วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567 [04:39:08]

Pangio myersi

ปลาปล้องอ้อยตะวันออก,ปลาคูลี่ยัก, Giant Kuhli loach,Myer loach
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangio myersi
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) Giant Kuhli loach,Myer loach
ชื่อสามัญ (ไทย) ปลาปล้องอ้อยตะวันออก,ปลาคูลี่ยัก
ขนาดโตเต็มที่ 7-12 ซม.
อุณหภูมิ 21-28 °C
อัตราการเจริญเติบโต
ช้า
การอยู่ร่วมกัน อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตได้ทุกชนิด
ความยาก-ง่าย
ปานกลาง
บันทึกเมื่อ: 12/09/2563 โดย น้องคูลี่ แก้ไขล่าสุด: 15/09/2563 โดย น้องคูลี่
รายละเอียดอื่นๆ
รายละเอียด
จัดเป็นปลาตระกูลปลาหมูแท้ อยู่ในอันดับ Pangio มีลักษณะลําตัวยาวคล้ายปลาไหล บริเวณข้างลําตัวมีแถบสีนํ้าตาลพาดตั้งแต่บริเวณหลังจนถึงเกือบท้อง ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ดวงตากลมโตสีดํา ลําตัวยาวไม่เกิน12เซนติเมตร
มีอายุขัยได้กว่า10ปี

พฤติกรรม
เป็นสัตว์กินซากหรือสัตว์นํ้าขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยขี้อายและตื่นตกใจง่าย หากินกลางคืน

การดูแล
ปลาปล้องอ้อยตะวันออกจัดว่าเลี้ยงง่ายถึงยากปานกลาง ทั้งนี้เพราะปลาปล้องอ้อยส่วนใหญ่เป็นปลาจับ การเลือกร้านและเลือกตัวปลาจึงสําคัญมาก บางตัวไม่สามารถปรับตัวในที่เลี้ยง แและตายภายในระยะเวลาไม่นาน ในขณะเดียวกัน บางตัวสามารถปรับตัวและอยู่ในระบบปิดได้จนสิ้นอายุขัย ดังนั้น ควรจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุดเท่าที่จะสามารถ
กระทําได้

ปลาปล้องอ้อยแม้ว่ามีขนาดเล็ก แต่เป็นปลาที่ต้องการพื้นที่ ควรเลี้ยงในตู้24นิ้วขึ้นไป และเลี้ยงเป็นฝูงอย่างน้อย3-6ตัว เพื่อลดความหวาดระแวงของปลา หากเลี้ยงเกิน6ตัวขึ้นไปก็ควรจะขยายขนาดตู้ขึ้นไปอีก ข้อสําคัญคือนํ้าต้องสะอาดและระบบกรองดี ทางที่ดีควรใช้เป็นกรองที่ขนาดเกินตู้ เพราะปลาคูลี่บางตัวอ่อนไหวต่อคุณภาพนํ้า

การตกแต่งตู้ควรตกแต่งให้รกและมีที่ซ่อน ถ้าเป็นไปได้ควรปูพื้นตู้ด้วยทรายหรือดินปลูกไม้นํ้าเพื่อให้ปลาได้ขุดคุ้ยหาอาหาร

สําหรับอาหารการกินในตู้ ปลาคูลี่กินอะไรก็ได้ที่ตกถึงพื้น เน้นความหลากหลายของอาหารเป็นหลัก ให้ระมัดระวังเรื่องขาดแคลนเพราะบางครั้งโดนปลาชนิดอื่นแย่งอาหาร

ข้อควรระวังสําคัญคือ ปลาคูลี่ไม่มีเกล็ด จึงง่ายต่อการติดเชื้อและแพ้สารเคมี ที่สําคัญ สามารถโดนของตกแต่งที่มีคมในตู้บาดได้
โรคที่มักพบได้แก่
โรคจุดขาว ปลาจะมีจุดขาวๆขึ้นตามลําตัว โดยยาโรคจุดขาวที่เป็นอันตรายต่อปลาคูลี่น้อยที่สุดคือ ยารอฟ
โรคตัวลีบ เกิดจากประสิต ปลาจะมีอาการผ่ายผอมผิดปกติ

อีกข้อที่สําคัญคือ ปลาคูลี่เป็นปลาที่ค่อนข้างขี้เล่นและขี้สงสัย(เป็นพฤติกรรมการหาอาหาร) บางครั้งอาจเลื้อยเข้าไปนอนในกรอง หรือเลื้อยออกมานอนนอกตู้ได้ การมีที่ปิดรอยต่างๆจึงสําคัญมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.seriouslyfish.com/species/pangio-myersi/
และประสบการณ์
c1ub.net Aquapedia database v0.8b Licensed under
(CC)BY-SA
with attribution required.