คาร์บอนไดออกไซด์จากยีสต์
คาร์บอนยีสต์ คืออะไร?
คาร์บอนไดออกไซด์จากยีสต์ หรือที่จากนี้ไปเราจะเรียกว่า คาร์บอนยีสต์ เพื่อความสะดวก เป็นวิธีการผลิตก๊าซ CO2 ด้วยเชื้อยีสต์
ที่เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท Fungi ชนิดหนึ่ง ใช้กันอย่างแพร่หลายในการหมักเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์อื่นๆ การผลิตคาร์บอนไดออกไซด์วิธีนี้เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ผู้เลี้ยงไม้น้ำนิยมใช้กัน สามารถทำได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ เพียงแค่ใช้เชื้อยีสต์หมักกับน้ำตาลทรายที่ละลายน้ำในขวดน้ำอัดลมพลาสติก เชื้อยีสต์ก็จะกินน้ำตาลและปล่อยก๊าซ CO2 ออกมา ตามไดอะแกรมการทำงานของเชื้อด้านล่าง
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513164122_u1_Zr7ywMQy.jpg)
อธิบายภาพ: ยีสต์กินน้ำตาลเข้าไป และตดออกมาเป็น CO2 จบ![[shock01] [shock01]](https://aqua.c1ub.net/home/Smileys/aqua2.0/shock01.png)
คาร์บอนยีสต์ เหมาะกับใคร?
คาร์บอนไดออกไซด์จากยีสต์เป็นวิธีการผลิตก๊าซ CO2 ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้ถังก๊าซ CO2 แต่ต้องการแหล่ง CO2 ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าคาร์บอนน้ำ ซึ่งก็จะเหลืออยู่สองตัวเลือก คือ กรด+สารประกอบคาร์บอเนต ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ตั้งต้นและการทำความเข้าใจที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่ายีสต์ ทำให้หลายคนเลือกใช้ยีสต์เป็นวิธีการผลิต CO2 เพราะง่ายและสะดวกในการหาวัตถุดิบมากกว่า
แล้วทำยังไง?
อุปกรณ์
ส่วนผสม
วิธีทำ
1. เติมน้ำลงในขวดน้ำอัดลมที่ล้างสะอาดแล้วจนเกือบถึงคอขวดตามภาพ เพื่อเป็นการตวงปริมาตรน้ำที่จะใช้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_eZVI7kam.jpg)
2. ตวงน้ำตาลด้วยถ้วยตวงมา 1 ถ้วย หรือประมาณ 200 กรัม ถ้วยตวงก็ซื้อชุดตวงมาซักอันนึงครับ แบบพลาสติกก็ 40-80 บาท เท่านั้น ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือร้านไดโซก็มีครับ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_HVfLEWFg.jpg)
3. เทน้ำลงในหม้อ ตั้งไฟให้เดือดพอประมาณ ใส่เส้นบะหมี่ลงไป...
ไม่ใช่! ต้มน้ำเฉยๆพอ
ขั้นตอนนี้เป็นการฆ่าเชื้อที่อยู่ในน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้การหมักยีสต์ล้มเหลวนะครับ ถ้ามั่นใจว่าน้ำสะอาดพอแล้วจะไม่ทำก็ได้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_F5Dhnk2s.jpg)
4. พอเดือดแล้วปิดไฟ เทน้ำตาลลงไป คนๆๆๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ระหว่างนี้ไปทำฝากัน
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_5bexwL5k.jpg)
5. เตรียมอุปกรณ์ ฝาขวดตะกี้ ข้อต่อตรง ซื้อตามร้านอุปกรณ์ อันละบาทสองบาท และตัวนับฟอง
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_5RR0AYlK.jpg)
ตัวนับฟองจะซื้อหรือทำเองก็ได้ ถ้าทำเองก็เป็นขวดเล็กออกมาอีกอันนึง แบบนี้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1507807384_u1_Z5oXmw66.JPG)
หน้าตาไม่สำคัญ มันมีไว้เพื่อกันไม่ให้อากาศจากข้างนอกไหลเข้าไปในขวดเท่านั้น อาจจะเพิ่มตัวกันย้อน กันน้ำในตู้ไหลย้อนเข้าขวดด้วยก็ได้ แต่ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะในระหว่างการใช้งานจะมีแรงดันจากก๊าซในชวดอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีโอกาสที่น้ำจะไหลกลับมาจากตู้ได้เลย
6. เจาะรูที่ฝาขวดด้วยดอกสว่านขนาด 4 มม. หรือใกล้เคียง ถ้าไม่มีจะใช้ไขควงลนไฟ หัวแร้ง เหล็กแหลม กรรไกร หรือเอาฟันแทะเอาก็ได้ ให้มันเป็นรูประมาณเอาข้อต่อสายออกซิเจนเสียบได้ฟิตๆพอดีๆ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172054_u1_yPZs7P5S.jpg)
7. ทิ่มเข้าไป!
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_IpnN2Fam.jpg)
เสียบแค่ตรงขอบมันแบบนี้ก็พอ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_HDrTRZpD.jpg)
จะได้แบบนี้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_l2FBNkxt.jpg)
9. เอากาวหยอด ในรูปผมใช้กาวตราช้างนี่แหละครับ หาง่ายดี ติดอยู่เหมือนกัน แต่จะไม่ทนเท่าอีพ็อกซี ซื้ออีพ็อกซี AB แบบใส ชุดละ 60-70 บาทก็พอแล้ว หรือกาวร้อนแท่งๆก็พอได้ครับ หรือจะไม่หยอดก็ได้แต่ต้องเจาะรูเล็กๆหน่อยแล้วยัดเข้าไป อาศัยแรงฟิตมันก็อยู่ได้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_4JbUJE2z.jpg)
เสร็จแล้ว! ระหว่างรอกาวแห้ง เรากลับไปที่ส่วนผสมยีสต์กันต่อ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_hMHlvcRN.jpg)
10. ตักน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนมานิดนึง น้ำกรองหรือน้ำดื่มได้ก็จะดี ตวงเชื้อยีสต์มา1/4 ช้อนชา หรือจะครึ่งช้อนชาก็ได้ ใส่ลงในน้ำ ทิ้งไว้ให้ขึ้นฟองเล็กน้อย เป็นการปลุกอารมณ์ให้เชื้อพร้อมจะทำงาน ทำให้เชื้อแข็งแรงกว่า แต่จะข้ามขั้นตอนนี้ไปก็ได้ถ้าขี้เกียจ แต่ก๊าซอาจจะออกช้าหน่อย
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_z0stJ7vj.jpg)
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_WgGy405x.jpg)
ยีสต์ก็เป็นยีสต์ทำเบเกอรี่นี่แหละครับ ซื้อมาจากเทสโก้โลตัส ถ้าเป็นยีสต์สำหรับทำไวน์หรือแชมเปญก็จะดีกว่า แต่มันหายาก มีอันนี้ก็ใช้อันนี้แหละ หรือถ้าแถวบ้านใครมีร้านขายอุปกรณ์ทำขนม หรือใกล้ห้างที่มีแผนกอุปกรณ์เบเกอรี่ที่ไม่ใช่กะโหลกกะลาแบบตามบิ๊กซ๊โลตัส ก็จะมียีสต์แบบเป็นห่อใหญ่ประมาณครึ่งโล ราคา 90-150 บาท ก็จะคุ้มกว่าแบบขวดนี้มากครับ ได้เยอะกว่าบาน
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_YMuRDugh.jpg)
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1567317646_u1_Ac7ImhmD.jpg)
ยีสต์แบบนี้ก็ทำงานดีมากเลยครับ ห่อละ 80-100บ. คุ้มกว่าแบบขวดเล็กๆเยอะ ถ้าจะทำเป็นประจำซื้อแบบนี้เลยครับ
11. เอายีสต์ที่ปลุกแล้ว เทผสมลงไปกับน้ำตาลละลายน้ำที่เราพักไว้จนเย็นแล้ว แล้วกรอกใส่ขวด
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172076_u1_BNw6QOTx.jpg)
12. ประกอบฝาปิดเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ เอาไปประกอบกับชุดละลายก๊าซได้เลย รอสักสองสามชั่วโมงก็มักจะเริ่มออกแล้ว หรืออย่างมากก็ไม่เกินครึ่งวัน ตัวละลายที่เหมาะกับคาร์บอนยีสต์ก็จะเป็นพวกที่ไม่ต้องใช้แรงดันอย่างกระบอกปั่น ขั้นบันได และตัวกัก พวกดิฟก็ใช้ได้ครับ แต่เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขวดแตกขวดระเบิดได้มากกว่า
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172080_u1_yM5foXv0.jpg)
การแก้ปัญหาในกรณีก๊าซไม่ออก
แนะนำให้อ่านบทความของคุณ Coffman เพิ่มเติมด้วยนะครับ
คาร์บอนยีสต์: จากเริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์
คาร์บอนยีสต์: DIY เพียง 6 Step เพื่อทำชุดขวดคาร์บอนไดออกไซด์ยีสต์ ภายใน 20 นาที
คาร์บอนยีสต์: ขวดยีสต์ยังรั่วกันอยู่หรือเปล่า เพิ่มอีก 50 สต. แก้ปัญหาได้
คาร์บอนยีสต์ คืออะไร?
คาร์บอนไดออกไซด์จากยีสต์ หรือที่จากนี้ไปเราจะเรียกว่า คาร์บอนยีสต์ เพื่อความสะดวก เป็นวิธีการผลิตก๊าซ CO2 ด้วยเชื้อยีสต์
ที่เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท Fungi ชนิดหนึ่ง ใช้กันอย่างแพร่หลายในการหมักเหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์อื่นๆ การผลิตคาร์บอนไดออกไซด์วิธีนี้เป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ผู้เลี้ยงไม้น้ำนิยมใช้กัน สามารถทำได้ง่าย ใช้ต้นทุนต่ำ เพียงแค่ใช้เชื้อยีสต์หมักกับน้ำตาลทรายที่ละลายน้ำในขวดน้ำอัดลมพลาสติก เชื้อยีสต์ก็จะกินน้ำตาลและปล่อยก๊าซ CO2 ออกมา ตามไดอะแกรมการทำงานของเชื้อด้านล่าง
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513164122_u1_Zr7ywMQy.jpg)
อธิบายภาพ: ยีสต์กินน้ำตาลเข้าไป และตดออกมาเป็น CO2 จบ
![[shock01] [shock01]](https://aqua.c1ub.net/home/Smileys/aqua2.0/shock01.png)
คาร์บอนยีสต์ เหมาะกับใคร?
คาร์บอนไดออกไซด์จากยีสต์เป็นวิธีการผลิตก๊าซ CO2 ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกในการใช้ถังก๊าซ CO2 แต่ต้องการแหล่ง CO2 ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอกว่าคาร์บอนน้ำ ซึ่งก็จะเหลืออยู่สองตัวเลือก คือ กรด+สารประกอบคาร์บอเนต ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ตั้งต้นและการทำความเข้าใจที่ค่อนข้างยุ่งยากกว่ายีสต์ ทำให้หลายคนเลือกใช้ยีสต์เป็นวิธีการผลิต CO2 เพราะง่ายและสะดวกในการหาวัตถุดิบมากกว่า
แล้วทำยังไง?
อุปกรณ์
- สว่านหรือไขควง
- กาวตราช้าง หรือซิลิโคน หรือกาวประเภท Epoxy
- ขวดน้ำอัดลมพลาสติก ขนาด 2 ลิตร
- ข้อต่อตรงของสายออกซิเจนตู้ปลา
- สายออกซิเจน ประมาณ 30 ซม.
- ตัวนับฟอง
ส่วนผสม
- น้ำตาล 1 ถ้วย
- เชื้อยีสต์ 1/4-1/2 ช้อนชา
- น้ำสะอาด เติมในขวดน้ำอัดลมด้านบนให้ถึงคอขวด จะได้น้ำประมาณ 1.5 ลิตร
วิธีทำ
1. เติมน้ำลงในขวดน้ำอัดลมที่ล้างสะอาดแล้วจนเกือบถึงคอขวดตามภาพ เพื่อเป็นการตวงปริมาตรน้ำที่จะใช้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_eZVI7kam.jpg)
2. ตวงน้ำตาลด้วยถ้วยตวงมา 1 ถ้วย หรือประมาณ 200 กรัม ถ้วยตวงก็ซื้อชุดตวงมาซักอันนึงครับ แบบพลาสติกก็ 40-80 บาท เท่านั้น ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือร้านไดโซก็มีครับ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_HVfLEWFg.jpg)
3. เทน้ำลงในหม้อ ตั้งไฟให้เดือดพอประมาณ ใส่เส้นบะหมี่ลงไป...
![[hungry01] [hungry01]](https://aqua.c1ub.net/home/Smileys/aqua2.0/hungry01.png)
ขั้นตอนนี้เป็นการฆ่าเชื้อที่อยู่ในน้ำ ซึ่งอาจจะทำให้การหมักยีสต์ล้มเหลวนะครับ ถ้ามั่นใจว่าน้ำสะอาดพอแล้วจะไม่ทำก็ได้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_F5Dhnk2s.jpg)
4. พอเดือดแล้วปิดไฟ เทน้ำตาลลงไป คนๆๆๆ ทิ้งไว้ให้เย็น ระหว่างนี้ไปทำฝากัน
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172053_u1_5bexwL5k.jpg)
5. เตรียมอุปกรณ์ ฝาขวดตะกี้ ข้อต่อตรง ซื้อตามร้านอุปกรณ์ อันละบาทสองบาท และตัวนับฟอง
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_5RR0AYlK.jpg)
ตัวนับฟองจะซื้อหรือทำเองก็ได้ ถ้าทำเองก็เป็นขวดเล็กออกมาอีกอันนึง แบบนี้
หน้าตาไม่สำคัญ มันมีไว้เพื่อกันไม่ให้อากาศจากข้างนอกไหลเข้าไปในขวดเท่านั้น อาจจะเพิ่มตัวกันย้อน กันน้ำในตู้ไหลย้อนเข้าขวดด้วยก็ได้ แต่ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะในระหว่างการใช้งานจะมีแรงดันจากก๊าซในชวดอยู่ตลอดเวลา แทบจะไม่มีโอกาสที่น้ำจะไหลกลับมาจากตู้ได้เลย
6. เจาะรูที่ฝาขวดด้วยดอกสว่านขนาด 4 มม. หรือใกล้เคียง ถ้าไม่มีจะใช้ไขควงลนไฟ หัวแร้ง เหล็กแหลม กรรไกร หรือเอาฟันแทะเอาก็ได้ ให้มันเป็นรูประมาณเอาข้อต่อสายออกซิเจนเสียบได้ฟิตๆพอดีๆ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172054_u1_yPZs7P5S.jpg)
7. ทิ่มเข้าไป!
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_IpnN2Fam.jpg)
เสียบแค่ตรงขอบมันแบบนี้ก็พอ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_HDrTRZpD.jpg)
จะได้แบบนี้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_l2FBNkxt.jpg)
9. เอากาวหยอด ในรูปผมใช้กาวตราช้างนี่แหละครับ หาง่ายดี ติดอยู่เหมือนกัน แต่จะไม่ทนเท่าอีพ็อกซี ซื้ออีพ็อกซี AB แบบใส ชุดละ 60-70 บาทก็พอแล้ว หรือกาวร้อนแท่งๆก็พอได้ครับ หรือจะไม่หยอดก็ได้แต่ต้องเจาะรูเล็กๆหน่อยแล้วยัดเข้าไป อาศัยแรงฟิตมันก็อยู่ได้
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172065_u1_4JbUJE2z.jpg)
เสร็จแล้ว! ระหว่างรอกาวแห้ง เรากลับไปที่ส่วนผสมยีสต์กันต่อ
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_hMHlvcRN.jpg)
10. ตักน้ำสะอาดที่ไม่มีคลอรีนมานิดนึง น้ำกรองหรือน้ำดื่มได้ก็จะดี ตวงเชื้อยีสต์มา1/4 ช้อนชา หรือจะครึ่งช้อนชาก็ได้ ใส่ลงในน้ำ ทิ้งไว้ให้ขึ้นฟองเล็กน้อย เป็นการปลุกอารมณ์ให้เชื้อพร้อมจะทำงาน ทำให้เชื้อแข็งแรงกว่า แต่จะข้ามขั้นตอนนี้ไปก็ได้ถ้าขี้เกียจ แต่ก๊าซอาจจะออกช้าหน่อย
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_z0stJ7vj.jpg)
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_WgGy405x.jpg)
ยีสต์ก็เป็นยีสต์ทำเบเกอรี่นี่แหละครับ ซื้อมาจากเทสโก้โลตัส ถ้าเป็นยีสต์สำหรับทำไวน์หรือแชมเปญก็จะดีกว่า แต่มันหายาก มีอันนี้ก็ใช้อันนี้แหละ หรือถ้าแถวบ้านใครมีร้านขายอุปกรณ์ทำขนม หรือใกล้ห้างที่มีแผนกอุปกรณ์เบเกอรี่ที่ไม่ใช่กะโหลกกะลาแบบตามบิ๊กซ๊โลตัส ก็จะมียีสต์แบบเป็นห่อใหญ่ประมาณครึ่งโล ราคา 90-150 บาท ก็จะคุ้มกว่าแบบขวดนี้มากครับ ได้เยอะกว่าบาน
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172075_u1_YMuRDugh.jpg)
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1567317646_u1_Ac7ImhmD.jpg)
ยีสต์แบบนี้ก็ทำงานดีมากเลยครับ ห่อละ 80-100บ. คุ้มกว่าแบบขวดเล็กๆเยอะ ถ้าจะทำเป็นประจำซื้อแบบนี้เลยครับ
11. เอายีสต์ที่ปลุกแล้ว เทผสมลงไปกับน้ำตาลละลายน้ำที่เราพักไว้จนเย็นแล้ว แล้วกรอกใส่ขวด
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172076_u1_BNw6QOTx.jpg)
12. ประกอบฝาปิดเข้าไป เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ เอาไปประกอบกับชุดละลายก๊าซได้เลย รอสักสองสามชั่วโมงก็มักจะเริ่มออกแล้ว หรืออย่างมากก็ไม่เกินครึ่งวัน ตัวละลายที่เหมาะกับคาร์บอนยีสต์ก็จะเป็นพวกที่ไม่ต้องใช้แรงดันอย่างกระบอกปั่น ขั้นบันได และตัวกัก พวกดิฟก็ใช้ได้ครับ แต่เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขวดแตกขวดระเบิดได้มากกว่า
![](https://aqua.c1ub.net/home/upload/files/1513172080_u1_yM5foXv0.jpg)
การแก้ปัญหาในกรณีก๊าซไม่ออก
- อาจจะแค่ออกช้าครับ อากาศเย็นๆหรือเชื้อไม่แข็งแรงก็อาจจะต้องใช้เวลาหน่อย ให้ทิ้งไว้ซัก 1 วัน
- ถ้าเกินกว่าวันนึงแล้วยังไม่ออกให้เช็ครอยรั่วที่ฝากับข้อต่อด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอกผสมน้ำตีฟองนะครับ
- ถ้าเช็คแล้วไม่รั่วแแต่ก็ไม่ออก แสดงว่าฟาวล์แล้วครับ ถ้าไม่ได้ปลุกยีสต์ก่อนให้ให้เช็คว่ายีสต์ยังใช้ได้อยู่หรือเปล่าด้วยการผสมน้ำทิ้งไว้แบบเดียวกับการปลุกยีสต์นะครับ
- ถ้ายีสต์ใช้ได้แต่ไม่ออก ก็น่าจะมีการผิดพลาดเรื่องน้ำที่อาจจะมีคลอรีนเยอะไปหรือต้มแล้วไม่ได้ทิ้งไว้ให้เย็น
- ลองเปิดฝาออกมาดม ถ้ามีกลิ่นเปรี้ยวๆเหมือนน้ำส้มสายชู แสดงว่าน้ำมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะได้น้ำส้มแทนนะครับ ทำใหม่ให้สะอาดกว่าเดิม อาจจะต้องนึ่งขวดหรือหาขวดใหม่ด้วยครับ
แนะนำให้อ่านบทความของคุณ Coffman เพิ่มเติมด้วยนะครับ
คาร์บอนยีสต์: จากเริ่มต้น จนเสร็จสมบูรณ์
คาร์บอนยีสต์: DIY เพียง 6 Step เพื่อทำชุดขวดคาร์บอนไดออกไซด์ยีสต์ ภายใน 20 นาที
คาร์บอนยีสต์: ขวดยีสต์ยังรั่วกันอยู่หรือเปล่า เพิ่มอีก 50 สต. แก้ปัญหาได้