วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2567 [03:15:08]

การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น

การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น (1)
 ตู้ทะเล ไม่ใช่สิ่งที่ง่าย หรือยากเกินความเข้าใจ มีหลักสำคัญอยู่เพียงไม่กี่อย่าง ประกอบด้วย
 - ความรัก
 - ความเข้าใจ
 - การดูแลเอาใจใส่
 เมื่อทั้งสามองค์ประกอบมารวมกัน มันเป็นแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดการศึกษาและค้นคว้า หาเหตุและผล มาเป็นองค์ประกอบในการเลี้ยง
 .....
 และในการเลี้ยงตู้ทะเลหนึ่งตู้นั้น ก็มีปัจจัยหลายๆอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบ แต่ความเหมาะสมนั้น อยู่ที่คำถามว่า "เราต้องการเลี้ยงอะไรบ้าง" และ "ตู้ของเรานั้นพร้อมหรือไม่"
 .....
 เมื่อแรกเริ่มนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นจากปลาการ์ตูนเป็นอันดับแรก แต่หลังจากนั้นก็มักจะมีอะไรเพิ่มเสริมมาตลอดเวลา จนกระทั่งหยุดไม่ได้ อย่างที่พูดกันโดยเสมอว่า "ถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มสักที"
 .........
 สิ่งสำคัญนั้นก็คือ เราต้องเรียนรู้ก่อนว่าสิ่งที่เราจะนำมาเลี้ยงนั้น มีความต้องการอย่างไร การลดการสูญเสียที่ดีอย่างหนึ่งนั้นก็คือการเตรียมตู้ให้พร้อม ซึ่งการเตรียมตู้ให้พร้อมนั้น อาจจะต้องมีการลงทุน แต่คำว่าลงทุนนันไม่จำเป็นต้องราคาสูงเสมอไป ทุนนั้นประกอบไปด้วย เงิน เวลา ที่แต่ละคนจะต้องจัดสรรให้เหมาะสม
 ......
 วิธีการก็เช่นเดียวกัน เลือกให้เหมาะสมกับตัวเราเอง และต้องรู้จักสังเกต หลายๆวิธีการก็มีข้อดีและข้อเสีย แต่เราก็สามารถที่จะปรับหรือประยุกต์ได้ อาจจะใช้หลายๆวิธีรวมกันก็ได้ เพราะบางตู้อาจจะเหมาะกับวิธีหนึ่ง แต่อีกวิธีอาจจะไม่ได้ผลก็เป็นได้.....หรือ วิธีการนั้นอาจจะได้ผล แต่ต้องใช้เวลา เมื่อเราไม่รอจะบอกว่าวิธีนั้นไม่ได้ผล ก็กะไรอยู่ ..... สำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้น อยู่ได้ เติบโตได้นานๆ
 ........และต้องสวยงามในระยะยาว.....
 .......
 เฉกเช่นเดียวกับตัวเรา เราก็เลือกที่จะอยู่ในที่ๆสบายๆ อยู่แล้วมีความสุข สิ่งมีชีวิตในตู้ก็เช่นเดียวกัน บางสิ่งเราคิดว่าดีแต่สำหรับพวกมันนั้นอาจจะไม่ใช่ก็เป็นได้.....คำตอบก็เลยกลับไปที่หลักสามอย่าง นั่นก็คือ "ความรัก ความเข้าใจ และการดูแลเอาใจใส่"
 ........
 การทดลอง วิธีการต่างๆ มีให้ศึกษาทั้งเวปไทย เวปนอก ถ้ามีเวลาลองศึกษากันได้ วิวัฒนาการในการเลี้ยงตู้ทะเล สิ่งต่างๆส่วนมากมักจะเป็นหัวข้อๆ .....นักเลี้ยงที่ดีก็ต้องรู้จักประยุกต์หัวข้อต่างๆเหล่านั้นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับตู้ของตนเอง




 
ขอความกรุณาปิด Ad-Blocker เวลาเปิดเว็บนี้ด้วยครับ
เว็บไซต์ของเรามีรายได้เพียงทางเดียวคือรายได้จากการโฆษณา และหนึ่งในช่องทางโฆษณาของเราคือ Google adsense หากคุณใช้ โปรแกรมหรือตัวเสริมที่บล็อกโฆษณาประเภท Ad-Blocker กับเว็บของเรา ก็จะทำให้ทางเว็บขาดรายได้ส่วนนี้ไป โฆษณาที่ทางเว็บเลือกก็เป็นแบบที่ไม่รบกวนผู้ใช้งานมากนักอยู่แล้ว ไม่ชอบก็เลื่อนผ่านๆไปได้ครับ ดังนั้นขอความกรุณาใส่ c1ub.net ไว้ใน whitelist ของโปรแกรมหรือปิดการทำงานของโปรแกรมบล็อกโฆษณาด้วยครับ (หากคุณเห็นข้อความนี้โดยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม Ad-Blocker ใดๆ รบกวนจิ้ม --> ส่ง PM บอกแอดมิน ทีครับ)
การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น (2)
ตู้ปลา....
ในที่นี้ก็จะหมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นตู้กระจก อ่างไฟเบอร์ บ่อปูนหรือสิ่งต่างๆที่นำมาใช้ในการเลี้ยง
ความเหมาะสมนั้นอยู่ที่ไหน และสถานที่ที่นั้นว่าควรจะจัดวางระบบเช่นไร และความยากง่ายในการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ต่างๆ การรับน้ำหนัก และที่ตั้งต้องไม่มีการทรุดตัว
.........
ในการออกแบบนั้นหากแต่มิใช่การเลือกเพียงแค่ภาชนะที่ใส่เท่านั้น แต่ยังต้องมีอย่างอื่นเป็นองค์ประกอบเช่น ขาตั้ง ระบบกรอง การเดินระบบไฟ ระบบทำความเย็น ระบบแสงสว่าง ซึ่งคนเลี้ยงก็ต้องศึกษาให้ดีว่าอุปกรณ์ที่ใช้มีรูปแบบและขนาดใดบ้าง การออกแบบเผื่อไว้เบื้องต้นแต่แรกนั้นดีกว่าการที่ต้องมาแก้ระบบในภายหลัง เพราะการออกแบบที่ดีก็จะช่วยประหยัดได้ในหลายๆอย่าง
.............
ความแข็งแรงของตู้ปลา ให้ดูความเหมาะสมให้เข้ากับขนาด การรับแรงดันน้ำ แรงกระแทก ซึ่งถ้าเป็นตู้ก็อาจจะต้องมีการเสริมคาน เสา เพื่อความแข็งแรง หากเป็นบ่อปูนก็อาจจะต้องเสริมเหล็ก หรืออ่างไฟเบอร์หรืออ่างพลาสติกก็ต้องเสริมกรอบด้านนอก
...........
ขาตั้ง โดยส่วนมากก็จะแนะนำให้ใช้ขาไม้ เพราะไม่เป็นสนิม แต่ต้องเก็บรายละเอียดให้ดีเพราะน๊อตก็จะยังคงเป็นสนิม และขาไม้หากโโนน้ำมากๆก็ผุได้เช่นกัน ถ้าถามว่าขาเหล็กใช้ได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้ แต่ก็ต้องเชื่อมและทาสีกันสนิมให้ดีๆ จะมีเสามีคานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดที่ต้องใช้รับน้ำหนัก จะก่อปูนก่ออิฐก็ได้....
.......
สรุปง่ายๆคือ จะตั้งตู้อย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เลี้ยง แต่ขอให้เน้นที่ความแข็งแรงและความปลอดภัยเป็นหลัก......ส่วนเรื่องอื่นๆนั้นมักจะเป็นองค์ประกอบ เช่นจะขยับขยาย จะย้ายที่หรือไม่ ถ้าเป็นตู้ปลาหรืออย่างอื่นก็ไม่ยาก แต่หากก่ออิฐก่อปูนแล้วการเคลื่อนย้ายก็คงจะลำบาก ที่สำคัญอย่าตั้งตู้เพียงแค่คำว่าแค่นี้ก็ได้ โดยเฉพาะตู้กระจก เพราะเมื่อแตกขึ้นมาแล้วจะเป็นอันตรายกับตนเอง








การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น (3)
หิน.....
หินมีหลายชนิด แต่หินส่วนใหญ่ที่ใช้ในตู้ทะเล ที่เราเรียกว่าหินเป็น(หรือหินตาย) ก็คือซากปะการัง......
ซากของปะการังแต่ละชนิดก็มีขนาดรูพรุนที่ต่างกัน แต่คุณสมบัติที่นำมาใช้ประการหลักคือเพื่อความสวยงาม และสองก็คือการเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ...
หินเป็นก็เหมือนฟองน้ำแข็งๆ ที่เมื่อหยดน้ำลงไปในปริมาณที่มากพอส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะแผ่กระจายไปได้ทั่วทั้งก้อน.....เพราะรูพรุนในเนื้อของปะการังนั้นเชื่อมผโยงถึงกันหมด
......
หินหรือซากปะการังที่นำมาใช้ ต้องสะอาด มืใช่สะอาดเพียงภายนอก แต่ภายในก็ต้องสะอาดด้วยเช่นกัน แต่การทำความสะอาดภายในนั้นยากและใช้เวลา
.....
คำว่าหินเป็น คือหินที่มีชีวิต พูดว่ายๆคือหินที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ด้านใน หินเป็นจึงเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ดังนั้นก่อนนำมาใช้ เราก็จะต้องเตรียมน้ำให้พร้อม มิเช่นนั้นสิ่งมีชีวิตในหินจะตายกลายเป็นค่าของเสียที่ค่อยๆละลายออกมาในระบบเสียเอง การเลือกซื้อหินเป็นก็ต้องเลือกที่สะอาดๆ ถ้าสกปรกมาจะนำมาขัดล้างภายนอกได้ หินเป็นจากธรรมชาติดีที่สุด แต่ก็อันตรายที่สุดเช่นกันหากมีสิ่งมีชีวิตไม่พึงประสงค์ติดมา
......
...
หินตาย ก็คือหินที่ผ่านกระบวนการต่างๆหลักๆก็คือการนำมาตากแห้ง หรือแช่น้ำจืด เพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตไม่พึงประสงค์ แต่เพียงแค่นั้นยังอาจจะไม่เพียงพอ....เพราะของเสียต่างๆจะยังคงอยู่ในหิน โดยเฉพาะการนำหินเป็นมาตากแห้ง....ลองนึกดูว่า ถ้าเราเอากุ้งแห้ง กับกุ้งสด ไปแช่น้ำ อะไรย่อยสลายเร็วกว่า ..... หินตากแห้งก็เช่นเดียวกัน กว่าสิ่งมีชีวิตที่ตายในหินจะย่อยสลายออกมานั้นใช้เวลา และจะค่อยๆละลายออกมาในระบบเรื่อยๆ...
ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการเพื่อทำให้หินนั้นสะอาด ตามที่แต่ละคนจะดำเนินการ....จะรู้ได้อย่างไรว่าสะอาด หลักง่ายๆก็คือการดม...
การเลือกหินนั้น ก็มีหลายแบบ
- หินเป็น
- หินตาย แค่ตากแห้งหรือแช่น้ำมาเฉยๆ
- หินตาย ผ่านกระบวนการทำความสะอาด แล้วทำให้แห้งอีกที
- หินตายทำเป็น
เรื่องราคา ก็แล้วแต่งบประมาณ
........
หินเป็นเทียม ก็คือการสร้างหินขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนหินปะการังจากธรรมชาติ แค่ความมีรูพรุนความเชื่อมโยง น้ำหนัก อาจจะสู้หินปะการังแท้ๆไม่ได้
.....
และตู้ที่มีหินเป็นนั้น ถ้าสังเกตที่ตู้ก็จะมีคะกอนเกิดขึ้นตลอดเวลา ตะกอนนั้นเกิดจากการกร่อนของหิน หรือสอง เกิดจากการที่สิ่งมีชีวิตเล็กๆขุดออกมา การขุดออกมานั้นก็คือการทำความสะอาดโพรงหรือช่องว่างของหินให้มีการแลกเปลี่ยนน้ำ อากาศ แบคทีเรียภายในหิน
หากสิ่งมีชีวิตเล็กๆนี้มีไม่มากพอ หินก็จะตัน แทนที่จะเกิดประโยชน์ ในระยะยาวอาจจะเกิดโทษ เพราะเราต้องไม่ลืมว่าเมื่อหินมีลักษณะที่เหมือนฟองน้ำ นั่นก็หมายความว่า มันก็พร้อมที่จะเป็นที่เก็บกักของเสียเช่นเดียวกัน...
......
และเมื่อหินปะการังมีทั้งข้อดีและเสีย ก็จึงมีหลายๆคนหันไปเลือกใช้วัสดุอย่างอื่นมาจัดตู้แทน เช่น เรซิ่น เมื่อถามว่าแล้วแบคทีเรียจะเลี้ยงที่ไหน คำตอบคือทุกวันนี้เรามีอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีการต่างๆเพื่อชดเชยระบบกำจัดของเสีย มีสกิมเมอร์ มีตัวรูมูฟต่างๆ มีการสร้างที่อยู่แยคทีเรียสำเร็จรูป รวมถึงการเติมแบคทีเรีย หรือสารกระคุ้นการเติบโตของแบคทีเรียในระบบ
......
...
ดังนั้นไม่ว่าจะเลือกใช้หินแท้ หินเทียม เรซิ่นหรือวัสดุอื่นๆ เราก็มีตัวเลือกต่างๆในการปรับใช้ให้เหมาะสม









แนะนำ คนมาหาใหม่ควรอ่าน สักรอบ สองรอบครับ
การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น(4)
น้ำ.....
น้ำที่ใช้ในตู้ทะเลนั้นมีที่มาหลักๆอยู่ 2 ประเภทคือ น้ำจากธรรมชาติ และน้ำทะเลเทียม
>>>
น้ำทะเลธรรมชาติ
เป็นน้ำทะเลที่มีแร่ธาตุต่างๆครบถ้วน รวมถึงอาจจะมีสิ่งมีชีวิตเล็กๆติดมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย แพลงตอนต่างๆ น้ำทะเลเป็นน้ำที่มีชีวิต และด้วยความเป็นน้ำที่มาจากธรรมชาติ จึงไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ ในการเลือกใช้น้ำทะเล โดยปกติก็มีหลายแหล่งที่นำมา หลักๆก็จะใช้น้ำจากช่องแสมสาร ปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำทะเลก็มีทั้งในเรื่องของฤดูกาล ของเสียต่างๆ โลหะหนักที่ปนเปื่อนมาในระหว่างที่ดูดน้ำจากทะเลขึ้นมา
.........
ตัวอย่างเช่นในเรื่องของฤดูกาล หน้าฝน น้ำจากแผ่นดินจะไหลลงสู่ทะเลค่อนข้างมาก และในน้ำจากแผ่นดินก็จะมีสารเคมีต่างๆ มีของเสียที่ไหลลงไปมากจนป่าโกงกาง หญ้าทะเลดูดซับไว้ไม่ทันก็จะทำให้น้ำที่ดูดมาใช้ในช่วงนั้นๆคุณภาพไม่ดี
>>>
นอกจากนี้ก็อาจจะมีเรื่องของขยะ คราบน้ำมัน หรือสาหร่ายต่างๆที่ติดมา(ช่วงที่เกิดภาวะสาหร่ายบรูม)......เป็นต้น
.........
ขั้นตอนก่อนจะนำน้ำทะเลมาใช้ บางแห่งก็ดูดขึ้นมาแล้วส่งเลย บางที่ก็จะนำมาพักไว้ก่อน หรือในเชิงธุรกิจก็จะนำมาใส่ขวดขายกันก็มี(แต่ยังสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตข้างในไม่ตายหมดหรือ)
........
น้ำทะเลเทียม
น้ำทะเลเทียมก็คือการนำน้ำจืดมาผสมเข้ากับเกลือวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็มีหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ มีหลายเกรด หลายคุณภาพ การเลือกใช้นั้นก็เลือกให้เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตที่เราเลี้ยง น้ำทะเลเทียมก็คือน้ำที่ตาย
แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ไปกว่าการเลือกใช้เกลือก็คือน้ำที่นำมาผสม โดยส่วนใหญ่เราก็จะแนะนำให้ใช้น้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ RO เพราะได้คุณภาพ เพราะแหล่งน้ำที่นำมาใช้ เช่นน้ำประปา ก็อาจจะมาจากน้ำบาดาล หรือแหล่งน้ำอื่นๆ ในบางช่วงก็อาจจะมีการซ่อมท่อ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ค่าต่างๆในน้ำนั้นไม่คงที่ มีค่าของเสียติดมา ดังนั้นการใช้เครื่องกรอง RO ก็จะช่วยลดปัญหาจากตรงนี้ได้ แต่หากไม่มีจริงๆก็แนะนำให้ใช้น้ำที่ผ่านการกรองจะดีกว่าการใช้น้ำประปาจากก๊อก แม้ว่าจะมีคุณภาพที่ใช้ได้แต่ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีบางช่วงที่ไม่ดีมาก็ได้
และในเมื่อน้ำทะเลเทียมเป็นน้ำที่ตายในการรันระบบนั้นจึงจำเป็นต้องมีการชดเชยในส่วนของสิ่งมีชีวิตเล็กๆเข้าไปเพื่อให้ระบบนั้นคงที่ นั่นคือเมื่อรันน้ำไปสักพักให้การละลายหรือค่าต่างๆคงที่แล้ว อาจจะนำน้ำทะเลธรรมชาติที่สะอาดๆมาใส่สัก 10% เพื่อให้มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆในระบบเกิดขึ้น
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือเมื่อเราเลือกที่จะเปลี่ยนยี่ห้อเกลือ ต้องอย่าลืมว่าเกลือแต่ละยี่ห้อนั้นมีสูตร มีสมดุลของแต่ละยี่ห้อ การนำมาผสมรวมกันอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ดังนั้นในการเปลี่ยนควรจะเริ่มเปลี่ยนชดเชยแต่น้อยหรือ 100% ไปเลย
>>>>>>>
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้น้ำทะเลธรรมชาติ หรือน้ำทะเลเทียมก็ต้องถ่ายนำอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน การถ่ายน้ำก็คือการดูดเอาของเสียออกจากตู้ ดูดแต่น้ำเฉยๆคงจะกะไรอยู่ ก็ควรดูดเอาตะกอนออกมาทิ้งด้วย และการถ่ายน้ำก็ยังเป็นการชดเชยค่าเคมีต่างๆในน้ำไม่ให้ขาดไปจากระบบ

สอบถามหน่อนนะครับ
จะทำยังไงให้หินตายมีสีม่วงๆครับ
พอดีผมบำบัดหินมา2เดือนรันน้ำในตู้ ใส่แบคฯแล้ว แต่ไม่เห็นมีสีม่วงๆบ้างอะครับ
ก็ต้องมีเชื้อก่อนครับ อีกอย่างคลอรัลไลน์ก็คือสาหร่ายหินปูน มีมากๆก็ไม่ดี กำจัดยาก
แนะนำให้ใช้ตัว KH Coralline Gro ของ Red Sea เพื่อสร้าง Coralline Algea แต่ในช่วงที่ใช้ก็ต้องวัดค่า KH ให้อยู่ใน range มาตรฐานด้วย
การเลี้ยงตู้ทะเลเบื้องต้น (5)
ระบบหมุนเวียนน้ำ คลื่น กระแสน้ำ
ทั้งสามอย่างนั้นไม่เหมือนกัน

ในการจัดระบบหมุนเวียนน้ำ ในความหมายของตัวผมเองนั้นคือการหมุนเวียนน้ำเข้าสู่ระบบบำบัด เพื่อที่จะกำจัดของเสียออกจากระบบให้ได้เร็ว....นั่นหมายความว่าความสัมพันธ์ระหว่างความแรงของปั๊ม ท่อน้ำลง ทิศทางการไหลของน้ำ ซึ่งสัมพันธ์กับคลื่นและกระแสน้ำด้วยเช่นกัน
ในทะเลมีคลื่น และคลื่นก็แยกกับกระแสน้ำชัดเจน
คลื่นคือการโยกเพื่อสะบัดให้สิ่งสกปรก ของเสีย รวมถึงพัดพาเมือกสิ่งต่างๆออกจากตัวปะการัง....
กระแสน้ำคือการกวาดเอาสิ่งต่างๆนั้นทิ้งไปเข้าสู่ระบบบำบัด หรือเพื่อเป็นการพัดพาอาหารไปยังปะการัง มักจะพัดพาไปทางเดียว เมื่อก่อนนั้นไม่มีระบบเป่าๆหยุดๆ จึงพัดลู่ๆไปทางเดียว แต่สมัยนี้สามารถทำให้เป็นได้ทั้งคลื่น ทั้งกระแสน้ำ
การจัดวางคลื่นกับกระแสน้ำ ก็อยู่ที่การจัดวาง....การจัดหิน ลักษณะกรอง ....ทำอย่างไรให้พัดพาตะกอนของเสียไปยังระบบบำบัดได้เร็ว และปะการังดูพัดเป็นธรรมชาติ
เราจะเลือกสร้างกระแสน้ำโดยใช้ปั๊มหลายตัววางเหลื่อมๆกันก็ได้
จะใช้ปั๊มทำคลื่นแบบเป่าๆหยุดๆ หรือจะใช้อุปกรณ์ต่างๆที่ถูกพัฒนามาอีกหลายๆแบบ
แต่ทั้งนี้ก็กระแสน้ำในตู้ต้องทั่วถึง....และต้องไม่ไปขวางทิศทางของน้ำที่จะเข้าไปสู่ระบบบำบัด
สังเกตได้อย่างไรได้บ้าง กระแสน้ำดี ดูที่การพริ้วไหวของปะการัง
แต่การหมุนเวียนน้ำดี วัดที่ความใสของน้ำ ความสะอาดของน้ำ สีและความสดชื่นของปะการัง....