สวัสดีครับ ช่วง covid พอจะมีเวลามานั้งเขียนกระทู้แชร์ประสบการณ์ การทำตู้ไม้น้ำแนวบอนไซนะครับ
รับชมคลิปตู้เสร็จแล้วก็มาเริ่มกันเลย
ข้อมูลตู้
ขนาด 36*20*20 นิ้ว
เป็นตู้เก่าแนวป่า มาทำ Layout ใหม่ครับ
ชิลเลอร์ทำน้ำเย็น 26-27องศา
กรองนอก Atman สำหรับ36นิ้ว
CO2 แบบถัง (Inline) เปิดก่อนไฟเปิด 1ชม และปิดก่อนไฟปิด 1ชม
ไฟผมใช้ไฟตู้ปลาทะเลเก่าครับ 144W Zetlight ZP3600
ดิน ญี่ปุ่นจำยี่ห้อไม่ได้ เติมเพิ่มไปจากดินเก่า ADA
ปู่ยน้ำ Aquamania 4อย่าง Maxima,k,micro,Fe
ปุ๋ยฝัง Ferka-Stemma
แบคน้ำ Azoo ultra bioguard
น้ำยากันตะไคร่ Azoo algea away อันนี้แนะนำใส่เถอะครับ
ความกังวลเรื่องตะใคร่ของท่านจะหมดไป ใส่ตามโดสยังไงสิ่งมีชิวิตก็ไม่ตายครับ ผมใส่มาเป็นปีแล้วครับ
เริ่มต้นมาจัดเลเอ้าแนวบอนไซครับ
หาขอนไม้บอนไซทรงสวยๆอาจจะยากนิดนึง แต่พอหาได้ ราคาอาจจะสูงหน่อย ข้อดีก็คือต้นเดียวจบครับ เทียบกับราคาหินแนว อิวากุมิก็พอๆกันเลยครับ ต้นที่ได้มาก็พอดีตู้เลยครับ
จากนั้นอาจจะมีการออกแบบเลเอ้า และการจัดวางให้เหมาะสม เพื่อให้เวลาจัดของจริงเราจะได้มีแนวทางในการจัดที่ชัดเจน ลดการใช้เวลาได้ดี และยังจัดซื้อต้นไม่ได้เหมาะสมไม่ขาดขณะจัดด้วยครับ ทางผมใช้โฟโต้ช็อปครับ ผมแนะนำให้ทำเลเอ้าไว้ก่อนนะครับ การจะไปเลือกขอนไม้ เลือกหินมาทำแบบด้นสด จะทำให้เปลืองเพราะซื้อมาไม่ถูกใจ และจัดเลเอาท์ได้ยากครับ
ต่อมาก็มาทำการสร้างมิติให้กับพุ่มไม้บอนไซของเรา สำหรับการใช้มอสแปะลงไป เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาตินะครับ ก็เลือกแปะเศษไม้สร้างมิติตามจินตนาการของแต่ละคนเลยครับผม แต่ในกรณีการใช้เพิ่ลกลาสทำพุ่มบอนไซอาจจะไม่ต้องทำก็ได้ครับ เพราะเพิลกลาสจะฟูกลมได้ด้วยตัวเองครับ ส่วนผมเลือกใช้มอสครับเพราะอยากให้พุ่มบอนไซสีเข้มกว่าไม้พื้น เพิมมิติของตู้ได้มากกว่าครับ
หลังจากนั้น เราก็มาจัดเลเอ้าตามที่เราได้วางแผนไว้ ซึ่งผมก็จัดออกมาไม่ได้เหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์หนะครับ แต่ออกมาก็พอใจตามที่วางแผนไว้เลยครับผม ตู้นี้เป็นตู้เก่าที่มาทำเลเอ้าใหม่ ผมเลยใช้ดินเก่า กับทำการเติมดินใหม่เพิ่มไปประมาณ 9ลิตรครับ
ต่อมาในตอนแรก ผมเลือกที่จะทำ DSM เพื่อให้ต้นหวีดจิ๋วโตไว เนื่องจากว่าหลายๆท่านจะทราบดีว่าหวีดจิ๋วที่แสนสวยนั้น เอาใจยากพอสมควร อีกทั้งยังโตช้ากว่าไม่พื้นอื่นๆ การทำdsm จะทำให้ต้นหวีดลงรากแข็งแรง อีกทั้งยังเลื้อยไวกว่าตอนอยู่ในน้ำพอสมควรสำหรับการตั้งใหม่ ผมอาจจะใช้ไม้เยอะทีเดียวไปเลยนะครับ เพื่อให้สวยไว เต็มเร็ว เพราะหากเราไปสังเกตดูคลิป เซียนๆหลายๆท่านอย่างลุงอามาโนะ ก็ปักกันไม่ยั้งครับ ใช้ทุนสูงหน่อยนึงครับ
ทำdsmไปได้ระยะเวลาพอสมควร จนต้นไม่เริ่มลาม ก็เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด บางกอละลายเน่า และมีราขึ้น จุดนี้ผมคิดว่ามาจากอุณหภูมิที่ร้อนจนเกินไป เนื่องจากผมปิดแรปไว้ทั้งวันในห้องที่ไม่มีคนอยู่ เนื่องจากมาทำงาน ส่งผมให้อากาศร้อนมาก รวมกับความชื้น ส่งผลให้เน่าจากรา อีกทั้งดินเก่าที่มีแบคทีเรียปนอยู่มาก ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ
ผมจึงตัดสินใจปักแซมส่วนมี่เสียหายด้วยเพิลกลาส เพื่อเพิ่มมิติให้กับไม้พื้น เพราะการทำพื้นด้วยหวีดจิ๋วและเพิลกลาส เราจะได้พื้นที่ปนกันระหว่างสีเขียวเข้ม และอ่อน ทำให้ดูเป็นธรรมชาติครับ จากนั้นติดมอสด้วยกาวร้อน และเติมน้ำทันทีครับ โดยมอสที่ผมเลือกใช้เราเรียกกันว่ามอสกล่องหรือวิลโล่มอสนี่นเองครับ ราคาถูก พอแตกใบน้ำจะเขียวสวย โตช้า และย้อยตกลงล่างครับ ข้อเสียคือน้ำต้องเย็น และไฟต้องแรงครับ
การเติมน้ำทันทีก็เป็นการแก้ไขสถานการณ์ที่ตัดสินใจได้ถูกต้องครับ ผ่านไปอีกอาทิตเดียวต้นไม้เริ่มเดินออกข้าง ลงรากและชูช่อแตกใบอ่อน สวยจนทำให้โล่งใจเลยครับจะเห็นว่สต้นไม่เริ่มลงรากแข็งแรงแล้วครับ
หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆได้
เลี้ยงไม่น้ำกันให้สนุกครับ อาจจะเครียดบ้างช่วงต้นไม้มีปัญหา แต่ถ้าเราหาสาเหตุและแก้ไขได้ จะทำให้การเลี้ยงไม้น้ำยิ่งสนุกขึ้นไปอีกนะครับ
จบไปแล้วนะครับสำหรับแนวทางการทำตู้ไม้น้ำแนวต้นบอนไซ ผมว่าเป็นแนวที่สามรถทำได้ยากกว่า อิวากุมินิดนึง แต่ข้อดีก็คือตู้จะได้อารมความร่มเย็นมากกว่าสไตล์อิวากุมิ โดยรวมแล้วก็สวยคนละแบบครับ หวังว่าจะเป็นแนวทางให้เพื่อนๆที่กำลังชั่งใจแนวบอนไซได้บ้างนะครับ ฟากเพื่อนๆที่กำลังจะเริ่มตั้งตู้ไม้น้ำ เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมไปเลยรอบเดียวครับ แล้วท่านจะเลี้ยงตู้ไม้น้ำได้อย่างสนุก อุปกรณ์ไม่พร้อมท่านก็จะมาเครียดว่าทำไมต้นไม้ไม่ลาม ต้นไม้ตาย จะพากันท้อแท้ใจนะครับ อุปกรณ์พร้อมเมื่อไรก็ลุยกันได้เลยครับเพื่อนๆ
รับชมคลิปตู้เสร็จแล้วก็มาเริ่มกันเลย
ข้อมูลตู้
ขนาด 36*20*20 นิ้ว
เป็นตู้เก่าแนวป่า มาทำ Layout ใหม่ครับ
ชิลเลอร์ทำน้ำเย็น 26-27องศา
กรองนอก Atman สำหรับ36นิ้ว
CO2 แบบถัง (Inline) เปิดก่อนไฟเปิด 1ชม และปิดก่อนไฟปิด 1ชม
ไฟผมใช้ไฟตู้ปลาทะเลเก่าครับ 144W Zetlight ZP3600
ดิน ญี่ปุ่นจำยี่ห้อไม่ได้ เติมเพิ่มไปจากดินเก่า ADA
ปู่ยน้ำ Aquamania 4อย่าง Maxima,k,micro,Fe
ปุ๋ยฝัง Ferka-Stemma
แบคน้ำ Azoo ultra bioguard
น้ำยากันตะไคร่ Azoo algea away อันนี้แนะนำใส่เถอะครับ
ความกังวลเรื่องตะใคร่ของท่านจะหมดไป ใส่ตามโดสยังไงสิ่งมีชิวิตก็ไม่ตายครับ ผมใส่มาเป็นปีแล้วครับ
เริ่มต้นมาจัดเลเอ้าแนวบอนไซครับ
หาขอนไม้บอนไซทรงสวยๆอาจจะยากนิดนึง แต่พอหาได้ ราคาอาจจะสูงหน่อย ข้อดีก็คือต้นเดียวจบครับ เทียบกับราคาหินแนว อิวากุมิก็พอๆกันเลยครับ ต้นที่ได้มาก็พอดีตู้เลยครับ
จากนั้นอาจจะมีการออกแบบเลเอ้า และการจัดวางให้เหมาะสม เพื่อให้เวลาจัดของจริงเราจะได้มีแนวทางในการจัดที่ชัดเจน ลดการใช้เวลาได้ดี และยังจัดซื้อต้นไม่ได้เหมาะสมไม่ขาดขณะจัดด้วยครับ ทางผมใช้โฟโต้ช็อปครับ ผมแนะนำให้ทำเลเอ้าไว้ก่อนนะครับ การจะไปเลือกขอนไม้ เลือกหินมาทำแบบด้นสด จะทำให้เปลืองเพราะซื้อมาไม่ถูกใจ และจัดเลเอาท์ได้ยากครับ
ต่อมาก็มาทำการสร้างมิติให้กับพุ่มไม้บอนไซของเรา สำหรับการใช้มอสแปะลงไป เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาตินะครับ ก็เลือกแปะเศษไม้สร้างมิติตามจินตนาการของแต่ละคนเลยครับผม แต่ในกรณีการใช้เพิ่ลกลาสทำพุ่มบอนไซอาจจะไม่ต้องทำก็ได้ครับ เพราะเพิลกลาสจะฟูกลมได้ด้วยตัวเองครับ ส่วนผมเลือกใช้มอสครับเพราะอยากให้พุ่มบอนไซสีเข้มกว่าไม้พื้น เพิมมิติของตู้ได้มากกว่าครับ
หลังจากนั้น เราก็มาจัดเลเอ้าตามที่เราได้วางแผนไว้ ซึ่งผมก็จัดออกมาไม่ได้เหมือนร้อยเปอร์เซ็นต์หนะครับ แต่ออกมาก็พอใจตามที่วางแผนไว้เลยครับผม ตู้นี้เป็นตู้เก่าที่มาทำเลเอ้าใหม่ ผมเลยใช้ดินเก่า กับทำการเติมดินใหม่เพิ่มไปประมาณ 9ลิตรครับ
ต่อมาในตอนแรก ผมเลือกที่จะทำ DSM เพื่อให้ต้นหวีดจิ๋วโตไว เนื่องจากว่าหลายๆท่านจะทราบดีว่าหวีดจิ๋วที่แสนสวยนั้น เอาใจยากพอสมควร อีกทั้งยังโตช้ากว่าไม่พื้นอื่นๆ การทำdsm จะทำให้ต้นหวีดลงรากแข็งแรง อีกทั้งยังเลื้อยไวกว่าตอนอยู่ในน้ำพอสมควรสำหรับการตั้งใหม่ ผมอาจจะใช้ไม้เยอะทีเดียวไปเลยนะครับ เพื่อให้สวยไว เต็มเร็ว เพราะหากเราไปสังเกตดูคลิป เซียนๆหลายๆท่านอย่างลุงอามาโนะ ก็ปักกันไม่ยั้งครับ ใช้ทุนสูงหน่อยนึงครับ
ทำdsmไปได้ระยะเวลาพอสมควร จนต้นไม่เริ่มลาม ก็เจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด บางกอละลายเน่า และมีราขึ้น จุดนี้ผมคิดว่ามาจากอุณหภูมิที่ร้อนจนเกินไป เนื่องจากผมปิดแรปไว้ทั้งวันในห้องที่ไม่มีคนอยู่ เนื่องจากมาทำงาน ส่งผมให้อากาศร้อนมาก รวมกับความชื้น ส่งผลให้เน่าจากรา อีกทั้งดินเก่าที่มีแบคทีเรียปนอยู่มาก ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ
ผมจึงตัดสินใจปักแซมส่วนมี่เสียหายด้วยเพิลกลาส เพื่อเพิ่มมิติให้กับไม้พื้น เพราะการทำพื้นด้วยหวีดจิ๋วและเพิลกลาส เราจะได้พื้นที่ปนกันระหว่างสีเขียวเข้ม และอ่อน ทำให้ดูเป็นธรรมชาติครับ จากนั้นติดมอสด้วยกาวร้อน และเติมน้ำทันทีครับ โดยมอสที่ผมเลือกใช้เราเรียกกันว่ามอสกล่องหรือวิลโล่มอสนี่นเองครับ ราคาถูก พอแตกใบน้ำจะเขียวสวย โตช้า และย้อยตกลงล่างครับ ข้อเสียคือน้ำต้องเย็น และไฟต้องแรงครับ
การเติมน้ำทันทีก็เป็นการแก้ไขสถานการณ์ที่ตัดสินใจได้ถูกต้องครับ ผ่านไปอีกอาทิตเดียวต้นไม้เริ่มเดินออกข้าง ลงรากและชูช่อแตกใบอ่อน สวยจนทำให้โล่งใจเลยครับจะเห็นว่สต้นไม่เริ่มลงรากแข็งแรงแล้วครับ
หวังว่าจะเป็นแนวทางให้กับเพื่อนๆได้
เลี้ยงไม่น้ำกันให้สนุกครับ อาจจะเครียดบ้างช่วงต้นไม้มีปัญหา แต่ถ้าเราหาสาเหตุและแก้ไขได้ จะทำให้การเลี้ยงไม้น้ำยิ่งสนุกขึ้นไปอีกนะครับ
จบไปแล้วนะครับสำหรับแนวทางการทำตู้ไม้น้ำแนวต้นบอนไซ ผมว่าเป็นแนวที่สามรถทำได้ยากกว่า อิวากุมินิดนึง แต่ข้อดีก็คือตู้จะได้อารมความร่มเย็นมากกว่าสไตล์อิวากุมิ โดยรวมแล้วก็สวยคนละแบบครับ หวังว่าจะเป็นแนวทางให้เพื่อนๆที่กำลังชั่งใจแนวบอนไซได้บ้างนะครับ ฟากเพื่อนๆที่กำลังจะเริ่มตั้งตู้ไม้น้ำ เลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมไปเลยรอบเดียวครับ แล้วท่านจะเลี้ยงตู้ไม้น้ำได้อย่างสนุก อุปกรณ์ไม่พร้อมท่านก็จะมาเครียดว่าทำไมต้นไม้ไม่ลาม ต้นไม้ตาย จะพากันท้อแท้ใจนะครับ อุปกรณ์พร้อมเมื่อไรก็ลุยกันได้เลยครับเพื่อนๆ