วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567 [11:14:49]

พ110 สัตว์ไม่พึงประสงค์ในตู้ไม้น้ำ พื้นฐานความรู้และการควบคุม

ถ่ายไว้นานแล้วสัตว์ประหลาดมีเต็มตู้เลย... เคย soft reset ตู้ไปทีนึงแล้ว

ล่าสุดพวกมันก็กลับมาใหม่ แล้วก็เยอะเต็มตู้เหมือนเดิม [smile01]

กำจัดยากมากครับ ต้องทำความสะอาดทุกอย่างแบบโคตรสะอาด อย่างพวกโคพีพอดหรือไซครอปนี่มันจะทิ้งไข่ไว้ได้ และไข่มันจะทนทานมาก หรือต่อให้กำจัดจนหมดได้ ไข่มันก็มากับน้ำประปาได้อีก ตู้เพาะไรแดงผมล่มส่วนมากก็เพราะมีพวกนี้แหละ ต้องรีเซ็ตใหม่เรื่อยๆ ทำให้อยู่นานๆไม่ได้สักที


นี่ก็สัตว์ประหลาด แต่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดไหน ถ่ายผ่านกล้องส่องพระครับ ลักษณะคล้ายกับหนอนทะเลที่มีพู่ออกมาสำหรับดักอาหาร หากดูดีๆจะเห็นน่าจะเป็นตัวสีขาวขุ่นอยู่ในปลอก ปลายเป็นพู่บาน ปลอกใสจะยาวและแตกแขนงไปเรื่อย


นี่ก็สัตว์ประหลาด แต่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดไหน ถ่ายผ่านกล้องส่องพระครับ ลักษณะคล้ายกับหนอนทะเลที่มีพู่ออกมาสำหรับดักอาหาร หากดูดีๆจะเห็นน่าจะเป็นตัวสีขาวขุ่นอยู่ในปลอก ปลายเป็นพู่บาน ปลอกใสจะยาวและแตกแขนงไปเรื่อย

ไม่เคยเห็นแบบนี้เลย แปลกดีครับ
#18 หอยเจดีย์ Malaysian trumpet snail (MTS) เมื่อ: 14/11/2561 [20:27:54]
หอยเจดีย์ (Malaysian trumpet snail, MTS)



หอยเจดีย์ หรือ Malaysian trumpet snail (MTS) เป็นหอยที่ถือว่าค่อนข้างมีประโยชน์ในตู้ปลาและตู้ไม้น้ำ เพราะนอกจากจะกินเศษซากอินทรียวัตถุ เช่น อาหารปลาที่เหลือหล่น ซากใบไม้ ตะไคร่ ซากสิ่งมีชีวิตที่ตายในตู้ ยังสามารถพรวนพื้นดินพื้นทรายในตู้ได้อีกด้วย เพราะหอยชนิดนี้ในเวลากลางวันจะแอบอยู่ใต้พื้นดินพื้นกรวดในตู้ และออกมามากเฉพาะในเวลากลางคืนหรือปิดไฟตู้แล้ว ทำให้มันเป็นหอยที่ไม่ค่อยจะเกะกะสายตาเราเหมือนหอยที่แพร่พันธุ์ได้เร็วและหอยไม่ได้รับเชิญชนิดอื่นๆ และการมุดตัวของมันยังทำให้พื้นตู้ไม่อัดตัวแน่น รากต้นไม้ชอนไชได้ดี ออกซิเจนเข้าไปถึงรากต้นไม้ได้ดีขึ้น แถมยังกินตะไคร่ได้ด้วย แต่การมุดตัวของมันนี่เองที่บ่อยครั้งก็ทำให้ต้นไม้ที่รากตื้นอย่างพวกแฮร์กราสมินิ หลุดลอยจากพื้นปลูกได้

แต่บ่อยครั้งที่พบว่าหอยเจดีย์แพร่พันธุ์ในตู้จนมีปริมาณเยอะมากๆ ในตู้ที่มีปริมาณอาหารปลาเหลือเยอะ หรือมีตะไคร่มาก ถ้าหากรู้สึกว่ามีหอยเจดีย์เยอะเกินไปหรือไม่ต้องการให้มี ก็แนะนำให้เก็บช้อนออกด้วยกระชอนหรือคีบด้วยฟอร์เซ็ป หรือจะใช้สายยางดูดน้ำดูดออกไปตอนเปลี่ยนน้ำ หรือใช้ หอยกินหอย C.Helena หรือใช้ยาฆ่าหอยที่มีส่วนผสมของ Copper หรือ Mebendazole ก็สามารถฆ่าหอยได้ทุกชนิด (ผู้เลี้ยงควรศึกษาวิธีการใช้อย่างระมัดระวัง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การใช้ยาถ่ายพยาธิ ฟูกาคาร์, เบนด้า 500 กำจัดพลานาเรีย ไส้เดือนน้ำ, ไฮดร้าและหอย) และควรเก็บเศษใบไม้ ดูดเศษตะไคร่ที่ขูด/ขัดแล้วออก และปรับปริมาณอาหารปลาให้เหมาะสม เพื่อลดอาหารของหอยเจดีย์ เป็นการควบคุมปริมาณหอยอีกทางหนึ่งด้วย

แต่เนื่องจากหอยเจดีย์นั้นมีประโยชน์ในการเป็นผู้ย่อยสลายเศษอินทรีย์ในตู้และยังกินตะไคร่ได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าหากผู้เลี้ยงสามารถควบคุมปริมาณให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ก็ไม่จำเป็นต้องกำจัดออก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28/09/2562 [21:23:18] โดย บัง »
#19 หอย Bladder snail เมื่อ: 14/11/2561 [21:02:16]
หอย Bladder snail (Physella acuta)


หอย Bladder สามารถไต่ขึ้นไปเดินเหนือน้ำได้สบายๆ

หอยมาตรฐานในตู้ไม้น้ำอีกชนิดหนึ่งที่ผู้เลี้ยงไม้น้ำแทบทุกคนจะต้องเจอ เพราะด้วยขนาดตัวที่เล็กและไข่ของมันที่มองเห็นได้ยาก ทำให้ทั้งตัวและไข่ของมันมักจะติดมากับไม้น้ำหรืออุปกรณ์ตบแต่งตู้ที่เราซื้อมาอยู่เสมอ

หอย Bladder snail กินตะไคร่และเศษซากพืชซากสัตว์ในตู้ได้แทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นใบไม้เน่า ตะไคร่ที่เกาะตามกระจกตู้ เศษอาหารปลาที่เหลือ ซากปลาตาย แม้แต่ฝ้าผิวน้ำมันก็กินได้ แต่ไม่พบว่ากินต้นไม้และใบไม้ที่ยังมีสุขภาพดีอยู่ การกินประเภทอาหารได้อย่างกว้างขวางนี้เองที่ทำให้มันสามารถอาศัยอยู่ในตู้ไม้น้ำและตู้ปลาทั่วไปได้อย่างสบาย และก็มักจะแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนจนเต็มตู้ สร้างความรำคาญและทำลายความสวยงามของตู้ไม้น้ำได้ในระดับหนึ่ง


หอย Bladder กำลังเก็บกินตะไคร่ที่กระจกตู้


หากพบว่ามีหอยชนิดนี้เพิ่มจำนวนมากจนเกินไป ให้สังเกตดูตู้ของเราว่ามีตะไคร่ โดยเฉพาะตะไคร่สีน้ำตาล ที่เป็นอาหารหลักของหอยชนิดนี้อยู่ในตู้เป็นจำนวนมากหรือไม่ เพราะแหล่งอาหารที่มีมากจะเป็นต้นเหตุประการแรกๆที่ทำให้หอยสามารถเพิ่มจำนวนได้มาก นอกจากนี้ควรเก็บเศษใบไม้ ดูดเศษตะไคร่ที่ขูด/ขัดแล้วออก และปรับปริมาณอาหารปลาให้เหมาะสม เพื่อลดอาหารของหอยและควบคุมจำนวนประชากรของพวกมันจากต้นเหตุ


แม้แต่ฝ้าผิวน้ำ หอย Bladder ก็กินได้ ถ้ามันหาอะไรกินไม่ได้จริงๆ

นอกจากจะพยายามจัดการปัญหาที่ต้นเหตุแล้ว การใช้สัตว์ที่กินหอยก็เป็นการควบคุมปริมาณหอย Bladder ได้เป็นอย่างดี ซึ่งสัตว์ที่ว่านี้ก็จะมี หอยกินหอย, Assassin snail และปักเป้าแคระ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วถ้าไม่ได้ชอบเจ้าปักเป้าแคระจริงๆแล้ว แนะนำให้ใช้หอยกินหอยจะดีกว่าครับ เพราะเมื่อเจ้าปักเป้าแคระกินหอยจนหมดแล้ว เราจะต้องลำบากหาหนอนแดงหรือหอยมาให้มันกินเป็นภาระกับคนเลี้ยง และหลายครั้งก็พบว่ามันมักจะตายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ตรงกันข้ามกับหอยกินหอยที่เรียกว่าถึกโคตรๆ หอยหมดแล้วก็กินอาหารปลาก็ยังได้ และยังสามารถออกลูกเพิ่มจำนวนได้เองอีกด้วย (หอยกินหอยจะออกลูกน้อยถึงน้อยมากครับไม่ต้องกลัวว่าจะล้นตู้)

ถ้าใช้มาตรการควบคุมข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ก็ลองพิจารณาใช้ยาดูครับ แต่ควรจะเก็บไว้เป็นวิธีสุดท้ายเท่านั้น เพราะมีความเสี่ยงกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆและต้นไม้พอสมควรครับ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการใช้ยากำจัดหอยได้ใน การใช้ยาถ่ายพยาธิ ฟูกาคาร์, เบนด้า 500 กำจัดพลานาเรีย ไส้เดือนน้ำ, ไฮดร้าและหอย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14/11/2561 [21:06:14] โดย บัง »
หอยเลขหนึ่งจิ๋ว Gyraulus sp.



เป็นหอยน้ำจืดอีกชนิดหนึ่ง ที่ชอบมาเกาะกระจกตู้ให้ดูแล้วเกะกะรกรุงรัง แต่ไม่มีอันตรายใดๆกับสัตว์และพืชทุกชนิด จากการสังเกตพบว่าหอยชนิดนี้กินตะไคร่และเศษซากพืชซากสัตว์ในตู้ได้แทบทุกชนิด มักจะอาศัยเกาะอยู่บริเวณพื้นผิวแข็ง เช่น หิน ขอนไม้ กระจกตู้ เพื่อกินคราบตะไคร่และแบคทีเรียบริเวณพื้นผิวเป็นอาหาร ทำให้มักพบระบาดเป็นจำนวนมากในตู้ที่มีปริมาณของเสียมากและมีตะไคร่เยอะ

การควบคุมปริมาณหอยเลขหนึ่งจิ๋วจึงสามารถใช้วิธีการควบคุมคุณภาพน้ำให้สะอาด ทำให้มีแหล่งอาหารของหอยชนิดนี้น้อยลง ซึ่งส่วนมากเมื่อน้ำสะอาดดีแล้วหอยชนิดนี้ก็มักจะลดจำนวนลงไปได้เองโดยอาศัยเพียงการกำจัดด้วยวิธีการเก็บออกด้วยมือหรือบี้ให้ตัวแตก! [evil01]


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/03/2563 [21:37:20] โดย บัง »
หอยบลัดฮอร์น, แรมฮอร์น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18/03/2563 [21:37:31] โดย บัง »
หนอนนีมาโท หนอนตัวกลมชนิดหนึ่ง ประเภทเดียวกับพยาธิเส้นด้าย, พยาธิไส้เดือน ที่ชอบไชตูดเรานั่นแหละครับ
—— แล้วมันจะไซเข้ามือเราเวลาปักไม้น้ำ ไหมค่ะ ขนลุก
หนอนนีมาโท หนอนตัวกลมชนิดหนึ่ง ประเภทเดียวกับพยาธิเส้นด้าย, พยาธิไส้เดือน ที่ชอบไชตูดเรานั่นแหละครับ
—— แล้วมันจะไซเข้ามือเราเวลาปักไม้น้ำ ไหมค่ะ ขนลุก

ไม่ไชครับ มันจะอยู่เหมือนไส้เดือน ไม่มีอันตราย
หอยฝาชีด้วยนะอย่าลืม ฝากเขียนด้วยนะครับตัวนี้ หอยกินหอยก็ไม่ค่อยจะกิน