
สวัสดีครับ วันนี้กลับมาพร้อมกระทู้ชวนคิดลึกกันอีกแล้ว
เนื่องจากช่วงนี้น้ำท่วม ทำให้คิดมาก คิดลึก นั่งมองปลาหมอสีที่เลี้ยงไว้แล้วคิดว่าถ้าเขายังอยู่ตามธรรมชาติ
เขาจะอยู่กันยังไงหน๋อ เขาจะลำบากไม๊... หรือจะสุขสบายดี
แล้วไอ้ที่เราจัดตู้ปูกรวดให้นี่ มันดี มันเหมาะกับเขาหรือยัง ถ้าดี ทำให้ดีกว่านี้ได้ไม๊
ถ้าไม่ดี ทำให้ดีกว่าเดิมได้หรือเปล่า
อย่ากระนั้นเลย ลองหารูปดูดีกว่า...

หาอยู่หลายวันเชียวครับ เพราะต้องการรูปที่ดีสักหน่อย ไอ้รูปที่เห็นบ่อยๆ มันก็น่าเบื่อซ้ำซาก จำเจ
แล้วผู้เขียนก็เก่งภาษาเป็นที่สุดในสามโลก กว่าจะคลำทางเจอ จนจับเส้นถูกนี่ เล่นเอาปวดไข่ดันกันเลยทีเดียว
พอหารูปเจอก็ต้องมานั่งคัด นั่งแยก (ตอน Save เสือกไม่ได้แยก Folder) ย่อรูปกันสนุกสนาน
บางเว็บก็ไม่ให้ save ผมก็หน้าหนา หน้าทนไปก๊อปมาเสียดื้อๆ นี่ถ้าโดนฟ้องมีหวังได้แก่ตายในคุก

ก่อนที่จะอ่านกระทู้นี้ ขอออกตัวก่อนว่าวัตถุประสงค์ไม่ได้ต้องการจะให้ไปสรรหาวัตถุมาแต่งตู้กันนะครับ
เพียงแต่อยากให้ทราบว่าปลาหมอสีในธรรมชาตินั้นเขาอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบใด ดังนั้นหลักการแนวคิดที่ทุกคนยึดติดจึงไม่มีการตัดสินจากกระทู้นี้อย่างแน่นอน ผู้ที่จะชี้ถูก ชี้ผิดได้ต้องเป็น ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น!
เอร๊ยยยยยย!!! ไม่ใช่ซักกะหน่อย
ผู้ที่ชี้ถูก ผิดได้คือผู้อ่านทุกท่านนี่แหละ เพราะเรื่องการจัดตู้ปูกรวดนี่ มันเป็นรสนิยมใคร รสนิยมมันครับ
จะจัดหรือไม่จัด จะใส่หรือไม่ใส่ อันนั้นก็เรื่องของคุณผู้อ่าน
เพราะคุณผู้อ่านไม่ได้ไปจัดตู้บนหัวกระบาลใคร จริงไม๊ครับ

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องนั้นเราต้องทำความเข้าใจ(แบบง่ายๆ)ก่อนว่า ปลาหมอสีที่เราเลี้ยงอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปลาที่จับมาจากแม่น้ำ ลำธาร หรือทะเลสาบอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นปลาที่ช้อนมาจากตู้ หรือบ่อปูนนี่แหละ
ถึงแม้จะเพาะเลี้ยงกันมานานเป็นสิบปี แต่สันดานเดิมของปลาหมอสีส่วนใหญ่ยังไม่จางหาย
(ยกเว้นบางชนิดเช่น ปลาหมอออสก้า ซึ่งตอนนี้กลายเป็นปลาหมอปัญญาอ่อนไปแล้วในสายตาผู้เขียน น่ารัก ไม่ดุ กินอาหารเม็ด เชื่องมือ เชื่องเท้าเป็นที่สุด)

ดังนั้นการที่เราจะเข้าใจปลาหมอสีจริงๆ นั้น นอกจากจะหาข้อมูลการเลี้ยงทั่วๆ ไปแล้ว
เราควรจะมาสนใจสภาพความเป็นอยู่ของปลาในธรรมชาติบ้างก็คงดี
เพราะเราจะได้เข้าใจว่า เขาอยู่ยังไง ทำไมถึงนิสัยอย่างนี้เป็นต้น
อุปมาก็เหมือนจะหาเมียสักคน ก็ต้องดูกันจนถึงแม่ ถ้าแม่ไม่อยู่ให้ข้ามไปดูที่ยาย

เอาล่ะ พล่ามกันมาพอสมควรแก่เวลา ถึงเวลานี้ขอเชิญเจ้าภาพขึ้นทอดผ้าบังสุกุลกันได้แล้ว
เราเริ่มจากที่ไหนก่อนดีล่ะ...
อ่ะ เอาที่นี่ก่อนแล้วัน
v
v
v
Lake Tanganyika

อยู่บริเวณแอฟริกากลาง มีความยาวกว่า ๖๔๐ กิลโเมตร
มีส่วนกว้างที่สุด ๘๐ กิลโมตร มีระดับความลึก ๑๔๗๐ เมตร
ถือว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของโลก
้ด้วยเนื้อที่ขนาดนี้ แน่นอนว่าความหลายหลายย่อมต้องมีมากมายก่ายเกือก
ดูได้จากรูปลักษณ์ของปลาในทะเลสาบแห่งนี้มีความหลากหลายมาก
พบได้ทั้งน้ำตื้น น้ำลึก อาศัยอยู่ตามเปลือกหอยขนาดเล็ก จนถึงหินใต้ทะเลสาบขนาดใหญ่





ดังนั้นการจะเลี้ยงดูปลาหมอในทะเลสาบแห่งนี้นอกจากจำเป็นต้องรู้ลักษณะโดยทั่วไปแล้ว
ลักษณะสภาพแวดล้อมที่ปลาจากมา ก็น่าจะช่วยให้ท่านสามารถรังสรรค์ สวรรค์ของปลาหมอน้อยมาไว้ที่บ้านท่านได้อย่างน่าอภิรมย์




นอกจากจะเป็นการจัดให้ตู้ของคุณดูสวยงามแล้ว การจัดวางที่ถูกวิธี มีลีลา อาจกลายเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ปลาหมอตัวน้อยๆ ของคุณออกลูกออกหลานให้ชื่นชม


ผมชอบมากเลย ปลาหลดจากทะเลสาบแห่งนี้ แต่เห็นราคาแล้วลมแทบจับ...
เลยกลับมาเลี้ยงปลาหลดบ้านเราต่อ



นี่ปลาหมอนะครับ ไม่ใช่ปลาซิวปลาสร้อยอพยพ




ดูจนถึงตอนนี้แล้ว อยากกลับบ้านไปซื้อหินมาจัดตู้แล้วล่ะซิ หุหุหุ
ใจเย็นๆ อ้ายทิด เวลามีอีกมาก ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ วางแผนไป




ปลาหมอราคาหลักสิบ หลักร้อย แต่หากนำมาใส่ตู้ที่จัดไว้อย่างสวยงาม ลงตัว เหมือนธรรมชาติ
ย่อมต้องสร้างมูลค่าความงามให้กับตู้ปลาของท่านได้อย่างมหาศาล โอฬาร ตระการตา

น้ำท่วมแบบนี้ เดี๋ยวรอน้ำลด เปลือกหอยคงมีให้เก็บมากมายเลยนะครับ
ใครชอบตู้แบบนี้ เตรียมถุง เตรียมกระสอบมาเก็บเปลือกหอยกัน


ปลาหมอตัวโปรดของผมเลย Neolamprologus cylindricus






ไม่ต้องถึงขนาดหาแผ่นหินหนักๆ มาใส่ตู้หรอกนะครับ เอาไว้จัดสวนดีกว่า ้hahaha




^
^
^
เอาแบบนี้ก็พอมั้ง... กองหินแจ่มๆ ๑ กอง


มองเห็นปลารึเปล่าครับ เนียนมาก...









สภาพแบบนี้ น้ำตกบ้านเราก็มีนะครับ ใครไปเที่ยวลองเอาแว่นดำน้ำติดไปด้วย
ถึงที่หมายแล้วก็ลองดำน้ำดู สวยดีจริงๆ ตื้นๆ ก็พอนะจะได้เห็นชัดๆ


ขอนไม้ ในทะเลสาบ...



อันนี้ธรรมชาติทำนะครับ ไม่ได้มีใครมาจัดวาง แต่ก็ดูเอาไว้เป็นแบบอย่างได้อย่างดีทีเดียว




Telmatochromis vittatus กำลังส่งยิ้มให้คุณอยู่ !




ไอ้นี่พออยู่ในทะเลสาบ ดูน่ากลัวแฮะ...




อุตสาดำน้ำลงไปดูปลาในทะเลสาบทังกันยิกาทั้งที จะไม่เจอเจ้านี่ได้ไง




ต้นไม้ในทะเลสาบ






ผมเคยเห็นตู้แซงแซวแบบนี้ที่ฟาร์มพี่กอล์ฟ อ่างทอง สวยงามมาก

ดูจนถึงตอนท้ายแล้วนะครับ อยากจะบอกว่า จัดอะไรก็จัดไป แต่อย่าลืม...
วิธ๊จัดการดูแลความหมักหมม และเรื่องน้ำด้วยนะครับ
จัดมาก ก็หมักหมมมาก ลองหาวิธีแก้ไข เอาให้สบายทั้งคนและปลาก็แล้วกัน





Lake Malawi
ผมว่าคนเลี้ยงปลาส่วนใหญ่รู้จักและเคยได้ยินชื่อปลาหมอจากทะเลสาบแห่งนี้กันทุกคน
ส่วนใหญ่ต้องเคยลองของ ลองเลี้ยงแน่นอน และเชื่อว่าคงได้ประสบการณ์เลวร้ายจากปลาหมอทะเลสาบนี้ตามสูตร...
ผมก็โดน [on_007]
ส่วนใหญ่จะท้อใจแล้วหันไปเลี้ยงปลาชนิดอื่น แต่ก็มีพวกตีมึน ยังดื้อดึงจะเลี้ยงต่อ
ก็มักจะได้คำแนะนำจากพ่อค้าว่า ใส่ไปเยอะๆซิมันจะได้ไม่กัดกัน
มันก็ถูก แต่ถูกครึ่งเดียว เอาไว้ว่างๆจะมาเล่าเรื่องการเลี้ยงให้ฟัง
เห็นช่วงนี้พรายกระซิบบอกมาว่า มาลาวีกำลังจะกลับมา...
วันนี้มาดูแหล่งอาศัยของปลาหมอแสนสวยก่อนแล้วกัน

ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายทะเลสาบทังกันยิกานี่แหละครับ แต่ความหลากหลายน้อยกว่า
เนื่องจากขนาดเล็กกว่า ดูได้จากปลาในทะเลสาบแห่งนี้มีรูปร่างที่คล้ายกัน
ต่างกันนิดๆ หน่อยๆ รวมถึงขนาดของปลา



ทะเลสาบมาลาวี มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๙ ของทะเลสาบในโลกมีขนาดความยาว ๕๖๐ กม.
กว้าง ๘๐กม. ความลึกกว่า ๗๐๐ เมตร และเป็นแนวเขตแดนของประเทศมาลาวีกับโมแซมบิก
ทะเลสาบแห่งนี้ยังมีความหลากหลายของสายพันธุ์ปลาที่มากแห่งหนึ่ง ของโลกมากกว่้า ๕๐๐ ชนิด
และปลาตระกูลปลาหมอเป็นพันธุ์ปลาที่มีมากที่สุด



กองหินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับปลาหมอมาลาวีจำำพวก Mbuna ดังนั้นหากคิดจะเลี้ยงต้องหามาใส่นะครับ



คริสตี้ตัวเมีย (มั้ง) ว่ายโชว์ความงามเหนือกองหิน



ส่วนพวก Non-mbuna ก็เป็นกลุ่มที่หากินบนผืนทรายใกล้กองหิน เพราะอาหารของมันคือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ฝังตัวใต้ผืนทราย แต่เมื่อมีภัยก็พร้อมที่จะหลบเข้าซอกหินเพื่อป้องกันชีวิตของตัวเอง


ผมชอบรูปนี้ ใครจะเลี้ยงมาลาวี จัดตู้แบบนี้ให้ดูหน่อย...





ในธรรมชาตินั้นปลาในกลุ่ม mbuna และ Non-mbuna จะอาศัยอยู่ใกล้ๆ กัน
ดังนั้นในตู้เลี้ยงขนาดใหญ่สัก ๔๘ นิ้วก็สามารถเลี้ยงปลาทั้งสองกลุ่มได้

เวลานอนก็จะนอนในซอกหินนี่แหละครับ




มีเมียตามติดมาด้วยแฮะ...

รูปมองจากด้านบน...

Copadichromis Crysonotus รึเปล่าหว่า...
ผมไม่ค่อยชัวร์เรื่องชนิดปลาในกลุ่มนี้มากนะครับ รู้แค่ งู งู ปลา ปลา
ถ้าตัวไหนคล้ายกัน ผมแยกไม่ออกครับ

อมไข่ด้วยแฮะ... มองเห็นป่าวครับ



นี่คือเหตุที่ทำให้ปลาหมอในกลุ่ม Mbuna มีนิสัยดุร้าย
เพราะอาหาร (ตะไคร่) มีน้อย จึงจำเป็นต้องแย่งทำเลหากิน ใครทับที่ทับทาง พ่อจะฟัดให้ใส้ปลิ้น...




Tropheops sp. 'red cheek' งามขั้นเทพ!





กองหินกองเบ้อเริ่ม น่าเอามากองเล่นในบ่อเนอะ...




Buccochromis lepturus เพศเมีย(คิดว่าน่าจะใช่...)

ไม่รู้ว่าอยากเป็นคน หรืออยากเป็นปลาดี แต่ถ้าได้เป็นปลา สัญญาว่าจะเข้าไปคลุกคลีด้วย

สังคมของ mbuna จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นปลาตัวเมียซะส่วนมาก
ส่วนตัวผู้ที่ไม่มีสีคือพวกลูกไล่เอาไว้ซ้อมเล่ยยามว่าง
ตัวที่มีสีสันคือ จ่าฝูง คอยคุมอาณาเขตของตัวเองและไม่ให้ปลาอื่นเข้ามาในฮาเร็ม

สำหรับมาลาวี ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ครับ...
แต่ยังไม่จบนะครับ ยังเหลือภาพจากโซนอเมริกา ถ้าหายเมื่อยแล้ว เลื่อนไปดูด้านล่างได้เลย...
North America
สำหรับโซนนี้มีเพียงสกุลเดียวครับ นั่นคือ Herichthys
ลักษณะโดยรวมผมว่ากึ่งๆ ทะเลสาบนะครับ อารมณ์ประมาณไปดำน้ำดูปลาที่น้ำตกเอราวัณ
คือ มีทั้งดิน หิน โคลน รากไม้ แต่น้ำใสมาก คิดว่าคงเป็นเพราะหินปูนที่ละลายมาจากภูเขาครับ
โซนนี้มีเพียงสกุลเดียวเพราะว่าสภาพภูมิอากาศยากต่อการขยับขยายครับ
เวลาหน้าหนาว น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง แล้วปลาหมอสีก็ไม่ใช่หมีขั้วโลกที่มันจะจำศีลได้
ดังนั้นการกระจายพันธุ์ในเขตนี้จึงมีน้อยครับ



๓ ภาพบนนั่นเป็นภูเขาในประเทศเม็กซิโกครับ สภาพโดยรวมเหมือนไปเที่ยวอุตรดิตถ์
ปลาในภาพคือ Herichthys tamasopoensis คิดว่าใช่นะครับเพราะมีชนิดที่คล้ายกันอยู่อีก ๒-๓ชนิด



การจัดตู้สำหรับปลาสกุลนี้ก็ไม่ยากครับ ตามภาพเลย กรวด ขอนไม้ รากไม้ หินขนาดต่างๆ
ส่วนต้นไม้ไม่ต้องใส่ครับปลารื้อเล่นเปล่าๆ



แต่ถ้าเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น ส่วนใหญ่ที่เห็นก็ตู้โล่งแหละครับ เต็มที่ก็ปูกรวดบางๆ พอ



นี่เป็นแหล่งน้ำที่พบปลาครับ สภาพเหมือนท้องร่องตามสวนแถวชานเมือง แต่มีหินปนมาเท่านั้นเอง


ต่อไปลงใต้มาหน่อยเป็นแถบอเมริกากลาง แถบนี้อากาศอบอุ่นขึ้น ปลาจึงมากชนิดตามครับ
Central America
ปลาในโซนนี้หากคิดจะเลี้ยงผู้เขียนแนะนำให้เลี้ยงตู้ละ ๑ ตัวเท่านั้นครับ จัดตู้ให้สวย ขนาดตู้ก็ ๓๖ นิ้วขึ้นไป
ถ้าหากมีพื้นที่สักหน่อยก็สามารถเลี้ยงเป็นคู่ได้ครับ เมื่อปลาจับคู่วางไข่เสร็จ ค่อยหาอะไรมากั้นตู้เลี้ยงเทียบไปอีกสักพัก ก็เลี้ยงรวมได้ต่อ
เลี้ยงไม่ยาก ทนทาน คุ้มค่า คุ้มราคามากครับ

ไม่ใช่ปลาหมอนะ แต่ชอบครับ


ลักษณะทั่วไปในบริเวณนี้จะเป็นภูเขาสลับกับที่ลุ่มนะครับ บริเวณใดเป็นแหล่งน้ำในหุบเขา
น้ำก็จะใส เหมือนสระมรกต ที่จังหวัดกระบี่เลยทีเดียว
ส่วนในบริเวณที่ลาบลุ่มก็จะมีสีขุ่นสักหน่อยเนื่องจากน้ำได้พัดพาตะกอนมาทับถมอยู่
ปลาในแถบนี้จึงอยู่ได้หลากหลายสภาพน้ำครับ มันจึงทนทาน และราคาตก [on_051]



๓ ภาพบนนั่นอยู่ในเม็กซิโกครับ น้ำใสมาก





จะเห็นว่าที่เม็กซิโกจะเป็นส่วนคาบเกี่ยวของการกระจายพันธุ์ระหว่างปลาหมออเมริกากลาง และอเมริกาเหนือนะครับ
เหมือนที่บราซิล ที่มีรายงานว่าพบปลาจากทางอเมริกากลางและอเมริกาใต้อยู่ด้วยกัน
แต่ก็เป็นเพียงแค่พื้นที่เล็กๆ เท่านั้นครับ เพราะธรรมชาติได้กั้นพรมแดนการกระจายพันธุ์ไว้ด้วยภูมิประเทศ และค่าเคมีของน้ำ
นั่นจึงเป็นตัวกั้น กันปลาไม่ให้ลงใต้หรือขึ้นเหนือมากจนทำให้ความสมดุลย์เสียไป
ในภาพเป็น Caquetaia kraussi ปลาหมอจากทางอเมริกาใต้
แต่ก็ทะลึ่งว่ายมาแถบอเมริกากลางเช่นกัน


ปลาดินสอก็พบตามรอยต่อที่ว่านี้เช่นกันครับ น่าจะบริเวณประเทศบราซิล




Thorichthys maculipinnis ปลาสกุลนี้สวยแต่ดุ Shift-หาย เล่นเอาผมเข็ดขี้อ่อนขี้แก่กันเลยทีเดียว มีที่เบาหน่อยก็ไฟร์เม้าท์



คิดว่าน่าจะเป็นปลาในสกุล Cryptoheros คิดว่าน่าจะเป็น Cryptoheros spilurus

Vieja regani !!!


Paratheraps sp. coatzacoalcosi

Paraneetroplus bulleri



เห็นสภาพความเป็นอยู่แล้วอย่าพึ่งอิจฉาปลานะครับ ในดอกไม้งามมักมีผึ้งเสมอ... [mo_001]



ทีนี้มาปิดท้ายด้วยอเมริกาใต้กันครับ ผมว่าหลายๆคนคงชอบกัน
รวมถึงตัวผู้เขียนด้วยครับ
South America
ด้วยสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้ปลาจากแหล่งนี้มีลักษณะภายนอกที่หลากหลายที่สุด
นับเป็นโชคดีของเรานะครับ ที่สภาพโดยทั่วไปคล้ายบ้านเรา
ทำให้การเลี้ยงปลาจากแหล่งนี้เป็นเรื่องไม่ยากเย็นนัก
ยกเว้นการพักอัลตั้ม ้hahaha

Andinoacara pulcher ปลาในกลุ่มริวูเลตัส เลี้ยงง่ายสีสวย

Cichla orinocensis

ผมว่าบ้านเรา เราคุ้นชินกับปลาหมออเมริกาใต้ที่สุดแล้วนะครับ
และดูเหมือนว่าอะไรๆ มันก็ง่ายไปหมดสำหรับการเลี้ยงปลาหมอจากแหล่งนี้
ทั้งขอนไม้ กรวด หิน สภาพน้ำ ใบหูกวาง ใบกล้วย อาหารสดชนิดต่างๆ
โอย... ขอบอกว่าฝรั่งตาน้ำข้าวมันอิจฉาเราจะตายชักครับ (ในเรื่องนี้เท่านั้นนะ เรื่องอื่นไม่รู้...)

Crenicichla alta



Crenicichla saxatilis

Crenicichla geayi

Crenicichla marmorata


ผมว่าปลาในโซนนี้เลี้ยงได้หลากหลายแนวนะครับ มีทั้งใหญ่ ทั้งเล็ก มีทั้งดุ และไม่ดุ
การจัดตู้ก็คงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนุกไม่แพ้การเลือกหาปลามาเลี้ยงเลยทีเดียว





แต่ก็ไม่ถึงกับต้องแบกดิน แบกเลนมาเทใส่ตู้นะครับ ใบไม้ใบหญ้าก็อย่าให้เยอะ ประเดี๋ยวหมักหมมน้ำเน่าแล้วจะหาว่าปลาระเบิดไม่เตือน ฮี่ ฮี่ ฮี่

เหมือนมองจากด้านข้างตู้




หรือถ้าเอาเร็วทันใจก็ต้นไม้ปลอมครับ เลือกแบบดีๆ หน่อยผมว่าก็สวยไม่เลวเลยนะ...




Heros spurius


อันนี้ไม่เกี่ยวกับปลาหมอ แต่เห็นว่าการวางหินและสีของกรวดทรายเข้าท่าดี





เมื่อไหร่จะมาในราคาหลักร้อยสักทีนะ เจ้านกแก้วสายแท้
มาทีมาซะแรงเชียว [on_009]






รึจะทำตู้แบบ Riparium ดี...

ผมเคยเอาบัวไปใส่ตู้ Geophagus ด้วยแหละ
ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง รือออกแทบไม่ทัน...
ปลาหมอมันฟัดรากฝอยซะลอยเต็มตู้ไปหมด เฮ้อ... หางานแท้ๆ






เอากิ่งไม้มาหักแล้วโรยให้เต็มตู้ดีไม๊หน๋อ...
เคยลองแล้วเหมือนกันครับ ใยแก้วดำ+ตันง่ายชิบเป๋ง...













ไม่ต้องเอาใบไม้สดใส่ลงไปในตู้นะครับ เดี๋ยวน้ำเน่า
เอาแค่ใบกล้วย ใบกูกวาง แค่นี้ก็พอครับ



ก็หวังว่ากระทู้นี้คงมีประโยชน์บ้างนะครับ อย่างน้อยๆ ก็คงทำให้มีไอเดียในการสร้างสรรค์ตู้ปลาหมอ
ให้ดูสวยงามสมกับที่ทุกๆ ท่านลงทุนลงแรงกันไป
ใครทำเสร็จแล้วก็โพสรูปให้ดูหน่อย จะได้จรรโลงวงการปลาหมอสีสายแท้ให้ครึกครื้นคงอยู่ตลอดไป





สำหรับวันนี้คงต้องขอตัวลากันก่อนนะครับ
สำหรับผู้ที่ใช้เน็ตภูธรทั้งหลายก็ขออภัย ที่ทำให้โหลดช้าขนาดนี้





สวัสดี...