วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 [01:00:18]

สาเหตุของการเป็นฝ้าขาว ฝ้าเหลืองของเลนส์ไฟหน้ารถยนต์


สาเหตุของการเป็นฝ้าขาว ฝ้าเหลืองของเลนส์ไฟหน้ารถยนต์
รวมถึงสิ่งที่ไม่ควรทำกับอุปกรณ์ส่องสว่างรถยนต์



เคยเห็นมากันใช่มั้ยครับ ไฟหน้าของรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานๆ
มักจะเจอว่าผิวของเลนส์หน้ามีสีเหลืองขุ่นหรือเป็นฝ้าขาว
นอกจากจะทำให้ดูไม่สวยแล้ว  มันก็ยังส่งผลกับทัศนวิสัยการมองเห็นด้วย





ขอท้าวความรายละเอียดนิดนะครับ  [smile03]


ตามข้อบังคับในการออกแบบแล้ว เขาก็มีข้อกำหนดในการออกแบบชิ้นส่วนโคมไฟรถยนต์ให้แสงต้องมีความเข้มในระยะที่กำหนดในแต่ล่ะจุดวัด
และต้องทำการทดสอบโคมไฟก่อนจะออกจำหน่ายด้วยครับ คือต้องทดสอบความเข้มแสงก่อน ถ้าผ่านแล้วถึงจะได้รับอณุญาติให้ขายได้ครับ






ไม่เฉพาะโคมไฟนะครับ ชิ้นส่วนทุกชิ้นของรถครับต้องผ่านการทดสอบ และต้องทดสอบต่อสักขีพยานที่ได้รับLicense Certificateจาก EC Regด้วย
ถ้าผ่านแล้วก็จะได้รับการลงทะเบียนตราพร้อมหมายเลขเฉพาะตัวโปรดัคนั้นๆ

ตราก็จะหน้าตาประมาณนี้ครับ   ถ้าเห็นตราสัญลักษณ์นี้แล้วแปลว่าสินค้าผ่านเสป๊ค  EC Reg.แล้ว
คิดว่าคงจะเคยผ่านๆตากันมามั่งแล้ว





ตามเสป๊คของ EC Reg. ที่ประเทศไทยร่วมสังกัดอยู่นะครับ
< คือที่ร่วมสังกัดก็เพราะถ้าจะขายรถในประเทศที่ใช้กฏหมายของสหภาพยุโรปชิ้นส่วนรถยนต์ทุกชิ้นก็จำเป็นที่จะต้องผ่านข้อบังคับนี้นะครับ
จริงๆมีเสป็คอื่นอีกด้วยนะครับ เช่น China spec , JIS., NAS , ....>


EC Regเขามีข้อกำหนดแพทเทิร์นแสงไฟหน้ารถ 4 ล้อเอาใว้อยู่
ตามรูปข้างล่างนี่นะครับ คือแพทเทิร์นแสงสำหรับรถพวงมาลัยขวา   
ด้านซ้ายมือที่แสงกระดกขึ้นก็เพื่อให้ส่องป้าย ส่องข้างทางครับ  ลองไปสังเกตดูที่รถของเพื่อนๆเองก็ได้
ส่วนถ้าเป็นพวงมาลัยซ้ายแพทเทิร์นก็จะกลับกันครับ







จากข้อกำหนดทางกฏหมายพวกนี้นี่เอง  การที่โคมไฟที่ใช้มานานๆหลายปีเกิดฝ้าขุ่น หรือคราบเหลือง
ก็จะส่งผลกระทบต่อการขับขี่ในเวลาที่ต้องใช้แสงสว่างนะครับ
คือแสงสว่างอาจจะมัวๆ แสงดรอปลง  ส่องได้ไม่ใกลอย่างที่ควร  หรือแสงเพี้ยน
ก็ลำบากกับคนขับ และอันตรายกับเพื่อนร่วมทางครับ




ทีนี้ก็มาถึงที่ว่า การเกิดฝ้าขาว ฝ้าเหลืองของหน้าเลนส์ไฟหน้า มันเกิดได้ยังไง
เพราะถ้ารู้สาเหตุแล้วก็จะได้ลดหรือเปลี่ยนแปลงการใช้งานเพื่อชะลอความเสื่อมออกไปได้ครับ



สาเหตุหลักๆของความเสื่อมของเลนส์โคมไฟหน้าก็เพราะ



1.จอดรถตากแดดบ่อยๆและนานๆ     คือจอดรถตากแดดเป็นเวลานานๆต่อเนื่อง   
  พวกที่เวลาไปถึงที่ทำงานแล้วต้องไปจอดตากแดดบนลานจอดรถทุกวันทั้งวันแบบไม่มีหลังคาบังแบบนั้น 
  วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ไฟหน้าคือ PC ก็เสื่อมสภาพได้ครับ 
< โดยทั่วไปส่วนมากวัสดุคลุมรถมันคลุมแค่กระจกหน้าหรือหลังคา ไม่ได้คลุมโคมไฟด้วย  >
 

 2.  เปิดไฟหน้ารถตอนกลางคืน    คือหมายถึงสำหรับใครที่ต้องใช้รถกลางคืนบ่อยๆนานๆ เป็นกิจวัตร
     วิ่งกลางคืนก็ต้องเปิดไฟวิ่ง เปิดไฟวิ่งมันก็มีความร้อน และมันก็จะเสื่อมเร็วกว่าคนใช้รถกลางวันครับ   
     อันนี้มันก็คงช่วยไม่ได้จริงๆสำหรับคนที่มีกิจวัตรต้องใช้งานรถตอนกลางคืนประจำๆ


3. ละอองน้ำมันจากถนนมาเกาะหน้าเลนส์     อันนี้ก็มักจะเกิดกับคนขับรถกลางคืนบ่อยๆเหมือนกันครับ
 คือกลางวัน ความร้อนไปเผายางมะตอยจนไอน้ำมันยางมะตอยระเหยอยู่บนพื้นผิวถนน
พอกลางคืนอากาศเย็นเข้า ละอองน้ำมันนั้นก็ยังไม่ไปไหน
พอรถที่แล่นกลางคืนเปิดไฟวิ่งผ่าน   ละอองน้ำมันพวกนั้นมันก็ปะทะเข้ากับหน้าเลนส์โคมไฟ
แล้วโคมไฟที่เปิดไฟวิ่งอยู่มันก็ร้อน ละอองยางมะตอยนั่นก็จับตัวติดกับหน้าเลนส์เลยครับ 
รถที่วิ่งกลางคืนเป็นกิจวัตรเลยเลนส์เหลืองไวกว่ารถที่วิ่งกลางวันครับ



4. เขม่าท่อไอเสียจากรถรอบๆข้าง รวมถึงควันเสียจากแหล่งอื่น เช่นจากโรงงาน
    ในควันพวกนี้มันมีเศษละอองที่เล็กมากๆปะปนมาด้วย
    และส่วนหนึ่งมันก็มาติดกับตัวรถเรารวมทั้งโคมไฟเราด้วยวันละนิดล่ะหน่อย
     สะสมเข้าทุกวันก็เหลืองครับ      ซึ่งอันนี้คนกรุงเทพคงเลี่ยงยากกับสภาพรถติดครับ


 


5. ความชื้นในอากาศเข้าไปที่โคมไฟ   
  โคมไฟหน้า จะประกอบชิ้นส่วนหลักหน้าหลังเข้าด้วยกันด้วยHook
 และกันน้ำเข้าโคมไฟด้วยซิลิโคน   ที่ในวงการเรียกว่า Hot melt ครับ มีทั้งสีเทา สีดำ
 เลนส์ของไฟหน้าก็จะใช้Hot melt นี้แหละครับเป็นตัวเชื่อมประกบระหว่างเลนส์กับHousing เอาไปประกอบกับบอดี้รถ

ทีนี้พอโคมไฟใช้มานาน ต้องเจอกับความร้อน สารเคมี น้ำมันเครื่อง
ซิลิโคนก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา น้ำหรือ ไอละอองก็ลอดเข้าไปสะสมอยู่ภายในได้
ก็เป้นสาเหตุที่เลนส์เหลืองหรือฝ้าขุ่น ซึ่งลักษณธนี้เป้นการขุ่นเสียสภาพจากภายใน


6. ดัดแปลงหลอดไฟใช้ผิดประเภท   หรือดัดแปลงโคมไฟ


ปกติโคมไฟที่ออกแบบตามเสปคเสร็จแล้ว  ทำการ Trial ชิ้นงานออกมาแล้ว
ก่อนจะวางขายได้เขาต้องเอาชิ้นงานนี้ไปทดสอบก่อนในทุกเรื่องครับ

เช่น เอาไปทดสอบการทนความร้อน
ทดสอบการทนแรงกระแทก
ทดสอบทนแรงVibration ,  resonance ,
ดังนั้นแปลว่า ของอะไรที่มาจากโรงงานแท้ๆนั้นได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน< ที่ค่อนข้างสุง>แล้วแน่นอน



ดังนั้นถ้าเราไปดัดแปลงมัน เช่น   เปลี่ยนหลอดไฟวัตต์ แอมป์สุงๆให้ได้แสงสว่างมากๆเพื่อจะส่องถนนได้ใกลๆ
พอวัตต์แอมป์สูงๆก็ทำให้ความร้อนภายในตัวโคมสุงตามขึ้นมาด้วย ก็ทำให้เลนส์เสื่อมไว และรวมถึงชิ้นส่วนอื่นใกล้เคียงด้วย

และหลอดไฟพวกนี้จุดcenter ของ light source แหล่งกำเนิดแสงจะไม่ตรงกันกับการคำนวณค่าแสงมาด้วย ทำให้แพทเทิร์นแสงเพี้ยน
ไม่รวมถึงหลอดดัดแปลงพวกนี้ค่าความเข้มแสงได้ตามมาตรฐานหรือเปล่าก็ไม่มีใครบอกและรับประกันได้นะครับ





หรือการเอาสีไปพ่นในเลนส์ พวกที่พ่นโคมสีดำสีฟ้าอะไรนั่นล่ะครับ 
แสงที่ส่องออกจากแหล่งกำเนิดแสงภายในตัวโคม
เมื่อมาโดนสีที่พ่นเอาใว้ แสงมันก็ออกได้ไม่เต็มที่ เรียกว่ามันออกได้ไม่เต็มค่า Transmision
ทำให้ความร้อนสะสมในโคมเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เลนส์เสื่อมไว 





การดัดแปลงต่างๆเหล่านี้นอกจากจะสร้างความลำบากให้เพื่อนร่วมทางแล้ว ยังผิดกฏหมายดัดแปลงสภาพรถด้วยนะครับ



7. น้ำยาเคลือบโคมไฟเสื่อมสภาพ

เนื่องด้วยเลนส์ไฟหน้าของรถนั้นทำมาจากพลาสติคชนิด  PC  ซึ่งถึงจะทนความร้อนได้สุงกว่าPMMA แต่มันก็ไม่ทนรอยขูดขีดเท่าไหร่
ดังนั้นโคมไฟรถยนต์ทุกยี่ห้อจะต้องเคลือบสารเคมีปกป้องรอยขีดข่วน เรียกว่า Hard Coat   
< ภาษาตลาดทั่วไปบางทีเขาเรียกว่าแลกเกอร์แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลยนะครับ >

Hard Coat ที่ว่านี้เขาจะพ่นเคลือบหน้าเลนส์
เพือทำหน้าที่คล้ายๆเป็นฟิล์มปกป้องหน้าเลนส์จากรอยขีดข่วนต่างๆ
เช่นจากเศษสะเก็ดหินเล็กๆ   การครูดของกิ่งใม้เล็กๆ
และรวมไปถึงช่วยปกป้องผิวชั้นนอกของเลนส์จากมลภาวะด้วย

แต่เมื่อการใช้งานของโคมไฟนานๆเข้า ผลจากความร้อนสะสม  สารเคมี  น้ำ  สภาพอากาศ 
สาเหตุพวกนี้ล่ะครับก็ทำให้ Hard Coat เสื่อมสภาพและลอกออกได้ 
ลองสังเกตพวกรถยนต์เก่าๆก็ได้ครับ หน้าเลนส์มันจะลอกเป็นขุยๆ นั่นล่ะครับคือ Hard Coat เสื่อมลอกออกล่ะ





พอHard Coatเริ่มลอกตรงไหน ตรงนั้นก็จะเป้นฝ้าหรือเริ่มเหลืองก่อน

ดังนั้นสำหรับในกรณีHard Coatนี้  เพื่อชะลอการหลุดลอกของHard Coat ให้อยู่นานที่สุดนะครับ
เวลาเราล้างรถนะครับ พยามอย่าไปใช้พวกเครื่องปั่น หรือการขัดถูแรงๆ  ใช้แค่ฟองน้ำดีๆค่อยๆถูวนเบาๆเอาครับ   
จะช่วยชะลอการเสื่อมของHard Coatไปได้อีกพอดูเลยครับ



จากสาเหตุรวมๆที่ว่ามา ทางช่วยชะลอความเสื่อมของโคมไฟได้ก็คือ 

-   ล้างหน้าเลนส์อย่างระมัดระวัง  เบามือ   ไม่ควรขัดอย่างรุนแรง 

-   พยามละเว้นการจอดรถตากแดดนานๆ หรือหาอะไรมาคลุมใว้
  < ก็ลำบากหน่อยนะครับ ใช้ผ้าคลุมอย่างดีคลุมทั้งรถ กลับมา ผ้าหาย >


-  ไม่ไปดัดแปลงโคมไฟหรือเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานการตรวจเช็ค



อ้อ การเปิดไฟสูงกับไฟต่ำ  < Passing Beam ,  Driving Beam   > ไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่ในกรณีนี้ครับ
เพราะใช้กระแสไม่ต่างกันมาก ความร้อนก็ไม่ต่างกันมาก



วิธีแก้ใขแบบยั่งยืน  เคลมเปลี่ยนโคมใหม่ครับ ฮ่าๆๆๆๆๆ  [lol01] [lol01] [lol01] [lol01]




หวังว่าข้อมุลพอจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆผู้ใช้รถบ้างนะครับ


ขอบคุณรูปประกอบจากเนตครับ



ขอความกรุณาปิด Ad-Blocker เวลาเปิดเว็บนี้ด้วยครับ
เว็บไซต์ของเรามีรายได้เพียงทางเดียวคือรายได้จากการโฆษณา และหนึ่งในช่องทางโฆษณาของเราคือ Google adsense หากคุณใช้ โปรแกรมหรือตัวเสริมที่บล็อกโฆษณาประเภท Ad-Blocker กับเว็บของเรา ก็จะทำให้ทางเว็บขาดรายได้ส่วนนี้ไป โฆษณาที่ทางเว็บเลือกก็เป็นแบบที่ไม่รบกวนผู้ใช้งานมากนักอยู่แล้ว ไม่ชอบก็เลื่อนผ่านๆไปได้ครับ ดังนั้นขอความกรุณาใส่ c1ub.net ไว้ใน whitelist ของโปรแกรมหรือปิดการทำงานของโปรแกรมบล็อกโฆษณาด้วยครับ (หากคุณเห็นข้อความนี้โดยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม Ad-Blocker ใดๆ รบกวนจิ้ม --> ส่ง PM บอกแอดมิน ทีครับ)
หลักๆเลยคือแสง UV ครับ รถบ้านผมแทบไม่เคยจอดตากแดด เป็นสิบปีโคมก็ยังใส
ถ้าไม่อยากเปลี่ยนใหม่ก็ขัดทิ้งได้ครับ ขัดเอาโค้ทติ้งมันทิ้งไปเลย แล้วพ่นเคลือบกันยูวีแบบกระป๋องเอา
ถ้าโคมเหลืองก็ใช้ไฮโดรเจนฟอกเอาครับ มีวิธีในยูทูบเยอะแยะลองหาดู
หลักๆเลยคือแสง UV ครับ รถบ้านผมแทบไม่เคยจอดตากแดด เป็นสิบปีโคมก็ยังใส
ถ้าไม่อยากเปลี่ยนใหม่ก็ขัดทิ้งได้ครับ ขัดเอาโค้ทติ้งมันทิ้งไปเลย แล้วพ่นเคลือบกันยูวีแบบกระป๋องเอา
ถ้าโคมเหลืองก็ใช้ไฮโดรเจนฟอกเอาครับ มีวิธีในยูทูบเยอะแยะลองหาดู

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเสริมครับคุณบัง  [smile03] [thumbup]