อยากทราบโรคของกุ้งมีอะไรบ้างและทางรักษา+ป้องกัน

<< < (3/6) > >>

artofwars:
 die1
กุ้งตายมีแผลกลางหลัง
กุ้งที่ตายในลักษณะนี้พบมากเมื่อเลี้ยงไประยะหนึ่ง มีกุ้งบางส่วนตายและไปกองอยู่กลางบ่อ ซึ่งทุกตัวที่ตายมีแผลกลางหลัง พบว่าบ่อที่กุ้งตายเป็นจำนวนมาก จะเป็นบ่อที่มีความเค็มต่ำกว่าบ่อที่มีความเค็มปกติและบ่อที่ปูพีอี น้ำไหลเร็ว ก็จะเป็นมากกว่าบ่อที่กระแสน้ำไม่แรงมาก จากการตรวจ และตัดเนื้อเยื่อมาดูอย่างละเอียด จะพบว่าบริเวณแผลกลางหลังจะมีการอักเสบ ลึกมากและเป็นบริเวณกว้าง ทำให้มีผลต่อการลอกคราบและการเคลื่อนไหวของกุ้ง แต่การติดเชื้อแบคทีเรียจะมีน้อยมาก การอักเสบเหมือนแผลเรื้อรัง ซึ่งน่าจะมาจากช่วงที่กุ้งลอกคราบ จะมีกุ้งบางส่วน ถ้าน้ำไหลเร็วมากโดนเครื่องตีน้ำ ถ้าไปโดนจุดที่ไม่สำคัญก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าตรงกลางตัวจะเห็นได้ชัดว่ามีปัญหา จากการสอบถามจากฟาร์มที่กุ้งมีอาการ ก็มีการยืนยันอย่างชัดเจน พบว่า บ่อที่ความเค็มต่ำกว่าจะเป็นมากกว่าบ่อที่ความเค็มสูง บ่อพีอีที่น้ำไหลเร็วก็เป็นมากกว่า ใกล้เคียงกับกุ้งในประเทศเปรู ซึ่งหลังจากกุ้งอายุ 40 วัน ที่เลี้ยงในบ่อพีอีที่ใช้เครื่องตีน้ำ 36 แรงม้าต่อเฮกแตร์ (6ไร่) น้ำไหลวน แรงมาก น้ำเชี่ยว พบว่ากุ้งที่ตายนิ่มเป็นวุ้นเนื่องจากกุ้งที่ลอกคราบยังพยุงตัวเองไม่ได้ น้ำไหลแรงมาก ไปกระแทกกับกุ้งตัวอื่นหรือหลักที่ปักไว้ทั่วบ่อเพราะเลี้ยงอยู่ในโรงเรือน ดังนั้นช่วงที่กุ้งลอกคราบควรเปิดเครื่องตีน้ำไม่ให้น้ำเชี่ยวมากเกินไป เพราะเห็นชัดว่าบ่อที่น้ำแรง เชี่ยวมาก FCR จะไม่ดี อาหารบางส่วนถูกกระแสน้ำพัดเข้าไปกลางบ่อ กุ้งต้องใช้แรงพลังงานมากในการสู้กับกระแสน้ำ ถ้าเป็นโรคหรือเกี่ยวข้องกับโรคไม่น่าจะมีแผลกลางตัวอย่างนี้ทุกตัวแต่ที่ประเทศเปรูกุ้งที่ตายเป็นตัวนิ่มเหมือนวุ้นทุกตัว

กล้ามเนื้อขาวขุ่นที่มาจากไมโครสปอริเดียน
ซึ่งในบ่อพักน้ำมีกุ้งแชบ๊วยเป็นโรคนี้มาก จะเป็นทุกที่ บางฟาร์มเตรียมน้ำโดยการใช้ คลอรีน หรือไอโอดีน แต่ใช้ปริมาณน้อย ก็จะพบว่ากุ้งเป็นโรคนี้ได้ โฮสต์กึ่งกลาง หรือ intermediate host ที่จะมาถึงกุ้งก็จะเป็นปลา เมื่อกุ้งกินกุ้งที่ป่วยด้วยโรคนี้จะไม่ติดเชื้อ แต่ถ้าปลาไปกินสปอร์ที่ขับถ่ายมาจากกุ้ง แล้วกุ้งไปกินขี้ปลา กุ้งจะติดเชื้อ เพราะฉะนั้นถ้าจะไม่ให้เกิดโรคนี้ต้องกำจัดปลาและพักน้ำให้นานพอสมควร หลังจากกำจัดปลาแล้ว ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าสปอร์ที่อยู่ในขี้ปลานั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานแค่ไหน แต่ถ้าใช้คลอรีนในอัตราที่ฆ่าปลาได้ เมื่อคลอรีนสลายตัวหมด และทำสีน้ำใหม่ น่าจะลดการเกิดโรคนี้ได้มาก แต่ถ้าใช้คลอรีนในความเข้มข้นต่ำหรือไม่ใช้สารเคมีฆ่าปลาจะพบกุ้งขาวเป็นโรคนี้สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์  แต่หลังจากนั้นการเกิดโรคจะไม่เพิ่มขึ้นอีก หมายถึงว่าที่เป็นโรคก็จะทยอยตาย แม้ว่าในบ่อจะมีปลาก็ไม่มีการเพิ่มจำนวนกุ้งที่ติดโรคใหม่ เพราะตอนจับกุ้งก็จะไม่เห็นกุ้งตัวที่เพิ่งมีการติดเชื้อ แสดงว่าการติดเชื้อน่าจะมาจากช่วงแรกลูกกุ้งกินขี้ปลาที่สปอร์ยังอยู่ในระยะที่ทำให้เกิดโรคได้

โรคกุ้งก้ามกรามในระหว่างการอนุบาลลูกกุ้ง
 โปรโตซัว
ในบ่อที่มีอาหารเหลือมาก และมีสิ่งหมักหมมมากที่พื้นบ่ออนุบาล มักจะมีโปรโตซัวเกาะตามระยางค์ของลูกกุ้ง  ที่พบมากได้แก่ ซูโอแทมเนียม (Zoothamnium) และอีพิสไตลิส (Epistylis)

การป้องกัน
ควบคุมปริมาณอาหารและทำความสะอาดพื้นและขอบบ่อก่อนดูดเปลี่ยนถ่ายน้ำ จะช่วยลดโอกาสการมีโปรโตซัวเกาะตามลำตัวและระยางค์ของลูกกุ้ง

artofwars:
อ้าอิงจากhttp://www.nicaonline.com/kungthaipage20.html
 [วิญญาณ]



   ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนาที่มีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่น แม้ว่าจะมีการจัดการอย่างดีในเกือบทุกขั้น
ตอนระหว่างการเลี้ยงก็ตาม   ปัญหากุ้งป่วยเป็นโรคก็ยังพบเห็นอยู่เสมอ ๆ  เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน
เป็นบางช่วงซึ่งนอกเหนือการควบคุมและการจัดการเกษตรกรที่มีความรู้และประสบการณ์มากปล่อยกุ้งไม่หนาแน่น
เลี้ยงเฉพาะในช่วงที่ไม่เสี่ยงคือฤดูกาลที่โรคไม่รุนแรง อาจไม่เจอปัญหากุ้งป่วยมากนักการจัดการที่ดีทั้งในเรื่องอาหาร
น้ำและพื้นบ่อจะลดโอกาสการเกิดโรคได้มาก แต่การเลี้ยงกุ้งหรือสัตว์อะไรก็ตามย่อมต้องมีโอกาสเจ็บป่วย  และเป็น
โรคได้เสมอ ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรคได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วจะทำให้การแก้ปัญหาต่างๆ มีโอกาส
ประสบความสำเร็จมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดโรคผิด การสูญเสียย่อมจะเกิดขึ้นมาก
     การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของผู้เลี้ยงหรือนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง การ
วินิจฉัยโรคเฉพาะปลายเหตุเช่นมีกุ้งขึ้นขอบบ่อ เมื่อนำไปตรวจและพบว่ามีซูโอแทมเนียมมากบนเหงือกและบนลำตัว
มีการแนะนำให้ใช้สารเคมีในการกำจัดซูโอแทมเนียม การแนะนำในลักษณะนี้อาจจะไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เนื่องจาก
กุ้งป่วยส่วนมากจะมีซูโอแทมเนียมเกาะมาก การวินิจฉัยโรคให้ได้ผลดีมากขึ้นจะต้องทราบข้อมูลของการเลี้ยงตลอด
ระยะเวลา  เพื่อนำไปประกอบและพิจารณาหาสาเหตุของการเกิดปัญหานั้น ๆ
     ในกรณีที่กุ้งป่วยเป็นโรคไวรัส จะต้องเข้าใจว่าโรคไวรัสไม่มียารักษา การกินยาปฏิชีวนะไม่สามารถป้องกันหรือ
ลดการตายจากไวรัสได้   เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง มักจะชอบถามว่าจะใช้ยาอะไรเสมอในการแก้ปัญหาต่าง ๆ   แทนที่จะ
วิเคราะห์หาสาเหตุ และหาทางแก้ที่ต้นเหตุก่อน ความรุนแรงต่าง ๆ ก็จะลดลงไปได้ การสังเกตอาการกุ้งเริ่มผิดปกติ
จึงมีความสำคัญมาก เพราะเมื่อเริ่มมีกุ้งบางตัวแสดงอาการผิดปกติ   ในขณะที่กุ้งส่วนใหญ่ยังแข็งแรงการแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ทำได้ง่าย

 อาการผิดปกติที่สังเกตได้ในเวลากลางวัน
      การเดินดูรอบบ่อตั้งแต่เช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะมีกุ้งป่วยเกาะตามขอบบ่อมีความจำเป็นมาก การยกยอและดูลูก
กุ้งที่เข้ามาในยอก็สามารถบอกอะไรได้หลายอย่างเช่น
1. ไม่มีอาหารในลำไส้ กุ้งที่ป่วยมักจะไม่กินอาหาร ส่วนกุ้งที่ไม่แข็งแรงจะกินอาหารน้อย แสดงว่ากุ้งในบ่อเริ่มป่วย
ต้องหาทางแก้ไขทันที
2. ผิวตัวไม่มันกล้ามเนื้อสีขาวขุ่น และกุ้งป่วยมักจะมีสีเข้มกว่าปกติ หรือสีซีดกว่าปกติ ตัวจะไม่แน่น ผิวตัวมักจะไม่
มันอาจจะเป็นเมือกหรือมีอะไรเกาะตามเปลือก ส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีสาเหตุโน้มนำมาจากสภาพ
ที่ไม่เหมาะสมในบ่อเช่น   พื้นบ่อไม่สะอาด   น้ำใสเป็นเวลานานเป็นต้น
3. การดีดตัวไม่แรง เมื่อยกยอถ้ากุ้งแข็งแรงจะดีดตัวแรงและกุ้งส่วนใหญ่จะดีดตัวออกจากยอ ในขณะที่กำลังดึงยอ
ขึ้นเหนือน้ำ
4. แพนหางไม่กาง กุ้งที่อ่อนแอ แพนหางจะหุบเมื่อจับบริเวณโคนหาง แพนหางจะไม่กางออกมาเหมือนกุ้งที่แข็งแรง
5. เหงือกไม่ขาวใส เหงือกกุ้งปกติจะใสสะอาด ถ้ากุ้งเริ่มมีเหงือกสีเข้มขึ้นเช่นเหลืองเข้ม สีชาหรือสีน้ำตาล แสดงว่า
เริ่มมีปัญหาพื้นบ่อสกปรก

 อาการผิดปกติที่สังเกตได้ในเวลากลางคืน
1. กุ้งมีตัวซีดขาวผิดปกติ มักจะเกิดในบ่อที่น้ำมีตะกอนขุ่นมาก กุ้งส่วนใหญ่จะมีสีขาวซีด
2. เหงือกกุ้งมีสีชมพูตัวสีแดงเข้ม มักจะพบกับกุ้งที่มีความเครียดมากในบ่อที่มีคุณภาพน้ำเริ่มไม่ดีเช่นออกซิเจนอาจจะ
เริ่มต่ำหรือกุ้งหนาแน่นและสภาพในบ่อทั่วไปเริ่มไม่ดี
3. ตาจะมีสีซีดจาง ตามปกติเมื่อส่องไฟไฟโดนตากุ้ง จะเห็นตากุ้งเป็นสีแดง และกุ้งจะดีดตัวหนีออก แต่ถ้ากุ้งมีสีตา
ซีดจาง แสดงว่ากุ้งป่วย และจะไม่หนีถึงแม้จะส่องไฟนาน ๆ
4. กุ้งเกาะขอบบ่อมาก เป็นอาการเริ่มแรกของกุ้งที่กำลังจะขาดออกซิเจนถ้ายิ่งดึกกุ้งยิ่งเกาะขอบบ่อมากขึ้น และบาง
ส่วนจะเริ่มลอยบริเวณผิวน้ำ
     ลักษณะที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดสังเกตได้ไม่ยาก ผู้เลี้ยงกุ้งต้องสังเกตบ่อย ๆ เมื่อพบความผิดปกติก็สามารถแก้ปัญหา
ต่าง ๆ ได้

Ake@A.Squares.Sanambinnam:
ความรู้แน่นปึกเลย

ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม:
อ้างจาก: artofwars ที่ 27/08/09, [11:48:38]

dea02
อะ แบบนี้วันดีคืนดี กลับไปเจอว่าน้องกุ้งเค้ามีอาการผิดปกติ
ก้อ ต้องปล่อยเค้าไปหรอ คับ

ถ้าเป็นแบบคนก็ดีนา ที่ว่าเป็นหวัดก็ไปซื้อ ยาที่7-11 หรืออะไรก็ว่ากันไป
แย่จัง แบบนี้ถ้าเค้าเป็นอะไร คงต้องเอาน้องเค้ามา ย่างเกลือดีกว่า
อย่างน้อยก้ออิ่มท้องเรา ไม่เสียค่าไฟฟ้า

ออกแนวโหดแล้วซิตู
 cryingrun


  ก็พาเขาไปหาสัตว์แพทย์ หรือ ขอคำปรึกษาจากในเวบบอร์ดสัตว์แพทย์ซิครับ   036  จะปล่อยน้องกุ้งเขาไว้เฉยๆทำไมล่ะครับ

ถ้าอยากรักษาเขาจริงๆ เราต้องหาหนทางได้อยู่แล้วครับ ถึงอยู่ใกลกันก็ส่งน้องเขาใส่กล่องโฟม ส่ง EMS ไปถึงมือสัตว์แพทย์เลยก็ได้ครับ

อย่างน้อยแม้จะช่วยไม่ได้ ก็อาจจะรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร เพราะบางครั้งอาจจะเกิดโรคระบาดของกุ้งในที่เลี้ยงก็ได้นะครับ

ถ้าไม่ได้รับการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี เอากุ้งตัวใหม่มาเลี้ยงในที่เดิมๆ ก็อาจจะเจออาการป่วยแบบเดิมได้เช่นกันครับ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพวกไวรัส

ค่อนข้างจะอันตรายมากครับ



 ป.ล. ส่วนโรคกุ้งในเชิงพาณิชย์ หลายๆโรค ใช้เพียงการดูแลคุณภาพน้ำ แล้วให้กุ้งรักษาตัวเอง ก็สามารถที่จะหาย หรือ ลดอัตราการตายลงได้จริงครับ

artofwars:
 sho01

ผมว่าหาสัตว์แพทย์ ไม่แน่ใจว่าได้ผล งะ เท่าที่รู้ผมว่าเป็นประมงจะตรงมากกว่าพวกหมอหมานะ คับ

ส่วนขอคำปรึกษาจากในเวบบอร์ดสัตว์แพทย์ซิครับ   อันนี้ผมเข้าไม่เป็นขอทางเข้าหน่อยได้งะ

ส่วนโรคกุ้งในเชิงพาณิชย์ ที่เอาให้ได้ดูได้อ่านกันคงไม่ต่างกันอะคับ โรคที่กุ้งเราเลี้ยงกันอยู่ในตู้
เพราะกุ้งมันก็กุ้งอยู่ดี คงไม่มีแบบว่าวันนี้เป็นน้องกุ้งสีสดใส่พอลอกคราบออกกลายเป็นBatman อ่านะ

 nono1

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว