Aqua.c1ub.net
*
  Wed 15/May/2024
หน้า: 1   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อีกทฤษฎีแปลก ! ที่ว่าด้วยเรื่องของทรายก้นตู้สำหรับปลาแพะ (ต่อภาค2)  (อ่าน 14480 ครั้ง)
toontoon ออฟไลน์
Club Veteran
« เมื่อ: 17/09/11, [00:05:57] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

        
           "ความรู้สึกแรกที่ได้อ่าน ผมว่ามันใช่นะ ถ้าจะเอาไปปรับใช้กับปลาก้นตู้อย่างปลาแพะ"
  
     ผมมีความรู้สึกตื่นเต้นมากๆเมื่อได้อ่านบทความจากเว็บนอก เรื่อง The Silent Killer - The Gravel Vacuum  ตื่นเต้นขนาดนอนไม่หลับ และ อยากจะแปลเป็นไทยเอามาบอกทุกๆคนที่เลี้ยงปลาแพะด้วยกัน เพื่อให้แพะสุดที่รักของทุกๆคนปราศจากการตายโดยไร้สาเหตุ ตามที่เคยเห็นโพสๆและได้อ่านกันมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว ทฤษฎีนี้มีหลักการที่ได้อ่านตอนแรกๆ อาจจะเกิดความรู้สึกขัดแย้งกับความเข้าใจของทุกๆคน แต่พอได้อ่านจบแล้ว อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดใหม่ของเราก็เป็นได้ มาเริ่มกันเลยดีกว่าคับ !


 


            จะใช้หรือไม่ใช้เครื่องดูดทำความสะอาดทรายก้นตู้หรือไม่ !

     เครื่องดูดทำความสะอาดทรายมีใช้กันมานานแล้ว และ เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงปลาใช้ทำความสะอาดของเสียก้นตู้ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนความคิดเรื่องการใช้เครื่องดูดใหม่ โดยมีหลักการที่ว่า การทำความสะอาดพื้นทรายก้นตู้โดยการดูด เป็นการทำลายสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า ระบบแบคทีเรียก้นตู้ และ ทำให้ค่าแอมโมเนียและไนไตรตก้นตู้สูงขึ้น เป็นอันตรายสำหรับปลาแพะอย่างมาก จนเป็นเหตุให้ปลาแพะตายหลังจากการทำความสะอาดพื้นทรายเพียงไม่กี่วันต่อมา

      จะขอลงต่อไปในรายละเอียดวัสดุที่ใช้ปูพื้น เพราะ นอกจากการใช้ทรายมาเป็นพื้นตู้แล้ว ยังสามารถใช้กรวดเล็กๆได้เหมือนกัน แต่ด้วยข้อดีของการใช้ทรายตรงที่ว่า สามารถทำความสะอาดเก็บกวาดเศษอาหารแล้ว เพราะเศษอาหารจะไม่จมอยู่แค่ผิวทราย และ ยังช่วยลดไนโตรเจนในพื้นตู้ได้อีกด้วย (NNR- Natural Nitrate Reduction)

      หลักการ NNR ก้นตู้มีอยู่ว่า ปริมาณออก๊ซิเจนมหาศาลบนผิวทรายชั้นบนสุด เป็นแหล่งที่อยู่ของแบคทีเรียประเภท nitrifying โดยมีชื่อเรียกสายพันธ์แบคทีเรียชนิดนี้ว่า Nitrosopiraและ Nitrospira โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการย้อยสลายของเสียต่างๆเปลี่ยนเป็น แอมโมเนีย และ จากแอมโมเนียย้อยอีกทีจนได้ ไนไตรต เมื่อใดก็ตามที่แบคทีเรีย 2 สายพันธ์นี้ถูกทำลายหรือลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จะเป็นสาเหตุให้แอมโมเนียกับไนไตรตสูง ซึ่งมันสามารถทำให้ปลาตายได้เลย ชั้นล่างสุดซึ่งมีปริมาณออกซิเจนที่ต่ำจนอาจจะไม่มีเลย เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียประเภท Anaerobic bacteria โดยมีความสามารถที่สำคัญคือ มันจะไปเปลี่ยนไนไตรต ที่เป็นผลผลิตจากแบคทีเรียชนิดใช้ออกซิเจน เปลี่ยนมาเป็นก๊าซไนโตรเจนแล้วลอยขึ้นสู่ผิวของดินต่อไป

     ปัจจัยในการทำให้เกิดแบคทีเรียชนิด ไม่ใช้ออก๊ซิเจน และ ย้อยสลายไนไตรตให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจน คือ ต้องมีวัสดุปลูกเป็นทรายละเอียดที่หนา 2 ชั้น ชั้นแรกหนา 2 นิ้ว เพื่อเป็นที่อยู่แบคทีเรียประเภทที่ใช้ออก๊ซิเจน และที่เหลือจะเป็นแบคทีเรียประเภทไม่ใช้ออก๊ซิเจนหนารวม 2 ชั้นอยู่ที่ 6 ถึง 12 นิ้ว






   (DSB - ย่อมาจาก Deep Sand Bed คือความลึกของการปูทรายก้นตู้)

     การใช้เครื่องดูดทำความสะอาดทราย ควรทำได้แต่เฉพาะผิวหน้าของทรายเท่านั้น เพื่อเก็บกวาดสิ่งสกปรกต่างๆและเศษอาหาร ห้ามใช้เครื่องดูดลงไปลึก เพราะ จะเป็นการทำลายแบคทีเรียที่สำคัญ จนเป็นเหตุให้ปลาตายได้ใน 3 - 5 วัน กู้ระบบคืนต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดค่าแอมโมเนียและไนไตรต และ ต้องรอให้ระบบแบคทีเรียกลับคืนสู่สภาพเดิม 1 สัปดาห์ ข้อแนะนำทุกครั้งที่ทำความสะอาดทราย คือ ควรเช็คค่าแอมโมเนียและไนไตรตน้ำในตู้หลังทำความสะอาดพื้นตู้ไปแล้ว 3 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าปลาจะไม่ตาย

 ที่มาของข้อมูลดีๆ http://www.aquaworldaquarium.com/Articles/TonyGriffitts/silent_killer.htm


" ยังมีอีกบทความ เรื่องก๊าซไข่เน่า หรือ ก๊าซไฮโดรซัลไฟต์อยู่กระทู้ด้านล่างคับ (ภาคที่ 2) "


    

  


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19/09/11, [01:51:43] โดย toontoon »
Scrubb ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #1 เมื่อ: 17/09/11, [00:30:59] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ถ้าโดยปกติผมดูดแค่หน้าผิวแค่นั้น อีกอย่างปูบางๆ ไม่ได้ปูหนามาก

แต่ได้ความรู้เพิ่มครับ ปกติเข้าใจว่าควรจะไม่ให้มันหมักหมม เดี๋ยวเกิดก๊าซเป็นพิษอยู่ข้างล่างๆ แค่นั้นเอง

อันนี้เป็นมุมมองใหม่

L a k e I o n . ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #2 เมื่อ: 17/09/11, [02:54:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



ชอบครับ  ความรู้ดีๆ แบบนี้  เป็นอีกตัวอย่างที่มีเหตุมีผล   เหมาะกับคนนิสัยอย่างผมด้วย  [เขิลลลล]


ขอบคุณที่แปลและเรียบเรียงมาให้อ่าน  บวกให้

ค้อนสายฟ้า ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #3 เมื่อ: 17/09/11, [03:10:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

วันนี้ล้างตู้ กวนทรายหมด แล้ว 55555

บวกให้ ครับ
Sir Oas ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #4 เมื่อ: 17/09/11, [07:46:54] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ทุกอย่างมีความสำคัญทั้งนั้นเลย  [เจ๋ง]
msw ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #5 เมื่อ: 17/09/11, [08:09:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ
ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการเซ็ตระบบของการเลี้ยงปลาไม่ว่านำ้จืดหรือปลาทะเล
แต่ในปัจจุบันน้อยคนจะเซ็ททรายหนา 4 นิ้วขึ้นไป
และคนส่วนใหญ่กลัวก๊าซไข่เน่ามากกว่าแบคทีเรียตายหรือแอมโมเนียเพิ่ม
เพราะถ้าเพิ่มในระดับนึงปลาปรับตัวได้ แต่ถ้าเกิดก๊าซพิษจากการหมักหมม หรือวงจรย่อยสลายไม่ครบ ก้อตายอย่างเดียว

ส่วนตัวผมก้อเลี้ยงทรายไม่หนา และกวนตลอด
ป้องกันการหมักหมม ไม่ว่าปลาทะเลหรือปลานำ้จืด
เพราะผมเน้นระบบกรองมากกว่า
โดยรวมขึ้นกับปัจัยหลายๆอย่างของแต่ละคนเลี้ยงด้วยครับ เช่นอุณหภูมิ ค่านำ้ อาหาร สภาพปลา การกักโรค ก่อนนำปลาเก่ารวมกับปลาใหม่
GUPU ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #6 เมื่อ: 17/09/11, [08:49:05] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

.....ขอบคุณครับสำหรับความรู้ครับ..... [on_026]
mtae ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 17/09/11, [08:54:48] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]ความรู้ดีบวกให้ครับ
nine.ning ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 17/09/11, [14:18:43] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กำลังลังเลใจเรื่องจะใส่ทรายในตู้ใหม่พอดีเลย [เจ๋ง]
iodineman ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #9 เมื่อ: 18/09/11, [13:34:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เคยดูดกรวดละเอียดมาทำความสะอาดทั้งตู้เลย แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีแพะตายครับแบบไม่มีสาเหตุ สภาพศพสวย ไม่เป็นโรค

สงสัยว่าเป็นเพราะเรื่องนี้แน่ๆ เลย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
toontoon ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #10 เมื่อ: 18/09/11, [14:09:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 ขอขอบคุณสำหรับทุกๆ คอมเม้นต์ นะคับ และ หวังว่าจะเป็นประโยช์นสำหรับทุกๆคน!

   ผมมีความยินดีสำหรับการแสดงความคิดของทุกๆคน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ เพื่อเป็นประโยช์นสำหรับคนที่เลี้ยงปลาแพะอยู่แล้ว หรือ กำลังจะเริ่มเลี้ยง

    ตามความเห็นของผมที่ได้อ่านและแปล หลักการของ DSB - Deep Sand Bed คือ การใช้ทรายปูก้นตู้หนาๆ เพื่อเป็นการช่วยลดค่า แอมโมเนีย ไนไตรต และ ไนเตรต ในน้ำ ซึ่งไม่ควรจะต่ำปูความลึกต่ำกว่า 2 นิ้ว   ถ้าเราปูทรายบางๆก็ไม่มีปัญหาคับ ใช้การเปลี่ยนน้ำใหม่ได้เหมือนกัน แต่เวลาทำความสะอาดทรายไม่ควรจะใช้เครื่องดูดทราย ดูดทรายลึกๆเท่านั้นเองคับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/09/11, [14:11:33] โดย toontoon »
tunoishi ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #11 เมื่อ: 18/09/11, [22:37:03] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง]
BiriBiri ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #12 เมื่อ: 19/09/11, [01:25:46] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

มันคือ biotope ปะครับ 
toontoon ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #13 เมื่อ: 19/09/11, [01:48:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ
ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการเซ็ตระบบของการเลี้ยงปลาไม่ว่านำ้จืดหรือปลาทะเล
แต่ในปัจจุบันน้อยคนจะเซ็ททรายหนา 4 นิ้วขึ้นไป
และคนส่วนใหญ่กลัวก๊าซไข่เน่ามากกว่าแบคทีเรียตายหรือแอมโมเนียเพิ่ม
เพราะถ้าเพิ่มในระดับนึงปลาปรับตัวได้ แต่ถ้าเกิดก๊าซพิษจากการหมักหมม หรือวงจรย่อยสลายไม่ครบ ก้อตายอย่างเดียว

ส่วนตัวผมก้อเลี้ยงทรายไม่หนา และกวนตลอด
ป้องกันการหมักหมม ไม่ว่าปลาทะเลหรือปลานำ้จืด
เพราะผมเน้นระบบกรองมากกว่า
โดยรวมขึ้นกับปัจัยหลายๆอย่างของแต่ละคนเลี้ยงด้วยครับ เช่นอุณหภูมิ ค่านำ้ อาหาร สภาพปลา การกักโรค ก่อนนำปลาเก่ารวมกับปลาใหม่

  ขอขอบคุณสำหรับความคิดเห็น จนทำให้เกิดบทความใหม่ เรื่อง ก๊าซไฮโดรซัลไฟต์ หรือ ก๊าซไข่เน่าที่เกิดในชั้นดิน ซึ่งผมก็ได้ทำการค้นคว้าต่อไปหลังจากได้อ่านคอมเม้นต์นี้ และ ได้ไปเจอกับอีกบทความหนึ่ง ที่ว่าด้วยเรื่อง การป้องกันก๊าซไฮโดรซัลไฟต์  และ เป็นที่น่าแปลกใจมากๆ เมื่อได้อ่านบทความ ! ที่ว่า "ทรายที่ปูก้น ถ้าลึกตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดก๊าซไฮโดรซัลไฟต์ได้"

                
                 ปูพื้นฐานก่อน



    ก๊าซไฮโดซัลไฟต์ (เป็นพิษกับสัตว์น้ำ) เป็นผลผลิตที่เกิดจากขบวนการกำจัดไนเตรต (de-nitrification) จากแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออก๊ซิเจน (anaerobic) ซึ่งเป็นขบวนการที่สำคัญในระบบนิเวศน์ในพื้นก้นตู้ปลา ที่ช่วยลดค่าไนเตรต และ สิ่งที่สำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะไม่ให้เกิดก๊าซไฮโดรซัลไฟต์จากขบวนการกำจัดไนเตรต(de-nitrification)

    จากการค้นคว้าจากงานวิจัยต่างๆ ผลที่ได้ คือ คุณสามารถทำได้ที่จะทำให้เกิดกระบวนการกำจัดไนเตรตและมีปริมาณไฮโดซัลไฟต์ต่ำจนไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ


     จุดสำคัญที่จะก่อให้เกิดขบวนการกำจัดไนเตรต โดยที่ไม่ก่อให้เกิดไฮโดซัลไฟต์

 - ขบวนการกำจัดไฮโดซัลไฟต์ในชั้นพื้นหนา 1 - 2 ซม. ซึ่งจะต้องอยู่ใต้ชั้นพื้นล่างสุด โดยต้องมีพื้นชั้นบนทับอยู่ที่มีความหนา 2.5 นิ้ว เพราะฉะนั้น ต้องมีพื้นหนารวมมากกว่า 2.5 นิ้ว ขึ้นไป และ ยิ่งมีพื้นหนาขึ้น จะยิ่งกำจัดไฮโดซัลไฟต์ได้มากขึ้น






- ถ้าใช้ระบบกรองใต้กรวด ต้องเช็คการทำงานให้ดี ไม่ให้เกิดการอุดตันหรือปริมาณออก๊ซิเจนต่อในชั้นกรองใต้กรวด

- ไม่ใช้เครื่องดูดทำความสะอาดทราย ทำความสะอาดทรายลึกเกินไป ทำได้เฉพาะผิวทรายเท่านั้น

- ใช้แสงส่องตู้ที่สว่างๆ เนื่องจากแสงเป็นตัวช่วยทำให้น้ำมีออก๊ซิเจนที่สูงขึ้น และ ออก๊ซิเจนช่วยลดไฮโดรซัลไฟต์ได้ ซึ่งไฟที่มีความเข้มแสง 6400 เควิน เป็นแสงที่ยอดเยี่ยมที่สุดในกรณีนี้ หรือ อาจจะติดตั้งหลอด UV ก็ได้เหมือนกัน

- การปลูกต้นไม้น้ำ ซึ่งรากของต้นไม้จะช่วยแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออก๊ซิเจนทำงานได้ดียิ่งขึ้น

- การเติมปุ๋ยน้ำธาตุเหล็ก เป็นการช่วยให้ไฮโดรซัลต์ไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

  ตามที่ได้กล่าวปัญหาของเรื่องเกิดก๊าซไฮโดรซัลไฟต์จะไม่เิกิดตราบใดที่มีชั้นดินที่ปราศจากออก๊ซิเจน และ พลังงานจากหลอดไฟ จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของไฮโดรซัลไฟต์ในน้ำและชั้นดินได้ด้วย

  


     หน้าตาของไฮโดซัลไฟต์ในชั้นทราย

 ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลดีๆ http://www.aquarium-pond-answers.com/2008/11/hydrogen-sulfides.html


ยังมีบทความเรื่องแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อปลา อยู่ด้านล่างคับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29/09/11, [09:34:40] โดย toontoon »
stepkang ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #14 เมื่อ: 20/09/11, [12:56:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เข้ามาเก็บความรู้ครับ
mtae ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #15 เมื่อ: 22/09/11, [10:07:01] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แหม่ๆๆๆ....ทำแคแนนได้เป็นกอบเป็นกำเลยครับ [เจ๋ง]+1
mendietai ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #16 เมื่อ: 22/09/11, [16:28:56] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] แหล่มเลยๆ ขอบคุณค๊าบ
Raph ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #17 เมื่อ: 25/09/11, [18:19:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

อ่านแล้ว เพิ่งมาเก็ท ถึงว่าทำไมตู้ดินเก่า ที่รองพื้นสูงเลี้ยงดีกว่าอีกตู้พื้นโล่ง 

ที่รู้ๆคือระบบสมดุลมาก เติมน้ำเปลี่ยนน้ำอย่างเดียว ไม่เคยยุ่งใดๆกับพื้นทั้งสิ้น

มีขอนกับเฟริน โอเคเลยพืชโตได้ ปลาโตดี ไม่ค่อยเป็นโรค
GreenEyes ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #18 เมื่อ: 26/09/11, [15:41:22] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] หนังสือที่ผมอ่านจะเรียกว่า การจัดตู้ระบบธรรมชาติ พวกแบคทีเีรียอาศัยอยู่ตามขอนไม้ ตามพื้น และพืชน้ำ หลายชนิดกำจัดแอมโมเนียให้เราได้ ล่มยากกว่ากรอง การหมักหมมยังช่วยทำให้เกิดปุ๋ยกับไม้น้ำที่เลี้ยงด้วย

ส่วนระบบที่เน้นเครื่องกรองชีวภาพเป็นหลัก คนเขียนหนังสือที่ผมอ่านค่อนข้างไม่ค่อยชอบ เพราะเปลืองไฟ ล่มได้ง่าย เขาเีรียกว่า ระบบไฮเทค

ส่วนผมจัดแบบผสม คือใช้กรองไม่ใหญ่ เน้นแค่ให้น้ำไหลเวียน ล้างกรองบ่อย ใช้น้ำประปาด้วย กะให้มันช่วยเก็บฝุ่นฟุ้งๆเป็นหลัก ระบบชีวภาพให้อยู่ในตู้ และ คุ้ยพื้นตู้ครึ่งเดียว ในการล้างแต่ละครั้ง ส่วนอีกครึ่งเป็นพื้นที่สสีเขียวไม่ยุ่งกับมัน
toontoon ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #19 เมื่อ: 27/09/11, [12:46:25] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

[เจ๋ง] หนังสือที่ผมอ่านจะเรียกว่า การจัดตู้ระบบธรรมชาติ พวกแบคทีเีรียอาศัยอยู่ตามขอนไม้ ตามพื้น และพืชน้ำ หลายชนิดกำจัดแอมโมเนียให้เราได้ ล่มยากกว่ากรอง การหมักหมมยังช่วยทำให้เกิดปุ๋ยกับไม้น้ำที่เลี้ยงด้วย

ส่วนระบบที่เน้นเครื่องกรองชีวภาพเป็นหลัก คนเขียนหนังสือที่ผมอ่านค่อนข้างไม่ค่อยชอบ เพราะเปลืองไฟ ล่มได้ง่าย เขาเีรียกว่า ระบบไฮเทค

ส่วนผมจัดแบบผสม คือใช้กรองไม่ใหญ่ เน้นแค่ให้น้ำไหลเวียน ล้างกรองบ่อย ใช้น้ำประปาด้วย กะให้มันช่วยเก็บฝุ่นฟุ้งๆเป็นหลัก ระบบชีวภาพให้อยู่ในตู้ และ คุ้ยพื้นตู้ครึ่งเดียว ในการล้างแต่ละครั้ง ส่วนอีกครึ่งเป็นพื้นที่สสีเขียวไม่ยุ่งกับมัน

  ขอบคุณมากคับที่เอาความรู้และเทคนิคมาแชร์

 ขอเสริมต่ออีกหน่อยคับ

   ในกรณีที่ออก๊ซิเจนละลายในน้ำต่ำ คือ น้อยกว่า 2 ppm. จะทำให้เกิดวัฎจักรไหลย้อนกลับ คือ ปกติแล้วแบคทีเรียจะ ย้อยแอมโมเนียให้เป็นไนไตรต จากไนไตรตให้เป็นไนเตรต สุดท้ายจะถูกกำจัดโดยพืชดูดไปใช้หรือการเปลี่ยนถ่ายน้ำ วัฎจักรนี้มีออก๊ซิเจนเป็นปัจจัยสำคัญนึงที่ทำให้เกิดวัฎจักรนี้ (แอมโมเนียและไนไตรตมีพิษทำให้ปลาตายได้ ส่วนไนเตรตก็สามารถทำให้ปลาเป็นโรครูตามหัวปลาได้ ถ้าเกิดการสะสมปริมาณมาก คือ อยู่ที่ 100 ppm.ขึ้นไป)
 
   แต่เมื่อใดก็ตามที่ออก๊ซิเจนละลายในน้ำต่ำ น้อยกว่า 2 ppm. เช่น ไฟดับ เครื่องกรองและเครื่องผลิตออก๊ซิเจนไม่ทำงาน และ ระบบไหลเวียนของน้ำไม่ดี ไนเตรตจะถูกแบคทีเรียทำให้เป็นไนไตรตและแอมโมเนีย(วัฎจักรของแบคทีเรียย้อนกลับ) จนเป็นสาเหตุทำให้ปลาตายในที่สุด

   แบคทีเรียมีทั้งชนิดที่ดีกับไม่ดีอยู่ในตู้ของเรา   ไม่ดีนี้คือ ทำให้ปลาเป็นโรคได้ ถ้าปลาออน่แอ และ ปลาจะออน่แอได้ถ้า ปลาเกิดความเีครียด เช่น อุณหภูมิของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงมากๆ ออก๊ซิเจนในน้ำต่ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยเกินไป(ค่า pH เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ) ของเสียในน้ำเยอะ หรือ เกิดตะกอนสะสมก้นตู้มากๆ

   ตัวอย่างโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย


แบคทีเรียก่อโรคในปลาที่พบอยู่เสมอ
 

โรคแรก พบปัญหาได้บ่อยคือ Aeromonas hydrophila เป็นเชื้อแกรมลบ มักจะพบเมื่อลงปลาใหม่ หรือปลาที่ยังมีอายุน้อย ในปลาอายุมากก็จะพบลดลง ก่อให้เกิดโรค hemorrhagic septicemia หรือ motile aeromonad septicemia อธิบายตามชื่อโรคคือ เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และทำให้เกิดจุดเลือดออกไปทั่วร่างกาย เราจึงเห็นอาการจุดเลือดออก หรือเปื้อนเลือดสีแดงตามเกล็ด โคนครีบ ฝาเหงือก ใต้ท้อง อาการแรกๆ อาจจะเห็นเส้นเลือดที่หางมาก และมีจุดแดงมากผิดปกติ หลายรายที่เป็นแบบเรื้อรังก็จะพบท้องมาน หรือการบวมน้ำ ที่ เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงมาก และเส้นเลือดยอมให้ของไหลไหลผ่านออกมามาก เกิดสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจะเรียกว่าท้องมาน หรือบวมน้ำก็ได้ หากสังเกตจะพบเนื้อเยื่อใต้เกล็ดเปล่งและดันเกล็ดให้ตั้งชันขึ้น จนบางทีเรียกว่า Dropsy หรือโรคท้องมาน เกล็ดตั้ง หลายรายจะพบแผลหลุมที่ลำตัว ตัวเปื่อย เกล็ดลอก และครีบเปื่อย ซึ่งมีความใกล้เคียงกับอาการของโรคตัวด่างที่เกิดจากเชื้ออื่น ซึ่งไม่เหมือนกันทีเดียว (จะกล่าวในย่อหน้าถัดไป) หากผ่าซากดูจะพบตับ ม้าม ไตบวม น้ำเลือดคั่งในช่องท้องมาก เนื้อบวมเป่ง โรคนี้ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก เพราะเกิดโรคแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อราตามมาได้ง่าย และข้อควรระวัง มักจะพบว่าปลาเกิดโรคนี้อย่างเรื้อรัง หรืออยู่ในสภาวะเป็นพาหะอยู่แล้ว ความเครียดจะทำให้เกิดโรคแบบเฉียบพลันและรุนแรงขึ้นได้

 

โรคที่สอง พบปัญหาบ่อยไม่แพ้กัน คือ Flexibacter (Flavobacterium) columnaris  หรือโรคตัวด่าง (Colunaris) พบแผลเป็นวงๆ ด่างๆ เหมือนผิวลอก และที่เหงือก พบว่าเกล็ดลอก ตัวเปื่อยเช่นกัน ครีบหาง และครีบลำตัวต่างๆ จะเริ่มกร่อนมาจากปลาย แล้วค่อยๆ กินมาเรื่อยๆ กินมากจนถึงโคนหาง โคนครีบ โดยที่อาการจุดเลือดออกไม่ชัดเจนเท่าเชื้อชนิดแรก บางทีก็เรียกโรคนี้ว่า โรคครีบกร่อน หรือโรคโคนหางกุด พบว่าเมือกจำนวนมากอยู่บนผิว หากป้ายเอามาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศ จะพบมีเชื้อรวมตัวกันลักษณะเหมือนกองฟาง เป็นเชื้อแกรมลบ ชอบอากาศเย็น จึงมักพบโรคนี้ได้เสมอเมื่ออากาศเย็น  โรคนี้ควบคุมและแก้ไขได้ยากกว่าโรคแรกมากๆ และมักจะพบติดเชื้อชนิดแรกแทรกซ้อน ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง

 

โรคที่สาม พบในปลาอายุมาก คือเชื้อ Streptococcus spp. ตัวนี้เป็นพวกแกรมบวก แต่ พบได้ไม่บ่อยเท่าโรคข้างบน และมักไม่พบในปลาสวยงามที่มีการจัดการคุณภาพน้ำดี และพบในปลาอายุมาก อาการจะพบแบบเรื้อรัง และตายเมื่อเครียดมาก อาการที่พบเช่น ตาโปน ตาเปื่อย เป็นลักษณะเด่น บางทีเรียกว่า โรคป๊อบอาย หรือโรคตาโปน

 

(ยัง มีกลุ่มแบคทีเรียอีกมากที่พบก่อโรค ดังนั้น ควรทำการเพาะเชื้อให้แน่นอน และตรวจความไวของยาต่อเชื้อเพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาปลาในระยะหลัง หากยาตัวแรกที่ใส่ให้ก่อนไม่ได้ผล รวมทั้งใช้ป้องกันในตัวอื่นๆ)

 

        ในการป้องกันและรักษา

        1 การ ป้องกันไม่ให้ปลาเป็นโรค คือการจัดการคุณภาพน้ำให้ดีอยู่เสมอ การขึ้นน้ำและเปลี่ยนถ่ายน้ำ ต้องตรวจสอบค่าแอมโมเนีย ไนไตร์ท และไนเตรต ค่าความเป็นกรดและด่าง การกำจัดคลอรีน การลงเกลือเพิ่มลดความเครียด และเพิ่มโซเดียมคลอไรดในน้ำ และอุณหภูมิของน้ำควรนิ่ง ไม่แปรปรวนต่างกันเกิน 1 องศาเซนเซียสต่อชั่วโมง หรือ 10 องศาเซนเซียสต่อวัน    ออกซิเจน เพียงพอ มีแสงเหมาะสม ไม่ควรใส่สารเคมี หรือยาลงไปโดยไม่จำเป็น เพราะสารเคมีเหล่านั้นทำให้ปลาเกิดความเครียดได้ง่าย (เกินกว่าเจ้าของจะเข้าใจ) และทำให้ปลาดื้อยา การให้อาหารที่คุณค่าทางโภชนาการเหมาะสม ไม่มากเกินไป ใช้ระบบหมุนเวียนกรองน้ำที่ดี และเปลี่ยนถ่ายน้ำเสมอ (สามารถหาอ่านเรื่องการเลี้ยงปลาได้ง่ายๆ ทั่วไป)

 

        2 ใน บางกรณี หากพบว่าปลาในตู้ หรือบ่อเกิดโรคอยู่เสมอ ในการขึ้นน้ำ หรือลงปลาใหม่ หรือเมื่อถึงช่วงที่อุณหภูมิและอากาศแปรปรวนมาก สามารถใช้ด่างทับทิม (ทดแทนการใช้ยา) ในขนาด 2 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร แช่ได้ตลอดเวลา จะช่วยกำจัดแบคทีเรียได้ดี และช่วยลดความรุนแรงในปลาที่เริ่มป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่กล่าวถึง ซึ่งเกลือจะได้ผลไม่ดีเท่าในการกำจัดแบคทีเรีย

 

       3 การ รักษา ให้วินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ หากพบว่ามีอาการใกล้เคียงกับสองเชื้อแรก ให้สามารถคาดการณ์ว่าใช่ไว้ก่อนได้ตามอาการที่ค่อนข้างจำเพาะเจาะจง (โดยทำการเพาะเชื้อร่วม ซึ่งผลที่ได้รับจะช้า ปลาจะตายก่อน) การเลือกใช้ยา ให้เลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์กว้าง หรือมีฤทธิ์ต่อเชื้อแกรมลบ หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ได้ผลเฉพาะเชื้อแกรมบวก เช่น กลุ่มอนุพันธ์ของเพนนิซินลิน อะม็อกซี่ซิลลิน แอมพิซิลลิน ซึ่งจะไม่ได้ผลแต่อย่างใด (ผู้ เลี้ยงมักจะเข้าใจผิดว่าได้ผล) โดยพิจารณาให้กินเป็นหลัก เมื่อพบว่าปลายังคงกินอาหารได้ โดยการแช่อาหารลงในสารละลายยา หรือคลุกยาโดยใช้สารสื่อ กากน้ำตาล หรือไข่ ตากให้แห้ง ร่วมกับการแช่ปลาในยาเป็นระยะเวลาสั้นๆ หากพบว่าปลาไม่กิน สามารถพิจารณาให้ในรูปการฉีดได้ ทั้งกล้ามเนื้อ ใต้ผิวหนัง ช่องท้อง เมื่อทำการรักษาเสร็จสิ้นในแต่ละครั้ง ให้เกลือผสมลงในน้ำที่ทำการเปลี่ยนถ่ายทุกวัน แช่ปลาตลอดวัน (อ่านเคล็ดลับเรื่องเกลือในบทความหมวดเดียวกัน) ก่อนทำการรักษาครั้งต่อไป

 

          ยาที่ใช้แบบออกฤทธิ์กว้าง และกับแกรมลบ เช่น

เอนโรฟลอกซาซิน (มีทุกรูป แช่ กิน ฉีด)  คลอแรมฟินิคอล (แช่ไม่ค่อยเหมาะ ยาเสื่อม เหมาะผสมอาหาร และรูปฉีด)  อ็อกโซลินิก แอซิด ได้ผลโดยตรงต่อแกรมลบ (มีรูปแช่ ผสมอาหาร กิน ขายตามท้องตลาด หาซื้อได้ง่าย หากเป็นโรคครีบกร่อนจากเชื้อตัวที่สอง การเลือกใช้ยาจะจำกัดมากขึ้น เพราะมียาไม่กี่ชนิดที่ได้ผล เช่น

อ็อกซี่เตตราซัยคลิน

ไทรเมททรอพริม-ซัลฟาไดเมทท็อกซาโซน

และยาในกลุ่มไนโตรฟูแรน เช่นฟูราโซน และไนโตรฟูราโซน (มีรูปแช่และ กิน)

อย่างไรก็ตาม มีการติดเชื้อตัวแรกแทรกซ้อนอยู่เสมอ ก็ควรเลือกที่เป็นชนิดออกฤทธิ์กว้าง หรือใช้ยาร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดได้

 

หาก อาการตาโปน และเป็นในปลาอายุมาก ที่เกิดจากเชื้อตัวที่สาม ให้ใช้ยาที่ออกฤทธิ์กับแบคทีเรียแกรมลบ ผมเคยทดสอบความไวด้วยตัวเอง พบว่า penicillin ยังใช้ได้ดี หรือกลุ่มอนุพันธ์ เช่น

แอมพิซิลลิน

อะม็อกซี่ซิลลิน  

ใน ขณะที่ทำการรักษาต้องระวังยาสำหรับแช่หลายตัว เพราะปกติยานำมาแช่จะเสียคุณภาพ รวมทั้งทำให้คุณภาพน้ำเสื่อม จะพบคราบฟองลอยอยู่ผิวน้ำ (เช่นอ็อกซี่เตตราซัยคลิน) ตกตะกอน (หลายชนิด) ควรให้ออกซิเจนตลอดเวลาของการรักษา หากรุนแรงและอาจตายเนื่องจากสภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต พิจารณาให้สเตียรอยด์ได้ รวมทั้งการให้สารน้ำเข้าทางช่องท้อง

 

 หมายเหตุ: ไม่ควรทำการรักษาเอง อาจจะทำให้สูญเสีย ยาบางชนิดมีอันตรายรุนแรง ควรใช้อย่างเข้าใจ และใกล้ชิดคำปรึกษาจากหมอ

 ที่มาของข้อมูลดีๆ http://www.epofclinic.com/wizContent.asp?wizConID=77&txtmMenu_ID=7
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27/09/11, [13:08:20] โดย toontoon »
หน้า: 1   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: