Aqua.c1ub.net
*
  Thu 26/Dec/2024
หน้า: 1 2  ทั้งหมด   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความ : ค่า PH ที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับการเจริญเติบโตของไม้น้ำ  (อ่าน 30896 ครั้ง)
ณ~ใชเหมี่ยง ออฟไลน์
Club Champion
« เมื่อ: 14/11/10, [15:38:45] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

       

         มาเกริ่นนำกันก่อนดีกว่า..เมื่อก่อนเคยสงสัยเกี่ยวกับค่า ph และการเจริญเติบโตของไม้น้ำมาตลอดว่ามันจะเกี่ยวกันตรงไหน แล้วทำไม ph มันถึงมีส่วนที่ทำให้ไม้น้ำเจริญเติบโตได้ดีแตกต่างกัน ตามสภาวะของน้ำ ก็เลยไปค้นหาข้อมูลมานี่แหละครับ ก็หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์....
         มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ค่า ph และการเป็นกรดด่างขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งน้ำรวมถึงแหล่งกำเนิดของน้ำเพราะน้ำในแต่ละที่แน่นอนว่าค่า ph ไม่เท่ากัน รวมไปถึงดินด้วยซึ่งดินก็มีส่วนที่ส่งผลต่อค่า ph เช่นกัน ซึ่งค่า ph จะเป็นตัวควบคุมความมากน้อยของธาตุอาหารที่จะละลายออกมาอยู่ในน้ำ

         แล้ว ph เท่าไหร่ถึงจะดีที่สุดละ ?? แล้วมันเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชยังไงหรอ ??
         พืชส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดีที่ ph 6.0-7.0 ก็นี่แหละที่สงสัยมาตลอดว่ามันเกี่ยวกันยังไงกับการที่ต้นไม้ของคุณจะงอกงาม  ก็เพราะค่า ph มีผลเกี่ยวกับการดูดซึมและการปลดปล่อยธาตุอาหารในตัวของดินด้วยเช่นกัน ความสำคัญของ pH ยังเกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานที่เป็นประโยชน์ของจุลินทรีย์ต่างๆด้วย ปกติสารประกอบอินทรีย์ต่างๆจะเน่าเปื่อยผุพังได้ก็โดยที่มีจุลินทรีย์ต่างๆเข้าย่อยสลาย ขณะที่สารอินทรีย์พวกนี้กำลังสลายตัวก็จะปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาซึ่งรากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้ (พวกปุ๋ยฝังต่างๆ) เมื่อฝังลงไปในดินแล้วทำให้พืชงอกงามดีขึ้น ก็เนื่องจากจุลินทรีย์พวกนี้เข้าย่อยและทำให้ปุ๋ยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง การที่ปุ๋ยที่ทำจากสารอินทรีย์มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ช้ากว่าปุ๋ยเคมี  ก็เนื่องด้วยเหตุที่ปุ๋ยที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ต้องรอให้จุลินทรีย์เข้าย่อยให้สลายตัวเสียก่อน ซึ่งผิดกับปุ๋ยเคมี (หรือปุ๋ยน้ำนั้นแหละ) เมื่อละลายน้ำแล้วพืชก็สามารถดึงดูดเอาธาตุอาหารจากปุ๋ย ไปใช้ได้ทันที ดังนั้นจุลินทรีย์พวกนี้จะทำงานได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพเมื่อ pH ของดินและน้ำอยู่ระหว่าง pH 6-7 ถ้าดินเป็นกรดรุนแรงถึงกรดรุนแรงมาก จุลินทรีย์ในดินจะทำงานได้ช้าลง ปุ๋ยและสารอินทรีย์ในดินและน้ำจะสลายตัวและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ช้ามาก เมื่อดินเป็นกรดรุนแรงและกรดรุนแรงมากนั้น มักจะพบว่าพืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโต และงอกงามเท่าที่ควร





         แล้วผลที่ตามมาของค่า ph ที่มันไม่เหมาะสมละ ??
         ถ้าดินค่อนไปทางด่างคือมีค่าสูงกว่า 7 กลุ่มธาตุอาหารที่พืชจะไม่สามารถลำเลียงไปใช้ได้ได้แก่ ฟอสฟอรัส ทองแดง เหล็ก แมงกานีส สังกะสีและโบรอน ยิ่งโน้มไปทางด่างมากเท่าไร พืชก็ยิ่งไม่สามารถดูดไปใช้ได้มากเท่านั้น หากเกินค่าวิกฤตที่ไม่เพียงพอตามความต้องการของพืชก็จะแสดงอาการขาดธาตุให้เห็นทางสายตาได้
         ในทางกลับกัน เมื่อดินค่อนไปทางกรด พืชจะดูดฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกเนเซียมและโมลิบดีนัมไปใช้ยากขึ้น หาก pH ต่ำกว่า 6 พืชอาจแสดงอาการขาดธาตุ 4 ตัวนี้ได้ หากดินมี pH ต่ำกว่า 5.5 พืชอาจแสดงอาการเป็นพิษกับอลูมิเนียมและแมงกานีส เพราะมันจะเริ่มละลายออกมาอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป ส่วนธาตุเหล็กจะเริ่มละลายออกมามากในดินที่มี pH ต่ำกว่า 5.0 และกิจกรรมของเชื้อราที่เป็นประโยชน์ในดินจะเริ่มลดลง สุขภาพพืชจะแย่ลงด้วย





         พึ่งรู้นะเนี่ยว่าค่า ph จะมีผลต่อการดูดซึมของธาตุอาหารด้วย ว่าแต่ธาตุอาหารที่จำเป็นมันมีอะไรบ้างละ ??
              
         ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของพืชมี 16 ธาตุ แบ่งเป็น 4  กลุ่ม
            

-คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นองประกอบที่มีมากที่สุดในพืช เพราะพืชประกอบด้วยน้ำและอากาศรวมกันถึง 94-99%
-ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซียม (K) มักเรียกธาตุอาหารหลักหรือปุ๋ย เพราะพืชต้องการใช้มาก และดินมักจะขาดธาตุเหล่านี้ ทุกวันนี้มันถึงต้องมีปุ๋ยน้ำนี่เอง โฮ๊ะๆ
-แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) เรียกว่าธาตุรอง เพราะพืชต้องการใช้มากรองจาก N, P, K
-เหล็ก (Fe) แมงการนีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองดอง (Cu) โบรอน (B) โมลิบดีนัม (Mo) คลอรีน (Cl) พืชต้องการในปริมาณน้อยมากแต่ก็ขาดไม่ได้  จึงเรียกกลุ่มนี้ว่า จุลธาตุ


          ทำไมมันเยอะยังงี่ เริ่มจะปวดกบาลแล้ว ว่าแต่ถ้ามันขาดธาตุพวกนี้หรือว่าได้รับมากเกินไปจะเป็นอะไรรึป่าว ??
 
งั้นมาดูตามตารางเลยละกัน


ธาตุหน้าที่ขาดธาตุได้รับมากเกินไป
ไนโตรเจนเร่งการเจริญเติบโตของลำต้น ใบ หัว-ลำต้นเหลืองผิดปกติ ใบเหลือง
-ใบร่วงก่อนกำหนด
-พืชไม่โตลำต้นผอมสูง
-ใบมีสีเขียวเข้ม
- มีใบจำนวนมาก
- ลำต้นเติบโตมากกว่าราก
ฟอสฟอรัสทำปฏิกิริยากับน้ำตาลฟอสเฟต
มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง
-ใบขยายขนาดช้าจึงเล็ก
-จำนวนใบน้อย
-ใบล่วงเร็วกว่าปกติ
-ใบอ่อนมีสีเหลือง
ระหว่างเส้นใบแต่เส้นใบมีสีเขียว
- เนื้อเยื่อใบตายขอบใบไหม้
โพแทสเซียม- ควบคุมแรงดันออสโมติกของเซลล์คุม
- รักษาสมดุลของไอออนภายในเซลล์
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ
- ควบคุมสังเคราะห์และการเคลื่อนย้ายแป้ง
- ใบเหลือง
- ขอบใบ และปลายใบไหม้
- เนื้อเยื่อใบตายเป็นจุดๆ
  โดยเกิดที่ใบแก่ก่อน
-
แคลเซียม - เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์
- เกี่ยวกับการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์
หลายชนิด
- เนื้อเยื่อปลายยอดและ
  ปลายรากตาย
- ใบอ่อนหงิกงอ
- ปลายใบขอบใบเหี่ยว
-
แมกนีเซียม - เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่
  เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
  สังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ใน
  กระบวนการเคลื่อนย้ายฟอสเฟต
- ใบมีสีเหลืองบริเวณระหว่างเส้นใบ
  เกิดที่ใบแก่ก่อน
- เกิดจุดสีแดงบนใบ
- ปลายและขอบใบม้วนเป็นรูปถ้วย
-
เหล็ก -  เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีน
   หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการรับและ
   ส่งอิเล็กตรอนในกระบวนการหายใจ
   และ การสังเคราะห์ด้วยแสง
 - เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์
   คลอโรฟิลล์
- ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ
  แต่เส้นใบมีสีเขียว เกิดที่
  ใบอ่อนก่อน
- ถ้าอาการรุนแรงใบอ่อน
  อาจมีสีขาวและแห้งตาย
- เกิดเป็นจุดเซลล์
   แห้งตายบนใบ
ซัลเฟอร์
(กำมะถัน)
- เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน
  บางชนิด เช่น เมไทโอนีน และ
  เป็นองค์ประกอบของโคเอนไซม์ เอ
- เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์
  คลอโรฟิลล์ กระบวนการหายใจ
  การสังเคราะห์ด้วยแสง
  การสังเคราะห์โปรตีนและ
  การสลายกรดไขมัน
- ใบเหลืองทั้งใบโดยเกิดที่
  ใบอ่อนก่อน หรือเกิดใบเหลือง
  ทั้งต้น
- ยับยั้งการสังเคราะห์
  ด้วยแสง และทำให้
  โครงสร้างคลอโรฟิลล์
  สูญเสีย
แมงกานีส-บทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสง
-จะเป็นในการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
-อาการใบเหลือง แต่เส้นใบเขียว
-เกิดกับต้นอ่อน การเจริญเติบโตช้า
-ทำให้เกิดการขาด Ca ที่ใบอ่อน
ทองแดง-บทบาททางอ้อมในการสร้างคลอโรฟิลล์
-เป็นตัวเร่ง Enzyme หลายชนิด
-ช่วยในกระบวนการหายใจ
-เป็นองค์ประกอบของโปรตีน
-ใบพืชเขียวจัดในช่วงแรก
และต่อมาค่อยๆเหลืองลง
-การเจริญเติบโตลดลง
และอาจแสดงอาการขาด Fe ด้วย
สังกะสี-เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต
-มีส่วนในการขยายพันธุ์พืชบางชนิด
-บทบาททางอ้อมในการสร้างคลอโรฟิลล์
-เป็นตัวเร่ง Enzyme หลายชนิด
-ยอดยืดช้า ใบเป็นกระจุก ใบเล็กแคบ
-มีกิจกรรมของออกซิเจนลดลงถึง 50%
-
โมลิบดีนัม-จำเป็นในการตรึงไนโตรเจน
-เป็นตัวก่อให้เกิด Metabolism ของไนโตรเจน
-เป็นตัวเร่ง Enzyme หลายชนิด
-มักเกิดอาการใบล่างแห้งตาย
-ขอบใบหงิกงอ มีจุดด่างเกิดขึ้น
-
โบรอน-เกี่ยวข้องกับการดูดดึง Ca ของรากพืช
-ช่วยให้พืชใช้ K ได้มากขึ้น
-มีบทบาทในการสังเคราะห์และย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต
-ปรับสัดส่วนระหว่าง K และ Ca ในพืชให้เหมาะสม
-ช่วยให้ดูด N ได้ดี
-เกี่ยวข้องกับการดูดและคายน้ำ และกระบวนการสังเคราะห์แสง
-ยอดชะงักการเจริญเติบโต
ทำให้ต้นแคระแกน
-รากเจริญน้อย สั้นผิดปกติ
-

*** วันนี้แค่นี้ก่อนละกัน รูปอะไรยังไม่ได้เอาลง เพราะปวดหัวกับตารางคอดๆ [on_007] ไว่ค่อยปรับแต่งทีหลัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14/11/10, [19:24:02] โดย ณ~ใชเหมี่ยง »
Tags: ไม้น้ำ 
wsquare ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #1 เมื่อ: 14/11/10, [15:58:10] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ  [เจ๋ง]
kungchaiget ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #2 เมื่อ: 14/11/10, [16:07:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กำลังสงสัยเรื่องนี้อย่างแรงครับ ขอบคุณครับ
ioclub ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #3 เมื่อ: 14/11/10, [16:53:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

กระจ่าง [เจ๋ง]
N@ture ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #4 เมื่อ: 14/11/10, [19:07:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับการเเบ่งบันเเละบทความดีๆครับ
Coffman ออฟไลน์
Sponsor
« ตอบ #5 เมื่อ: 14/11/10, [19:28:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โปรแกรมนี้ช่วยเรื่องตารางท่านได้
http://www.ecardmax.com/hoteditor/index.html

รออ่านให้จบครับ มีประโยชน์มากมาย  [เจ๋ง] [เจ๋ง]


อ้างถึง
pH ต่ำกว่า 5.0 และกิจกรรมของเชื้อราที่เป็นประโยชน์ในดินจะเริ่มลดลง สุขภาพพืชจะแย่ลงด้วย
นิดนึงนะครับ

ภาพจาก aquajournal ครับ  http://www.aquajournal.net/na/basics/basics_02.html
ปกติเชื้อราที่มีประโยชน์ต่อรากพืช เช่น mycorrhiza หรือ filamentus fungi มีช่วง pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเป็นกรดนะครับ pH 4-6  ตรงนี้ดูขัดกันพอสมควร [งง]
ลองตรวจสอบดูตรงนี้อีกนิดนึงนะครับว่าราอะไร?
ภาพจาก https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=66393

มี E book เกี่ยวกับ mycorrhiza อย่างละเอียดเผื่อใครสนใจอ่านครับ http://www.springerlink.com/content/gv02444k45435366/fulltext.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14/11/10, [21:18:40] โดย coffman »
เอกกะมอส ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #6 เมื่อ: 14/11/10, [20:20:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
Meduza ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #7 เมื่อ: 14/11/10, [20:44:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณครับ ยอดๆ
RK` ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #8 เมื่อ: 14/11/10, [21:10:36] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ตารางแจ่มมาก [เจ๋ง]  ตู้ที่บ้านนี่หลายอาการเลย [on_007]
vinbitxp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #9 เมื่อ: 14/11/10, [21:36:50] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอดครับ [on_066]
shunsu ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #10 เมื่อ: 14/11/10, [22:17:57] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [on_066]ความรู้ดีๆ มีแล้วไม่เก็บไว้คนเดียว
ณ~ใชเหมี่ยง ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #11 เมื่อ: 15/11/10, [13:21:00] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

โปรแกรมนี้ช่วยเรื่องตารางท่านได้
http://www.ecardmax.com/hoteditor/index.html

รออ่านให้จบครับ มีประโยชน์มากมาย  [เจ๋ง] [เจ๋ง]

นิดนึงนะครับ

ภาพจาก aquajournal ครับ  http://www.aquajournal.net/na/basics/basics_02.html
ปกติเชื้อราที่มีประโยชน์ต่อรากพืช เช่น mycorrhiza หรือ filamentus fungi มีช่วง pH ที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเป็นกรดนะครับ pH 4-6  ตรงนี้ดูขัดกันพอสมควร [งง]
ลองตรวจสอบดูตรงนี้อีกนิดนึงนะครับว่าราอะไร?
ภาพจาก https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=66393

มี E book เกี่ยวกับ mycorrhiza อย่างละเอียดเผื่อใครสนใจอ่านครับ http://www.springerlink.com/content/gv02444k45435366/fulltext.pdf


ขอบคุณนะครับพี่เก่งสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ว่าแต่มีอะไรผิดพลาดต้องแก้ตรงไหนบอกได้นะครับ บางครั้งมันเบลอๆบลาๆ [on_abe]
Aurora ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #12 เมื่อ: 15/11/10, [20:54:06] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สั้นๆ เข้าใจง่ายดี  [เจ๋ง]
tyu ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #13 เมื่อ: 16/11/10, [14:17:34] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ช่วยบอกวิธีทำน้ำเป็นกรดอะครับ ต้องทำอย่าง(แบบบ้านๆนะ) [on_003]
ณ~ใชเหมี่ยง ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #14 เมื่อ: 16/11/10, [14:24:28] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ช่วยบอกวิธีทำน้ำเป็นกรดอะครับ ต้องทำอย่าง(แบบบ้านๆนะ) [on_003]

ความจริงแค่เปิดคาร์บอนไดออกไซน์น้ำก็เป็นกรดอ่อนๆแล้วนะครับ แล้วก็มีในเรื่องการใช้ดิน เดี๋ยวนี้มีดินที่มีคุณสมบัติ ph buffer เช่นกันครับ
fish3345 ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #15 เมื่อ: 16/11/10, [14:54:31] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันกันครับ
aramisman ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #16 เมื่อ: 16/11/10, [15:23:47] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณมากครับ [ไอ้แว่น] [ไอ้แว่น]
GUPU ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #17 เมื่อ: 19/11/10, [13:15:35] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

.....ขอบคุณครับ.....
piyamar ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #18 เมื่อ: 20/11/10, [08:19:04] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณ สำหรับ ความรู้ดีดี ค่ะ
Anubias ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #19 เมื่อ: 21/11/10, [20:59:33] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เป็นข้อมูลที่อ่านเข้าใจง่ายและมีความชัดเจนโดยเฉพาะตารางอาการขาดและเกินของการกินธาตุอาหารตัวต่างๆ  น่าจะเอาไปเก็บไว้ในห้องสมุดไม้น้ำได้เลย  มีประโยชน์มากกกกก    ขอบคุณครับ
gungo ออฟไลน์
Club Champion
« ตอบ #20 เมื่อ: 21/11/10, [21:48:21] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

 [เจ๋ง] ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับบบบบ
BiG River ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #21 เมื่อ: 31/12/10, [00:02:16] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


T
H
A
N
K
S
฿ank$ ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #22 เมื่อ: 31/12/10, [09:03:24] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

แล้วถ้าดินเป็นกรด เป็นด่างมากเกินไปจะทำยังไงคับ
เติมปูนขาวรึป่าว อิ อิ
porjing ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #23 เมื่อ: 02/01/11, [11:57:53] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

เยี่ยมครับ  [เจ๋ง]
Hard Ggm ออฟไลน์
Club Veteran
« ตอบ #24 เมื่อ: 13/01/12, [11:36:57] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ [เจ๋ง]
vinbitxp ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #25 เมื่อ: 13/01/12, [15:58:08] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

สุดยอด
Bankcaramel ออฟไลน์
Club Leader
« ตอบ #26 เมื่อ: 13/01/12, [18:46:51] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ชัดเจนมากๆ ขอบคุณครับ [ไอ้แว่น]
koko66 ออฟไลน์
Club Brother
« ตอบ #27 เมื่อ: 13/05/12, [10:04:02] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอจดก่อนนะ สุดยอดมาก  [เจ๋ง]
Anne ออฟไลน์
Club Follower
« ตอบ #28 เมื่อ: 14/05/12, [03:03:29] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ขอบคุณนะคะ [on_055]
SPFIS ออฟไลน์
Club Member
« ตอบ #29 เมื่อ: 05/06/12, [22:39:19] »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ

ความรู้ทั้งนั้น  [เจ๋ง]
หน้า: 1 2  ทั้งหมด   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: