อุปกรณ์ละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Diffuser)
หลังจากที่เราเรียนรู้วิธีใช้อุปกรณ์จ่ายก๊าซ CO2 มาแล้ว แล้วเราจะเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ลงไปในตู้ได้ยังไง?
เราจะต้องใช้อุปกรณืที่เรียกว่า ตัวละลายก๊าซ เพื่อให้พื้นผิวของก๊าซ CO2 กับน้ำมาสัมผัสกัน และก๊าซละลายไปในน้ำ
(มันละลายได้ครับ ไม่เหมือนอากาศปกติ ก๊าซ CO2 สามารถละลายในน้ำได้ง่ายกว่าอากาศที่เราหายใจซึ่งประกอบไปด้วยก๊าซหลากหลายชนิด จะละลายได้ยากกว่ามาก) ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็มีหลายแบบครับ
ตัวละลายเซรามิก (Ceramic Diffuser)
Green Leaf Aquariums Atomic Co2 Diffuser II
การทำงานของตัวละลายก๊าซชนิดนี้ก็เหมือนกับหัวทรายของออกซิเจนนั่นแหละครับ แค่ละเอียดกว่า
โดยตัวละลายชนิดนี้จะมีแผ่นหรือแท่งเซรามิกที่มีรูพรุนเล็กๆอยู่ เมื่อเราปล่อยก๊าซ CO2 ให้ดันผ่านเซรามิกนี้ออกมา ก๊าซที่ออกมาอีกด้านก็จะกลายเป็นฟองเล็กๆละเอียดๆ ที่ง่ายต่อการละลายไปในน้ำ ซึ่งก็จะมีหลายรูปทรงและวัสดุ ทั้งที่ทำจากแก้ว สแตนเลส หรือพลาสติก
ตัวละลายเซรามิกชนิดที่บอดี้ทำจากแก้วยี่ห้อ Boyu
ตัวละลายเซรามิกชนิดที่บอดี้ทำจากแก้ว และเพิ่มส่วนเกลียวให้เป็นตัวนับฟองได้ด้วยในตัว ให้ก๊าซไหลวนๆไปดูสวยงาม
ตัวละลายที่เป็นพลาสติกก็มี นอกจากราคาถูกแล้วยังไม่แตกง่ายอีกด้วย
ตัวละลายเซรามิกแบบแท่ง ที่ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าแบบอื่นๆ
ตัวละลายแบบนอกตู้ของ UP ที่ใช้หัวเซรามิก สามารถต่อคั่นสายยางกรองนอกแบบ in-line ได้ ไม่ต้องลงไปเกะกะในตู้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความเรียบร้อย ต้องการลดอุปกรณ์ภายในตู้
ข้อดี
ข้อเสีย
กระบอกกักก๊าซ, ระฆังกักก๊าซ (CO2 bell)
กระบอกกักยี่ห้อ ISTA
ชุด CO2 แบบกระป๋อง ใช้กดที่หัวกระป๋องเพื่อฉีดเติมก๊าซเข้ากระบอกละลายเก็บไว้ให้ละลายลงในน้ำ
กระบอกกักยี่ห้อ ISTA อีกรุ่นหนึ่ง
เป็นวิธีการละลาย CO2 ลงในน้ำแบบง่ายๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการเลี้ยงไม้น้ำ ด้วยการใช้อุปกรณ์กักก๊าซเอาไว้ใต้น้ำ ให้ก๊าซค่อยๆละลายผ่านผิวหน้าน้ำที่สัมผัสกับก๊าซไปเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่า ช้าชัวร์ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายทั้งการใช้และการทำความเข้าใจ และสามารถทำเองได้ง่ายด้วยอุปกรณ์เหลือใช้บ้านๆ
แบบในวีดิโอนี้ เขาทำตัวกักก๊าซขึ้นมาด้วยขวดน้ำอัดลมพลาสติก เพื่อใช้ควบคู่กับตัวปล่อยก๊าซเซรามิกอีกทีหนึ่ง โดยการกักก๊าซที่ออกมาจากหัวเซรามิก ที่ปกติจะลอยหายขึ้นไปที่ผิวน้ำโดยไม่ถูกละลายเสียบางส่วน ให้อยู่ในตัวกักและละลายให้หมดจด เป็นการใช้ก๊าซได้คุ้มค่าดีครับ
กระบอกกักของ ISTA อีกแบบหนึ่ง
(เห็นตัวอย่างของ ISTA เยอะนี่คือผมไม่ได้รับ ISTA มาโฆษณานะ แต่ยี่ห้อนี้เขามีของเข้ามาขายในบ้านเราเยอะหลากหลายจริงๆ)
ข้อดี
ข้อเสีย
กระบอกปั่น CO2 Reactor
กระบอกปั่นเป็นอุปกรณ์ละลายก๊าซแบบง่ายๆ ที่คล้ายกับแบบกระบอกกัก แต่เพิ่มการใช้แรงน้ำจากท่อน้ำของกรองนอกหรือปั๊มน้ำเป็นตัวกวนให้ก๊าซในกระบอกที่ถูกกักไว้ กระจายแตกตัวและละลายลงในน้ำได้ง่ายขึ้น มีทั้งแบบที่ติดตั้งในตู้ และแบบที่ติดตั้งอยู่ภายนอกตู้ วัสดุส่วนมากจะทำจากพลาสติก
ซ้าย: กระบอกปั่นแบบใช้ในตู้ ไม่สามารถใช้นอกตู้ได้เพราะไม่สามารถเก็บน้ำไว้ไม่ให้รั่วออกมาได้
ขวา: กระบอกปั่นชนิดที่เอาไว้ได้ทั้งในตู้และนอกตู้ เพราะชื้นส่วนกระบอกมีซีลยาง
ข้อดี
ข้อเสีย
ตัวละลายขั้นบันได (CO2 Ladder, Flipper)
ตัวละลายขั้นบันไดของ Hagen
ตัวละลายแบบขั้นบันไดก็เป็นอุปกรณ์ละลายก๊าซยุคโบราณอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ค่อยเห็นมีคนใช้กันแล้วนอกจากร้านรุ่นเก่าๆ แต่ก็เป็นอุปกรณ์ละลายที่ใช้ง่ายอีกตัวหนึ่ง และมีประสิทธิภาพดีพอสมควร แถมยังสามารถเป็นตัวนับฟองได้ในอันเดียวกันอีกต่างหาก
การทำงานของมันก็คือปล่อยให้ฟองก๊าซไหลซิกแซกไปตามขั้นบันไดในตัวอุปกรณ์ เพื่อถ่วงเวลาให้ก๊าซอยู่ในน้ำนานขึ้น ก๊าซก็จะละลายไปเรื่อยๆระหว่างทางและฟองเล็กลงเรื่อยๆ จนกว่าจะไหลถึงทางออก ก็ละลายหมดหรือเกือบหมดพอดี
แล้วผมว่า เวลาดูฟองมันไต่ขั้นบันไดขึ้นไป ก็เพลินไปอีกแบบนะครับ มันเพลินแบบสะกดจิต คล้ายๆ Newton's balls (ไอ้ลูกเหล็กกลมๆ ที่แกว่งตีกันเป็นจังหวะดังแป๊กๆๆ)
ตอนที่ใช้แรกๆ ฟองก๊าซที่ไหลไปในตัวละลายขั้นบันไดอาจจะไหลเป็นก้อนใหญ่ๆ ไม่เป็นเม็ดเล็กๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับ แรกๆมันจะเป็นยังงั้น ใช้ๆไปสักสองสามวันมันจะกลายเป็นเม็ดเล็กๆเอง คิดว่าคงมาจากมันต้องให้มีคราบแบคทีเรียเกาะให้มันลื่นๆก่อน หรือต้องให้พลาสติกมันดูดน้ำเข้าไปก่อน อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ทิ้งไว้เดี๋ยวมันก็เข้าที่เอง
ข้อดี
ข้อเสีย
หลังจากที่เราเรียนรู้วิธีใช้อุปกรณ์จ่ายก๊าซ CO2 มาแล้ว แล้วเราจะเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใส่ลงไปในตู้ได้ยังไง?
เราจะต้องใช้อุปกรณืที่เรียกว่า ตัวละลายก๊าซ เพื่อให้พื้นผิวของก๊าซ CO2 กับน้ำมาสัมผัสกัน และก๊าซละลายไปในน้ำ
(มันละลายได้ครับ ไม่เหมือนอากาศปกติ ก๊าซ CO2 สามารถละลายในน้ำได้ง่ายกว่าอากาศที่เราหายใจซึ่งประกอบไปด้วยก๊าซหลากหลายชนิด จะละลายได้ยากกว่ามาก) ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็มีหลายแบบครับ
ตัวละลายเซรามิก (Ceramic Diffuser)
Green Leaf Aquariums Atomic Co2 Diffuser II
การทำงานของตัวละลายก๊าซชนิดนี้ก็เหมือนกับหัวทรายของออกซิเจนนั่นแหละครับ แค่ละเอียดกว่า
โดยตัวละลายชนิดนี้จะมีแผ่นหรือแท่งเซรามิกที่มีรูพรุนเล็กๆอยู่ เมื่อเราปล่อยก๊าซ CO2 ให้ดันผ่านเซรามิกนี้ออกมา ก๊าซที่ออกมาอีกด้านก็จะกลายเป็นฟองเล็กๆละเอียดๆ ที่ง่ายต่อการละลายไปในน้ำ ซึ่งก็จะมีหลายรูปทรงและวัสดุ ทั้งที่ทำจากแก้ว สแตนเลส หรือพลาสติก
ตัวละลายเซรามิกชนิดที่บอดี้ทำจากแก้วยี่ห้อ Boyu
ตัวละลายเซรามิกชนิดที่บอดี้ทำจากแก้ว และเพิ่มส่วนเกลียวให้เป็นตัวนับฟองได้ด้วยในตัว ให้ก๊าซไหลวนๆไปดูสวยงาม
ตัวละลายที่เป็นพลาสติกก็มี นอกจากราคาถูกแล้วยังไม่แตกง่ายอีกด้วย
ตัวละลายเซรามิกแบบแท่ง ที่ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าแบบอื่นๆ
ตัวละลายแบบนอกตู้ของ UP ที่ใช้หัวเซรามิก สามารถต่อคั่นสายยางกรองนอกแบบ in-line ได้ ไม่ต้องลงไปเกะกะในตู้ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความเรียบร้อย ต้องการลดอุปกรณ์ภายในตู้
ข้อดี
- มีหลากหลายขนาดให้เลือก บางแบบก็มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย
- หลายแบบมีหน้าตาสวยงาม ให้ฟองละเอียดดูสวยเพลินๆ มีหลายแบบให้เลือกมากมาย
- มีประสิทธิภาพการละลายที่ดี
ข้อเสีย
- การประกอบอุปกรณ์อื่นๆและสายก๊าซต้องสามารถรับแรงดันของก๊าซที่แรงพอจะดันหัวเซรามิกนั้นออกได้ ซึ่งบางครั้งต้องใช้แรงดันมากสำหรับหัวเซรามิกที่ละเอียดมากๆ
- หัวเซรามิกมักสกปรกและมีตะไคร่เกาะได้ง่าย ทำให้ประสิทธิภาพลดลง ต้องทำความสะอาดเรื่อยๆ
- ไม่เหมาะกับ CO2 ระบบยีสต์ เพราะต้องใช้แรงดันมาก เสี่ยงต่อการรั่วและระเบิดของข้อต่อ
กระบอกกักก๊าซ, ระฆังกักก๊าซ (CO2 bell)
กระบอกกักยี่ห้อ ISTA
ชุด CO2 แบบกระป๋อง ใช้กดที่หัวกระป๋องเพื่อฉีดเติมก๊าซเข้ากระบอกละลายเก็บไว้ให้ละลายลงในน้ำ
กระบอกกักยี่ห้อ ISTA อีกรุ่นหนึ่ง
เป็นวิธีการละลาย CO2 ลงในน้ำแบบง่ายๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการเลี้ยงไม้น้ำ ด้วยการใช้อุปกรณ์กักก๊าซเอาไว้ใต้น้ำ ให้ก๊าซค่อยๆละลายผ่านผิวหน้าน้ำที่สัมผัสกับก๊าซไปเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนว่า ช้าชัวร์ๆ แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายทั้งการใช้และการทำความเข้าใจ และสามารถทำเองได้ง่ายด้วยอุปกรณ์เหลือใช้บ้านๆ
แบบในวีดิโอนี้ เขาทำตัวกักก๊าซขึ้นมาด้วยขวดน้ำอัดลมพลาสติก เพื่อใช้ควบคู่กับตัวปล่อยก๊าซเซรามิกอีกทีหนึ่ง โดยการกักก๊าซที่ออกมาจากหัวเซรามิก ที่ปกติจะลอยหายขึ้นไปที่ผิวน้ำโดยไม่ถูกละลายเสียบางส่วน ให้อยู่ในตัวกักและละลายให้หมดจด เป็นการใช้ก๊าซได้คุ้มค่าดีครับ
กระบอกกักของ ISTA อีกแบบหนึ่ง
(เห็นตัวอย่างของ ISTA เยอะนี่คือผมไม่ได้รับ ISTA มาโฆษณานะ แต่ยี่ห้อนี้เขามีของเข้ามาขายในบ้านเราเยอะหลากหลายจริงๆ)
ข้อดี
- ละลายก๊าซได้คุ้มค่า ไม่มีก๊าซรั่วไหลหายไปเปล่าๆเลย
- เหมาะกับ CO2 แบบกระป๋องกด เพราะสามารถกดเติมก๊าซเข้าไปในกระบอกแล้วเก็บไว้ได้
- ใช้ได้กับ CO2 ระบบยีสต์ เพราะเกือบจะไม่ต้องใช้แรงดันในการดันก๊าซเข้ากระบอก
ข้อเสีย
- ประสิทธิภาพในการละลายต่ำ ละลายก๊าซได้ช้าที่สุดในบรรดาตัวละลายเมื่อเทียบกับขนาด
- มีขนาดใหญ่ ทำให้เสียพื้นที่ภายในตู้ไปพอสมควร
กระบอกปั่น CO2 Reactor
กระบอกปั่นเป็นอุปกรณ์ละลายก๊าซแบบง่ายๆ ที่คล้ายกับแบบกระบอกกัก แต่เพิ่มการใช้แรงน้ำจากท่อน้ำของกรองนอกหรือปั๊มน้ำเป็นตัวกวนให้ก๊าซในกระบอกที่ถูกกักไว้ กระจายแตกตัวและละลายลงในน้ำได้ง่ายขึ้น มีทั้งแบบที่ติดตั้งในตู้ และแบบที่ติดตั้งอยู่ภายนอกตู้ วัสดุส่วนมากจะทำจากพลาสติก
ซ้าย: กระบอกปั่นแบบใช้ในตู้ ไม่สามารถใช้นอกตู้ได้เพราะไม่สามารถเก็บน้ำไว้ไม่ให้รั่วออกมาได้
ขวา: กระบอกปั่นชนิดที่เอาไว้ได้ทั้งในตู้และนอกตู้ เพราะชื้นส่วนกระบอกมีซีลยาง
ข้อดี
- ประสิทธิภาพในการละลายดีมาก โดยจะมีความสามารถในการละลายตามขนาดของกระบอกและความแรงของน้ำ
- ต่ออุปกรณ์ใช้งานได้ง่าย แทบจะไม่มีแรงดันในระบบเลย ไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วไหลของก๊าซมากนัก
- ง่ายในการดูแลรักษา แทบจะไม่ต้องการการดูแลเลย นอกจากการทำความสะอาดตัวกระบอกบ้าง ซึ่งถึงไม่ทำก็ไม่มีผลกับประสิทธิภาพมากนัก
- ใช้ได้กับ CO2 ระบบยีสต์ เพราะเกือบจะไม่ต้องใช้แรงดันในการดันก๊าซเข้ากระบอกปั่น
ข้อเสีย
- มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะแบบที่อยู่ในตู้ ทำให้เสียพื้นที่ภายในตู้ไปพอสมควร
- ใช้ได้ในตู้ที่มีระบบกรองนอกเท่านั้น หรือมีปั๊มต่อเพิ่มอีกตัวหนึ่ง สิ้นเปลืองไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และหากใช้กับกรองนอกก็จะทำให้น้ำไหลเบาลงอีกด้วย เพราะต้องไหลผ่านกระบอกปั่นก่อน
ตัวละลายขั้นบันได (CO2 Ladder, Flipper)
ตัวละลายขั้นบันไดของ Hagen
ตัวละลายแบบขั้นบันไดก็เป็นอุปกรณ์ละลายก๊าซยุคโบราณอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่ค่อยเห็นมีคนใช้กันแล้วนอกจากร้านรุ่นเก่าๆ แต่ก็เป็นอุปกรณ์ละลายที่ใช้ง่ายอีกตัวหนึ่ง และมีประสิทธิภาพดีพอสมควร แถมยังสามารถเป็นตัวนับฟองได้ในอันเดียวกันอีกต่างหาก
การทำงานของมันก็คือปล่อยให้ฟองก๊าซไหลซิกแซกไปตามขั้นบันไดในตัวอุปกรณ์ เพื่อถ่วงเวลาให้ก๊าซอยู่ในน้ำนานขึ้น ก๊าซก็จะละลายไปเรื่อยๆระหว่างทางและฟองเล็กลงเรื่อยๆ จนกว่าจะไหลถึงทางออก ก็ละลายหมดหรือเกือบหมดพอดี
แล้วผมว่า เวลาดูฟองมันไต่ขั้นบันไดขึ้นไป ก็เพลินไปอีกแบบนะครับ มันเพลินแบบสะกดจิต คล้ายๆ Newton's balls (ไอ้ลูกเหล็กกลมๆ ที่แกว่งตีกันเป็นจังหวะดังแป๊กๆๆ)
ตอนที่ใช้แรกๆ ฟองก๊าซที่ไหลไปในตัวละลายขั้นบันไดอาจจะไหลเป็นก้อนใหญ่ๆ ไม่เป็นเม็ดเล็กๆ ก็ไม่ต้องแปลกใจนะครับ แรกๆมันจะเป็นยังงั้น ใช้ๆไปสักสองสามวันมันจะกลายเป็นเม็ดเล็กๆเอง คิดว่าคงมาจากมันต้องให้มีคราบแบคทีเรียเกาะให้มันลื่นๆก่อน หรือต้องให้พลาสติกมันดูดน้ำเข้าไปก่อน อันนี้ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน รู้แต่ทิ้งไว้เดี๋ยวมันก็เข้าที่เอง
ข้อดี
- ใช้ง่าย เข้าใจง่าย ติดตั้งง่าย ทนทาน ไม่ต้องใช้แรงดัน ใช้ได้ดีทั้งกับระบบยีสต์และถังแรงดัน
- ดูแลรักษาง่าย นอกจากขัดล้างนานๆครั้ง และเอาหอยซนๆที่บางครั้งจะชอบมุดเข้าไปติดออกมาบ้างก็เท่านั้น
ข้อเสีย
- มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยเฉพาะขนาดความสูง ทำให้ไม่เหมาะ หรือบางครั้งก็ไม่สามารถใช้ได้เลยในตู้ขนาดเล็ก
- ไม่เชิงเป็นข้อเสียนัก แต่ตัวละลายแบบนี้จะมีประสิทธิภาพในการละลายก๊าซได้ปานกลาง ถ้าจะใช้กับตู้ขนาดใหญ่กว่า 36 นิ้ว ขนาดที่มีขายกันทั่วไปก็มักจะไม่พอ ต้องใช้สองหรือสามอัน