CO2 ระบบถังอัดแรงดัน
CO2 ระบบถังอัดแรงดัน หรือที่เรียกกันว่าถังคาร์บอน เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในบรรดาระบบทั้งหมดและความสะดวกสบาย รวมถึงราคาที่ไม่แพงจนถึงกับเกินเอื้อมสำหรับมนุษย์รายได้สามัญทั่วไป ระบบนี้มีส่วนประกอบพื้นฐานคือ
1. ถังบรรจุคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Cylinder) เป็นส่วนที่เอาไว้บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2. ชุดเร็กกูเลเตอร์ (Regulator) เป็นตัวปรับแรงดันจากถังให้ลดลง ซึ่งจะมีอุปกรณ์หลายส่วน ทดเอาไว้ก่อนนะ เดี๋ยวอธิบายข้างล่าง
3. โซลินอยด์วาล์ว เป็นวาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้า ใช้ร่วมกับตัวตั้งเวลา (Timer) เพื่อตั้งเวลาเปิด-ปิด CO2 ทำให้เราไม่ต้องมาคอยเปิด-ปิดเองทุกวัน
4. ตัวปรับละเอียด เอาไว้ปรับปริมาณ CO2 ต่อจากเร็กกูเลเตอร์อีกที เพื่อให้ได้ปริมาณที่แม่นยำขึ้น
5. ตัวนับฟอง เอาไว้วัดปริมาณของ CO2 ที่เราปล่อยออกมา มักจะวัดเป็นจำนวนฟองต่อวินาที
6. ตัวกันย้อน เอาไว้กันไม่ให้น้ำจากในตู้ไหลย้อนเข้ามาหาชุด CO2 ของเรา
7. ตัวละลายก๊าซ (Diffuser) เป็นอุปกรณ์ที่เอา CO2 ที่ได้มาละลายลงในน้ำ
ตัวอย่างการต่ออุปกรณ์ระบบ CO2 ชนิดถังแรงดันแบบมีโซลินอยด์วาล์ว
1. ถังบรรจุคาร์บอนไดออกไซด์
เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถังนี้จะเป็นถังแบบที่ใช้ซ้ำได้อีก เมื่อเราใช้ CO2 หมดแล้วเราก็ต้องเอาไปเติมกับโรงงานที่รับบรรจุก๊าซ CO2 โดยอาจจะเอาไปเติมเองที่โรงงาน ก็จะรอรับได้เลยหรืออีกวันกนึ่งมารับถังคืน หรือฝากร้านไม้น้ำทั่วไปให้เขาเอาไปเติมก็ได้ครับ ส่วนมากก็จะเพิ่มค่าบริการอีกนิดหน่อยและรอประมาณ 7-10 วันเพราะมักจะต้องรอรอบรถของโรงงานมารับไปอัดให้
1.1 ขนาดถัง
ขนาดความจุของถัง CO2 นั้นมีหลายขนาดให้เลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าถังใหญ่กว่าก็จะสามารถจุก๊าซได้มากกว่า และไม่ต้องเติมบ่อยเท่าถังที่เล็กกว่า และมีน้ำหนักถังที่มากกว่าถังเล็ก โดยขนาดความจุของถังนั้นจะเรียกตามน้ำหนักของก๊าซ CO2 ที่ถังนั้นบรรจุได้ เช่น ขนาด 1 กิโล 3 กิโล
สำหรับผู้เลี้ยงไม้น้ำโดยทั่วไปที่มีตู้ขนาด 50-200ลิตร ก็มักจะใช้ถังขนาด 2-4 กิโล เพราะเป็นขนาดที่ไม่เล็กเกินไปจนต้องเติมบ่อย ใช้งานได้ 6 เดือนขึ้นไปหากเปิดปริมาณปกติ ราวๆ 3-4 ฟองต่อวินาที และมีน้ำหนักถังรวมก๊าซแล้วที่ไม่มากจนเกินไป ถังอลูมิเนียม 3 ลิตร (หรือ 3 กิโล) จะมีน้ำหนักรวมเมื่อเติมก๊าซเต็มถังอยู่ที่ประมาณ 4-5 กิโลกรัม สามารถหิ้วไปไหนได้ง่ายโดยเรี่ยวแรงของมนุษย์ปกติที่ไม่ใช่มิวแตนท์หรือมีพ่อชื่อฮันมะยูจิโร่
สำหรับผู้เลี้ยงที่มีตู้ขนาดเล็กหรือตู้นาโน ก็สามารถใช้ถังขนาดเล็กลงมาอีกได้ เช่น ถังขนาด 1 กิโล ซึ่งจะหาที่วางได้ง่ายกว่า วางข้างตู้ก็ได้ และยังน้ำหนักเบา หอบหิ้วไปไหนได้ง่าย เบาแรง
ส่วนใครที่มีตู้ขนาด 300 ลิตรขึ้นไป ก็ควรพิจารณาใช้ถังที่มีขนาดมากกว่า 3 กิโลขึ้นไปนะครับ เพราะต้องใช้ปริมาณก๊าซค่อนข้างมาก
ที่จริงจะใช้ถังขนาด 1-3 โลกับตู้ขนาดใหญ่ก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกา เพราะบางท่านก็ไม่สะดวกที่จะใช้ถังขนาดใหญ่ เช่น ไม่มีรถส่วนตัว ยกไม่ไหว หรือไม่มีที่วาง เพียงแต่อาจจะต้องเติมบ่อยหน่อยเท่านั้น
1.2 วัสดุตัวถัง
ถังคาร์บอนไดออกไซด์มีทั้งที่วัสดุทำด้วยเหล็กและอลูมิเนียม โดยถังที่ทำจากอลูมิเนียมนั้นจะทนน้ำมากกว่าและไม่เป็นสนิมและมีน้ำหนักเบากว่าถังเหล็กประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถยกไปมาได้สะดวกกว่า ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ราคาถังอลูมิเนียมนั้นจะแพงกว่าถังเหล็ก ถังอลูมิเนียมขนาด 1-3 กิโลจะอยู่ที่ 1500-2200บ. ส่วนถังเหล็กจะอยู่ที่ 1000-1800บ. (ราคา ณ ปี 2560)
ลักษณะของถัง CO2 อีกอย่างหนึ่งที่ต้องสนใจก็คือเกลียวของหัวถัง ซึ่งในประเทศไทยจะใช้มาตรฐานถัง CO2 คือ มอก. 2775–2560 สำหรับถังอลูมิเนียมที่เอาตามมาตรฐาน ISO 7866:2012 และ มอก.359–2559 (ISO 9809-1:2010) สำหรับถังเหล็ก ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานเรื่องวัสดุ ความหนา ฯลฯ ของถังเอาไว้ ก็ดูว่าถังนั้นได้มาตรฐาน ISO ก็พอครับ จะต้องมีการปั๊มบอกเอาไว้ที่ตัวถัง พร้อมกับสเป็คอื่นๆของถังและปีที่ผลิต
ภาพจาก Rungsit Industial Gas ตัวอย่างของถัง CO2 ขนาดต่างๆกัน โดยสามถังที่เป็นสีดำจะเป็นถังเหล็ก ถังสีเงินจะเป็นถังอลูมิเนียม
1.2 เกลียวหัวถัง
ในประเทศไทย ชนิดของข้อต่อหรือเกลียวหัวถังที่นิยมใช้กันในการเลี้ยงจะใช้เกลียวที่เรียกว่า CGA-320 หรือที่นิยมเรียกว่า "เกลียวไทย" เป็นมาตรฐาน ซึ่งมักจะระบุไว้ที่ใกล้ๆวาล์วหัวถัง ในการเลือกซื้อก็ควรจะใช้ถังที่เป็นเกลียว CGA-320 เท่านั้นเพราะเกลียวอื่นโรงอัดก๊าซมักจะไม่รับอัดให้และมีปัญหาในการเอาไปเติม ต้องสังเกตตรงนี้ดีๆนะครับ
2. เร็กกูเลเตอร์ (Regulator valve)
เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับถังคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ปรับแรงดันของก๊าซให้ลดลง ไม่พุ่งพรวดพราดออกมา เพราะแรงดันในถัง CO2 นั้นสูงถึง 1000 PSI หรือเกือบ 70 BAR เราเลยต้องลดแรงดันมันก่อนครับ ไม่งั้นพุ่งเป็นจรวด
เร็กกูเลเตอร์ของ Liquid Aqua แบบมีและไม่มีโซลินอยด์วาล์ว ปัจจุบันมักจะใช้เร็กฯรูปแบบนี้กันเป็นส่วนมากเพราะสะดวก ใช้งานง่าย
เร็กกูเลเตอร์ของ Harris รุ่น 601 ที่ต่ออยู่กับตัวปรับละเอียดทองเหลือง เป็นรูปแบบเร็กฯที่เก่ากว่า สมัยก่อนก็ใช้กันแบบนี้แหละครับ
วาล์วเร็กกูเลเตอร์เนี่ยก็มักจะมีเกจ์วัดติดอยู่ตัวสองตัวครับ เอาไว้บอกแรงดันในถัง (High pressure gauge) กับแรงดันในหัววาล์วเร็กกูเลเตอร์ (Low pressure gauge) อย่างในรูปข้างบนนี้ แรงดันในถัง ก็คือเกจ์ตัวทางขวามือครับ จะมีหน่วยเป็น Bar (100 kilopascals) ที่เป็นตัวเลขสีดำ และ PSI (Pounds per square inch) เป็นตัวเลขสีแดง ซึ่งเป็นหน่วยวัดแรงดันคนละตัวกันเท่านั้น แต่ใช้เป็นหน่วยวัดแรงดันเหมือนกัน เหมือนไมล์กับกิโลเมตรนั่นแหละครับ โดยแรงดันในถังคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ที่ 1000 PSI หรือประมาณ 70 Bar และจะเริ่มลดลงเมื่อใกล้จะหมดถังเท่านั้นครับ ไม่สามารถใช้เป็นหลักในการดูปริมาณก๊าซที่เหลืออยู่ได้เท่าไหร่ เร็กฯรุ่นใหม่ๆที่ทำมาสำหรับตู้ไม้น้ำเช่นของ Liquid Aqua ก็เลยจะไม่มีเกจ์บอกแรงดันในถังแล้วเพราะมีไปก็ใช้งานไม่ค่อยจะได้
ส่วนเกจ์ตัวทางซ้ายมือ ที่เรียกว่า Low pressure gauge นั้นจะมีไว้วัดแรงดันที่อยู่ในหัวเร็กกูเลเตอร์ ซึ่งแรงดันตรงนี้ก็จะแล้วแต่อุปกรณ์อื่นๆที่เราใช้
การปรับวาล์วเร็กกูเลเตอร์นี้ก็ไม่ยากครับ แต่อาจจะสับสนเล็กน้อย เพราะมันจะ หมุนทางตรงข้าม กับวาล์วทั่วไป คือหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซออกมามากขึ้น และ หมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้ก๊าซออกมาน้อยลง ตัวปรับหยาบของเร็กฯเกือบทั้งหมดในตลาดจะหมุนแบบนี้ทั้งนั้นครับ
3. วาล์วโซลินอยด์
วาล์วโซลินอยด์ เป็นวาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้า การทำงานของมันก็คือก๊อกน้ำนั่นแหละครับ แต่มีขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดวาล์ว แทนที่จะเป็นมือของเราเหมือนก๊อกน้ำ ทำให้เราสามารถนำมันไปต่อเข้ากับเครื่องตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ (ที่เรามักจะมีใช้กับไฟแสงสว่างของตู้ไม้น้ำอยู่แล้ว) เพื่อตั้งเวลาเปิด-ปิดก๊าซ CO2 ได้ตามที่เราต้องการ หรือเปิด-ปิดพร้อมกับไฟ ทำให้ประหยัดก๊าซในเวลากลางคืนที่พืชไม่ต้องการเพื่อประหยัดก๊าซให้ใช้ได้นานๆ ไม่ต้องเอาไปเติมบ่อยๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้ครับ แต่ควรจะมีเพราะจะทำให้การเปิด-ปิด CO2 สม่ำเสมอมากกว่าจะมาเปิด-ปิดเองด้วยมือ และไม่เปลือง CO2 เหมือนการเปิด 24ชม.
ซึ่งวาล์วโซลินอยด์นี่ก็จะมีทั้งแบบที่ต่อด้วยสาย 6 มม. และแบบที่ไขเกลียวเข้ากับวาล์วเร็กกูเลเตอร์ หรือแบบที่ติดกับตัวเร็กฯ มาเลยก็มี
วาล์วโซลินอยด์ที่ติดมากับเร็กฯของ Liquid Aqua ขายมาแบบนี้เลย ก็จะสะดวกในการใช้งาน
วาล์วโซลินอยด์แบบแยกต่างหาก ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้ด้วยสายยางขนาด 6 มม. ทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC24V และต้องต่อกับหม้อแปลงไฟที่วางอยู่ด้านหลัง ก็ใช้ได้เหมือนกันแต่ต่อเสร็จแล้วมันจะดูรกๆหน่อย
4. วาล์วปรับละเอียด
วาล์วปรับละเอียดเป็นวาล์วที่ใช้ต่อกับเร็กกูเลเตอร์อีกที เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณก๊าซได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น เพราะลำพังตัวปรับหยาบของเร็กฯนั้นจะควบคุมปริมาณก๊าซได้แบบหยาบๆสมชื่อครับ จะปรับให้ได้ 3 ฟองต่อวินาทีเป๊ะๆอะไรแบบนั้นได้ยาก มีทั้งแบบที่ใช้สายต่อและแบบที่ติดกับตัวเร็กกูเลเตอร์มาเลยก็มี
วาล์วปรับละเอียดที่ติดอยู่กับเร็กฯของ Liquid Aqua
วาล์วปรับละเอียดแบบต่างๆ
5. ตัวนับฟอง
ตัวนับฟองคืออุปกรณ์ที่เราใช้เพื่อวัดปริมาณการจ่ายก๊าซไปที่ตู้ของเรา ด้วยการดูจำนวนฟองที่ผุดขึ้นมาในหลอดแก้วใส่น้ำ ว่าผุดขึ้นมากี่ฟองใน 1 วินาที
ก็จะเหมือนกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆก็คือมีทั้งแบบที่ต่อเชื่อมกันด้วยสาย 6 มม. และแบบที่ไขเกลียวเข้ากับวาล์วเร็กกูเลเตอร์เลย
ตัวอย่างเร็กกูเลเตอร์ที่สามารถต่อตัวนับฟองเข้าไปที่ตัวเร็กฯได้เลย แบบนี้ก็จะสังเกตฟองและต่อใช้งานได้สะดวก
ตัวอย่างการต่อสายคาร์บอนแยกสองตู้ ตัวนับฟองแบบนี้มีกันย้อนมาในตัวแล้ว แต่ผมก็เพิ่มวาล์วกันย้อนเข้าไปอีกเพราะที่ติดมากับตัวนับฟองมันไม่ค่อยดี มีน้ำไหลย้อนกลับได้เป็นบางครั้ง
ตัวนับฟองส่วนมากก็มักจะมีวาล์วกันย้อนติดมาให้ด้วยเลยแบบ built-in ถ้าใครใช้แบบที่มีกันย้อนอยู่แล้วก็ไม่ต้องติดวาล์วกันย้อนเพิ่มอีก แต่จะติดเพิ่มอีกเพื่อความมั่นใจก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ ถ้าไม่รู้สึกว่ามันเกะกะหรือเยอะเกินไป เพราะบางครั้งซวยๆขึ้นมา กันย้อนก็พัง และน้ำไหลทะลุย้อนกลับได้บ้างเหมือนกัน แบบในรูปข้างบนนั่นผมก็ต่อกันย้อนแบบที่ไว้ใจได้หน่อย เพิ่มเข้าไปอีกเส้นละตัว เพราะกันย้อนที่ติดกับตัวนับฟองตัวทางขวาเคยปล่อยให้น้ำไหลย้อนกลับมาแล้ว
6. ตัวกันย้อน
วาล์วกันย้อนแบบต่างๆ
วาล์วกันย้อนเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาให้ก๊าซไหลผ่านได้ทางเดียว ไม่สามารถไหลย้อนกลับได้ ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับมาตามสายยาง เวลาที่เราปิดก๊าซหรือก๊าซหมด ซึ่งน้ำที่ไหลย้อนกลับมานี้ หากไหลเข้าไปภายในวาล์วปรับละเอียด โซลินอยด์วาล์วและวาล์วเร็กกูเลเตอร์ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ จึงควรที่จะต้องต่อวาล์วกันย้อนนี้ไว้ระหว่างวาล์วปรับละเอียดกับตัวนับฟอง หรือเรียกง่ายๆว่าต่อหลังจากวาล์วปรับละเอียดนั่นเอง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลกลับเข้าไปหาอุปกรณ์อื่นๆได้ เจ้าวาล์วกันย้อนนี่ก็มีหลายหลายแบบ หลายหน้าตามากครับ แต่ใช้งานเหมือนๆกัน
1. กันย้อนสแตนเลส
2. กันย้อนพลาสติก
3. กันย้อนพลาสติก
4. กันย้อนสแตนเลสแบบข้อต่อสวมเร็ว ใช้ได้แต่กับสายยางชนิดแข็งเท่านั้น
5. กันย้อนแก้ว
4. ตัวละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับตัวละลายก๊าซ ก็ใช้เหมือนๆกันกับระบบจ่ายก๊าซ CO2 ชนิดอื่นๆนะครับ ไปอ่านได้ในบทความข้างล่างนี้เลยครับ
อุปกรณ์ละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Diffuser)
ฝากร้าน AquaProShop ด้วยนะครับ ใครอ่านบทความแล้วไม่ซื้อขอให้ตู้บึ้ม....หยอกๆ
เว็บของร้าน --> https://aqua.c1ub.net/shop/
ร้านใน Shopee --> https://shopee.co.th/sakpank
CO2 ระบบถังอัดแรงดัน หรือที่เรียกกันว่าถังคาร์บอน เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด ด้วยประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในบรรดาระบบทั้งหมดและความสะดวกสบาย รวมถึงราคาที่ไม่แพงจนถึงกับเกินเอื้อมสำหรับมนุษย์รายได้สามัญทั่วไป ระบบนี้มีส่วนประกอบพื้นฐานคือ
1. ถังบรรจุคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Cylinder) เป็นส่วนที่เอาไว้บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
2. ชุดเร็กกูเลเตอร์ (Regulator) เป็นตัวปรับแรงดันจากถังให้ลดลง ซึ่งจะมีอุปกรณ์หลายส่วน ทดเอาไว้ก่อนนะ เดี๋ยวอธิบายข้างล่าง
3. โซลินอยด์วาล์ว เป็นวาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้า ใช้ร่วมกับตัวตั้งเวลา (Timer) เพื่อตั้งเวลาเปิด-ปิด CO2 ทำให้เราไม่ต้องมาคอยเปิด-ปิดเองทุกวัน
4. ตัวปรับละเอียด เอาไว้ปรับปริมาณ CO2 ต่อจากเร็กกูเลเตอร์อีกที เพื่อให้ได้ปริมาณที่แม่นยำขึ้น
5. ตัวนับฟอง เอาไว้วัดปริมาณของ CO2 ที่เราปล่อยออกมา มักจะวัดเป็นจำนวนฟองต่อวินาที
6. ตัวกันย้อน เอาไว้กันไม่ให้น้ำจากในตู้ไหลย้อนเข้ามาหาชุด CO2 ของเรา
7. ตัวละลายก๊าซ (Diffuser) เป็นอุปกรณ์ที่เอา CO2 ที่ได้มาละลายลงในน้ำ
ตัวอย่างการต่ออุปกรณ์ระบบ CO2 ชนิดถังแรงดันแบบมีโซลินอยด์วาล์ว
1. ถังบรรจุคาร์บอนไดออกไซด์
เป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้บรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถังนี้จะเป็นถังแบบที่ใช้ซ้ำได้อีก เมื่อเราใช้ CO2 หมดแล้วเราก็ต้องเอาไปเติมกับโรงงานที่รับบรรจุก๊าซ CO2 โดยอาจจะเอาไปเติมเองที่โรงงาน ก็จะรอรับได้เลยหรืออีกวันกนึ่งมารับถังคืน หรือฝากร้านไม้น้ำทั่วไปให้เขาเอาไปเติมก็ได้ครับ ส่วนมากก็จะเพิ่มค่าบริการอีกนิดหน่อยและรอประมาณ 7-10 วันเพราะมักจะต้องรอรอบรถของโรงงานมารับไปอัดให้
1.1 ขนาดถัง
ขนาดความจุของถัง CO2 นั้นมีหลายขนาดให้เลือกได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าถังใหญ่กว่าก็จะสามารถจุก๊าซได้มากกว่า และไม่ต้องเติมบ่อยเท่าถังที่เล็กกว่า และมีน้ำหนักถังที่มากกว่าถังเล็ก โดยขนาดความจุของถังนั้นจะเรียกตามน้ำหนักของก๊าซ CO2 ที่ถังนั้นบรรจุได้ เช่น ขนาด 1 กิโล 3 กิโล
สำหรับผู้เลี้ยงไม้น้ำโดยทั่วไปที่มีตู้ขนาด 50-200ลิตร ก็มักจะใช้ถังขนาด 2-4 กิโล เพราะเป็นขนาดที่ไม่เล็กเกินไปจนต้องเติมบ่อย ใช้งานได้ 6 เดือนขึ้นไปหากเปิดปริมาณปกติ ราวๆ 3-4 ฟองต่อวินาที และมีน้ำหนักถังรวมก๊าซแล้วที่ไม่มากจนเกินไป ถังอลูมิเนียม 3 ลิตร (หรือ 3 กิโล) จะมีน้ำหนักรวมเมื่อเติมก๊าซเต็มถังอยู่ที่ประมาณ 4-5 กิโลกรัม สามารถหิ้วไปไหนได้ง่ายโดยเรี่ยวแรงของมนุษย์ปกติที่ไม่ใช่มิวแตนท์หรือมีพ่อชื่อฮันมะยูจิโร่
สำหรับผู้เลี้ยงที่มีตู้ขนาดเล็กหรือตู้นาโน ก็สามารถใช้ถังขนาดเล็กลงมาอีกได้ เช่น ถังขนาด 1 กิโล ซึ่งจะหาที่วางได้ง่ายกว่า วางข้างตู้ก็ได้ และยังน้ำหนักเบา หอบหิ้วไปไหนได้ง่าย เบาแรง
ส่วนใครที่มีตู้ขนาด 300 ลิตรขึ้นไป ก็ควรพิจารณาใช้ถังที่มีขนาดมากกว่า 3 กิโลขึ้นไปนะครับ เพราะต้องใช้ปริมาณก๊าซค่อนข้างมาก
ที่จริงจะใช้ถังขนาด 1-3 โลกับตู้ขนาดใหญ่ก็ได้ครับ ไม่ผิดกติกา เพราะบางท่านก็ไม่สะดวกที่จะใช้ถังขนาดใหญ่ เช่น ไม่มีรถส่วนตัว ยกไม่ไหว หรือไม่มีที่วาง เพียงแต่อาจจะต้องเติมบ่อยหน่อยเท่านั้น
1.2 วัสดุตัวถัง
ถังคาร์บอนไดออกไซด์มีทั้งที่วัสดุทำด้วยเหล็กและอลูมิเนียม โดยถังที่ทำจากอลูมิเนียมนั้นจะทนน้ำมากกว่าและไม่เป็นสนิมและมีน้ำหนักเบากว่าถังเหล็กประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถยกไปมาได้สะดวกกว่า ซึ่งแน่นอนว่าทำให้ราคาถังอลูมิเนียมนั้นจะแพงกว่าถังเหล็ก ถังอลูมิเนียมขนาด 1-3 กิโลจะอยู่ที่ 1500-2200บ. ส่วนถังเหล็กจะอยู่ที่ 1000-1800บ. (ราคา ณ ปี 2560)
ลักษณะของถัง CO2 อีกอย่างหนึ่งที่ต้องสนใจก็คือเกลียวของหัวถัง ซึ่งในประเทศไทยจะใช้มาตรฐานถัง CO2 คือ มอก. 2775–2560 สำหรับถังอลูมิเนียมที่เอาตามมาตรฐาน ISO 7866:2012 และ มอก.359–2559 (ISO 9809-1:2010) สำหรับถังเหล็ก ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานเรื่องวัสดุ ความหนา ฯลฯ ของถังเอาไว้ ก็ดูว่าถังนั้นได้มาตรฐาน ISO ก็พอครับ จะต้องมีการปั๊มบอกเอาไว้ที่ตัวถัง พร้อมกับสเป็คอื่นๆของถังและปีที่ผลิต
ภาพจาก Rungsit Industial Gas ตัวอย่างของถัง CO2 ขนาดต่างๆกัน โดยสามถังที่เป็นสีดำจะเป็นถังเหล็ก ถังสีเงินจะเป็นถังอลูมิเนียม
1.2 เกลียวหัวถัง
ในประเทศไทย ชนิดของข้อต่อหรือเกลียวหัวถังที่นิยมใช้กันในการเลี้ยงจะใช้เกลียวที่เรียกว่า CGA-320 หรือที่นิยมเรียกว่า "เกลียวไทย" เป็นมาตรฐาน ซึ่งมักจะระบุไว้ที่ใกล้ๆวาล์วหัวถัง ในการเลือกซื้อก็ควรจะใช้ถังที่เป็นเกลียว CGA-320 เท่านั้นเพราะเกลียวอื่นโรงอัดก๊าซมักจะไม่รับอัดให้และมีปัญหาในการเอาไปเติม ต้องสังเกตตรงนี้ดีๆนะครับ
2. เร็กกูเลเตอร์ (Regulator valve)
เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับถังคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ปรับแรงดันของก๊าซให้ลดลง ไม่พุ่งพรวดพราดออกมา เพราะแรงดันในถัง CO2 นั้นสูงถึง 1000 PSI หรือเกือบ 70 BAR เราเลยต้องลดแรงดันมันก่อนครับ ไม่งั้นพุ่งเป็นจรวด
เร็กกูเลเตอร์ของ Liquid Aqua แบบมีและไม่มีโซลินอยด์วาล์ว ปัจจุบันมักจะใช้เร็กฯรูปแบบนี้กันเป็นส่วนมากเพราะสะดวก ใช้งานง่าย
เร็กกูเลเตอร์ของ Harris รุ่น 601 ที่ต่ออยู่กับตัวปรับละเอียดทองเหลือง เป็นรูปแบบเร็กฯที่เก่ากว่า สมัยก่อนก็ใช้กันแบบนี้แหละครับ
วาล์วเร็กกูเลเตอร์เนี่ยก็มักจะมีเกจ์วัดติดอยู่ตัวสองตัวครับ เอาไว้บอกแรงดันในถัง (High pressure gauge) กับแรงดันในหัววาล์วเร็กกูเลเตอร์ (Low pressure gauge) อย่างในรูปข้างบนนี้ แรงดันในถัง ก็คือเกจ์ตัวทางขวามือครับ จะมีหน่วยเป็น Bar (100 kilopascals) ที่เป็นตัวเลขสีดำ และ PSI (Pounds per square inch) เป็นตัวเลขสีแดง ซึ่งเป็นหน่วยวัดแรงดันคนละตัวกันเท่านั้น แต่ใช้เป็นหน่วยวัดแรงดันเหมือนกัน เหมือนไมล์กับกิโลเมตรนั่นแหละครับ โดยแรงดันในถังคาร์บอนไดออกไซด์จะอยู่ที่ 1000 PSI หรือประมาณ 70 Bar และจะเริ่มลดลงเมื่อใกล้จะหมดถังเท่านั้นครับ ไม่สามารถใช้เป็นหลักในการดูปริมาณก๊าซที่เหลืออยู่ได้เท่าไหร่ เร็กฯรุ่นใหม่ๆที่ทำมาสำหรับตู้ไม้น้ำเช่นของ Liquid Aqua ก็เลยจะไม่มีเกจ์บอกแรงดันในถังแล้วเพราะมีไปก็ใช้งานไม่ค่อยจะได้
ส่วนเกจ์ตัวทางซ้ายมือ ที่เรียกว่า Low pressure gauge นั้นจะมีไว้วัดแรงดันที่อยู่ในหัวเร็กกูเลเตอร์ ซึ่งแรงดันตรงนี้ก็จะแล้วแต่อุปกรณ์อื่นๆที่เราใช้
การปรับวาล์วเร็กกูเลเตอร์นี้ก็ไม่ยากครับ แต่อาจจะสับสนเล็กน้อย เพราะมันจะ หมุนทางตรงข้าม กับวาล์วทั่วไป คือหมุนตามเข็มนาฬิกาเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซออกมามากขึ้น และ หมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้ก๊าซออกมาน้อยลง ตัวปรับหยาบของเร็กฯเกือบทั้งหมดในตลาดจะหมุนแบบนี้ทั้งนั้นครับ
3. วาล์วโซลินอยด์
วาล์วโซลินอยด์ เป็นวาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้า การทำงานของมันก็คือก๊อกน้ำนั่นแหละครับ แต่มีขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดวาล์ว แทนที่จะเป็นมือของเราเหมือนก๊อกน้ำ ทำให้เราสามารถนำมันไปต่อเข้ากับเครื่องตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ (ที่เรามักจะมีใช้กับไฟแสงสว่างของตู้ไม้น้ำอยู่แล้ว) เพื่อตั้งเวลาเปิด-ปิดก๊าซ CO2 ได้ตามที่เราต้องการ หรือเปิด-ปิดพร้อมกับไฟ ทำให้ประหยัดก๊าซในเวลากลางคืนที่พืชไม่ต้องการเพื่อประหยัดก๊าซให้ใช้ได้นานๆ ไม่ต้องเอาไปเติมบ่อยๆ จะมีหรือไม่มีก็ได้ครับ แต่ควรจะมีเพราะจะทำให้การเปิด-ปิด CO2 สม่ำเสมอมากกว่าจะมาเปิด-ปิดเองด้วยมือ และไม่เปลือง CO2 เหมือนการเปิด 24ชม.
ซึ่งวาล์วโซลินอยด์นี่ก็จะมีทั้งแบบที่ต่อด้วยสาย 6 มม. และแบบที่ไขเกลียวเข้ากับวาล์วเร็กกูเลเตอร์ หรือแบบที่ติดกับตัวเร็กฯ มาเลยก็มี
วาล์วโซลินอยด์ที่ติดมากับเร็กฯของ Liquid Aqua ขายมาแบบนี้เลย ก็จะสะดวกในการใช้งาน
วาล์วโซลินอยด์แบบแยกต่างหาก ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้ด้วยสายยางขนาด 6 มม. ทำงานด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC24V และต้องต่อกับหม้อแปลงไฟที่วางอยู่ด้านหลัง ก็ใช้ได้เหมือนกันแต่ต่อเสร็จแล้วมันจะดูรกๆหน่อย
4. วาล์วปรับละเอียด
วาล์วปรับละเอียดเป็นวาล์วที่ใช้ต่อกับเร็กกูเลเตอร์อีกที เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณก๊าซได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น เพราะลำพังตัวปรับหยาบของเร็กฯนั้นจะควบคุมปริมาณก๊าซได้แบบหยาบๆสมชื่อครับ จะปรับให้ได้ 3 ฟองต่อวินาทีเป๊ะๆอะไรแบบนั้นได้ยาก มีทั้งแบบที่ใช้สายต่อและแบบที่ติดกับตัวเร็กกูเลเตอร์มาเลยก็มี
วาล์วปรับละเอียดที่ติดอยู่กับเร็กฯของ Liquid Aqua
วาล์วปรับละเอียดแบบต่างๆ
5. ตัวนับฟอง
ตัวนับฟองคืออุปกรณ์ที่เราใช้เพื่อวัดปริมาณการจ่ายก๊าซไปที่ตู้ของเรา ด้วยการดูจำนวนฟองที่ผุดขึ้นมาในหลอดแก้วใส่น้ำ ว่าผุดขึ้นมากี่ฟองใน 1 วินาที
ก็จะเหมือนกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆก็คือมีทั้งแบบที่ต่อเชื่อมกันด้วยสาย 6 มม. และแบบที่ไขเกลียวเข้ากับวาล์วเร็กกูเลเตอร์เลย
ตัวอย่างเร็กกูเลเตอร์ที่สามารถต่อตัวนับฟองเข้าไปที่ตัวเร็กฯได้เลย แบบนี้ก็จะสังเกตฟองและต่อใช้งานได้สะดวก
ตัวอย่างการต่อสายคาร์บอนแยกสองตู้ ตัวนับฟองแบบนี้มีกันย้อนมาในตัวแล้ว แต่ผมก็เพิ่มวาล์วกันย้อนเข้าไปอีกเพราะที่ติดมากับตัวนับฟองมันไม่ค่อยดี มีน้ำไหลย้อนกลับได้เป็นบางครั้ง
ตัวนับฟองส่วนมากก็มักจะมีวาล์วกันย้อนติดมาให้ด้วยเลยแบบ built-in ถ้าใครใช้แบบที่มีกันย้อนอยู่แล้วก็ไม่ต้องติดวาล์วกันย้อนเพิ่มอีก แต่จะติดเพิ่มอีกเพื่อความมั่นใจก็ไม่มีใครว่าหรอกครับ ถ้าไม่รู้สึกว่ามันเกะกะหรือเยอะเกินไป เพราะบางครั้งซวยๆขึ้นมา กันย้อนก็พัง และน้ำไหลทะลุย้อนกลับได้บ้างเหมือนกัน แบบในรูปข้างบนนั่นผมก็ต่อกันย้อนแบบที่ไว้ใจได้หน่อย เพิ่มเข้าไปอีกเส้นละตัว เพราะกันย้อนที่ติดกับตัวนับฟองตัวทางขวาเคยปล่อยให้น้ำไหลย้อนกลับมาแล้ว
6. ตัวกันย้อน
วาล์วกันย้อนแบบต่างๆ
วาล์วกันย้อนเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาให้ก๊าซไหลผ่านได้ทางเดียว ไม่สามารถไหลย้อนกลับได้ ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับมาตามสายยาง เวลาที่เราปิดก๊าซหรือก๊าซหมด ซึ่งน้ำที่ไหลย้อนกลับมานี้ หากไหลเข้าไปภายในวาล์วปรับละเอียด โซลินอยด์วาล์วและวาล์วเร็กกูเลเตอร์ ก็จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรได้ จึงควรที่จะต้องต่อวาล์วกันย้อนนี้ไว้ระหว่างวาล์วปรับละเอียดกับตัวนับฟอง หรือเรียกง่ายๆว่าต่อหลังจากวาล์วปรับละเอียดนั่นเอง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลกลับเข้าไปหาอุปกรณ์อื่นๆได้ เจ้าวาล์วกันย้อนนี่ก็มีหลายหลายแบบ หลายหน้าตามากครับ แต่ใช้งานเหมือนๆกัน
1. กันย้อนสแตนเลส
2. กันย้อนพลาสติก
3. กันย้อนพลาสติก
4. กันย้อนสแตนเลสแบบข้อต่อสวมเร็ว ใช้ได้แต่กับสายยางชนิดแข็งเท่านั้น
5. กันย้อนแก้ว
4. ตัวละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สำหรับตัวละลายก๊าซ ก็ใช้เหมือนๆกันกับระบบจ่ายก๊าซ CO2 ชนิดอื่นๆนะครับ ไปอ่านได้ในบทความข้างล่างนี้เลยครับ
อุปกรณ์ละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Diffuser)
ฝากร้าน AquaProShop ด้วยนะครับ ใครอ่านบทความแล้วไม่ซื้อขอให้ตู้บึ้ม....หยอกๆ
เว็บของร้าน --> https://aqua.c1ub.net/shop/
ร้านใน Shopee --> https://shopee.co.th/sakpank