วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567 [08:37:19]

Siamthelphusa retimanus

ปูลําห้วยก้ามลายแห, Thai creek crab
ชื่อวิทยาศาสตร์ Siamthelphusa retimanus
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) Thai creek crab
ชื่อสามัญ (ไทย) ปูลําห้วยก้ามลายแห
ขนาดโตเต็มที่ 2-3 ซม.
อุณหภูมิ 20-30 °C
อัตราการเจริญเติบโต
ปานกลาง
การอยู่ร่วมกัน ก้าวร้าวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่า
ความยาก-ง่าย
ง่าย
บันทึกเมื่อ: 25/05/2565 โดย น้องคูลี่ แก้ไขล่าสุด: 25/05/2565 โดย น้องคูลี่
รายละเอียดอื่นๆ
พื้นฐาน
ปูลําห้วยก้ามลายแหเป็นปูขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปูนาแต่ลําตัวแบนกว่า ลําตัวมีสีตั้งแต่ดําสนิท(คาดว่าเป็นการปรับสีตามสภาพแวดล้อม เพราะพอปูลอกคราบในนํ้าใส สีจะอ่อนลงจนเห็นลายชัดเจน) นํ้าตาล ไล่ไปจนเหลืองตุ่นๆ มีจุดขึ้นตามลําตัว ในบางตัวจะมีลายคล้ายลายแหที่ก้ามอันเป็นที่มาของชื่อ บริเวณกระดองมีรอยคล้ายตราแบทแมนอยู่ จางหรือเข้มแล้วแต่ตัว พบได้บริเวณกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

การเลี้ยงดู
ในกลุ่มปูนํ้าจืดด้วยกัน ปูลําห้วยตระกูล Siamthelphusa ทุกชนิดจัดเป็นปูที่เลี้ยงง่ายที่สุด เพราะทั้งมีขนาดลําตัวที่เล็ก หาง่าย และทนทานต่อสภาพแวดล้อมและความเครียด อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทําให้ปูเครียดหรือไม่สบาย เพราะทนทานไม่ได้แปลว่าไม่สามารถตายได้ โดยการเลี้ยงสามารถทําได้ดังนี้

1.สถานที่ ปูลําห้วยสามารถอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อมและภาชนะ แต่ไม่ควรเล็กจนปูอึดอัด โดยขนาดที่เหมาะสมคือ เส้นผ่านศูนย์กลาง หรือ ความยาว 10 เซนติเมตรขึ้นไป ควรมีฝาปิด หรือไม่ก็ลึกจนปูปีนออกไม่ได้ (เคยเจอมากับตัว) สําหรับการตกแต่ง ควรตกแต่งให้รกด้วยพืชนํ้าและขอนไม้หรือหิน เพื่อให้ปูมีที่หลบตอนลอกคราบ สามารถใส่หัวทราย หรือกรอง เพื่อเพิ่มออกซิเจนในนํ้าได้ ซึ่งช่วยให้ปูไม่ต้องขึ้นมาบนบกเพื่อหายใจ แต่ทั้งนี้ ควรมีพื้นที่พ้นนํ้า เพราะปูบางตัวมีพฤติกรรมชอบหายใจจากผิวนํ้า แม้ระดับออกซิเจนจะพอก็ตาม
2.นํ้า นํ้าควรเป็นค่อนข้างนํ้าสะอาด ปราศจาคคลอรีน ค่าph ประมาณ 7 หรือเป็นกลาง ควรแร่ธาตุเช่นกระดองปลาหมึก หรือแร่ธาตุกุ้งแคระลงนํ้าเพื่อช่วยในการลอกคราบ
3.อาหาร ปูกินทุกอย่าง โดยอาหารที่แนะนําคือ เนื้อสัตว์ไม่มีสารเคมี ผักผลไม้ไม่มีสารเคมี และอาหารเม็ด บางแหล่งแนะนําให้เสริมจุลินทรีย์ด้วย
4.เพื่อนร่วมตู้ ปูลําห้วยสามารถอยู่ร่วมกับสัตว์นํ้าได้หลายชนิด ตราบใดที่พื้นที่มากพอ และขนาดของเพื่อนร่วมตู้ ไม่ควรเล็กกว่าปู และใหญ่จนปูเข้าปากได้ หรือเป็นสัตว์ที่ก้าวร้าว แนะนําให้เป็นสัตว์ที่ว่องไว
ตัวอย่างสัตว์ที่เลี้ยงกับปูลําห้วยได้ ปูมดแดง(ต้องมีที่แอบ) ปลาซิวต่างๆ ปลาหางนกยูงที่หางไม่ใหญ่มากนัก กุ้งแคระ
5.การดูแลรักษา หรือ maintenance เปลี่ยนนํ้าทุกอาทิตย์ หากมีกรองจะช่วยยืดระยะเวลาออกไป หากปูลอกคราบไม่ควรไปยุ่งใดๆทั้งสิ้น

การจับเล่น
ต่างจากสัตว์นํ้าหลายชนิด ปูลําห้วยสามารถจับเล่นได้เพราะเป็นสัตว์ที่ทน อย่างไรก็ตามไม่ควรจับบ่อยเพราะปูจะเครียดและไม่ยอมลอกคราบ ในบางตัวอาจถึงขั้นไม่ยอมกินอาหาร หากโดนหนีบไม่ควรดึงออกโดยตรง ควรใส่นํ้าให้ปูปล่อย หรืองัดก้ามปูหากมือคุณเล็กพอ

การเพาะพันธุ์
เพจ โฮลี่ Crab (2022) ระบุว่า หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม ปูจะผสมพันธุ์กันเอง แต่ทั้งนี้ ไม่ควรมีสัตว์ชนิดอื่นอยู่ด้วย เพื่อลดการสูญเสีย

ที่มา
http://www.siamensis.org/species_index?nid=4768#4768--Species%20:%20Siamthelphusa%20retimanus

กลุ่ม https://www.facebook.com/groups/443092192565133

เพจ https://www.facebook.com/%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88-Crab-102732391913570

ประสบการณ์ส่วนตัว
c1ub.net Aquapedia database v0.8b Licensed under
(CC)BY-SA
with attribution required.