ที่ใดที่มีน้ำ แสง และสารอาหาร ที่นั่นจะมีตะไคร่ - ขงเบ้งไม่ได้กล่าวไว้
ตะไคร่! ปัญหาโลกแตกของผู้เลี้ยงไม้น้ำทั่วทุกหัวระแหง อุปสรรคสำคัญของความสวยงาม ถึงขนาดทำให้ตู้ล่มได้ง่ายๆ
ตะไคร่สามารถอพยพลักลอบข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายเข้าสู่ตู้แสนสวยของเราได้หลายทาง ตั้งแต่มากับน้ำประปาที่เราเติมในตู้ ติดมากับต้นไม้ ก้อนหิน ขอนไม้ เป็นสปอร์หรือชิ้นส่วนลอยปะปนมาในน้ำที่ใส่ในถุงปลา แม้แต่ติดมาในลำไส้ของปลามันก็มาได้!
ผลเสียหลักๆของตะไคร่ก็คือ "ความสวยงาม" เพราะตะไคร่ 99.99% "หน้าตาจัญไร" ดูไม่สวยงาม
นอกจากนั้นมันยังชอบไปเกาะกับต้นไม้ แย่งพื้นที่ทำให้ต้นไม้สังเคราะห์แสงไม่ได้ หรือทำได้ลำบาก
ในบทความนี้ เราจะมาดูกันตั้งแต่การแยกประเภทตะไคร่ สาเหตุ การกำจัด และการควบคุม รวมถึงวิธีการใช้ยาและสัตว์ช่วยเหลือต่างๆกันครับ
แต่ต้องขอชี้แจงไว้ก่อนว่า
การจำแนกชนิดของตะไคร่ค่อนข้างทำได้ยาก ด้วยขนาดของตัวตะไคร่ที่ค่อนข้างเล็ก และหลายชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทำให้จำแนกประเภทได้ยาก แต่ก็จะมีวิธีควบคุมและกำจัดคล้ายๆกัน
สาเหตุของตะไคร่ บางครั้งก็ไม่แน่นอน ปัญหาตะไคร่บางครั้งมันก็มีปัจจัยอะไรที่ลึกล้ำไปมากกว่าที่มนุษย์ได้ศึกษาเอาไว้ สาเหตุของตะไคร่ที่อยู่ในบทความนี้ เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆที่พิจารณาแล้วว่าพอเชื่อถือได้ รวมกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน จึงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางพิจารณาหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ผู้เขียนจึงต้องขอขออภัยล่วงหน้าหากมีข้อผิดพลาดใดๆเกิดขึ้น
สาเหตุของตะไคร่
ไม่มีจุลชีพที่มีประโยชน์มากพอในระบบ
สิ่งที่จะจุดชนวนทำให้ตะไคร่มา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "Trigger" นั้น คือสารอินทรีย์ต่างๆที่ละลายในน้ำในปริมาณที่มากเกินไป
สารอินทรีย์ที่ว่านั้นคือสารแบบ "แอมโมเนีย" และ "ไนไตรท์" ที่ยังไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียให้กลายเป็น "ไนเตรท" ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบกรองยังไม่เข้าที่ ยังไม่มีแบคทีเรียที่มีประโยชน์มากพอจะบำบัดน้ำ ทำให้มักจะมีระดับแอมโมเนียและไนไตรท์สูง และเป็นตัวกระตุ้นให้ตะไคร่เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งตะไคร่จะอยู่ในสภาพน้ำแบบนี้ได้ดีกว่าพืชชั้นสูงอย่างไม้น้ำชนิดต่างๆ และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ในตู้ตั้งใหม่ที่ระบบกรองยังไม่เซ็ตตัว
ส่วนไนเตรท (NO3) ที่เหลือจากระบบกรองที่สมบูรณ์นั้น เป็นสารที่ทั้งพืชและตะไคร่ต้องการก็จริง แต่พืชชั้นสูงจะใช้ไนเตรทได้เร็วกว่าตะไคร่มาก และเจริญเติบโดได้อย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีไนเตรทมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการให้ CO2 อย่างเพียงพอ การเลือกติดตั้งและดูแลระบบกรองจึงสำคัญอย่างมากกับการควบคุมตะไคร่ในตู้ไม้น้ำ
น้ำมีระดับออกซิเจนต่ำเกินไป
การมีระดับออกซิเจนที่ต่ำเกินไปทำให้แบคทีเรียที่ดีในระบบกรองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หรือจะเรียกง่ายๆว่ามันขาดอากาศหายใจก็ได้ ซึ่งบางครั้งถ้าออกซิเจนในน้ำมีน้อยมากๆ ก็ทำให้แบคทีเรียตายมากจนระบบกรองล่มได้เลย เมื่อแบคทีเรียทำงานได้ไม่ดี หรือตายห่านไปเสียแล้ว แอมโมเนียกับไนไตรท์ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และเกิดอาการแบบเดียวกับสาเหตุอันแรก
ภาวะออกซิเจนต่ำเกิดขึ้นได้บ่อยในตู้ที่มีการไหลเวียนของผิวน้ำต่ำ (น้ำที่ผิวน้ำด้านบนนิ่งเกินไป) โดยเฉพาะในตอนกลางคืนและเวลาที่อากาศเย็นที่ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อย บางครั้งจะเห็นปลาและกุ้งขึ้นไปออกันอยู่บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเป็นสัญญาณของการขาดออกซิเจน
การเพิ่มการไหลเวียนที่ผิวน้ำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของก๊าซระหว่างน้ำกับอากาศมากขึ้น สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการจัดท่อน้ำออกจากกรองให้อยู่ใกล้หรือสูงกว่าระดับผิวน้ำในตู้เล็กน้อย จะทำให้ผิวน้ำมีการเคลื่อนไหว แตกกระเซ็น และเพิ่มระดับออกซิเจนในน้ำได้ แต่เมื่อเพิ่มระดับการแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เราใส่ลงไปในตู้ก็จะหายไปกับอากาศได้เร็วขึ้นด้วย จึงควรปรับการไหลเวียนของผิวน้ำให้พอเหมาะ
การใช้ปั๊มลมเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ต้องระวังเรื่องการสูญเสีย CO2 เช่นกัน จึงควรใช้ต่อเมื่อตู้มีอาการขาดออกซิเจนให้เห็นชัดเจน หรือใช้เฉพาะตอนกลางคืนหลังปิดไฟที่ต้นไม้ไม่ได้สังเคราะห์แสงและไม่ได้ต้องการคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว
ในช่วงหน้าร้อนหรือในตู้ที่น้ำมีอุณหภูมิสูง แบคทีเรียในระบบจะมีการทำงานมากกว่าปกติ ทำให้มีความต้องการใช้ออกซิเจนมากกว่า จึงควรจะเพิ่มระดับการไหลเวียนที่ผิวน้ำให้มากกว่าปกติด้วย
ตู้มีการไหลเวียนของน้ำไม่มากพอ
ตู้ที่มีระดับการไหลเวียนของน้ำไม่มากพอ จะไม่สามารถพา CO2 และสารอาหารต่างๆไปให้ต้นไม้ได้เพียงพอ และทำให้แบคทีเรียในระบบกรองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยทั่วไปจะแนะนำให้เลือกใช้ปั๊มของระบบกรองที่มีอัตราการไหลเวียน (Flow rate) ใน 1 ชั่วโมงที่ 2-4 เท่าของปริมาตรน้ำในตู้ เช่น ตู้คุณมีปริมาตรน้ำ 80 ลิตร ก็ต้องใช้กรองนอกที่อัตราการไหลเวียนของน้ำ 160-320 ลิตรต่อชั่วโมง
ความไม่สมดุลระหว่างแสงสว่าง คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหาร
พืชต้องใช้ปัจจัยทั้งสามตัวนี้ในการสังเคราะห์แสงอย่างสัมพันธ์กัน หากมีแสงสว่างมาก พืชก็จะต้องการ CO2 และสารอาหาร (ปุ๋ย) มากขึ้นไปด้วย หากปัจจัยทั้งสามนี้ไม่สมดุลกัน พืชก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่และอ่อนแอ เปิดช่องว่างให้ตะไคร่เข้ายึดพื้นที่ทำกินได้โดยง่าย
ที่จะเจอกันบ่อยๆก็คือ ไฟแรงเกินไป คือแสงมีความเข้มข้นเกินไป ปริมาณมากเกินไป ไม่สมดุลกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ตู้ที่ไฟแรง แต่ไม่มี CO2 หรือเปิดน้อยเกินไป หรือ CO2 ละลายได้ไม่ดี ก็ต้องแก้ไขโดยการปรับปัจจัยเหล่านี้ให้ได้สมดุลกัน อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ103 แสงสว่างสำหรับตู้ไม้น้ำ
สำหรับ CO2 นั้น เราสามารถวัดปริมาณที่ละลายในน้ำได้ง่ายๆด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Drop Checker
แต่การวัดระดับสารอาหารนี่สิที่ยาก โดยเฉพาะกับผู้เลี้ยงทั่วๆไปที่ไม่มีความพยายามมากพอในการใช้ชุดตรวจวัดไนเตรท ฟอสเฟตอันยุ่งยากและราคาแพงพอสมควร
ทำให้ผู้เลี้ยงส่วนมากจะใช้วิธีเซ็ตแสงและ CO2 ให้ได้ตามต้องการ แล้วใส่ปุ๋ยน้ำตามฉลากโดยไม่ได้วัดปริมาณแร่ธาตุแต่ละตัว แต่ส่วนมากแล้วไม้น้ำมักจะไม่ได้เรื่องมากบ้าเป๊ะอะไรนัก ขอแค่ระดับปัจจัยทั้งสามพอที่จะกล้อมแกล้มไปได้ มันก็เจริญเติบโตได้เหมือนกัน และเมื่อไม้น้ำของเราเติบโตได้ดีเมื่อไหร่ ตะไคร่ก็มักจะหายไปเอง
ไม้น้ำอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง
ปริมาณของตะไคร่ในตู้ไม้น้ำจะสัมพันธ์กับปริมาณของพืช คือถ้าตะไคร่เยอะไม้น้ำจะตาย หรือลดจำนวนลงไป ถ้าไม้น้ำเยอะ ตะไคร่จะลดปริมาณลง
ที่เป็นแบบนี้เพราะทั้งตะไคร่และพืชน้ำต่างก็ต้องการปัจจัยในการดำรงชีพที่เหมือนๆกันคือสารอาหาร เช่น NPK ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงสว่าง
ทั้งสองฝั่งจึงแย่งปัจจัยเหล่านี้กันอยู่ตลอดเวลา ฝั่งไหนกำลังเล่นดี ฟอร์มสดกว่า ก็ได้เปรียบไป
ปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม หรือที่เรียกว่า Macro Nutrients และสารอาหารรอง Micro Nutrients อื่นๆจึงสำคัญมากในการเจริญเติบโตของพืช และสำคัญมากพอๆกันในการรับมือกับตะไคร่ เพราะถ้าต้นไม้โตได้ดี ตะไคร่ก็จะหายไปเอง ตามกลไกทางธรรมชาติ
ในทางกลับกัน เมื่อไม้น้ำอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง ตะไคร่ก็จะเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ตู้ของหลายๆท่านเต็มไปด้วยตะไคร่
และพอมีตะไคร่ ผู้เลี้ยงหลายท่านก็มักจะไม่กล้าใส่ปุ๋ย เพราะติดความเชื่อเก่าๆที่คิดว่าใส่ปุ๋ยเยอะแล้วตะไคร่ขึ้น ซึ่งก็จริงส่วนหนึ่ง แต่ที่ทำให้ตะไคร่ขึ้นนั้นไม่ใช่ปริมาณแร่ธาตุที่มากเกินไป แต่เป็นปริมาณแร่ธาตุ "บางตัว" ที่มากเกินไปจนเสียสมดุลต่างหาก ซึ่งส่วนมากแล้วก็จะเป็นไนเตรทกับฟอสเฟต ที่มาจากการย่อยสลายของอาหารปลาและซากใบไม้ภายในตู้ ทำให้ปริมาณไม่สมดุลกับแร่ธาตุอื่นๆ และทำให้พืชเติบโตได้ไม่ดี เปิดโอกาสให้ตะไคร่เข้ามาแทนที่
แล้วเราจะทำยังไงให้ปริมาณแร่ธาตุมันกลับมาได้สมดุลอีกครั้ง? ก็ง่ายๆคือ การเปลี่ยนน้ำนั่นเองครับ การเปลี่ยนน้ำจะคล้ายๆการรีเซ็ตระบบ โดยการนำแร่ธาตุส่วนหนึ่งออกไปพร้อมๆกับน้ำ ทำให้ปริมาณแร่ธาตุในตู้เจือจางลง หลังจากนั้นเราก็ใส่ปุ๋ยน้ำกลับเข้าไปอีก เพื่อให้สัดส่วนของแร่ธาตุในน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะผู้ผลิตปุ๋ยน้ำแต่ละยี่ห้อก็จะมีการคำนวณสัดส่วนของแร่ธาตุต่างๆมาแล้ว ทำให้เราไม่ต้องไปกังวลกับมันมาก แค่เอาน้ำเปล่าๆไปแทนที่น้ำเสียของเดิมแล้วใส่ปุ๋ยน้ำปริมาณตามบนฉลากเท่านั้น ก็ปรับปริมาณแร่ธาตุให้กลับมาได้สมดุลเหมือนเดิมได้แล้ว หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกว่าเดิม อาจจะต้องทำซ้ำอีกสักสองสามครั้ง
มีสัตว์ช่วยควบคุมตะไคร่ไม่เพียงพอ
สัตว์น้ำที่กินตะไคร่เป็นอาหารนั้นคือศัตรูทางธรรมชาติของตะไคร่โดยกำเนิด เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ตู้ไม้น้ำปราศจากตะไคร่ (หรือมีน้อยมากๆ) เพราะสัตว์น้ำเหล่านี้จะคอยกินตะไคร่อยู่ตลอดทั้งวัน ทำให้ปริมาณของตะไคร่ถูกลดจำนวนลงตลอดเวลา เป็นหนึ่งในวิธีการควบคุมปริมาณตะไคร่ที่ง่ายมากๆ แถมยังไม่เหนื่อยเราอีกต่างหาก ผมจึงแนะนำให้แต่ละตู้มีสัตว์กินตะไคร่อย่างเพียงพอและครอบคลุมชนิดของตะไคร่ ลงไปก่อนที่ตะไคร่จะมา ลงไปตั้งแต่เริ่มตั้งตู้เลยยิ่งดี เพราะจะควบคุมปริมาณตะไคร่ได้ดีกว่าเอาลงไปตอนที่ตะไคร่เยอะแล้ว
รายชื่อตะไคร่
มาตรการควบคุมตะไคร่
สัตว์กินตะไคร่
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่าเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีทางหนึ่ง ที่นิยมใช้กันก็จะเป็น กุ้งยามาโตะ ปลาตะกรับหน้าแดง หอย Nerite ชนิดต่างๆ (หอยเขา หอยม้าลาย หอยฟักทอง หอยหมวกทหาร) ไม่ต้องไปใช้ตัวอะไรเลิศหรู ปลาสอดกากๆ กุ้งแคระทุกชนิด ทุกสี กินตะไคร่หมดครับ แม้แต่เชอรี่ก็กินตะไคร่ได้ดีครับ เชอรี่สีจืดๆตัวละบาทก็ได้
แต่หลายตู้แม้จะมีสัตว์กินตะไคร่เก่งๆอย่าง กุ้งยามาโตะ และ ปลาตะกรับหน้าแดง แต่ทำไมก็ยังมีตะไคร่อยู่ดี?
เพราะตะไคร่มันมากเกินไปไงครับ สัตว์น้ำเหล่านี้ถึงจะกินเก่งยังไงก็สู้พลังการขยายพันธุ์ของตะไคร่ในสภาวะเหมาะๆไม่ได้ กินไม่ทันอยู่ดี เพราะแต่ละตัวก็ตัวเล็กนิดเดียว จะไปกินได้มากมายขนาดไหนกัน เอาลงไปเยอะๆ แทนที่จะกินตะไคร่ได้เยอะกว่าเดิม กลับกลายเป็นลงไปช่วยกันขี้ ทำให้น้ำเสียไปมากกว่าเดิมเสียอีก
ดังนั้นการใช้สัตว์กินตะไคร่ จึงต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและกำจัดตะไคร่อื่นๆไปพร้อมๆกัน จึงจะได้ผลดี
Black Out
โดยการปิดไฟตู้ และเอาถุงดำหรือวัสดุทึบแสงอื่นๆคลุมตู้เอาไว้เป็นเวลา 3-7 วัน โดยไม่ให้ภายในตู้มีแสงสว่างเลย ซึ่งจะทำให้ตะไคร่ที่สะสมอาหารไว้ได้น้อยกว่าพืชชั้นสูงนั้นตายไปก่อนที่พืชอื่นๆจะตาย เป็นวิธีการกำจัดตะไคร่วิธีหนึ่งที่ได้ผลดีกับตะไคร่ฝอยๆเนื้ออ่อนๆและตะไคร่น้ำเขียว ระหว่างที่คลุมตู้ให้แอบแง้มดูทุก 1-2 วันเพื่อดูว่าตะไคร่ตายหมดแล้วหรือลดจำนวนลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้วหรือยัง ถ้าตะไคร่หมดแล้วให้เปลี่ยนน้ำ 50% แล้วเปิดไฟตู้ตามปกติ หากสังเกตว่าต้นไม้มีอาการโทรมลงมากให้เปิดตู้ออกก่อน ให้ต้นไม้ได้ฟื้นตัวสัก 1-2 อาทิตย์แล้วค่อยทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง หรือใช้วิธีอื่นซ้ำต่อไป
วิธีนี้จะได้ผลดีถ้าในตู้มีสัตว์กินตะไคร่อยู่มากพอ ระหว่างที่ปิดตู้และตะไคร่หยุดการเจริญเติบโตนั้น สัตว์กินตะไคร่ก็จะกินตะไคร่ให้ลดจำนวนลงไปอีกทาง ทำให้ได้ผลดีกว่าใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง
สารกำจัดตะไคร่
เป็นการใช้สารที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ของตะไคร่มาใช้เพื่อกำจัดตะไคร่ในตู้ไม้น้ำ เช่น
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่สามารถใช้ฉีดกำจัดตะไคร่เฉพาะจุดได้ดี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการกำจัดตะไคร่)
หรือใช้สารกำจัดตะไคร่ที่ผลิตมาเพื่อกำจัดตะไคร่ในตู้ไม้น้ำโดยเฉพาะ
กดที่ลิ๊งไปซื้อในร้าน AquaProShop ได้เลยนะครับ
กำจัดด้วยมือ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดตะไคร่ประเภทที่มีการยึดเกาะไม่แน่นหนานักอย่างตะไคร่เส้นผม ตะไคร่เส้นใย และตะไคร่เมือกเขียวแกมน้ำเงิน อาจจะใช้มือหยิบเอาดื้อๆหรือใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ฟอร์เซป แปรงสีฟัน หรือเอาสายยางดูดเอาก็ได้ครับ ซึ่งจะเหมาะกับตะไคร่เมือกเขียวแกมน้ำเงินมาก เพราะมันจะยึดเกาะไม่แน่นมากแต่ตัวตะไคร่มีความเหนียว ทำให้ดูดแล้วหลุดออกมาเป็นแผ่นๆเลย ทำให้กำจัดตะไคร่ชนิดนี้ได้ง่ายและเร็วกว่าวิธีอื่นๆมาก
ตะไคร่! ปัญหาโลกแตกของผู้เลี้ยงไม้น้ำทั่วทุกหัวระแหง อุปสรรคสำคัญของความสวยงาม ถึงขนาดทำให้ตู้ล่มได้ง่ายๆ
ตะไคร่สามารถอพยพลักลอบข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายเข้าสู่ตู้แสนสวยของเราได้หลายทาง ตั้งแต่มากับน้ำประปาที่เราเติมในตู้ ติดมากับต้นไม้ ก้อนหิน ขอนไม้ เป็นสปอร์หรือชิ้นส่วนลอยปะปนมาในน้ำที่ใส่ในถุงปลา แม้แต่ติดมาในลำไส้ของปลามันก็มาได้!
ผลเสียหลักๆของตะไคร่ก็คือ "ความสวยงาม" เพราะตะไคร่ 99.99% "หน้าตาจัญไร" ดูไม่สวยงาม
นอกจากนั้นมันยังชอบไปเกาะกับต้นไม้ แย่งพื้นที่ทำให้ต้นไม้สังเคราะห์แสงไม่ได้ หรือทำได้ลำบาก
ในบทความนี้ เราจะมาดูกันตั้งแต่การแยกประเภทตะไคร่ สาเหตุ การกำจัด และการควบคุม รวมถึงวิธีการใช้ยาและสัตว์ช่วยเหลือต่างๆกันครับ
แต่ต้องขอชี้แจงไว้ก่อนว่า
การจำแนกชนิดของตะไคร่ค่อนข้างทำได้ยาก ด้วยขนาดของตัวตะไคร่ที่ค่อนข้างเล็ก และหลายชนิดมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทำให้จำแนกประเภทได้ยาก แต่ก็จะมีวิธีควบคุมและกำจัดคล้ายๆกัน
สาเหตุของตะไคร่ บางครั้งก็ไม่แน่นอน ปัญหาตะไคร่บางครั้งมันก็มีปัจจัยอะไรที่ลึกล้ำไปมากกว่าที่มนุษย์ได้ศึกษาเอาไว้ สาเหตุของตะไคร่ที่อยู่ในบทความนี้ เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากแหล่งต่างๆที่พิจารณาแล้วว่าพอเชื่อถือได้ รวมกับประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียน จึงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางพิจารณาหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ผู้เขียนจึงต้องขอขออภัยล่วงหน้าหากมีข้อผิดพลาดใดๆเกิดขึ้น
สาเหตุของตะไคร่
ไม่มีจุลชีพที่มีประโยชน์มากพอในระบบ
สิ่งที่จะจุดชนวนทำให้ตะไคร่มา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า "Trigger" นั้น คือสารอินทรีย์ต่างๆที่ละลายในน้ำในปริมาณที่มากเกินไป
สารอินทรีย์ที่ว่านั้นคือสารแบบ "แอมโมเนีย" และ "ไนไตรท์" ที่ยังไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียให้กลายเป็น "ไนเตรท" ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อระบบกรองยังไม่เข้าที่ ยังไม่มีแบคทีเรียที่มีประโยชน์มากพอจะบำบัดน้ำ ทำให้มักจะมีระดับแอมโมเนียและไนไตรท์สูง และเป็นตัวกระตุ้นให้ตะไคร่เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งตะไคร่จะอยู่ในสภาพน้ำแบบนี้ได้ดีกว่าพืชชั้นสูงอย่างไม้น้ำชนิดต่างๆ และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ในตู้ตั้งใหม่ที่ระบบกรองยังไม่เซ็ตตัว
ส่วนไนเตรท (NO3) ที่เหลือจากระบบกรองที่สมบูรณ์นั้น เป็นสารที่ทั้งพืชและตะไคร่ต้องการก็จริง แต่พืชชั้นสูงจะใช้ไนเตรทได้เร็วกว่าตะไคร่มาก และเจริญเติบโดได้อย่างรวดเร็วในสภาวะที่มีไนเตรทมาก โดยเฉพาะเมื่อมีการให้ CO2 อย่างเพียงพอ การเลือกติดตั้งและดูแลระบบกรองจึงสำคัญอย่างมากกับการควบคุมตะไคร่ในตู้ไม้น้ำ
น้ำมีระดับออกซิเจนต่ำเกินไป
การมีระดับออกซิเจนที่ต่ำเกินไปทำให้แบคทีเรียที่ดีในระบบกรองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ หรือจะเรียกง่ายๆว่ามันขาดอากาศหายใจก็ได้ ซึ่งบางครั้งถ้าออกซิเจนในน้ำมีน้อยมากๆ ก็ทำให้แบคทีเรียตายมากจนระบบกรองล่มได้เลย เมื่อแบคทีเรียทำงานได้ไม่ดี หรือตายห่านไปเสียแล้ว แอมโมเนียกับไนไตรท์ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และเกิดอาการแบบเดียวกับสาเหตุอันแรก
ภาวะออกซิเจนต่ำเกิดขึ้นได้บ่อยในตู้ที่มีการไหลเวียนของผิวน้ำต่ำ (น้ำที่ผิวน้ำด้านบนนิ่งเกินไป) โดยเฉพาะในตอนกลางคืนและเวลาที่อากาศเย็นที่ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อย บางครั้งจะเห็นปลาและกุ้งขึ้นไปออกันอยู่บริเวณผิวน้ำ ซึ่งเป็นสัญญาณของการขาดออกซิเจน
การเพิ่มการไหลเวียนที่ผิวน้ำทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของก๊าซระหว่างน้ำกับอากาศมากขึ้น สามารถทำได้ง่ายๆด้วยการจัดท่อน้ำออกจากกรองให้อยู่ใกล้หรือสูงกว่าระดับผิวน้ำในตู้เล็กน้อย จะทำให้ผิวน้ำมีการเคลื่อนไหว แตกกระเซ็น และเพิ่มระดับออกซิเจนในน้ำได้ แต่เมื่อเพิ่มระดับการแลกเปลี่ยนก๊าซแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เราใส่ลงไปในตู้ก็จะหายไปกับอากาศได้เร็วขึ้นด้วย จึงควรปรับการไหลเวียนของผิวน้ำให้พอเหมาะ
การใช้ปั๊มลมเพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ต้องระวังเรื่องการสูญเสีย CO2 เช่นกัน จึงควรใช้ต่อเมื่อตู้มีอาการขาดออกซิเจนให้เห็นชัดเจน หรือใช้เฉพาะตอนกลางคืนหลังปิดไฟที่ต้นไม้ไม่ได้สังเคราะห์แสงและไม่ได้ต้องการคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว
ในช่วงหน้าร้อนหรือในตู้ที่น้ำมีอุณหภูมิสูง แบคทีเรียในระบบจะมีการทำงานมากกว่าปกติ ทำให้มีความต้องการใช้ออกซิเจนมากกว่า จึงควรจะเพิ่มระดับการไหลเวียนที่ผิวน้ำให้มากกว่าปกติด้วย
ตู้มีการไหลเวียนของน้ำไม่มากพอ
ตู้ที่มีระดับการไหลเวียนของน้ำไม่มากพอ จะไม่สามารถพา CO2 และสารอาหารต่างๆไปให้ต้นไม้ได้เพียงพอ และทำให้แบคทีเรียในระบบกรองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ โดยทั่วไปจะแนะนำให้เลือกใช้ปั๊มของระบบกรองที่มีอัตราการไหลเวียน (Flow rate) ใน 1 ชั่วโมงที่ 2-4 เท่าของปริมาตรน้ำในตู้ เช่น ตู้คุณมีปริมาตรน้ำ 80 ลิตร ก็ต้องใช้กรองนอกที่อัตราการไหลเวียนของน้ำ 160-320 ลิตรต่อชั่วโมง
ความไม่สมดุลระหว่างแสงสว่าง คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหาร
พืชต้องใช้ปัจจัยทั้งสามตัวนี้ในการสังเคราะห์แสงอย่างสัมพันธ์กัน หากมีแสงสว่างมาก พืชก็จะต้องการ CO2 และสารอาหาร (ปุ๋ย) มากขึ้นไปด้วย หากปัจจัยทั้งสามนี้ไม่สมดุลกัน พืชก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่และอ่อนแอ เปิดช่องว่างให้ตะไคร่เข้ายึดพื้นที่ทำกินได้โดยง่าย
ที่จะเจอกันบ่อยๆก็คือ ไฟแรงเกินไป คือแสงมีความเข้มข้นเกินไป ปริมาณมากเกินไป ไม่สมดุลกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ตู้ที่ไฟแรง แต่ไม่มี CO2 หรือเปิดน้อยเกินไป หรือ CO2 ละลายได้ไม่ดี ก็ต้องแก้ไขโดยการปรับปัจจัยเหล่านี้ให้ได้สมดุลกัน อ่านเพิ่มเติมได้ใน พ103 แสงสว่างสำหรับตู้ไม้น้ำ
สำหรับ CO2 นั้น เราสามารถวัดปริมาณที่ละลายในน้ำได้ง่ายๆด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Drop Checker
แต่การวัดระดับสารอาหารนี่สิที่ยาก โดยเฉพาะกับผู้เลี้ยงทั่วๆไปที่ไม่มีความพยายามมากพอในการใช้ชุดตรวจวัดไนเตรท ฟอสเฟตอันยุ่งยากและราคาแพงพอสมควร
ทำให้ผู้เลี้ยงส่วนมากจะใช้วิธีเซ็ตแสงและ CO2 ให้ได้ตามต้องการ แล้วใส่ปุ๋ยน้ำตามฉลากโดยไม่ได้วัดปริมาณแร่ธาตุแต่ละตัว แต่ส่วนมากแล้วไม้น้ำมักจะไม่ได้เรื่องมากบ้าเป๊ะอะไรนัก ขอแค่ระดับปัจจัยทั้งสามพอที่จะกล้อมแกล้มไปได้ มันก็เจริญเติบโตได้เหมือนกัน และเมื่อไม้น้ำของเราเติบโตได้ดีเมื่อไหร่ ตะไคร่ก็มักจะหายไปเอง
ไม้น้ำอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง
ปริมาณของตะไคร่ในตู้ไม้น้ำจะสัมพันธ์กับปริมาณของพืช คือถ้าตะไคร่เยอะไม้น้ำจะตาย หรือลดจำนวนลงไป ถ้าไม้น้ำเยอะ ตะไคร่จะลดปริมาณลง
ที่เป็นแบบนี้เพราะทั้งตะไคร่และพืชน้ำต่างก็ต้องการปัจจัยในการดำรงชีพที่เหมือนๆกันคือสารอาหาร เช่น NPK ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงสว่าง
ทั้งสองฝั่งจึงแย่งปัจจัยเหล่านี้กันอยู่ตลอดเวลา ฝั่งไหนกำลังเล่นดี ฟอร์มสดกว่า ก็ได้เปรียบไป
ปริมาณธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม หรือที่เรียกว่า Macro Nutrients และสารอาหารรอง Micro Nutrients อื่นๆจึงสำคัญมากในการเจริญเติบโตของพืช และสำคัญมากพอๆกันในการรับมือกับตะไคร่ เพราะถ้าต้นไม้โตได้ดี ตะไคร่ก็จะหายไปเอง ตามกลไกทางธรรมชาติ
ในทางกลับกัน เมื่อไม้น้ำอยู่ในสภาพที่ไม่แข็งแรง ตะไคร่ก็จะเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ตู้ของหลายๆท่านเต็มไปด้วยตะไคร่
และพอมีตะไคร่ ผู้เลี้ยงหลายท่านก็มักจะไม่กล้าใส่ปุ๋ย เพราะติดความเชื่อเก่าๆที่คิดว่าใส่ปุ๋ยเยอะแล้วตะไคร่ขึ้น ซึ่งก็จริงส่วนหนึ่ง แต่ที่ทำให้ตะไคร่ขึ้นนั้นไม่ใช่ปริมาณแร่ธาตุที่มากเกินไป แต่เป็นปริมาณแร่ธาตุ "บางตัว" ที่มากเกินไปจนเสียสมดุลต่างหาก ซึ่งส่วนมากแล้วก็จะเป็นไนเตรทกับฟอสเฟต ที่มาจากการย่อยสลายของอาหารปลาและซากใบไม้ภายในตู้ ทำให้ปริมาณไม่สมดุลกับแร่ธาตุอื่นๆ และทำให้พืชเติบโตได้ไม่ดี เปิดโอกาสให้ตะไคร่เข้ามาแทนที่
แล้วเราจะทำยังไงให้ปริมาณแร่ธาตุมันกลับมาได้สมดุลอีกครั้ง? ก็ง่ายๆคือ การเปลี่ยนน้ำนั่นเองครับ การเปลี่ยนน้ำจะคล้ายๆการรีเซ็ตระบบ โดยการนำแร่ธาตุส่วนหนึ่งออกไปพร้อมๆกับน้ำ ทำให้ปริมาณแร่ธาตุในตู้เจือจางลง หลังจากนั้นเราก็ใส่ปุ๋ยน้ำกลับเข้าไปอีก เพื่อให้สัดส่วนของแร่ธาตุในน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะผู้ผลิตปุ๋ยน้ำแต่ละยี่ห้อก็จะมีการคำนวณสัดส่วนของแร่ธาตุต่างๆมาแล้ว ทำให้เราไม่ต้องไปกังวลกับมันมาก แค่เอาน้ำเปล่าๆไปแทนที่น้ำเสียของเดิมแล้วใส่ปุ๋ยน้ำปริมาณตามบนฉลากเท่านั้น ก็ปรับปริมาณแร่ธาตุให้กลับมาได้สมดุลเหมือนเดิมได้แล้ว หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกว่าเดิม อาจจะต้องทำซ้ำอีกสักสองสามครั้ง
มีสัตว์ช่วยควบคุมตะไคร่ไม่เพียงพอ
สัตว์น้ำที่กินตะไคร่เป็นอาหารนั้นคือศัตรูทางธรรมชาติของตะไคร่โดยกำเนิด เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ตู้ไม้น้ำปราศจากตะไคร่ (หรือมีน้อยมากๆ) เพราะสัตว์น้ำเหล่านี้จะคอยกินตะไคร่อยู่ตลอดทั้งวัน ทำให้ปริมาณของตะไคร่ถูกลดจำนวนลงตลอดเวลา เป็นหนึ่งในวิธีการควบคุมปริมาณตะไคร่ที่ง่ายมากๆ แถมยังไม่เหนื่อยเราอีกต่างหาก ผมจึงแนะนำให้แต่ละตู้มีสัตว์กินตะไคร่อย่างเพียงพอและครอบคลุมชนิดของตะไคร่ ลงไปก่อนที่ตะไคร่จะมา ลงไปตั้งแต่เริ่มตั้งตู้เลยยิ่งดี เพราะจะควบคุมปริมาณตะไคร่ได้ดีกว่าเอาลงไปตอนที่ตะไคร่เยอะแล้ว
รายชื่อตะไคร่
- ตะใคร่เมือกสีน้ำตาล (Diatoms, Brown Algae)
- ตะใคร่เมือกสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-Green Algae, Slime Algae)
- ตะใคร่จุดเขียว (Green Spot algae)
- ตะไคร่เส้นผมดำ Black Hair Algae
- ตะไคร่เขากวาง Staghorn Algae
- ตะใคร่เส้นผมเขียว Spirogyra, Green Hair algae
- ตะไคร่ขนเขียว Green Brush Algae, Green Beard Algae
- ตะใคร่ขนดำ Black Brush Algae, Red Brush Algae, Black Beard Algae
- ตะใคร่เส้นใย Fuzz algae
- น้ำเขียว Green water
มาตรการควบคุมตะไคร่
สัตว์กินตะไคร่
อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่าเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดีทางหนึ่ง ที่นิยมใช้กันก็จะเป็น กุ้งยามาโตะ ปลาตะกรับหน้าแดง หอย Nerite ชนิดต่างๆ (หอยเขา หอยม้าลาย หอยฟักทอง หอยหมวกทหาร) ไม่ต้องไปใช้ตัวอะไรเลิศหรู ปลาสอดกากๆ กุ้งแคระทุกชนิด ทุกสี กินตะไคร่หมดครับ แม้แต่เชอรี่ก็กินตะไคร่ได้ดีครับ เชอรี่สีจืดๆตัวละบาทก็ได้
แต่หลายตู้แม้จะมีสัตว์กินตะไคร่เก่งๆอย่าง กุ้งยามาโตะ และ ปลาตะกรับหน้าแดง แต่ทำไมก็ยังมีตะไคร่อยู่ดี?
เพราะตะไคร่มันมากเกินไปไงครับ สัตว์น้ำเหล่านี้ถึงจะกินเก่งยังไงก็สู้พลังการขยายพันธุ์ของตะไคร่ในสภาวะเหมาะๆไม่ได้ กินไม่ทันอยู่ดี เพราะแต่ละตัวก็ตัวเล็กนิดเดียว จะไปกินได้มากมายขนาดไหนกัน เอาลงไปเยอะๆ แทนที่จะกินตะไคร่ได้เยอะกว่าเดิม กลับกลายเป็นลงไปช่วยกันขี้ ทำให้น้ำเสียไปมากกว่าเดิมเสียอีก
ดังนั้นการใช้สัตว์กินตะไคร่ จึงต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมและกำจัดตะไคร่อื่นๆไปพร้อมๆกัน จึงจะได้ผลดี
Black Out
โดยการปิดไฟตู้ และเอาถุงดำหรือวัสดุทึบแสงอื่นๆคลุมตู้เอาไว้เป็นเวลา 3-7 วัน โดยไม่ให้ภายในตู้มีแสงสว่างเลย ซึ่งจะทำให้ตะไคร่ที่สะสมอาหารไว้ได้น้อยกว่าพืชชั้นสูงนั้นตายไปก่อนที่พืชอื่นๆจะตาย เป็นวิธีการกำจัดตะไคร่วิธีหนึ่งที่ได้ผลดีกับตะไคร่ฝอยๆเนื้ออ่อนๆและตะไคร่น้ำเขียว ระหว่างที่คลุมตู้ให้แอบแง้มดูทุก 1-2 วันเพื่อดูว่าตะไคร่ตายหมดแล้วหรือลดจำนวนลงจนเป็นที่น่าพอใจแล้วหรือยัง ถ้าตะไคร่หมดแล้วให้เปลี่ยนน้ำ 50% แล้วเปิดไฟตู้ตามปกติ หากสังเกตว่าต้นไม้มีอาการโทรมลงมากให้เปิดตู้ออกก่อน ให้ต้นไม้ได้ฟื้นตัวสัก 1-2 อาทิตย์แล้วค่อยทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง หรือใช้วิธีอื่นซ้ำต่อไป
วิธีนี้จะได้ผลดีถ้าในตู้มีสัตว์กินตะไคร่อยู่มากพอ ระหว่างที่ปิดตู้และตะไคร่หยุดการเจริญเติบโตนั้น สัตว์กินตะไคร่ก็จะกินตะไคร่ให้ลดจำนวนลงไปอีกทาง ทำให้ได้ผลดีกว่าใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง
สารกำจัดตะไคร่
เป็นการใช้สารที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ของตะไคร่มาใช้เพื่อกำจัดตะไคร่ในตู้ไม้น้ำ เช่น
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่สามารถใช้ฉีดกำจัดตะไคร่เฉพาะจุดได้ดี (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการกำจัดตะไคร่)
หรือใช้สารกำจัดตะไคร่ที่ผลิตมาเพื่อกำจัดตะไคร่ในตู้ไม้น้ำโดยเฉพาะ
- คาร์บอนน้ำ หรือสารกลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde) อย่างเช่น Aquamania - Algae Clean (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ คาร์บอนน้ำ How it works (Rev3.0 12/09/2019))
- แบคทีเรียกำจัดตะไคร่ Aquarium Doctor - Strong
กดที่ลิ๊งไปซื้อในร้าน AquaProShop ได้เลยนะครับ
กำจัดด้วยมือ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดตะไคร่ประเภทที่มีการยึดเกาะไม่แน่นหนานักอย่างตะไคร่เส้นผม ตะไคร่เส้นใย และตะไคร่เมือกเขียวแกมน้ำเงิน อาจจะใช้มือหยิบเอาดื้อๆหรือใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ฟอร์เซป แปรงสีฟัน หรือเอาสายยางดูดเอาก็ได้ครับ ซึ่งจะเหมาะกับตะไคร่เมือกเขียวแกมน้ำเงินมาก เพราะมันจะยึดเกาะไม่แน่นมากแต่ตัวตะไคร่มีความเหนียว ทำให้ดูดแล้วหลุดออกมาเป็นแผ่นๆเลย ทำให้กำจัดตะไคร่ชนิดนี้ได้ง่ายและเร็วกว่าวิธีอื่นๆมาก