c1ub.net

Talks => ปลาสวยงามและสัตว์น้ำอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: บัง ที่ 01/09/2561 [01:03:12]

หัวข้อ: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: บัง ที่ 01/09/2561 [01:03:12]
ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด rev.02 (08/04/2019)

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการขับถ่าย ฉะนั้น สิ่งมีชีวิตที่เราเลี้ยงกันในตุ้ปลา ไม่ว่าจะเป็น ปลา กุ้ง หอย ไม้น้ำ กบ เขียด ก็ล้วนแล้วแต่มีการขับถ่ายสสารที่ไม่ต้องการ หรือการ "ขี้" ทั้งสิ้น แม้แต่ พืช ก็ยังมีการขับถ่ายก๊าซออกซิเจนที่มันไม่ต้องการออกมาในยามที่สังเคราะห์แสง ซึ่งก๊าซออกซิเจนที่ถูกขับถ่ายออกมาจากพืช ก็เป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆต้องการ

ต้นหญ้าสังเคราะห์แสงคายออกซิเจนออกมาให้วัวได้หายใจ > วัวกินหญ้าไปก็โดนเสือกิน > เสือกินวัวแล้วขี้ออกมารวมกับซากวัวที่เหลือ กลายเป็นปุ๋ยให้หญ้าอีกที

นี่คือตัวอย่างง่ายๆของการหมุนเวียนสสารในจักรวาล ที่มีการส่งต่อพลังงานกันหมุนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด

ผลัดกันแดกขี้กันไปมาเป็นวัฎจักร [puke01]

ดังนั้น ในตู้ปลาของเรา ที่เป็นการจำลองระบบนิเวศน์ย่อส่วนให้ลงมาอยู่ในกล่องกระจกเล็กๆนี้ ก็จำเป็นต้องมีวัฏจักรพลังงานนี้เช่นกัน แม้ว่ามันอาจจะไม่ครบหรือไม่เหมือนในธรรมชาตินัก แต่ก็จำเป็นต้องมี เพราะเมื่อสิ่งมีชีวิตในตู้ผลิตของเสียออกมาแล้วไม่มีใครมารับช่วงวงเวียนนี้ต่อไป วัฎจักรขาดตอนลง ระบบนิเวศน์นั้นก็จะเสียสมดุลจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงชีพอยู่ต่อไปได้

แล้วของเสียในตู้ปลามาจากไหน?

ต้นทางหลักๆของของเสียในตู้ก็มักจะมาจากอาหารปลา ซึ่งเมื่อปลากินเข้าไปแล้วก็จะขี้ออกมา
ขี้ปลานั้นก็จะ Brakedown หรือย่อยสลาย จนกลายเป็น แอมโมเนียออกมา
ซึ่งเจ้าแอมโมเนียนี้มีความเป็นพิษกับสัตว์น้ำสูง มีอยู่ในน้ำไม่มากสัตว์น้ำก็พากันตายทั้งตู้แล้ว
แต่แอมโมเนียนี้ ก็เป็นอาหารโปรดของแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งที่มีชื่อว่า Ammonia oxidizing bacteria (AOB) ให้กลายเป็น Nitrite หรือ ไนไตรท์
ไอ้ไนไตรท์นี่ก็ยังเป็นพิษอยู่นะครับ แต่ว่าน้อยกว่าแอมโมเนียมาก ซึ่งไนไตรท์นี้ก็จะเป้นอาหารของแบคทีเรียอีกจำพวกหนึ่งที่ชื่อ Nitrite-oxidizing bacteria (NOB) ย่อยสลายให้กลายเป็น Nitrate หรือ ไนเตรท ที่มีความเป็นพิษต่ำมากและปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตในตู้มากกว่าแอมโมเนียมาก
และไนเตรทนี้ก็จะถูกพืชในตู้นำไปใช้เป็นอาหาร หรือถ้าไม่มีพืชน้ำ เราก็สามารถเอาไนเตรทออกจากตู้ได้ด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำนั่นเอง

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535737234_u1_MrYXxZ0i.jpg)

นอกจากอาหารปลาแล้ว ของเสียในตู้ก็อาจจะมาจากอย่างอื่นได้อีก เช่น ซากสัตว์ที่ตาย ซากพืชที่หลุดร่วงออกมา ไขมันจากมือของเราที่ล้วงลงไปในตู้ และอื่นๆอีกมากมาย แต่ทั้งหมดนั้นก็จะถูกส่งต่อกันไปในวัฎจักรเดียวกัน

แล้วไอ้แบคทีเรียที่ว่านี้มันอยู่ไหน?

มันมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรานี่แหละครับ อยู่ในดิน ในน้ำ บนผิวเรา ฯลฯ เพียงแต่เรามองไม่เห็นมันเท่านั้นเอง แค่เราเซ็ตตู้เสร็จ มันก็มาอยู่ในตู้เราโดยไม่ต้องร่ายเวทย์อัญเชิญแต่อย่างใด โดยเจ้าพวกนี้มันจะสร้าง "บ้าน" อยู่เป็นเมือกลื่นๆ เกาะอยู่ตามพื้นผิวทั่วไปในตู้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นกระจก ก้อนหิน ขอนไม้ กรวด ทราย ต้นไม้ ของแต่งตู้ บ้านใครมีอ่างไว้ใส่น้ำอาบก็ลองลูบๆดูข้างในครับ ที่มันจะลื่นๆมือ นั่นแหละครับ เมือกนั้นมีแบคทีเรียอยู่ข้างใน

แต่....แต่...แต่...แต่....มันมีน้อยเกินไปครับ ลำพังแค่ปริมาณของแบคทีเรียที่อาศัยเกาะอยู่ตาม "พื้นผิว" ของกระจกตู้หรือก้อนหินในตู้มันมักจะน้อยเกินไปที่จะกำจัดของเสียจากสิ่งมีชีวิตที่เราประเดประดังลงไปในตู้ได้ และจำเป็นต้องหาพื้นที่ให้มันมาอยู่กันได้เยอะๆ เพียงพอกับของเสียในตู้เรา เหมือนกับที่มนุษย์อยู่คอนโดมิเนี่ยม เพื่อให้อยู่กันในพื้นที่น้อยๆได้ เราก็ทำสิ่งที่คล้ายๆคอนโดให้กับแบคทีเรีย ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "Filter Media" หรือ "วัสดุกรอง" ซึ่งก็คือ วัสดุอะไรก็ได้ ที่ขุรขระ มีรูพรุนๆ มีพื้นที่ผิวเยอะๆ เพื่อให้แบคทีเรียสามารถเกาะอาศัยอยู่ได้ในปริมาณมากๆ และเกาะได้ดีไม่หลุดง่ายๆ เอามาใส่ไว้ในตู้ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1554732427_u1_dd1IKlnK.jpg)

อ่านรายละเอียดเรื่องวัสดุกรองได้ในบทความ (บทความยังสร้างไม่เสร็จ ขออภัยในฟามไม่สะดวก [mock02])

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535738542_u1_IQGgQFJO.jpg)(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535738402_u1_SleVZydQ.jpg)(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535738419_u1_0hP9TPJ4.jpg)
ตัวอย่างวัสดุกรองแบบต่างๆ

พอเราสร้างที่อยู่ให้มันอย่างดี แบคทีเรียพวกนี้มันก็จะไปอาศัยเกาะกันอยู่ตามซอกหลืบพื้นผิวของวัสดุกรองเหล่านี้ โดยจะแบ่งพื้นที่กันอยู่ เพราะ Ammonia oxidizing bacteria (AOB) หรือน้องอ๊อบ (นามสมมุติ) กลุ่มแบคทีเรียที่มีสกิลย่อยสลายแอมโมเนียให้เป็นไนไตรท์ จะชอบอยู่ในที่มีออกซิเจนมากๆ เช่นบริเวณด้านนอกของวัสดุกรองและวัสดุในตู้ทั่วไป ส่วน Nitrite-oxidizing bacteria (NOB) หรือน้องนพ (นามสมมุติ) จะชอบอยู่ในที่ๆมีปริมาณออกซิเจนต่ำ (แต่ก็ยังต้องใช้ออกซิเจนนะ) และอยู่ในวัสดุกรองส่วนที่เป็นซอกหลืบลึกลงไป หรือใต้ชั้นกรวดทรายและดินในตู้ที่อยู่ในชั้นลึกลงไปจนน้ำไหลเวียนผ่านได้น้อย ทั้งสองชนิดอยู่ร่วมกัน แบ่งพื้นที่กันทำงานอย่างสามัคคี ไม่ไปวิ่งตีกบาลกันแทบทุกวันเหมือนนักเรียนช่างของประเทศหนึ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่เท่านั้นยังไม่พอ! แค่คุณโทรมาในสิบนาทีนี้.... แค่จับแบคทีเรียไปนั่งๆนอนๆอยู่ในวัสดุกรองเฉยๆเดี๋ยวมันทำงานไม่เต็มที่ เราต้องปั๊มน้ำผ่านมันด้วย มันจะได้มีของเสียไปย่อยสลายเยอะๆ และแบคทีเรียพวกนี้เนี่ยมันยังต้องการออกซิเจนในการทำงานของมันด้วย เมื่อเราปั๊มน้ำไหลผ่านมัน มันก็จะได้ออกซิเจนเร็วขึ้นด้วย และทำงานดีขึ้นไปอีก เหมือนคนงานพับกรวยกระดาษที่ซดน้ำใบกระท่อม ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า "เครื่องกรอง" คอนเซ็ปของมันก็คือ ซัมติงที่เป็นภาชนะ ให้เราเอาวัสดุกรองไปใส่ และปั๊มน้ำไหลผ่านมันได้ ซึ่งก็มีหลากลายแบบหลายชนิดมากจนอธิบายในนี้แล้วจะยาวเกินไป ตามอ่านรายละเอียดเรื่องเครื่องกรองได้ในบทความ ประเภทของระบบกรอง ลักษณะ และคุณสมบัติ (https://aqua.c1ub.net/home/index.php?topic=5594.0) จะดีกว่า

ทีนี้พอเราเอา "วัสดุกรอง" มาใส่ใน "เครื่องกรอง" และเอาน้ำไหลผ่านมันแล้ว ก็จะกลายเป็น "ระบบกรอง" นั่นเองงงงงงงงงงงงง (เวลาอ่านทำเสียงโดเรม่อนตอนเอาของวิเศษออกมาด้วย [smile01]) พอตู้เรามีระบบกรองแล้ว ก็จะเกิดการหมุนเวียนไนโตรเจนในตู้ และไม่มีแอมโมเนียและไนไตรท์ที่เป็นพิษอยู่ภายในตู้ หรือมีน้อยมากๆ ปลาเราก็จะไม่ตาย กุ้งก็จะเดินมุ้งมิ้งน่ารัก

แต่ไม่ใช่ว่าทำระบบกรองเสร็จแล้ว มันจะมีแบคทีเรียมาอยู่เป็นหมื่นล้านตัวในสามนาที ไม่ใช่! แกต้องรอก่อน! ที่เค้าเรียกว่า รอระบบกรองเซ็ตตัว ซึ่งก็คือการรอให้แบคทีเรียมันเพิ่มจำนวนขึ้นนี่เอง ไม่ใช่ว่าซื้อตู้ซื้อกรองมาพร้อมกัน ใส่น้ำแล้วเทปลาลงพรวดเต็มตู้เลย มีโอกาสระบบล่มสูง ต้องให้เวลาแบคทีเรียได้เกิดได้ขยายพันธุ์ด้วย

แล้วแบคทีเรียมันจะมาอยู่ในตู้ได้ยังไง?

ปกติแล้วไม่ทำอะไรมันก็มาเองครับ เพราะตู้เราไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค มันก็ติดมากับปลากับกุ้งหรือต้นไม้ มากับน้ำประปาบ้าง แต่กว่ามันจะเพิ่มจำนวนได้เพียงพอที่จะทำงานได้ดีก็อาจจะต้องใช้เวลานาน ถ้าจะให้เร็วขึ้นหน่อยเราก็ต้องไปพามันมา

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535738149_u1_h56Ne9CR.jpg)
จัดใหม่ใสกิ๊งแบบนี้ ยังไม่มีแบคทีเรียแน่นวล

วิธีการเชิญชวนน้องแบคมาลงตู้ที่ดีที่สุดแถมยังแทบไม่ต้องเสียเงินเลยก็คือ การเอาวัสดุต่างๆจากในตู้ที่ตั้งมานานแล้วมาใส่


แต่อย่าลืมว่า ต้องเป็นวัสดุที่มีพื้นผิวเท่านั้นนะครับ เอาน้ำใส่ถุงมาไม่ได้ เพราะแบคทีเรียมันไม่ได้ลอยอยู่ในน้ำ หรือถ้ามีก็น้อยมากๆ

แล้วใส่แบคทีเรียที่เป็นขวดๆแทนไม่ได้เหรอ? แบบนี้ยากจุงเบย

ในหมู่แบคทีเรียที่กินไนโตรเจนนั้นก็มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่มีความสามารถต่างกันและชอบอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งในขวดแบคทีเรียแบบสำเร็จรูปนั้นส่วนมากเราไม่มีวันรู้เลยว่าเขาใส่สายพันธุ์ไหนมา ถ้าผู้ผลิตคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับตู้ปลามาให้ก็ดีไป แต่ถ้าไปเอาแบคทีเรียบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัด หรือ EM ย่อยขี้หมูมาขายก็ตัวใครตัวมัน เพราะมันคนละสายพันธุ์ คนละสภาพแวดล้อมกันเลย เช่นตัวที่นิยมเอามาใส่ขวดขายกันเป็นล่ำเป็นสันอย่าง Bacillus subtilis นั้นก็เป็นแบคทีเรียที่มีแหล่งอาศัยในดินและลำไส้มนุษย์ ซึ่งคนละสภาพกับในระบบตู้ปลาเลย ปริมาณอาหารก็ต่างกัน ปริมาณออกซิเจน อุณหภูมิ ความชื้น ต่างกันสุดๆ ฉะนั้นอย่าไปฝากความหวังไว้กับมันจะดีกว่า

แต่ถ้าอยากจะใส่เพื่อความสบายใจก็คงไม่เสียหายอะไร ใส่ตอนเริ่มต้นครั้งเดียวก็พอนะครับ ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำหรือทุกสามวันเจ็ดวันอะไรแบบนั้น เพราะบางทีในตู้เรามีแบคทีเรียเกิดดีแล้ว มีโคโลนีเกาะดีและเป็นสายพันธุ์ที่ดีแล้ว แต่เราดันใส่สายพันธุ์อะไรก็ไม่รู้ลงไปมันก็จะพากันเละไปหมด ไม่ได้ดีสักที

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535737926_u1_uPukOokY.jpg)
ใยกรองแบบนี้ก็เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียได้เหมือนกันนะ

ทีนี้แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตใช่มะ ดังนั้นนอกจากเราจะต้องเตรียมที่อยู่ให้มันแล้ว เราจะต้องมีอาหารไว้ให้มันกินด้วย ไม่งั้นต่อให้เราเอาแบคทีเรียมาใส่เท่าไหร่ มันก็จะอดตายจนหมด เพราะมันไม่มีอะไรจะกิน

ไม่ว่าจะเก๋ามาจากไหน ก็ตายห่าเรียบถ้าไม่มีข้าวแด๊ก เข้าใจไหมพี่ชาย!

แล้วจะเอาอาหารมันมาจากไหน?

ก็ไม่ยาก เพราะมันกินวัตถุชีวภาพทุกอย่างที่เน่าสลายได้ โดยการย่อยมันให้กลายเป็นแอมโมเนีย > ไนไตรท์ > ไนเตรท ตามที่บอกไปข้างต้น
ดังนั้นเราก็แค่หาแหล่งของแอมโมเนียให้มันกิน ซึ่งก็มีหลักๆสามวิธี


ในทั้ง 3 วิธี ผมแนะนำให้ใช้วิธีหาปลาหรือกุ้งหอยมาใส่ให้มันขี้ เพราะปลอดภัยและง่ายที่สุด

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1535738199_u1_lnmsnoS4.jpg)
ปลาสอด ตัวเลือกที่ดีในการรันระบบ เพราะกินเร็ว ขี้เยอะ กินฝ้าและกินตะไคร่ อึด เลือดเยอะ def เยอะ ไม่ตายง่ายๆ

แล้วต้องรอนานแค่ไหน?

สำหรับแบคทีเรียที่ย่อยแอมโมเนียเนี่ย ใช้เวลาไม่นานครับ เพราะมันเกิดเร็ว ถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง ไม่เกิน 10 วันส่วนมากก็เทสแอมโมเนียไม่เจอละ
ส่วนแบคทีเรียที่ย่อยไนไตรท์จะต้องใช้เวลานานสักหน่อย คือประมาณ 1-2 เดือนเป็นอย่างน้อย แต่เราไม่จำเป็นต้องรอมันก็ได้ เพราะอย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่า ไนไตรท์นั้นมีความเป็นพิษที่ต่ำกว่าแอมโมเนียเยอะ สิ่งมีชีวิตส่วนมากสามารถทนไนไตรท์ได้พอสมควร แค่เราเปลี่ยนถ่ายน้ำบ้างก็สามารถลดจำนวนไนไตรท์ให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายได้แล้ว

ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องรอระบบกรองเซ็ตตัวเลย เพียงแต่เราต้องทยอยลงสิ่งมีชีวิตทีละน้อยๆ

ถ้าทำตามนี้เพียงไม่กี่วันน้ำในตู้ก็จะเริ่มใส ลูบดูตามกระจกตู้ก็จะเริ่มมีเมือกลื่นๆมาเกาะบ้างแล้ว เป็นอันว่าระบบกรองเราเซ็ตตัวแล้วในระดับหนึ่ง
บางตู้อาจจะใช้เวลานานหนือสั้นกว่านี้ ก็แล้วแต่ปัจจัยที่แตกต่างกันไปในแต่ละตู้ บางตู้อาจจะสองอาทิตย์ บางตู้อาจจะสองเดือน แต่จะให้ระบุชัดเจนว่าใช้เวลาแค่ไหน บอกไม่ได้ครับ

ช่วงที่รอระบบเซ็ตตัวนี้ก็อย่าลืมว่าต้องเปิดกรองตลอดเวลา 24ชม. ไม่เปลี่ยนน้ำด้วยน้ำประปาที่ไม่ผ่านการพักน้ำ และใครมีชิลเลอร์ก็อย่าเพิ่งตั้งอุณหภูมิไว้ต่ำๆนะครับ เอาแค่ไม่ต่ำกว่า 28c ก่อน เพราะแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิที่สูงกว่า

ทีนี้ถ้ากรองเซ็ตตัวแล้ว น้ำใสแล้ว เราต้องดูแลยังไงบ้าง?

[idea01] อย่าเปลี่ยนน้ำมากเกินไปหรือล้างตู้แบบเกลี้ยงทั้งตู้ หลายคนจะยังติดกับการเลี้ยงปลาในแบบโบราณ ที่ยังเข้าใจผิดและใช้การเปลี่ยนน้ำทีละ 100% เทน้ำออกทั้งตู้ เอาปลาใส่ถัง แล้วเอาของในตู้ออกมาขัดล้าง เอาตู้ออกมาลงแฟ๊บ สำหรับตู้ที่ใช้ระบบกรองชีวภาพแล้ว ผิดนะครับ! ผิดมหันต์!! แบคทีเรียกลับไปอยู่กับบรรพบุรุษมันหมดครับแบบนั้น เปลี่ยนน้ำทีละไม่เกิน 50% ของตู้ ไม่เกินอาทิตย์ละสองครั้ง หรือถ้าเป็นตู้ที่มีของเสียน้อย เช่นตู้ไม้น้ำที่มีปลาน้อยๆ ก็อาจจะสามารถยืดเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำไปได้่จนถึงไม่ต้องเปลี่ยนน้ำเลย

[idea01] อย่าให้อาหารปลามากเกินไป เพราะแม้ระบบกรองจะเซ็ตตัวแล้ว มีแบคทีเรียแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะสามารถรับปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดได้ โดยเฉพาะอาหารปลาที่เหลือ จะเน่าเสียและสร้างแอมโมเนียได้มากกว่าขี้ปลาหลายเท่า และบ่อยครั้งที่ถึงกับทำให้ระบบกรองล่มไปเลยเพราะแบคทีเรียตายจากน้ำเสีย

[idea01] เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ เพื่อจำกัดปริมาณไนเตรท ซึ่งปริมาณน้ำที่จะต้องเปลี่ยนและความถี่นั้นจะแล้วแต่ตู้ไป ว่ามีปริมาณสิ่งมีชีวิตและปริมาณของเสียแค่ไหนเมื่อเทียบกับปริมาตรน้ำ และระบบมีความสมบูรณ์แค่ไหน ตู้ปลาโดยทั่วไปจะแนะนำที่อาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 50% ถ้าเป็นตู้ที่เลี้ยงปลาใหญ่และจำนวนปลาแน่นก็อาจจะถี่กว่านั้น แต่สำหรับที่มีความสมบูรณ์ของระบบมากกว่า เช่น ตู้ไม้น้ำก็อาจจะนานกว่านั้นก็ได้ หรือบางตู้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลยเป็นปีๆก็มี เพราะมีพืชน้ำมาดึงไนเตรทออกจากระบบโดยไม่ต้องอาศัยการเปลี่ยนถ่ายน้ำ

[idea01] ล้างวัสดุกรองเป็นระยะ เมื่อในกรองมีเมือกหรือตะกอนมากเกินไปจนน้ำไหลออกมาจากกรองเบา เวลาล้างก็ล้างด้วยน้ำในตู้ หรือน้ำประปาที่พักไว้จนไม่มีคลอรีน เพราะคลอรีนที่เป็นสารฆ่าเชื้อจะทำลายแบคทีเรียที่เราอุตส่าปลุกปั้นขึ้นมาจนตายหมด ห้ามใช้น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก สบู่ และอะไรทั้งสิ้น น้ำจากตู้ปลาเปล่าล้วนๆ ล้างเขย่าๆแค่พอตะกอนหลุด ไม่ต้องขัดด้วยแปรงจนขาวสะอาดหรืออะไรแบบนั้น ล้างแล้วจดไว้ด้วยก็ดีว่าล้างไปวันไหน จะได้ไม่ลืม



หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: NN ที่ 01/09/2561 [15:22:54]
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากครับ  [thumbup]
หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: บัง ที่ 08/04/2562 [23:00:03]
08/04/2019 แก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหารอบสองครับ
หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: Crocoman ที่ 20/05/2562 [18:14:26]
ถ้าผมนำวัสดุกรองอย่างเช่น หินภูเขาไฟสัก50%ของจำนวนที่จะใช้ในตู้กรอง ไปแช่ไว้ในบ่อปลาคราฟหน้าบ้านที่โดนแดดเกือบตลอดวัน นานสัก1-2อาทิตย์ แล้วค่อยย้ายมาใส่ในตู้กรอง จะช่วยให้ระยะเวลาในการเซ๊ตตัวของระบบกรองเร็วขึ้นไหมครับ
หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: RizeTH ที่ 21/05/2562 [12:19:14]
ถ้าผมนำวัสดุกรองอย่างเช่น หินภูเขาไฟสัก50%ของจำนวนที่จะใช้ในตู้กรอง ไปแช่ไว้ในบ่อปลาคราฟหน้าบ้านที่โดนแดดเกือบตลอดวัน นานสัก1-2อาทิตย์ แล้วค่อยย้ายมาใส่ในตู้กรอง จะช่วยให้ระยะเวลาในการเซ๊ตตัวของระบบกรองเร็วขึ้นไหมครับ

คิดว่า ต้องใช้น้ำเดียวกันกับบ่อปลาคาร์ฟด้วยนะครับ เพราะค่าน้ำเปลี่ยนแบคทีเรียก็อาจจะไม่รอดได้
หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: CopteR ที่ 23/05/2562 [18:10:35]
ใส่แอมโมเนียโดยตรง ด้วยการใส่แอมโมเนียมคลอไรด์ (Ammonium chloride) ลงไปซะเลย แต่สารตัวนี้หายากสำหรับคนทั่วไป แถมยังวุ่นวายและมีโอกาสบรรลัยชีวิตมากกว่าสองวิธีข้างต้นเยอะ ฉะนั้นผมขอไม่แนะนำละกันครับ

ถ้าเราใส่ Ammonium chloride มันน่าจะเป็นอันตรายต่อระบบนะครับ
เพราะจากสมการ มันจะได้ Cl- ออกมา effect กับ bacteria แน่ๆเลย

(https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1558609813_u43370_cnu0LaID.png)





***แต่ข้อความอื่นพี่เขียนได้อ่านง่ายมากๆ
หัวข้อ: Re: ระบบกรองชีวภาพในตู้ปลาน้ำจืด
เริ่มหัวข้อโดย: Jaak ที่ 08/06/2562 [15:18:11]
 [cheer01] เยี่ยมเลยคับ ครับถ้วน เริ่มตั้งตู้ได้เลย