ตะพาบน้ำเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ
โดย อาศัยอยู่ตามแม่น้ำห้วยหนอง คลองบึงมีอาศัยอยู่ทั่วไปใน
แหล่งน้ำต่าง ๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบันตะพาบน้ำเป็นสัตว์ที่หาได้ยาก
ไม่ เหมือนกับสมัยก่อน เพราะว่าประชากรของประเทศมากขึ้น ตะพาบน้ำ
ก็ถูก ตาม ล่า โดยมนุษย์จับมาเป็นอาหารเพิ่มมากขึ้น สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
ถูก ทำลายลงไปเพราะน้ำมือของมนุษย์ ทำให้ตะพาบสูญหายไปจากธรรมชาติ
อย่าง รวด เร็วจึงทำให้มีผู้สนใจที่จะเพาะเลี้ยงตะพาบน้ำแต่ผลผลิตก็ยังไม่เพียงพอ
กับ ความต้องการ และมีสาเหตุเนื่องมาจากประเทศในแถบทวีปเอเซียมีความ
ต้องการบริโภคตะพาบน้ำมากขึ้น จึงได้มีผู้นำตะพาบน้ำพันธุ์ไต้หวันเข้ามา
ทดลอง เลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จและ
มีการ ขยาย จำนวน ฟาร์มเลี้ยงตะพาบน้ำพันธุ์ไต้หวันขึ้นอย่างมากมาย
เช่น แถบ จังหวัดระยอง ชลบุรี ตราด และเพชรบุรี ซึ่งฟาร์มเพาะเลี้ยงตะพาบน้ำ
เหล่านี้ ประสบผล สำเร็จ แต่ตะพาบน้ำก็ยังไม่เพียงพอจำหน่าย เนื่องจากตลาดต่างประเทศ
มีความต้องการมาก ทำให้มีที่ผู้สนใจเลี้ยงตะพาบน้ำพันธุ์ไต้หวันเป็นจำนวน มากแต่
ขอเตือน ผู้เลี้ยงว่าก่อนจะลงมือทำการเลี้ยงเป็นอาชีพ ควรศึกษา เรื่องตลาดให้ดีเสียก่อน
เพราะว่าตลาดต่างประเทศ จะไปได้นานแค่ไหน หรืออาจ จะเหมือน กับผู้ที่เลี้ยงกบ ก็เป็นได้
Trionyx cortilageneus (Bodd) ตะพาบหรือปลาฝา
ตะพาบชนิดนี้ มีขนาดใหญ่ประมาณ 2 ฟุตกระดองออกสีเขียวบางที มีจุดสีเหลือง
ปกติมี จุดสีดำ 2-3 จุด จุดดำนี้รูปร่างไม่แน่นอน แต่มีขอบสีเหลือง หัวมีจุดเหลือง
ทั่วไป ตัวผู้ด้านท้องมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีสีเทาชนิดนี้พบ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ทางตอนใต้ของพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
ตะพาบสวน หรือ ตะพาบ หรือ ตะพาบธรรมดา หรือ ตะพาบไทย หรือ ตะพาบข้าวตอก
เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amyda cartilaginea เป็นตะพาบชนิด
ที่พบได้บ่อยและทั่วไปที่สุดในประเทศไทย นอกจากนั้นยังพบในประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น เวียดนาม กัมพูชา พม่า สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีลักษณะสีกระดองสีเขียว
ใต้ท้องสีขาว ขนาดกระดองเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม
เมื่อยังเล็กกระดองมีสีเทาเข้มหรือเกือบดำ และมีจุดสีเหลืองเล็ก ๆ ประปรายทั้งกระดอง
บนกระดองยังมีลายคล้ายดาว 4 - 5 แห่ง ท้องมีสีขาว มีขนาดเล็กและอ่อนนุ่ม
พบได้ทั่วไปในทุกภาค ในแม่น้ำลำคลองและในท้องร่องสวน ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาฝา"
สถานภาพปัจจุบัน หาได้น้อยมาก ได้ถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง
และถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ที่ผู้คนโดยเฉพาะคนจีนนิยมบริโภคมาก เนื่องจากเชื่อว่าเป็น
อาหารที่บำรุงร่างกาย แต่การเลี้ยงตะพาบสวนนั้นยังให้ผลผลิตไม่ดีสู้ ตะพาบไต้หวัน
(Trionyx sinensis) ไม่ได้ เนื่องจากโตช้ากว่า
ตะพาบแก้มแดง
ตะพาบชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dogania subplana
จัดเป็นตะพาบขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับสองที่พบในประเทศไทย (เล็กที่สุด
คือ ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata)) กระดองสีเทาเข้มมีจุดสีดำทั่วไป
หัวสีเทานวลมีรอยเส้นสีดำตลอดตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงส่วนท้ายกระดอง
มีสีแดงที่แก้มและข้างคอ เมื่อยังเล็กมีจุดสีดำคล้ายบดวงตากระจายไปทั่วกระดอง
เห็นชัดเจน ตะพาบที่พบที่จังหวัดตากและกาญจนบุรีมีสีเข้มกว่าและไม่มีสีแดงที่แก้ม
ตะพาบชนิดนี้มีจมูกยาว หางสั้น และมีขาเล็ก ขนาดโตเต็มที่กระดองยาวประมาณ 1 ฟุต
หนักประมาณ 15 กิโลกรัม
ถิ่นที่อยู่อาศัย พบในพม่า มาเลเซีย บรูไน สุมาตรา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศไทยพบบ้างที่จังหวัดตาก กาญจนบุรี และพบมากทางภาคใต้
แถบจังหวัดชุมพร และจังหวัดนครศรีธรรมราช ชอบอยู่ในห้วยหนอง คลองบึงทั่วไป
และมีชุกชุมตามลำธารบนภูเขา การสืบพันธุ์ออกไข่ครั้งละ 3-7 ฟอง
ปัจจุบันเป็นสัตว์น้ำคุ้มครองตามประกาศของกรมประมง และสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
ตะพาบม่านลาย (ภาษาอังกฤษ : Narrow-headed Softshell Turtle, Burmese Chitra)
เป็นตะพาบที่มีลวดลายสวยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra chitra
มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก หัวเล็กและลำคอยาว จมูกค่อนข้างสั้นยาว
เล็กมากจะมีแถบสีเหลืองปนน้ำตาลบนส่วนหัวและกระดองอย่างชัดเจน แถบจะพาดผ่านส่วนหัว
ยาวอย่างต่อเนื่องมาบนกระดอง ส่วนท้องจะมีสีขาวหรือขาวอมชมพู โดยโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร
และหนักถึง 100-120 กิโลกรัม เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้กว่า 100 ปี มีถิ่นกำเนิดที่แม่น้ำแคว
จังหวัดกาญจนบุรี แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี และแม่น้ำปิงในเขตภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น
และมีรายงานว่าพบที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง และพบที่มาเลเซียและอินโดนีเซียด้วย
ตะพาบตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่บนหาดทรายริมแหล่งน้ำ โดยขุดหลุมลึก 40-50 เซนติเมตร
ออกไข่เสร็จแล้วจะปิดทรายไว้ปากหลุมทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ไข่จะฟักออกเป็นตัว
ลูกตะพาบจะวิ่งหาลงน้ำ และหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร
เลี้ยงตัวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ โดยพฤติกรรมในธรรมชาติจะฝังตัวอยู่ใต้ทรายในพื้นน้ำ โผล่มาแต่
เฉพาะตาและจมูกเท่านั้น และจะหาเหยื่อด้วยวิธีการซุ่มนี้
สถานภาพปัจจุบันไม่พบรายงานในธรรมชาติมานานเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว
จนเชื่อได้ว่าอาจสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากถูกล่าเป็นอาหารและสัตว์เลี้ยง
อย่างมาก รวมทั้งถูกคุกคามในเรื่องที่อยู่อาศัยในธรรมชาติด้วย และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถ
เพาะขยายพันธุ์ตะพาบม่านลายได้สำเร็จในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่เมื่อเทียบกับเต่าหรือ
ตะพาบชนิดอื่นแล้ว นับว่ามีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามาก
ตะพาบม่านลายยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กริวลาย, กราวด่าง, ม่อมลาย, มั่มลาย เป็นต้น
อนึ่ง ตะพาบม่ายลายยังมีชนิดแยกย่อยไปอีก 2 ชนิด โดยพบที่อินเดียมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Chitra indica และชนิดที่พบในพม่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitra vandijki
ตะพาบหัวกบ
เป็นตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pelochelys cantorii มีรูปร่างคล้ายตะพาบทั่วไป
จัดเป็นตะพาบขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่สุดพบขนาดกระดองยาว 120 เซนติเมตร ลำตัวด้านบน
สีน้ำตาลเขียว ด้านล่างสีอ่อน หัวมีลักษณะเล็กสั้นคล้ายกบหรืออึ่งอ่าง จึงเป็นที่มาของชื่อ
ตามีขนาดเล็ก
เมื่อยังเล็กสีของกระดอง จะมีสีน้ำตาลปนเขียวอ่อน ๆ มีจุดเล็ก ๆ สีเหลืองกระจายทั่วไป
และค่อย ๆ จางเมื่อโตขึ้น รวมทั้งสีก็จะเข้มขึ้นด้วย พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย
ในแม่น้ำสายใหญ่ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงในภาคอีสาน ปัจจุบันเป็นตะพาบที่พบได้น้อยมาก
จนถูกจัดให้เป็นสัตว์น้ำคุ้มครองของกรมประมง และจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 2 (Appendix II)
ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญ พันธุ์ หรือ ไซเตส
มีอุปนิสัย ดุร้าย มักฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ ในพื้นทรายใต้น้ำเพื่อกบดานรอดักเหยื่อ ในภาษาอีสานเรียกว่า
" ปลาปู่หลู่ "
อนึ่ง ยังมีตะพาบหัวกบอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Pelochelys bibroni ซึ่งพบได้ที่ประเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี
ตะพาบไต้หวัน
ตะพาบชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionyx sinensis หรือ Pelodiscus sinensis
ไม่ใช่ตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย แต่เป็นตะพาบของจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ
เกาหลีใต้ รัสเซีย เวียดนาม มีรูปร่างคล้ายตะพาบสวน (Amyda cartilaginea)
แต่ตะพาบไต้หวันมีขนาดเล็กกว่า โตเต็มมีขนาดกระดองประมาณ 25 เซนติเมตร
เมื่อยังเล็กใต้ท้องมีสีขาว มีนิสัยดุร้าย ปัจจุบัน เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมาก
กว่าตะพาบสวน เพราะโตได้เร็วกว่า และยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามอีกด้วย
ในด้านสิ่งแวดล้อมขณะนี้พบเป็นเผ่าพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่รุกรานที่อยู่
อาศัยและที่วางไข่ของตะพาบและเต่าพื้นเมืองของไทย
เครดิต : http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=222&s=tblanimal
*********************************************************
อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์แปลก ๆ exotic pet ต่างๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
http://myaqualove.blogspot.com/search/label/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%86%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88%20Exotic%20Pet
|