Talks > ตู้พรรณไม้น้ำ
คาร์บอนน้ำ How it works (Rev3.0 12/09/2019)
pijit:
ผมมีตุ้เลี้ยงปลาที่มีอนูเบียสอยู่นิดหน่อย เลยคิดว่าจะใส่ปุ๋ยกับคาร์บอนน้ำให้มันแต่ก็กลัวใส่แล้วพวกตะไคร่จะหายหมดตู้ทำให้ปลาสายน้ำผึ่งที่เลี้ยงไว้กินตะไคร่ไม่มีไรกิน อยากทราบว่าใส่แล้วจะมีผลให้ปลากินตะไคร่อดอาหารมั้ยครับ ผมอยากให้อนูเบียสผมโตด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
บัง:
--- อ้างจาก: pijit ที่ 20/03/2562 [11:02:08] ---ผมมีตุ้เลี้ยงปลาที่มีอนูเบียสอยู่นิดหน่อย เลยคิดว่าจะใส่ปุ๋ยกับคาร์บอนน้ำให้มันแต่ก็กลัวใส่แล้วพวกตะไคร่จะหายหมดตู้ทำให้ปลาสายน้ำผึ่งที่เลี้ยงไว้กินตะไคร่ไม่มีไรกิน อยากทราบว่าใส่แล้วจะมีผลให้ปลากินตะไคร่อดอาหารมั้ยครับ ผมอยากให้อนูเบียสผมโตด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
--- End quote ---
มันกินอาหารปลาได้ครับ
mukenjo:
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
กำลังศึกษา เรื่อง คาบอน ครับ
ขอถามว่า จริงๆแล้ว คาบอน มีหน้าที่กำจัดคะไคร่เป็นหลัก ต้นไม่โตสวยเป็นรอง หรือ ต้นไม่โตสวยมีหน้าที่เป็นหลัก กำจัดคะไคร่เป็นรอง หรือ เมื่อพืชดึงคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ได้มากขึ้นก็จะดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในน้ำได้มากขึ้นทำให้แย่งการเจริญเติบโตกับตะใคร่ได้ดี
ตัวคาบอน น้ำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลข้างขวด เพียงพอหรือไม่ เช่น ตู้12"(น้ำ8ลิตร) ต้นไม่เยอะมาก
ข้อมูลอ้างอิง
ข้อกำหนดและข้อควรระวังในการใช้งาน
1 ควรใช้ตามขนาดที่กำหนด 1 cc ต่อน้ำ 8 ลิตร ในครั้งแรก และ 1 cc ต่อน้ำ 40 ลิตรในวันถัดไป
ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่ใช่ปุ๋ยแต่เป็นแหล่งชดเชยคาร์บอนให้กับพืชน้ำแทนการให้คาร์บอนไดออกไซด์
ดังนั้นจึงควรใช้ร่วมกับการให้ปุ๋ยตามปกติของพืชน้ำด้วยเพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์
Adulvit:
ถ้าคาร์บอนน้ำที่เราใช้กันคือ Glutaraldehyde ผมว่ามันก็น่าจะเป็นความเสี่ยงกับสิ่งมีชีวิตในตู้ไม้น้ำอยู่ไม่น้อยนะครับ ต่อให้ใช้น้อยก็ตาม
มีงานวิจัยหนึ่งกล่าวถึงการก่อมะเร็งจากสาร Glutaraldehyde อยู่ครับ ซึ่งผมว่าค่อนข้างสอดคล้องกับประสบการณ์การเลี้ยงปลาของผมอยู่นะครับ
จากประสบการณ์ ผมใช้คาร์บอนน้ำของเจ้านึง ใช้ติดต่อกันเป็นปีพบว่าปลาผมหลายตัวที่เคยมีสุขภาพดีหลายตัวมีอาการเหมือนเป็นมะเร็ง คือ มีรอยด่างสีดำ ๆ ขึ้นตามเนื้อ และผอมลงเรื่อย ๆ จนตายไปอย่างช้าๆ ทีละตัว ๆ ช่วงหลังมานี้ผมก็เลยหยุดใช้ไปเลยแทบจะไม่แตะอีก ไม่แน่ใจว่าท่านอื่น ๆ เคยเจอไหม
ลิงค์อ้างอิงงานวิจัยมะเร็งจากGlutaraldehyde ตามนี้ครับ
Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR). Toxicological profile for glutaraldehyde [Internet]. 2017 [cited 2018 Oct 1]. Available from: https://www.atsdr.cdc.gov/toxprofiles/tp208.pdf.
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version