คาร์บอนยีสต์ (จากเริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์) by Coffman
สงวนสิทธิ์โดยทีมงาน พันธมิตรประชาชนเพื่อไม้น้ำประเทศไทย
ทำขวดเองกันก่อน --> DIY เพียง 6 Step เพื่อทำชุดขวดคาร์บอนไดออกไซด์ยีสต์ ภายใน 20 นาที
ถ้าหัวขวดยังรั่วอยู่ --> D.I.Y ขวดยีสต์ ยังรั่วกันอยู่หรือเปล่า เพิ่มอีก 50 สตางค์ แก้ปัญหาได้ By Coffman
วิธีนี้หัวดิฟที่ว่าออกยากยังไหว
ใช้ขวด pepsi coke 2 ลิตร
ใส่น้ำ 1.5 ลิตร น้ำตาลทรายแดง(ที่ใช้น้ำตาลทรายแดงเพราะมาสารอาหาร molasses จำเป็นเหลืออยู่มากกว่าน้ำตาลทรายขาวซึ่งยีสต์จำเป็นต้องใช้จึงไม่จำเป็นต้อง เติมสารอาหารและแร่ธาติให้ยีสต์อีก)
1.น้ำตาลทรายแดง ยี่ห้อ มิตรผลโกลล์ น้ำตาลธรรมชาติวังขนาย มีทั้งวิตามินเกลือแร่ครบสมบูรณ์แบบ
น้ำตาลทราย 375 กรัม คิดที่ 25 % ใครอยากได้สูตรน้ำตาลที่ 25% ง่ายๆก็
สูตรคำนวณ น้ำตาลเป็นกรัม -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 250 = ปริมาณน้ำตาลเป็นกรัม
สูตรคำนวณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 0.25 = ปริมาณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม
น้ำตาลปีป น้ำตาลอ้อย จริงๆแล้วสารอาหารยีสต์มากกว่า ทรายแดงแน่นอนครับ แต่การผลิตสกปรกมากยีสต์น่าจะโตไม่ทันแบคทีเรียเพราะเราไม่ได้ฆ่าเชื้อ 100% ก่อนเพียงแค่ต้มเดือดยังเสี่ยงเลยครับ
ใส่น้ำตาล26% ยืดเวลานานกว่าน้ำตาล 20% ไปอีก 33% ของวันที่ใช้ในการหมัก(นานขึ้น)ครับ
ผมออกแบบการทดลองใส่ 25%-26% ครับ แต่ต้องแลกกับการที่ยีสต์เสียชีวิตมากขึ้นในตอนแรกที่เติมหัวเชื้อเข้าไปจึง ออกไปให้เติมยีสต์มากขึ้นกว่าสูตรทั่วไป
design น้ำตาล 25% เพราะต้องการเพิ่มแรงดันออสโมติกไปถึง 1.9 OSM ทำให้ยีสต์แตกหน่อยากระยะเวลาหมักจะได้นานขึ้นครับ(จากการที่น้ำตาลมากจะทำ ให้ยีสต์ตายตอนเริ่มมากขึ้นแก้ไขโดยใช้น้ำอุ่นพักยีสต์ 15 นาที ระยะเวลาเริ่มระบบอาจนานขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ก็จะได้ระบบ Co2 ที่นานขึ้นครับ พบว่าน้ำตาล 20% กับ 26% จะยืดการหมักได้นานขึ้น 33% ถ้าทำสะอาดเราจะได้เหล้าขาวดีกรี เกิน 15 เลยหอมเหมือนวอดกาเลย แต่ถ้าเราเปิด diffuse ตลอดแบบนี้เราจะได้ไวน์ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คล้าย Spy เรียก Sparkling wine natural นะครับวิธีนี้แต่เอาไปดื่มตรงๆไม่ได้นะยีสต์จะทำให้ท้องเสียต้องบ่มก่อน แล้วจะเอาวิธีมาแบ่งปันอิอิ
ทดลองแล้วครับเริ่ม 23-2-2553 เวลา 13.25 น. สูตรนี้อายุการใช้งาน 1 เดือน จะไม่สามารถ ดันออกหัวดริฟที่ผมใช้เป็นยี่ห้อ DAZ ที่มีตัวนับฟองเกลียว ถ้าเขย่าต่ออาจดันออกได้สักสองชั่วโมงก็จะหยุด ได้ทดลองเติมน้ำตาลละลายน้ำลงไปอีกสองร้อยห้าสิบซีซี แล้วก็ไม่สามารถเพิ่มวันในการใช้งานได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้หัวดริฟสามารถใช้งานได้นานกว่าหนึ่งเดือนมาก แต่ผมยังไม่ได้ทดลองครับ
2.ผง ฟู
ที่ใช้ผงฟูเพราะผงฟูจะแตกตัวให้ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ครับทำให้ยีสต์ อยู่ในสภาพไร้อากาศได้ไว ไล่อากาศ ออกซิเจนออกจากขวดหมัก ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ไวขึ้นจากตัวผงฟูเอง และฆ่าเชื้อโรคในขวดหมักได้ส่วนหนึ่ง ปรับสมดุล pH ในขวดหมัก
ข้อควร ระวัง อย่าสัมผัส อย่าโดนตา ผิว หายใจเอาฝุ่นเข้าไปเพราะระคายเคืองได้ Health Hazards Acute and Chronic:ACUTE:MILD IRRITANT TO EYES AND SKIN OR RESPIRATORY TRACT;INGESTION MAY CAUSE ALKALOSIS.
จำไว้ว่าให้
ละลาย ผงฟูก่อนเสมอ เทผงฟูลงขวดแล้วคนให้เข้ากันก่อน เติมยีสต์ เพราะจะไม่ไปฆ่ายีสต์
ผงฟูประมาณ 1 ช้อนชาพูนต่อน้ำ 1.5 ลิตร ผมใช้ น้ำ 2.8 ลิตรก็เติมประมาณสองช้อนชาพูนครับ
ผงฟู ผงฟูทำขนมปัง (Baking powder) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา)
มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ( เบกกิ้งพาวเด้อ (ผงฟู) กับ เบกกิ้งโซดา ที่เราใช้ใส่ขนมน่ะ มันคนละอย่างกันนะ)
1. ผงฟู (Baking Powder)
ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในลูกองุ่น) , โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate, กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ
(ผงฟูแบ่งออกไป อีกมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2) ชนิดของผงฟู (Baking Powder)
1.1 ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
1.2 ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ
2. เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรด
อาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว
สรุปตามสูตรนี้ที่เราจะใช้ต้องชื่อ ผงฟู เบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder)เท่านั้น ไม่ใช่เบคกิ้งโซดา จะดับเบิ้ล ไม่ดับเบิ้ล ว่ากันต่อ
ดูความแตกต่างที่นี่http://users.rcn.com/sue.interport/food/bakgsoda.html
เรา ใช้เบคกิ้งโซดา (Baking soda) ในการหมักยีสต์ไม่ได้เพราะจะไม่ให้ Co2 เพราะเราไม่ได้เติมกรดนะครับ
เราต้องเลือก และบอกคนขายว่า ขอผงฟูแบบเบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder) ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action)ซึ่งราคาถูกกว่ากำลังสอง
เราต่างก็ต้องการแค่ โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) กับกรด ส่วนจุดประสงค์ที่ให้แตกตัวสองครั้งนั้นไม่จำเป็นสำหรับการหมักคาร์บอนยีสต์ ที่ใช้ในการเลี้ยงพรรณไม้น้ำเพราะเราเลี้ยงที่อุณหภูมิไม่สูง จึงไม่เกิดการแตกตัวครั้งที่สองเมื่อเราเติมผงฟูแบบดับเบิ้ลแอคชั่น คุณสมบัติดับเบิ้ลแอคชั่นจึงไม่จำเป็นเลย
การเลือกใช้ก็คงต้องเลือกเป็น ดูราคาให้เหมาะสมด้วยนะครับ
3. ยีสต์ ใช้ยีสต์ทำขนมปังยี่ห้อไหนก็ได้ เพราะยีสต์ทำขนมปังให้ก๊าสมากกว่า ยี่ห้อนอก fermi pan ก็ดีครับยีสต์พวกนี้สายพันธุ์ดีมีมาตรฐานให้ฟองที่แน่นอน ทนทาน เลือกที่ไม่หมดอายุ หรือถุงที่บรรจุสุญญากาศจะดีมากๆ ใช้ปริมาณ 1 ช้อนกาแฟ 7-11 ต่อน้ำ 1.5 ลิตร
ผมใช้ยี่ห้อ saf instant ไม่มีฟองเลย ผมดูจากสายยาง และขวดดักยีสต์ การที่มีฟองขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ยี่ห้อยีสต์ที่ใช้ด้วยครับ ส่วนใหญ่มักใช้ยีสต์จมตัว มากกกว่ายีสต์ลอย ที่หมักมีฟองมากน่าจะเป็นยีสต์ลอย หรือยีสต์ที่ต่อเชื้อใช้มา
ความเข้าใจที่ยีสต์เยอะไปแล้วเราจะได้ Co2 จากน้ำตาลหมดเร็วเป็นควา่มคิดที่ยังไม่ถูกต้องครับ เรามักจะคิดว่าเติมเยอะเชื้อเยอะก๊าซเยอะ แต่ข้อเท็จจริง การเติมยีสต์มากน้อยในตอนเริ่มต้นมาก จะทำให้เราได้ Co2 ไวกว่าก่ารเติมเชื้อที่น้อย(lag phase สั้นลดเวลาพักตัว) การที่เราทำให้ยีสต์เยอะตอนแรกยังช่วยให้ระบบการหมักจากยีสต์สมบูรณ์จริงๆ (แต่อาจเปลืองเงินครับ และการใช้หัวเชื้อมากเกินไป นอกจากจะทำให้เปลืองแล้วก็ไม่ทำให้ได้ก๊าสเพิ่ม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนสารอาหารเป็นผลิตภัณฑ์,แอลกอฮอล์ จะคงที่เพราะการที่เราหมักในขวดผมยังแนะนำอย่างแรงว่าการต้มไม่ใช่แค่อุ่น หรือน้ำตาลละลายอย่าเดียว มันยังยังทำการฆ่าเชื้ออื่นๆที่ไม่ใช่ยีสต์ เพื่อไม่ให้ใช้น้ำตาลแข่งกับยีสต์ที่เราเติมลงไปได้เพราะยีสต์ใช้น้ำตาลได้ ช้ากว่าในการเริ่มต้นระบบ (อยากให้การเริ่มระบบไวเทคนิคคือละลายยีสต์แห้งในน้ำอุ่น 38-45 องศา หรือน้ำตาลที่ใช้หมัก ก่อน 15 นาทีแล้วค่อยเทลงขวดนะครับ เพื่อกันยีสต์ชอคตายทั้งขวด)การไม่ต้มน้ำ และใช่แค่น้ำถัง เสี่ยงต่อการหมักที่ล้มเหลวและก๊าสที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าไม่มีอินดิเคเตอร์อันนี้เสี่ยงครับ นอกจากเราจะใช้น้ำขวด pet น้ำตาลทรายแดงที่ไม่แบ่งขาย ขวดที่สะอาดจริงๆก็พอลุ้นครับ
วิธีที่ถูกต้องทำยากแต่คุ้ม
1. ต้มน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายแดง
2. พักให้อุ่นๆ-เย็น ผมใช้ถังอลูมิเนียมใส่น้ำแข็ง หรือถุงใส่น้ำแข็งโยนลงไปเลย (ลวกถังก่อน)แล้วตั้งไว้กลางหม้อเลยคนน้ำแข็ง ข้างในแปปเดียวอุ่น หรือใส่น้ำแข็งในถุงร้อนสะอาดๆแล้วแช่ลงไปก็ได้เย็นไวดี
3. เทลงขวดที่ลวกน้ำอุ่นๆ ลวกนะครับ ระวังขวด coke บิด แล้วให้มีปริมาณเหลือ ช่องว่างเก็บก๊าซ head space สัก 25% ต้องเว้นไว้ระวังยีสต์บางพันธุ์เกิดฟองขณะหมักให้ใส่น้ำมันพืชลงไปลดฟองสัก สามหยด
4. ละลายผงฟูด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้เทลงไปผสมกัน ผมใช้ตะเกียบใหม่ฉีกจากซองเลยคนครับ พยายามอย่าให้เลอะหัวขวด
5. ละลายยีสต์ด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้แล้ว พักนานสิบห้านาที ยีสต์ดีจะได้กลิ่นแอลกอฮอล์ มีฟองปุดๆ ก็ยีสต์ดี ใช้ได้ (ผม แบ่งจากหม้อไว้ส่วนหนึ่ง) คนด้วยตะเกียบฆ่าเชื้ออีกแท่งหนึ่งที่เหลือนั่นหล่ะครับ เทลงขวด ใช้ตะเกียบคนให้เข้ากัน ประกอบชุดอุปกรณ์
ยีสต์แห้งอุณหภูมิห้องปกติพอแล้วครับ ดูจากที่เขาขายก็ได้ไม่มีใครใส่ยีสต์แห้งในตู้เย็นนะครับ
เหตุผล
พอเอาออกตู้เย็น จะมีความชื้นในถุงโดนความร้อนที่เปลี่ยนแปลงจะกลั่นตัวเป็นน้ำ เป็นฝ้าเกาะข้างใน เกิดในถุงยีสต์เป็นหยดน้ำ ถ้าหยดน้ำไปเกาะกับยีสต์ผงซึ่งเป็นยีสต์เป็น มันจะกระตุ้นให้ยีสต์งอกงอกใหม่ พอไม่มีอาหารมันก็แห้งตาย เอาเข้าเอาออกตู้เรื่อยๆ ก็ตายไปเรื่อยๆจากเหตุผลดังกล่าว ที่ยีสต์ไม่ออกจึงไม่ใช่สาเหตุจากนมครับซึ่งการใส่นมผมก็ไม่แนะนำให้ใส่ในระบบหมักอีกเพราะนมจะไปเร่งให้แบคทีเรียพวกแลกโตบาซิลลัส นั่นหล่ะไปแย่งอาหารกับยีสต์ได้เพราะมันโตไวกว่า ทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงไปอีก ถ้าเป็นโปรตีนที่ย่อยโมเลกุลมาแล้วก็ใช้ได้ครับเพราะยีสต์สามารถนำไปใช้ได้เลย
การเก็บยีสต์แห้ง จึงไม่จำเป็นต้องเอาเข้าตู้เย็นด้วยเหตุผลอื่น เพราะเป็นยีสต์ในรูปที่พักตัวให้ทนกับความแล้งได้ดีอยู่แล้ว หลังจากเปิดถุงแล้วหาที่ใส่ ผมใช้ถุงซิปแล้วห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เก็บไว้ที่ร่มๆ หรือกองๆไว้ข้างตู้ปลานั่นแหละครับหาง่ายดี
สงวนสิทธิ์โดยทีมงาน พันธมิตรประชาชนเพื่อไม้น้ำประเทศไทย
ทำขวดเองกันก่อน --> DIY เพียง 6 Step เพื่อทำชุดขวดคาร์บอนไดออกไซด์ยีสต์ ภายใน 20 นาที
ถ้าหัวขวดยังรั่วอยู่ --> D.I.Y ขวดยีสต์ ยังรั่วกันอยู่หรือเปล่า เพิ่มอีก 50 สตางค์ แก้ปัญหาได้ By Coffman
อ้างถึง
สรุป สูตรง่ายๆที่สุดนะครับหากไม่ต้องการต้ม
ขวดขนาด 1.25 ลิตร น้ำตาลทรายแดง 2.5 ขีด(โลแบ่ง 4 ) + น้ำ 1 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 1 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1/2ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ
ขวดขนาด 1.5 ลิตร น้ำตาลทรายแดง 3 ขีด(โลแบ่ง 3 ) + น้ำ 1.2 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 2 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1 ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ
ขวดขนาด 2.0 ลิตร น้ำตาลทรายแดง 4 ขีด + น้ำ 1.5 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 2 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 1ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ
ขวดขนาด 3.1 ลิตรบิ๊กโคล่า น้ำตาลทรายแดง 5 ขีด(ครึ่งโล) + น้ำ 2.3 ลิตร(สโลปคอขวด)+ผงฟู 4 ชช. เขย่าๆ + ยีสต์ 2ช้อน(เล็กๆของ 7-11) ตามลำดับ
อ้างถึง
ตู้ 20 ลงมาใช้ขวด 1.25 -1.5 ต่อ 1 หัวดิฟ
ตู้ 24 1.5-2 ลิตร ต่อ 1 หัวดิฟ
หรือให้ดี ตู้ 24 1.5-2 ลิตร พ่วง 2 ขวด ต่อ 1 หัวดิฟ
หรือตู้ 24 3.1 ลิตรบิ๊กโคล่า ต่อ 1 หัวดิฟ
ตู้ 36 1.5-2 ลิตร ต่อ 1 หัวดิฟ 2 จุดขึ้นไป
ตู้ 36 3.1 ลิตรบิ๊กโคล่า ต่อ 1 หัวดิฟ 2 จุดขึ้นไป
ตู้ 48 มีเงินซื้อตู้ขนาดนั้นก็ซื้อคาร์บอนถังเถอะครับ ได้โปรด
วิธีนี้หัวดิฟที่ว่าออกยากยังไหว
ใช้ขวด pepsi coke 2 ลิตร
ใส่น้ำ 1.5 ลิตร น้ำตาลทรายแดง(ที่ใช้น้ำตาลทรายแดงเพราะมาสารอาหาร molasses จำเป็นเหลืออยู่มากกว่าน้ำตาลทรายขาวซึ่งยีสต์จำเป็นต้องใช้จึงไม่จำเป็นต้อง เติมสารอาหารและแร่ธาติให้ยีสต์อีก)
1.น้ำตาลทรายแดง ยี่ห้อ มิตรผลโกลล์ น้ำตาลธรรมชาติวังขนาย มีทั้งวิตามินเกลือแร่ครบสมบูรณ์แบบ
น้ำตาลทราย 375 กรัม คิดที่ 25 % ใครอยากได้สูตรน้ำตาลที่ 25% ง่ายๆก็
สูตรคำนวณ น้ำตาลเป็นกรัม -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 250 = ปริมาณน้ำตาลเป็นกรัม
สูตรคำนวณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม -----------ปริมาณน้ำ (x) ลิตร คูณด้วย 0.25 = ปริมาณน้ำตาลเป็นกิโลกรัม
น้ำตาลปีป น้ำตาลอ้อย จริงๆแล้วสารอาหารยีสต์มากกว่า ทรายแดงแน่นอนครับ แต่การผลิตสกปรกมากยีสต์น่าจะโตไม่ทันแบคทีเรียเพราะเราไม่ได้ฆ่าเชื้อ 100% ก่อนเพียงแค่ต้มเดือดยังเสี่ยงเลยครับ
ใส่น้ำตาล26% ยืดเวลานานกว่าน้ำตาล 20% ไปอีก 33% ของวันที่ใช้ในการหมัก(นานขึ้น)ครับ
ผมออกแบบการทดลองใส่ 25%-26% ครับ แต่ต้องแลกกับการที่ยีสต์เสียชีวิตมากขึ้นในตอนแรกที่เติมหัวเชื้อเข้าไปจึง ออกไปให้เติมยีสต์มากขึ้นกว่าสูตรทั่วไป
design น้ำตาล 25% เพราะต้องการเพิ่มแรงดันออสโมติกไปถึง 1.9 OSM ทำให้ยีสต์แตกหน่อยากระยะเวลาหมักจะได้นานขึ้นครับ(จากการที่น้ำตาลมากจะทำ ให้ยีสต์ตายตอนเริ่มมากขึ้นแก้ไขโดยใช้น้ำอุ่นพักยีสต์ 15 นาที ระยะเวลาเริ่มระบบอาจนานขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ก็จะได้ระบบ Co2 ที่นานขึ้นครับ พบว่าน้ำตาล 20% กับ 26% จะยืดการหมักได้นานขึ้น 33% ถ้าทำสะอาดเราจะได้เหล้าขาวดีกรี เกิน 15 เลยหอมเหมือนวอดกาเลย แต่ถ้าเราเปิด diffuse ตลอดแบบนี้เราจะได้ไวน์ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์คล้าย Spy เรียก Sparkling wine natural นะครับวิธีนี้แต่เอาไปดื่มตรงๆไม่ได้นะยีสต์จะทำให้ท้องเสียต้องบ่มก่อน แล้วจะเอาวิธีมาแบ่งปันอิอิ
ทดลองแล้วครับเริ่ม 23-2-2553 เวลา 13.25 น. สูตรนี้อายุการใช้งาน 1 เดือน จะไม่สามารถ ดันออกหัวดริฟที่ผมใช้เป็นยี่ห้อ DAZ ที่มีตัวนับฟองเกลียว ถ้าเขย่าต่ออาจดันออกได้สักสองชั่วโมงก็จะหยุด ได้ทดลองเติมน้ำตาลละลายน้ำลงไปอีกสองร้อยห้าสิบซีซี แล้วก็ไม่สามารถเพิ่มวันในการใช้งานได้ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้หัวดริฟสามารถใช้งานได้นานกว่าหนึ่งเดือนมาก แต่ผมยังไม่ได้ทดลองครับ
2.ผง ฟู
ที่ใช้ผงฟูเพราะผงฟูจะแตกตัวให้ก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ครับทำให้ยีสต์ อยู่ในสภาพไร้อากาศได้ไว ไล่อากาศ ออกซิเจนออกจากขวดหมัก ทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ไวขึ้นจากตัวผงฟูเอง และฆ่าเชื้อโรคในขวดหมักได้ส่วนหนึ่ง ปรับสมดุล pH ในขวดหมัก
ข้อควร ระวัง อย่าสัมผัส อย่าโดนตา ผิว หายใจเอาฝุ่นเข้าไปเพราะระคายเคืองได้ Health Hazards Acute and Chronic:ACUTE:MILD IRRITANT TO EYES AND SKIN OR RESPIRATORY TRACT;INGESTION MAY CAUSE ALKALOSIS.
จำไว้ว่าให้
ละลาย ผงฟูก่อนเสมอ เทผงฟูลงขวดแล้วคนให้เข้ากันก่อน เติมยีสต์ เพราะจะไม่ไปฆ่ายีสต์
ผงฟูประมาณ 1 ช้อนชาพูนต่อน้ำ 1.5 ลิตร ผมใช้ น้ำ 2.8 ลิตรก็เติมประมาณสองช้อนชาพูนครับ
ผงฟู ผงฟูทำขนมปัง (Baking powder) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบจนและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา)
มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ( เบกกิ้งพาวเด้อ (ผงฟู) กับ เบกกิ้งโซดา ที่เราใช้ใส่ขนมน่ะ มันคนละอย่างกันนะ)
1. ผงฟู (Baking Powder)
ประกอบด้วย โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ครีมทาร์ทาร์ (cream of tartar, เป็นผลึกผงสีขาวทำมาจากกรดในลูกองุ่น) , โซเดียม แอซิด ไพโรฟอสเฟต (sodium acid pyrophosphate, กรดเกลือของกรด) และส่วนที่เป็นแป้งข้าวโพดเพื่อป้องกันไม่ให้สารทั้งสองสัมผัสกันโดยตรง เมื่อผงฟูโดนน้ำจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ขนมฟู ซึ่งเป็นแบบกำลังหนึ่ง ส่วนแบบกำลังสองจะมีกรด 2 ตัว และจะมีก๊าซเกิดขึ้น 2 ช่วง ในช่วงการผสมและการอบ
(ผงฟูแบ่งออกไป อีกมี 2 ชนิด คือผงฟูกำลัง 1 กับผงฟูกำลัง 2) ชนิดของผงฟู (Baking Powder)
1.1 ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action) ผงฟูจะผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทันทีอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผสมกันและระหว่างที่รอเข้าอบ ดังนั้นต้องทำการผสมและอบอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่อบทันที ขนมจะขึ้นฟูไม่ดีเท่าที่ควร
1.2 ผงฟูกำลังสอง (Double Action) เป็นผงฟูที่ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สองขั้นคือ ในขั้นตอนการผสมส่วนหนึ่งและในขณะอบอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมใช้ผงฟูชนิดนี้เพราะไม่ต้องเร่งรีบในการทำ ในการผสม และในการอบ
2. เบคกิ้งโซดา (Baking soda) มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) จะสลายตัวเมื่อได้รับความร้อน มีผลเสียคือจะมีสารตกค้างซึ่งถ้าใช้เกินจะทำให้เกิดรสเฝื่อน เพื่อทำให้สารตกค้างหมดไปสามารถปรับได้โดยการเติมกรด
อาหารลงไป เช่นนมเปรี้ยว
สรุปตามสูตรนี้ที่เราจะใช้ต้องชื่อ ผงฟู เบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder)เท่านั้น ไม่ใช่เบคกิ้งโซดา จะดับเบิ้ล ไม่ดับเบิ้ล ว่ากันต่อ
ดูความแตกต่างที่นี่http://users.rcn.com/sue.interport/food/bakgsoda.html
เรา ใช้เบคกิ้งโซดา (Baking soda) ในการหมักยีสต์ไม่ได้เพราะจะไม่ให้ Co2 เพราะเราไม่ได้เติมกรดนะครับ
เราต้องเลือก และบอกคนขายว่า ขอผงฟูแบบเบคกิ้งพาวเดอร์(Baking Powder) ผงฟูกำลังหนึ่ง (Single Acting หรือ Fast Action)ซึ่งราคาถูกกว่ากำลังสอง
เราต่างก็ต้องการแค่ โซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate) กับกรด ส่วนจุดประสงค์ที่ให้แตกตัวสองครั้งนั้นไม่จำเป็นสำหรับการหมักคาร์บอนยีสต์ ที่ใช้ในการเลี้ยงพรรณไม้น้ำเพราะเราเลี้ยงที่อุณหภูมิไม่สูง จึงไม่เกิดการแตกตัวครั้งที่สองเมื่อเราเติมผงฟูแบบดับเบิ้ลแอคชั่น คุณสมบัติดับเบิ้ลแอคชั่นจึงไม่จำเป็นเลย
การเลือกใช้ก็คงต้องเลือกเป็น ดูราคาให้เหมาะสมด้วยนะครับ
3. ยีสต์ ใช้ยีสต์ทำขนมปังยี่ห้อไหนก็ได้ เพราะยีสต์ทำขนมปังให้ก๊าสมากกว่า ยี่ห้อนอก fermi pan ก็ดีครับยีสต์พวกนี้สายพันธุ์ดีมีมาตรฐานให้ฟองที่แน่นอน ทนทาน เลือกที่ไม่หมดอายุ หรือถุงที่บรรจุสุญญากาศจะดีมากๆ ใช้ปริมาณ 1 ช้อนกาแฟ 7-11 ต่อน้ำ 1.5 ลิตร
ผมใช้ยี่ห้อ saf instant ไม่มีฟองเลย ผมดูจากสายยาง และขวดดักยีสต์ การที่มีฟองขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ยี่ห้อยีสต์ที่ใช้ด้วยครับ ส่วนใหญ่มักใช้ยีสต์จมตัว มากกกว่ายีสต์ลอย ที่หมักมีฟองมากน่าจะเป็นยีสต์ลอย หรือยีสต์ที่ต่อเชื้อใช้มา
ความเข้าใจที่ยีสต์เยอะไปแล้วเราจะได้ Co2 จากน้ำตาลหมดเร็วเป็นควา่มคิดที่ยังไม่ถูกต้องครับ เรามักจะคิดว่าเติมเยอะเชื้อเยอะก๊าซเยอะ แต่ข้อเท็จจริง การเติมยีสต์มากน้อยในตอนเริ่มต้นมาก จะทำให้เราได้ Co2 ไวกว่าก่ารเติมเชื้อที่น้อย(lag phase สั้นลดเวลาพักตัว) การที่เราทำให้ยีสต์เยอะตอนแรกยังช่วยให้ระบบการหมักจากยีสต์สมบูรณ์จริงๆ (แต่อาจเปลืองเงินครับ และการใช้หัวเชื้อมากเกินไป นอกจากจะทำให้เปลืองแล้วก็ไม่ทำให้ได้ก๊าสเพิ่ม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนสารอาหารเป็นผลิตภัณฑ์,แอลกอฮอล์ จะคงที่เพราะการที่เราหมักในขวดผมยังแนะนำอย่างแรงว่าการต้มไม่ใช่แค่อุ่น หรือน้ำตาลละลายอย่าเดียว มันยังยังทำการฆ่าเชื้ออื่นๆที่ไม่ใช่ยีสต์ เพื่อไม่ให้ใช้น้ำตาลแข่งกับยีสต์ที่เราเติมลงไปได้เพราะยีสต์ใช้น้ำตาลได้ ช้ากว่าในการเริ่มต้นระบบ (อยากให้การเริ่มระบบไวเทคนิคคือละลายยีสต์แห้งในน้ำอุ่น 38-45 องศา หรือน้ำตาลที่ใช้หมัก ก่อน 15 นาทีแล้วค่อยเทลงขวดนะครับ เพื่อกันยีสต์ชอคตายทั้งขวด)การไม่ต้มน้ำ และใช่แค่น้ำถัง เสี่ยงต่อการหมักที่ล้มเหลวและก๊าสที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าไม่มีอินดิเคเตอร์อันนี้เสี่ยงครับ นอกจากเราจะใช้น้ำขวด pet น้ำตาลทรายแดงที่ไม่แบ่งขาย ขวดที่สะอาดจริงๆก็พอลุ้นครับ
วิธีที่ถูกต้องทำยากแต่คุ้ม
1. ต้มน้ำเดือด เติมน้ำตาลทรายแดง
2. พักให้อุ่นๆ-เย็น ผมใช้ถังอลูมิเนียมใส่น้ำแข็ง หรือถุงใส่น้ำแข็งโยนลงไปเลย (ลวกถังก่อน)แล้วตั้งไว้กลางหม้อเลยคนน้ำแข็ง ข้างในแปปเดียวอุ่น หรือใส่น้ำแข็งในถุงร้อนสะอาดๆแล้วแช่ลงไปก็ได้เย็นไวดี
3. เทลงขวดที่ลวกน้ำอุ่นๆ ลวกนะครับ ระวังขวด coke บิด แล้วให้มีปริมาณเหลือ ช่องว่างเก็บก๊าซ head space สัก 25% ต้องเว้นไว้ระวังยีสต์บางพันธุ์เกิดฟองขณะหมักให้ใส่น้ำมันพืชลงไปลดฟองสัก สามหยด
4. ละลายผงฟูด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้เทลงไปผสมกัน ผมใช้ตะเกียบใหม่ฉีกจากซองเลยคนครับ พยายามอย่าให้เลอะหัวขวด
5. ละลายยีสต์ด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้แล้ว พักนานสิบห้านาที ยีสต์ดีจะได้กลิ่นแอลกอฮอล์ มีฟองปุดๆ ก็ยีสต์ดี ใช้ได้ (ผม แบ่งจากหม้อไว้ส่วนหนึ่ง) คนด้วยตะเกียบฆ่าเชื้ออีกแท่งหนึ่งที่เหลือนั่นหล่ะครับ เทลงขวด ใช้ตะเกียบคนให้เข้ากัน ประกอบชุดอุปกรณ์
ยีสต์แห้งอุณหภูมิห้องปกติพอแล้วครับ ดูจากที่เขาขายก็ได้ไม่มีใครใส่ยีสต์แห้งในตู้เย็นนะครับ
เหตุผล
พอเอาออกตู้เย็น จะมีความชื้นในถุงโดนความร้อนที่เปลี่ยนแปลงจะกลั่นตัวเป็นน้ำ เป็นฝ้าเกาะข้างใน เกิดในถุงยีสต์เป็นหยดน้ำ ถ้าหยดน้ำไปเกาะกับยีสต์ผงซึ่งเป็นยีสต์เป็น มันจะกระตุ้นให้ยีสต์งอกงอกใหม่ พอไม่มีอาหารมันก็แห้งตาย เอาเข้าเอาออกตู้เรื่อยๆ ก็ตายไปเรื่อยๆจากเหตุผลดังกล่าว ที่ยีสต์ไม่ออกจึงไม่ใช่สาเหตุจากนมครับซึ่งการใส่นมผมก็ไม่แนะนำให้ใส่ในระบบหมักอีกเพราะนมจะไปเร่งให้แบคทีเรียพวกแลกโตบาซิลลัส นั่นหล่ะไปแย่งอาหารกับยีสต์ได้เพราะมันโตไวกว่า ทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงไปอีก ถ้าเป็นโปรตีนที่ย่อยโมเลกุลมาแล้วก็ใช้ได้ครับเพราะยีสต์สามารถนำไปใช้ได้เลย
การเก็บยีสต์แห้ง จึงไม่จำเป็นต้องเอาเข้าตู้เย็นด้วยเหตุผลอื่น เพราะเป็นยีสต์ในรูปที่พักตัวให้ทนกับความแล้งได้ดีอยู่แล้ว หลังจากเปิดถุงแล้วหาที่ใส่ ผมใช้ถุงซิปแล้วห่อกระดาษหนังสือพิมพ์เก็บไว้ที่ร่มๆ หรือกองๆไว้ข้างตู้ปลานั่นแหละครับหาง่ายดี