คุณเบื่อมั้ยกับการที่ทำตู้ไม้น้ำแล้วต้องแบกตู้ แบกดิน แบกหินหนักๆ?
นี่เราทำงานอดิเรกหรือเป็นกรรมกรกันแน่!?
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อคุณเปลี่ยนมาทำ ตู้พิโกโร่...พิโค่
คงเคยได้ยินคำว่าตู้มินิ ตู้นาโนกันใช่ไหมครับ มินิ (Mini) นี่ก็แปลว่าเล็กๆ นาโน (Nano) นี่ก็เป็นหน่วยวัดระบบเมตริกที่หมายถึงหนึ่งในพันล้าน
คนทำตู้ปลาจึงเอามาเรียกตู้ชนิดที่เล็กๆ แบบตู้ 12 นิ้วลงมาว่า "ตู้นาโน" หมายถึงตู้ขนาดที่มันเล็กมากๆ เหมือนนาโนแมชชีน นาโนเทคโนโลยีอะไรแบบนั้น
แต่ก็เหมือนกับหลายๆสิ่ง ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ของที่เคยเล็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว อาจจะใหญ่สำหรับตอนนี้ ลองดูมือถือเป็นตัวอย่าง เมื่อประมาณสิบปีก่อน สมาร์ทโฟนหนา 8mm นี่คือบางชิบหายแล้ว แต่ตอนนี้ 5-6mm เครื่องละสองสามพันขายกันเกลื่อน
แน่นอนว่าตู้ไม้น้ำก็เช่นเดียวกัน สมัยก่อนนี้ตู้ 24 นิ้วนี่คือเล็กโคตรๆแล้ว เลี้ยงอะไรแทบไม่ได้ เพราะความเข้าใจในระบบ เทคโนโลยีไฟและระบบกรองมันไม่ดีเหมือนเดี๋ยวนี้ แต่ตอนนี้ตู้ 24 นิ้วกลายเป็นขนาดมาตรฐานไปแล้ว เริ่มหาคนทำตู้ใหญ่กว่านี้ยาก ตู้นาโนที่เมื่อก่อนเคยเล็กโคตรๆ ก็เลยกลายเป็นไม่เล็กเท่าไหร่ไปแล้ว ทำให้เกิดตู้ที่คนเรียกกันว่า "ตู้พิโค่ (pico)" ขึ้นมา
Pico เป็นหน่วยวัดระบบเมตริก หมายถึงหนึ่งในล้านล้าน หรือ 10−12 (0.000000000001) มาจากภาษาสเปนที่แปลว่า peak, beak, bit คนจึงเอามาเรียกแทนตู้ขนาดที่เล็กยิ่งกว่าตู้นาโน มีปริมาตรน้ำอยู่แถวๆ 3-5 ลิตรเท่านั้น
แม่จ้าว!! เลี้ยงเข้าไปได้ยังไง เอามือลงไปก็ติดแล้วมั้ง?
คำตอบคือ ใช่ครับ
นี่คือตู้พิโค่ของผม
ขนาดแค่ 6x6x6 นิ้วเท่านั้น ปริมาตรน้ำ 3.5 ลิตรแบบยังไม่หักหินและดิน เหลือจริงน่าจะราวๆ 2-2.5 ลิตร และเป็นตู้โลวเทค ไม่กรอง ไม่ CO2 ไม่พัดลม มีแต่ไฟอย่างเดียว
ไฟเป็นไฟของ UpAqua ตัวเก่าแก่ที่หม้อแปลงพังไปแล้วด้วยซ้ำ นี่ผมใช้หม้อแปลงของ Chihiros A-Series 12v 5A ถ้าจำไม่ผิดน่าจะราวๆ 3-4w เท่านั้น เพราะอย่างที่เห็นคือแสงง่อยมาก แดดที่ทะลุอิฐบล็อกแก้วเข้ามายังสว่างกว่าเยอะ
ตอนแรกก็มีกรองมีอะไรแหละครับ มีกรองแขวนตัวน้อย Jeneca xp-03 มีพัดลมจิ๋ว 1.5นิ้ว และว่าจะติดดิฟให้คาร์บอนด้วย
แต่ล้มเลิกกลางคันครับ เพราะปัญหาเยอะมาก ตั้งแต่กรองแขวนเสือกมีเสียงดัง แก้ไม่หายซักที และน้ำก็แห้งเร็วมากจากพัดลม ต้องเติมน้ำทุกวัน ไม่งั้นน้ำจากกรองแขวนจะพุ่งลงพื้นดินและตีดินฟุ้งทันที และที่สำคัญคือเกะกะอุปกรณ์ชิบหายครับ สายไฟสายอะไรดูรกมาก จะทำอะไรทีก็ต้องเอาออกเพราะติดมือ เข้าไม่ได้ เลยเปลี่ยนแผนทำตู้โลวเทคน่าจะดีกว่า ผลก็ออกมาแบบที่เห็นครับ เลย์เอาท์นี่อย่ามาหวังอะไรมาก เพราะแค่นี้ก็ทะลุเกินเส้นความขี้เกียจผมไปมากแล้ว เอาพอมีอะไรเขียวๆฟูๆให้ได้ดูเล่นก็พอ (ขวดน้ำด้านหลังเอาไว้เติมน้ำ เพราะอย่างที่บอกว่าน้ำลดเร็วมาก แม้จะไม่ได้ติดพัดลมแล้วก็ยังต้องเติมน้ำทุก 2-3 วัน)
นี่คือสภาพที่จัดวันแรก 04/04/2019
ไฟยังไม่พร้อม ใช้อันนี้ไปก่อน
ภาพแบบเต็มๆ
หลังจากนั้น 15/05/2019 ก็ติดไฟอันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพิ่มจอกนิดหน่อย
อันนี้ถ่ายเมื่อวาน 20/06/2019 ตัดแต่งไปสองรอบแล้ว เอากรองออกเพราะสั่นมีเสียงดังและน้ำแรงเกินไป
นอกจากปัญหาทางเทคนิคที่เล่าไปแล้ว ตู้นี้ก็ยังเจอปัญหาต่างๆอีกมาก เช่น
ตะไคร่ แน่นอนซะเหลือเกิน ก่อนที่ระบบจะเข้าที่มันต้องมี ตู้นี้เจอขนเขียวและเส้นใยตั้งแต่สองอาทิตย์แรกครับ ก็จัดการด้วยคาร์บอนน้ำกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มันก็ซบเซาไปแต่ก็ยังพอมีอยู่ในระดับที่รับได้
ปลาหาย ปลาสอดในรูปตอนตั้งตู้กับปัจจุบันนั่นจริงๆแล้วมันคนละตัวกันครับ แต่มันพี่น้องกันสีเดียวกัน ตัวก่อนหายไปไหนไม่รู้เหมือนกัน หาศพไม่เจอ ถ้าไม่โดนจิ้งจกกินก็น่าจะโดดออกมาเอง
น้ำเหลือง ด้วยความที่ปริมาตรน้ำมันน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับปริมาณดินแล้ว อัตราส่วนแทบจะใกล้เคียงกัน ทำให้เวลาเติมน้ำช่วงแรกๆนี่เหลืองอย่างเยี่ยวครับ บอกเลอ ก็ใช้วิธีเปลี่ยนน้ำไปเรื่อยๆครับ เดี๋ยวดินมันหยุดปล่อยสีไปเอง
เล่าถึงประสบการณ์ในการทำตู้ pico ของผมตู้นี้ไปเยอะแล้ว เรามาคุยเรื่องตู้พิโค่แบบรวมๆทั่วไปกันมั่งดีกว่า
ตู้แบบนี้เหมาะกับใคร?
คนที่ไม่มีที่วางตู้ที่ใหญ่กว่านี้ เช่น บนโต๊ะทำงาน หรือคนที่ไม่มีงบประมาณในการทำตู้เยอะๆ (จนนั่นแหละ) และต้องเป็นคนที่ชอบความละเอียด พิถีพิถัน เพราะตู้เล็กๆมันจะเห็นรายละเอียดได้ชัด รวมถึงข้อบกพร่องและตำหนิด้วย ตะไคร่กระจุกเท่าปลายนิ้วก้อยหรือรอยคราบน้ำเล็กๆเท่าเม็ดข้าวสารก็ดูทุเรศมากแล้วในตู้พิโค่ มันจะอารมณ์ประมาณทำบอนไซหรือของจิ๋ว ที่ต้องละเอียดและเบามือ
แล้วไม่เหมาะกับใครบ้าง?
คนที่ไม่เหมาะจะทำตู้ pico ก็คือคนที่ตรงข้ามกับข้างบน คนที่ชอบทำอะไรโผงผาง ขี้รำคาญ ไม่ชอบทำอะไรหยุมหยิม ละเอียดๆ คุณเป็นคนที่ไม่เหมาะกับตู้ pico เพราะทุกอย่างในตู้นั้นจะทำอะไรก็ต้องเบามือมากๆ มือกระตุกนิดเดียวนี่ถึงกับหินถล่มดินกระเจิงเละทั้งตู้ได้ง่ายมากๆ และยังต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอีกหลายอย่างในการเข้าพื้นที่เล็กๆแคบๆ
แล้วมันมีอะไรดี?
แล้วมีอะไรไม่ดีบ้าง?
ตู้นี้ของใครจัดไม่ทราบแน่ชัด แต่มาจาก aquaportail.com
Pico tank ของ Green machine อันนี้ก็แจ่มครับ
ข้อแนะนำในการทำตู้ pico
15/05/2019
21/06/2019
นี่ก็เป็นอีกตู้นึงของผม เป็นช่องนึงของตู้กั้นขายเครฟิชหลายๆช่อง ที่กว้างประมาณ 5 นิ้ว
ก็โลวเทคเหมือนกันครับ ไม่มีอะไรเลยนอกจากไฟ LED T8 9W
แม้จะสกปรกไปหน่อยเพราะผมไม่ได้ทำอะไรกับมันเลยนอกจากเติมน้ำ แต่ระบบสมบูรณ์มากครับ ตะไคร่น้อย น้ำใส ต้นไม้โตดี ปลาสอดx1 หอยx1 เหมือนกัน ต้นไม้เป็นเพิลหวีด แฮร์กราสมินิ หญ้าซาจิ Sagittaria subulata
อีกซักสิบปีถ้ายังไม่ตายซะก่อนอาจจะได้มาคุยเรื่องตู้ femto
ตอนนี้ขอลาไปก่อน อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ และกดกระดิ่ง...อ้าว ลืมไป ไม่ใช่ยูทูบ
つづく
นี่เราทำงานอดิเรกหรือเป็นกรรมกรกันแน่!?
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เมื่อคุณเปลี่ยนมาทำ ตู้
คงเคยได้ยินคำว่าตู้มินิ ตู้นาโนกันใช่ไหมครับ มินิ (Mini) นี่ก็แปลว่าเล็กๆ นาโน (Nano) นี่ก็เป็นหน่วยวัดระบบเมตริกที่หมายถึงหนึ่งในพันล้าน
คนทำตู้ปลาจึงเอามาเรียกตู้ชนิดที่เล็กๆ แบบตู้ 12 นิ้วลงมาว่า "ตู้นาโน" หมายถึงตู้ขนาดที่มันเล็กมากๆ เหมือนนาโนแมชชีน นาโนเทคโนโลยีอะไรแบบนั้น
แต่ก็เหมือนกับหลายๆสิ่ง ที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ของที่เคยเล็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว อาจจะใหญ่สำหรับตอนนี้ ลองดูมือถือเป็นตัวอย่าง เมื่อประมาณสิบปีก่อน สมาร์ทโฟนหนา 8mm นี่คือบางชิบหายแล้ว แต่ตอนนี้ 5-6mm เครื่องละสองสามพันขายกันเกลื่อน
แน่นอนว่าตู้ไม้น้ำก็เช่นเดียวกัน สมัยก่อนนี้ตู้ 24 นิ้วนี่คือเล็กโคตรๆแล้ว เลี้ยงอะไรแทบไม่ได้ เพราะความเข้าใจในระบบ เทคโนโลยีไฟและระบบกรองมันไม่ดีเหมือนเดี๋ยวนี้ แต่ตอนนี้ตู้ 24 นิ้วกลายเป็นขนาดมาตรฐานไปแล้ว เริ่มหาคนทำตู้ใหญ่กว่านี้ยาก ตู้นาโนที่เมื่อก่อนเคยเล็กโคตรๆ ก็เลยกลายเป็นไม่เล็กเท่าไหร่ไปแล้ว ทำให้เกิดตู้ที่คนเรียกกันว่า "ตู้พิโค่ (pico)" ขึ้นมา
Pico เป็นหน่วยวัดระบบเมตริก หมายถึงหนึ่งในล้านล้าน หรือ 10−12 (0.000000000001) มาจากภาษาสเปนที่แปลว่า peak, beak, bit คนจึงเอามาเรียกแทนตู้ขนาดที่เล็กยิ่งกว่าตู้นาโน มีปริมาตรน้ำอยู่แถวๆ 3-5 ลิตรเท่านั้น
แม่จ้าว!! เลี้ยงเข้าไปได้ยังไง เอามือลงไปก็ติดแล้วมั้ง?
คำตอบคือ ใช่ครับ
นี่คือตู้พิโค่ของผม
ขนาดแค่ 6x6x6 นิ้วเท่านั้น ปริมาตรน้ำ 3.5 ลิตรแบบยังไม่หักหินและดิน เหลือจริงน่าจะราวๆ 2-2.5 ลิตร และเป็นตู้โลวเทค ไม่กรอง ไม่ CO2 ไม่พัดลม มีแต่ไฟอย่างเดียว
ไฟเป็นไฟของ UpAqua ตัวเก่าแก่ที่หม้อแปลงพังไปแล้วด้วยซ้ำ นี่ผมใช้หม้อแปลงของ Chihiros A-Series 12v 5A ถ้าจำไม่ผิดน่าจะราวๆ 3-4w เท่านั้น เพราะอย่างที่เห็นคือแสงง่อยมาก แดดที่ทะลุอิฐบล็อกแก้วเข้ามายังสว่างกว่าเยอะ
ตอนแรกก็มีกรองมีอะไรแหละครับ มีกรองแขวนตัวน้อย Jeneca xp-03 มีพัดลมจิ๋ว 1.5นิ้ว และว่าจะติดดิฟให้คาร์บอนด้วย
แต่ล้มเลิกกลางคันครับ เพราะปัญหาเยอะมาก ตั้งแต่กรองแขวนเสือกมีเสียงดัง แก้ไม่หายซักที และน้ำก็แห้งเร็วมากจากพัดลม ต้องเติมน้ำทุกวัน ไม่งั้นน้ำจากกรองแขวนจะพุ่งลงพื้นดินและตีดินฟุ้งทันที และที่สำคัญคือเกะกะอุปกรณ์ชิบหายครับ สายไฟสายอะไรดูรกมาก จะทำอะไรทีก็ต้องเอาออกเพราะติดมือ เข้าไม่ได้ เลยเปลี่ยนแผนทำตู้โลวเทคน่าจะดีกว่า ผลก็ออกมาแบบที่เห็นครับ เลย์เอาท์นี่อย่ามาหวังอะไรมาก เพราะแค่นี้ก็ทะลุเกินเส้นความขี้เกียจผมไปมากแล้ว เอาพอมีอะไรเขียวๆฟูๆให้ได้ดูเล่นก็พอ (ขวดน้ำด้านหลังเอาไว้เติมน้ำ เพราะอย่างที่บอกว่าน้ำลดเร็วมาก แม้จะไม่ได้ติดพัดลมแล้วก็ยังต้องเติมน้ำทุก 2-3 วัน)
นี่คือสภาพที่จัดวันแรก 04/04/2019
ไฟยังไม่พร้อม ใช้อันนี้ไปก่อน
ภาพแบบเต็มๆ
หลังจากนั้น 15/05/2019 ก็ติดไฟอันที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพิ่มจอกนิดหน่อย
อันนี้ถ่ายเมื่อวาน 20/06/2019 ตัดแต่งไปสองรอบแล้ว เอากรองออกเพราะสั่นมีเสียงดังและน้ำแรงเกินไป
นอกจากปัญหาทางเทคนิคที่เล่าไปแล้ว ตู้นี้ก็ยังเจอปัญหาต่างๆอีกมาก เช่น
ตะไคร่ แน่นอนซะเหลือเกิน ก่อนที่ระบบจะเข้าที่มันต้องมี ตู้นี้เจอขนเขียวและเส้นใยตั้งแต่สองอาทิตย์แรกครับ ก็จัดการด้วยคาร์บอนน้ำกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ มันก็ซบเซาไปแต่ก็ยังพอมีอยู่ในระดับที่รับได้
ปลาหาย ปลาสอดในรูปตอนตั้งตู้กับปัจจุบันนั่นจริงๆแล้วมันคนละตัวกันครับ แต่มันพี่น้องกันสีเดียวกัน ตัวก่อนหายไปไหนไม่รู้เหมือนกัน หาศพไม่เจอ ถ้าไม่โดนจิ้งจกกินก็น่าจะโดดออกมาเอง
น้ำเหลือง ด้วยความที่ปริมาตรน้ำมันน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับปริมาณดินแล้ว อัตราส่วนแทบจะใกล้เคียงกัน ทำให้เวลาเติมน้ำช่วงแรกๆนี่เหลืองอย่างเยี่ยวครับ บอกเลอ ก็ใช้วิธีเปลี่ยนน้ำไปเรื่อยๆครับ เดี๋ยวดินมันหยุดปล่อยสีไปเอง
เล่าถึงประสบการณ์ในการทำตู้ pico ของผมตู้นี้ไปเยอะแล้ว เรามาคุยเรื่องตู้พิโค่แบบรวมๆทั่วไปกันมั่งดีกว่า
ตู้แบบนี้เหมาะกับใคร?
คนที่ไม่มีที่วางตู้ที่ใหญ่กว่านี้ เช่น บนโต๊ะทำงาน หรือคนที่ไม่มีงบประมาณในการทำตู้เยอะๆ (จนนั่นแหละ) และต้องเป็นคนที่ชอบความละเอียด พิถีพิถัน เพราะตู้เล็กๆมันจะเห็นรายละเอียดได้ชัด รวมถึงข้อบกพร่องและตำหนิด้วย ตะไคร่กระจุกเท่าปลายนิ้วก้อยหรือรอยคราบน้ำเล็กๆเท่าเม็ดข้าวสารก็ดูทุเรศมากแล้วในตู้พิโค่ มันจะอารมณ์ประมาณทำบอนไซหรือของจิ๋ว ที่ต้องละเอียดและเบามือ
แล้วไม่เหมาะกับใครบ้าง?
คนที่ไม่เหมาะจะทำตู้ pico ก็คือคนที่ตรงข้ามกับข้างบน คนที่ชอบทำอะไรโผงผาง ขี้รำคาญ ไม่ชอบทำอะไรหยุมหยิม ละเอียดๆ คุณเป็นคนที่ไม่เหมาะกับตู้ pico เพราะทุกอย่างในตู้นั้นจะทำอะไรก็ต้องเบามือมากๆ มือกระตุกนิดเดียวนี่ถึงกับหินถล่มดินกระเจิงเละทั้งตู้ได้ง่ายมากๆ และยังต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอีกหลายอย่างในการเข้าพื้นที่เล็กๆแคบๆ
แล้วมันมีอะไรดี?
- ทำง่าย งานไม่หนัก ไม่ต้องแบกหินแบกดินมาก จัดเสร็จแล้วยกทั้งตู้ได้ด้วยมือเดียว
- ย้ายที่ง่าย ใช้เนื้อที่น้อย ลดน้ำนิดเดียว เอาปลากุ้งหอยออก ทิชชู่กระดาษยัดๆกันหินขยับก็ใส่ถุงหิ้วไปไหนก็ได้ ยกไปฝากคนอื่นดูเวลาไปเที่ยวหลายๆวันก็ได้
- ประหยัดเงิน แค่ราคาตู้ก็ไม่ถึง 200 แล้ว ค่าโคม ค่าดิน ค่าอะไรมันถูกไปหมด ต้นไม้ก็ใช้น้อย น้อยจนซื้อลำบาก ซื้อแล้วเหลือบาน
- ประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะถ้าทำตู้โลวเทค ดูตัวอย่างตุ้ผมคือจะเสียค่าไฟแค่ 3-4w เท่านั้นแหละ เดือนนึงน่าจะประมาณ 20บ.ได้
- D.I.Y. สนุก เพราะของจิ๋วๆที่ต้องใช้หลายอย่างไม่มีขาย แม้แต่โคมที่ลงได้สวยๆบางครั้งก็ยังหายาก ทำให้ต้องประดิษฐ์ของใช้เองบ่อยๆ และทำได้ง่ายไม่เปลืองเงินเพราะเป็นของชิ้นเล็กๆ ดัดแปลงได้จากหลายอย่าง แม้แต่ชิลเลอร์ก็สามารถใช้เพลเทียร์แผ่นเดียวเล็กๆพอทำอุณหภูมิได้ถึง 22-23 สบายๆโดยไม่สูบไฟจนเจ้าของตู้หน้ามืดตอนบิลค่าไฟมา เล่นได้เยอะสนุกดีครับ
- ใช้ของแพงได้ ด้วยความที่มันเล็ก ทำให้อะไรๆก็ประหยัดไปหมด คาร์บอนน้ำขวดนึงนี่ใช้ไปสองปีได้ ทำให้เราสามารถใช้ของแพงๆได้แบบไม่ต้องคิดมาก เพราะใช้น้อยและใช้ได้นาน หินแพงๆโลละ 500-600 ก็สบายๆ เพราะใช้ไม่ถึงครึ่งโล เติมน้ำ RO ด้วยน้ำดื่มขวดก็สบาย ขวด 20 ก็ใช้ไปเป็นเดือน
แล้วมีอะไรไม่ดีบ้าง?
- มันเล็ก! ทำอะไรลำบากครับ เอานิ้วจุ่มลงไปจิ้มต้นไม้นิดนึงบางทีน้ำยังล้น ต้องระวังไปหมด ปักต้นไม้ทีนี่ต้องใช้สองมือประคองฟอเซป ขยุกขยิกนิดเดียวไอ้ต้นที่ปักไปก่อนนี้ลอยเลย
- ต้องใช้เครื่องมือช่วยเยอะ ฟอเซปก็ต้องปลายแหลมพิเศษ ต้องมีไม้ปาดดินเล็กพิเศษ ที่ขัดตะไคร่ก็ต้องเล็กๆ อันนี้จะขัดกับข้อดีที่ใช้เงินน้อยในการตั้งตู้ แต่ก็พอประหยัดได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ราคาถูกที่หาได้ง่ายมาดัดแปลง เช่น ใช้ไม้ไอติมตัดปลายในการเกลี่ยดิน ใช้พู่กันเล็กๆในการเขี่ยแต่งนู่นนี่
- ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะมีปริมาตรน้ำน้อย ทุกอย่างในตู้ pico จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากๆ ทั้งอุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน pH แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท เรียกว่าความบรรลัยสามารถมาเยือนท่านได้อย่างว่องไวระดับความเร็วแสง
ตู้นี้ของใครจัดไม่ทราบแน่ชัด แต่มาจาก aquaportail.com
Pico tank ของ Green machine อันนี้ก็แจ่มครับ
ข้อแนะนำในการทำตู้ pico
- เอาที่ชอบ ชอบแบบไหนก็ทำแบบนั้นครับ ควรฟังคนอื่นที่มีประสบการณ์มาแล้ว แต่อย่าเชื่อแบบไม่ลืมหูลืมตา ฟังแล้วเอามาคิด เอามาศึกษาเพิ่ม มาต่อยอดให้เป็นสไตล์ของเรา
- ลงสัตว์น้ำให้น้อยที่สุด พยายามคุมจำนวนสัตว์น้ำให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะระบบเล็กๆแบบนี้รองรับของเสียได้ปริมาณน้อยมากๆแม้จะมีระบบกรอง
- เตรียมน้ำสะอาดไว้เติมและเปลี่ยนใกล้ๆตู้ตลอดเวลา แนะนำขวดพลาสติกขนาด 2-4 ลิตร เพราะน้ำจะลดเร็วกว่าตู้ใหญ่ จะได้มีน้ำเติมได้ตลอด และมีน้ำเปลี่ยนถ่ายที่อุณหภูมิเท่าๆกัน สัตว์น้ำไม่ช็อกอุณหภูมิ
- ใช้หลอดฉีดยาในการเติมปุ๋ยน้ำและสารต่างๆลงในตู้ เพราะหัวปั๊มที่มักจะแถมมากับปุ๋ยและสารพวกนี้มันหยาบไปสำหรับปริมาตรตู้แค่ 3-5 ลิตรแบบนี้
- หาที่ตั้งตู้ที่เย็นและอุณหภูมินิ่งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างที่บอกไปแล้วในข้อเสียของตู้ pico ว่าอุณหภูมิภายในตู้จะเปลี่ยนเร็วกว่าตู้ขนาดใหญ่กว่านี้หลายเท่า สัตว์น้ำอาจจะช็อกกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและป่วยง่าย ต้องระวังเรื่องนี้ให้มากๆ
- อย่าบ้าไฟ เวลาทำตู้เล็กๆเราจะใช้ไฟโอเวอร์ได้เยอะมาก ตู้ 5 ลิตรทำโคมใส่ไฟ LED ขั้วเกลียว e27 18w ง่ายมากๆ แต่นั่นคือเกือบ 4w ต่อลิตรเลยนะ แสงแรงไปไม้ก็ไม่งามได้เหมือนกัน พยายามเลือกกำลังไฟให้เหมาะกับตู้และสไตล์ที่เราจะจัดก็พอ เพราะไฟแรงจะเกิดความร้อนมาก ทำให้อุณหภูมิตู้ขึ้นสูงได้ง่าย และทำให้เราต้องติดพัดลม และน้ำก็จะระเหยเร็ว (แต่ใครตั้งตู้ในห้องแอร์หรือติดชิลเลอร์ ลองอัดไฟโหดดูฟอร์มไม้แปลกๆก็มันส์ดีเหมือนกันนะครับ)
- เลือกไม้เล็กๆ เพื่อให้เหมาะกับสเกลของตู้ ก็แนะนำว่าควรจะเป็นไม้เล็กๆที่ไม่เรื่องมากเท่าไหร่อย่าง เพิลกราส Micranthemum umbrosum เพิลหวีด แฮร์กราส หวีดจิ๋ว Hemianthus callitrichoides 'cuba' โรทาล่า มินิบัตเตอร์ฟลาย Rotala macrandra mini butterfly คริปพาว่า วิลโล่ยุโรป มินิ Fontinalis antipyretica var gracilis เพิลมอส Blepharostoma trichophyllum มอสจาวา Vesicularia dubyana
15/05/2019
21/06/2019
นี่ก็เป็นอีกตู้นึงของผม เป็นช่องนึงของตู้กั้นขายเครฟิชหลายๆช่อง ที่กว้างประมาณ 5 นิ้ว
ก็โลวเทคเหมือนกันครับ ไม่มีอะไรเลยนอกจากไฟ LED T8 9W
แม้จะสกปรกไปหน่อยเพราะผมไม่ได้ทำอะไรกับมันเลยนอกจากเติมน้ำ แต่ระบบสมบูรณ์มากครับ ตะไคร่น้อย น้ำใส ต้นไม้โตดี ปลาสอดx1 หอยx1 เหมือนกัน ต้นไม้เป็นเพิลหวีด แฮร์กราสมินิ หญ้าซาจิ Sagittaria subulata
อีกซักสิบปีถ้ายังไม่ตายซะก่อนอาจจะได้มาคุยเรื่องตู้ femto
ตอนนี้ขอลาไปก่อน อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ และกดกระดิ่ง...อ้าว ลืมไป ไม่ใช่ยูทูบ
つづく