้ทักษะการเดินสายไฟพอสมควร โดยปกติแล้วการวางแผ่นฐานหลอดนั้นจะต้องเจาะรูเพื่อยึดแผ่นฐานหลอดให้ติดแน่นกับ Heatsink เพื่อลดขั้นตอนความยุ่งยาก ผมขอแนะนำ Heatsink Plastter หรือกาวแปะหลอดนั้นเอง ซึ่งอาจจะหาซื้อได้ยากกว่าซิลิโคนระบายความร้อน จุดเด่นของพลาสเตอร์ตัวนี้คือ มีคุณสมบัติการระบายความร้อนดีเหมือนซิลิโคน แต่มีสามารถยึดติดแน่นได้เหมือนกาว เพียงแค่บีบเม็ดเล็กเท่าถั่วเขียว ป้ายหลังแผ่นฐานหลอด จากนั้นวางแผ่นฐานหลอดลงบน Heatsink จากนั้นใช้มือกดให้เสมอทั่วทุกด้านครับ กาวจะแห้งเองภายใน 5-30 นาที แล้วแต่ความหนา และคุณภาพของกาวครับ




จากนั้นทำนองเดียวกัน ให้เราเอาพลาสเตอร์ทาด้านหลังเม็ดหลอด LED และแปะลงไปบนแผ่นฐานหลอดดังภาพด้านบน แล้วก็ก่อนแปะทุกครั้ง จำฟลักสำหรับบัดกรีตลับสีเหลืองๆ ที่ผมกล่าวถึงได้ไหม? ให้เอาขาหลอดป้ายแว๊กมานิดหน่อยกับขาทั้ง 2 ด้าน เพื่อในเวลาบัดกรีหลอดจะได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น สำหรับการดูขั่วหลอดนั้น ถ้าเป็นหลอดจาก EasyHomeLED.com สังเกตที่ขาหลอด ขาข้างที่มีขีดเล็กๆ จะเป็นขั้วบวก ส่วนขาอีกข้างหนึ่งจะเป็นขั้วลบ แต่ถ้าหากเป็นหลอด LED ของเจ้าอื่นๆ ก็ต้องสอบถามวิธีดูขั้วอีกที หรือวิธีที่ง่ายที่สุดคือ ไปหารางถ่าน AA 2 ก้อนมาแล้วใส่ถ่าน เอาถ่าน 3 โวลต์ จิ้มเลย เช็คง่ายที่สุด หรือจะเอามัลติมิเตอร์วัดก็ได้เช่นกัน





อุปกรณ์ที่ผมหามาเพิ่มเติมสำหรับงานนี้คือ
1.) พัดลมที่มีขนาดเหมาะกับ Heatsink ผมเลือกใช้พัดลม 5 นิ้วแบบ 220V ต่อเข้าไฟบ้านได้เลยโดยไม่ต้องแปลงไฟ หรือถ้าใครจะเลือกใช้พัดลม 12V ก็ได้นะครับ แต่ท่านก็ต้องหา Power Switching 12V มาจ่ายไฟเลี้ยงพัดลมแยก
2.) Temp-Control สำหรับควบคุมการทำงานของพัดลมตามที่เราตั้งโปรแกรมไว้ ซึ่งทีแรกกะจะให้พัดลททำงานเป็นระยะ ก็คือร้อนถึงจะติด เย็นถึงจะหยุด แต่ปรากฏว่าความร้อนลดลงไม่มาก พัดลมเลยติดตลอดเวลาที่หลอดติด แต่มีข้อดีคือ เมื่อหลอดดับหมดแล้ว พัดลมจะยังติดเพื่อระบายความร้อนที่สะสมไว้จนเย็นตัวลง
3.) Digital Timer หัวใจหลักของงานนี้ ด้วยคุณสมบัติการตั้งโปรแกรมเปิดปิดตัวเองได้ 21 โปรแกรมต่อวัน และเราสามารถเลือกแต่ละวันในสัปดาห์ให้แตกต่างกันได้ แล้วก็ไม่มีปัญหาหากไฟดับ เพราะมี Battery ในตัว เรียกง่ายๆ Auto กันทั้งระบบ
4.) สายไฟสำหรับเดินวงจร ผมเลือกใช้สายไฟเบอร์ AWG 22 หรือ 24 ก็ได้ มันเป็นเบอร์ทำไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกิดไป สามรถใช้กับไฟ 220V ได้ด้วย หรือจะหายสายไฟแบบไหนมาใช้ก็ได้ครับ แต่อย่าเลือกขนาดเล็กจนเกินไป
5.) กล่องสำหรับใส่อุปกรณ์ต่างๆ ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์มีเยอะแยะ แต่ถ้าหากสะดวกใช้พวกกล่องกันน้ำของระบบไฟก็ได้ครับ พวกกล่องใส่สายไฟหรือปลั๊กไฟแบบนอกอาคาร
6.) สายไฟและปลั๊กไฟ ขาดไม่ได้เลยสำหรับ 2 สิ่งนี้ เอาแบบธรรมดามาก็ได้ แต่ของผมเลือกใช้แบบมีสายดิน ต่อไว้กันเหนียวนิดหน่อย





มาเริ่มติดพัดลมกันดีกว่า พระเอกของงานนี้คือ สว่านเจาะ เจาะรูเพื่อหาที่ยึดพัดลม แนะนำให้ใช้ดอกสว่านแบบหัวสีทอง เนื่องจากตัวเหล็กที่ใช้ทำดอกสว่านว่าความแข็งแรงกว่าดอกธรรมดา แต่ราคาก็แพงขึ้นไปอีกนิด ส่วนวิธียึดพัดลมก็แล้วแต่เลย ในภาพจะมีเหล็กฉากกองๆ อยู่ ใช้แบบนั้นก็ได้ครับ หรือจะใช้ขอบฉากอลูมิเนียมที่หาซื้อได้มาทำ แต่ในที่นี่ผมขอใช้สลักทองเหลืองที่ใช้รัดสายไฟตามผนังก็แล้วกัน เนื่องจากไม่ได้ซื้อขอบฉากอลูมิเนียมเอาไว้ ในภาพจะมีนอตหลายขนาด ซื้อเผื่อไว้ไม่เสียหาย





หลังจากติดพัดลมแล้ว ก็ใช้สว่านเจาะรูสำหรับยึดกล่องสำหรับใส่อุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้งตามที่เราได้ออกแบบเอาไว้ ในภาพนี้ผมไม่ได้ถ่ายวิธีการติดไว้ให้นะครับ หลายๆท่านลองประยุกต์เอาเอง จะเล่นท่าง่ายท่ายากก็ว่ากันไป ในรูปแรกผมเอาของมากองรวมกันเตรียมกะแล้วว่าจะเอาอะไรใส่ตรงไหน ระหว่างนี้ก็เสียบพัดลมทดสอบไปก่อน ในขั้นตอนนี้สามารถเดินสายไฟภายในก่อนได้เลย ผมได้เดินเผื่อเอาไว้หลายจุดสำหรับโยงไประบบต่างๆ ถ้าสายที่ออกมาข้างนอกมันเกะกะ ให้ใช้ท่อหดหุ้มไว้ได้เลย ส่วนตามจุดต่อต่างๆ บัดกรีด้วยตะกั่ว และหุ้มด้วยท่อหด หรือใครจะถัดกระดูกงู หรือเทปพัดสายไฟก็ตามสะดวกครับ เมื่อเดินสายไฟเรียบร้อยแล้ว เราก็จัดการใส่ Digital Timer และโยงสายเพื่อไปต่อกับวงจรขับหลอด ส่วน Temp-Control ก็ต่อเข้าพัดลมที่เราติดตั้งไว้ จากนั้นก็เสียบไฟเพื่อทดสอบระบบ





มาถึงในส่วนของวงจรขับ ผมเลือกใช้วงจรแบบเปลือยมาลงกล่อง โดยสีดำๆ ที่หุ้มอยู่คือท่อหด หาซื้อได้ตามร้านอิเล็กทรอนิกส์ ผมใช้วงจรขับทั้งหมด 6 ตัว เพื่อแยกชุดไฟให้ลงตัวโดยฝั่งสายสีแดงและขาวจะโยงไปหาหลอด ส่วนสายไฟสีขาวจะโยงเข้ากับ Digital Timer ทั้ง 2 ตัว โดยตัวนึงจะคุมวงจรขับ 3 ชุดสำหรับชุดหลอดขาว และอีกตัวหนึงจะคุมวงจรขับ 3 ชุดสำหรับชุดหลอดน้ำเงิน โดยการทำงานจะแยกอิสระจากกัน เว้นแต่ในส่วนของพัดลมที่ต่อผ่าน Temp-Control จะต่อเข้ากับ Digital Timer ของชุดหลอดสีน้ำเงิน เพราะว่าชุดนี้จะดับหลังสุดครับ ส่วนวงจรเล็กๆสีฟ้า เป็น Power Supply สำหรับต่อพัดลมเล็ก เพื่อระบายอากาศให้กับวงจรขับ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น การเจาะรูพัดลมให้หาเลื่อยฟันวงกลมที่ต่อเข้ากับสว่านเจาะรูหน้ากล่อง เมื่อเราเดินสายไฟและตรวจสอบความเรียบร้อยก็ปิดฝาดังรูปสุดท้าย




เสร็จเรียบร้อยสำหรับระบบวงจรต่างๆ ขอแปะโลโก้โคมสักนิดนึง ทางขาวมือเป็นชุดสายไฟที่ผมพูดถึงข้างในมีประมาณ 6 - 8 เส้น ผมจึงใช้ท่อหดหุ้มเอาไว้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย



ขอบพระคุณ คุณ หลุยส์ BATMAN ที่ช่วยเขียน Circuit Diagram มาให้ หนึ่งในลูกค้าที่สั่งหลอดไปทำโคมเอง แล้วเข้าใจการทำงานของโคมแบบทุกอณู พอดีตัวผมเองไม่ได้ร่างแบบเอาไว้ คิดอะไรออกจากหัวก็ทำเลย ดูภาพนี้เป็นแนวทางในการเดินสายนะครับ

ถึงจุดที่เรียบว่าโหดสุดในงานนี้แล้ว คือการเดินสายไฟนั้นเอง ให้โยงสายไฟไปแต่ละหลอด โดยให้ต่อหลอดแบบวงจรอนุกรมโดย + ชน – ชน + ชน – แบบนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ โดยสายไฟเส้นสีแดงที่ออกจากวงจรขับหลอดให้ต่อเข้าที่ขั้วบวกของหลอดแรก และสายไฟสีขาวที่ออกจากวงจรขับให้ต่อเข้ากับขั้วลบของหลอดสุดท้าย ขันตอนนี้ต้องอาศัยความชำนาญ และความช่างสังเกตพอสมควร เพราะสายไฟอาจจะเยอะแยะไปหน่อยจนดูวุ่นวาย ถ้าจะให้ง่ายเอากระดาษมาเขียนไว้ก่อนก็ได้ว่าจะต่ออะไรเข้าตรงไหน ออกตรงไหน จากนั้นก็บัดกรีลงสายไฟกันต่อไป ขออภัยที่ไม่ได้ถ่ายไว้ละเอียด หรือถ้าใครต้องการให้ง่ายขึ้น อาจจะใช้แผ่นฐานหลอดแบบรวมหลายๆหลอดก็ได้  ข้อดีเดินสายไฟน้อยกว่า แต่ข้อเสียคือ สูญเสียพื้นที่การวางหลอด และก็ยากต่อการจัดหลอดให้ตรงใจเรา



เกือบจะพลาดขั้นตอนการติดตั้งตัว เซนเซอร์วัดอุณหภูมิแล้ว ให้ติดตัวเซนเซอร์ไว้หน้าแผงหลอดเลย หลายท่านสงสัยว่า ทำไมไม่ติดไว้แถว Heatsink คำตอบคือ จุดที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดคือบริเวณหน้าหลอดและแผ่นฐานหลอด การติดตั้งเซนเซอร์จากจุดนี้ทำให้วัดอุณหภูมิได้ดีที่สุด ทำให้พัดลมติดก่อนที่อุณหภูมิจะขึ้นสูงจุดถึงขีอันตราย





ละอองน้ำว่าอันตรายแล้ว ไอเกลือนี่แหละอันตรายยิ่งกว่า เพื่อให้หลอดอยู่กับเรานานหลายปี วิธีปกป้องหลอดมี 2 วิธีคือ ใช้เลนส์ชนิด Waterproof ครอบหน้าหลอดไปเลย หรือจะทำแผ่นอาคิริคมาครอบหน้าหลอดแบบที่ผมทำก็ได้ นั่งตัดนั่งหักกันไป แล้วก็ใช้น้ำยาเชื่อมอาคิริคมาทาตามรอบต่อและมุมต่างๆ ส่วนด้านข้างเราก็พ่นสี แปะเทปอลูมิเนียมเพื่อกันแสงไม่ให้สาดออกมาในระดับสายตา สุดท้ายก็เจาะรูใส่นอต ยึดกับแท่งเสาโลหะที่เราเจารูยึดนอกเอาไว้ ครอบอาคิริคลงไปเป็นอันเสร็จสิ้น และในรูปสุดท้าย เห็ยนอตที่ยื่นออกมาทางขาวมือ นั้นคือจุดสำหรับแขวนสลิงครับ เล่นกันง่ายๆ ถึงจะเห็นนอตตัวเล็ก แต่สามารถรับแรงได้หลายพันนิวตัน หรือน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัม ให้ทำแบบนี้อย่างน้อย 4 มุมของตัวโคมนะครับ หรือใครมีวิธีหาจุดแขวนที่ดีกว่านี้ก็จัดไป




เมื่อประกอบทุกอย่างเข้าที่หมดแล้ว เราก็เสียบปลั๊กไฟ เพื่อทดสอบโคมไฟขั้นสุดท้าย หลอดทุกหลอดติดและทำงานดี พัดลมทำงานดี ไม่มีกลิ่นไหม้แสดงว่าทุกอย่างถูกต้อง จากนั้นให้ตั้งโปรแกรม Digital Timer ให้ชุดหลอดแต่ละชุดเปิดปิดตัวเองตามช่วงเวลาที่เราต้องการ (โอ้ว ทำได้เหมือนโคมไฟสำเร็จเลย) แล้วก็ตั้ง Temp-Control สำหรับคุมพัดลมว่าจะให้เริ่มหมุนและดับเมื่อไร ของผมตั้งไวที่ เริ่มหมุนที่ 38 องศาเซลเซียส และดับตัวเองเมื่อลดต่ำถึง 30 องศาเซลเซียส




โหมดหลอดขาวปกติ ติดทุกด้วยยกเว้นกลุ่มสีน้ำเงิน ซึ่งโคมจะติดหลอดกลุ่มนี้ตามโปรแกรมที่ได้ตั้งไว้ล่วงหน้าอัตโนมัติ ซึ่งผมได้ตั้งโปรแกรมเวลาให้อยู่ในช่วงเช้าจนถึงประมาณ 10 โมง เสมือนแสงแดดอ่อนๆ กำลังสาดส่องลงมาสู่ปะการังภายในตู้ โดยกลุ่มแสงขาวนี้จะส่องสว่าง และเติมช่วง Spectrum ให้กลุ่มปะการัง แต่ยังไม่กระตุ้นการสังเคราะห์แสงโดยตรง อารมณ์เหมือนแสงแดดส่องหน้ายามตื่นนอน




โหมดแสงปกติ หลอด 50 หลอด ติดทุกดวง กลุ่มหลอดขาวและสีน้ำเงินจะติดในช่วงเวลาตั้งแต่ 11 โมง จนถึง 4 โมงเย็น โดยแสงกลุ่มนี้จะกระตุ้นให้ปะการังสังเคราะห์แสงเต็มที่ โดยมีกำลังวัตต์สูงสุด เสมือนแสงแดงตอนเที่ยงจนถึงช่วงบ่าย ช่วงนี้พัดลมจะทำงานตลอดเวลา เพราะความร้อนระบายออกมามากที่สุด โดยเฉลี่ยอุณหภูมิประมาณ 38-45 องศาเซลเซียส




โหมด Moonlight หรือแสงจันทร์ยามค่ำคืน แสงสีน้ำเงินฟ้าอ่อนๆ เสมือนแสงจันทร์ในท้องทะเล หลังจากกลุ่มหลอดขาวได้ดับตามโปรแกรมเวลาที่ตั้งไว้ จะมีเพียงกลุ่มหลอดน้ำเงินที่ติดอยู่ ซึ่งผมได้ตั้งโปรแกรมให้หลอดชุดนี้ติดจนถึงเวลา 4 ทุ่มโดยประมาณ เมื่อถึงเวลาดังกล่าว หลอดจะดับเองทั้งหมด เว้นแต่พัดลมที่ยังทำงานอยู่ เพื่อระบายความร้อนที่ยังคงค้างอยู่ จนกว่าอุณหภูมิจะลดลงจนถึง 30 องศาเซลเซียส ระบบทั้งหมดจะปิดตัวลง รอเวลาจนถึงช่วงเช้าของอีกวันหนึ่ง





เสร็จสมบูรณ์ไปสู่ตู้ทะเลของจริง ขอขอบคุณเพื่อนอย่างยิ่งที่ได้ให้รูปถ่ายมาประกอบบทความนี้ เชิญชมผลงานของผมได้เลยครับ กับ โคมไฟเลี้ยงก้นตู้ตัวต้นแบบที่มีชื่อว่า “EHL Optimus” มีหลอดทั้งหมด 50 หลอด แบบ Full Spectrum ทุกท่านสามารถนำไปเป็นแนวทางสำหรับทำโคม LED DIY ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องทำระบบซับซ้อนแบบผมก็ได้ ทำเองใช้เอง ประหยัดค่าใช้จ่าย ลงหลอดได้ตามความต้องการเรา ผมขอให้ทุกท่านอ่านบทความด้านล่างต่อจากนี้ด้วยครับ


หากใครมีข้อสงสัย หรือต้องการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สามารถโพสต์ในนี้ หรือจะติดต่อไปยังเพจร้านโดยตรง ซึ่งจะตอบได้ไวกว่า ได้ที่ https://www.facebook.com/easyhomeTU อย่าลืมแชร์ผลงานของตัวท่านเองที่ทำ และกดไลค์เพจด้วยนะครับ หากท่านใดส่งภาพการทำโคม DIY มาให้ผม ผมยินดีที่จะแชร์บนเพจร้านให้นะครับ

“ถึงผมจะไม่มีตู้ทะเลเป็นของตัวเอง แต่ก็สามารถทำไฟให้ตู้หลายๆท่าน ได้เลี้ยงปะการังอย่างสวยงาม เพราะผมค้นคว้าตำราวิชาการ และเอกสารงานวิจัย และได้นำองค์ความรู้เหล่านี้ มาประมวลจนเกิดเป็นไฟ LED ที่ใช้งานได้จริง”

แวะมาแชร์ข้อมูล เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้เลี้ยงตู้ทะเล โดย ณชช โคม ปะการัง

ส่วนผสมแสงที่เหมาะกับปะการัง
   
มีหลายสิ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปะการัง ทั้งเรื่องของ แสง อุณหภูมิ และความเหมาะสมของน้ำ คุณสมบัติทางเคมี แสงที่เหมาะสมเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของปะการัง หากความยาวคลื่นเหมาะสม ซึ่งมักจะระบุในหน่วยของ nanometre ปะการังจะตอบสนองที่ดีที่สุด คือความยาวคลื่นระหว่าง 400-550nm และ 620-700nm เป็นช่วงความยาวคลื่นเหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของปะการัง เรียงโดยรวมว่า spectrum สเปกตรัมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของปะการัง ซึ่งปะการังจะตอบสนองการเจริญเติบโตในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะตัวปะการังที่พบในแนวปะการังน้ำตื้นและในทะเลน้ำลึก ได้รับส่วนใหญ่ได้รับแหล่งกำเนิดแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแสงแดดธรรมชาติ และแสงช่วงคลื่นสีฟ้าหรือน้ำเงินจะสามารถทะลวงและซึมผ่านความหนาแน่นของน้ำทะเลได้ดีที่สุด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม? ปะการังถึงตอบสนองแต่แสงในช่วงนี้ และสามารถเจริญเติบโตได้ดี



http://www.reeftank123.com/lighting/light_water_depths.jpg


http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/photosynthesis/cloroplast/light_spectrum_absorption_l.gif

ข้อแตกต่างระหว่างโคม LED โคมชนิดอื่นๆ

ในการเลี้ยงปะการังในตู้ทะเลสมัยก่อนจะใช้หลอด HM เนื่องจากได้ค่าอุณหภูมิแสงที่เหมาะสมประมาณ 20000K แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เปลืองไฟและคลายความร้อนมาก จึงมีการพัฒนาหลอด T5 ซึ่งประหยัดไฟลงกว่า HM  แต่ในเรื่องของความยาวคลื่นที่เหมาะสมก็ยังไม่เหมาะ จนมาถึงยุคของหลอด LED ซึ่งมีข้อดีอยู่หลายอย่าง ทั้งในเรื่องของแสงสีทีมีความยาวคลื่นเฉพาะตัว สามารถเลือกสี หรือปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของปะการังได้ตามต้องการ การคลายอุณหภูมิน้อยกว่าพวกโคม HM และหลอด T5 จึงทำให้เราสามารถควบคุมอุณหภูมิตู้ได้ง่ายกว่า และแกว่งน้อย รวมถึงอายุการใช้งานที่มากกว่า โดยปกติหลอด LED ที่ผลิตอย่างมีมาตรฐาน ประกอบกับการใช้งานอย่างถูกวิธี อายุการใช้งานจะสูงสุดที่ 50000 ชั่วโมง ในการนำใช้งานเราสามารถเลือกหลอดเองได้อย่างเหมาะ แต่โคม LED มักมีราคาสูงในตอนแรกเริ่ม แล้วจะต้องศึกษาความยาวคลื่นแสง (nm) และค่าอุณหภูมิแสง (K) ให้เข้าใจเสียก่อน อาจจะเกิดกรณีที่ตามตามหาหลอด LED 20000K แท้ที่จริงแล้ว เราสามารถใช้หลอดแสงสีฟ้าสีน้ำเงินแทนได้ ซึ่งในความเป็นจริงหลอดที่จะให้ค่า K สูงสุดระดับนั้นจะเป็นหลอด HM และพวกหลอด Halogen คลื่นแสงที่เหมาะสมสำหรับปะการังจะอยู่ในช่วง 400-550nm และ 620-700nm .ในการผสมสีของโคม LED ก็จะแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ใช้หลอดสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 440-470 nm หรือบางชนิดต้องการช่วง UV มาด้วยก็จะใช้ต่ำกว่า 400nm ลงไป แล้วก็จะมีช่วงสีที่จำเป็นอีกช่วงคือตั้งแต่ 600 nm ขึ้น เราอาจจะใช้หลอดพวกนี้ในอัตราส่วนที่ไม่มาก ก็จะมีหลอดพวก 620-630 nm และ 660nm โดยปกติส่วนผสมที่เหมาะสมและไม่ทำให้สีแสงในตู้ดูน่าเกลียดคือ เน้นหลอดน้ำเงิน ผสมกับหลอกพวกแสงขาว Cool White 10000k อย่างละ 3:3 หรือ 4:2 แล้วแต่ว่าจะต้องการสีแสงแบบไหน สำคัญมากสำหรับหลอดที่จะมาผสมที่ หลอด Cool White จะต้องมีความอุณหภูมิแสงตั้งแต่ 10000K ขึ้นไป จะมีช่วงคลื่นแสงที่เหมาะสมและกระตุ้นการเจริญเติบโตของปะกะรังได้ดี หากใช้ต่ำกว่านี้ปะการังจะไม่ค่อยตอบสนองเท่าไร


จุดสังเกตเพื่อยืนยันคุณภาพหลอด LED มีดังนี้
1.) ซองแพ็คหลอดต้องเป็นซองสูญญากาศและกันไฟฟ้าสถิต (พลาสติกฉาบโลหะ)
2.) ได้เครื่องหมายรับประกันคุณภาพ เช่น ROHS ด้านสิ่งแวดล้อม
3.) ระบุช่วงคลื่นที่ชัดเจน ค่า K ที่แม่นยำ และข้อมูลอื่นๆ
4.) บาร์โค้ท รหัสไลน์การผลิต หรือซีรีลนัมเบอร์
5.) รายงานการทดสอบสเปกตรัมจากห้องปฏิบัติการ
6.) ภาพถ่ายหรือผลการตอบรับของผู้เลี้ยงตู้ทะเล

เห็นว่ามีหลายท่านเลี้ยงปะการังด้วย LED กันเยอะ บางทีพูดถึงค่าความยาวคลื่น (wavelength) ทำเอาเข้าใจยาก ขอเสนอวิธีเทียบค่าสีง่ายๆ ด้วย Chromatic Diagram เป็นไดอะแกรมสำหรับแสดงเฉดสีในช่วงความยาวคลื่นช่วงต่างๆ ทีนี้ไม่ยากแล้วหากบอกค่าความยาวคลื่นแสงมา เพียงแค่เรามาดูไดอะแกรมนี้ เราก็จะทราบว่าเป็นสีอะไรอย่างไม่ยากครับ



บทความอ่านเพิ่มเติม
http://www.reefthailand.com/step1/if-step1-3.htm
http://www.sci.psu.ac.th/chm/biodiversity/coral_plant.html
http://vcharkarn.com/varticle/43905
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/photosynthesis/cloroplast/cloroplast5.htm
ของคุณบัง http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=138205.0


แสงยูวี (UV light) สิ่งจำเป็นสำหรับปะการัง หรือ แค่ลูกเล่นสนุกๆ ในโคมไฟ โดย ณชช โคม ปะการัง

เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า แสงยูวี หรือ รังสีเหนือม่วงนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อส่งมีชีวิตที่รูปแบบ ตั้งแต่การเผาไหม้ผิวหนังเมื่อแสงยูวีมาพร้อมกับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ กลไกการเหนี่ยวนำโครโมโซมให้เกิดมิวเทชั่นจนนำไปสู่มะเร็ง รวมถึงสิ่งของบางชนิด อย่างเช่น พลาสติกที่ถูกย่อยโครงสร้างพันธะภายในโดยแสงยูวี ความรุนแรงและความอันตรายแบ่งได้ตามระดับช่วงคลื่น (wavelength) ต่างๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็นได้ 3 ระดับ คือ UV-A UV-B และ UV-C

UV-A ที่ความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 315-400 นาโนเมตร

แสงในช่วงคลื่น UV-A เป็นช่วงแสงที่มีมากในธรรมชาติ หรือเรียกว่าเป็นแสงแบบสามัญเลยก็ว่าได้ ร่างกายของมนุษย์สามารถตอบสนองด้วยการสร้างเม็ดสีขึ้นมาในเวลาที่ไปอาบแดดตามชายหาด หรือลักษณะผิดคล่ำเมื่อออกไปในสถานที่ที่แดงแรงๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดสภาวะผิวไหม้แดดขึ้นได้ ซึ่งในชั้นบรรยากาศ atmosphere สามารถป้องกันการผ่านทะลุมาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

UV-B  ที่ความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 280-315 นาโนเมตร

ความความรุนแรงและอันตรายยกให้เจ้า UV-B นี้ไปเลย ความเข้มข้นของพลังงานในช่วงคลื่นนี้ สามารถส่งผลให้เกิดกลไกการเหนี่ยวนำโครโมโซมให้เกิดมิวเทชั่นจนนำไปสู่มะเร็ง หรือเรียกง่ายๆว่า ทำให้พันธะ DNA ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอ่อนแอลงนั้นเอง ผลก็คือกลายพันธุ์ เกิดความไม่สมบูรณ์ของเซลล์

UV-C  ที่ความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร

ที่สุดของความรุนแรงและอันตรายมากกว่า UV-A และ UV-B ยกให้เจ้า UV-C เรียกได้ว่าหายนะของเหล่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เพียงแค่ได้รับเพียงน้อยนิด ก็ถูกทำลายอย่างราบคาบ หรือหลงเหลืออยู่เพียงน้อยนิด แม้กระทั้งเจ้าสิ่งมีชีวิตเหล่าจุลชีพก็ไม่เหลือหลอด  UV-C จะพบใน หลอดไฟฆ่าเชื้อโรค (germicidal lamps) และในเครื่องทำสเตอไลน์แบบยูวี (UV sterilizers) ตามโรงพยาบาลเป็นที่นิยมใช้กัน

แล้วแสงยูวีจำเป็นต่อปะการังไหม?

จำเป็นอย่างยิ่ง แต่จะต้องให้ในความเข้มแสงที่เหมาะสม และช่วงเวลาที่พอเหมาะ ในโคม Metal halide ที่นิยมใช้มากันทุกยุคทุกสมัยในวงการตู้ทะเล จะปลดปล่อยแสงยูวีออกมาจากสภาวะ Electric Arc ของไส้หลอด ส่งผลกับพวกปะการังโครงแข็งทำให้เกิดสภาวะการฟองสีของพวกสาหร่าย Zooxanthellae ซึ่งไม่สามารถปรับตัวตามแสง เมื่อไม่มีสาหร่ายกลุ่มนี้อยู่จึงทำให้สีของพวกโครงแข็งดูสดขึ้น เพราะหามีสาหร่ายพวกนี้อยู่จะทำให้ปะการังโครงแข็งมีสีคล้ำนั้นเอง  โดยธรรมชาติของปะการังต้องการแหล่งพลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้ในกระบวนการสร้างอาหารเพื่อเลี้ยงตัวเอง และส่วนมากปะการังจะอยู่บริเวณน้ำตื้น ทำให้ได้รับแสงยูวีทั้ง UV-A และ  UV-B เป็นที่แน่นอนว่าแสงยูวีทั้งสองชนิดสามารถสร้างความเสียหายในระดับเซลล์ และเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของปะการังโดยตรง ปะการังจะเกิดกระบวนการป้องกันตัวเอง โดยสร้างกลุ่มเม็ดสีขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเองจากการทำลายโดยแสงยูวี มันเกิดขึ้นในพวกปะการังของอ่อนทั่วไป แสงยูวีจึงเป็นการกระตุ้นให้ปะการังกลุ่มของอ่อนมีสีสันสดมากขึ้น หลักการคล้ายๆก็คนอาบแดด ถ้าผิวถูกแสงยูวีเผา หรือเกิดการไหม้แดด ร่างกายก็จะตอบสนองโดยการสร้างเม็ดสีขึ้นมาปกป้องตัวเซลล์เอง ส่วนในพวกโครงแข็งก็เช่นกันที่จะสร้างส่วนปกป้องแสงยูวีขึ้นมา เพื่อลดการทำลายและความอันตรายของแสงยูวีลง แต่จะยอมให้แสงบางส่วนในช่วงคลื่นที่ปลอยภัยเข้าสู่ตัวเซลล์ได้เพื่อให้สาหร่าย Zooxanthellae ภายในเซลล์ปะการังสามารถสร้างอาหารได้ จากกระบวกการสังเคราะห์ด้วยแสงนั้นเอง ส่วน UV-C เราจะไม่กล่าวถึง เพราะมันได้ถูกดูดซับและสะท้อนกลับจากชั้นโอโซน แต่ถ้าหากหลุดรอดลงมา ปะการังจะเกิดการฟองขาวและตายในที่สุด ทั้งของอ่อนและโครงแข็งทุกชนิด เพราะปะการังไม่สามารถตอบสนองทันการณ์ต่อการป้องกันรังสีชนิดนี้ รวมถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ด้วย

พูดถึงโคม Metal halide แล้ว ขอเข้าเรื่องพูดถึงหลอด LED กันบ้าง ที่กำลังเป็นที่นิยมกัน ทั้งในเรื่องแสงสีที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ ความร้อนที่น้อยกว่า และค่าไฟที่ประหยัดมากกว่าเล็กน้อย ปกติแล้วในหลอด LED จะให้แสงอยู่ในช่วงคลื่น 400-700 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงคลื่นปกติที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งในหลอด LED นั้นจะไม่ปลดปล่อยแสงยูวีทุกชนิดเลยแม้แต่น้อย ลองสังเกตหลอดไฟ LED ว่าทำไมถึงไม่มีแมลงตอม เพราะมันไม่ปลดปล่อยแสงยูวีนั้นเอง แล้วจะทำอย่างไรที่จะใช้ LED เลี้ยงปะการังแล้วให้มีแสงยูวีด้วย คำตอบคือ หลอด UV LED ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้แสงยูวีโดยเฉพาะ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม? สูตรไฟของ EasyHomeLED.com  ถึงต้องมีหลอด UV อยู่ด้วย แล้วหลอดที่ใช้ก็ต้องเป็น UV-A ที่อยู่ในช่วงคลื่น 395-400 นาโนเมตร ให้แสงสีม่วงฟ้าจางๆ เพื่อให้ไฟ LED สามารถเลี้ยงปะการังได้ผลดีกว่าไฟปกติที่มีขายตามท้องตลาด ช่วยในเรื่องขับสีสันปะการังให้ดูสดใสขึ้น และช่วนให่ปะการังสามารถสร้างอาหารจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29/10/16, [11:27:25] โดย ณชช โคม ปะการัง »
function_wor ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #1 เมื่อ: 11/04/13, [08:29:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

น่าจะรับทำตามสั่งแบบสำเร็จรูปนะครับ จะเยี่ยมมากเลย  [เจ๋ง]
crossova ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 11/04/13, [10:14:12] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ราคาน่าสนใจมากเลยครับ [เจ๋ง]
•“double2tenor”• ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #3 เมื่อ: 11/04/13, [10:42:26] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

พึ่งถ่อยโคมledไป ไม่งั้นสั่งมาลองแล้ว
APISTO BOY ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #4 เมื่อ: 11/04/13, [10:53:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อยากเห้นรูปตอนที่เอาไปใช้กับตู้ไม้น้ำจริงๆ ครับ น่าสนใจๆ
prampituk ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #5 เมื่อ: 11/04/13, [11:08:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีสีน้ำเงินไหม ค่าสีประมาณ400-600ประมาณเนี่ย จำค่าไม่ได้
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 11/04/13, [11:11:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เดี๋ยวขอลองทำตัวต้นแบบก่อนมีคนแนะนำมาว่าให้ใข้หลอดช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงินและแดง เท่าที่ลองศึกษาข้อมูลปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งพืชน้ำมีความใกล้เคียงกับพืชปกติ ผมเลยยอลองทดสอบก่อนจะใช้หลอด LED กำลังสูง สีแดงช่วงคลื่น 620-630 และสีน้ำเงินออกม่วงช่วงคลื่น 440-450 แล้วก็ผสมแสงกับหลอดแสงขาวที่มีอยู่ มีใครพอจะแนะนำอัตราส่วนของหลอดได้บ้างครับ? เดี๋ยวลองเล่นหลอดก่อน ตัวหลอดที่ใช้ไม่ใช่เปลือกเคลือบสีครับ แต่เป็นตัวผลึกโลหะที่เปล่งแสงช่วงคลื่นนั้นตรงๆเลย ต้องไปหาหลอดสีมาลองแล้ว ตอนนี้มีแต่หลอดแสงขาวอย่างเดียวเลย
control ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 11/04/13, [12:56:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ราคาน่าสนใจครับ ถ้ามีสีแดงกับน้ำเงินด้วยสั่งเลยครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 11/04/13, [21:58:13] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ลบครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11/04/13, [22:21:26] โดย syscyberdyne »
Kawin ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #9 เมื่อ: 11/04/13, [22:00:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทำขายเลยน้อง [เจ๋ง]
Max_Mbkk ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #10 เมื่อ: 11/04/13, [23:06:37] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มี สีแดงกับสีน้ำเงินไหมครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #11 เมื่อ: 11/04/13, [23:58:44] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ประกาศรับอาสาสมัครทดสอบโรมเลี้ยงไม้น้ำครับผม เนื่องจากมีคนถามว่ามีหลอดช่วงคลื่นสีเฉพาะไหม ตอบเลยว่ามีแต่ผมไม่อยากเอามาขายโดยที่ไม่มีการทดสอบจากผู้เลี้ยงไม้น้ำโดยตรง จึงขอเปิดเป็นช่วงทดลองใช้ตัวโคมต้นแบบครับ รายละเอียดอยู่ด้านบน หาตัวเซลล์หลอดได้ผลจะได้จัดเต็มครับ ^^
ohmkuzakub ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #12 เมื่อ: 12/04/13, [00:35:14] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด heat shink 1 อัน นี้สามารถติดหลอดled  6 หลอดต่อแบบเดลต้า(ขนาน) ถูกต้องรึปล่าวครับ รึได้แค่หลอดเดียว
แล้วแต่ละหลอดต้องใชตัวต้านทานเท่าไหร่ จากที่ผมลองคิดดู หลอดนึงกิน  700ma ต้องใช้ตัวต้านทาน 135โอมห์ ถูกต้องใช่มั้ยครับ
ถ้ามีหลอดไฟสีน้ำเงิน กับสีแดขายงด้วยนี้ยิ่งดีเลยครับ
อยากลอง diy ดูเหมือนกันแต่กลัวทำไม่เป็น ้hahaha
p4591 ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #13 เมื่อ: 12/04/13, [06:55:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอร่วมด้วยคนครับ
ขอบคุณมากครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #14 เมื่อ: 12/04/13, [07:40:38] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด heat shink 1 อัน นี้สามารถติดหลอดled  6 หลอดต่อแบบเดลต้า(ขนาน) ถูกต้องรึปล่าวครับ รึได้แค่หลอดเดียว
แล้วแต่ละหลอดต้องใชตัวต้านทานเท่าไหร่ จากที่ผมลองคิดดู หลอดนึงกิน  700ma ต้องใช้ตัวต้านทาน 135โอมห์ ถูกต้องใช่มั้ยครับ
ถ้ามีหลอดไฟสีน้ำเงิน กับสีแดขายงด้วยนี้ยิ่งดีเลยครับ
อยากลอง diy ดูเหมือนกันแต่กลัวทำไม่เป็น ้hahaha

โหจัดหนักกันเลยทีเดียว ผมกำลังลองเรียงตำแหน่งหลอดอยู่ครับ แต่น่นจะวางได้ 9-10 หลอด แต่อาศัยการพาความร้อนด้วยพัดลม อาจจะต้องใช้เพิ่มเป็นสองตัว ผมมีวงจรที่ออกแบบมาเฉพาะตัวครับ ต่อได้เลยง่ายๆ ขออุปส์ไว้ก่อนนะครับ อิอิอิ ขอให้ตัวทดสอบผ่านไปได้ก่อน ถ้าหลอดมันเวิร์กเตรียมจัดเต็มครับ
function_wor ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #15 เมื่อ: 12/04/13, [10:32:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

รอชมผลงานครับ  [เจ๋ง]
prampituk ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #16 เมื่อ: 12/04/13, [16:48:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มีสีน้ำเงินไหม ค่าสีประมาณ400-600ประมาณเนี่ย จำค่าไม่ได้
blue 460 nm ค่านี้ครับถ้ามี ขอราคาต่อหลอดด้วย อยู่ไกล้กันเดียวเข้าไปเอาเอง
ohmkuzakub ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #17 เมื่อ: 12/04/13, [19:28:39] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โหจัดหนักกันเลยทีเดียว ผมกำลังลองเรียงตำแหน่งหลอดอยู่ครับ แต่น่นจะวางได้ 9-10 หลอด แต่อาศัยการพาความร้อนด้วยพัดลม อาจจะต้องใช้เพิ่มเป็นสองตัว ผมมีวงจรที่ออกแบบมาเฉพาะตัวครับ ต่อได้เลยง่ายๆ ขออุปส์ไว้ก่อนนะครับ อิอิอิ ขอให้ตัวทดสอบผ่านไปได้ก่อน ถ้าหลอดมันเวิร์กเตรียมจัดเต็มครับ

จะรออุดหนุนนะครับ ไวๆนะคร๊าบบ [on_066]
JPS ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #18 เมื่อ: 12/04/13, [20:02:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เดี๋ยวขอลองทำตัวต้นแบบก่อนมีคนแนะนำมาว่าให้ใข้หลอดช่วงคลื่นแสงสีน้ำเงินและแดง เท่าที่ลองศึกษาข้อมูลปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงของพืช ซึ่งพืชน้ำมีความใกล้เคียงกับพืชปกติ ผมเลยยอลองทดสอบก่อนจะใช้หลอด LED กำลังสูง สีแดงช่วงคลื่น 620-630 และสีน้ำเงินออกม่วงช่วงคลื่น 440-450 แล้วก็ผสมแสงกับหลอดแสงขาวที่มีอยู่ มีใครพอจะแนะนำอัตราส่วนของหลอดได้บ้างครับ? เดี๋ยวลองเล่นหลอดก่อน ตัวหลอดที่ใช้ไม่ใช่เปลือกเคลือบสีครับ แต่เป็นตัวผลึกโลหะที่เปล่งแสงช่วงคลื่นนั้นตรงๆเลย ต้องไปหาหลอดสีมาลองแล้ว ตอนนี้มีแต่หลอดแสงขาวอย่างเดียวเลย
เท่าที่อ่านมาแต่ละแหล่งข้อมูลก็บอกอัตราส่วนของ แสงสีแดง : น้ำเงิน ที่เหมาะสมต่างๆ กันไปครับตั้งแต่ 2:1 - 6:1

ผมมีซื้อมาลองใช้อยู่ 3หลอดครับ มีอัตราส่วน แดง : น้ำเงิน เป็น 6:1 แรง 7W  2หลอด กับ 3:2 15W 1หลอด
เท่าที่ได้ลองตัว7W ดูการคายฟองของต้นไม้ คิดว่าแสงที่ต้นไม้นำไปใช้ได้เทียบต่อวัตน่าจะประสิทธิภาพดีกว่าหลอดแสงขาวทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า

เดี๋ยวกลับบ้านแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูกัน [on_018]
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #19 เมื่อ: 15/04/13, [21:51:20] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 แจ้งให้ทราบนะครับ กำลังสั่งตัวหลอด LED เข้ามาอีกสัก 2-3 อาทิตย์คงเริ่มประกอบได้ ตอนนี้มี LED Driver ของ LED มาจำหน่ายแล้วเผื่อใครสนใจเอาไปลองทำเองแล้วไม่อยากต่อวงจรให้วุ่นวายนะครับ หลอดแสงขาวก็ถ้าสนใจก็สั่งไปใช้กันก่อนได้ครับ
ohmkuzakub ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #20 เมื่อ: 16/04/13, [17:03:17] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ใส่เจ้าชุด Led driver แล้ว จำเป็นต้องใส่ตัวต้านทานด้วยมั้ยครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #21 เมื่อ: 16/04/13, [18:35:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ใส่เจ้าชุด Led driver แล้ว จำเป็นต้องใส่ตัวต้านทานด้วยมั้ยครับ


ไม่ต้องครับ ใช้งานได้เลย เป็นวงจรสวิตซ์ชิ่งสำเร็จรูปครับ ^^
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #22 เมื่อ: 16/04/13, [19:09:32] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอเอากับเขาด้วยคนร่วมด้วยช่วยทดสอบอีกแรงกับตู้ขนาด 5 x 10 นิ้ว เล็กๆ กระทัดรัด ผมไม่รู้ว่าในตู้มีต้นอะไรบ้าง หยิบๆมา ขอบคุณพี่กบร้านปราณีด้วยนะครับ ตัวหลอดกำลังมาเดี๋ยวมาทดสอบกันชัดๆ ไปเลย

aqua_notta ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #23 เมื่อ: 16/04/13, [22:08:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

น่าสนใจนะเนี่ย  [เจ๋ง]
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #24 เมื่อ: 17/04/13, [15:04:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ้งรายการส่งพัสดุประจำวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2556

EJ720893672TH
EJ720893686TH
EJ720893690TH

ขอบคุณที่ใช้บริการ CED2 Innovation ครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #25 เมื่อ: 23/04/13, [16:22:52] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

หลอดสีกำลังมาแล้วนะครับ โคมต้นแบบจะเริ่มประกอบช่วงต้นเดือนพฤษภาคมครับ สำหรับ 4 ท่านที่ลงชื่อไว้ แล้วก็จะแบ่งหลอดขายสำหรับผู้ที่สนใจนำไปต่อใช้งานเอง สีแดงมีประมาณ 40 หลอด และสีม่วงนำเงินอีก 40 หลอด ในราคาหลอดละ 45 บาทพร้อมแผ่นระบายความร้อนครับ
p4591 ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #26 เมื่อ: 23/04/13, [16:34:30] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

หลอดสีกำลังมาแล้วนะครับ โคมต้นแบบจะเริ่มประกอบช่วงต้นเดือนพฤษภาคมครับ สำหรับ 4 ท่านที่ลงชื่อไว้ แล้วก็จะแบ่งหลอดขายสำหรับผู้ที่สนใจนำไปต่อใช้งานเอง สีแดงมีประมาณ 40 หลอด และสีม่วงนำเงินอีก 40 หลอด ในราคาหลอดละ 45 บาทพร้อมแผ่นระบายความร้อนครับ
[on_066]
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #27 เมื่อ: 30/04/13, [16:26:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ้งรายการส่งพัสดุประจำวันที่ 30 เมษายน 2556

RF536042686TH
EJ720899128TH
EJ720899131TH
EJ720899145TH
EJ720899159TH
EJ720899162TH

ขอบคุณที่ใช้บริการ CED2 Innovation ครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #28 เมื่อ: 02/05/13, [13:29:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แจ้งรายการส่งพัสดุประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2556

EJ720899556TH
EJ720899560TH

ขอบคุณที่ใช้บริการ CED2 Innovation ครับ
ณชช โคม ปะการัง ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #29 เมื่อ: 02/05/13, [22:27:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เนื่องจากผมยังหาสั่งทำ HEAT Sink ไม่ได้ผมเลยเอาโคมที่ผมมีมาทำซะเลยทดสอบไป 4 วันแล้ว จากต้นไม้ใกล้เน่า กินน้ำดีขึ้น แล้ววันนี้ขุดรากขึ้นมาดี รากงอกครับผม หน้าตาโคมที่ผมทำ แดง 3 หลอด น้ำเงิน 3 หลอด เปิด 4-5 ชั่วโมงต่อวัน


หน้า: 1 2 3 ... 28   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: