ปัจจัยหลักในการเลี้ยงไม้น้ำให้ดีนั้น ประกอบไปด้วย แสง อุณหภูมิที่เหมาะสม ธาตุอาหาร และคาร์บอนไดออกไซด์ ค่าของปัจจัยเหล่านี้มีความยากง่ายในการวัดที่แตกต่างกัน คาร์บอนไดออกไซด์ก็เป็นอีกค่าหนึ่งที่หลายๆคนเคยตั้งคำถามว่า ทุกวันนี้เราให้มันพอดี มากไปหรือน้อยไปหรือเปล่า
เจ้าเครื่องมือชิ้นเล็กๆชิ้นนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมา
Drop checker
ดูหน้าตามันก็เป็นกระเปาะใส่น้ำยาสีๆที่ไม่น่าจะมีอะไรยากถึงกับต้องเอามาเขียนเป็นบทความ
แค่เอาน้ำใส่ หยดๆมันลงไป คว่ำลงในตู้ แล้วก็ดูสี ว่าเขียวพอดีหรือยัง
แต่แน่ใจแล้วหรือว่าค่าที่เราเห็นมันแปลว่า CO2 พอดีๆอย่างที่ต้องการแล้ว
เรามารู้จักเจ้า drop checker ตัวนี้กันให้ดีขึ้นดีกว่า ว่าจะใช้มันยังไงให้คุ้มค่าตัวและแม่นยำมากขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ละลายได้ง่ายในน้ำ ลองนึกถึงเรามีขวดปิดฝาใส่น้ำไว้ครึ่งนึง และมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในอากาศในขวดนั้น คาร์บอนไดออกไซด์จะค่อยๆละลายกลับไปกลับมาระหว่างน้ำและอากาศจนเข้าสู่สภาวะสมดุล สมมติว่า ในน้ำค่าความเข้มข้นเท่ากับ x ppm และในอากาศเท่ากับ y ppm
เมื่อเราเอาขวดใส่น้ำเล็กๆอีกขวดมาเชื่อมต่อท่ออากาศเข้าด้วยกัน ไม่นานคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศก็จะละลายลงไปในน้ำนั้นจนเข้าสู่สมดุลเช่นกัน
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำทั้งสองจะมีค่าเท่ากันคือ x และค่าในอากาศก็คือ y (เนื่องจากความแตกต่างของปริมาณน้ำในตู้กับใน checker ต่างกันมาก ค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่สมดุลจึงถือได้ว่าไม่เปลี่ยนแปลง)
ระยะเวลาที่จะเข้าสู่สมดุลย์
จากตารางเทียบ pH/KH ที่เราใช้หาค่าของ CO2 ที่เหมาะสมนั้นเป็นค่าที่เราใช้ดูคร่าวๆซึ่งถ้าจะแม่นยำจริงๆ ต้องไม่มีไอออนอื่นๆมารบกวนการวัดนอกจาก คาร์บอนไดออกไซด์และไบคาร์บอเนตไอออน
แต่น้ำในตู้ไม่ได้มีแค่คาร์บอเนตกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้ง Humic acid จากขอนไม้หรือ blackwater ที่เติมเข้าไป phosphate ในน้ำก็มีผลต่อ pH ทั้งนั้น ทำให้ค่าที่วัดได้อาจจะผิดเพี้ยนไปได้สบายๆ
ถ้าเราสามารถจะกำหนดค่า KH ให้คงที่ได้การที่เรามี pH เป็นตัวแปรเราก็สามารถจะวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำได้แม่นยำขึ้น
ปริมาณ CO2 ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 20-40 ppm ค่ากลางๆที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30 ppm ซึ่งถ้าเราไปดูตาราง pH/KH จะเห็นว่าค่าประมาณ 30 ppm ที่ KH เท่ากับ 4 ค่าของ pHที่วัดได้จะอยู่ที่ 6.6
Bromthymol blue เป็น pH indicator ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีในช่วง pH 6-8 ที่อ่านค่าได้ง่าย ที่pH 6.6 สีจะเป็นสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อ pH สูงกว่า 7.6 ขึ้นและเป็นเหลืองเมื่อpH ต่ำกว่า 6
เวลาเราซื้อ drop checker มาในคู่มือส่วนใหญ่จะบอกแค่ให้เติมน้ำลงไปเล็กน้อยหยดน้ำยาลงไปแล้วก็เอาไปคว่ำในตู้ น้ำที่ว่านี้จะเป็นน้ำประปา น้ำกลั่น หรือน้ำก๊อก ค่าที่อ่านได้ย่อมแตกต่างกันดังที่อธิบายมาข้างต้น
น้ำที่เหมาะสมที่สุดที่จะเอามาผสมใน drop checker จึงควรเป็นน้ำที่มีค่า KH 4 ที่ไม่มีไอออนอื่นใดเจือปน
การเตรียมน้ำ KH 4 สามารถทำได้สองวิธี
1. ถ้ามีเครื่องชั่งสาร ชั่ง NaHCO3 (เบคกิ้งโซดา) 6 กรัม ผสมในน้ำกลั่นหรือน้ำ DI 1000 cc
น้ำที่ได้จะมีค่า KH 200
ตวงน้ำที่ได้ 10 cc + น้ำกลั่น 490 cc เราก็จะได้น้ำ ที่มีค่า KH 4 ไว้เติมใน checker แล้ว เก็บน้ำนี้ไว้ในขวดสะอาดปิดฝาป้องกันการระเหยไว้ใช้ได้
2. ถ้าไม่มีเครื่องชั่ง ค่อยๆผสม baking soda ทีละน้อยลงในน้ำกลั่นแล้วใช้ KH test kit วัดจนได้ค่าเท่ากับ 4
(ตอนนี้สามารถหาซื้อน้ำ KH4 ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไม้น้ำทั่วไปครับ มีหลายยี่ห้ออยู่ / บัง)
วิธีการใช้งาน
คราวนี้ก็ถึงเวลาเอามาประกอบร่าง เอาน้ำที่เตรียมได้เล็กน้อยล้างใน checker เสียก่อนแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อยตามที่กำหนด หยดน้ำยา indicator ลงไปจนให้สีเข้มที่อ่านได้ชัดเจนแต่ไม่มากเกินจนดูสีได้ยาก
คว่ำ checker ลงไปในน้ำให้มีช่องอากาศคั่นระหว่างน้ำในตู้และน้ำใน checker ระบบจะเข้าสู่สมดุลใน 2-3 ชม สีเขียวพอดีๆจะแสดงถึงค่า CO2 ประมาณ 25-40 ppm ถ้า CO2 มีมากเกิน 50 ppm จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และถ้าน้อยกว่า 20 จะออกสีฟ้า
คราวนี้เราก็จะใช้ประโยชน์จากเจ้า drop checker อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆราคาไม่ค่อยจะถูกนักชิ้นนี้ได้อย่างคุ้มค่าและแม่นยำขึ้นแล้วนะครับ
Tips
เจ้า drop checker ถึงจะมีข้อดีมากมายแต่กว่ามันจะเปลี่ยนสีก็ต้องกินเวลาหลายชั่วโมงอยู่
มีปัจจัยหลายๆอย่างที่เป็นข้อพิจารณาเวลาเราจะเลือกซื้อ checker ที่ช่วยให้การเปลี่ยนสีเร็วขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้นะครับ
1. พื้นที่สัมผัสของผิวน้ำใน checker ผิวน้ำตรงปาก checker ที่สัมผัสกับน้ำในตู้ ควรจะมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ยิ่งมากการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งเร็ว อย่าสมมติ checker ของ ADA ที่เป็นกระเปาะแก้ว เวลาเราเติมน้ำ+น้ำยาลงไปควรจะเติมแค่ประมาณ ½ ของกระเปาะเพื่อให้ผิวน้ำใน
Checker อยู่ตรงเส้นรอบวงที่กว้างที่สุดของทรงกลมพอดี ทำให้ได้พื้นที่สัมผัสสูงสุดส่วนตรงผิวน้ำก็พยายามกักอากาศให้ได้ตรงจุดที่กว้างพอ
2. ปริมาณน้ำในตัววัด ควรจะมีน้อยที่สุดเท่าที่จะอ่านค่าได้ชัดเจน เพราะยิ่งน้อยการเปลี่ยนแปลงก็จะเร็วยิ่งขึ้นครับ
เจ้าเครื่องมือชิ้นเล็กๆชิ้นนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมา
Drop checker
ดูหน้าตามันก็เป็นกระเปาะใส่น้ำยาสีๆที่ไม่น่าจะมีอะไรยากถึงกับต้องเอามาเขียนเป็นบทความ
แค่เอาน้ำใส่ หยดๆมันลงไป คว่ำลงในตู้ แล้วก็ดูสี ว่าเขียวพอดีหรือยัง
แต่แน่ใจแล้วหรือว่าค่าที่เราเห็นมันแปลว่า CO2 พอดีๆอย่างที่ต้องการแล้ว
เรามารู้จักเจ้า drop checker ตัวนี้กันให้ดีขึ้นดีกว่า ว่าจะใช้มันยังไงให้คุ้มค่าตัวและแม่นยำมากขึ้น
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ละลายได้ง่ายในน้ำ ลองนึกถึงเรามีขวดปิดฝาใส่น้ำไว้ครึ่งนึง และมีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในอากาศในขวดนั้น คาร์บอนไดออกไซด์จะค่อยๆละลายกลับไปกลับมาระหว่างน้ำและอากาศจนเข้าสู่สภาวะสมดุล สมมติว่า ในน้ำค่าความเข้มข้นเท่ากับ x ppm และในอากาศเท่ากับ y ppm
เมื่อเราเอาขวดใส่น้ำเล็กๆอีกขวดมาเชื่อมต่อท่ออากาศเข้าด้วยกัน ไม่นานคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศก็จะละลายลงไปในน้ำนั้นจนเข้าสู่สมดุลเช่นกัน
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำทั้งสองจะมีค่าเท่ากันคือ x และค่าในอากาศก็คือ y (เนื่องจากความแตกต่างของปริมาณน้ำในตู้กับใน checker ต่างกันมาก ค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่สมดุลจึงถือได้ว่าไม่เปลี่ยนแปลง)
ระยะเวลาที่จะเข้าสู่สมดุลย์
จากตารางเทียบ pH/KH ที่เราใช้หาค่าของ CO2 ที่เหมาะสมนั้นเป็นค่าที่เราใช้ดูคร่าวๆซึ่งถ้าจะแม่นยำจริงๆ ต้องไม่มีไอออนอื่นๆมารบกวนการวัดนอกจาก คาร์บอนไดออกไซด์และไบคาร์บอเนตไอออน
แต่น้ำในตู้ไม่ได้มีแค่คาร์บอเนตกับคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้ง Humic acid จากขอนไม้หรือ blackwater ที่เติมเข้าไป phosphate ในน้ำก็มีผลต่อ pH ทั้งนั้น ทำให้ค่าที่วัดได้อาจจะผิดเพี้ยนไปได้สบายๆ
ถ้าเราสามารถจะกำหนดค่า KH ให้คงที่ได้การที่เรามี pH เป็นตัวแปรเราก็สามารถจะวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำได้แม่นยำขึ้น
ปริมาณ CO2 ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 20-40 ppm ค่ากลางๆที่เหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 30 ppm ซึ่งถ้าเราไปดูตาราง pH/KH จะเห็นว่าค่าประมาณ 30 ppm ที่ KH เท่ากับ 4 ค่าของ pHที่วัดได้จะอยู่ที่ 6.6
Bromthymol blue เป็น pH indicator ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีในช่วง pH 6-8 ที่อ่านค่าได้ง่าย ที่pH 6.6 สีจะเป็นสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อ pH สูงกว่า 7.6 ขึ้นและเป็นเหลืองเมื่อpH ต่ำกว่า 6
เวลาเราซื้อ drop checker มาในคู่มือส่วนใหญ่จะบอกแค่ให้เติมน้ำลงไปเล็กน้อยหยดน้ำยาลงไปแล้วก็เอาไปคว่ำในตู้ น้ำที่ว่านี้จะเป็นน้ำประปา น้ำกลั่น หรือน้ำก๊อก ค่าที่อ่านได้ย่อมแตกต่างกันดังที่อธิบายมาข้างต้น
น้ำที่เหมาะสมที่สุดที่จะเอามาผสมใน drop checker จึงควรเป็นน้ำที่มีค่า KH 4 ที่ไม่มีไอออนอื่นใดเจือปน
การเตรียมน้ำ KH 4 สามารถทำได้สองวิธี
1. ถ้ามีเครื่องชั่งสาร ชั่ง NaHCO3 (เบคกิ้งโซดา) 6 กรัม ผสมในน้ำกลั่นหรือน้ำ DI 1000 cc
น้ำที่ได้จะมีค่า KH 200
ตวงน้ำที่ได้ 10 cc + น้ำกลั่น 490 cc เราก็จะได้น้ำ ที่มีค่า KH 4 ไว้เติมใน checker แล้ว เก็บน้ำนี้ไว้ในขวดสะอาดปิดฝาป้องกันการระเหยไว้ใช้ได้
2. ถ้าไม่มีเครื่องชั่ง ค่อยๆผสม baking soda ทีละน้อยลงในน้ำกลั่นแล้วใช้ KH test kit วัดจนได้ค่าเท่ากับ 4
(ตอนนี้สามารถหาซื้อน้ำ KH4 ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไม้น้ำทั่วไปครับ มีหลายยี่ห้ออยู่ / บัง)
วิธีการใช้งาน
คราวนี้ก็ถึงเวลาเอามาประกอบร่าง เอาน้ำที่เตรียมได้เล็กน้อยล้างใน checker เสียก่อนแล้วเติมน้ำลงไปเล็กน้อยตามที่กำหนด หยดน้ำยา indicator ลงไปจนให้สีเข้มที่อ่านได้ชัดเจนแต่ไม่มากเกินจนดูสีได้ยาก
คว่ำ checker ลงไปในน้ำให้มีช่องอากาศคั่นระหว่างน้ำในตู้และน้ำใน checker ระบบจะเข้าสู่สมดุลใน 2-3 ชม สีเขียวพอดีๆจะแสดงถึงค่า CO2 ประมาณ 25-40 ppm ถ้า CO2 มีมากเกิน 50 ppm จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และถ้าน้อยกว่า 20 จะออกสีฟ้า
คราวนี้เราก็จะใช้ประโยชน์จากเจ้า drop checker อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆราคาไม่ค่อยจะถูกนักชิ้นนี้ได้อย่างคุ้มค่าและแม่นยำขึ้นแล้วนะครับ
Tips
เจ้า drop checker ถึงจะมีข้อดีมากมายแต่กว่ามันจะเปลี่ยนสีก็ต้องกินเวลาหลายชั่วโมงอยู่
มีปัจจัยหลายๆอย่างที่เป็นข้อพิจารณาเวลาเราจะเลือกซื้อ checker ที่ช่วยให้การเปลี่ยนสีเร็วขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้นะครับ
1. พื้นที่สัมผัสของผิวน้ำใน checker ผิวน้ำตรงปาก checker ที่สัมผัสกับน้ำในตู้ ควรจะมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ยิ่งมากการเปลี่ยนแปลงจะยิ่งเร็ว อย่าสมมติ checker ของ ADA ที่เป็นกระเปาะแก้ว เวลาเราเติมน้ำ+น้ำยาลงไปควรจะเติมแค่ประมาณ ½ ของกระเปาะเพื่อให้ผิวน้ำใน
Checker อยู่ตรงเส้นรอบวงที่กว้างที่สุดของทรงกลมพอดี ทำให้ได้พื้นที่สัมผัสสูงสุดส่วนตรงผิวน้ำก็พยายามกักอากาศให้ได้ตรงจุดที่กว้างพอ
2. ปริมาณน้ำในตัววัด ควรจะมีน้อยที่สุดเท่าที่จะอ่านค่าได้ชัดเจน เพราะยิ่งน้อยการเปลี่ยนแปลงก็จะเร็วยิ่งขึ้นครับ