บทความ : การเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สั

(1/2) > >>

ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก&น้องดริว&น้องดรีม:

   ปลาปอมปาดัวร์ (Pompadour) หรือที่เรียกกันว่า Discus เป็นปลาในตระกูล Cichlid เป็นปลาที่น่าสนใจของนักเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเนื่องจากมีราคาดี สามารถส่งขายต่างประเทศได้ ตลาดรับซื้อลูกปลามีไม่จำกัด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสมในการเพาะพันธุ์ และอาหารของปลาจากธรรมชาติ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไข่กุ้ง ก็หาได้ง่ายและมีราคาไม่แพงนัก องค์ประกอบเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาของลูกปลา เป็นสิ่งกระตุ้นทำให้มีผู้สนใจทดลองเพาะเลี้ยงกันมาก แต่โดยมากมักไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลาย ประการ ประการที่สำคัญคือ การดูแลเอาใจใส่ มักมีคำกล่าวในหมู่นักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์เสมอว่า การเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับดวง ผู้เพาะเลี้ยงปลามือใหม่หรือมือสมัครเล่นมักประสบความสำเร็จระยะแรก ๆ แต่ถ้าขยายกิจการให้ใหญ่มากขึ้นมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรหรืออาจ ประสบกับการขาดทุนถึงกับขายตู้ปลาไปเลยก็ได้ ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ทดลองเลี้ยงในระยะแรกซึ่งมีพ่อแม่ปลาเพียง 2-3 คู่ มักจะดูแลเอาใจใส่ด้วยตนเองเป็นอย่างดีและทั่วถึงแต่เมื่อขยายกิจการทำให้ การดูแลไม่ทั่วถึงหรือให้ผู้อื่นทำแทนซึ่งขาดความระมัดระวังโดยเฉพาะเรื่อง ความสะอาด เนื่องจากปลาปอมปาดัวร์จัดเป็นปลาที่ต้องการความสะอาดมาก นักเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์จึงไม่นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้โดยใช้เครื่องกรองน้ำ ในตู้เหมือนปลาชนิดอื่นๆ แต่จะใช้วิธีการถ่ายน้ำเก่าออกแล้วเติมน้ำใหม่โดยไม่เสียดายค่าน้ำ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปลาเจริญเติบโตได้รวดเร็วและเพาะพันธุ์ได้ผลผลิตที่ คุ้มค่ากับการลงทุน
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

       การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรกในการเพาะ พันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ไม่ควรซื้อพ่อแม่ปลาจากร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป เนื่องจากปลาที่ซื้ออาจจะเป็นปลาแก่ที่ไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วหรือมี ประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ ซึ่งโดยมากจะเป็นปลาที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์คัดออกแล้วขายให้แก่ ร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป ควรซื้อปลาจากฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ที่ไว้ใจได้มีการคัดเลือกสาย พันธุ์แล้ว ปลาที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่ไม่ได้ผ่านการเร่งหรือย้อมสี เพราะฮอร์โมนที่ใช้ในการย้อมสีอาจจะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปลาได้ ไม่ควรซื้อปลาขนาดใหญ่ มาเลี้ยงเพราะไม่สามารถทราบอายุที่แน่นอนและสุขภาพปลาได้ ควรซื้อปลาขนาดที่เรียกว่าขนาดเหรียญบาทซึ่งมีอายุประมาณ 1-2 เดือน มาเลี้ยงเพื่อทราบถึงชีววิทยาปลา แต่ไม่ควรซื้อปลาจากครอกเดียวกัน หรือเลือดชิดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ เปอร์เซ็นต์การรอดต่ำ ได้ลูกปลาน้อย และลูกปลาที่ได้อาจจะพิการหรือไม่สมบูรณ์ ควรเลือกซื้อลูกปลาที่ได้จากพ่อแม่ที่มีสีสันสดใสและลวดลายชัดเจนไม่เลอะ   

   ลูกปลาที่ซื้อควรมีลักษณะกลม บริเวณตั้งแต่จะงอยปากถึงครีบหลังควรโค้งงอ ไม่ลาดชันเป็นเส้นตรง กระโดงครีบหลังสูงและไม่หักลู่ สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ไม่ควรเป็นสีดำหรือสีทึบ ครีบก้นยาวและลึก ครีบทุกครีบสมบูรณ์ไม่แตกหรือแหว่ง พยายามสังเกตดูลักษณะของปลาให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ว่ายน้ำว่องไว ไม่ตกใจหรือกลัวคน มีลักษณะเชื่อง มีการตื่นตัวในการกินอาหารอยู่เสมอ ไม่เซื่องซึม ไม่เป็นโรคโดยเฉพาะไม่เลือกซื้อลูกปลาจากครอกที่มีตัวใดตัวหนึ่งแยกหลบ มุมอยู่ต่างหากหรือตัวดำเพราะจะทำให้ปลาที่เลือกมาแม้จะมีสุขภาพดีแต่ก็อาจ จะเป็นโรคได้ภายใน 2-3 วัน และพยายามสังเกตตาของปลา ซึ่งถ้าเป็นปลาแกร็นแล้วตาจะโปนและวงขอบตาจะมีสีดำ สีลำตัวค่อนข้างทึบออกเป็นสีเทาดำ ปลาเหล่านี้เมื่อนำมาเลี้ยงแม้ว่าจะอยู่ในสภาพดีและอาหารสมบูรณ์เพียงใดก็จะ ไม่โต

วิธีเพาะพันธุ์

       เมื่อ พ่อแม่ปลาเจริญเติบโตพร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ได้ให้นำโดมสำหรับปลาวาง ไข่มาใส่ไว้ในตู้เพื่อเป็นการฝึกไม่ให้ปลาวางไข่ที่อื่นซึ่งในการเพาะพันธุ์ นี้ควรคำนึงถึง
ตู้ปลา ควรวางตู้ปลาชิดและขนานกับผนังห้อง ไม่ควรวางตู้ขวางออกมาเพราะจะทำให้ปลาตกใจหรือตื่นคนง่าย ตู้ที่นิยมทำการเพาะเลี้ยง คือ ตู้ขนาด 30x20x20 นิ้ว โดยทาสีฟ้าหรือเขียวอ่อน 3 ด้าน
แสงสว่าง ในขณะทำการเพาะไม่ควรให้แสงสว่างมากควรให้แสงสว่างแต่พอควร และในบริเวณที่เพาะไม่ควรมีคนพลุกพล่านนอกจากผู้ทำการเพาะเลี้ยง ควรระมัดระวังเกี่ยวกับคนเดินผ่านตู้เพราะทำให้ปลาตกใจได้
ห้องเพาะพันธุ์ปลา ควรจะเป็นห้องที่แยกออกจากห้องเลี้ยงปลาเพราะแสงสว่างและช่วงเวลาการเปลี่ยน น้ำมักจะไม่ตรงกันจะทำให้รบกวนปลามาก ในฤดูร้อน ห้องเพาะควรมีการระบายอากาศบ้างเล็กน้อย ส่วนในฤดูหนาวควรปิดห้องเพื่อควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อยที่ สุดและโดยที่ห้องเพาะส่วนใหญ่จะปิดมิดชิดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ น้อยจึงไม่นิยมใช้ฮีทเตอร์ในระหว่างการเพาะพันธุ์
การวางโดม ควรวางคนละมุมกับหัวพ่นฟองอากาศเพื่อป้องกันปลาตกใจและวางโดมให้ชิดผนังตู้ ด้านหนึ่งเพื่อป้องกันมิให้ปลาติดหลังโดมและไม่ควรเปิดฟองอากาศให้แรงนัก

    ในระหว่างการเพาะพันธุ์ ตัวเมียจะเห็นส่วนท้องอูมชัดเจน ก่อนปลาวางไข่ 3-4 วัน ปลาจะมีอาการสั่นทั้งตัวผู้และตัวเมีย         ในวันที่ปลาวางไข่จะสามารถสังเกตได้โดยดูอาการทั้งตัวผู้และตัวเมีย จะไม่ยอมออกห่างจากโดมและช่วยกันแทะเล็มโดมเพื่อทำความสะอาดตลอดเวลา จากนั้นตัวเมียจะวางไข่บนโดมครั้งละ 15-30 ฟอง แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อลงบนไข่แม่ปลาจะใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 2 ชั่วโมง วางไข่ 100-300 ฟอง ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร สีเทาอมเหลือง ในบางครั้งไข่อาจจะมีสีเหลืองอมแดงเนื่องจากปลาปอมปาดัวร์ในประเทศไทยเลี้ยง ด้วยไข่กุ้งทำให้มีผลต่อสีของไข่ หลังจากปลาผสมพันธุ์และวางไข่แล้วจึงใส่ยาปฏิชีวนะได้แก่ Tetracyclin อัตราส่วน 2 เม็ดต่อ 1 ตู้ ในระยะนี้ตัวผู้และตัวเมียจะว่ายวนเวียนโบกพัดน้ำไปยังไข่เพื่อเพิ่มปริมาณ ออกซิเจนและไม่ให้สิ่งสกปรกตกลงบนไข่ จากนั้นนำตะแกรงตาถี่ขนาดช่องตาครึ่งเซนติเมตรมาครอบลงบนโดมให้มีระยะห่าง ระหว่างโดมและตะแกรงประมาณ 2-3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาย้ายไข่หรือถ้าปลาตกใจอาจจะกินไข่ได้ พร้อมกับนำตะแกรงขนาดช่องตา 1 นิ้ว กั้นแยกตัวผู้ออกจากตัวเมียและไข่ เพื่อป้องกันปลาผสมกันและวางไข่อีก ซึ่งถ้าปลาวางไข่อีกจะกินไข่ที่วางไว้ก่อนแล้วออกหมดและป้องกันการกัดกัน เพราะแย่งกันเลี้ยงลูก การแยกกันนี้จะต้องแยกให้ตัวเมียอยู่ใกล้กับไข่เพราะจะทำให้ทั้งตัวเมียและ ตัวผู้ช่วยกันเลี้ยงลูก แต่ถ้าแยกให้ตัวเมียอยู่ด้านนอกและตัวผู้อยู่ด้านในตัวเมียจะไม่คุ้นกับลูก จะกินลูกของตัวเอง แต่ทั้งนี้การแยกต้องให้ทั้งตัวผู้และตัวเมียสามารถมองเห็นไข่ที่วางติดโดม ไว้ได้เพื่อจะได้ไม่กินลูกปลา

วิธีอนุบาลลูกปลา

        หลังจากแม่ปลาวางไข่ 3 วัน ลูกปลาจะฟักเป็นตัวแต่จะยังอยู่ในบริเวณเปลือกไข่ จะเห็นส่วนหางเต้นไปมา ส่วนหัวจะเป็นจุดสีดำ ในระยะนี้ลูกปลาจะไม่กินอาหารเพราะมีถุงไข่ (yolk sac) อยู่ในบริเวณท้องหลังจากนั้นอีก 3 วัน คือวันที่ 6 หลังจากเมื่อปลาวางไข่ ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำมาเกาะเพื่อกินเมือกบริเวณลำตัวพ่อแม่ปลา สีของลำตัวของพ่อแม่ปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเกือบดำ พ่อแม่ปลาจะพยายามอมลูกปลาแล้วพ่นไปที่โดม ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมาก ถ้าพ่อแม่ปลาตกใจจะกินลูกปลาเข้าไปเลย และควรระมัดระวังการให้อาหารพ่อแม่ปลา อย่าให้อาหารมากเพราะจะทำให้น้ำเสียเนื่องจากจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำในระยะนี้
         ในวันที่ 7 มีการถ่ายน้ำพร้อมกับดูดตะกอนออก ควรระมัดระวังลูกปลาจะติดไปในระหว่างดูดตะกอน ให้เหลือน้ำอยู่ประมาณครึ่งตู้เท่านั้น
         ในวันที่ 8 ค่อย ๆ ดูดตะกอนและเริ่มเติมน้ำโดยใช้สายยางเล็ก ๆ หยดน้ำลงไปคล้ายกับการให้น้ำเกลือเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยถ้าถ่ายน้ำตอนเช้าจะต้องเติมน้ำโดยใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง จึงจะได้ระดับครึ่งตู้เท่ากับเมื่อวันที่ 7 (การเปลี่ยนน้ำควรเติมน้ำเท่ากับปริมาณน้ำที่มีอยู่เดิม) และเปลี่ยนน้ำเช่นนี้ต่อไปทุกวัน
         ในวันที่ 13 ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำไปมาอย่างอิสระบ้างแต่ยังกินเมือกของพ่อแม่ปลาเป็นอาหาร อยู่ สามารถให้อาหารเสริมได้ คือ อาร์ทีเมียที่เพาะใหม่ ๆ หรือลูกของไรแดง
        การแยกลูกไรแดงออกจากไรแดงตัวโต สามารถทำได้โดยใช้กระชอนตาถี่ที่ลูกไรสามารถลอดออกมาได้ไปช้อนไรแดงแล้ว แกว่งในกะละมังที่มีน้ำอยู่ ลูกไรแดงจะหลุดออกมาอยู่ในกะละมัง แต่ไรแดงตัวโตไม่สามารถลอดออกมาได้ จากนั้นจึงใช้กระชอนตาถี่ที่เล็กกว่าขนาดลูกไรไปช้อนมาอีกทีก็จะได้แต่เฉพาะ ลูกไรแดงขึ้นมา การให้ลูกไรแดงควรระมัดระวังไรชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายไรแดงแต่มีเปลือกแข็ง คล้ายแมลงเพราะถ้าลูกปลากินเข้าไปจะทำให้ตายได้

         ในวันที่ 17 สามารถแยกแม่ปลาออกจากลูกปลาได้ในระยะนี้ และลูกปลาขนาดนี้ซึ่งเรียกว่าระยะแกะออกจากแม่หรือขนาดเม็ดแตงโมขายได้ใน ราคาตัวละ 7-8 บาท หรือจะเลี้ยงต่อไปจนอายุ 1 เดือน จนถึงขนาดเหรียญบาทซึ่งมีราคาตัวละ 20-30 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด ในระยะนี้ควรหัดให้ลูกปลากินไข่กุ้งเพื่อเป็นการเร่งสีซึ่งจะทำให้ปลามีสี แดงขึ้นและขายได้ง่ายขึ้น

        พ่อแม่ปลาที่แยกออกจากลูกปลาในระยะที่ลูกปลามีอายุ 17 วันนั้นจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้อีกโดยใช้เวลาพักตัวประมาณ 1 อาทิตย์ ในระยะพักตัวนี้ควรให้อาหารเสริมจำพวกวิตามิน E, K หรือวิตามินรวม เนื่องจากในระยะเลี้ยงลูกปลาเราต้องใส่ยาปฏิชีวนะตลอดเวลาเพื่อป้องกันโรคทำ ให้ปลาขาดวิตามิน E, K ซึ่งอาจทำให้ปลาตัวผู้นี้มีโอกาสเป็นหมันอย่างถาวร และตัวเมียเป็นหมันชั่วคราวได้ โดยใส่วิตามิน E, K หรือวิตามินรวมลงไปในอาหารและแช่ทิ้งไว้ก่อนให้ประมาณ 20 นาที
   
       ในบางครั้งเมื่อเพาะปลาจะประสบกับปัญหาไข่เสียไม่ฟัก เป็นตัวซึ่งมีสาเหตุอาจเนื่องจากตัวผู้มีน้ำเชื้อไม่ดีเพราะเพาะพันธุ์ถี่ เกินไป หรือเพราะน้ำมีคลอรีน ผู้เพาะเลี้ยงปลาบางรายจึงมีปลาตัวผู้หลายตัวไว้สับเปลี่ยนกัน แต่ถ้าสับเปลี่ยนตัวผู้แล้วไข่ยังเสียติดต่อกัน 4-5 ครั้ง หรือเมื่อตัวเมียวางไข่แล้วไข่หลุดออกจากโดมก็ควรพักพ่อแม่ปลาอย่างน้อย 1 เดือน

คัดย่อจาก : "ปอม" จอมยุ่ง
 
พระนิพนธ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
"เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาปอมปาดัวร์" กรมประมง

 ******************************************************************

 อ่่านบทความเกี่ยวกับปลาสวยงามอื่นๆ ได้ที่นี่จ้า

http://myaqualove.blogspot.com/search/label/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%20Fish

№Diesőρ:
 [เจ๋ง]  [เจ๋ง]  [เจ๋ง] ขอบคุณสำหรับบทความครับ

t2top:
โอ้ว เจ๋งไปเลย ขอบคุณมากครับ  [โห่..ฮี้..โห่] [โห่..ฮี้..โห่]
เคยฝันไว้ว่าอยากลองเพาะพันธุ์ปอมเองกับมือ แล้วเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต คงจะภูมิใจน่าดูชม ^^

Diger7:
Thank You ครับ   [เจ๋ง]

PuzzleBox:
เข้ามาอ่านตั้งหลายรอบ เพิ่งสังเกตผู้เขียน [on_062]
อ้างจาก: ป๊ะป๋าดุ๊กดิ๊ก & น้องดิวลูกรัก ที่ 28/10/10, [14:14:50]

พระนิพนธ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์
"เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาปอมปาดัวร์" กรมประมง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป