****************************************************************
ดูรูปประกอบบทความได้ที่นี่ครับ :
http://myaqualove.blogspot.com/2010/10/blog-post_6735.html
****************************************************************
เมื่อไม่นานมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์นานาชาติในสหรัฐสามารถถอดรหัสโครงสร้างเชื้อพันธ์ของตุ่นปาก เป็ดออกมาได้แล้วและพบว่ามีความหลากหลายที่สมกับความแปลกปลาดนั้นเลยทีเดียว
ตุ่นปากเป็ดถูกจัดอยู่ในสัตว์จำพวกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเเต่ออกลูกเป็นไข่ รูปร่างหน้าตาแปลกเหมือนกับนำชิ้นส่วนของสัตว์หลายชนิดมาผสมผสานกันและอย่าง ที่ชื่อบ่งบอก ตัวมีลักษณะคล้ายตุ่น ขนหนา มีปากเหมือนเป็ดเท้าเหมือนแมวน้ำ หางยาวเป็นพวงเหมือนบีเวอร์ ตัวเมียวางไข่และมีน้ำนมเลี้ยงลูกอ่อน ถึงแม้จะไม่มีหัวนมแต่ก็ให้น้ำนมแก่ลูกอ่อนได้จากทางผิวหนังที่ท้องตัวผู้มี เดือยที่เท้าหลังซึ่งสามารถพ่นพิษได้เหมือนกับงู ตุ่นปากเป็ดกินตัวหนอน ตัวดักแด้ และกุ้งเป็นอาหาร เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะมีความยาวราว 20 นิ้ว มีน้ำหนักราว 2 กิโลกรัม ตัวเมียจะมีความยาว เเละน้ำหนักน้อยกว่าตัผู้ ตุ่นปากเป็ดอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย เกาะทัสมาเนีย และปาปัวนิวกินี นักธรรมชาติวิทยาอังกฤษพบสัตว์แปลกนี้ในออสเตรเลียมา นานกว่า 200 ปีแล้วและตั้งชื่อให้ว่า Platypus มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์นานาชาติที่มหาวิทยาลัย Louisiana State และที่มหาวิทยาลัย Washington ที่เมือง St. Louis ในรัฐ Missouri ทำงานถอดระหัสโครงสร้างเชื้อพันธ์ของตุ่นปากเป็ดและงานวิจัยขั้นต้นเกี่ยว กับโครงสร้างนั้นเสร็จแล้วนับเป็นผังโครงสร้างเชื้อพันธ์ของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยน้ำนมชนิดออกไข่ผังแรก และเป็นการยืนยันว่า DNA หรือเชื้อพันธ์ของตุ่นปากเป็ดนั้น ก็มีความหลากหลายรูปแบบเดียวกับลักษณะของ ตัวตุ่นนั้นเอง กล่าวได้ว่าตุ่นปากเป็ด เป็นส่วนผสมของทั้งสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นัก วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Louisiana State กล่าวว่า โครงสร้างเชื้อพันธ์ของตุ่นปากเป็ด มีลักษณะคล้ายของสัตว์ปีกผสมกับของสัตว์ เลื้อยคลาน มากกว่าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือมีทั้งเชื้อพันธ์สำหรับการ วางไข่แบบที่สืบทอดมาจากสัตว์เลื้อยคลานและมีเชื้อพันธ์ของการมีพิษคล้ายพิษ งู แต่ก็มีเชื้อพันธ์สำหรับการสร้างน้ำนมสำหรับลูกอ่อนด้วย นักวิทยาศาสตร์ พบด้วยว่า ตุ่นปากเป็ดมีโครโมโซมกำหนดเพศถึง 10 ตัว ซึ่งมากกว่าของมนุษย์ถึงห5เท่า นักวิทยาศาสตร์ บอกว่า การถอดรหัสโครงสร้างเชื้อพันธ์ของของตุ่นปากเป็ดทำให้ได้เรียนรู้มากมาย เกี่ยวกับระบบกำหนดเชื้อพันธ์และระบบภูมิต้านทานของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ นม ซึ่งนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาด้านเชื้อพันธ์หรือพันธุกรรมที่จะเป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆรวมทั้งสาเหตุและวิธี ป้องกันโรคเหล่านั้น ตลอดจนการพยายามอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ต่างๆต่อไป
ที่มา : http://www.animallovely.com
|