วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 [03:59:20]

สงสัยเรื่องวัสดุกรอง

อยากสอบถามเพื่อน ๆ พี่ ๆ ในที่นี้ว่า วัสดุกรองที่ใช้กันของแต่ละคนมีอะไรบ้างครับ วัสดุกรองที่ผมใช้ตอนนี้มี ถ่านไม้ไผ่ของ ada เซรามิกริงแบบดินเผาธรรมดา กับใยแก้ว ของทุกคนเป็นแบบนี้หรือเปล่า หรือมีเทคนิคและตัววัสดุกรองอันไหนที่แนะนำบ้าง ป.ล.บทความในนี้ดีมากเลยครับ แต่ผมอยากค้นคว้าเรื่องวัสดุกรองเพิ่มเติม เพราะมันมีหลากหลายยี่ห้อ หลายประเภทมากในตลาด อยากรู้แบบเฉพาะเจาะจงวัสดุกรองของไม้น้ำโดยเฉพาะครับ ขอบคุณครับ
ขอความกรุณาปิด Ad-Blocker เวลาเปิดเว็บนี้ด้วยครับ
เว็บไซต์ของเรามีรายได้เพียงทางเดียวคือรายได้จากการโฆษณา และหนึ่งในช่องทางโฆษณาของเราคือ Google adsense หากคุณใช้ โปรแกรมหรือตัวเสริมที่บล็อกโฆษณาประเภท Ad-Blocker กับเว็บของเรา ก็จะทำให้ทางเว็บขาดรายได้ส่วนนี้ไป โฆษณาที่ทางเว็บเลือกก็เป็นแบบที่ไม่รบกวนผู้ใช้งานมากนักอยู่แล้ว ไม่ชอบก็เลื่อนผ่านๆไปได้ครับ ดังนั้นขอความกรุณาใส่ c1ub.net ไว้ใน whitelist ของโปรแกรมหรือปิดการทำงานของโปรแกรมบล็อกโฆษณาด้วยครับ (หากคุณเห็นข้อความนี้โดยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม Ad-Blocker ใดๆ รบกวนจิ้ม --> ส่ง PM บอกแอดมิน ทีครับ)
วัสดุกรอง ส่วนใหญ่ทั่วไป ก็ หินพัมมิส เซรามิคริง หินคีรีก้า ครับ เนื่องจากว่างได้ปริมาณเยอะ ในราคาที่ถูก แต่ถ้ามีงบไม่จำกัด ก็ลองไปใช้พวก ของแพงดู ก็ช่วยเรื่องประสิทธิภาพการกรองที่ดีขึ้น พวกวัสดุกรอง ช่วยคงประสิทธิภาพน้ำและช่วยยืดอายุการเปลี่ยนน้ำ แต่หลักๆ ยังไง การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ก็สำคัญที่สุด
ของผมทั้งกรองแขวนกับกรองนอก ผมใช้พัมมิสเบอร์เล็กน่ะครับ  [smile03]
ใช้อยู่เกือบทุกแบบครับ เดี๋ยวมีจังหวะถ่ายรูปจะทำบทความให้อ่าน ตอนนี้เอาคร่าวๆไปก่อนละกันครับ

พัมมิส
พื้นผิวสากดี แบคทีเรียเกาะง่าย แต่พื้นที่ผิวน้อยไปหน่อย ใช้ทั้งรองพื้นปลูกและวัสดุกรอง 2-in-1 เลย คุ้มดี ราคาถูก

หินลาวา
จะคล้ายๆพัมมิส เป็นหินธรรมชาติเหมือนกัน แต่พื้นที่ผิวเยอะกว่า มีรูเยอะรับโหลดของเสียได้มากกว่าพัมมิส หักป่นง่ายพอสมควร แพงกว่าพัมมิสหน่อย



ลูกกลมๆของ Crazy stone ก็ดีครับ ผิวนี่ยังกับปะการัง ชอบสีด้วย แต่ลูกใหญ่ไปหน่อยสำหรับกรองนอกตัวเล็กๆ ต้องประมาณกรองตู้ 60cm หรือใหญ่กว่านั้นถึงจะเหมาะ



เซรามิกริงก็จะมีรูให้น้ำผ่านได้เยอะหน่อยครับ น้ำไหลดี ได้พื้นที่ด้านในด้วย การใช้งานจะเหมือนๆกันหมดครับ ที่ผมใช้มาไม่ว่ายี่ห้อไหนก็จะไม่ต่างกันเลย ดูที่รูมันเยอะๆผิวสากๆหน่อยแบบอันนี้ได้ก็จะดีครับ อันนี้ผมไม่แน่ใจว่ายี่ห้อไหน แต่น่าจะเป็น Mr.Aqua



แบบนี้จะไม่ดีเท่าอันบน พื้นที่ผิวน้อย แต่ก็มีความสากพอสมควร ใช้ได้เหมือนกันครับ ถูกกว่าเยอะด้วย



Eheim Substrate Pro จะเหมาะกับกรองเล็กๆหน่อย เพราะเม็ดเล็กกว่าเค้าหน่อย พวกกรองแขวนหรือกรองนอกตัวเล็กจะเหมาะดี อันที่เห็นนี่น่าจะอายุซัก 15 ปีได้แล้ว



อันนี้ของ UpAqua แต่ไม่แน่ใจว่าตัวไหน ก็ดีครับ พื้นที่ผิวเยอะดี เบา ไม่ป่นง่ายเท่าไหร่ มีขนาดให้เลือกหลายขนาด



ไม่ว่าจะใช้ตัวไหนก็ช่าง สำคัญที่สุดคือการเลือกปริมาณวัสดุกรองให้เพียงพอกับของเสียในตู้ครับ เพราะต่อให้วัสดุกรองคุณเทพแค่ไหน ถ้ามันไม่พอก็คือไม่พอ น้ำเสียอยู่ดี ที่เหมาะสมสำหรับผมคือความยาวรวมของสัตว์น้ำในตู้ 20cm ต่อวัสดุกรอง 1 ลิตรครับ เช่นถ้ามีปลาเตตร้าเล็กๆขนาด 1ซม. 10 ตัวก็ใช้วัสดุกรองครึ่งลิตร นี่คือค่าประมาณคร่าวๆเลยนะครับ เพราะสัตว์น้ำแต่ละชนิดก็มีชนิดและปริมาณอาหารที่กินแตกต่างกัน ต้องเลี้ยงไปแล้วหมั่นวัดค่าแอมโมเนียครับ แต่โดยปกติเราก็เผื่อๆไว้ เพราะเราขี้เกียจคิด [lol01] ก็เอาตามที่ผู้ผลิตเครื่องกรองแนะนำเลยครับ ที่แนะนำมาส่วนมากก็ถือว่าพอใช้ได้